ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้
UID: 1
สำคัญ:
3
โพส: 5656
เงิน: 5667 บาท
ความดี: 3560 แต้ม
เครดิต: 2236 แต้ม
จิตพิสัย: 0 แต้ม
ออนไลน์ล่าสุด: 1 (ช.ม.)
สมัครเมื่อ: 2010-09-11
ใช้งานล่าสุด: 2024-08-01
|
พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2544 |
|
แชร์กระทู้นี้ |
size="2">พระราชบัญญัติ เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราดังกล่าว หากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน มาตรา ๔ ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ดังต่อไปนี้(๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๘(๒) รองอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๗(๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๖(๔) อัยการพิเศษประจำกรม ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๕ - ๖(๕) อัยการจังหวัด อัยการจังหวัดประจำกรม ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๔(๖) อัยการประจำกรม รองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒(๗) อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๒ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒(๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนในชั้น ๑ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในขั้นต่ำของตำแหน่งอัยการผู้ช่วยให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับแต่งตั้งก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือนข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น มาตรา ๕ ให้ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้(๑) อัยการพิเศษประจำกรม เมื่ออยู่ในชั้น ๕ มาครบเจ็ดปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๖(๒) อัยการจังหวัด อัยการจังหวัดประจำกรม เมื่ออยู่ในชั้น ๔ มาครบสามปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้น ๔(๓) อัยการประจำกรม รองอัยการจังหวัด เมื่ออยู่ในชั้น ๓ มาครบห้าปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้น ๓ให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้น ๑ ชั้น ๒ และชั้น ๓ สูงขึ้นหนึ่งขั้นทุกปี โดยความเห็นชอบของ ก.อ. เว้นแต่เป็นกรณีที่ข้าราชการอัยการผู้ใดได้รับเงินเดือนในขั้นสูงสุดของชั้นที่ตนดำรงอยู่ ทั้งนี้ โดยไม่มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี มาตรา ๖ ในวาระเริ่มแรก การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งใดในชั้นใด ขั้นเงินเดือนใด เพื่อรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้นใดและขั้นเงินเดือนใดสำหรับตำแหน่งนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด และเมื่อปรับเข้าขั้นเงินเดือนและชั้นแล้ว ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๗ การปรับอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด แต่จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งต่ำกว่าที่รับอยู่เดิมไม่ได้ และเมื่อปรับเข้าขั้นเงินเดือนและชั้นแล้ว ให้อัยการอาวุโสได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบุคคลซึ่งเคยรับราชการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าอัตราหรือชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินั้นๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่งในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองให้เข้าอัตราหรือชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือชั้นใด มาตรา ๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
บัญชี ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ
บัญชี ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากข้าราชการอัยการเป็นผู้มีคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง ความรู้ และความสามารถเหมือนกันกับข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม และมีภารกิจอำนาจหน้าที่อำนวยความยุติธรรมและรักษาประโยชน์ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน แต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของผู้พิพากษาศาลยุติธรรมได้รับการปรับปรุงให้เพิ่มขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สมควรที่จะมีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน ดังต่อไปนี้(๑) บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ บัญชี ๑ ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘(๒) บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ บัญชี ๒ ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป มาตรา ๕ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ข้าราชการอัยการได้รับไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ให้ถือว่าเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่ได้รับการปรับเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการในมาตรา ๔ และให้เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ในกรณีนั้นสิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปโดยปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสาม ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ และปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละห้า ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ นอกจากนี้ในกรณีที่มีการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่สมควรกำหนดให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
|