เวอร์ชันเต็ม: [-- พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2544 --]

งานราชการ แนวข้อสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ธกส -> รวมพระราชบัญญัติ ในการสอบรับราชการ -> พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2544 [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2012-02-12 10:36

พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2544

พระราชบัญญัติ
เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ
พ.ศ. ๒๕๔๔
                       
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราดังกล่าว หากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน
 
มาตรา ๔ ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
(๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๘
(๒) รองอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๗
(๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๖
(๔) อัยการพิเศษประจำกรม ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๕ - ๖
(๕) อัยการจังหวัด อัยการจังหวัดประจำกรม ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๔
(๖) อัยการประจำกรม รองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒
(๗) อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๒ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒
(๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนในชั้น ๑ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในขั้นต่ำของตำแหน่งอัยการผู้ช่วย
ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับแต่งตั้งก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน
ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น
 
มาตรา ๕ ให้ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(๑) อัยการพิเศษประจำกรม เมื่ออยู่ในชั้น ๕ มาครบเจ็ดปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๖
(๒) อัยการจังหวัด อัยการจังหวัดประจำกรม เมื่ออยู่ในชั้น ๔ มาครบสามปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้น ๔
(๓) อัยการประจำกรม รองอัยการจังหวัด เมื่ออยู่ในชั้น ๓ มาครบห้าปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้น ๓
ให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้น ๑ ชั้น ๒ และชั้น ๓ สูงขึ้นหนึ่งขั้นทุกปี โดยความเห็นชอบของ ก.อ. เว้นแต่เป็นกรณีที่ข้าราชการอัยการผู้ใดได้รับเงินเดือนในขั้นสูงสุดของชั้นที่ตนดำรงอยู่ ทั้งนี้ โดยไม่มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
 
มาตรา ๖ ในวาระเริ่มแรก การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งใดในชั้นใด ขั้นเงินเดือนใด เพื่อรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้นใดและขั้นเงินเดือนใดสำหรับตำแหน่งนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด และเมื่อปรับเข้าขั้นเงินเดือนและชั้นแล้ว ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
 
มาตรา ๗ การปรับอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด แต่จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งต่ำกว่าที่รับอยู่เดิมไม่ได้ และเมื่อปรับเข้าขั้นเงินเดือนและชั้นแล้ว ให้อัยการอาวุโสได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
 
มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบุคคลซึ่งเคยรับราชการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าอัตราหรือชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ
ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินั้นๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองให้เข้าอัตราหรือชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือชั้นใด
 
มาตรา ๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี



บัญชี ๑
บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ
                       
 
ชั้นเงินเดือน
ตำแหน่ง
เงินเดือน
เงินประจำตำแหน่ง
อัยการสูงสุด
๖๓,๘๖๐
๔๒,๕๐๐
รองอัยการสูงสุด
๖๒,๘๓๐
๔๒,๐๐๐
อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา
๖๑,๘๐๐
๔๑,๕๐๐
 
อัยการพิเศษฝ่ายคดี
 
 
 
อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ
 
 
 
อัยการพิเศษฝ่าย
 
 
 
อัยการพิเศษประจำเขต
 
 
 
อัยการพิเศษประจำกรม
 
 
อัยการพิเศษประจำกรม
๖๐,๘๗๐
๔๑,๐๐๐
 
๕๙,๘๙๐
๔๐,๐๐๐
 
อัยการจังหวัด
๕๘,๙๑๐
๓๐,๐๐๐
 
อัยการจังหวัดประจำกรม
 
 
 
๕๗,๙๓๐
๒๙,๐๐๐
 
อัยการประจำกรม
๔๖,๒๖๐
๒๓,๓๐๐
 
รองอัยการจังหวัด
๔๒,๐๒๐
 
 
 
๓๕,๖๕๐
 
 
 
๓๑,๗๔๐
 
 
 
๒๘,๐๐๐
 
อัยการประจำกอง
๒๖,๑๔๐
๗,๙๐๐
 
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
๒๔,๒๘๐
 
 
 
๒๒,๔๖๐
 
อัยการผู้ช่วย
๑๖,๕๑๐
 
 
 
๑๕,๓๐๐
 


บัญชี ๒
บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ
                       
 
ชั้นเงินเดือน
ตำแหน่ง
เงินเดือน
เงินประจำตำแหน่ง
อัยการสูงสุด
๖๗,๐๖๐
๔๒,๕๐๐
รองอัยการสูงสุด
๖๕,๙๘๐
๔๒,๐๐๐
อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา
๖๔,๘๙๐
๔๑,๕๐๐
 
อัยการพิเศษฝ่ายคดี
 
 
 
อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ
 
 
 
อัยการพิเศษฝ่าย
 
 
 
อัยการพิเศษประจำเขต
 
 
 
อัยการพิเศษประจำกรม
 
 
อัยการพิเศษประจำกรม
๖๓,๙๒๐
๔๑,๐๐๐
 
๖๒,๘๙๐
๔๐,๐๐๐
 
อัยการจังหวัด
๖๑,๘๖๐
๓๐,๐๐๐
 
อัยการจังหวัดประจำกรม
 
 
 
๖๐,๘๓๐
๒๙,๐๐๐
 
อัยการประจำกรม
๔๘,๕๘๐
๒๓,๓๐๐
 
รองอัยการจังหวัด
๔๔,๑๓๐
 
 
 
๓๗,๔๔๐
 
 
 
๓๓,๓๓๐
 
 
 
๒๙,๔๐๐
 
อัยการประจำกอง
๒๗,๔๕๐
๗,๙๐๐
 
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
๒๕,๕๐๐
 
 
 
๒๓,๕๙๐
 
อัยการผู้ช่วย
๑๗,๓๔๐
 
 
 
๑๖,๐๗๐
 

 


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากข้าราชการอัยการเป็นผู้มีคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง ความรู้ และความสามารถเหมือนกันกับข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม และมีภารกิจอำนาจหน้าที่อำนวยความยุติธรรมและรักษาประโยชน์ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน แต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของผู้พิพากษาศาลยุติธรรมได้รับการปรับปรุงให้เพิ่มขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สมควรที่จะมีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
 
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน ดังต่อไปนี้
(๑) บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ บัญชี ๑ ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
(๒) บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ บัญชี ๒ ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
 
มาตรา ๕ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ข้าราชการอัยการได้รับไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ให้ถือว่าเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่ได้รับการปรับเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการในมาตรา ๔ และให้เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ในกรณีนั้นสิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
 
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปโดยปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละสาม ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ และปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละห้า ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ นอกจากนี้ในกรณีที่มีการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่สมควรกำหนดให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 


เวอร์ชันเต็ม: [-- พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2544 --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.044643 second(s),query:1 Gzip enabled

You can contact us