ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ข่าวดี กรมการปกครอง เตรียมเปิดสอบ "ปลัดอำเภอ" ปี 58
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข่าวดี กรมการปกครอง เตรียมเปิดสอบ "ปลัดอำเภอ" ปี 58

แชร์กระทู้นี้

เปิดสอบปลัดอำเภอ 2558 (ค่อนข้างชัดเจนแล้ว) อยู่ขั้นตอนจะดำเนินขออนุมัติเปิดสอบ


ก้าวสู่..ปลัดอำเภอ

การได้ครองตำแหน่ง..ปลัดอำเภอ เป็นอะไรที่หลายคนใฝ่ฝันมาก โดยเฉพาะผู้ที่จบปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ แต่หนทางกว่าจะได้เป็นปลัดอำเภอไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขพอสมควร ซึ่งในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2557 ทางกรมการปกครองก็ได้จัดทำ.. “โครงการส่งเสริมและแนะแนวการรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ Assistant Chief District Officer (ACDO Roadshow)” เป็นโครงการแนะแนวสร้างแรงจูงใจให้น้องๆ นักเรียน นักศึกษา เกิดแรงบันดาลใจที่จะก้าวเข้าสู่การเป็น..ปลัดอำเภอ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการสรรหาบุคลากรในระยะยาวของกรมการปกครอง

อาจจะเป็นเพราะการจัดโครงการนี้ของกรมการปกครอง บวกกับการสอบปลัดอำเภอครั้งล่าสุดเมื่อปี 2555 นับถึงปัจจุบันบัญชีหมดอายุแล้ว (ประกาศขึ้นบัญชีไว้ เมื่อ 18 กรกฎาคม 2555) เพราะตามประกาศจะขึ้นบัญชีไว้ 2 ปี เมื่อบัญชีหมดอายุก็คงจะเริ่มนับถอยหลังในการดำเนินการจัดสอบปลัดอำเภอแล้ว ลองดูความเป็นไปได้ ถ้าจะบอกว่า บัญชีครบอายุ 2 ปีแล้วจะเปิดรับสมัครในปี 2558 ก็มีความเป็นไปได้ แต่เรื่องโครงการฯ ACDO Roadshow คงไม่เกี่ยวว่าเป็นการส่งสัญญาณว่าจะมีเปิดรับสมัครสอบปลัดอำเภอในปี 2558 เพราะเป้าหมายเป็นนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งอย่าลืมว่าการสอบปลัดอำเภอสิ่งแรกที่ท่านต้องมีคือ การผ่านการทดสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป จากสำนักงาน ก.พ. (ภาค ก. ก.พ.) เว้นเสียแต่ว่า ก.พ.จะจัดสอบภาค ก. ให้ โดยสอบพร้อมกันทั้งภาค ก. และภาค ข. แบบนั้นก็หนักนะ เพราะเนื้อหาการสอบภาค ข. ต้องออกปากว่า..ไม่เบาเลยทีเดียว เนื้อหาวิชาที่ต้องสอบเยอะและกว้างมาก แม้จะจำกัดขอบเขตไว้ที่งานฝ่ายปกครองแล้วก็ตาม

พยายามรวบรวมข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการสอบปลัดอำเภอให้

 กดถูกใจเพจเพื่อรับแนวข้อสอบ เตรียมสอบปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง  

เริ่มที่.. ชื่อตำแหน่ง จริงๆ “เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ (ปลัดอำเภอ)” ชื่อตำแหน่งนี้มีในหน่วยงานอื่นๆ ด้วย เช่น กทม. แต่มิใช่ปลัดอำเภอ อัตราเงินเดือน สำหรับผู้ที่สอบปลัดอำเภอผ่านและได้รับการบรรจุแต่งตั้งจะได้รับอัตราเงินเดือน 15,000-16,500 บาท โดยสามารถนำ “ปัจจัย” ต่างๆ ที่จะกล่าวต่อไป มาเพิ่มเงินเดือนแรกบรรจุได้ (ปัจจัยละ 375 บาท) ปัจจัยที่จะเพิ่มเงินเดือนแรกบรรจุได้ มีดังนี้

1. ลำดับที่สอบได้อยู่ใน 10% แรกของบัญชีผู้สอบแข่งขัน และได้รับผลคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
2. มีผลคะแนนความรู้ด้านภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษาญ๊่ปุ่น
3. ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่บรรจุเข้ารับราชการ
4. มีคุณวุฒิการศึกษาที่เทียบได้ในระดับเดียวกันมากกว่า 1 วุฒิ

ลองเช็คตัวเองดูนะครับว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เข้าเงื่อนไขได้รับเงินเพิ่มได้กี่ปัจจัยก็คูณ 375 บาท บวกกับ 15,000 สำหรับวุฒิปริญญาตรี ก็เป็นอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ แต่จากที่ได้สัมผัสกับผู้เตรียมสอบปลัดอำเภมส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจเรื่องอัตราเงินเดือน เพราะเกียรติยศและศักดิ์ศรีของการเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง ในตำแหน่ง เจ้าพนักงานปกครอง หรือปลัดอำเภอมีค่ามากเกินกว่าจะประเมินมูลค่าได้^^

มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

เรามักจะเรียกว่าปลัดอำเภอจนติดปาก แต่ชื่อจริงของตำแหน่งนี้คือ เจ้าพนักงานปกครองระดับปฏิบัติการ ในส่วนของลักษณะงานที่ปฏิบัติจะเป็นส่วนที่ไม่ได้บอกในประกาศรับสมัครสอบตรงๆ เหมือนอย่างความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ ที่จะบอกออกมาตรงๆ เลยว่ามี พ.ร.บ. ระเบียบ ประกาศ กฎ อะไรที่จะออกสอบบ้าง แต่หากทราบแล้วไปเตรียมสอบในหัวข้อต่างๆ ตามหลักสูตรการสอบก็จะทำให้อ่านหนังสือเตรียมตัวสอบได้เร็วขึ้น เพราะเห็นภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของปลัดอำเภอ

ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 : วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2554
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน ปฏิบัติการปกครอง
ชื่อตำแหน่งในสายงาน เจ้าพนักงานปกครอง
ระดับตำแหน่ง ปฏิบัติการ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านปกครอง ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

 กดถูกใจเพจเพื่อรับแนวข้อสอบ เตรียมสอบปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง  

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา วิเคราะห์ เสนแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตการ และแนวทางปฏิบัติงาน พัฒนาระบบงาน ตรวจสอบ ปรับปรุงกฎหมาย รวมทั้งการติดตามประเมินผล และปฏิบัติงานด้านการปกครอง เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ การอำนวยความเป็นธรรมการปกครองท้องที่ การอาสารักษาดินแดน และการทะเบียน เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัย ได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว และเกิดความสงบสุขในสังคม
(2) ดำเนินการบังคับใช้กฎมหายในฐานะพนักงานเจ้านห้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครองและกฎหมายอื่นที่ได้รับมอบหมาย ทั้งในฐานะปลัดอำเภอ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และพนักงานเจ้านห้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของสังคม
(3) ปฏิบัติงานช่วยเหลือ สนับสนุนงานตามอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอในการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม และจังหวัด มาปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมาย และอำนวยการตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเป็นผู้แทนนายอำเภอตามกฎหมาย เพื่อให้การบริหารราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอเป็ฯไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2. ด้านการวางแผน วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลส้มฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ
(1) ให้บริการเกี่ยวกับภารกิจของกรมการปกครอง เช่น ด้านทะเบียนและบัตร การอำนวยความเป็นธรรม แก่ส่วนราชการทั้งภายในและภายนอกองค์กร องค์กรภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน
(2) ให้ความรู้ ความเข้าใจ คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐตามสิทธิขั้นพื้นฐานได้อย่างเสมอภาค ทั่วถึง และเป็นธรรม
(3) เผยแพร่ข้อมูลด้านการเมืองการปกครอง และส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง ถูกต้อง และรวดเร็ว

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาวิชาดังกล่าว ในทางที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติ หรือสาขาวิชาอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

 กดถูกใจเพจเพื่อรับแนวข้อสอบ เตรียมสอบปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง  

2. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาวิชาดังกล่าว ในทางที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติ หรือสาขาวิชาอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

3. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือสาขาวิชานิเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาวิชาดังกล่าว ในทางที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติ หรือสาขาวิชาอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

4. ได้รับปริญญาในสาขาวิชาหรือทางอื่นที่ อ.ก.พ.กรม พิจารณาห็นว่ามีความรู้ที่เทียบได้ในระดับเดียวกันกับสาขาวิชาหรือทางตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 หรือ ข้อ 3 ซึ่งมีความเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
1. มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
2. มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
3. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง

ต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบภาค ก. ที่ดำเนินการจัดสอบโดยสำนักงาน ก.พ.


ในประกาศรับสมัครสอบปลัดอำเภอ ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2555 ได้กล่าวสรุปลักษณะการปฏิบัติงานไว้เพียงย่อๆ ว่า

“ปฏิบัติงานด้านการปกครองเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ การอำนวยความเป็ฯธรรม การปกครองท้องที่ การอาสารักษาดินแดน และการทะเบียนเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัย ได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว และเกิดความสงบสุขในสังคม ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครองและกฎหมายอืน่ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งในฐานะปลัดอำเภอ พนักงานฝ่ายปกครอง พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด ให้บริการประชาชนเกี่ยวกับภารกิจกรมการปกครอง เช่น ด้านการทะเบียนและบัตร การอำนวยความเป็นธรรม แก่ส่วนราชการทั้งภายในและภายนอกองค์กร องค์กรภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน”


หลักสูตรการสอบปลัดอำเภอ

1. ภาค ก. ก.พ. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป

ในส่วนนี้อ้างอิงจากประกาศรับสมัครสอบปลัดอำเภอเมื่อปี 2555 โดยในครั้งนั้นจะรับสมัครเฉพาะผู้ที่สอบผ่านภาค ก. ก.พ. ระดับปริญญาตรีแล้วเท่านั้น แต่เมื่อปีที่ผ่านมา ก.พ. ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงการใช้ใบภาค ก. ก.พ. คือให้ระดับสูงกว่าใช้แทนระดับต่ำกว่าได้ เช่นนี้แล้วจึงจะกล่าวแบบเข้าใจง่ายๆ คือ ใบรับรองผลภาค ก. ก.พ. ระดับต่ำสุดที่ใช้ในการสอบปลัดอำเภอคือ ภาค ก. ก.พ. ระดับปริญญาตรี ท่านสามารถใช้ใบรับรองผลผ่านภาค ก. ก.พ. ระดับปริญญาโท แทนได้ แต่จะนำใบภาค ก. ก.พ. ระดับ ปวส. หรือ ปวช.มาใช้แทนกันไม่ได้

ในอดีต ก.พ. เคยจัดสอบภาค ก. ให้พร้อมกับภาค ข. คือผู้ที่สอบผ่านภาค ก. ก.พ. แล้วก็ไม่ต้องสอบภาค ก. อีก สอบเฉพาะภาค ข. และภาค ค. แต่ผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. ก.พ. ก็ให้เข้าสอบภาค ก. หากสอบภาค ก. ผ่านก็ได้รับใบรับรองผลการสอบภาค ก. ก.พ. ใช้ได้ตลอดชีวิตเหมือนกับการที่ ก.พ. จัดสอบภาค ก. ก.พ. อย่างเดียว ใช้ได้กับทุกหน่วยงานที่รับผลภาค ก. ก.พ. ไม่เฉพาะกับการสอบปลัดอำเภอเท่านั้น โดยในครั้งนั้นจะสอบภาค ก. ช่วงเช้า และสอบภาค ข. ในช่วงบ่าย

ในการสอบปลัดอำเภอที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อไปจึงยากจะหยั่งรู้ได้ว่าจะสัดสอบภาค ก. ร่วมกับภาค ข. สำหรับผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. ก.พ. หรือไม่ จนกว่าจะมีประกาศรับสมัครสอบปลัดอำเภออย่างเป็นทางการ

ซึ่งการสอบภาค ก. ก.พ. แบบปัจจุบัน ปกติ ก.พ. จะจัดสอบภาค ก. ก.พ. ปีละครั้ง โดยจะประกาศรับสมัครสอบในช่วงต้นปี เช่นปี 2556 รับสมัครปลายเดือนเมษายน และปีนี้ 2557 ประกาศช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แต่รับสมัครจริงๆ ต้นเดือนมีนาคม หากประมาณระยะเวลาประกาศรับสมัครสอบก็อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน และรับสมัครจริงชวงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ในที่นี่จะขอกล่าวรายละเอียดการรับสมัครสอบภาค ก. ก.พ.เพียงสั้นๆ โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลในภายหลังจากอ่านบทความนี้จบ 

 กดถูกใจเพจเพื่อรับแนวข้อสอบ เตรียมสอบปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง  

1. วิชาความสามารถทั่วไป หรือพวก คณิตศาสตร์ทั่วไป อุปมาอุปไมย ตรรกศาสตร์ เงื่อนไขสัญลักษณ์ เงื่อนไขภาษา
2. วิชาภาษาไทย
3. วิชาภาษาอังกฤษ กรณีที่มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษจาก TOEFL (ไม่รวม TOEFL ITP), TOEIC, IELTS, CU TEP และ TU GET ไม่เกิน 2 ปี สามารถใช้ยื่นเป็นหลักฐานและไม่ต้องสอบวิชาภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่สอบไปแล้วแต่ไม่ผ่านก็สามารถยื่นภายหลังได้ตามที่ ก.พ. ได้กำหนดระยะเวลา เช่น ในปีนี้ 2557 ได้กำหนดให้ยื่นผลการทดสอบภาษาอังกฤษได้ถึงเดือนธันวาคม

แต่ตามข้อมูลใน “โครงการส่งเสริมและแนะแนวการรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ Assistant Chief District Officer (ACDO Roadshow)” ระบุว่า ภายหลังปี 2558 ก.พ.จะเริ่มสอบด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถสมัครสอบได้ทุกวัน ตามรอบเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ซึ่งก็ยังไม่ปรากฎว่ามีประกาศหลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับสมัครสอบภาค ก. ก.พ. จากสำนักงาน ก.พ.ในขณะนี้ ก็ยังคงใช้หลักเกณฑ์เดิมต่อไป

การสอบภาค ก. ก.พ. ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตก่อนที่จะมีการแบ่งภาค ก. เป็น 4 ระดับ ก.พ.เคยใช้ในการสอบเฉพาะผู้มีคุณวุฒิปริญญาโท จะอธิบายหลักเกณฑ์ครา่วๆ เพราะหากมีการจัดสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์จริง ก.พ. อาจจะใช้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยในการจัดสอบสมัยนั้น ก.พ.จะจัดสอบทุกเดือน ประกาศรับสมัครเป็นรอบทุกสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 ของเดือน (ขออภัยส่วนนี้จำไม่ได้ว่าเป็นสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3) ผู้ที่สมัครสอบแล้วไม่ผ่านจะไม่สามารถสมัครสอบในรอบถัดไปได้ เช่น สมัครสอบรอบเดือนมกราคม แล้วสอบไม่ผ่านจะไม่สามารถสมัครสอบรอบเดือนกุมภาพันธ์ได้ แต่จะสมัครสอบรอบเดือนมีนาคมได้ ทั้งนี้อาจจะด้วยต้องการหน่วงระยะเวลาในการประมวลผลการสอบ ให้ได้ทราบผลการสอบก่อนสมัครสอบในรอบต่อไป

แต่ไม่ว่า ก.พ. จะจัดสอบ ภาค ก. รูปแบบไหน หากมีการจัดสอบภาค ก. ก.พ. เมื่อไรท่านที่ยังสอบภาค ก. ก.พ. ไม่ผ่าน ก็คงจะรออะไรไม่ได้อีกต่อไป ต้องสมัครสอบโดยไว เพราะการสอบภาค ข. ปลัดอำเภอนับจากนาทีนี้ไป เป็นการ “นับถอยหลัง” แล้วครับ

แนะนำให้เข้าทดสอบภาษาอังกฤษจาก TOEFL (ไม่รวม TOEFL ITP), TOEIC, IELTS, CU TEP และ TU GET ได้ตลอดเพราะบางสถาบันดังกล่าวจัดสอบบ่อยมาก และทราบผลได้เร็ว เพียงแต่สอบให้ได้ตามเกณฑ์คะแนนไม่ต่ำกว่า 50% นอกจากจะนำผลคะแนนนี้ไปยื่นเพื่อไม่ต้องสอบวิชาภาษาอังกฤษ สอบแต่ความสามารถทั่วไปและวิชาภาษาไทย เพิ่มโอกาสการสอบผ่านภาค ก. ก.พ. แล้ว หากสอบปลัดอำเภอผ่านได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ยังสามารถนำผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษจากสถาบันดังกล่าวไปยื่นเพื่อรับเพิ่ม เงินเดือนแรกบรรจุได้อีกเดือนละ 375 บาท ไม่กี่เดือนก็คืนทุนแล้วครับ..คุ้ม^^

เป็นอันว่าจบเรื่องภาค ก. ก.พ. สำหรับผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านหรือไม่มีใบรับรองผลการสอบภาค ก. ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท

2. ภาค ข. ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

ในการสอบปลัดอำเภอการสอบภาค ข. จะเป็นการทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ (ปลัดอำเภอ) โดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้

(1) ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานราชการ (100 คะแนน)

(1.1) ความรู้ทางด้านวิชาทางการเมือง การปกครองและการบริหารราชการแนวใหม่

(1.2) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจุับนทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยและของต่างประเทศ

(1.3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยระเบียบริหาราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ ระเบียบเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การคลังและพัสดุ

(1.4) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชยื กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

(2) ความรู้ ความเข้าใจในภารกิจของกรมการปกครอง (100 คะแนน)

(2.1) วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง

(2.2) การปกครองท้องที่ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ กฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ และคณะกรรมการหมู่บ้าน

(2.3) ความรู้เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชน งานทะเบียนทั่วไป งานอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน งานการพนัน การควบคุมการเรี่ยไร งานควบคุมการขายทอดตลาดและการค้าของก่า งานโรงรับจำนำ งานโรงแรม และงานสถานบริการ และงานอื่นๆ ที่ฝ่ายปกครองรับผิดชอบ

(2.4) ความรู้เกี่ยวกับการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน การรักษาความสงบเรียบร้อย การรักษาความมั่นคงภายในและการจัดระเบียบสังคม ในหน้าที่ของกรมการปกครอง และการสอบสวนคดีอาญาและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

3. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

ในการสอบปลัดอำเภอการสอบภาค ค. จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย และการสอบสัมภาษณ์

บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ตามประกาศการรับสมัครสอบปลัดอำเภอปี 2555 ในส่วนท้ายของลักษณะงานที่ปฏิบัติได้ระบุไว้ว่า “ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบ ควรเป็นผู้ที่มีความพร้อมและสามารถไปปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำในต่างจังหวัด ซึ่งอาจะเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลและทุรกันดารได้ โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง” เคยได้ยินสำนวนที่ว่าเป็นปลัดอำเภอรองเท้าต้องสึกก่อนเก้าอี้ไหมครับ ^^

1. การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตามแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างง่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยผู้เข้าทดสอบจะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง และสามารถเข้าทดสอบสมรรถภาพร่างกายตามที่กำหนดได้ ประกอบด้วย

1. ดันพื้น
2. นอนยกตัว
3. วิ่งระยะทาง 2,000 เมตร

2. การประเมินบุคคลและสัมภาษณ์ จะประเมินผู้เข้าสอบจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฎทางอื่น รวมทั้งจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาสมรรถนะและความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ท่วงทีวาจา อุปนิสัย ทัศนคติ อารมณ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ รวมถึงความรู้ที่เป็นประโยชน์และคุณลักษณะที่เหมาะสมอื่นและจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น


ทั้งนี้ กรมการปกครองกำหนดให้ทดสอบภาค ก. (ถ้ามี) และภาค ข. ก่อน หากสอบผ่านจึงจะให้ผู้ที่สอบผ่านเข้าทดสอบภาค ค. ต่อไป โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบภาค ค. ภายหลังจากตรวจผลการสอบภาค ก. (ถ้ามี) และภาค ข. แล้วเสร็จ


สำหรับท่านที่ต้องการทราบว่า “โครงการส่งเสริมและแนะแนวการรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ Assistant Chief District Officer (ACDO Roadshow)” มีการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง

 กดถูกใจเพจเพื่อรับแนวข้อสอบ เตรียมสอบปลัดอำเภอ เจ้าพนักงานปกครอง  

ภารกิจปลัดอำเภอ

1. เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ ตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553

2. เสนอแนะนโยบายและจัดทำแผน มาตรการ ติดตาม และประเมินผลด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน

3. ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย สืบสวนสอบสวน คดีอาญาในหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครอง และอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน

4. ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายใน งานการข่าว งานกิจการชายแดน งานควบคุมดูแลชาวเขาและชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพและผู้หลบหนีเข้าเมือง งานสัญชาติ และงานกิจการมวลชน

5. สนับสนุน ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการเลือกตั้งทุกระดับ

6. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน

7. ดำเนินการพัฒนาและบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามกฎมหายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

8. ดำเนินการพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชน และงานทะเบียนอื่น รวมทั้ง การบริหารจัดการฐานข้อมูลกลาง เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

9. ดำเนินการพัฒนาบุคลากรในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน

10. ดำเนินการสื่อสาร เพื่อการบริหารงานรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน

11. อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายอำเภอ เช่น
– ภารกิจรักษาความสงบจากการชุมนุม
– ภารกิจจับผู้ลักลอบตัดไม้
– ภารกิจการป้องกันและปราบปรามการลักลอบเล่นการพนันที่ผิดกฎหมาย
– ภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– ภารกิจการปราบปรามยาเสพติด
– ภารกิจการจับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม

12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
– ภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของกรมการปกครองอำเภอ นายอำเภอ และปลัดอำเภอ
– ภารกิจตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
– ภารกิจหน่วยงานอื่นที่มอบหมายให้อำเภอเป็นผู้ดำเนินการ เช่น ภารกิจการปกป้องสถาบันสำคัญของชาติ ภารกิจการปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป ภารกิจการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน ภารกิจการประชาสัมพันธ์

แนะนำ “กรมการปกครอง” และข้อมูลพื้นฐานในหน่วยงาน

อัตรากำลังของกรมการปกครอง ที่ปัจจุบันกรมการปกครองมีปลัดอำเภอปฏิบัติหน้าที่ทั่วประเทศไทยประมาณ 7,000 คน มีการแบ่งสัดส่วนอัตรากำลังดังนี้

1. สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน 17,743 (5%)
2. ข้าราชการ 14,074 (4%)
3. พนักงานราชการและลูกจ้าง 1,998 (1%)

4. ผู้ปกครองท้องที่ 294,598 (90%)

เตรียมสอบปลัดอำเภอ

เตรียมสอบปลัดอำเภอ

เตรียมสอบปลัดอำเภอ

เตรียมสอบปลัดอำเภอ

ที่ตั้งของกรมการปกครอง (ส่วนกลาง

1. กรมการปกครอง ถ.อัษฎางค์ (คลองหลอด)
2. กรมการปกครอง คลองหก ธัญบุรี
3. กรมการปกครอง ถ.พหลโยธิน (สน.อส.)
4. กรมการปกครอง คลองเก้า ลำลูกกา
5. กรมการปกครอง วังไชยา นางเลิ้ง

เตรียมสอบปลัดอำเภอ