1. การสมัครสอบมีส่วนสำคัญมาก ควรสมัครสอบในวันแรกที่เปิดรับสมัคร เพราะหากสอบได้แล้วลำดับในการเรียกบรรจุจะเรียกจากผู้มีคะแนนมากกว่า แต่เมื่อมีผู้มีคะแนนเท่ากันจะเรียงจากผู้ที่สมัครก่อน ซึ่งเป็นไปได้มากที่จะมีผู้ได้คะแนนเท่ากันเป็นจำนวนหลายคน ซึ่งหากเราสมัครก่อนในกรณีคะแนนเท่ากันเราจะได้อยู่ในลำดับก่อน
2. การเตรียมตัวสอบ ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการสอบแข่งขัน ซึ่งมีหนังสือตำรา เกี่ยวกับการสอบแข่งขันมากกมาย แต่เวลาในการเตรียมสอบซึ่งนับตั้งแต่หน่วยงานราชการเปิดรับสมัครจนถึงเวลา สอบ ประมาณ 2 เดือน ซึ่งหากผู้เตรียมตัวสอบอ่านหนังสือแบบกว้างไม่เน้นจุดสำคัญก็จะทำให้พลาด โอกาสในการสอบได้ ดังนั้นควรอ่านประกาศการรับสมัครสอบให้ละเอียดว่าจะออกสอบเกี่ยวกับเรื่อง อะไรบ้าง เพื่อให้การเตรียมตัวสอบแคบลงในเวลาอันสั้น
3. ข้อมูลเฉพาะของแต่ละหน่วยงานราชการก็มีความสำคัญ ควรทำความเข้าใจศึกษาให้ละเอียด เช่น ซื่อเว็บไซต์ ภารกิจหลักขององค์กร อำนาจหน้าที่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวนโยบาย วิสัยทัศน์ ฯลฯ
4. ในห้องสอบต้องทำข้อสอบให้ได้ โดยเฉพาะข้อสอบภาค ก. ต้องทำให้ทันเวลา ทำด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ บางข้อก็สามารถนำตัวเลือกของข้อสอบมาสุ่มหาคำตอบได้เลยโดยไม่ต้องใช้สูตร จะทำให้ผู้เข้าสอบได้คะแนนเพิ่มขึ้น
5. ข้อสอบภาษาไทยเกี่ยวกับการอ่านบทความ จะต้องตอบตามเนื้อความที่โจทย์ให้มาอย่าคิดนอกเหนือจากนั้น อย่าคิดล่วงหน้า และให้สังเกตข้อความเหล่านี้คือ “ทำให้ , ปรากฏขึ้น, เพราะ, เนื่องจาก” ซึ่งคำตอบส่วนใหญ่จะอยู่หลังข้อความเหล่านี้
6. การเลือกคำตอบที่ถูกต้อง โดยเฉพาะตัวเลือกที่เป็นคำเฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่จะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง เช่น หากมีตัวเลือกที่ลงท้ายว่า “เท่านั้น, เพียงอย่างเดียว” ให้ข้ามไปได้เลย
7. การเดาอย่างมีประสิทธิภาพ ในการเข้าสอบจากประสบการณ์ ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่ไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้ทุกข้อ จะต้องเดา เทคนิคง่าย ๆ ของการทำข้อสอบประเภทที่ถามเกี่ยวกับ จำนวนกี่คน อายุกี่ปี ระเวลาเท่าใด ถ้าหากไม่ทราบเลยว่าข้อใดเป็นข้อที่ถูกต้อง ควรเลือก ข้อ ค หรือ ง ก็ได้ เพราะคำตอบส่วนใหญ่จะเป็น ข้อ ค หรือ ง
ขอให้ทุกท่านโชคดีในการสอบ
อ้างอิงข้อมูลจาก [url]www.testthai1.com[/url]