ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : จากเมล็ดฝ้ายกลายเป็นเสื้อยืด
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

จากเมล็ดฝ้ายกลายเป็นเสื้อยืด

แชร์กระทู้นี้

รับสกรีนเสื้อยืด เสื้อคู่ เสื้อแก๊ง เสื้อทีม เสื้อแฟนคลับ รับปักเสื้อด้วยจักรคอมพิวเตอร์  

1. การเพาะปลูกฝ้าย เส้นใยจากฝ้ายถือเป็นเส้นใยธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้าให้กับมนุษย์เราสวมใส่มากที่สุดเป็นอันดับ 1 แหล่งเพาะปลูกฝ้ายที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกของโลก อยู่ในประเทศจีน อเมริกาและอินเดีย ตามลำดับ เมล็ดฝ้ายที่เก็บเกี่ยวแล้วจะถูกส่งไปยังโรงแยกเมล็ดฝ้าย เพื่อแยกเส้นใยออกจากเมล็ด


ทุ่งเพาะปลูกฝ้ายเครดิต  เครดิตรูปภาพ flickr.com


รูปภาพ เมล็ดฝ้าย  เครดิตรูปภาพ flickr.com

2. กระบวนการแยกเมล็ดฝ้าย ก่อนจะเข้าเครื่องแยกเมล็ดฝ้าย จะต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดด้วยเครื่องเป่าลมและเครื่องตีเพื่อให้เปลือกบางส่วนหลุด ทำให้ง่ายต่อการแยกเศษใบไม้ กิ่งไม้ และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ออกจากเมล็ดฝ้าย และการตีจะทำให้เส้นใยฟูขึ้น หลังจากทำความสะอาด เมล็ดฝ้ายถูกลำเลียงเข้าเครื่องคัดแยก เพื่อแยกเส้นใยออกจากเมล็ดฝ้าย เส้นใยที่ถูกแยกจะมีลักษณะเป็นก้อนคล้ายสำลี เราเรียกเส้นใยที่ได้ในกระบวนการนี้ว่า “ลินท์” ( lint ) หลังจากนั้นเส้นใยจะถูกบดอัดให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มีหน่วยเป็นเบลล์ (1 เบลล์ จะมีน้ำหนัก 500 ปอนด์) ในแต่ล่ะเบลล์จะถูกจัดเกรดของเส้นใยโดยการนำตัวอย่างของเส้นใยแต่ล่ะเบลล์มาวัดขนาดความยาว ความเหนียว สี ความสะอาด หลังจากนั้นจะถูกส่งต่อเข้าสู่กระบวนการถัดไป หรือถูกนำไปจัดเก็บเพื่อรอการนำไปขายต่อให้กับผู้รับซื้อเพื่อนำไปแปรรูปต่อไป

รูปภาพ เส้นใยฝ้ายดิบถูกอัดเป็นก้อน 1 ก้อนหน่วยเป็น เบลล์  เครดิตรูปภาพ flickr.com

3.กระบวนการปั่นด้าย ก่อนเข้าสู่กระบวนการปั่นด้ายเส้นใยดิบในแต่ล่ะเบลล์จะถูกป้อนเข้าเครื่อง carding machine เพื่อเปลี่ยนรูปจากเส้นใยฟู ๆ ไปเป็นเส้นใยบางๆ และยาวขึ้น แล้วนำมามัดรวมเข้าด้วยกันเป็นเส้นใยที่มีขนาดใหญ่คล้ายเชือกซึ่งมีความอ่อนนุ่ม สะอาด และทนต่อแรงดึงได้ดี เส้นเชือกมัดใหญ่นี้ถูกเรียกว่า Sliver ก่อนจะนำ Sliver ไปเข้าเครื่องปั่นด้าย ต้องผ่านขั้นตอนทำความสะอาดอีกครั้งด้วย combing machine โดยการสางเอาสิ่งสกปรกออกจากเส้นใย นอกจากเส้นใยจะมีความสะอาดแล้วยังช่วยลดช่องอากาศ(สิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในเส้นใย) ช่วยเพิ่มความเหนียวให้เส้นใย

รูปภาพ เครื่องปั่นด้าย  เครดิตรูปภาพ flickr.com

หลังจากนั้น Sliver จะถูกนำเข้าสู่เครื่องปั่นด้าย (Spinning) เพื่อให้เส้นด้ายมีความยาวต่อเนื่องและมีความเหนียว เส้นด้ายที่ออกจากเครื่องปั่น(Yarn ) จะถูกพันเข้ากับกระสวยด้ายทรงกระบอกเพื่อสะดวกในการนำสวมกับแกนของเครื่องถักในกระบวนการต่อไป
4. กระบวนการทอเส้นด้าย(Yarn)เป็นผ้าผืน กระสวยเส้นด้ายจำนวนมากจะถูกทอเป็นผืนผ้าด้วยเครื่องถักระบบหมนุวน Circular knitting machine เส้นด้ายจำนวนมากจากหลาย ๆ กระสวย จะถูกดึงเข้าเครื่องถักโดยหลักการถักเป็นวงกลมตามรอบการหมุนของเครื่องจักรออกมาเป็นผ้าผืน

กระบวนการทอผ้า ด้วยเครื่องถักแบบหมุนเป็นวงกลม  เครดิตคลิปจาก youtube.com

5. กระบวนการ Finihsing คือกระบวนท้ายสุดก่อนนำผ้าไปตัด-เย็บ ผ้าที่ต้องการย้อมสีสามารถย้อมได้ในขั้นตอนนี้ รวมที่ต้องผ่านการฟอกด้วยไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ก็จะกระทำในขั้นตอนสุดท้ายนี้
6. ขั้นตอนการตัดเพื่อผลิตเสื้อยืด ผ้าผืนทรงกระบอกทีได้จากการทอจะถูกนำมาวางซ้อนทับกันหนาหลายชั้นแล้วใช้เครื่องตัดอัตโนมัติตัดตามแพทเทรินด์เสื้อยืดที่ออกแบบไว้ โดยแยกเป็นส่วนของ ตัวเสื้อ และแขนเสื้อ (คอเสื้อจะใช้ผ้าแยกส่วนต่างหาก)
7. ขั้นตอนการเย็บเสื้อยืด ขั้นตอนนี้ จะนำชิ้นส่วนทั้งสามมาเย็บต่อกันเข้าเป็นเสื้อยืด

8. เสื้อยืดที่ได้จะถูกนำไปสกรีน หรือพิมพ์ลายตามที่ได้ออกแบบไว้ ด้วยการสกรีนแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมออกมาเป็นเสื้อยืดให้เราใส่เท่ห์กัน

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย แพนด้าสกรีน อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้