ภาพกราฟิกที่ใช้สำหรับงานสกรีนเสื้อ จะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ภาพแบบbitmap และ ภาพแบบเวคเตอร์
ภาพกราฟิกประเภทราสเตอร์ (Raster) หรือที่เรียกกันว่าภาพบิทแมพ (bitmap) การสร้างภาพเกิดจากการจัดเรียงของจุดสีเล็ก ๆ นำมาเรียงในแนวดิ่งและแนวระนาบเกิดเป็นภาพ 2 มิติ กว้าง X สูง หากขยายภาพขึ้นมาจะเห็นจุดตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ซึ่งเรียกว่า พิกเซล(pixel)
โดยหน่วยที่ใช้บอกความละเอียดหรือความหนาแน่นของจุดสีคือ dpi ย่อมาจาก dot per inch
ความละเอียดของภาพที่เหมาะกับงานสกรีนเสื้อ เป็นเรื่องที่ต้องพิจาราณาเป็นอันดับแรกในการจะนำภาพหรือลายส่งให้ร้านสกรีน ไม่ว่าจะเป็นงานสกรีนแบบบล็อกหรือแบบดิจิตอลปริ๊นหากภาพมีความละเอียดไม่พองานที่ออกมาจะขาดความคมชัดภาพแตก หรืออาจไม่สามารถนำไปใช้งานได้เลย
จากภาพด้านบนภาพมีความละเอียด 72 dpi ขนาดไฟล์ภาพ 196x203 pixel ขนาดเหมาะสมที่จะนำมาพิมพ์คือ 2.7X2.8 นิ้ว เท่านั้น ยิ่งพิมพ์ที่ขนาดใหญ่คุณภาพก็ด้อยลงตามลำดับ
ภาพราสเตอร์กับงานบล็อกสกรีน สำหรับกระบวนการเตรียมงานก่อนสกรีน หากลายที่ส่งมาในฟอร์แมทราสเตอร์ นามสกุล Jpeg ,bmp,Tiff ทางร้านจะต้องทำการแปลงภาพให้อยู่ในรูปแบบเวคเตอร์ก่อน เพื่อนำไปใช้ในการเตรียมงานและปริ๊นลายลงฟิลม์ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องการภาพที่มีความคมชัดสูง เพื่อนำไปใช้ถ่ายบล็อกในขั้นตอนต่อไป ดังนั้นภาพราสเตอร์ในงานบล็อกสกรีนจึงจำเป็นต้องมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi เพื่อนำไปแปลงเป็นเวคเตอร์ที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุด
** หมายเหตุสำหรับภาพในฟอร์แมทราสเตอร์ที่เหมาะกับงานสกรีนแบบบล็อกสกรีนจะเป็นงานที่ไม่มีแสงเงา ไม่มีการไล่เฉด เป็นภาพสีทึบ ภาพแมวที่นำมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้เห็น pixel เท่านั้น ( จริง ๆ สามารถใช้เทคนิคการสกรีนแบบ CMYK และฮาฟโทนกับกราฟิกที่มีการไล่เฉดสีหรือภาพเหมือนได้แต่ยังไม่ขอกล่าวถึงนะครับ)
ตัวอย่างภาพ Raster ที่เหมาะจะนำมาแปลงเป็นเว็คเตอร์สำหรับงานบล็อคสกรีน
ตัวอย่างภาพที่ ไม่เหมาะกับงานบล็อกสกรีนเนื่องจากภาพมีแสงเงา ไล่เฉด และเป็นภาพถ่าย
งานสกรีนดิจิตอล คือการสั่งพิมพ์ภาพจากเครื่องพิพม์เสื้อยืดลงบนเนื้อผ้าโดยตรง เนื่องจากวัสดุเป็นเนื้อผ้าที่พื้นผิวมีความหยาบกว่าเมื่อเทียบกับการพิมพ์ลงกระดาษดังนั้นความละเอียดในระดับปานกลางที่ 200 dpi ขึ้นไปก็เพียงพอที่จะให้ภาพที่มีความคมชัดที่ระยะการมองด้วยสายตาประมาณ 1 ฟุต สำหรับงานสกรีนดิจิตอล
ดูอย่างไรว่าภาพมีความละเอียดเพียงพอกับขนาดที่จะสกรีนหรือไม่ เราสามารถเช็คได้จากการคลิกขวาที่ไฟล์ภาพแล้วเลือกที่รายละเอียด จะมีหน้าต่างแสดงดังรูป
ขนาดภาพอยู่ที่ 480 X 319 pixel
ความละเอียด 92 dpi
เมื่อทราบข้อมูลเราก็สามารถคำนวณหาขนาดที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์ได้โดยนำขนาดภาพ(pixel) หารด้วยความละเอียด (dpi)
ความกว้างที่เหมาะสมในการพิมพ์ = ความกว้าง (pixel) หารด้วย dpi ที่ต้องการ
ความสูงที่เหมาะสมในการพิมพ์ = ความสูง (pixel) หารด้วย dpi ที่ต้องการ
ดังนั้นขนาดที่เหมาะสมในการพิมพ์ภาพนี้หากแบ่ง 3 ระดับ ก็จะได้ขนาดภาพที่แตกต่างกันไป
ภาพความละเอียดต่ำ ( 92 dpi) พิมพ์ที่ขนาด = 5.2 X 3.46 นิ้ว
ภาพความละเอียดปานกลาง ( 200 dpi) พิมพ์ที่ขนาด = 2.4 X 1.59 นิ้ว
ภาพความละเอียดสูง ( 300 dpi) พิมพ์ที่ขนาด = 1.6 X 1.06 นิ้ว
ตารางเปรียบเทียบภาพขนาดต่าง ๆ ที่ความละเอียดจากต่ำ-กลาง-สูง
จากตารางจะเห็นว่าภาพขนาดประมาณ A3 (11.6 X 16.5นิ้ว) หากเลือกที่ความละเอียดสูงจะมีขนาด = 19.44 ล้านพิกเซล ( 3600 X 5400 ) ดังนั้นหากเรารู้ขนาดความกว้าง X สูงของไฟล์ภาพก็สามารถนำมาเทียบกับช่องความละเอียดที่ต้องการใช้ แล้วโยงไปทางซ้ายหาขนาดของภาพที่เหมาะสมจะพิมพ์ได้
ยกมาให้ดูอีก 1 ตัวอย่างครับ สำหรับภาพขนาด 1200X1800 pixel เหมาะที่จะนำไปพิมพ์ทีความละเอียด ต่ำ-กลาง-สูง ในขนาดที่แตกต่างกัน
การสร้างานขึ้นใหม่สิ่งที่ต้องกำหนดคือขนาดภาพที่ต้องการนำไปใช้ และ ขนาดความละเอียด เป็น dpi ดังรูป
ภาพกราฟฟิกประเภทเวคเตอร์ จะใช้วิธีสร้างภาพแบบ 2 มิติ โดยการคำนวณค่าทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้เส้นตรงเส้นโค้ง ซึ่งภาพที่ได้จะสามารถย่อขยายได้โดยคุณภาพของภาพไม่เสียไป ดังนั้นภาพเวคเตอร์จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ได้กับงานสกรีนแทบทุกประเภทเนื่องจากสามารถขยายใหญ่ได้เท่าที่ต้องการ อย่างไรก็ดีภาพสไตล์เวคเตอร์จะเป็นภาพ 2 มิติเหมือนภาพกาาร์ตูนไม่มีการไล่แสงเงา สำหรับโปรแกรมที่ในการสร้างภาพเวคเตอร์ เช่น Adobe Illustrator ,Corel Draw ,Macromedia Freehand, InkScape นามสกุลของไฟล์จะเป็น .ai , .eps
ตัวอย่างภาพเวคเตอร์