ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบพ..ร.บ.เทศบาล 2496 และพรบ.สาธารณสุข 2535
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบพ..ร.บ.เทศบาล 2496 และพรบ.สาธารณสุข 2535

แชร์กระทู้นี้

ความเป็นมาของกฎหมายสาธารณสุข หากไม่นับรวมกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อแล้วประเทศไทยได้มีกฎหมายสาธารณสุขขึ้นใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 ได้แก่ “พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พุทธศักราช 2477” และต่อมาได้แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2482 เรียกว่า “พระราชบัญญัติการสาธารณสุข(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช2482” ซึ่งในเวลานั้นการดูแลกิจการสาธารณสุขของประเทศไทยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในปี 2484 รัฐบาลสมัยนั้นได้ออกกฎหมายฉบับหนึ่งเรียกว่า “ พระราชบัญญัติสาธารณสุข พุทธศักราช 2484” ออกมายกเลิก พระราชบัญญัติการสาธารณสุข ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2485 และได้โอนอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการสาธารณสุขซึ่งเดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พุทธศักราช 2484 มาเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข หลังจากนั้นก็ได้มีการตราพระราชบัญญัติสาธารณสุข แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2495) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2497) ฉบับที่ 4(พ.ศ. 2505) และฉบับที่ 5(พ.ศ.2527) สืบต่อกันมาตามลำดับ จนกระทั่งกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอยกร่างพระราชบัญญัติสาธารณสุขฉบับใหม่ โดยยกเลิกพระราชบัญญัติเก่าทั้งหมดต่อสภาผู้แทนราษฎรและได้มีผลบังคับตามกระบวนนิติบัญญัติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 38 วันที่ 5 เมษายน 2535 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2535 เป็นต้นมาได้แก่ “พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535” ด้วยเหตุผลว่า พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484 และพระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระ พ.ศ. 2480 ได้ใช้บังคับมานานแล้วแม้ว่าจะได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้งแล้วก็ยังไม่ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของสังคม จึงจำเป็นต้องขยายขอบเขตการกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขในด้านต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น เพื่อสามารถนำมาปรับใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที และโดยที่ปัจจุบันการสาธารณสุขเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมของมนุษย์อย่างใกล้ชิด แต่บทบัญญัติของกฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ได้กำหนดมาตรการกำกับดูแลและป้องกันเกี่ยวกับ อนามัยสิ่งแวดล้อมไว้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพฉะนั้นเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของสังคมปัจจุบัน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการกำกับดูแล ป้องกันเกี่ยวกับการอนามัยสิ่งแวดล้อม สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายว่าการควบคุมการใช้อุจจาระเป็นปุ๋ยเสียใหม่ และรวมกฎหมายทั้ง 2 ฉบับเข้าเป็นฉบับเดียวกัน พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 2) ประกาศเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2550 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 124 ตอนที่ 28 ก =====================================


พระราชบัญญัติการสาธารณสุข เป็นกฏหมายที่คุ้มครองด้านสุขลักษณะและการอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมทั้งกิจกรรม การกระทำทุกอย่าง และกิจการประเภทต่างๆที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชนตั้งแต่ระดับชาวบ้าน ครัวเรือน ชุมชน ตลอดจนกิจการขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ อันได้แก่หาบเร่ แผงลอย สถานที่จำหน่ายอาหาร ตลาดกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทต่างๆ รวม 125ประเภท รวมทั้งการเลี้ยงหรือ ปล่อยสัตว์โดยให้อำนาจแก่ราชการส่วน ท้องถิ่น ในการออกข้อกำหนดท้องถิ่น ใช้บังคับในเขต ท้องถิ่นนั้นๆ และให้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการควบคุมดูแล โดยการออกคำสั่งให้ ปรับปรุง แก้ไขการอนุญาต หรือไม่อนุญาต การสั่งพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาติ รวมทั้ง การเปรียบเทียบคดีและยังกำหนดให้มี "เจ้าพนักงานสาธารณสุข" เป็นเจ้าพนักงานสาย วิชาการที่มีอำนาจในการตรวจตรา ให้คำ แนะนำ ปรับปรุงแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการวินิจฉัย สั่งการ หรือออกคำสั่ง รวมทั้งผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจาากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติ การให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 มีบทบัญญัติ หรือข้อกำหนดที่ใช้ในการควบคุมมลพิษทางอากาศ ได้แก่ บทบัญญัติ ในหมวด 1 เรื่อง บททั่วไป มาตรา 6-8 หมวด 5 เรื่อง เหตุรำคาญ มาตรา 25-28 และหมวด 7 เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มาตรา 31-33 หมวด 8 เรื่อง ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหาร ของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 เป็นส่วนที่สามารถนำมาใช้ในการควบคุมมลพิษทางอากาศได้

สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

เหตุผลความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัตินี้

                        โดยที่การสาธารณสุขเป็นเรื่องที่จำเป็นและเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของประชาชนและสภาพแวดล้อม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข จึงกำหนดมาตรการกำกับดูแล และป้องกันเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมไว้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และมีบทกำหนดโทษตามกฎหมาย เพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพในการกำกับดูแลและป้องกันเกี่ยวกับการอนามัยสิ่งแวดล้อม

 คำนิยามที่ควรทำความเข้าใจ (มาตรา 4)

                        “ที่หรือทางสาธารณะ”  หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้

                        “อาคาร”  หมายความว่า ตึก บ้านเรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้

                        “ราชการส่วนท้องถิ่น”  หมายความว่า เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือองค์การปกครองท้องถิ่น ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น

                        “เจ้าพนักงานท้องถิ่น”  หมายความว่า

(1)   นายกเทศมนตรีสำหรับในเขตเทศบาล

(2)   .......

(3)   ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(4)   ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร

                        “เจ้าพนักงานสาธารณสุข”  หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

                        “คณะกรรมการ”  หมายความว่า คณะกรรมการสาธารณสุข

                        “รัฐมนตรี”  หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

1.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รักษาการตามพระราชบัญญัติ และมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานสาธารณสุข และออกกฎกระทรวงกำหนดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่น (มาตรา 5)

2.    รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 6)

3.    อธิบดีกรมอนามัย มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าของวัตถุหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ระงับการกระทำที่เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยเร่งด่วน ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพฯ ให้อธิบดีแจ้งแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อสั่งให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปฏิบัติการสำหรับในเขตท้องที่จังหวัดนั้น (มาตรา 7)

4.    คณะกรรมการสาธารณสุข ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการจำนวนไม่เกิน 17 คน และอธิบดีกรมอนามัยเป็นกรรมการและเลขานุการ

 การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

1.    การกำจัดสิ่งปฏิฉันลและมูลฝอยในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นนั้น เมื่อมีเหตุอันสมควรอาจมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการภายใต้การควบคุมได้ (มาตรา 18)

2.    ห้ามมิให้ผู้จัดดำเนินการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิฉันลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนค่าบริการ 1 วัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (มาตรา 19)

3.    ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนดของท้องถิ่น เพื่อรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บขนและกำจัดสิ่งปฏิฉันลหรือมูลฝอย (มาตรา 20)

4.    เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารจัดการรื้อถอน เปลี่ยนแปลง แก้ไขหากปรากฏว่า อาคารหรือส่วนของอาคารใด หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งต่อเนื่องกับอาคาร มีสภาพชำรุดทรุดโทรม หรือหากปล่อยให้สภาพรกรุงรัง อาจเป็นอันตราย โดยภายในกำหนด (มาตรา21)

5.    เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าอาคารใดมีสินค้า เครื่องเรือนหรือสัมภาระสะสมได้มากเกินสมควร หรือจัดสิ่งของซับซ้อนเกินไปจนอาจเป็นเหตุให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หรืออันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ถูกต้องต่อการใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองจัดการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด (มาตรา 22)

6.    รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดจำนวนคนต่อพื้นที่เพื่อมิให้อาคารมีคนอยู่มากเกินไป จนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่ในอาคาร (มาตรา 24)

7.    เหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 25 (1) – (5)

8.    เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อกำหนดในการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ (มาตรา 29 – 30)

9.    รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้กิจการใดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (มาตรา 31)

10.  การจัดตั้งตลาดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (มาตรา 34) และราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจออกข้อกำหนดของท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลตลาด (มาตรา 35)

11. เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะห้ามมิให้จำหน่ายสินค้าเว้นแต่จะได้รับอนุญาต (มาตรา 41)

12. ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกประกาศเกี่ยวกับกำหนดที่หรือทางสาธารณะห้ามจำหน่ายสินค้าหรือห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิด (มาตรา 42) และให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อกำหนดของท้องถิ่น (มาตรา 43)

 อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ (มาตรา 44 – 47)
                              
แบบของหนังสือ/ใบอนุญาต

1.    การแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อดำเนินการเรื่องการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายหรือสะสมอาหารและหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามแบบในข้อกำหนดของท้องถิ่น (มาตรา 48)

2.    ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนด/กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอ และการออกใบอนุญาต (มาตรา 54)

3.    การกำหนดอายุใบอนุญาต การต่ออายุ การปฏิบัติของผู้ขออนุญาต การสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการได้ (มาตรา 60 – 62)
                                                                                            
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ

1.    ให้ราชการท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนดค่าธรรมเนียม ตามหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 63)

2.    ให้ค่าธรรมเนียมและค่าปรับเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น (มาตรา 64)

การอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น

                        ให้ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง และให้คำสั่งของรัฐมนตรีเป็นที่สุด (มาตรา 66 -67)

 บทกำหนดโทษ  (มาตรา 68 – 85)

คณะกรรมการเปรียบเทียบคดี

                        ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีในเขตกรุงเทพฯ ประกอบด้วยผู้แทน กทม. ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำหรับจังหวัดอื่นประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการจังหวัด และผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด (มาตรา 85)

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้