ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ประเภทของกฎหมาย
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ประเภทของกฎหมาย

แชร์กระทู้นี้

ประเภทของกฎหมายหมายประเภทของกฎหมาย

สาระสำคัญ
                กฎหมายมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ศึกษาจะแบ่งตามลักษณะสิ่งใด  อาจแบ่งตามที่มาของกฎหมาย แบ่งตามลักษณะการใช้ หรือแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
                ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.             ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
2.             ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
3.             ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

จุดประสงค์การเรียนรู้
                จำแนกประเภทของกฎหมายซึ่งแบ่งตามลักษณะต่างๆได้




ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                ที่มาของกฎหมาย มี 2 ระบบ คือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร และระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบจารีตประเพณี
เพิ่มคำอธิบายภาพ
1.        ระบบลายลักษณ์อักษร Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี Common Law System) เป็นกฎหมาย   ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี    หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ

ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                การแบ่งประเภทกฎหมายตามลักษณะการใช้กฎหมาย  ต้องคำนึงถึงบทบาทและหน้าที่      การนำเอากฎหมายไปใช้เป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมาย        วิธีสบัญญัติ
1.         กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก

ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
                คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน คือ เจ้าหน้าที่รัฐกับเอกชน    แยกได้เป็น 3 ประเภท คือ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน และกฎหมายระหว่างประเทศ
1.        กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
2.   กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง       ความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อ   การดำรงชีวิตประจำวัน กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่งทั้งหลายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
3.      กฎหมายระหว่างประเทศ คือ กฎหมายที่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกิดจากความตกลงกัน
ระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศแยกตามลักษณะความเกี่ยวพันประเภทใหญ่ ๆ ได้               3  ประเภท คือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล   และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
                                                                                     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เกิดขึ้นได้โดยข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่าง ประเทศต่อประเทศ หรืออาจมีประเทศอื่นเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก หรือเป็นภาคีด้วย
                                                                                      กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน หรือระหว่างบุคคลที่อยู่ต่างรัฐ หรือต่างประเทศ
                                                                                     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกันระหว่างสองประเทศ และประเทศนั้นมีข้อตกลงรับรองให้ศาลแต่ละประเทศพิจารณาคดี หรือร่วมมือกันส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้