ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : กฎหมายที่กรมสรรพสามิตใช้ สอบ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

กฎหมายที่กรมสรรพสามิตใช้ สอบ

แชร์กระทู้นี้

กฎหมายที่กรมสรรพสามิตใช้
(the law where Excise Department uses)
1.พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2527 
ใช้จัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เครื่องดื่ม โคมไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ แก้วคริสคัล รถยนต์ เรือยอร์ช น้ำหอม น้ำมันหอม พรม สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ
2.พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 
ใช้จัดเก็บภาษีสุราแช่กับสุรากลั่น 
1)สุราแช่ = เบียร์,สุราแช่ผลไม้,สุราแช่พื้นเมือง 
2)สุรากลั่น = สุราขาว, สุราผสม, สุราสามทับ,สุราปรุงพิเศษ,สุราพิเศษ
3.พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509
ใช้จัดเก็บภาษีบุหรี่ เช่น ชิกาแรต,ซิการ์,ยาเส้น,ยาเส้นปรุง,ยาเคี้ยว
4.พ.ร.บ. ไพ่ พ.ศ. 2486
ใช้จัดเก็บภาษีไพ่
5.พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
6.พ.ร.บ. จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
7.พ.ร.บ. จัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527
แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.excise.go.th
อธิบายตามพระราชบัญญัติ
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1.ผู้ประกอบอุตสาหกรรม
1.1 ผู้ผลิตสินค้าเอง
1.2 ผู้รับจ้างผลิต
2.ผู้นำเข้าซึ่งสินค้า
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.4 “ผู้นำเข้า” หมายความว่า ผู้นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3.ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.7 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการสถานบริการผู้นำเข้าซึ่งสินค้า หรือผู้อื่นที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี มีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
4.ผู้อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้กำหนด
4.1 ผู้ดัดแปลงรถยนต์ 
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.144 ตรี “ดัดแปลง” หมายความว่า การกระทำใดๆ ต่อรถยนต์กระบะหรือสิ่งใดๆตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้เป็นรถยนต์นั่งหรือเป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน โดยผู้ประกอบการมิใช่ผู้ประกอบอุสาหกรรมรถยนต์
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.144 เบญจ ให้ผู้ดัดแปลงเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าจากการดัดแปลง โดยให้ถือราคาค่าจ้างแรงงานดัดแปลงบวกด้วยค่าวัสดุอุปกรณ์หรือค่าจ้างทำของซึ่งรวมค่าวัสดุอุปกรณ์อยู่ด้วย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับ ค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงและค่าวัสดุอุปกรณ์ตามที่อธิบดีกำหนด
4.2 เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน 
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.4 “คลังสินค้าทัณฑ์บน” หมายความว่า สถานที่นอกโรงอุตสาหกรรมที่อธิบดีอนุญาตให้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าได้โดยยังไม่ต้องเสียภาษี
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.4 “โรงอุตสาหกรรม” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการผลิตสินค้ารวมตลอด ทั้งบริเวณแห่งสถานที่นั้น และให้หมายความรวมถึงเครื่องขายเครื่องดื่มด้วย
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.42 ในกรณีที่มีสินค้าขาดไปจากบัญชีคุมสินค้า ให้เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนเสียภาษีสำหรับสินค้าที่ขาดไปพร้อมกับเบี้ยปรับอีกสองเท่าของภาษีนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าสินค้านั้นสูญหายเพราะเหตุสุดวิสัยหรือเป็นเหตุผิดพลาดในการตรวจนับปริมาณสินค้าอันไม่ได้เกิดขึ้นโดยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน
4.3 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการอันตั้งขึ้น ใหม่ โดยการควบเข้ากัน หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่รับโอนกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมเดิม (ม.57)
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.57 ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการควบเข้ากันหรือโอนกิจการให้แก่กัน ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการอันได้ตั้งขึ้นใหม่โดยการควบเข้ากัน หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่รับโอนกับผู้ประกอบอุตสาห กรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเดิมรับผิดร่วมกันในการชำระภาษีของกิจการเดิมที่ควบเข้ากันหรือกิจการที่โอนนั้น แล้วแต่กรณี
4.4 ผู้ได้รับสิทธิ์ยกเว้น หรือลดอัตราภาษีสำหรับ สินค้านำเข้า (ม.11) แล้วกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
1) ถ้าโอนให้กับบุคคลที่ไม่มีสิทธิ = ผู้โอนกับผู้รับโอนรับผิดร่วมกัน
2) ถ้านำไปใช้ในการอื่น = ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีรับผิด
3) ถ้าสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษีสิ้นสุดลง = ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีรับผิด
4)ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีตาย = ผู้จัดการมรดกหรือทายาท
4.5 ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ตาม ม.102 (3) สำหรับสินค้าที่ ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี 
(ม.12) แล้วกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.102 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้นภาษีในกรณีดังต่อไปนี้ 
(3) สินค้าที่จำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญากับนานาประเทศหรือทางการทูตตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกัน
1) ถ้าโอนให้กับบุคคลที่ไม่มีสิทธิ = ผู้โอนกับผู้รับโอนรับผิดร่วมกัน
2) ถ้าเอกสิทธิ์สิ้นสุดลงนอกจากความตาย = ผู้ได้รับเอกสิทธิ์
4.6 ผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ (ม.56)
4.7 ผู้ชำระบัญชี และกรรมการผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลิกกิจการ ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเป็นนิติบุคคล และเลิกกิจการ โดยมีการชำระบัญชี (ม.58)
4.8 ผู้กระทำความผิดตาม ม.161,ม.162 (ม.163)
วิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต
1.จัดเก็บตามมูลค่า (ม.8)
1.1 ในกรณีที่สินค้าผลิตในราชอาณาจักร ให้ถือราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม
1.2 ในกรณีบริการ ให้ถือตามรายรับของสถานบริการ
1.3 ในกรณีนำเข้า ให้ถือราคาตาม ราคา ซี.ไอ.เอฟ (ราคาสินค้า+ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง)+อากรขาเข้า+ค่าธรรมเนียมพิเศษกฎหมายส่งเสริมการลงทุน+ภาษี+ค่าธรรมเนียมอื่น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
2.จัดเก็บตามปริมาณ (ม.9)
พ.ร.บ. สรรพสามิต ม.9 สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามปริมาณนั้น ให้ถือตามหน่วยน้ำหนักสุทธิหรือตามปริมาณสุทธิของสินค้านั้น
3. จัดเก็บแบบทั้งสองวิธี โดยให้เสียภาษีในแบบที่จำนวนเงินมากที่สุด
ความรับผิดในการที่จะต้องเสียภาษี
1.ในกรณีที่สินค้าผลิตในราชอาณาจักร (ม.10)
1.1 ถ้าสินค้าอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม = นำสินค้าออกจากโรงงานอุตาหกรรม
1.2 ถ้าสินค้าเก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน = นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน+การใช้สินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บนด้วย
2.ในกรณีบริการ (ม.10) = เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
3.ในกรณีสินค้านำเข้า (ม.10) = เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีศุลกากร
การจดทะเบียนสรรพสามิต
1.การกระกอบอุตสาหกรรมหรือการบริการมีก่อนกฎหมายพิกัดอัตราภาษีบังคับใช้กับสินค้าและบริการนั้น = ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 30 วัน นับแต่กฎหมายใช้บังคับ (ม.25)
2.เริ่มกิจการการประกอบอุตสาหกรรมกับการบริการใหม่ = ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 30 วัน ก่อนวันเริ่มผลิตสินค้าหรือเริ่มบริการ (ม.25)
ในกรณีมีหลายแห่งให้แยกยื่นขอเป็นรายโรงอุตสาหกรรมหรือสถานบริการ (ม.25)
3.แจ้งย้ายไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันย้าย และยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตใหม่ (ม.30)
4.เลิกกิจการหรือโอนกิจการ แจ้งไม่น้อยกว่า 15 วัน และคืนใบทะเบียนภายใน 15 วันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการ
5.ผู้รับโอนกิจการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันรับโอนกิจการและสามารถประกอบกิจการต่อเนื่องได้ระหว่างรอรับใบทะเบียน
6.ถ้าผู้ประกอบการตายและทายาทจะประกอบกิจการต่อ = ต้องยื่นภานใน 30 วันนับแต่ผู้ประกอบการตาย
การยื่นแบบรายการภาษีและการชำระภาษี
1.ในกรณีสินค้าผลิตขึ้นในราชอาณาจักร ให้ยื่นและชำระก่อนความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น
ยกเว้น 1)ความรับผิดเกิดขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่มในมาตรา 10 (1) วรรคสอง (เกิดขึ้นขณะสินค้าอยู่ในโรงงานอุตสา หกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน) ให้ยื่นและชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปหรือ
2)นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนแล้วแต่กรณีใดเกิดก่อน
2.ในกรณีบริการ ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
3.ในกรณีนำเข้า ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระในเวลาที่ออกใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากร
4.กรณีอื่น ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมชำระภายในวันที่15ของเดือนถัดไปจากเดือนที่มีความรับผิดเกิดขึ้น
ยกเว้น กรณีตามม.11,12 (สิทธิไม่เสียภาษีลดหย่อนกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง) ยื่นภายใน 30 วัน
พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
สินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527
1.น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
“น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเชื้อเพลิงหนัก น้ำมันเตา และน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้ว น้ำมันหล่อลื่นปิโตรเลียมปิทูเมน (แอสฟัลด์) ปิโตรเลียมโค้ท ก๊าซปิโตรเลียมชนิดต่าง ๆ ก๊าซธรรมชาติเหลว ก๊าซธรรมชาติ สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ สารพลอยได้ และกากอื่น ๆ ที่ได้จากปิโตรเลียม และให้หมายความรวมถึงน้ำมันอื่นหรือผลิตภัณฑ์อื่น ที่ได้จากการกลั่นแยกปิโตรเลียม ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
2.เครื่องดื่ม
“เครื่องดื่ม” หมายความว่า สิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปนและไม่มีแอลกอฮอลล์ โดยจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม อันบรรจุในภาชนะและผนึกไว้ 
เช่น น้ำแร่ น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำพืชผัก และน้ำโซดา เป็นต้น และให้หมายความรวมถึงเครื่องดื่มที่ทำ หรือบรรจุ หรือได้จากเครื่องขายเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะขายด้วยวิธีใด แม้จะไม่ได้บรรจุภาชนะและผนึกไว้ แต่ไม่รวมถึง 
(1) น้ำหรือน้ำแร่ตามธรรมชาติ 
(2) น้ำกลั่นหรือน้ำกรองสำหรับดื่มโดยไม่ปรุงแต่ง 
(3) เครื่องดื่มซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นเพื่อขายปลีกเองโดยเฉพาะ อันมิได้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วย ทั้งมิได้สงวนคุณภาพด้วยเครื่องเคมี 
(4) น้ำนมจืด น้ำนมอื่น ๆ ไม่ว่าจะปรุงแต่งหรือไม่ ทั้งนี้ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร 
(5) เครื่องดื่มตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา น้ำแร่เทียม น้ำโซดา และน้ำอัดลมที่ไม่เติมน้ำตาล หรือสารทำให้หวานอื่น ๆ และไม่ปรุงกลิ่นรส
3.เครื่องไฟฟ้า
“เครื่องไฟฟ้า” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้า และให้รวมถึงสิ่งที่ใช้ประกอบกับไฟฟ้า หรือเกี่ยวกับไฟฟ้าด้วย ปัจจุบันเรียกเก็บอยู่ 2 ชนิดคือ
1) เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดทำความเย็นไม่เกิน 72,000 BTU
2) โคมไฟและโคมไฟระย้า
4.แก้วและเครื่องดื่ม
“แก้วและเครื่องแก้ว” หมายความว่า สิ่งของและเครื่องใช้ที่ทำด้วยแก้ว ปัจจุบันเรียกเก็บอยู่คือ
1) แก้วเลคคริสตัล
2) แก้วคริสตัลอื่นๆ
5.รถยนต์ (จัดเก็บตามมูลค่า)
“รถยนต์” หมายความว่า รถที่มีล้อตั้งแต่สามล้อ และเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น แต่ไม่รวมถึงรถที่เดินบนราง รถจักรยานยนต์มีพ่วงข้างไม่เกินหนึ่งล้อ และรถยนต์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา 
“รถยนต์นั่ง” หมายความว่า รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความ 
รวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างและหรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด 
“รถยนต์โดยสาร” หมายความว่า รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมาก รวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน 
“รถยนต์กระบะ” หมายความว่า รถยนต์ที่มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับ และตอนหลังเป็นกระบะบรรทุก ซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา ปัจจุบันเรียกเก็บอยู่ 2 ชนิดคือ
1) รถยนต์นั่ง
2) รถยนต์นั่งโดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
6. เรือ
“เรือ” หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด เรือที่ทางสรรพสามิตจัดเก็บ
1)เรือยอชต์ 2)ยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
7. ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง
“ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม” หมายความว่า น้ำหอม หัวน้ำหอม น้ำมันหอม และสิ่งที่ทำให้มีกลิ่นหอมต่าง ๆ แต่ไม่รวมถึง 
(1) หัวน้ำหอมที่ใช้ได้เฉพาะในการผลิตสินค้า และ 
(2) สินค้าตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา 
เครื่องสำอาง” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงแต่งเพื่อใช้บนผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ สำหรับทำความสะอาด ห้องกัน แต่งเสริมให้เกิดความงาม หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ โดยถู ทา พ่น หรือโรย เป็นต้น แต่ไม่รวมถึง 
(1) เภสัชผลิตภัณฑ์ และ 
(2) สินค้าตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
ภาษีที่ทางสรรพสามิตจัดเก็บ
1)น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม
8.สินค้าอื่นๆ
1) พรม 
2) รถจักรยานยนต์ 
3) แบตเตอรี่และไฟฉาย
9.สถานบริการ
“สถานบริการ” หมายความว่า สถานที่สำหรับประกอบกิจการในด้านบริการบันเทิง หรือหย่อนใจต่าง ๆ เพื่อหารายได้เป็นธุรกิจ เช่น สถานมหรสพ ที่ฉายภาพยนตร์ สนามแข่งม้า ไนท์คลับ กาบาเรต์ ดิสโกเธค สถานอาบน้ำนวดหรืออบตัว เป็นต้น
สถานบริการที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตตอนนี้
1) ไนท์คลับ ดิสโกเธค
2) สถานอาบ อบนวด
3) สนามแข่งม้า
4) สนามกอล์ฟ
พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493
พ.ร.บ. สุรา ม.4 “สุรา” หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีของตัวสินค้า 
1. ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา 
พ.ร.บ. สุรา ม.7 ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรานอกจากทำสุราสำหรับใช้ในบ้านเรือนต้องเสียภาษีสำหรับสุราที่ทำได้ก่อนขนสุราออกจากโรงงานตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง การเสียภาษีให้กระทำโดยการปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่
2. ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร 
พ.ร.บ. สุรา ม.6 ห้ามมิให้ผู้ใดนำสุราเกินกว่าหนึ่งลิตรเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
พ.ร.บ. สุรา ม.8 ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องเสียภาษีสุราโดยปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เว้นแต่สุรานั้นมีปริมาณไม่เกินหนึ่งลิตร และได้เปิดภาชนะที่บรรจุแล้ว การปิดแสตมป์สุราจะต้องปิดก่อนขนผ่านด่านศุลกากร
วิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต (สุรา)
1.จัดเก็บตามมูลค่า
1.1 ในกรณีที่สุราทำในราชอาณาจักร ให้ถือราคาขาย ณ โรงงาน
1.2 ในกรณีนำเข้าสุรา ให้ถือราคาตาม ราคา ซี.ไอ.เอฟ (ราคาสินค้า+ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง)+อากรขาเข้า+ค่าธรรมเนียมพิเศษกฎหมายส่งเสริมการลงทุน+ภาษี+ค่าธรรมเนียมอื่น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
การคืน การยกเว้นภาษี (สุรา)
1. ผู้ส่งสุราออกไปนอกราชอาณาจักรมีสิทธิได้รับคืนค่าภาษีสุรา สำหรับสุราที่ส่งออกไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด (ม.10)
2. สุราซึ่งได้ทำการขนออกจากโรงงานสุราแล้วหากพิสูจน์ได้ว่าสุรา แปรสภาพไปเองจนไม่สมควรจะใช้ดื่มกินต่อไป และได้ส่งคืนโรงงานสุราตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด เจ้าของสุรามีสิทธิได้รับคืนค่าภาษีสุราสำหรับสุราที่ส่งคืนนั้น (ม.11)
3. ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุราอาจขอยกเว้นภาษีสุราสำหรับสุราที่ส่ง ออกไปนอกราชอาณาจักรตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด
4. ให้งดเว้นไม่เรียกเก็บภาษีสุราสำหรับสุราที่ทำในราชอาณาจักร และสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ของผู้ได้รับเอกสิทธิ์ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญา หรือความตกลงกับต่างประเทศหรือทางการทูต (ม.47)
ประเภทของใบอนุญาตขายสุรา 7 ประเภท (ม.19)
1. สำหรับขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่ง 10 ลิตรขึ้นไป
2.สำหรับขายสุราที่ทำในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่ง 10 ลิตรขึ้นไป
3.สำหรับการขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งต่ำกว่า 10 ลิตร
4.สำหรับการขายสุราที่ทำในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งต่ำกว่า 10 ลิตร
5.สำหรับการขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งต่ำกว่า 10 ลิตร เพื่อดื่ม ณ สถานที่ขาย
6.สำหรับการขายสุราที่ทพในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งต่ำกว่า 10 ลิตร เพื่อดื่ม ณ สถานที่ขาย
7.สำหรับการขายสุราครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร เพื่อดื่มภายในสมาคมหรือสโมสร
พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509
พ.ร.บ. ยาสูบ ม.4 “ยาสูบ” หมายความว่า บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง และยาเคี้ยว
“พันธุ์ยาสูบพื้นเมือง” หมายความว่า ต้นยาสูบที่ปลูกในประเทศไทยมาแต่ดั้งเดิม และเมื่อบ่มด้วยแดดแล้วใบเป็นสีน้ำตาล
“ยาเส้น” หมายความว่า ใบยาหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว
“บุหรี่ซิกาแรต” หมายความว่า ยาเส้นหรือยาเส้นปรุง ไม่ว่าจะมีใบยาแห้งหรือยาอัดเจือปนหรือไม่ ซึ่งมวนด้วยกระดาษหรือวัตถุที่ทำขึ้นใช้แทนกระดาษ หรือใบยาแห้งหรือยาอัด
ใบอนุญาตผลิตยาสูบในแต่ละช่วงการผลิต
1.การเพาะปลูกต้นยาสูบ ต้องขออนุญาต และใบอนุญาตมีอายุ 1 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต
(ม.7) และต้องขายกับผู้บ่มใบยาเท่านั้น (ม.8) (ไม่ให้บังคับใช้แก่ผู้ปลูกพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง)
2.ตั้งสถานีบ่มใบยาหรือเพิ่ม ต้องขออนุญาต และใบอนุญาตมีอายุตลอดไป
(ม.9) (ไม่ให้บังคับใช้แก่ผู้ตั้งสถานีบ่มใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง)
3.ผู้ทำการบ่มใบยา ต้องขออนุญาต และใบอนุญาตมีอายุ1 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต
(ม.10) และต้องขายกับผู้ซื้อใบยาเท่านั้น (ม.11)(ไม่ให้บังคับใช้แก่ผู้บ่มใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง)
4.ผู้ซื้อใบยา ต้องขออนุญาต และใบอนุญาตมีอายุเมื่อสิ้นปีปฏิทิน
(ม.25) (ไม่ให้บังคับใช้แก่การซื้อใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง)
5.ตั้งโรงอบใบยาหรือเพิ่มเครื่องอบ ต้องขออนุญาต และใบอนุญาตมีอายุตลอดไป (ม.12)
6.ผู้ทำการอบใบยา ต้องขออนุญาต และใบอนุญาตมีอายุ1 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต (ม.13)
7.ผู้ทำการหั่นใบยา ต้องขออนุญาต (ม.14) (ไม่ให้บังคับใช้แก่ผู้หั่นใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง)
8.บุหรี่ซิกาแรต ผูกขาดโดยรัฐ (ม.16)
9.ผู้ประกอบอุตาหกรรมยาสูบ ต้องขออนุญาต และใบอนุญาตมีอายุเมื่อสิ้นปีปฏิทิน
(ม.17) (ไม่ให้บังคับใช้แก่ผู้ปลูกใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองซึ่งทำยาเส้นเอง)
10..ผู้ขายยาเส้นหรือยาสูบ ต้องขออนุญาต และใบอนุญาตมีอายุเมื่อสิ้นปีปฏิทิน
(ม.17) (ไม่ให้บังคับใช้แก่ผู้ขายใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง)
วิธีการชำระภาษียาสูบ
(ม.18)ใช้วิธีปิดแสตมป์ก่อนนำออกจากโรงงานอุตสาหกรรม ยกเว้นยาเส้นที่ทำจากใบยาสูบพันธุ์พื้นเมืองและยาเส้นหรือยาสูบที่ส่งออกไปขายนอกราชอาณาจักรไม่ต้องปิดแสตมป์
พ.ร.บ. ไพ่ พ.ศ. 2486
พ.ร.บ. ไพ่ ม.4 “ไพ่” หมายความว่า ไพ่ซึ่งทำด้วยกระดาษหรือหนัง หรือซึ่งทำด้วยวัตถุอื่น
ใบอนุญาตผลิตไพ่ในแต่ละช่วงการผลิต
1.ผู้ทำไพ่และนำไพ่เข้ามาในราชอาณาจักร ต้องขออนุญาต 
2.ผู้ขายไพ่ ต้องขออนุญาต ใบอนุญาตมีอายุสิ้นปีปฎิทิน (ไพ่ที่ขายต้องเป็นไพ่ของสรรพสามิตหรือมีตราของสรรพสามิตประทับอยู่)
วิธีการชำระภาษีไพ่
1.ชำระภาษีไพ่ โดยการประทับตราไพ่ก่อนขนออกจากโรงงานไพ่ หรือนำเข้า
การคืน การยกเว้นภาษี
2. ไพ่ที่โรงงานไพ่กรมสรรพสามิตผลิตขึ้น และส่งออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับการประทับตราไพ่ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการส่งไพ่ออกไปนอกราชอาราจักร พ.ศ. 2544.
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้