1. การจัดการเรียนรู้ คือ
ข้อใด
ก. การเรียนรู้ต้องยืดผู้เรียนเป็นสำคัญ
ข. การเรียนรู้ตามสภาพจริง
ค. เน้นการปฏิบัติ และผลผลิต
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ง.
ถูกทุกข้อ
2. ข้อใดไม่ใช่ องค์ประกอบการเรียนรู้ตามสภาพจริงที่ควรได้รับการประเมินผล
ก. กระบวนการ ข. เจตคติและค่านิยม
ค. การปฏิบัติกิจกรรม ง. เกิดความรู้และชิ้นงาน
ตอบข้อ ข.
เจตคติและค่านิยม
3. ข้อใดไม่ใช่
ลักษณะของการเรียนรู้
ก. การเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต
ข. การเรียนรู้ตามปกติวิสัย
ค. การเรียนรู้ในระดับโรงเรียน
ง. การเรียนรู้นอกระบบ
ตอบข้อ ก.
การเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต
4. การเรียนรู้เกิดจาก อาการความหิวกระหาย จัดอยู่ในข้อใด
ก. การเรียนรู้จากแรงขับ
ข. การเรียนรู้จากสิ่งเร้า
ค. การเรียนรู้จากอาการตอบสนอง
ง. การเรียนรู้จากสิ่งเสริมแรง
ตอบข้อ ก.
การเรียนรู้จากแรงขับ
5. พฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อได้รับการกระตุ้นเป็นผลให้เกิดการแสดงออกทางกาย
เกิดจากข้อใด
ก. แรงขับ ข. อาการตอบสนอง
ค. ส่งเสริมแรง ง. สิ่งเร้า
ตอบข้อ ข.
อาการตอบสนอง
6. นักเรียนที่มีความอยากรู้อยากเห็นน้อย จะปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่อมีผู้แทนแนะนำ และออกคำสั่งเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้แบบใด
ก. แบบการแข่งขัน ข. แบบร่วมมือ
ค. แบบมีส่วนร่วม ง. แบบพึ่งพา
ตอบข้อ ง.
แบบพึ่งพา
7. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามแนวคิดของ
แคทเทอร์รีน เจสเตอร์
ก. แบบการเรียนรู้จากการมองเห็น
ข. แบบการเรียนรู้จากการฟังและการใช้คำพูด
ค. แบบการเรียนรู้จากการจดบันทึก
ง. แบบการเรียนรู้จากการสนทนาโต้ตอบ
ตอบข้อ ค.
แบบการเรียนรู้จากการจดบันทึก
8. การเรียนขับรถยนต์
ควรได้รับการจัดแบบการเรียนรู้ ในข้อใด
ก. แบบการเรียนรู้จากการมองเห็น
ข. แบบการเรียนรู้จากการลงมือทำ
ค. แบบการเรียนรู้จากการสนทนาโต้ตอบ
ง. แบบการเรียนรู้จากการลงมือทำ
ตอบข้อ ข. แบบการเรียนรู้จากการลงมือทำ
9. เมื่อได้ยินเสียงพูด ได้เห็นภาพปรากฏเป็นการเรียนรู้ในขั้นใด
ก. ขั้นที่ 1 การนำเสนอสิ่งเร้า
ข. ขั้นที่ 2 การรับรู้สิ่งเร้า
ค. การแปลความหมาย
ง. การตอบสนองสิ่งเร้า
ตอบข้อ ข.
ขั้นที่ 2 การรับรู้สิ่งเร้า
10. การเรียนรู้ทางตาหรือการเห็น สามารถเรียนรู้ได้ประมาณเท่าใด
ก. ประมาณร้อยละ 75
ข. ประมาณร้อยละ 60
ค. ประมาณร้อยละ 85
ง. ประมาณร้อยละ 90
ตอบข้อ ก.
ประมาณร้อยละ 75
11. “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด” ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 หมวด 4 มาตราใด
ก. มาตรา 19 ข. มาตรา 20
ค. มาตรา 21 ง. มาตรา 22
ตอบข้อ ง.
มาตรา 22
12. การจัดการเรียนการสอนที่ต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแนวคิดของปรัชญาการศึกษาข้อใด
ก. เจอร์โรลด์ อี
ดคมพ์ ข. เยอร์ลาซและอีลี
ค. จอห์น
ดิวอี้ ง. จอห์น
คาร์โรล
ตอบข้อ ค.
จอห์น ดิวอี้
13. ผู้เรียนเห็นคุณค่าที่ตนจะได้รับจากการเรียนรู้ พร้อมรับผิดชอบต่อการเรียนเกิดจากหลักการใด
ก. การเร้าความสนใจ ข. เงื่อนไขการจัดการเรียนรู้
ค. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ง. การมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ตอบข้อ ก.
การเร้าความสนใจ
14. ในการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว
สามารถวิเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้ คือข้อใด
ก. ด้านหลักสูตร ข. ด้านจัดการเรียนรู้
ค. ด้านการวัดผล ง. ด้านการประเมิน
ตอบข้อ ค.
ด้านการวัดผล
15. การทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกซาบซึ้งคุณค่าภาษาไทย
จากการได้ฟังบทกลอนที่ไพเราะเป็นความเปลี่ยนแปลงในข้อใด
ก. ด้านพุทธิพิสัย ข. ด้านจิตพิสัย
ค. ด้านทักษะพิสัย ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ข.
ด้านจิตพิสัย
16. ครูผู้สอนที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้ดี
ควรมีความรู้ทั่วไปในข้อใด
ก. มีความเป็นผู้นำ ข. มีเทคนิคการนำเสนอ
ค. สาระสำคัญของหลักสูตร ง. สังคมวิทยา
ตอบข้อ ง.
สังคมวิทยา
17. ไตรยางค์การจัดการเรียนรู้
(OLE)
อักษรว่า “O”
คือข้อใด
ก. การจัดประสบการณ์ ข. จุดมุ่งหมาย
ค. การประเมินผล ง. ผลผลิต
ตอบข้อ ข.
จุดมุ่งหมาย
18. ข้อใดไม่ใช่แนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ตรง
ก. สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
ข. ลดการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาลง
ค. กระตุ้นให้เกิดการทกลองปฏิบัติด้วยตนเอง
ง. ความหลากหลายของสติปัญญา
ตอบข้อ ง.
ความหลากหลายของสติปัญญา
19. มีความคิดสร้างสรรค์
ใฝ่เรียน รักการอ่าน ตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ทำให้เกิดข้อใด
ก. เป็นคนดี ข. มีปัญหา
ค. มีความสุข ง. มีความเป็นไทย
ตอบข้อ ข.
มีปัญหา
20. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ก. การเรียนรู้แบบองค์รวม
ข. การเรียนรู้อย่างมีความสุข
ค. การเรียนรู้ได้จากคนอื่น
ง. การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
ตอบข้อ ค.
การเรียนรู้ได้จากคนอื่น
21. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญ ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเน้นให้ผู้เรียนทำไปใช้ในชีวิตจริง
ก. ผลสัมฤทธิ์ ข. ความรู้
ค. คุณธรรม ง. กระบวนการเรียนรู้
ตอบข้อ ก.
ผลสัมฤทธิ์
22. การฝึกฝนให้เป็นความสามารถคิดเชิงระบบ มีเหตุผลและด้านภาษา เป็นการบูรณาการตามกระบวนการเรียนรู้ คือข้อใด
ก. ความรู้ที่เกี่ยวกับตนเอง
ข. ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ค. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรม
ง.
ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์
ตอบข้อ ง.
ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์
23. ผู้เรียนเริ่มสร้างรูปแบบการคิดของตนเอง
โดยอาศัยหลักการและทฤษฎีเข้ามาคิดวิเคราะห์ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี ขั้นใด
ก. ขั้นที่ 1 ขั้นศีล
ข. ขั้นที่ 2 ขั้นสมาธิ
ค. ขั้นที่ 3 ขั้นปัญญา
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ข.
ขั้นที่ 2 ขั้นสมาธิ
24. การประเมินผลจากสภาพจริงในชั้นเรียนที่ไม่เป็นทางการ ยกเว้นข้อใด
ก. การแสดงออก ข. กระบวนการ
ค. ผลสัมฤทธิ์ ง. แฟ้มสะสมงาน
ตอบข้อ ค.
ผลสัมฤทธิ์
25. ข้อใดไม่ใช่การนำจริยธรรมมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
ก. สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก
ข. พัฒนาตนเองภายในตัวผู้เรียน
ค. เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น
ง. ผู้เรียนมีวุฒิภาวะตามวัย
ตอบข้อ ง.
ผู้เรียนมีวุฒิภาวะตามวัย
26. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดจากข้อใด
ก.
กำหนดเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดการเรียนรู้
ข. กำหนดเจตคติ
และค่านิยมมาจัดการเรียนรู้
ค. ศึกษาความสามารถของนักเรียน
ง. ความมีทักษะทางกายของนักเรียน
ตอบข้อ ก.
กำหนดเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดการเรียนรู้
27. องค์ประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ไม่ควรมองข้ามคือข้อใด
ก. วิธีการจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ
ข. สื่อการเรียนรู้
ค. การวัดผลและประเมินผล
ง. คุณลักษณะของครูผู้สอน
ตอบข้อ ง.
คุณลักษณะของครูผู้สอน
28. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย หมายถึงข้อใด
ก.
การจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้แบ่งกันเป็นกลุ่มเพื่อปฏิบัติกิจกรรม
ข.
การจัดการเรียนรู้ที่ได้เรียนจากส่วนย่อยข้อสรุปเป็นกฎเกณฑ์
ค.
การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนจากกฎเกณฑ์ไปสรุปความเข้าใจ
ง.
การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนคิดค้นการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
ตอบข้อ ข.
การจัดการเรียนรู้ที่ได้เรียนจากส่วนย่อยข้อสรุปเป็นกฎเกณฑ์
29. แนวความคิดของ
จอห์น ดิวอี้
ทำให้เกิดวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใด
ก. การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
ข. การจัดการเรียนรู้โดยแก้ปัญหา
ค. การจัดการเรียนรู้แบบอนุมาน
ง. การจัดการเรียนรู้แบบอุปมาน
ตอบข้อ ข.
การจัดการเรียนรู้โดยแก้ปัญหา
30. ข้อจำกัด ของวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอุปมัย คือข้อใด
ก.
ครูต้องมีความเข้าใจในเทคนิควิธีการแบบนี้อย่างดี
ข. ผู้เรียนเกิดความรู้อย่างแจ่มแจ้ง
ค.
ผู้เรียนได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
ง. ผู้เรียนรู้จักค้นหา พิจารณา
แยกแยะ
ตอบข้อ ก.
ครูต้องมีความเข้าใจในเทคนิควิธีการแบบนี้อย่างดี