“ถาม - ตอบ
งานจดหมายเหตุ”
ขั้นตอนการเข้าใช้บริการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
๑. ลงทะเบียนทําบัตรประจําตัวผู้ค้นคว้า
๒. นําอุปกรณ์+เฉพาะปากกา
ดินสอ สมุดบันทึก เข้าไปใช้ในห้องบริการค้นคว้า สิ่งของอื่นต้องฝากไว้ที่ตู้เก็บของ
สําหรับห้องบริการ กรมหลวงพิชิตปรีชากร สามารถนําคอมพิวเตอร+ส่วนตัวเข้าไปใช้ได้
๓. ค้นคว้าข้อมูลจากเครื่องมือช่วยคน
ได้แก่ บัญชีเอกสาร บัตรรายการสืบค้น
๔. กรอกแบบฟอร์มขอยืมเอกสารเพื่อ อ่านและค้นคว้าในห้องบริการเท่านั้น
๕. กรอบแบบฟอร์มขอทําสําเนาเอกสารจดหมายเหตุ
๖. การทําสําเนาเอกสารจดหมายเหตุทุกประเภทเป็นการดําเนินงานโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
เท่านั้น
๗. ผู้ใช้บริการต้องใช้เอกสารจดหมายเหตุด้วยความระมัดระวัง
เพื่อป้องกันไม่ให้เอกสารชํารุดเสียหายและปฏิบัติตามระเบียบการเข้าใช้บริการอย่างเคร่งครัด
การคัดเลือกเอกสารเพื่อเก็บรักษาเป็นเอกสารจดหมายเหตุมีหลักเกณฑ์อย่างไร
ต้องเป็นเอกสารข้อมูลชั้นต้นที่แสดงถึงการดําเนินงาน
และพัฒนาการของหน่วยงานราชการ และ
เอกชน
เช่น ใบบอก สารตรา หนังสือโต้ตอบ คําสั่ง ประกาศ รายงานการประชุม บันทึกทางราชการ
ภาพถ่ายแผนที่ แผนผัง แถบบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ฯลฯ ที่มีความสําคัญต่อประวัติศาสตร์ของประเทศ
รวมทั้งเอกสารส่วนบุคคล ที่รับมอบจากบุคคลสําคัญหรือทายาทด้วย
เอกสารจดหมายเหตุจึงเป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลสําคัญที่มีคุณค่ าต่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยประวัติการดําเนินงานของบุคคลหน่วยงานและกระแสเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ทุกด้าน
ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
เอกสารจดหมายเหตุมี ๔ ประเภท
๑. เอกสารที่ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือโต้ตอบ
เอกสารการประชุม รายงานการประชุม
แผนงาน
โครงการ ฯลฯ
๒. เอกสารโสตทัศน์ จดหมายเหตุ เช่น ภาพถ่ าย ฟิล์ม
สไลด์ โปสเตอร์ ปฏิทิน บัตรอวยพร แถบ
บันทึกเสียง
ฟิล์มภาพยนตร์ ฯลฯ
๓.เอกสารประเภทแผนที่ แผนผัง เช่น แผนที่ แผนผัง
แบบแปลน พิมพ์เขียว ฯลฯ
๔.เอกสารประเภทวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น ซีดี วีซีดี
ดีวีดี ฯลฯ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติมีเอกสารบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยให้บริการด้วยหรือไม่
มี
สามารถใช้บริการค้นคว้าได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติทุกแห่ง
นอกจากนั้นสํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติยังได้จัดพิมพ์หนังสือจดหมายเหตุบันทึกเหตุการณ์สําคัญ
เช่น จดหมายเหตุสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์๒๐๐ ปี จดหมายเหตุงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ มีจําหน่ายที่สํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ท่าวาสุกรี
สํานักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติมีกลุ่มบันทึกเหตุการณ์สําคัญ
ดําเนินการจดบันทึก รวบรวมและประมวลเหตุการณ์สําคัญ ซึ่งต้องมีการประเมินว่าเหตุการณ์นั้นมีคุณค่าและความสําคัญต่อประวัติศาสตร์
โดยแบ่งเป็นเหตุการณ์สําคัญประจําวัน และเหตุการณ์สําคัญเฉพาะเรื่อง เช่น เหตุการณ์
สึนามิ
เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗เหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ.๒๕๔๑
ฯลฯ นัก จดหมายเหตุ จะดําเนินการแสวงหา สอบค้น รวบรวมประมวลข้อมูล บันทึกเรียบเรียงเหตุการณ์จัดพิมพ์และจัดเก็บไว้เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่สําคัญของชาติต่อไป