ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แจกแนวข้อสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แจกแนวข้อสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

แชร์กระทู้นี้

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  และที่แก้ไขเพิ่มเติม



1. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496  มีผลบังคับใช้วันใด

ก.  
17 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2496

ข.  18 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2496

ค.  27 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2496

ง.   
7   มีนาคม   พ.ศ. 2496

ตอบ  ข.  18 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2496

        มาตรา  

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


2. พระราชบัญญัติเทศบาล  พ.ศ.2496  แก้ไขเพิ่มเติมปีล่าสุดคือฉบับที่เท่าไหร่และปี
พ.ศ.ใด

ก.  ฉบับที่ 10 พ.ศ.2540
  
ข.  ฉบับที่ 1
1พ.ศ.2543
 ค. ฉบับที่ 12 พ.ศ.2546
ง.  ฉบับที่ 1
3พ.ศ.2552 

ตอบ    ง.  ฉบับที่ 13 พ.ศ.2552 
มีผลบังคับใช้ 13 พฤษจิกายน พ.ศ.2552       



3. เทศบาลตำบลได้แก่  ท้องถิ่นที่มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย 
ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้น 
ให้ระบุถึงอะไรไว้ด้วยข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง

ก.  ชื่อ                                                                     ข.  เขตเทศบาล

ค.  ชื่อและเขตเทศบาล                                       ง.  ชื่อนายกเทศบาล

ตอบ
 ค.  ชื่อและเขตเทศบาล             

             
มาตรา  9  เทศบาลตำบล  ได้แก่ 
ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล 
ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อเทศบาลไว้ด้วย


4. เทศบาลเมือง 
ได้แก่ 
ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลกลางจังหวัดหรือท้องถิ่นที่มีราษฎรตั้งแต่กี่คนขึ้นไป


ก.  5,000  คน                                                        ข.  10,000 คน
ค.  15,000  คน                                                      ง.  20,000 คน


ตอบ  ข.  10,000  คน

 
มาตรา 10  เทศบาลเมือง  ได้แก่ 
ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลกลางจังหวัด 
หรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป 
ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัติ
และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย


5. เทศบาล 
ได้แก่ท้องถิ่นที่มีราษฎรตั้งแต่กี่คนขึ้นไป

ก.  
20,000  คน                                                      ข.  30,000 คน
ค.  15,000  คน                                                      ง.  50,000 คน

ตอบ  ง.  50,000  คน

          มาตรา   11 
เทศบาลนคร  ได้แก่ 
ท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป 
โดยราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไปมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัติและซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนคร  ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย


6. การเปลี่ยนชื่อเทศบาลหรือเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลให้กระทำโดยประกาศเป็น

ก.  ประกาศกฎกระทรวง                                    ข.  เทศบัญญัติ

ค.  พระราชกำหนด                                             ง.  ประกาศกระทรวงมหาดไทย

ตอบ  ง. ประกาศกระทรวงมหาดไทย

           มาตรา  12 
ภายในบังคับมาตรา  9  มาตรา 10  และมาตรา  11 
การเปลี่ยนชื่อเทศบาลนครหรือการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล  ให้กระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย


7. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในเขตเทศบาลใดจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 
มีสิทธิลงชื่อร้องขอให้จัดทำประชามติว่าจะใช้รูปแบบคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรี

ก.  หนึ่งในสี่                                                         ข.  สองในสาม
ค.  สามในห้า                                                        ง.  ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  ก. หนึ่งในสี่

          ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสภาเทศบาลในเขตเทศบาลใดจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในเขตเทศบาลนั้นมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้จัดทำประชามติในเขตเทศมนตรีผลของประชามติให้นำมาใช้เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นการทั่วไปในคราวถัดไปจากวันที่มีการออกเสียงประชามติ 
และให้ใช้รูปแบบการบริหารตามผลประชามตินั้นตลอดไปจนกว่าจะมีการออกเสียงประชามติของผู้มีสิทธิอย่างอื่น


8. สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวน  ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง

ก.  สภาเทศบาลตำบล  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน
ข.  สภาเทศบาลเมือง  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน
ค.  สภาเทศบาล  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน
ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.  ถูกทุกข้อ

            มาตรา  15 
สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามจำนวนดังต่อไปนี้

            1)  สภาเทศบาลตำบล  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบสองคน

            
2)  สภาเทศบาลเมือง  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสิบแปดคน

            
3)  สภาเทศบาล  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คน



9. สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี

ก.  
2  ปี                                                                   ข.  4 ปี
ค.  6  ปี                                                                   ง.  9 ปี

ตอบ  ข.  4  ปี

             มาตรา  16 
สมาชิกสภาเทศบาลให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง  ถ้าตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลว่าลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระหรือมีการยุบสภาให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น


10. สภาเทศบาลมีประธานคนหนึ่ง  และรองประธาน 
ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติสภาเทศบาลกี่คน

ก.  
1  คน                                                                ข.  2 คน
ค.  3  คน                                                                ง.  4 คน


ตอบ  ก.  1  คน

         มาตรา  20 
สภาเทศบาลมีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานสภาคนหนึ่ง  และรองประธานสภาคนหนึ่ง 
ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาลประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาเทศบาล

11. ในกรณีที่ตำแหน่งประธานสภาหรือรองประธานสภาว่างลง  เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา  20  ทวิ 

ให้สภาเทศบาลเลือกสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างลง

ก.  
10                                                                                      ข.  15
ค.  20                                                                                      ง.  30

ตอบ  ข.  15

          มาตรา  22 
ในเมื่อประธานและรองประธานสภาเทศบาลไม่อยู่ในที่ประชุม  ให้สมาชิกสภาเทศบาลเลือกตั้งกันเองเป็นประธานเฉพาะในคราวประชุมนั้น

12. หน่วยงานใดเป็นผู้วางระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล


ก.  กระทรวงมหาดไทย                                                      ข.  สภาเทศบาลเมือง
ค.  สภาเทศบาลนคร                                                           ง.  ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ       ก.  กระทรวงมหาดไทย                      

             มาตรา  23 
ให้กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาลไว้


13. ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสภาเทศบาลกี่สมัย

ก.  
2  สมัย                                                                              ข.  สมัย


ค.  
4  สมัย                                                                              ง.  สมัย

ตอบ  ค.  4  สมัย

                มาตรา  24 
ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสี่สมัย  สมัยประชุมครั้งแรกและประชุมสมัยสามัญประจำปีให้สภาเทศบาลกำหนด

              
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาลได้มาประชุมสภาเทศบาลครั้งแรกภายในสิบห้าวันแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลครบตามจำนวนแล้วและให้ที่ประชุมเลือกประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาล

                กรณีที่สภาเทศบาลไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนดเวลาในวรรคสองหรือมีการประชุมสภาเทศบาลแต่ไม่อาจเลือกประธานสภาเทศบาล

14. กรณีที่สภาเทศบาลไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนด

เวลาในวรรคสองหรือมีการประชุมสภาเทศบาลไม่อาจเลือกประธานสภาเทศบาลได้   ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งใด

ก.  กำหนดวันประชุมใหม่                                 ข.  แต่งตั้งประธานและรองประธาน


ค.  ยุบสภาเทศบาล                                                              ง.  ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  ค. ยุบสภาเทศบาล   

                กรณีที่สภาเทศบาลไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนดเวลาในวรรคสองหรือมีการประชุมสภาเทศบาลไม่อาจเลือกประธานสภาเทศบาลได้ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งยุบสภาเทศบาล       



15. ในการประชุมสภาเทศบาลในสมัยหนึ่งๆ  ให้มีกำหนดไม่เกินกี่วัน

ก.  
15  วัน                                                                              ข.  30 วัน
ค.  45  วัน                                                                              ง.  60 วัน


ตอบ  ข.  30  วัน

             สมัยประชุมสมัยหนึ่งๆ
ให้มีกำหนดไม่เกินสามสิบวัน 
แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น อปท. ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

ประกอบด้วย 247 หน้า 
- แนวข้อสอบความสามารถทางด้านเหตุผล (คณิตศาสตร์)

- แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
- แนวข้อสอบ เหตุการณ์ การเมืองเศรษฐกิจและ สังคมในปัจจุบัน

ความรู้พื้นฐานในการปฎิบัติราชการ

แนวข้อสอบ พรบ. ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม

- แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

- แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล

- แนวข้อสอบ พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบัญ

ภาค ข. เลือกตามตำแหน่งที่สอบ

แนวข้อสอบ อบจ.เทศบาล อบต. ระดับ 1 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่ประปา 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่ธุรการ 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่พัสดุ 
แนวข้อสอบช่างไฟฟ้า 
แนวข้อสอบช่างโยธา 
แนวข้อสอบช่างสำรวจ 
และตำแหน่งอื่นๆ 

แนวข้อสอบ อบจ.เทศบาล อบต. ระดับ 2 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานประปา 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานพัสดุ 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานสุขาภิบาล 
แนวข้อสอบนายท่างเขียนแบบ 
แนวข้อสอบนายช่างไฟฟ้า 
แนวข้อสอบนายช่างโยธา 
แนวข้อสอบนายช่างสำรวจ 
และตำแหน่งอื่นๆ 

แนวข้อสอบ อบจ.เทศบาล อบต. ระดับ 3 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ 
แนวข้อสอบเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 
แนวข้อสอบนักวิชาการเกษตร 
แนวข้อสอบนักวิชาการคลัง 
แนวข้อสอบนักวิชาการเงินและบัญชี 
แนวข้อสอบนักวิชาการจัดเก็บรายได้ 
แนวข้อสอบนักวิชาการศึกษา 
แนวข้อสอบนักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ 
แนวข้อสอบนักวิชาการสุขาภิบาล 
แนวข้อสอบนักสังคมสงเคราะห์ 
แนวข้อสอบนิติกร 
แนวข้อสอบบุคลากร 
แนวข้อสอบวิศวโยธา 
แนวข้อสอบสถาปนิก 
แนวข้อสอบสันทนาการ

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
heartbeat ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวสอบท้องถิ่น



1....เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น
มีกี่ฉบับ อะไรบ้าง



ตอบ หลัก ๆ มี 5 ฉบับ คือ เทศบาล 2496 อบจ.2540
อบต.2537 พัทยา 2542 กทม.2528



2.สุขาฯ
ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลปี
2542 มีกี่แห่ง



ตอบ 981 แห่ง

 

3.หลักการปกครองของไทย
ใช้หลักรัฐเดี่ยวหมายความว่าอะไร



ตอบ ตาม ม.1 ของ รธน.2550 ประเทศไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวแบ่งแยกไม่ได้



4.หลักการปกครองท้องถิ่นใช้หลักการใด



ตอบ กระจายอำนาจ



5.การปกครองท้องถิ่นของไทยมีกี่รูปแบบ
อะไรบ้าง



ตอบ มี ท. อบจ. อบต. พิเศษ(กทม. , พัทยา)

 

6.ปัจจุบันรูปแบบเทศบาลมีกี่รูปแบบ
มีกี่รูปแบบ แต่ละรูปแบบมีกี่แห่ง



ตอบ 3 รูปแบบ คือ นคร (20) เมือง
(84) ตำบล(1,025) = 1,129 แห่ง

 

7.จำนวนประชากร
ตามหลักเกณฑ์การตั้งเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีจำนวนเท่าไร



ตอบ ตำบลไม่กำหนด เมือง 10,000 คน นคร 50,000 คน

 

8.ความหนาแน่นของจำนวนประชากรต้องนำมาพิจารณาการตั้งเทศบาลหรือไม่



ตอบ ตาม พ...เทศบาล 2496 แก้ไข ฉบับที่ 11 (2543) ไม่กำหนด

 

9.การตั้งเทศบาลเมืองมีหลักการเกณฑ์การตั้งอย่างไร



ตอบ มีประชากร 1,000 คน
รายได้พอเพียงต่อการบริหารงาน หากเป็นที่ตั้งศาลากลาง ให้ตั้งเป็นเทศบาลเมือง
(นครก็ได้)

 

10.เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร
ถ้ายุบหรือหมดวาระ การเลือกนายกฯ ทำอย่างไร



ตอบ
ต้องเลือกนายกเทศมนตรีโดยตรง

 

11.จำนวน ส.. .,เมือง,นคร และคณะเทศมนตรี มีจำนวนเท่าใด



ตอบ จำนวน ส.. ตำบล 12 คน เมือง 18 คน และนคร
24 คน คณะเทศมนตรี ตำบล 2 คน เมือง 3
คน และนคร 4 คน

 

12.สมาชิกสภา
อบจ
.มีจำนวนเท่าใด ตามหลักเกณฑ์ที่ กม.กำหนดต่อประชากรเท่าใด



ตอบ มีตั้งแต่ 24 – 30 –36 – 42 – 48 ไม่เกิน 500,000
คน = 24 คน



ระหว่าง 500,000 – 1,000,000 คน มี 30 คน ระหว่าง 1,000,000 – 1,500,000 คน มี 36 คน



ระหว่าง 1,500,000–2,000,000 คน มี 42 คน ตั้งแต่ 2,000,000 คนขึ้นไป   มี 48 คน

 

13.นายก อบจ.มาโดยวิธีใด



ตอบ มาจากความเห็นชอบของสภา อบจ. ถ้าลาออก ลาออกต่อประธานสภา อบต. ถ้าประธานสภาลาออก
ลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

 

14.รองนายก
อบจ
. มีได้กี่คน ขึ้นกับจำนวน สจ.เท่าใด



ตอบ มีตั้งแต่ 2 คน (.อบต. 24/30) 3 คน (.อบต. 36/42) 4 คน (.อบต. 48)

 

15....สภาตำบลและ อบต.ปี 2537 กำหนดโครงสร้าง ส.อบต.หมู่บ้านละกี่คน ดำรงตำแหน่งวาระกี่ปี



ตอบ ถ้ามี 1 หมู่บ้าน มี
6 คน  ถ้ามี 2
หมู่บ้าน มีหมู่บ้านละ 3 คน ถ้ามีตั้งแต่ 3
หมู่บ้านขึ้นไป มีหมู่บ้านละ 2 คน
ดำรงตำแหน่งวาระ
4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

 

16.ประธานฝ่ายบริหารมาจากใคร



ตอบ ความเห็นชอบของสภา
และนายอำเภอแต่งตั้ง

 

17.ปัจจุบัน
อบต
.ทั่วประเทศมีกี่แห่ง



ตอบ 6,744 แห่ง

 

18.อบต.หนองใหญ่ ชลบุรี ปัจจุบันเป็นเทศบาลตำบลใช่หรือไม่



ตอบ ใช่
โดยยุบรวมกับเทศบาลตำบลหนองใหญ่เมื่อ
16 .. 43



          อบต.เวียง ยุบรวม ทต.เวียงพร้าว
.พร้าว จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่ 26
..45

 

19.... กทม.ปี 28 กำหนดเกณฑ์สมาชิกสภา กทม. 1 คน ต่อประชากรกี่คน



ตอบ 100,000 คน วาระ 4 ปี

 

20.ปัจจุบัน
กทม
.มีสมาชิกสภา กทม.เท่าไร



ตอบ 60 คน

 

21.ผวจ.กทม. คนปัจจุบันคือใคร



ตอบ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่า กทม.ที่มาจากการเลือกตั้ง คนที่ 5 (รวมแต่งตั้งด้วยเป็นคนที่
13)

 

22....เมืองพัทยา ปี 2542
มีสมาชิกสภาเท่าไร



ตอบ 24 คน

 

23.นายกเมืองพัทยามาจากการเลือกตั้งโดยตรง
ใช่หรือไม่



ตอบ ใช่

 

24.รธน.ปี 40 ว่าด้วยการกระจายอำนาจ มีหลักการสำคัญอย่างไร



ตอบ บริหารงบประมาณ
บริหารงานบุคคล ด้วยความอิสระแลเท่าเทียมกัน

 

25.ใครกำกับดูแลเทศบาลในเขตจังหวัด
และใครดูแลเทศบาลตำบลและ อบต
.



ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วน เทศบาลตำบล
นายอำเภอช่วยเหลือ ผวจ
.ในการกำกับดูแล



26.กทม.ใครเป็นผู้กำกับดูแล



ตอบ รมว.มท. ถ้าให้ผู้ว่า กทม. พ้นจากตำแหน่ง รมว.มท.เสนอ ครม.

 

27.ใครกำกับดูแลเมืองพัทยา



ตอบ
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ผวจ
.เสนอ
รมว
.มท.ยุบสภาพัทยาได้

 

28.ตาม รธน.
.283 ทำไมต้องมีการกำกับดูแลท้องถิ่นเพื่ออะไร



ตอบ เพื่อให้เป็นไปตาม รธน.

 

29.ปัจจุบันจะมีการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษอีกแห่งที่ใด
เรียกว่าอะไร



ตอบ
เรียกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่อาณาเขตไม่เต็มพื้นที่จังหวัด
กับอาณาเขตเต็มพื้นที่จังหวัด



30.ปัจจุบัน
...เทศบาลแก้ไขล่าสุดฉบับที่เท่าไร
..ใด



ตอบ ฉบับที่ 11 (.. 2543)

 

31.เทศบาลรูปแบบใดที่เป็นที่ตั้งศาลากลาง



ตอบ เทศบาลเมือง



32.... อบจ.ปัจจุบันใช้ พ.. อะไร



ตอบ พ.. 2540 (ฉบับที่ 2 .. 2542)



33.สภา ต.
เป็นท้องถิ่นหรือไม่ มีฐานะพิเศษต่างกว่าแบบเดิมคืออะไร



ตอบ ไม่เป็นท้องถิ่น
แต่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

 

34.อบต.
ปัจจุบันมีกี่แห่ง



ตอบ 6,744 แห่ง

 

35.ผวจ.กทม.มาจากการเลือกตั้ง โดยวิธีใด



ตอบ เลือกตั้งโดยตรงและลับ

 

36....เมืองพัทยาประกาศใช้ พ..ใด



ตอบ พ.. 2542



37....อะไร
ที่บัญญัติอำนาจหน้าที่ รายได้ของท้องถิ่นไว้ทุกรูปแบบ



ตอบ พ...กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ..2542

 

38.สัดส่วนรายได้ท้องถิ่น
ปี
2545 มีร้อยละเท่าใด



ตอบ ร้อยละ 27.44 (งบประมาณ
2545 1,023,000 ล้านบาท จัดสรรให้ท้องถิ่น 28,071.60 ล้านบาท)

 

39.รัฐบาลต้องจัดสรรเงินให้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเท่าใดในปี
44



ตอบ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20



41.องค์กรปกครองท้องถิ่นปัจจุบันมีทั้งหมดกี่แห่ง



ตอบ 7,950 แห่ง (เทศบาล 1,129 อบจ. 75 พิเศษ 2
อบต. 6,744)

 

42.ปัจจุบันสภาตำบลเหลือเท่าใด



ตอบ 214 แห่ง

 

43.เทศบาลใดที่ต้องเลือกนายกโดยตรงเป็นเทศบาลแรกของไทย



ตอบ เทศบาลเมืองคูคต อ.ลำลูกกา
.ปทุมธานี (นางสุภารมย์ โลทะกะ)

 

44.ชุมชนที่จะยกฐานะเป็นเทศบาลนครต้องมีประชากรเท่าใด



ตอบ 50,000 คน



ข้อมูล อบต. ปี 2554



-อบต.ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากที่สุด
2,614 แห่ง


-พนง.ส่วนตำบล 23,727
คน


-สมาชิกสภา อบต. 127,594 คน


-อบต.ที่มีประชากรมากที่สุด
อบต
.ผาสุก อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี 53,512 คน


-อบต.บางบัวทอง
มีรายรับมากที่สุด
75,563,537.02 บาท

-อบต.เขาน้อย     มีรายรับน้อยที่สุด   1,041,921.00 บาท

-ตั้งแต่ 11 .. 44 จะไม่มี กน./ผญบ./พท. เป็นสมาชิกสภา อบต.โดยตำแหน่ง


-ตั้งแต่ 20 .. 46 กน./ผญบ./พท. จะสมัครสมาชิกสภา อบต.โดยยังไม่ลาออกจากตำแหน่งไม่ได้


-เลือกตั้ง อบต. ครั้งสุดท้ายเมื่อ
23 มิ.. 2544


-เลือกตั้ง อบต.ครั้งต่อไป
ภายใน
60 วันหลังวันที่ 18 .. 2546 (จัดตั้งปี 2538(ชุดแรก)
เป็นการเลือกใหม่ครั้งที่ 2)


-ครั้งถัดไป ภายใน 60 วันหลังวันที่
21 มกราคม 2547 (จัดตั้งปี 2542
เป็น อบต.ชุดที่ 4)


พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 
1. ความเป็นมาของเทศบาล 
เทศบาลเป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเอง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ ฯ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ท่าฉลอม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ มา จนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการ กระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น 
โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติ จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิก กฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543 จากวิวัฒนา การรูปแบบการปกครองท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่น รูปสุขาภิบาลจนหมดสิ้น ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ทำให้มีเทศบาลใน ปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 1,164 แห่ง 

การปกครองท้องถิ่นได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การปกครอง ท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ยังไม่เข้มแข็งพอแต่พอจะเป็นหลักได้บ้างก็คือการปกครองท้องถิ่นรูปแบบของกรุงเทพมหานคร และเทศบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลหลายรัฐบาลได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่หลายครั้ง โดยมี การทดลองรูปแบบเมืองพัทยาแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจึงกลับมาดำเนินการในรูปแบบเทศบาล โดยให้เมืองพัทยาบริหารตาม รูปแบบของเทศบาลนคร ในปัจจุบันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ให้ สามารถรวมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดได้ดังนี้ 

ดาวโหลดที่นี่   

http://www.ziddu.com/download/12383583/tassaban.doc.html

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน  
http://www.ziddu.com/download/5214586/tassaban.pdf.html

สรุป งานสารบรรณ
http://www.ziddu.com/download/5220486/sarabun.doc.html

พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2542
http://www.ziddu.com/download/5220566/Update.pdf.html

รัฐธรรมนูษ 2550
http://www.ziddu.com/download/5221036/2550.pdf.html

พรบ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ
http://www.ziddu.com/download/5221069/...pdf.html

สรุปงานพัฒนาชุมชน
http://www.ziddu.com/download/5221116/pathana.doc.html

แนวข้อสอบ พรบ.แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
http://www.ziddu.com/download/5221238/krajai.pdf.html

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

winnie22 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

เทศบาล

เทศบาลถือว่าเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่จัดตั้งขึ้นในเขตชุมชนที่มีความเจริญและใช้ในการบริหารเมืองเป็นหลัก
ซึ่งหลายประเทศประสบความสำเร็จในการใช้
เทศบาลเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน การปกครองประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย
สำหรับสังคมไทยเทศบาลเป็นรูปแบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในเขตชุมชนเมืองที่ใช้มาตั้งแต่
.. 2476 จนถึงปัจจุบัน (.. 2542) เกือบ 66 ปีแล้ว

ความเป็นมา

.. 2476  ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย
.. 2476 และกำหนดให้เทศบาลเป็นองค์กรบริหารรูปหนึ่งของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
และมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ
.. 2476 ขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารปกครองตนเองของเทศบาล

                    พ.. 2478  ได้มีการจัดตั้งเทศบาลเป็นครั้งแรก

ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล        พ.. 2476 โดยการยกฐานะสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิม 35
แห่งขึ้นเป็นเทศบาล และได้มีการปรับปรุงกฎหมาย      ดังกล่าวอยู่เป็นระยะ เช่น ในปี พ.. 2481 และ พ.. 2483

                    พ.. 2496  ได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล

.. 2496 ขึ้นใช้แทนกฎหมายเก่าทั้งหมด
และได้มีการใช้กฎหมาย พ
...เทศบาล พ.. 2496 (โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่เป็นระยะ)
จนถึงปัจจุบัน (2541) ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติหมวดว่าด้วยการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
.. 2540

                   พ.. 2542  ได้มีการปรับปรุงแก้ไข พ... เทศบาล (ฉบับที่ 10) .. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2542

หลักเกณฑ์การจัดตั้งเทศบาล


               พระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดตั้งท้องถิ่นใดขึ้นเป็นเทศบาลไว้ 3
ประการ ได้แก่



1. จำนวนของประชากรในท้องถิ่นนั้น

                2. ควมเจริญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น

โดยพิจารณาจากการจัดเก็บรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด
และงบประมาณรายจ่ายในการดำเนินกิจการของท้องถิ่น

                 3. ความสำคัญทางการเมืองของท้องถิ่น

โดยพิจารณาถึงศักยภาพของท้องถิ่นนั้นว่าจะสามารถพัฒนาความเจริญได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด


               จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น กฎหมายได้กำหนดให้จัดตั้งเทศบาลขึ้นได้ 3
ประเภท ดังนี้


1. เทศบาลตำบล  กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งเทศบาลตำบลไว้อย่างกว้างๆ
ดังนี้



1.1 มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ผ่านมา ตั้งแต่ 12,000,000
บาท    ขึ้นไป



1.2 มีประชากรตั้งแต่ 7,000 คนขึ้นไป


1.3 ได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในท้องถิ่นนั้น


                   สำหรับในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น
การควบคุมการก่อสร้างอาคาร การแก้ปัญหาชุมชนแออัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การพัฒนาท้องถิ่นหรือการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล
กระทรวงมหาดไทยจะสั่งให้ดำเนินการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลเฉพาะแห่งได้
หรือกรณีที่จังหวัดเห็นว่าสุขาภิบาลใดมีความเหมาะสม
สมควรยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลได้
ก็ให้จังหวัดรายงานไปให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาสั่งให้ดำเนินการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลได้
โดยให้จังหวัดชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น
พร้อมทั้งส่งข้อมูลความเหมาะสมไปให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาด้วย

                          2. เทศบาลเมือง  มีหลักเกณฑ์การจัดตั้งดังนี้

2.1 ท้องที่ที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดทุกแห่ง
ให้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองได้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์อื่นๆ ประกอบ

                   2.2 ส่วนท้องที่ที่มิใช่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจะยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง

ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้


(1) เป็นท้องที่ที่มีพลเมืองตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป


(2) มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้


(3) มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง


3. เทศบาลนคร  มีหลักเกณฑ์การจัดตั้งดังนี้


3.1 เป็นท้องที่ที่มีพลเมืองตั้งแต่ 50,000 คน
ขึ้นไป


3.2 มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้


3.3 มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลนคร



โครงสร้างเทศบาล

               พระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ได้แบ่งโครงสร้างของเทศบาลออกเป็น 2 ส่วน คือ          สภาเทศบาล

และคณะเทศมนตรี


 สำหรับการปฏิบัติงานในหน้าที่ประจำในเทศบาล
จะมีโครงสร้างทางเจ้าหน้าที่อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า พนักงานเทศบาล


1. สภาเทศบาล  ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ซึ่งคอยควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหารอันเป็นวิถีทางแห่งการถ่วงดุลอำนาจ กำหนดให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
และสมาชิกสภาเทศบาลนี้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ
5 ปี (ปัจจุบันมีการแก้ไขให้อยู่ในวาระคราวละ 
4 ปี) ทั้งนี้จำนวนสมาชิกสภาเทศบาล
จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของเทศบาล ดังนี้



                   1.1  สภาเทศบาลตำบล       มีสมาชิกทั้งหมด   12 คน

                   1.2  สภาเทศบาลเมือง        มีสมาชิกทั้งหมด   18 คน
                   1.3  สภาเทศบาลนคร         มีสมาชิกทั้งหมด   24 คน


                   สภาเทศบาลนั้นมีประธานสภาคนหนึ่ง
และรองประธานสภาคนหนึ่งโดยให้ผู้ว่าราชการแต่งตั้งมาจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล
กล่าวคือ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมสภา เทศบาลครั้งแรกภายใน
90
วัน นับแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเสร็จสิ้นแล้ว
ให้สมาชิกสภาเทศบาลประชุมเลือกกันเองจากสมาชิกด้วยกัน
จะเลือกบุคคลอื่นนอกจากสมาชิกสภาเทศบาลไม่ได้ ประธานสภามี
หน้าที่ดำเนินกิจการของสภาเทศบาลให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมเทศบาลควบคุมบังคับบัญชารักษาความสงบ
และเป็นตัวแทนสภาในกิจการภายนอก


2. คณะเทศมนตรี



                   ฝ่ายบริหารกิจการของเทศบาล
ได้แก่ คณะเทศมนตรี ซึ่งอำนาจในการบริหารงานอยู่ที่     คณะเทศมนตรี
โดยคณะเทศมนตรีเลือกมาจากสมาชิกสภาเทศบาลที่สมาชิกสภาเทศบาลมีมติเห็นชอบ       ซึ่งประกอบด้วยนายกเทศมนตรี และเทศมนตรี
อีก
2-4 คน ตามฐานะเทศบาล คือ


ก. กรณีที่เป็นเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล ให้มีเทศมนตรีได้ 2 คน ซึ่งเมื่อรวมนายก   
เทศมนตรีเป็นคณะเทศมนตรีแล้ว มีจำนวน
3 คน


ข. กรณีที่เป็นเทศบาลนคร ให้มีเทศมนตรีได้ 4 คน
ซึ่งเมื่อรวมนายกเทศมนตรีเป็นคณะ    
เทศมนตรีแล้วมีจำนวน
5 คน
สำหรับเทศบาลเมืองที่มีรายได้จากการจัดเก็บปีละ
20 ล้านบาทขึ้นไป
ให้มี    เทศมนตรีเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน


3. พนักงานเทศบาล

                   พนักงานเทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเทศบาลที่ปฏิบัติงานอันเป็นภารกิจประจำสำนักงานหรืออาจจะนอกสำนักงานก็ได้ 
ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างใกล้ชิด
เพราะหน้าที่ของเทศบาลนั้นต้องติดต่อและให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย
ทั้งในเรื่องงานการทะเบียน การสาธารณูปโภค การศึกษา การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ซึ่งนับว่าเป็นภาระหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นมาก
ซึ่งต่างกับคณะเทศมนตรีที่ว่าคณะเทศมนตรีรับผิดชอบและภารกิจในลักษณะของการ
ทำอะไรส่วนการ ทำอย่างไร
ก็จะเป็นหน้าที่ของพนักงานเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบ
โฉมหน้าเทศบาลในยุค 2000

 พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11)
.. 2543 ได้กำหนดโครงสร้างเทศบาลให้มีองค์ประกอบ
ดังนี้



1. โครงสร้างให้เลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงจากประชาชนในเขตเทศบาลนคร
และเทศบาลเมือง ภายหลังที่สมาชิกสภาเทศบาลนครหรือเทศบาลเมืองครบตามวาระ
หรือมีเหตุต้องยุบสภาไป


2. เทศบาลตำบล ให้มีทางเลือกว่า เทศบาลแห่งใดจะมีการบริหารในรูปแบบคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรี
ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาลแต่ละแห่ง



               จึงกล่าวได้ว่า เทศบาลใดจะใช้โครงสร้างแบบคณะเทศมนตรี
ก็จะมีโครงสร้างดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
แต่หากเทศบาลใดใช้โครงสร้างแบบนายกเทศมนตรี นายกเทศมนตรีก็จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง


และคณะผู้บริหารจะประกอบด้วย
นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่มาจากการแต่งตั้งของนายก       เทศมนต
ีตามจำนวน ดังนี้

               เทศบาลตำบล          ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 2 คน               เทศบาลเมือง           ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน

               เทศบาลนคร            ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 4 คน


               และกฎหมายได้ให้อำนาจนายกเทศมนตรีแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
เลขานุการนายก    เทศมนตรี
เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีอีกด้วย


               อย่างไรก็ตาม พ...เทศบาล (ฉบับที่ 11) .. 2543 ระบุว่า วันที่ 1
มกราคม 2550 เป็นต้นไป
ก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงทุกแห่งหรือจะใช้โครงสร้างแบบให้สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้เลือกคณะเทศมนตรี
ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนโดยการลงประชามติ


               การลงประชามติดังกล่าว
กฎหมายกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนั้น
ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในเขตเทศบาลนั้น
ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้จัดให้มีการลงประชามติ ทั้งนี้
การยื่นคำร้องดังกล่าวต้องดำเนินการภายใน
360 วัน
ก่อนครบวาระของสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ขณะนั้น และจะกระทำในวาระของสภาเทศบาลนั้นได้เพียงครั้งเดียว


               นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่  ดังต่อไปนี้



(1) กำหนดนโยบายไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย
เทศบัญญัติ และนโยบาย


(2) สั่ง อนุญาต
และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล


(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี
ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายก   
เทศมนตรี


(4) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย


(5) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ


(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น


อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล

               ปกติสภาเทศบาลจะทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

1. อำนาจในการตราเทศบัญญัติ

เทศบัญญัติ

คือ กฎข้อบังคับของท้องถิ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับได้เฉพาะในเขตเทศบาลนั้นๆ เท่านั้น โดยสภาเทศบาลเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อตัวบทกฎหมาย
ในกรณีต่อไปนี้

                                ก. เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล

ข. เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ
หรือให้อำนาจตราเทศบัญญัติเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนั้นๆ


                   สำหรับการพิจารณาตราเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี ถือว่าเป็นการใช้อำนาจสูงสุดในการควบคุม
ถ้าหากร่างดังกล่าวไม่ได้รับการเห็นชอบจากสภาเทศบาลแล้ว
นั่นหมายถึงว่าคณะเทศมนตรีสิ้นสุดในหน้าที่
(เพราะการไม่เห็นด้วยของเทศบาลมีความหมายถึงการไม่ยอมรับของประชาชนในท้องถิ่นด้วย)
โดยมีเงื่อนไขที่น่าสังเกตว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเห็นชอบด้วย
และในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยนั้น
การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าจะดำเนินการอย่างไร


                   ส่วนในการตราข้อบัญญัติทั่วไปจะมีหลักการคล้ายกัน
แต่ต่างกันตรงที่ว่าร่างดังกล่าวจะได้รับการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วย


2. อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร


                   สภาเทศบาลมีอำนาจในการควบคุมคณะเทศมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนและนโยบายที่กำหนดไว้
โดยมีมาตรการควบคุมที่สำคัญอย่างน้อย
3 ประการ


2.1 การตั้งกระทู้ถาม



สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิที่จะตั้งกระทู้ถามคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีในข้อความใดๆ
ที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้
ถ้าหากสมาชิกสภาเกิดสงสัยหรือมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรี
หรือเมื่อเล็งเห็นว่าการกระทำใดๆ ของฝ่ายบริหารอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อท้องถิ่นหรือประชาชนในท้องถิ่นนั้น
ทั้งนี้นายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรีนั้นๆ จะต้องตอบกระทู้ถามให้สมาชิกสภาหายข้องใจ
แต่ฝ่ายบริหารมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามก็ได้
ถ้าเห็นว่ายังไม่สมควรตอบเพราะถ้าหากตอบไปแล้วจะเกิดความไม่ปลอดภัยหรือเสียประโยชน์ที่สำคัญของเทศบาล


2.2 การเปิดอภิปราย



กฎหมายว่าด้วยเทศบาลได้ให้สิทธิแก่สมาชิกสภาเทศบาล
ขอเปิดอภิปรายต่อคณะ    
เทศมนตรีหรือเทศมนตรีคนใดคนหนึ่งได้
ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการที่กำหนดไว้ เช่น   มีข้อกล่าวหาคณะเทศมนตรีว่าปฏิบัติงานไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่
ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่และมีความประพฤติเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง ฯลฯ


2.3 การอนุมัติงบประมาณประจำปี



ก่อนที่จะมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในรอบปีต่อไป
คณะเทศมนตรีจะต้องเสนอ          
งบประมาณประจำปีเพื่อขออนุมัติต่อสภาเทศบาลเสียก่อน และเมื่อสภาได้อนุมัติแล้ว
จึงจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ การที่กำหนดให้ต้องเสนอขออนุมัติงบประมาณก่อนนั้น
เพื่อที่สภาเทศบาลซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นนั้น
สามารถควบคุมการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินของฝ่ายบริหารให้เป็นไปอย่าง           ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของท้องถิ่น
และในกรณีที่สภาเทศบาลพิจารณาแล้ว
ลงมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปีที่คณะเทศมนตรีเสนอแล้ว
ไม่ว่าจะต้องเหตุผลใดก็ตามจะมีผลทำให้คณะเทศมนตรีชุดนั้นต้องพ้นจากตำแหน่งไป


3. อำนาจในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะเทศมนตรี


บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเทศบาล
ได้กำหนดเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะเทศมนตรีไว้ว่า  
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นนายกเทศมนตรี และเทศมนตรี
ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล



กล่าวโดยสรุป คือ
อำนาจในการเห็นชอบแต่งตั้งคณะเทศมนตรี โดยสภาเทศบาลจะเสนอการเห็นสมควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง
มีข้อสังเกตว่าในปัจจุบันมีการจัดกลุ่มในลักษณะพรรคการเมืองขึ้น  ดังนั้นกลุ่มที่ได้รับเลือกตั้งเป็นฝ่ายเสียงข้างมากจะมีโอกาสสูงที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นฝ่ายบริหาร
(คณะเทศมนตรี)



4. อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาเทศบาล


เพื่อที่จะให้การดำเนินงานต่างๆ
ของสภาเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
สภาเทศบาลมีอำนาจที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่มอบหมายให้ทำ  ซึ่งคณะกรรมการที่           
สภาเทศบาลจะแต่งตั้งนี้สามารถจำแนกออกได้เป็น
2 ประเภท
คือ



4.1 คณะกรรมการสามัญ คือ
คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งได้รับเลือกจากสภาเทศบาล
และกระทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบให้มีคณะกรรมการสามัญประจำสภาเทศบาลได้ไม่เกิน
2
คณะ โดยเทศบาลนครให้มีกรรมการในคณะหนึ่งๆ ไม่เกิน 5 นาย ส่วนเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลให้มีกรรมการในคณะหนึ่งๆ ได้ไม่เกิน 3
นาย


4.2 คณะกรรมการวิสามัญ คือ
คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่มิได้เป็นสมาชิกซึ่งได้รับเลือกจากสภาเทศบาล
โดยอาจมีจำนวนและองค์ประกอบของคณะกรรมการได้เช่นเดียวกับคณะกรรมการสามัญดังกล่าวมาแล้วข้างต้น


อำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรี

               คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่สำคัญๆ
อาจกล่าวโดยสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลและรับผิดชอบในการบริหารงานโดยทั่วไปของเทศบาลตามที่เทศบาลกำหนดไว้
2. 
อำนาจหน้าที่ในการเปรียบเทียบคดีที่ละเมิดต่อเทศบัญญัติโดยเทศมนตรีคนใดคนหนึ่งมีอำนาจเปรียบเทียบปรับในคดีที่มีการละเมิดต่อเทศบัญญัติได้

และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อประโยชน์แห่งการนี้
นายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรีมีอำนาจที่จะเรียกผู้กระทำความผิดและพยานมาบันทึกถ้อยคำเพื่อประกอบการพิจารณาได้ด้วย

3. อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

กล่าวคือ คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ในการปฏิบัติงานต่างๆ ในเขตเทศบาล ตาม   
บทบัญญัติของกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่
หรือกฎหมายอื่นใดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและได้กำหนดไว้โดยกฎกระทรวง


เพื่อให้การใช้อำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรีดังกล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้มีการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยปัญหาและการสั่งการระหว่างนายกเทศมนตรีกับเทศมนตรีไว้ดังนี้
(ประหยัด หงษ์ทองคำ, 2526 : 55)


1. นายกเทศมนตรี  มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยสั่งการและบริหารงานในเรื่องต่อไปนี้


1.1 เรื่องเกี่ยวกับสภาเทศบาลหรือสมาชิกสภาเทศบาล

                    1.2 เรื่องที่ต้องรายงานอำเภอหรือจังหวัด

หรือกระทรวงไทยแล้วแต่กรณี

                               1.3 เรื่องที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรี
                   1.4 
เรื่องที่เกี่ยวกับการออกเทศบัญญัติหรือยกเลิกแก้ไขเพิ่มเติมเทศบัญญัติอยู่แล้ว
                   1.5 
เรื่องที่ดำริขึ้นใหม่

ซึ่งอาจต้องมีโครงการหรือแผนงานหรือระเบียบการขึ้นใหม่

                    1.6 เรื่องที่ปลัดเทศบาลเห็นเป็นปัญหา

หรือกรณีพิเศษที่ควรได้รับการวินิจฉัยจากนายก  
เทศมนตรี

                    1.7 เรื่องซึ่งนายกเทศมนตรีมีอำนาจสั่งการโดยเฉพาะ
                    1.8 
เรื่องที่ปลัดเทศบาลเห็นสมควรเสนอเพื่อทราบ

2. เทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งการหรือบริหารงานในเรื่องต่อไปนี้

                    2.1 เรื่องที่คณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรีมอบหมายให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเทศมนตรี
                    2.2 
เรื่องที่ต้องรายงานนายกเทศมนตรี
                    2.3 
เรื่องที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับระบุไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่

อนึ่ง
ในกรณีที่นายกเทศมนตรีไม่อยู่ หรือไม่สามารถบริหารกิจการได้
ให้นายกเทศมนตรีตั้งเทศมนตรีผู้หนึ่งทำงานแทน
และจะต้องแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ


อำนาจหน้าที่ของเทศบาล

พระราชบัญญัติเทศบาล

..2496 กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติหรือหน้าที่บังคับให้ปฏิบัติ
และอำนาจหน้าที่ที่จะเลือกปฏิบัติ นอกจากนั้นยังมีอำนาจตามที่กฎหมายเฉพาะอื่นๆ
กำหนด ทั้งยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในฐานะระดับต่างๆ ไว้ เช่น เทศบาลตำบล
เทศบาลเมือง และ      เทศบาลนคร ไว้แตกต่างกัน
โดยมีรายละเอียดกล่าวคือ



สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
111111111111111
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้