ภาวะเศรษฐกิจการลงทุน การส่งเสริมการลงทุน
1. คำถาม:
จากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ผ่านมาท่านคิดว่านักลงทุนจะมองภาพการลงทุนใน
ประเทศไทยเป็นอย่างไร ?
คำตอบ : เมื่อปีที่ผ่านมาการลงทุน
ก็ดูจะมีความผันผวนมากขึ้น โดยเฉพาะภาพการลงทุนในประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง
จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่นักลงทุนจะต้องขยายการลงทุนไปยังภูมิภาคต่างๆ
ไม่เฉพาะแต่ในหุ้นไทย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง โดยในปี 2557 นี้ นักลงทุนจึงได้มองภาพการลงทุนออกเป็น
4 ประเด็น หลักๆ คือ
1. ตลาดพัฒนาแล้วจะมีผลการดำเนินงานดีกว่าตลาดเกิดใหม่
ตลาดพัฒนาแล้วที่น่าสนใจในปีนี้
ยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด
ขณะที่อัตราการว่างงานเองก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ Fed ทำการตัดสินใจปรับลดวงเงินในมาตรการ QE ลง
โดยผลจากการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวนี้เอง น่าจะส่งผลดีต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ
รวมถึงดัชนีหุ้นสหรัฐฯด้วย แต่จากการที่ตลาดปรับตัวขึ้นไปกว่า 30% ในปีที่ผ่านมา
ดีกรีความร้อนแรงในปีนี้จึงไม่น่าจะร้อนแรงเท่า
ยุโรปเองก็เป็นอีกตลาดที่มีความน่าสนใจ
เนื่องจากเศรษฐกิจแม้จะยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่นัก แต่ก็มีแนวโน้มดีขึ้น
ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปก็ยังน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้
นอกจากนี้ ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้
รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในระบบการเงินของยุโรปจากการทดสอบภาวะวิกฤตธนาคาร
และการจัดตั้งสหภาพธนาคารก็เป็นรูปเป็นร่าง
ซึ่งจะช่วยทำให้ตลาดหุ้นยุโรปยังคงมีแนวโน้มที่สดใส แม้ว่าปีนี้จะปรับขึ้นมาแล้ว
15% แต่เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปี ก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
2.
ตลาดเอเชียเหนือจะมีผลการดำเนินงานดีกว่าเอเชียใต้
แม้ในภาพรวม ตลาดเอเชียน่าจะมีผลการดำเนินงานต่ำกว่ายุโรปหรืออเมริกา
เพราะการปรับลดมาตรการ QE จะทำให้เม็ดเงินบางส่วนไหลออกจากเอเชียในระยะสั้น
แต่การปรับลดมาตรการดังกล่าว แสดงถึงความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ฟื้นตัว
ซึ่งจะส่งผลบวกต่อตลาดเอเชียซึ่งพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักให้ฟื้นตัวตามขึ้นไปด้วย
แต่ในระยะสั้น ตลาดเอเชียในกลุ่มเอเชียใต้
โดยเฉพาะประเทศที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย
น่าจะได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการไหลออกของเม็ดเงิน ขณะที่ตลาดเอเชียเหนือในแถบจีน
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ซึ่งมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่ง
น่าจะยังคงเติบโตได้ดีและมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ในส่วนของญี่ปุ่น
เศรษฐกิจหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดอย่างชัดเจน โดยเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาขยายตัวได้กว่า
1.80% และอัตราเงินเฟ้อเองก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับกรอบที่รัฐบาลตั้งไว้
ซึ่งมาตรการธนู 3 ของของนายกรัฐมนตรีชินโสะ
อาเบะเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะยังทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเอง
นับเป็นหนึ่งในตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในปีที่ผ่านมากว่า 50%
แต่ระดับราคายังคงต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต โดย P/E ดัชนี TOPIX ปัจจุบันอยู่ที่ 14.1 เท่า
เทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ 16 เท่า
จึงยังคงมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มเศรษฐกิจ
สำหรับเศรษฐกิจจีน
ได้ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงต้นปี 2013 และสามารถปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยในปีที่ผ่านมาขยายตัวได้ถึง 7.60% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ทางการตั้งไว้
ขณะที่แผนปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมฉบับสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ซึ่งครอบคลุมการปฏิรูปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
น่าจะทำให้เศรษฐกิจจีนสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ดี
ตลาดหุ้นจีนในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงต้นปี
ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมา ดัชนี A-Share ปรับตัวลดลงประมาณ 8%
ขณะที่ H-Share ปรับตัวลดลงประมาณ 6%
แต่จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่น่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น
น่าจะทำให้เม็ดเงินไหลกลับมาที่จีนและทำให้ตลาดหุ้นจีนเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าจะมีผลการดำเนินงานที่ดีได้ในปีนี้
โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาอัตราส่วน Forward P/E ของดัชนี MSCI
China ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 8.9 เท่า
เทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ประมาณ 12 เท่า
ยิ่งทำให้ระดับราคาหุ้นจีนยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้น
3.
การปรับลดมาตรการ QE ทำให้สถานการณ์สินค้าโภคภัณฑ์มีความน่าสนใจน้อยลง
การปรับลดมาตรการ QE จะส่งผลลบต่อแนวโน้มทองคำ
เนื่องจากจะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์แข็งค่าขึ้นและกดดันราคาทองคำ
ขณะที่เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้ความต้องการทองคำในฐานะ Safe Haven ปรับตัวลดลง ขณะที่ปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ เช่น เงินเฟ้อ
ยังไม่เห็นในระยะสั้น โดย บลจ.กสิกรไทย มองกรอบการเคลื่อนไหวราคาทองคำในปี 2014
ที่ระหว่าง 1,150 – 1,350 ดอลล่าร์ต่อออนซ์
ในส่วนของน้ำมัน
แม้ว่าการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จะส่งผลบวกต่อแนวโน้มน้ำมัน
ให้มีความต้องการมากขึ้นแต่ปริมาณการผลิตและส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากอิหร่าน
ประกอบกับการขนส่งน้ำมันในสหรัฐฯที่เริ่มสะดวกขึ้น
รวมถึงการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ๆจากหินแร่น้ำมัน (Shale Oil) ทำให้แรงกดดันด้านปริมาณลดลง
จึงทำให้ราคาน้ำมันไม่น่าจะปรับตัวขึ้นแรงมากนัก
โดยบลจ.กสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหว 80 – 100
ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
อย่างไรก็ดี
แม้จะลดความน่าสนใจลงจากปีที่ผ่านมา
แต่สินค้าโภคภัณฑ์ก็ยังเป็นหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับการช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
4. ตราสารหนี้จะมีความน่าสนใจน้อยกว่าตราสารทุน
สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศ
คาดการณ์ว่า กนง. มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาได้อีก
จากการที่เศรษฐกิจไทยยังคงเปราะบางและมีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ทางการเมือง
จึงควรเน้นลงทุนในกองทุน Fixed Term ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี
เพื่อล็อคผลตอบแทนไว้ก่อนและป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ขณะที่ตราสารหนี้ต่างประเทศ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการหยุดมาตรการ QE
จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้น
ซึ่งจะส่งผลให้ราคาพันธบัตรระยะยาว น่าจะปรับตัวลดลง
และให้ผลตอบแทนที่ไม่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้น
ท้ายที่สุด
สำหรับไทย แม้เศรษฐกิจในปีที่ผ่านมายังคงขยายตัวได้
แต่ก็ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ โดยปัจจัยหลัก
มาจากตัวเลขการส่งออกที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่คาดไว้
แม้ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงก็ตาม รวมถึงปัจจัยทางการเมืองที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้
และทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อภาวะเศรษฐกิจ ก็ส่งผลเสียต่อตลาดหุ้นเช่นเดียวกัน
โดยในปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงกว่า 7% จากต้นปี
และมีเม็ดเงินต่างชาติไหลออกไปเกือบ 2 แสนล้านบาท โดยสำหรับมุมมองปี 2556 นี้
เชื่อว่าในช่วงครึ่งปีแรก ตลาดหุ้นไทยน่าจะมีความผันผวนอย่างมากจากสถานการณ์ทางการเมือง
แต่หากไม่เกิดความรุนแรง และหาข้อสรุปได้ในเร็ววัน
ตลาดน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นได้ในช่วงครึ่งปีหลัง
2. คำถาม: ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี
2557 ในด้านต่างๆ จะเป็นไปในลักษณะใดบ้าง?
คำตอบ : ๏ ด้านการใช้จ่าย
การใช้จ่ายภาคครัวเรือน:
ปรับตัวลดลงตามการหดตัวของการใช้จ่ายในหมวดรถยนต์นั่ง การชะลอตัวของรายได้
และการลดลงของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอันเนื่องมาจากความกังวลต่อสถานการณ์
ความไม่แน่นอนทางการเมืองและการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปี
2557 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลดลงของรายจ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่ปริมาณการจำหน่ายลดลงร้อยละ
58.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งภายหลัง
จากการสิ้นสุดมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ขณะที่การใช้จ่ายอื่นๆ
ชะลอตัวตามฐานรายได้ รวมทั้ง ความระมัดระวังในการใช้จ่ายของผู้บริโภค
โดยปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า
และปริมาณการจำหน่ายเบียร์ หดตัวร้อยละ 2.2 8.3 3.2 และร้อยละ
6.0 ตามลำดับ สอดคล้องกับการลดลงของการจัดเก็บภาษีมูลคำเพิ่ม
(ราคาคงที่) ร้อยละ 0.3 และการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของความเชื่อมั่นของผู๎บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากระดับ
65.0 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 60.0 ในไตรมาสนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 60 ไตรมาส
(นับตั้งแต่ไตรมาสที่สอง ปี 2542)
การลงทุนภาคเอกชน:
ปรับตัวลดลงเนื่องจากการหดตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร และ
การก่อสร้าง ในไตรมาสแรกของปี 2557
การลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 7.3 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 13.2 ในไตรมาสก้อนหน้า การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรลดลงร้อยละ 7.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของมูลคำการนำเข้าสินค้าทุน
(ราคาคงที่) และปริมาณ การจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศที่ลดลงร้อยละ 7.5 และร้อยละ 41.9 ตามลำดับ การลงทุนก่อสร้างลดลงร้อยละ
7.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.6
ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(BOI) ในไตรมาสนี้คิดเป็นมูลคำ 234.0
พันล้านบาท ลดลง ร้อยละ 10.6 เนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนของนโยบายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่
รวมทั้งรอการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ (ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่
22 เมษายน 2557) เพื่ออนุมัติโครงการ
ที่ค้างการพิจารณาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556
และความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ
50 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม จากระดับ 47.8 และ 46.4 ในไตรมาสที่สาม และไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว
มาอยู่ที่ระดับ 47.1 ในไตรมาสนี้
การส่งออก:
ปริมาณการส่งออกปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลก
ที่ยังกระจุกตัว อยู่ในประเทศอุตสาหกรรม แต่มูลค่าการส่งออกยังลดลงเนื่องจากการลดลงของราคาสินค้าส่งออกและปริมาณส่งออกที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
รวมทั้งข้อจ่ากัดของภาคการผลิตสินค้าสำคัญๆ การส่งออกสินค้า
ในไตรมาสแรกของปี 2557 มีมูลค่า 55,573 ล้านดอลลาร์
สรอ. หดตัวร้อยละ 0.8 ต่อเนื่องจากการหดตัว ร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก้อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออกลดลงร้อยละ 1.6
เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.6 แต่เมื่อคิด ในรูปของเงินบาท การส่งออกมีมูลคำ 1,814,541 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ
2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า
การส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ
2.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ
5.9 ในไตรมาสก้อนหน้า เนื่องจากการลดลงของราคาส่งออกเป็นสำคัญ
(ลดลงร้อยละ 10.9) โดยเฉพาะราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง
และน้ำตาล แม้ว่าปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวมขยายตัว การส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญๆ
ประกอบด้วย ข้าว มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6
เนื่องจากสามารถส่งออกข้าวในปริมาณที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.3 จากการเร่งระบายข้าวของรัฐบาล เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกมันสำปะหลังที่ขยายตัวร้อยละ
26.9 เนื่องจากปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญมีความต้องการมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น
มูลคำ การส่งออกยางพาราลดลงร้อยละ 15.5
ซึ่งเป็นผลจากราคาที่ลดลงร้อยละ 24.3 เนื่องจากสต็อกยางพาราของจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าหลักของโลกยังอยู่ในระดับสูง
ในขณะที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 มูลคำ การส่งออกน้ำตาลลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่
6 ร้อยละ 28.8
เนื่องจากการลดลงของทั้งปริมาณและราคา สินค้าอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ
รวมทั้งข้อจำกัดของ ภาคการผลิตสินค้าสำคัญๆ ที่ยังปรับตัวลดลง เช่น กุ้ง
ปูกระป๋องและแปรรูป ซึ่งยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปเนื่องจากฟาร์มเพาะลูกกุ้งยังมีพ่อแม่พันธุ์จำกัด
ประกอบกับผลจากฐานการส่งออกผลิตภัณฑ์โลหะ (เหล็กและเหล็กกล้า) ที่สูงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อน
จึงทำให้ปริมาณและมูลค่าการสงออกหดตัวร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น ยานยนต์
อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรและอุปกรณ์ ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ
โดยขยายตัวร้อยละ 3.1 0.2 7.2 และร้อยละ 8.7 ตามลำดับ สินค้าประมงหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 แต่ในอัตราที่ช้าลงร้อยละ 9.4 เทียบกับการหดตัวร้อยละ
22.9 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตลาดส่งออก:
การส่งออกไปตลาดหลักขยายตัวทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (15) และญี่ปุ่น แต่การส่งออกไปตลาดอาเซียน (9) จีน
ออสเตรเลีย และฮ่องกงหดตัว สอดคล้องกับการฟื้นตัวอย่างช้าๆ
ของเศรษฐกิจโลกที่ยังกระจุกตัวอยู่ในประเทศอุตสาหกรรม
ในขณะที่เศรษฐกิจจีนและเอเซียยังอยู่ในภาวะชะลอตัว
การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (15) ขยายตัวร้อยละ 0.6 และร้อยละ 4.8 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.2 และร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ สอดคล้องกับ
การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจยูโรโซน
ในขณะที่การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นเริ่มกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.0 หลังจากที่หดตัวติดต่อกัน 3 ไตรมาส สอดคล้องกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (9) และจีน
เริ่มกลับมา หดตัวร้อยละ 5.4 และร้อยละ 4.4 หลังจากการขยายตัวร้อยละ 1.2 และร้อยละ 12.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน สิงค์โปรย
และเวียดนาม ในขณะที่การส่งออกไปยัง ตลาดออสเตรเลียหดตัวต่อเนื่องร้อยละ 17.4 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
และเหล็กและเหล็กกล้า เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังตลาดฮ่องกงที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องร้อยละ1.8
การนำเข้า: ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตามการหดตัวของการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศ
รวมทั้งการลดลงของราคาน่าเข้า
และผลจากฐานการน่าเข้าทองค่าที่สูงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อน
(มูลค่าการน่าเข้าทองค่าในไตรมาสแรกของปี 2556 อยู่ที่ 6,351 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ในไตรมาสแรกของปี 2557 การนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 49,054 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ลดลงร้อยละ 14.8 เนื่องจากปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ 13.8 และเป็น การลดลงในทุกหมวดสินค้า ในขณะที่ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 1.4 ตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบ ทองคำ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
และเหล็กและเหล็กกล้า เมื่อหักการนำเข้าทองคำแล้ว มูลคำการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.4 ในรูปของเงินบาท การนำเข้ามีมูลค่า 1,602,826 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 6.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อนหน้าในรายหมวด มูลคำสินค้านำเข้าลดลงในทุกหมวด โดยมูลค่าการน่าเข้าหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง
ลดลงร้อยละ 4.7 สินค้าที่มีมูลคำการนำเข้าลดลง ได้แก่
น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่ และสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มิใช่อุตสาหกรรมการเกษตร
เช่น วัสดุก่อสร้าง วัสดุที่ทำด้วยโลหะ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ สอดคล้องกับภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรม
การลงทุนในประเทศ และการส่งออกที่ยังอยู่ในภาวะหดตัว รวมทั้งการปิดซ่อมบำรุง
ของโรงกลั่นหลายแห่งซึ่งส่งผลให้มีการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าทุน
ลดลงร้อยละ 11.1 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าทั้งในกลุ่มเครื่องจักร
อุปกรณ์และเครื่องใช้ประกอบ และกลุ่ม อากาศยาน เรือ แท่นขุดเจาะ และรถไฟ สินค้าที่มีมูลคำการนำเข้าลดลง
ได้แก่ เครื่องจักรกลอื่นๆ และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ อากาศยาน เรือ แท่นขุดเจาะ
รถไฟ และชิ้นส่วนอากาศยานและเรือ มูลค่าการน่าเข้าหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
ลดลงร้อยละ 7.3 สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของการใช้จ่ายของ ภาคครัวเรือน
สินค้าที่มีมูลคำการนำเข้าลดลง ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และประมง
และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เป็นต้น
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักวิชาการส่งเสริมการลงทุนปฏิบัติการ (BOI)
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2 ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน (ถาม - ตอบ)
3 แนวข้อสอบเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน BOI
4 แนวข้อสอบนักวิชาการส่งเสริมการลงทุน (อัตนัย)
6 แนวข้อสอบภาวะเศรษฐกิจการลงทุน การสงเสริมการลงทุน (อัตนัย)
7 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน _AEC_ ด้านเศรษฐกิจ
8 ภาวะเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
9 รวบรวมคำศัพท์อังกฤษ ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน
10 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ การใช้ Grammar
11 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ การใช้ Reading
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com