1. กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับที่เท่าไร
ก. ฉบับที่ 12 ข. ฉบับที่ 13
ค. ฉบับที่ 14 ง. ฉบับที่ 15
ตอบ ค. ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537)
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 14 ( พ.ศ. 2537)
2. กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับปัจจุบัน ให้ยกเลิกกฎหมายใด
ก. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 ข. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 4
ค. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 5 ง. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 6
ตอบ ก. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 1
กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ข้อ 2
ให้ยกเลิก กฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 และ กฎ ก.ร. ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518
3. การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ หรือข้อมูลที่ได้จากการประชุมลับของผู้ใด ซึ่งสภาพดังกล่าวยังมิได้มีมติให้เปิดเผยข้อมูลได้ ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก. รัฐสภา ข. วุฒิสภา
ค. สภาผู้แทนราษฎร ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ข้อ 3
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาความลับของทางราชการ
การเปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ หรือข้อมูลที่ได้จากการประชุมลับของรัฐสภา วุฒิสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสภาดังกล่าวยังมิได้มีมติให้เปิดเผยได้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
4. การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เกินกว่ากี่วันถือเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก. 3 วัน ข. 7 วัน
ค. 15 วัน ง. 30 วัน
ตอบ ค. 15 วัน
กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ข้อ 3
(10) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง
หน้าที่ราชการมิได้
การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
5. ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่ดำรงตำแหน่งใด
ก. กรรมการผู้จัดการ ข. สมาชิกพรรคการเมือง
ค. กรรมการพรรคการเมือง ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ข้อ 3
(14) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรง
ตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(15) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง กรรมการพรรคการเมือง
ดำรงตำแหน่งอื่นใดในพรรคการเมือง
(16) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่
ราชการ
6. ข้อใดไม่ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
ก. การกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก
ข. การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
ค. ความผิดลหุโทษ
ง. การดูหมิ่น เหยียดหยาม สมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
ตอบ ค. ความผิดลหุโทษ
กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ข้อ 3 (12) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องต้อนรับ และให้ความสะดวกแก่สมาชิกรัฐสภาและประชาชน ผู้มาติดต่อราชการอันเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้ ดูหมิ่นเหยียดหยาม สมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
7. กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. 3 วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. 7 วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาม
ตอบ ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ข้อ 1
กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
8. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับปัจจุบันนี้ด้วยเหตุผลใด
ก. ปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2518)
ข. ปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2520)
ค. เพื่อให้สอดคล้องกับ พรบ. ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2535
ง. ทุกข้อเป็นเหตุผลหมด
ตอบ ข. ปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2520)
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้คือ โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ และกฎ ก.ร. ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
9. กฎ ก.ร. ฉบับปัจจุบัน ประกาศใช้เมื่อใด
ก. 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ข. 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ค. 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ง. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ตอบ ก. 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ให้ไว้ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ข้อ 1
กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
10. กฎ ก.ร. ฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ข. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ค. 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537
ง. 7 ธันวาคม พ.ศ. 2537
ตอบ ก. 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
ให้ไว้ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ข้อ 1
กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
1. กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรืองดขั้นเงินเดือน ประกาศใช้ตามกฎหมายใด
ก. การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา พ.ศ. 2544
ข. การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2545
ค. พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.
ตอบ ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.
ตามที่ได้มีประกาศรัฐสภา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2544 และประกาศรัฐสภาเรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2545 ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสียใหม่ โดยกำหนดให้มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการภายในสำนัก แต่เนื่องจาก กฎ ก.ร. ที่เกี่ยวกับอำนาจการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนยังมิได้กำหนดให้อำนาจผู้อำนวยการสำนักไว้ในกฎ ก.ร. ดังกล่าว
2. กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ประกาศใช้ พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. 2544 ข. พ.ศ. 2545
ค. พ.ศ. 2546 ง. พ.ศ. 2547
ตอบ ค. พ.ศ. 2546
กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ประกาศ
ใช้ พ.ศ. 2546
3. กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ประกาศใช้เมื่อ
พ.ศ. ใด
ก. ตั้งแต่วันประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
ข. ถัดจากวันประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
ค. 3 วันหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. 7 วันหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจฯ พ.ศ. 2546 ข้อ 1 กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
4. กฎ ก.ร.ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน ให้ยกเลิกกฎหมายใด
ก. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 (2518) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518
ข. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 9 (2520) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518
ค. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 12 (2537) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518
ง. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 15 (2540) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518
ตอบ ค. กฎ ก.ร. ฉบับที่ 12 (2537) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518
กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจฯ พ.ศ. 2546 ข้อ 2 ให้ยกเลิก กฎ ก.ร. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2537)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
5. ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าส่วนราชการภายในสำนัก หมายถึงผู้ใด
ก. ผู้อำนวยการรัฐสภา ข. ผู้อำนวยการส่วนราชการ
ค. ผู้อำนวยการสำนัก ง. ผู้อำนวยการกอง
ตอบ ค. ผู้อำนวยการสำนัก
“ผู้อำนวยการสำนัก” หมายความว่า ข้าราชการรัฐสภาที่ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
ภายในสำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยกำหนดให้เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการภายใน
สำนักหรือส่วนราชการดังกล่าว
6. ผู้บังคับบัญชาข้าราชการรัฐสภาสามัญ สามารถสั่งลงโทษผู้กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงโดยสั่งตัดเงินเดือน
ครั้งหนึ่งไม่เกินเท่าใด
ก. ไม่เกิน 5 % ข. ไม่เกิน 7 %
ค. ไม่เกิน 10 % ง. ไม่เกิน 15 %
ตอบ ก. ไม่เกิน 5 %
กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจฯ พ.ศ. 2546 ข้อ 4 ผู้อำนวยการสำนัก ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีอำนาจสั่งลงโทษ ภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 % และเป็นเวลาไม่เกินสองเดือน
7. จากข้อข้างต้น ในการสั่งตัดเงินเดือนนั้น สามารถสั่งได้ไม่เกินกี่เดือนติดต่อกัน
ก. ไม่เกิน 1 เดือน ข. ไม่เกิน 2 เดือน
ค. ไม่เกิน 3 เดือน ง. ไม่เกิน 4 เดือน
ตอบ ข. ไม่เกิน 2 เดือน
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
8. ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญ เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง มีอำนาจ
สั่งลงโทษตามข้อใด
ก. สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ข. ตัดเงินเดือน
ค. ลดขั้นเงินเดือน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจฯ พ.ศ. 2546 ข้อ 5 ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธาน
วุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการวุฒิสภา หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม
มาตรา 6 (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา
ของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงมีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือน
ครั้งหนึ่งไม่เกิน 5 % และเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น
จำหน่ายเอกสารเตรียมสอบข้าราชการรัฐสภาสามัญ ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
ประกอบด้วย
1. แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์)
2.แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
แนวข้อสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง (เลือกตามตำแหน่งที่สอบ)เจ้าพนักงานบันทึกข้อมูลปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน นายช่างปฏิบัติงาน นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ทั่วไปปฏิบัติงาน นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ วิทยากรปฏิบัติการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติการ นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ นักบัญชีปฏิบัติการ
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
บิ๊กซีขอนแก่น decho pragay ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com