ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ข้อสอบ ทีโอที TOT tot กลุ่มงานวิศวกรรม
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข้อสอบ ทีโอที TOT tot กลุ่มงานวิศวกรรม

แชร์กระทู้นี้

อ้างอิง: กระทำโดย admin โดยการย้ายจากกระดานข่าว จำหน่ายเอกสารติวสอบงานราชการ เมื่อเวลา(2013-04-09)

ตัวอย่างข้อสอบกลุ่มงานวิศวกรรม

จงอธิบายระบบของโทรศัพท์เคลื่อนที่

ระบบวิทยุประเภทต่างๆ โดย ไม่มีผู้แต่ง
           จุดประสงค์ของการใช้ระบบวิทยุก็คือ การส่งข้อมูลหรือข่าวสารระหว่างจุดสองจุดที่ไม่มีสายตัวนำต่อเชื่อมกัน การส่งสัญญาณข้อมูลโดยคลื่นวิทยุนั้นจำเป็นจะต้องใช้ตัวพา (Carrier) โดยที่สัญญาณข้อมูลจะขี่บนตัวพาไป ตัวพามักจะใช้สัญญาณรูปไซน์ (sinusoidal signal) ซึ่งเขียนได้เป็น Asin (2pt+q) โดยที่ Aคือ แอมปลิจูดบอกถึงความแรงของสัญญาณ  เป็นความถี่และ q คือ เฟส (phase) ขบวนการที่ทำให้ข้อมูลขี่บนตัวพานั้นเรียกว่า มอดดูเลชั่น (modulation) หรือการมอดดูเลต ซึ่งกระทำได้สามวิธีคือมอดดูเลชั่นบนแอมปลิจูด (Amplitude Modulation) หรือเอเอ็ม (AM) มอดดูเลชั่นบนความถี่ (Frequency Modulation) หรือเอฟเอ็ม (FM) และมอดดูเลชั่นบนเฟส (Phase Modulation) หรือพีเอ็ม (PM) ในระบบเอเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูล จะขี่บนแอมปลิจูดของตัวพา กล่าวคือ แอมปลิจูดของตัวพาจะมีค่าเปลี่ยนไปตามค่าของสัญญาณข้อมูลและในระบบเอฟเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูลจะขี่ไปบนความถี่ของตัวพา กล่าวคือ ความถี่ของตัวพาจะมีค่าแปรเปลี่ยนไปตามค่าของสัญญาณข้อมูล ส่วนระบบพีเอ็มนั้นเฟสของตัวพาจะแปรเปลี่ยนตามค่าของสัญญาณข้อมูล ระบบเอฟเอ็มและพีเอ็มมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากความถี่และเฟสมีความเกี่ยวข้องกัน
           สถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ และสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ จะใช้ความถี่ของตัวพาที่แตกต่างกันออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณรบกวนกัน เมื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงประกาศว่ากระจายเสียงด้วยความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ หมายความว่า ตัวพานั้นใช้ความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ วิทยุกระจายเสียงปัจจุบันจะเป็นแบบเอเอ็มหรือเอฟเอ็ม

ระบบเอเอ็ม ระบบเอฟเอ็ม
          เครื่องส่งวิทยุระบบเอเอ็มและเอฟเอ็มนั้น ประกอบด้วยส่วนที่เป็นมอดดูเลเตอร์ ซึ่งเป็นวงจรที่นำเอาสัญญาณข้อมูลไปมอดดูเลตตัวพาผลที่ได้จะเป็นสัญญาณเอเอ็มหรือเอฟเอ็ม ที่มีความถี่ศูนย์กลางอยู่ที่ความถี่ของตัวพา หลังจากนั้นจะถูกขยายให้มีกำลังสูงเท่าที่ต้องการ แล้วจึงส่งสัญญาณไปยังเสาอากาศเพื่อให้แผ่กระจายเป็นคลื่นวิทยุออกไป เครื่องรับวิทยุ เอเอ็มและเอฟเอ็มที่มีขายในท้องตลาดจะเป็นเครื่องรับที่เรียกว่า ระบบซูเปอร์เฮตเทอโรไดน์ (superheterodyne) โดยมีหลักการทำงานอย่างคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ 
          ส่วนแรกของเครื่องรับคือ เสาอากาศ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงคลื่นวิทยุ เป็นสัญญาณไฟฟ้าปกติสัญญาณนี้จะอ่อนมาก สัญญาณที่ได้รับจะอ่อนลงถ้าระยะทางจากเครื่องส่งเพิ่มขึ้น เสาอากาศนี้จะรับคลื่นวิทยุจำนวนมากมายที่อยู่ในอากาศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการกรองเอาสัญญาณที่ไม่ต้องการออก เพื่อที่เครื่องรับจะได้เลือกเฉพาะสถานีวิทยุที่ต้องการ
           วิธีการกรองจะใช้เทคนิคที่ขยับความถี่ของสถานีที่ต้องการไปยังความถี่ที่คงตัวค่าหนึ่ง ความถี่คงตัวนี้เรียกว่า ความถี่ไอเอฟ (IF ย่อมาจาก intermediate frequency) ระบบเอเอ็มจะใช้ความถี่ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ และระบบเอฟเอ็มจะใช้ความถี่ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์ แล้วจึงผ่านวงจรกรองหรือฟิลเตอร์ที่ปล่อยให้ความถี่ไอเอฟและใกล้เคียงผ่านได้เท่านั้น วงจรกรองนี้เรียกว่าไอเอฟฟิลเตอร์ วงจรที่ทำหน้าที่ขยับความถี่นั้นเรียกว่า วงจรมิกเซอร์ (mixer) ซึ่งทำการคูณสัญญาณที่รับเข้ามากับสัญญาณไซน์ที่สร้างขึ้นในเครื่องรับ ความถี่ของสัญญาณไซน์จะมีค่าเท่ากับความถี่ของสถานีที่ต้องการ บวกกับ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ (หรือ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์ กรณีเป็นเอฟเอ็ม) ดังเช่น ถ้าต้องการรับสถานีวิทยุเอเอ็มความถี่ ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ผู้ฟังก็จะปรับปุ่มเลือกสถานีบนเครื่องรับจนหน้าปัดบอกว่า ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ปุ่มนี้เองจะไปเปลี่ยนความถี่ของวงจรกำเนิดสัญญาณไซน์ ให้สร้างความถี่ที่ ๖๕๐ + ๔๕๕ = ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์ วงจรมิกเซอร์จะทำหน้าที่คูณสัญญาณความถี่ ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์ กับสัญญาณที่เข้ามาจากเสาอากาศผลของการคูณสองสัญญาณเข้าด้วยกันจะทำให้เกิดสัญญาณสองสัญญาณ สัญญาณที่หนึ่งจะมีความถี่เท่ากับผลต่างของความถี่ของสัญญาณทั้งสอง สัญญาณที่สองจะมีความถี่เท่ากับผลบวกของความถี่ของสัญญาณทั้งสอง
           เนื่องจากสัญญาณจากเสาอากาศมีมากมายผลของวงจรมิกเซอร์ก็มีสัญญาณมากมายเช่นเดียวกัน แต่สัญญาณส่วนมากจะไม่สามารถผ่านไอเอฟฟิลเตอร์ สัญญาณของสถานีที่ผ่านได้ก็คือสถานีที่มีความถี่เท่ากับผลต่างของความถี่ของสัญญาณไซน์ และความถี่ไอเอฟ ในกรณีของตัวอย่างที่กล่าวไว้ สัญญาณไซน์มีความถี่ ,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์ ดังนั้น สถานีที่ผ่านไอเอฟฟิลเตอร์ ได้นั้น จะต้องมีความถี่ของตัวพาเท่ากับ ๑,๑๐๕-๔๕๕ = ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์
           เมื่อผ่านไอเอฟฟิลเตอร์แล้วก็จะมีวงจรขยายสัญญาณไอเอฟ แล้วจึงผ่านวงจรดีมอดดูเลเตอร์ (demodulator) ซึ่งทำหน้าที่ดึงเอาสัญญาณข้อมูลที่ขี่บนแอมปลิจูด (หรือสัญญาณข้อมูลที่ขี่บนความถี่ในกรณีของเอฟเอ็ม) ออกมา เมื่อได้แล้วก็จะผ่านวงจรขยายให้มีกำลังเพิ่มมากขึ้นตามที่ต้องการเพื่อจะไปขับลำโพง กลายเป็นเสียงหรือดนตรีออกมาการปรับปุ่มบนเครื่องรับวิทยุให้ดังมากดังน้อย ก็คือการปรับกำลังขยายของวงจรขยายนั่นเอง ความถี่ที่ใช้ในการกระจายเสียงระบบเอเอ็ม อยู่ในช่วง ๕๒๖.๕ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ,๖๐๖.๕ กิโลเฮิรตซ์ ส่วนระบบเอฟเอ็มใช้ความถี่ในช่วง ๘๗ เมกะเฮิรตซ์ ถึง ๑๐๘เมกะเฮิรตซ์
           สัญญาณที่มอดดูเลตแบบเอฟเอ็มมีคุณภาพดีกว่าแบบเอเอ็ม เพราะว่า ระบบเอฟเอ็มสามารถกำจัดสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าระบบเอเอ็ม แต่ว่าสัญญาณเอฟเอ็มต้องใช้ช่องความถี่ที่กว้างกว่าทำให้การจัดสรรความถี่ให้กับสถานีทำได้น้อยรายกว่าการใช้ระบบเอเอ็ม

คลื่นสั้น
          นอกเหนือจากการกระจายเสียงระบบเอเอ็มและเอฟเอ็มแล้ว ยังมีการกระจายเสียงวิทยุที่เรียกว่า คลื่นสั้น (short wave หรือ SW) ซึ่งมักจะเหมาะกับผู้ฟังที่อยู่ห่างไกล เช่น ข้ามประเทศดังเช่น ในประเทศไทยอาจรับสถานีกระจายเสียงคลื่นสั้นจากประเทศอังกฤษ ความถี่ของวิทยุในแถบคลื่นสั้นจะอยู่ในช่วงประมาณ ๒ เมกะเฮิรตซ์ถึง ๒๓ เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นช่วงที่คลื่นวิทยุสามารถแพร่ได้โดยการสะท้อนจากชั้นบรรยากาศจึงสามารถกระจายเสียงระยะไกลได้ วิธีการมอดดูเลตของการกระจายเสียงคลื่นสั้นนั้นก็ใช้การมอดดูเลตแบบเอเอ็ม

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบทีโอที TOT กลุ่มงานวิศวกรรม

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

แนวข้อสอบวัดความถนัดทางเชาวน์ปัญญา  _Aptitude Test

แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ทีโอที

ตัวอย่างข้อสอบเก่า TOT ข้อเขียน

ตัวอย่างแนวข้อสอบข้อเขียน TOT

ตัวอย่างข้อสอบกลุ่มงานวิศวกรรม _อัตนัย

ความสามารถด้านตัวเลขและความสามารถในการใช้ภาษาไทย


สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ประกาศ  บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
รับสมัครบุคคลภายนอกเข้าปฏิบัติงาน  ครั้งที่ 3  ประจำปี 2556  
รับสมัครด้วยตนเอง  ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่  29 - 30   เมษายน  2556 

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  รับสมัครบุคคลภายนอกเข้าปฏิบัติงาน    

red 1px 1px 1px;">ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร 
1.  กลุ่มงานวิศวกรรม EG/CG
2. กลุ่มงานขายและบริการลูกค้า SA
3. กลุ่มงานพัฒนาระบบงาน และพัฒนาผลิตภัณฑ์  EC/CO
4. กลุ่มงานกฏหมาย(LO)
5. กลุ่มงานช่าง(TC)

รวมทั้งสิ้น  23   อัตรา

การรับสมัคร
รับสมัครด้วยตนเอง  ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่  29 - 30   เมษายน  2556 
ณ ณ อาคาร 9 ชั้น 3 บริษัท  ทีโอที จํากัด (มหาชน)
 
  
>>>> รายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ <<<<

>>>> เอกสารแนบท้ายประกาศ <<<<

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
dixcy66 ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
โอนแล้วครับ dixcy66@hotmail.com
melodyhelen ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
Summer - connects body pants temptations
In the last red was connects body pants, this summer will continue its ultra heat Replica Louis Vuitton Damier Azur Handbags! This year, the joint clothing style more e-store, besides handsome and spell elements, some feminine details are also used, will originally fashionable avant-courier of conjoined twins clothing for suitable for mature women across the elegant design.
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
00000000000
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้