การใช้คำสรรพนาม
คำสรรพนาม
ประพันธสรรพนาม
ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าและทำหน้าที่เชื่อมประโยค ได้แก่ คำว่า ที่ ซึ่ง อัน ตำแหน่งของคำสรรพนามนี้จะเรียงชิดติดอยู่กับคำนามหรือสรรพนามเสมอ เช่น
ฉันเกลียดหมูที่มีมัน
นักเรียนซึ่งขยันเรียนสอบได้ที่ 1
เพชรอันมีรอยร้าวย่อมมีค่า
สพรรนามเน้นความรู้สึกของผู้พูด
สรรพนามใช้เน้นความรู้สึกของผู้พูด จะเรียงไว้หลังคำนามเพื่อเน้นความรู้สึกต่างๆ ของผู้พูด ความรู้สึกยกย่อง คุ้นเคย ดูหมิ่น หรือความรู้สึกอย่างใดก็ได้ เช่น
นี่! เจ้าเหมียวแกจะซนไปถึงไหน
พุทโธ! ใครจะไปโทษเด็กมันได้ลงคอ
อาจารย์ท่านเมตตาต่อลูกศิษย์เสมอต้นเสมอปลาย
ข้อสังเกตคำสรรพนาม
1. บุรุษสรรพนามอาจเป็นได้หลายบุรุษ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของคำเป็นสำคัญ เช่นo เราจะทำงานบ้าน (เป็นบุรุษที่ 1)o เราน่ะ ทำงานบ้านเสร็จแล้วหรือ (เป็นบุรุษที่ 2)o ต่างจิตต่างใจคำบ้างและต่างด้านบนนี้ เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนามและคำกริยา2. ปฤจฉาสรรพนาม กับอนิยมสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนามทำให้ประโยคมีเนื้อความเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ส่วนอนิยมสรรพนามไม่ทำให้ประโยคเป็นประโยคคำถาม เช่นo ใครไม่ทำเลขข้อนี้ (ใคร เป็นคำถามต้องการคำตอบ)o ใครไม่ทำเลขข้อนี้ก็ได้ (ใคร เป็นความบอกเล่าที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ไม่ต้องการคำตอบ) หน้าที่ของคำสรรพนาม
คำสรรพนามทำหน้าที่ได้หลายประการดังต่อไปนี้
1. เป็นประธาน เช่น
- เธอรู้สึกไม่สบายมากวันนี้
- ฉันจะไปเที่ยวเชียงใหม่
2. เป็นกรรม เช่น
- เธอชอบอะไร
- อย่าไปโทษเธอเลย
3. ใช้เรียกขาน เช่น
- ท่านคะ ใครมา
4. เป็นส่วนเติมเต็ม เช่น
- เด็กคนนี้เหมือนเธอมาก
- ช่างเครื่องยนต์ที่เชี่ยวชาญที่สุดคือเขา
5. คำสรรพนามบางคำใช้แสดงความรู้สึกของผู้พูดหรือบอกฐานะของบุคคลที่กล่าวถึง เช่น
- อาจารย์ท่านสอนเก่งมาก
- ตาทองแกทำไร่
6. นิยมสรรพนามใช้ชี้ระยะ เช่น
- นี่ใกล้กว่านั้นและโน่นไกลที่สุด
7. อนิยมสรรพนามใช้บอกความไม่เจาะจง หรือแสดงความสงสัย เช่น
- ฉันไม่เห็นอะไรอยู่ในตู้
8. ประพันธสรรพนามใช้เชื่อมประโยค เช่น
- ฉันรักคนไทยที่รักชาติไทย