ความรู้เกี่ยวกับ
การไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทย
: กฟผ.
Electricity
Generating Authority of Thailand
: EGAT
วิสัยทัศน์
/ พันธกิจ / ค่านิยมองค์การ / ทิศทางยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์
เป็นองค์การชั้นนำในกิจการไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องในระดับสากล
พันธกิจ
ให้บริการด้านพลังงานที่มี่คุณภาพ เชื่อถือได้
ในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม และรักษาสมดุลกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสรรค์สร้างพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
ค่านิยมองค์การ
1. ตั้งมั่นในความเป็นธรรม
2. ยึดมั่นในคุณธรรม
3. สำนึกในความรับผิดชอบและหน้าที่
4. เคารพในคุณค่าของคน
5. มุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการทำงานเป็นทีม
ทิศทางยุทธศาสตร์
1. พัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ
2.เสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก
3. สร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
4. เป็นองค์การที่ห่วงใยสังคมและสิ่งแวดล้อม
5. เป็นองค์การที่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างการจัดการองค์การ
ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 กำหนดให้มีคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
( คณะกรรมการ กฟผ.) ประกอบด้วยประธานกรรมการ
และกรรมการอื่นๆอีกไม่เกิน 10 ท่านรวมทั้งผู้ว่าการซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
รวมเป็น 11 ท่าน
คณะกรรมการ
กฟผ.
ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี
เพื่อทำหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลทั่วไป ซึ่งกิจการของ กฟผ.
และเพื่อให้การบริหารจัดการองค์การเป็นไปอย่างโปร่งใส ตามหลักการกำกับดุแลกิจการที่ดี (Good
Corporate Governance) คณะกรรมการ กฟผ. จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อกลั่นกรองงานของคณะกรรมการ
กฟผ. ได้แก่
คณะกรรมการกลั่นกรองของคณะกรรมการ กฟผ. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คระกรรมการสรรหารองผู้ว่าการและคณะกรรมการสรรหาผู้ช่วยผู้ว่าการและผู้อำนวยการฝ่าย
อนึ่ง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม –
22 มีนาคม 2549 กฟผ. มีสภาพเป็น บมจ.กฟผ.
และจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นผลให้
กฟผ. กลับมีสถานะเช่นเดิม
รายนามคณะผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ.
โครงสร้างผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ.
(ปรับใหม่แล้ว)
นายสุทัศน์
ปัทมสิริวัฒน์ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและกรรมการ กฟผ.
(โดยตำแหน่ง) และทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการ กฟผ.
นางสินีนาถ สิทธิรัตนรังสี ผู้บริหารใหญ่ด้านการเงิน
(CFO)
นายชโลทร หาญศักดิ์วงศ์ รองผู้ว่าการการประจำสำนักผู้ว่าการฯ
(รวสก.)
นายนพพร พันแสงดาว รองผู้ว่าการการประจำสำนักผู้ว่าการฯ (รวสก.)
นายพฤติชัย จงเลิศวณิชกุล รองผู้ว่าการการประจำสำนักผู้ว่าการฯ
(รวสก.)
นายสหัส ประทักษ์นุกูล รองผู้ว่าการนโยบายและแผน
(รวผ.)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
นางสินีนาถ สิทธิรัตนรังสี รองผู้ว่าการบัญชีและการเงิน (รวบ.)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่าการบริหาร (รวห.)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
นายบรรพต แสงเขียว รองผู้ว่ากิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม
(รวศ.)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา (รวพ.)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
นายสุรศักดิ์ ศุภวิฑิตพัฒนา รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า
(รวฟ.)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
นายธนากร พลูทวี รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง
(รวช.)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
นายรัตนพงษ์ จงดำเกิง รองผู้ว่าการระบบส่ง (รวส.)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
คณะกรรมการบริหารของ กฟผ. (ปรับใหม่แล้ว)
ลำดับที่ รายนามกรรมการ
ตำแหน่ง วันที่ได้รับแต่งตั้ง
1 นายพรชัย รุจิประภา ประธานกรรมการ 28 ต.ค. 2551
2 พลเอกอภิชาต เพ็ญกิตติ กรรมการ 28 ต.ค. 2551
3 นายพีระพล ไตรทศาวิทย์ กรรมการ 28 ต.ค. 2551
4 นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ กรรมการ 28 ต.ค. 2551
5 นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี กรรมการ 28 ต.ค. 2551
6 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กรรมการ 28 ต.ค. 2551
7 นายเกษมสันต์ จิณณวาโส กรรมการ 28 ต.ค. 2551
8 นายแล ดิลกวิทยรัตน์ กรรมการ 28 ต.ค. 2551
9 นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ กรรมการและเลขานุการ 29 ต.ค. 2552
ผู้ว่าการ
กฟผ. (กรรมการโดยตำแหน่ง)
ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการ
กฟผ.
ลำดับที่ 1
– 8 แต่งตั้งโดย มติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2551
ลำดับที่ 9 แต่งตั้งโดย
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2552
องค์ประกอบและการแต่งตั้งคณะกรรมการ
กฟผ.
องค์ประกอบและการสรรหา แต่งตั้ง ถอดถอน
หรือพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการ กฟผ.ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 ประกอบกับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. 2518
สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ประธานกรรมการ
และกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบคนรวมทั้งผู้ว่าการซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
ให้คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการอื่นซึ่งมิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง
2. ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งที่มิใช่กรรมการโดย
ตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ
3 ปี ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีก
3. นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ
ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรี
แต่งตั้งจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
ตาย ลาออก คณะรัฐมนตรีไล่ออก และเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
เมื่อประธานกรรมการหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นประธานกรรมการ
หรือกรรมการแทนได้
ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามวรรคสองอยู่ในตำแหน่งตามวาระของประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งแทน
ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
กฟผ.
ภายใต้พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2511 คณะกรรมการ กฟผ.
มีอำนาจหน้าที่วางนโยบาย และควบคุมดูแลทั่วไปซึ่งกิจการของ กฟผ.
รวมทั้งออกระเบียบและข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
เช่น
1. ออกระเบียบหรือข้อบังคับการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ
กฟผ.
2. ออกระเบียบหรือข้อบังคับการจัดแบ่งส่วนงานและวิธีปฏิบัติงาน
3. กำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างของพนักงานหรือลูกจ้าง
4. ควบคุมดูแลจัดให้มีเงินสำรองและเป็นค่าใช้จ่ายในการขยายกิจการและลงทุน
5. ให้ความเห็นชอบการบรรจุ แต่งตั้ง
เลื่อนลด ตัดเงินเดือนค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยสำหรับพนักงานชั้นผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป
การประชุมคณะกรรมการ
กฟผ.
คณะกรรมการมีกำหนดประชุมโดยปกติเป็นประจำทุกวันศุกร์ที่สี่ของเดือน
และอาจมีการประชุมคณะกรรมการเพิ่มเติมตามความเหมาะสม โดยเลขานุการคณะกรรมการ กฟผ.
จัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบให้กรรมการก่อนการประชุม
5 วันทำการเว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอโดยมีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อีกษรอย่างครบถ้วนและจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจัดส่งให้กระทรวงการคลัง
และพร้อมให้คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ว่าการ
ผู้ว่าการมรหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2511 ตามนโยบายของรัฐบาลระเบียบหรือข้อบังคับของ กฟผ.
รวมทั้งมติคณะกรรมการ กฟฟ.
และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
ประวัติความเป็นมา
กฟผ.
จัดขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 โดยการรวมหน่วยงาน ด้านการผลิตและส่งงานไฟฟ้า 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้ายันฮี
การลิกไนท์ และการไฟฟ้ตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเป็นหน่วยงานเดียวกัน มีฐานะเป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2512 เรียกชื่อย่อว่า “กฟผ.” พระราชบัญญัติฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม
2553
มีสาระสำคัญโดยสรุปคือ
ไห้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สามารถดำเนินธุรกิจเกี่ยวกบพลังงานไฟฟ้าหรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าว และให้มีอำนาจใช้สอยและครอบครองอสังหาริมทรัพย์เพื่อสำรวจหาแหล่งพลังงาน
ตลอดจนสถานที่สำหรับใช้ในการผลิตหรือพัฒนาพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวกับคุณภาพไฟฟ้า เทคนิคทางวิศวกรรม และความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เอกชนประสงค์จะเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กฟผ. มีสิทธิเพิ่มวงเงินในการกู้ยืมและในการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์
คณะกรรมการมีอำนาจจำหน่ายทรัพย์สินออกจากบัญชีได้ทุกกรณีโดยไม่จำกัดวงเงินโดยสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ส่วนสาระสำคัญที่ยังคงเดิม คือ
คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานคณะกรรมการกับกรรมการ
(ซึ่งต้องไม่มีตำแหน่งทางการเมือง)
และคณะกรรมการเหล่านี้เป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการ กฟผ. จึงเป็นวิสาหกิจสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
มีรัฐมนตรีคอยกำกับดูแลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ในเดือยมิถุนายน 2535 กฟผ.
นำเสนอต่อรัฐบาลขอเข้าโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีและผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดี เมื่อวันที่
30
สิงหาคม 2537 การนี้จะส่งผลให้ กฟผ.
มีความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น
ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล
ที่ต้องการลดบทบาทการควบคุมรัฐวิสาหกิจลงให้น้อยที่สุดและสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจมีความสามารถที่จะแข่งขันกับธุรกิจเอกชน
กฟผ.
ได้รับรางวัลจากการประกาศรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2549 ของกระทรวงการคลัง
2 รางวัล ได้แก่
1. รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น ซึ่งได้รับเป็นปีที่ 2
ติดต่อกัน และ
2. รางวัลรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการเพื่อสังคมดีเด่น
|
วิสัยทัศน์ของแบรนด์ กฟผ.
กฟผ.เป็นหน่วยงานชั้นนำที่เสริมสร้างระบบเศรษฐกิจและเอื้ออำนวยความเป็นอยู่ให้สะดวก
และมีคุณภาพมากขึ้น อันนำมาซึ่งความสำเร็จและความผาสุกของทุกชีวิต
บุคลิกภาพของแบรนด์
· ความเป็นมืออาชีพ (เป็นธรรม, ขยันขันแข็ง,ใจกว้าง พร้อมรับฟังผู้อื่น,
มีประสิทธิภาพ)
· สร้างสรรค์ (มีพลังสร้างสรรค์, เป็นคลังความรู้,
มีความเป็นสากลและทันสมัย,มองการณ์ไกล)
· คล่องตัว (มีความสามารถหลากหลาย,ยืดหยุ่น
ปรับตัวง่าย
· เอื้ออาทร (มีมิตรไมตรี,ห่วงใยใส่ใจ,
เข้าถึงง่าย, ทุ่มเท)
· เชื่อใจได้ (เป็นที่ไว้วางใจ, พึงพาได้,
โปร่งใส,เป็นที่ยอมรับ
การวางตำแหน่งแบรนด์
กฟผ.
ดีกว่าหน่วยงานด้านธุรกิจพลังงานขนาดใหญ่ทั้งหลายในภูมิภาคสำหรับผู้ที่มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีการสร้างสรรค์วัตกรรม ในราคาที่สามารถซื้อและวางใจได้ในคุณภาพ รวมทั้งบริการที่เป็นมิตรจากหน่วยงานที่ดำเนินการอย่างโปร่งใส เป็นที่เชื่อถือ และยอมรับของสังคมเพราะ กฟผ.พร้อมสรรด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง
ทีมงานที่เปี่ยมด้วยศักยภาพและประสบการณ์อย่างมืออาชีพ ซึ่งยึดมั่นในความเอื้ออาทรต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้า
และพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันนำมาซึ่งความสุขและความสำเร็จอย่างยั่งยืน