ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ประโยคสามัญ ในการสอบวิชาภาษาไทย
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ประโยคสามัญ ในการสอบวิชาภาษาไทย

แชร์กระทู้นี้

ประโยคสามัญ   
 
 
  สาระสำคัญ
ประโยคสามัญ  ( เอกรรถประโยค) หมายถึง  ประโยคที่มีใจความเดียว  ซึ่งจะมีบทประธานและบทแสดงอย่างละหนึ่งเดียวเท่านั้น  อาจมีกริยาหลักเพียงกริยาเดียวหรือกริยาหลักหลายกริยาก็ได้แต่มีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว  เช่น            
สังคมมีความสุข       เราช่วยพ่อแม่รดน้ำต้นไม้      เขารับผิดชอบงานในหน้าที่ดี   นักเรียนเข้าแถวร้องเพลงชาติทุกเช้า
การจำแนกประโยคสามัญ          
              การจำแนกประโยคสามัญ  จำแนกได้ ๒ ลักษณะ  คือจำแนกประโยคเพื่อการสื่อสารและการจำแนกประโยคตามเจตนาผู้ส่งสาร
    การจำแนกประโยคเพื่อการสื่อสาร 
              ๑. ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยผู้กระทำ ( ประโยคเน้นประธาน )  รูปแบบประโยคชนิดนี้จะเรียงจาก  ประธาน  กริยา  กรรม  เช่น   นักเรียนทำการบ้าน       ครูสอนหนังสือ          
              ๒. ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยผู้ถูกกระทำ ( ประโยคเน้นกรรม ) รูปประโยคชนิดนี้จะมีกรรมขึ้นต้นประโยค  เช่น  วัดนี้สร้างมานานแล้ว         ประตูโรงเรียนเปิดแล้ว           
              ๓. ประโยคขึ้นต้นด้วยกริยา   ( ประโยคเน้นเหตุการณ์ ) ประโยคชนิดนี้จะขึ้นต้นด้วยคำว่า  “เกิด  มี  ปรากฏ”    เช่น เกิดคลื่นสึนามิในภาคใต้ของประเทศไทย  มีใครทราบคำขวัญของจังหวัดกรุงเทพมหานครบ้าง  ปรากฎแสงสว่างไปทั่วบ้าน
      การจำแนกประโยคตามเจตนาผู้ส่งสาร    
              ๑. ประโยคบอกเล่า  คือ  ประโยคที่ใช้ในเรื่องราวบอกเล่าธรรมดา  ซึ่งประกอบด้วยประธาน  กริยา  และอาจมีกรรม  หรือส่วนเติมเต็ม  นอกจากนั้นอาจมีส่วนขยายเพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น  เช่น  ความรู้เป็นทรัพย์อันประเสริฐ    พระอาทิตย์กำลังจะตกดิน  เราควรช่วย ตัวเองก่อนที่จะให้คนอื่นช่วยเรา           
              ๒. ประโยคปฏิเสธ  คือ  ประโยคที่ผู้พูดต้องการห้ามหรือปฏิเสธ  ไม่รับ  โดยที่ประโยคเหล่านี้ต้องมีผู้กระทำตัวแสดงและอาจมีผู้ถูกกระทำหรือส่วนเติมเต็มและอาจไม่มีส่วนขยายต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความชัดเจนขึ้นก็ได้  คำที่ใช้แสดงการปฏิเสธได้แก่  ไม่  ไม่ได้  มิได้  มิใช่  ไม่ใช่  หามิได้ ฯลฯ  เช่น  เด็ก ๆ ไม่ควรนอนดึก  ฉันไม่เคยลืมไหว้พระก่อนนอน  รัฐบาลไม่สามารถอยู่ได้ครบ  ๔  ปี           
              ๓. ประโยคคำสั่งหรือขอร้อง ประโยคที่ต้องการให้คนใดคนหนึ่ง  หรือหลายคนปฏิบัติตาม
 
ประโยคค่ำสั่งมักใช้คำว่า  อย่า  ห้าม  จง  นำหน้าข้อความ  เช่น  อย่าทำพื้นห้องสกปรก  ห้ามสนทนาเวลาเรียน 
ประโยคขอร้อง  มักใช้คำว่า  โปรด  กรุณา  เช่น  กรุณาถอดรองเท้าก่อนเข้าห้อง  โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด           
              ๔. ประโยคคำถาม  คือ  ประโยคที่ผู้พูดแสดงความสงสัยต้องการถามมีหลายชนิด คือ                       
                  ๔.๑ ประโยคถามเนื้อความ  ใช้ถามเรื่องราวบางประการจากผู้ฟัง  จะมีคำถามไม่ชี้เฉพาะ  ได้แก่คำว่า  ใคร   อะไร   ไหน  เท่าไร  เหตุใด  เมื่อไร  กี่  อยู่ในตำแหน่งคำหรือกลุ่มคำที่ถาม    เช่น   ใครเป็นคนนำสวดมนต์เมื่อเช้านี้   เมื่อไหร่เธอจะส่งงาน    นักเรียนมีปากกากี่แท่ง                       
                  ๔.๒ ประโยคถามให้ตอบรับหรือปฏิเสธ    ใช้ถามเพื่อให้ตอรับหรือปฏิเสธ     ได้แก่ คำว่า  ไม่  ไม่ใช่  ไม่ใช่หรือ  ไหม  เช่น   คุณชอบทานสุกี้ไหม     นักเรียนทุกคนชอบวันหยุดใช่ไหม 
 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้