ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนายทหารพระธรรมนูญ ใหม่ล่าสุด
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนายทหารพระธรรมนูญ ใหม่ล่าสุด

แชร์กระทู้นี้

พระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498

 

1. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.. 2498

ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ตอบ ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

2. ศาลทหารตามพระราชบัญญัตินี้แบ่งออกเป็นกี่ชั้น

ก. 4 ชั้น . 2 ชั้น

. 3 ชั้น . 5 ชั้น

ตอบ ค. 3 ชั้น คือ (1) ศาลทหารชั้นต้น (2) ศาลทหารกลาง (3) ศาลทหารสูงสุด

3. ข้อใด ไม่ใช่ ศาลทหารชั้นต้นได้แก่ 

ก.  ศาลทหารสูงสุด  . ศาลมณฑลทหาร

. ศาลทหารกรุงเทพ   . ศาลประจำหน่วยทหาร

ตอบ  ก.ศาลทหารสูงสุด  ศาลทหารชั้นต้น ได้แก่ (1) ศาลจังหวัดทหาร

(2) ศาลมณฑลทหาร (3) ศาลทหารกรุงเทพ (4) ศาลประจำหน่วยทหาร

4. ตุลาการศาลทหารใดที่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอน 

ก. ศาลทหารสูงสุด  . ศาล ทหารกลาง

. ศาลทหารปกครอง . ถูกทั้ง  และ 

ตอบ ง. ถูกทั้ง  และ 

5. บุคคลใดสามารถดำเนินคดีในศาลทหารได้

ก. ผู้ที่สอบความรู้ทางกฎหมายได้ปริญญาตรี

ข. ผู้ที่สอบความรู้ทางกฎหมายได้ปริญญาโท

ค. ผู้ที่สอบความรู้ทางกฎหมายเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

6. ข้อใดคือคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

ก. คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน

ข. คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน

ค. คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาล ทหารกระทำผิดด้วยกัน

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดคือบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

ก. นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ

ข. นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ

ค. นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการ

ง. บุคคลซึ่งต้องขังแต่ไม่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

ตอบ ง. บุคคลซึ่งต้องขังแต่ไม่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

8. ศาลประเภทใดที่มีเขตอำนาจไม่จำกัดพื้นที่

ก. ศาลจังหวัดทหาร . ศาลมณฑลทหาร

. ศาลทหารกรุงเทพ . ศาลประจำหน่วยทหาร

ตอบ ค. ศาลทหารกรุงเทพ

9. ศาลประเภทใดที่มีอำนาจเหนือบุคคลที่สังกัดหน่วยทหารนั้น โดยไม่จำกัดพื้นที่

ก. ศาลจังหวัดทหาร . ศาลมณฑลทหาร

. ศาลทหารกรุงเทพ . ศาลประจำหน่วยทหาร

ตอบ ง. ศาลประจำหน่วยทหาร

10. ศาลประเภทใดที่มีเขตอำนาจตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

ก. ศาลจังหวัดทหาร . ศาลมณฑลทหาร

. ศาลทหารกรุงเทพ . ถูกทั้ง ก และ 

ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ 

11. ศาลจังหวัดทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุก บทกฎหมาย เว้นแต่คดีใด

ก. จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร 

ข. จำเลยมียศทหารชั้นประทวน

ค. จำเลยเป็นพลทหารกองประจำการ

ง. ถูกทั้ง  และ 

ตอบ ก. จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร

12. ศาลมณฑลทหารและศาลประจำหน่วยทหารมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นใด

ก. นายทหารประทวน 

ข. นายทหารชั้นสัญญาบัตร

. นายพลหรือ เทียบเท่า 

. พิพากษาคดีอาญาได้ทุก บทกฎหมายโดยไม่จำกัดยศของจำเลย

ตอบ   ค.  นายพลหรือ เทียบเท่า


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนายทหารพระธรรมนูญ  ใหม่ล่าสุด 
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

ความรู้เกี่ยวกับกองทัพอากาศ

แนวข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์

ความสามารถด้านภาษาไทย

แนวข้อสอบวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง

แนวข้อสอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ พศ.2550

แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

แนวข้อสอบกฎหมายอาญา
แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง

แนวพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498


1. พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด

ก. 19 สิงหาคม 2476  ค. 19  กันยายน 2476

ข. 20  สิงหาคม  2476   ง. 20  กันยายน  2476

ตอบ ข. 20  สิงหาคม  2476  

2. วินัยทหาร คือ 

ก. การที่ทหารควรประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร 

ข. การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร 

ค. การที่ทหารควรประพฤติปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของทหาร 

ง. การที่ทหารต้องประพฤติปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของทหาร 

ตอบ ข. การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร

3. วินัยเป็นหลักสำคัญที่สุดสำหรับทหาร เพราะฉะนั้นทหารทุกคนจักต้องรักษาโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนท่านให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิด อยู่ในมาตราใดของพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ 

ก. มาตรา 3 ค. มาตรา 5

ข. มาตรา 4 ง. มาตรา 6 

ตอบ ค. มาตรา 5

4. ข้อใดคือการกระทำผิดวินัยทหาร 

ก. กล่าวคำเท็จ 

ข. เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ 

ค. ดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน 

ง. ถูกทุกข้อ 

ตอบ ง. ถูกทุกข้อ ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหารมีดังต่อไปนี้ 

() ดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน

() ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย

() ไม่รักษามรรยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของทหาร

() ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร

() เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ

() กล่าวคำเท็จ

() ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร

() ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ

() เสพเครื่องดองของเมาจนถึงเสียกิริยา

5. หมวด ๓ ในพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ คือเรื่องใด 

ก. บทเบ็ดเสร็จทั่วไป  ค. วิธีร้องทุกข์

ข. ว่าด้วยวินัย  ง. อำนาจลงทัณฑ

ตอบ ง. อำนาจลงทัณฑ 

หมวด 1  บทเบ็ดเสร็จทั่วไป 

หมวด  2  ว่าด้วยวินัย 

หมวด 3  อำนาจลงทัณฑ 

หมวด 4  วิธีร้องทุกข์

6. ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารมีกี่สถาน 

ก. 5 สถาน  ค. 3 สถาน

ข. 4 สถาน  ง. 6 สถาน

ตอบ ก. 5 สถาน

มาตรา ๘ ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารมี  ๕ สถาน คือ 

() ภาคทัณฑ์

() ทัณฑกรรม

() กัก

() ขัง

() จำขัง

7. ข้อใด ไม่ใช่ โทษทางวินัยทหาร 

ก. ภาคทัณฑ์  ค. จำขัง

ข. จำคุก  ง. ทัณฑกรรม

ตอบ  ง. ทัณฑกรรม

8. ผู้กระทำผิดมีความผิดอันควรต้องรับทัณฑ์สถานหนึ่งสถานใดดังกล่าวมาแล้ว แต่มีเหตุอันควรปราณี จึงเป็นแต่แสดงความผิดของผู้นั้นให้ปรากฏหรือให้ทำทัณฑ์บนไว้ คือความหมายของโทษตามข้อใด 

ก. ภาคทัณฑ์   ค. กัก

ค. ทัณฑกรรม  ง. จำขัง

ตอบ ก. ภาคทัณฑ์ 

9. กระทำการสุขา การโยธา ฯลฯ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยาม นอกจากหน้าที่ประจำ คือความหมายของโทษตามข้อใด 

ก. ภาคทัณฑ์   ค. กัก

ข. ทัณฑกรรม  ง. จำขัง 

ตอบ ข. ทัณฑกรรม 

10. กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามแต่จะกำหนดให้ คือความหมายของโทษตามข้อใด 

ก. กัก    ค. ขัง

ข. ทัณฑกรรม  ง. จำขัง 

ตอบ ก. กัก 


 สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ กฎหมายอาญาทหาร

 

1.พลทหารดำ ทหารกองประจำการ สังกัด กองพันทหารราบที่ 1 กระทำความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ท.สุรศักดิ์ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ จึงสั่งลงทัณฑ์ขังพลทหารดำ 5 วัน ดังนี้คำสั่งลงทัณฑ์ของ พ.ท.สุรศักดิ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

 ข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร

มาตรา 7 ได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารมีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำความผิดในหรือนอกราชอาณาจักร

มาตรา 8 ได้กำหนดให้ การกระทำผิดบางอย่าง ( 21 บทมาตรา ) ถ้าผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารพิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา 7 เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่ายด้วยธรรมนูญศาลทหารจึงให้เป็นไปตามนั้น

มาตรา 9 ได้กำหนดให้ ความในมาตรา 8 ให้ใช้ตลอดถึงความผิดลหุโทษและความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย

ข้อพิจารณา การกระทำความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  ถือเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 102                       ซึ่งถ้าผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยทหาร และผู้มีอำนาจบังคับบัญชาทหารมีอำนาจลงทัณฑ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

การที่พลทหารดำ ทหารกองประจำการ สังกัด กองพันทหารราบที่ 1  กระทำความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  ถือว่า  พลทหารดำ กระทำความผิดอาญาฐานลหุโทษ ในกรณีนี้เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ก็ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำผิดวินัยได้ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

ดังนั้น คำสั่งลงทัณฑ์ของ พ.ท.สุรศักดิ์ ที่สั่งลงทัณฑ์ขังพลทหารดำ 5 วัน จึงชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 7 และ 8


2. สิบตรีสุรศักดิ์  สังกัด กง.ทบ. กระทำความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว พล.ต.มานพ จก.กง.ทบ. เห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ จึงสั่งลงทัณฑ์ขัง ส.ต.สุรศักดิ์ 3 วัน ดังนี้ คำสั่งของ พล.ต.มานพ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร

มาตรา 7 กำหนดว่า ให้ผู้บังคับบัญชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารมีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารที่กระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำผิดในหรือนอกราชอาณาจักร.

มาตรา 8  กำหนดว่า การกระทำบางอย่าง (21 บทมาตรา )ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร และให้มีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา 7 เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารจึงให้เป็นไปตามนั้น

มาตรา 9 กำหนดว่า  ความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ให้ใช้ได้ตลอดถึงความผิดลหุโทษและความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย

ข้อพิจารณา  การกระทำความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ซึ่งถ้าผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยทหาร และผู้มีอำนาจบังคับบัญชาทหารมีอำนาจลงทัณฑ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

กรณีที่ ส.ต.สุรศักดิ์  กระทำความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว ซึ่งเป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย   พล.ต.มานพ จก.กง.ทบ. ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ถือว่า ส.ต.สุรศักดิ์ กระทำผิดวินัยทหาร  พล.ต.มานพ จก.กง.ทบ. จึงมีอำนาจลงทัณฑ์ ส.ต.สุรศักดิ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

ดังนั้น การที่ พล.ต.มานพ จก.กง.ทบ. สั่งขัง ส.ต.สุรศักดิ์  3 วัน จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 7 และ 8

   3.พลทหาร สมชาย สังกัด กองพันบริการ กรมยุทธบริการทหาร ไม่พอใจนายสมหมายที่มักจะพูดจาข่มขู่รีดไถเงินพลทหาร สมชายเป็นประจำ ในวันเกิดเหตุ นายสมหมายได้มาหา พลทหาร สมชาย ที่กรมยุทธบริการทหาร และทำการข่มขู่เช่นเดิม พลทหาร สมชาย จึงได้ใช้มือชกใบหน้าของนายสมหมายจำนวน 1 ครั้ง เป็นเหตุให้นายสมหมายได้รับบาดแผลฉีกขาด ต่อมา พันเอก สมศักดิ์ ผู้บังคับกองพันบริการ กรมยุทธบริการทหาร ทราบเรื่องจึงได้ดำเนินการสอบสวนจนเสร็จสิ้น และพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญเนื่องจากพลทหาร สมชาย ไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุก่อนและชกเพียง  1 ครั้งเท่านั้น จึงดำเนินการเพื่อให้มีการลงทัณฑ์ทางวินัยทหารแทนการดำเนินคดีอาญาในศาล

ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า การดำเนินการเพื่อให้มีการลงทัณฑ์ของ พันเอก สมศักดิ์ นั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

ข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร

มาตรา 8  กำหนดว่า  การกระทำบางอย่าง ( ใน 21 บทมาตรา ) ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยทหาร และมีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา 7 เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารจึงให้เป็นไปตามนั้น

มาตรา 9 กำหนดว่า  ความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ให้ใช้ได้ตลอดถึงความผิดลหุโทษและความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย

ข้อพิจารณา  การกระทำความผิดเฉพาะบางฐานความผิด ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ( 21 บทมาตรา ) ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร รวมทั้งการกระทำความผิดลหุโทษ และความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ถ้าผู้บังคับบัญชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่า เป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยทหาร และให้ลงทัณฑ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

กรณี พลทหารสมชาย ได้ใช้มือชกใบหน้าของนายสมหมายจำนวน 1 ครั้ง เป็นเหตุให้นายสมหมายได้รับบาดแผลฉีกขาด ถือว่า พลทหารสมชายได้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งฐานความผิดนี้ไม่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายอาญาทหาร อีกทั้งมิได้เป็นความผิดลหุโทษเพราะมีโทษจำคุกสูงกว่าความผิดฐานลหุโทษและไม่เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การกระทำของพลทหารสมชาย จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยทหาร และผู้บังคับบัญชาไม่มีอำนาจลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

ดังนั้น การดำเนินการเพื่อให้มีการลงทัณฑ์ของ พันเอก สมศักดิ์  จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 8  ประกอบด้วยมาตรา 7 และมาตรา 9

 4. ศาลประจำหน่วยทหารกับศาลทหารชั้นต้นอื่นๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย?

ศาลทหารในเวลาปกติแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ( มาตรา 6 ) คือ

(1.) ศาลทหารชั้นต้น

(2) ศาลทหารกลาง

(3) ศาลทหารสูงสุด

เฉพาะศาลทหารชั้นต้น ยังแยกออกเป็น

(1) ศาลจังหวัดทหาร

(2) ศาลมณฑลทหาร

(3) ศาลทหารกรุงเทพ และ

(4) ศาลทหารประจำหน่วยทหาร ( มาตรา 7 )

ศาลประจำหน่วยทหารเป็นศาลทหารชั้นต้นที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาได้อย่างถาวร เพราะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการจัดตั้งขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่ว่า

(1) มีหน่วยทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกราชอาณาจักร หรือกำลังเดินทางเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่นอกราชอาณาจักร

(2) หน่วยทหารนั้น มีกำลังทหารไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน

(3) ได้มีการอนุมัติให้ตั้งศาลประจำหน่วยทหารขึ้นมาตามกฎหมาย

ศาลประจำหน่วยทหารจึงมีความแตกต่างไปจากศาลทหารชั้นต้นอื่นตรงที่ว่า

(1) ศาลประจำหน่วยทหารเป็นศาลทหารที่ไม่ได้ก่อตั้งขึ้นมาในลักษณะเป็นการถาวร แต่เป็นศาลทหารที่จะต้องเคลื่อนที่ไปตามหน่วยทหารนั้นๆ ส่วนศาลทหารชั้นต้นอื่น ( ศาลจังหวัดทหาร ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ) เป็นก่อตั้งขึ้นมาในลักษณะเป็นการถาวร

(2) ศาลประจำหน่วยทหารเป็นศาลทหารที่มีกำหนดเขตอำนาจโดยไม่อาศัยพื้นที่เช่นเดียวกับศาลทหารกรุงเทพ ซึ่งแตกต่างไปจากศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหารที่กำหนดเขตอำนาจโดยอาศัยพื้นที่ แต่ทว่าศาลประจำหน่วยทหารกับศาลทหารกรุงเทพแตกต่างกันในเรื่องบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาล กล่าวคือ ศาลประจำหน่วยทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะบุคคลที่สังกัดหน่วยทหารนั้นๆ ตกเป็นจำเลย ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 7(3) ส่วนศาลทหารกรุงเทพ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะตกเป็นจำเลยจะเป็นบุคคลที่สังกัดหน่วยทหารใดๆ ก็ได้

(3) ศาลประจำหน่วยทหารเป็นศาลทหารชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจพิจารณาคดีนอกราชอาณาจักรได้ ส่วนศาลทหารชั้นต้นอื่นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษานอกราชอาณาจักร

(4) แตกต่างกันในเรื่องผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลทหาร ดังนี้

  (4.1) ผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลจังหวัดทหาร ได้แก่ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาจังหวัดทหาร ( ผบ.จทบ. )

  (4.2) ผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลมณฑลทหาร ได้แก่ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลทหาร ( ผบ.มทบ. )

  (4.3) ผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ได้แก่ รมว.กห.

  (4.4) ผู้รับมอบพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนตุลาการศาลประจำหน่วยทหาร ได้แก่ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยทหารนั้นๆ

 5. คดีใดบ้างที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร จงอธิบาย?

ศาลทหารซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 สังกัดกระทรวงกลาโหม แบ่งออกเป็น 2  ประเภท คือ

1. ศาลทหารในเวลาปกติศาลทหาร และ

2. ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ( มาตรา 5 )

ศาลทหารในเวลาปกติ มีอำนาจ

1. พิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารขณะกระทำผิด

2. สั่งลงโทษบุคคลใดๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (มาตรา 13 )

สำหรับศาลทหารในเวลาไม่ปกติ  ถ้าผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก ได้ประกาศตามอำนาจในกฎหมายว่าด้วยกฎหมายอัยการศึกให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอย่างใดอีก ก็ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามประกาศนั้นด้วย

 6. คดีใดบ้างที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร จงอธิบาย ?

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ได้กำหนดไว้ใน มาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร ดังนี้

(1) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เช่น ทหารกับพลเรือนร่วมกันลักทรัพย์  หรือทหารกับพลเรือนต่างขับรถด้วยความประมาทเฉี่ยวชนกันเป็นเหตุให้ผู้โดยสารที่นั่งมาในรถถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือเป็นการกระทำผิดด้วยกัน คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน ตามมาตรา 15

(2) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน เช่น พลทหาร ก. มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แล้ว พลทหาร ก. ได้ใช้อาวุธปืนนั้นไปร่วมกับพวกซึ่งเป็นพลเรือนกระทำการปล้นทรัพย์ ดังนี้ คดีที่พลทหาร ก. มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เพราะไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับพลเรือน ส่วนคดีที่พลทหาร ก. ไปร่วมกับพวกที่เป็นพลเรือนกระทำการปล้นทรัพย์ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน กรณีคดีมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน

(3) คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาชน ( ปัจจุบันคือศาลเยาวชนและครอบครัว) คดีดังกล่าวได้แก่ กรณีที่นักเรียนทหารกระทำความผิด ถ้าอายุในวันที่กระทำผิดยังไม่ครบสิบแปดปีบริบูรณ์ คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารต้องดำเนินคดีในศาลคดีเด็กและเยาวชน ( ศาลเยาวชนและครอบครัว)

(4) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร  หมายความว่า คดีนั้นศาลทหารได้พิจารณาแล้ว และได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารจะเนื่องจากกรณีใดก็ตาม กรณีดังกล่าวต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารนี้ ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน และเมื่อศาลพลเรือนได้ประทับรับฟ้องไว้แล้ว แม้ปรากฏตามทางพิจารณาภายหลังว่า เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ ( มาตรา 15)

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ตำนานปืนใหญ่

           เมื่อผมสำเร็จจาก ร.ร.นายร้อย จปร. ออกรับราชการเป็นนายทหารนั้น ผมมีสิทธิ์เลือกไปรับราชการในเหล่าทหารปืนใหญ่เป็่นคนแรก ผมจึงเลือกมารับราชการในเหล่านี้ ซึ่งเป็นเหล่าที่ผมชอบ และรักมานานแล้ว คงจะเริ่มมาจากสมัยยังเรียนหนังสือชั้นประถมนั้น โรงเรียนที่เรียนมานานที่สุดเกือบจะอยู่ในป่า และพึ่งตั้งได้เพียงปีเดียวคือ โรงเรียนสองเหล่าสร้าง โคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี ที่ชื่อแบบนี้เพราะในสมัยนั้นที่โคกกระเทียมมีหน่วยทหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่แล้ว ๓ หน่วย ทหารบกก็มีศูนย์การทหารปืนใหญ่ ที่เป็นเหล่าทางสายวิทยาการของเเหล่าทหารปืนใหญ่ หรือจะเรียกว่า บ้านของทหารปืนใหญ่ก็คงพอเรียกได้ อีกสองหน่วยคือ กองบินน้อยที่ ๔ (ต่อมาจึงย้ายไปตั้งที่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์) ส่วนอีกฟากหนึ่งของภูเขาคือ กองบินน้อยที่ ๒ ปัจจุบันกลายเป็นกองพลบินที่ ๑ ไปแล้ว ทหารปืนใหญ่กับทหารอากาศช่วยกันตั้งโรงเรียน จึงชื่อว่า "สองเหล่าสร้าง" โคกกระเทียมสมัยนั้นมีรถเมล์เดินไปตัวเมืองลพบุรี วันละเที่ยวเดียว เช้าออกไปลพบุรี เย็นกลับมาโคกกระเทียม และตอนที่บิดาของผมไปรับราชการที่กองบินน้อยที่ ๔ นั้นผมยังทันได้เห็นรถถ่อ คือคล้ายรถไฟแต่ไม่มีเก้าอี้นั่ง ไม่มีเครื่องยนต์ วิ่งไปตามรางด้วยแรงคนถ่อและคนโดยสาร บางทีก็ต้องคว้าไม้มาช่วยกันถ่อให้รถวิ่งเร็วขึ้นด้วย รถถ่อจะเริ่มจากในตัวศูนย์การทหารปืนใหญ่ วิ่งเลียบถนนพหลโยธินไปยังสถานีรถไฟโคกกระเทียม ซึ่งรถไฟจะจอดที่สถานีเล็ก ๆ นี้ทุกขบวน ผมทันได้เห็นแต่น่าเสียดายที่เมื่อเลิกรถถ่อแล้ว ไม่เก็บรักษาไว้ให้ดีเลยหายไปหมด จนกระทั่งอีก ๓๘ ปี ต่อมาผมกลับมาเป็นผู้อำนวยการกอง (ตอนนั้นเรียกหัวหน้ากอง) วิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ พยายามค้นหารถถ่อ เพราะผมจะตั้งพิพิธภัณฑ์ของทหารปืนใหญ่ ได้มาคันหนึ่งแต่ไม่ตรงตามคุณลักษณะของรถถ่อดั้งเดิม กลายเป็นรถโยกของรถไฟ ซึ่งไปขอมาจากรถไฟแต่พออาศัยรูปร่างได้ เพราะรูปร่างเหมือนกัน แต่รถโยกของรถไฟนั้นใช้คนยืนโยก ๒ คน หรือโยกคนเดียวก็ได้ รถถ่อเหมือนกันแต่ไม่มีคันโยกใช้ไม้ถ่อ
           ทหารปืนใหญ่สมัยนั้น จะมาฝึกหัดยิงปืนใหญ่ (ไม่ได้ยิงกระสุนจริง) กันที่สนามข้าง ๆ โรงเรียนสองเหล่าสร้าง ผมาชอบยืนดู อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้ เลยชอบปืนใหญ่มาตั้งแต่เด็ก ๆ จนโตขึ้นก็ยังชอบอยู่ เมื่อเป็นนักเรียนนายร้อยก็เชื่อว่าจะสอบได้ที่ดี พอจะเลือกเหล่าทหารปืนใหญ่ได้ ใครถามว่าจะเลือกไปเหล่าไหน ก็จะตอบคำเดียวว่าเหล่าทหารปืนใหญ่ กองทัพบกมีหลายเหล่า เช่น เหล่าทหารราบ ทหารม้า ทหารสื่อสาร ทหารช่าง ทหารสรรพาวุธ ทหารพลาธิการ ทหารแพทย์ ทหารสารวัตร ทหารดุริยางค์ เป็นต้น และการเลือกไปรับราชการเหล่าใดผู้มีสิทธิ์เลือกก่อนคือ ผู้ที่สอบได้ที่สอบดีและมีจำกัดเหล่าเช่น เหล่าทหารปืนใหญ่ในรุ่นที่ผมเลือกไปนั้นมีเพียง ๙ คน พอคนสอบที่ดี ๆ เลือกครบ ๙ คนก็จบกัน ต้องไปเลือกเหล่าอื่น คนที่สบายใจที่สุดคือ คนที่สอบได้ที่โหล่ เพราะไม่มีสิทธิ์เลือกเหล่าไหนทั้งสิ้น สุดท้ายเมื่อเพื่อนเลือกกันหมดทั้งรุ่นแล้ว เหลือคนที่โหล่อยู่คนเดียว เขาก็เรียกไปเซ็นชื่อรับทราบเสียเลยว่าได้ไปอยู่เหล่า คือ เหล่าที่ยังเหลืออีก ๑ ที่ไม่มีคนเลือกแล้วนั่นแหละ คนที่โหล่ไม่ต้องมาเลือกเหล่าก็ได้เพราะเพื่อนช่วยเลือกให้
           เมื่อผมยังรับราชการอยู่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี ก่อนที่จะย้ายไปรับราชการภาคใต้ เมื่อริเริ่มเรื่องใดขึ้นมา ที่เป็นเรื่องของเหล่าทหารปืนใหญ่ และเสนอขึ้นไปยังกองทัพบกเพื่อพิจารณา ผมมักจะติดตามเรื่องด้วยตัวเองเพื่อไปชี้แจงให้ท่านผู้ใหญ่ได้ทราบและเข้าใจ เวลาที่ไปชี้แจง หรือไปประชุมที่กองบัญชาการของกองทัพบก ซึ่งเมื่อก่อนนี้ตั้งอยู่ในกระทรวงกลาโหมเป็นส่วนใหญ่ หากยังไม่ถึงเวลาประชุมหรือรอเวลาเพื่อไปติดต่อในช่วงบ่าย ผมมักเข้าไปนั่งในห้องสมุดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีหนังสือเก่าแก่จำนวนมาก วันหนึ่งไปได้หนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ ตำราปืนใหญ่ ทรงแปลและเรียบเรียงโดย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผมาขอยืมเอามาอ่าน นั่งอ่านไม่จบก็หมดเวลาจึงต้องขอกับเจ้าหน้าที่เป็นกรณีพิเศษ ขอยืมไปอ่านต่อ ซึ่งปกติผู้ยืมหนังสือของห้องสมุดในกระทรวงกลาโหม (พ.ศ.๒๕๑๙) เวลานั้น จะนำออกจากห้องสมุดไม่ได้ แต่เจ้าหน้าที่คงคุ้นหน้าผม และก็เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่จึงให้เป็นกรณีพิเศษ เมื่อเอามาศึกษาจนจบก็ทำให้ได้ความรู้เรื่องของปืนใหญ่ ซึ่งไม่เคยมีใครเขียนตำราปืนใหญ่มาก่อนเลย ผมจะนำไปเขียนต่อก็คงจะต้องคัดลอกเอาไปเป็นส่วนใหญ่ จึงตัดสินใจคัดลอกทั้งเล่มแล้วนำลงในนิตยสารทหารปืนใหญ่ ลงเป็นตอน ๆ เป็นหนังสือที่ผมทำหน้าที่บรรณาธิการ ลงไปเป็นตอน ๆ ก็เกิดเสียงเรียกร้องขอให้รวมเล่ม ผมไม่มีปัญหาพิมพ์รวมเล่มให้สวย ๆ ได้จะพิมพ์ขายตลาดก็คงไม่กว้างพอ เลยได้แต่พิมพ์โรเนียวเย็บเล่มและแจกฟรี ในตอนมีประชุมผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการของเหล่าทหารปืนใหญ่ ตำราปืนใหญ่เล่มนี้ศูนย์การทหารปืนใหญ่ได้ค้นหาในภายหลังพบว่าทรงแปลเสร็จและนำออกใช้เมื่อ ๑๗ ธันวาคม (ผมไม่ทราบ พ.ศ.) และต่อมาเมื่อนายทหารรุ่นหลังผมท่านหนึ่งคือ พลเอก ศิรินทร์ ธูปกล่ำ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ จึงนำวันนี้คือ วันที่ ๑๗ ธันวาคม เป็นวันของเหล่าทหารปืนใหญ่จะมีงานการกุศล การแสดงวิทยาการใหม่ มีการจัดเลี้ยงให้ทหารปืนใหญ่ในปัจจุบัน และนายทหารปืนใหญ่อาวุโส ที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ได้มาพบปะกันซึ่งทุกปี หากผมอยู่ในประเทศไทยผมจะไม่ขาดงานวันทหารปืนใหญ่
           ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๖ ผมก็ไปงานวันทหารปืนใหญ่เช่นทุกปี เมื่อผ่านพิธีการทางศาสนาและชมวิวัฒาการของเหล่าทหารปืนใหญ่ไปแล้ว ก็จะไปยังสโมสรเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน ผมขึ้นไปช้าแต่กลับโชคดี เพราะได้พบท่าน พลเอก ประมาณ อดิเรกสาร นายทหารปืนใหญ่อาวุโส อายุท่านใกล้จะเก้าสิบแล้ว แต่ท่านยังแข็งแรงมากและท่านเป็นนายทหารปืนใหญ่อาวุโสและมักจะมางานของทหารปืนใหญ่เป็นประจำ สำหรับวันนี้ ๑๗ ธันวาคม ๔๖ ท่านไม่ได้มามือเปล่า ท่านยังหอบหนังสือเล่มโตมาด้วยหลายเล่ม ไม่ได้ให้ใครถือมาให้ด้วย คือ หนังสือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งผู้เรียบเรียงคือ คุณสุนิสา มั่นคง หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์โดยท่านพลเอก ประมาณ อดิเรกสาร ซึ่งท่านก็คืออดีตนายทหารปืนใหญ่ เช่นกัน หนังสือพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๕ ท่านหอบเอามาหลายเล่มบอกว่าตั้งใจจะมอบให้ห้องสมุดของศูนย์การทหารปืนใหญ่ (ผมตั้งห้องสมุดนี้ขึ้นเมื่อดำรงค์ตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิทยาการ ของศูนย์ ฯ) ผมรู้จักกับท่านเพราะท่านมางานปืนใหญ่เกือบทุกครั้ง และตอนที่ท่านได้รับพระราชทานยศพลเอกนั้น ท่านได้รับพระราชทานเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งเป็นวันเดียว ปีเดียวกับที่ผมเข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศพลเอก ท่านรับพระราชทานเป็นคนแรก ผมรับพระราชทานคนที่สี่
           ผมเลยถือโอกาสขอหนังสือจากท่าน ๑ เล่ม ท่านคงเห็นว่าผมเป็นคนเขียนหนังสือท่านก็เซ็นมอบให้ ๑ เล่ม เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้วได้ความรู้อีกมากมาย และทราบพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงขอนำพระราชประวัติที่ย่นย่อที่สุดมาเล่าให้ทราบไว้ด้วยคือ
           พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบวรราชสมภพวันอาทิตย์ที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๑ และทรงสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ มกราคม ๒๔๐๘ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงเป็นพระราชอนุชาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยร่วมพระราชชนกชนนี
           ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชพิธีพระบวรราชาภิเษก โปรด ฯ ให้มีพระเกียรติยศเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดิน และโปรด ฯ ให้เปลี่ยนการเรียกขานนามวังหน้าซึ่งเดิมเรียกว่า "พระราชวังบวรสถานมงคล" เปลี่ยนเป็นเรียกว่า "พระบวรราชวัง" พระราชพิธีอุปราชาภิเษก ให้เรียกว่า พระราชพิธีบวรราชาภิเษก (หากทรงเป็นพิธีของพระมหากษัตริย์จะเรียกว่า พระบรมราชาภิเษก) คำรับสั่งของกรมพระราชวังบวร ฯ เคยใช้ว่า "พระบัณฑูร" เปลี่ยนเป็น พระบวรราชโองการ ซึ่งพระเกียรติยศที่ได้รับพระราชทานนี้เช่นเดียวกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
           พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ได้ปรับปรุงและวิวัฒนาการทหารทั้งกองทัพบก และกองทัพเรือให้ก้าวหน้าตามแบบอารยประเทศ ทรงศึกษาวิชาภาษาอังฤกษ วิชาการทหาร วิชาการช่าง และวิชาการปืนใหญ่ จนสามารถสร้างเรือกลไฟขึ้นได้ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก และทรงพระราชนิพนธ์ตำราปืนใหญ่แบบสมัยใหม่  และรับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือเป็นพระองค์แรกและทรงดำรงตำแหน่งนี้จนตลอดพระชนมายุ และทรงมีความผูกพันกับจังหวัดสระบุรีเป็นพิเศษ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปจัดตั้งป้อมปราการที่เขาคอก (ผมยังไม่ได้ไปศึกษาให้ละเอียดว่าอยู่ตรงไหน) อำเภอแก่งคอย เพื่อไว้เป็นสถานที่ตั้งกองกำลังและโปรดให้สร้างพระบวรราชวังสีทา ขึ้นที่ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย สระบุรี เพื่อเป็นที่ประทับ (ทราบว่าสระบุรีกำลังบูรณะโบราณสถานทางประวัติศาสตร์แห่งนี้) เหตุที่ไปทรงโปรดสระบุรี เข้าใจกันว่าเมื่อรัชกาลที่ ๔ โปรดให้ไปสำรวจนครราชสีมา เพื่อเตรียมตั้งเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ เพราะเวลานั้นนักล่าอาณานิคมกำลังจ้องจะฮุบประเทศไทยอยู่
           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สถาปนาพระอนุชาต่างพระมารดาพระองค์นี้ ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ให้ปฎิบัติหน้าที่ราชการหลายหน้าที่ในการทหาร คือ กำกับกรมทหารปืนใหญ่ กรมกองแก้วจินดา กรมทหารม้าแม่นปืนหน้า แม่นปืนหลัง ญวนอาสารบ แขกอาสาจาม แต่งกำปั่นเป็นเรือรบ
           และเคยโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ ฯ พระองค์นี้เป็นแม่ทัพใหญ่ยกกองทัพเรือไปปราบกบฎฐวน โดยตีเมืองบันทายมาศ (เมืองฮาเตียน) กองทัพเรือได้เดินทางจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๘๔ และได้เดินทางกลับถึงกรุงเทพ ฯ เมื่อ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๘๕ รวมเวลาปฎิบัติหน้าที่ในราชการสงครามประมาณ ๑๖ เดือน
           เรือรบลำแรก ซึ่งจัดทหารวังหน้าขึ้นประจำการคือ เรือยงยศอโยชณิยา หรือยงยศอโยธยา
           กิจการทหารปืนใหญ่ เมื่อได้บวรราชภิเษกแล้ว ทรงปลีกพระองค์จากงานว่าราชการแผ่นดิน แต่กลับทรงดำเนินกิจการทางทหารต่อไป โดยเฉพาะปืนใหญ่นั้น ได้โปรด ฯ ให้ย้ายสังกัดทหารญวนเข้ารีตทั้งหมดให้ไปสังกัดทหารปืนใหญ่ของฝ่ายพระราชวังบวรโดยตรง และยังทรงจ้างนายทหารอังกฤษมาช่วยฝึก ทรงโปรดทหารปืนใหญ่มากจนถึงขนาดให้ผู้คนที่เป็นชายในวังหน้า เอามาฝึกเป็นทหารปืนใหญ่จนหมด ไม่ว่าหน้าที่อะไรในวังก็ต้องฝึกเป็นทหารปืนใหญ่ด้วย
           และยังทรงพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรมด้วย มีพระราชนิพนธ์หลายเรื่องเช่น พระราชนิพนธ์เพลงยาว บทแอ่วเรื่องนิทานนายคำสอน ฯ แต่ที่ผมอ่านแล้วสนุกกว่าเพื่อนก็คงต้องยกให้ บทพระราชนิพนธ์ทรงค่อนข้าราชการวังหน้า ผมจะยกมาให้อ่านสักบทหนึ่ง
 

เป็นนายทหารไม่รู้จักอะไร พระพิไชยสรเดช
สูงเป็นเปรตคุณเทศอูฐ
พูดอะไรไม่เหมือนพูดพระยาวิสูตรโกษา
เข้าวังไม่เป็นเวลาพระยาภักดีภูธร
กินแล้วนอนพระยาประเสริฐหมอ
..................................
           แสดงว่าพระองค์ท่านมีอารมณ์ขบขันในการนิพนธ์

           ส่วนตำนานปืนใหญ่ที่ทำให้ทราบเรื่องของปืนนั้น ทรงสรุปไว้ว่า
           พ.ศ.๖๒๘ "ได้ยินแต่ข่าวเขาลือกันว่าเมืองจีนทำดินปืนใช้ได้ แต่หามีผู้ใดได้เห็นไม่"
           พ.ศ.๑๘๒๓ จึงมีคนชาติอังกฤษ ชื่อ ราชจาเบกกัน (RICHARD BACON) คิดทำได้
           พ.ศ.๑๘๖๓ บาทหลวงพวก อะละมาร (GERMAN) ชื่อ สะวอษ (SCHWARTZ) อยู่ในเมืองแยระมานี (GERAMANY)  ทำดินปืนได้ โดยตอนที่ทำได้นั้นไม่ได้ตั้งใจจะทำดิน ปืนประสมยาเพื่อใช้ในการรักษาโรค เอาดินประสิวขาว ๑ มาศ ถ่าน ๑ (มาศ น่าจะเป็นกำมะถัน) เอามาตำในครกจนละเอียดแล้วก็ทิ้งไว้ในครกศิลา แต่เอาครกหินปิดปากครกไว้ คงปิดไม่สนิทเกิดมีเปลวไฟปลิวไปตกลงในครก ทำให้เกิดการระเบิดดันแผ่นศิลาที่ปิดปากครกกระเด็นไป บาทหลวงสะวอษ จึงคิดว่ายาในครกน่าจะเป็นดินปืนไปใช้ในการรบได้ ตั้งแต่นั้นมาคนทั้งปวงจึงเรียกปืน "เสวตรัด" ว่า "ม่อตา (MORTAR) แปลเป็นไทยว่าปืนครก " เลยเรียกว่าปืนครกมาจนทุกวันนี้ จึงเกิดปืนใหญ่ขึ้นในเมืองวิลาศก่อนที่อื่น (วิลาศหมายถึง ยุโรป)
           พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เกี่ยวข้องกับปืนใหญ่นั้นมีอีกมาก และในตำราปืนใหญ่ที่นิพนธ์ไว้นี้จะเล่ามาตั้งแต่ยิงด้วยกระสุนศิลา (ใช้คานดีด) เรื่อยไปจนถึงปืนใหญ่สมัยรัชกาลที่ ๑ การฝึก การยิง การทำดินปืน การบรรจุดินปืน และมีคาถากำกับด้วย มีแบบของกระสุนปืนใหญ่โบราณ เช่น กระสุนปืนใหญ่ใช้ก้อนศิลา ก้อนเหล็ก ตะกั่ว " แต่กรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๑ ในศึก ๙ ทัพ ทรงใช้ไม้ในป่ากาญจนบุรี เอามาทำเป็นลูกกระสุนปืนใหญ่ ทรงรับสั่งว่าตราบใดไม้เมืองกาญจนบุรียังมี กระสุนปืนใหญ่ไทยไม่มีวันหมด"  กระสุนปืนใหญ่ลูกปรายในกระป๋องติดกับถุงดินดำ ลูกปรายในกระป๋องปิดฝาแล้วบรรจุยิงลูกกระสุนแบบพวงองุ่นใส่เหมือนถุงตาข่ายมัดแน่นแล้วบรรจุ ลูกโดดติดกับถุงดินดำ ลูกปรายติดกับถุงดินดำ ฯ
           ผมจะพาไปชิมอาหารร้านที่อยู่ริมแม่น้ำ มีบรรยากาศของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ยอดเยี่ยม ก็เลยถือโอกาสเล่าถึงวัดที่อยู่ริมแม่น้ำคือ วัดยานนาวา เส้นทางไปวัดยานนาวา ต้องไปตามถนนเจริญกรุงให้ระวังจุดเลี้ยวให้สังเกตดี ๆ เลยแล้วจะหาที่กลับรถมายาก วัดยานนาวาอยู่ถนนเจริญกรุงระหว่างซอย ๕๒-๕๔ เวลาไปจากทางบางรักวัดจะอยู่ทางขวามือ พอเห็นประตูวัดต้องเลี้ยวขวาไปทันทีไม่งั้นเลย กลับรถยาก
           วัดยานนาวาเป็นวัดหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฎิสังขรณ์จากวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดคอกควาย หรือวัดคอกกระบือ และการที่พระราชทานนามวัดเสียใหม่ หลังบูรณะปฎิสังขรณ์แล้ว ให้มีนามว่าวัดยานนาวา ก็เพราะสาเหตุที่ในการบูรณะนั้น โปรดให้สร้างพระเจดีย์ที่มีลักษณะแปลกกว่าพระสถูปหรือพระปรางค์ที่สร้างกันอยู่ในสมัยนั้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ทรงรำลึกถึงคติธรรมที่พระเวสสันดรทรงอุปมาเรื่องยานนาวาเป็นพาหนะทางน้ำประกอบกับมีพระราชดำริว่า ขณะนั้นเรือสำเภาจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขายทางทะเลกำลังจะหมดสมัย เพราะมีเริ่มมีเรือกำปั่นต่อแบบฝรั่งเข้ามาแทนที่ อนุชนรุ่นหลังคนจะรู้จักแต่เพียงชื่อว่า "สำเภาจีน" ด้วยพระราชดำริอันลึกซึ้งและรอบคอบและกว้างไกลเช่นนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างฐานเจดีย์มีฐานเป็นยานนาวาตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนา ลักษณะยานนาวาเป็นเรือสำเภาจีนขนาดเท่าเรือสำเภาและลักษณะเหมือนของจริง แล้วโปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดยานนาวา เรือสำเภาที่สร้างลักษณะนี้และแล่นในน้ำได้จริง ๆ ขนาดเท่าของจริงผมเห็นอีก ๒ แห่งคือ ที่เมืองโบราณที่สมุทรปราการ และที่พิพิธภัณฑ์เรือ ที่จังหวัดจันทบุรี แต่ลำที่วัดยานนาวานี้ลงน้ำไม่ได้เพราะสร้างด้วยอิฐ หินปูนทราย สร้างตรึงแน่นอยู่กับที่และเมื่อสร้างนั้น รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเอาใจใส่อย่างยิ่ง ถึงขนาดมาประทับนั่งในศาลาเล็ก ๆ ที่สร้างพิเศษ เพื่อประทับเวลามาตรวจการก่อสร้าง ซึ่งศาลาที่ประทับนี้อยู่ข้างเรือทางด้านใต้
           เมื่อไปถึงวัดแล้ว จะเข้าไปในเรือสำเภาได้ โดยเข้าทางช่องหัวเรือ เข้าไปแล้วก็ขึ้นไปยังห้องท้ายบาหลี ในห้องนี้มีพระไตรปิฎกหินอ่อนวางอยู่ และสำหรับอธิษฐานขอพรด้วย เช่นหากสำเร็จขอให้ยกขึ้น
           และในห้องหรือเก๋งจีนท้ายสำเภานี้ยังประดิษฐานรอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปอยู่ด้วย
           ด้านหน้าของวัด คือศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
           เข้ามาในวัดแล้วทางขวาคือ หอพระไตรปิฎก ทางซ้ายคือ อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ ส่วนเรือสำเภาอยู่ตรงกลาง ด้านหลังคือพระอุโบสถและต่อไปก็แม่น้ำเจ้าพระยา เห็นทิวทัศน์ที่งดงามยิ่ง
           ร้านอาหาร  ร้านนี้เก่าแก่ เดิมไม่ได้ตั้งอยู่ตรงที่จะพาไปชิมวันนี้ เดิมอยู่ที่ท่าน้ำบางขุนพรหม หรือเรียกว่าท่าเกษม คือเชิงสะพานพระราม ๘ ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่นี่นานจนเมื่อวังบางขุนพรหม กลายเป็นที่ทำการธนาคารชาติและธนาคารขยายใหญ่โตออกไป จึงย้ายไปตั้งที่อื่นและเป็นร้านแรกที่ริเริ่มในการให้มีเรือสำราญคือลงเรือ ลอยไปตามลำน้ำเจ้าพระยาพร้อมทั้งการนั่งกินอาหารชมวิวในท้องน้ำ
           พอขึ้นบนศาลาริมน้ำจะผ่านแผงอาหารทะเลสด ๆ วางเอาไว้ หมายตาเอาไว้ก่อนก็ได้จะชิมอะไรดี สาวเสริฟร้านนี้แต่งเป็นเครื่องแบบชุดกะลาสี กระโปรงสั้น ๆ อาหารนานาชาติเลยทีเดียว
           อาหารฝรั่ง ชิมซุปถ้วยละ ๔๘ บาท สเต็ก จานละ ๑๐๐ - ๑๒๐ บาท ที่สั่งมาลองชิมคือ สเต็กเนื้อสัน กับซ๊อสเห็ด เนื้อนุ่ม รสเข้ม
           กุ้งยำตะไคร้ กุ้งใหญ่เผาเอาต้นไค้มาเสียบเพิ่มความหอม ราดด้วยน้ำยำ โดยใบสะแหน่ มีมะเขือเทศ ผักกาดหอม วางข้างจาน รสจัด
           ปลาช่อนกระบอก ปลาช่อนเผาลอกหนังออก เห็นผิวขาวน่ากิน เสริฟมาในกระบอกไม้ไผ่
           ปูเนื้อผัดพริกไทยดำ จานนี้ไม่น่าข้ามไป ปูตัวใหญ่มาก ผัดแล้วเต็มจาน น้ำผัดแยะเอามาคลุกข้าวได้
           ก้ามปูใหญ่ อย่าอายใครหยิบเอามาใช้มือแกะเสียโดยดี เนื้อปูแน่นเหนียว
           ผัดผักหวานไฟแดง, ผัดเผ็ดกุ้งสดใบโหระพา หอมกลิ่นใสนโหระพา และปิดท้ายด้วยข้าวอบสับปะรด เสริฟมาในผลสับปะรดที่มีรสหวาน
           ของหวาน มีบัวลอยเผือก หวานมัน "โอนีแป๊ะก็วย" ไอศกรีม เรนโบว์พาร์เพ่ห์

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
    พระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2498
เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[รก.2498/83/1415/18 ตุลาคม 2498]

มาตรา 3 ให้ยกเลิก (1) พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช 2477 (2) พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2487 (3) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2488 และพระราชบัญญัติอนุมัติพระราช กำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช 2477 พุทธศักราช 2488 พุทธศักราช 2488 (4) พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490 (5) พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2496 (6) บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้ว ในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราช บัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ภาค 1
ศาลทหาร
_______

ลักษณะ 1
บททั่วไป
_______
มาตรา 5 ศาลทหารทั้งหลายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สังกัดอยู่ใน กระทรวงกลาโหม

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการของ ศาลทหารให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย แต่การพิจารณาคดีตลอดถึงการที่จะมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาบังคับคดีนั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทหารโดยเฉพาะ
โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เจ้ากรมพระธรรมนูญ วางระเบียบราชการของศาลทหารและอัยการทหาร เพื่อให้กิจการของศาลทหาร และอัยการทหารดำเนินไปโดยเรียบร้อย
มาตรา 6 ศาลทหารตามพระราชบัญญัตินี้แบ่งออกเป็นสามชั้น คือ
(1) ศาลทหารชั้นต้น
(2) ศาลทหารกลาง (3) ศาลทหารสูงสุด
ภายใต้บังคับมาตรา 39 ในเวลาที่มีการรบหรือการสงคราม หรือ ประกาศใช้กฎอัยการศึก จะให้มีศาลอาญาศึกก็ได้
มาตรา 7 ศาลทหารชั้นต้นได้แก่
(1) ศาลจังหวัดทหาร
(2) ศาลมณฑลทหาร
(3) ศาลทหารกรุงเทพ
(4) ศาลประจำหน่วยทหาร
มาตรา 8 ทุกจังหวัดทหารให้มีศาลจังหวัดทหารศาลหนึ่ง เว้นแต่ จังหวัดทหารที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลทหาร และทุกมณฑลทหารให้มีศาลมณฑล ทหารศาลหนึ่ง เว้นแต่มณฑลทหารที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพ
ศาลทหารเหล่านี้อาจไปนั่งพิจารณา ณ ที่ใดภายในเขตอำนาจได้ตาม ความจำเป็น
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
00000
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
11111111111
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1111111111111
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
11111111
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้