ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบ พนักงาน อบต.เทศบาล ตำแหน่งพนักงานบุคลากร
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบ พนักงาน อบต.เทศบาล ตำแหน่งพนักงานบุคลากร

แชร์กระทู้นี้

เจาะข้อสอบ พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ

ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2542



1. พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2542 บังคบใช้วันที่



. 16 พฤศจิกายน 2542                                                    ข. 17 พฤษภาคม 2542



. 18 พฤศจิกายน 2542                                                    ง. 19 พฤษภาคม 2542



2. พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ (ฉบับที่ 2) .. 2549 บังคบใช้วันที่



. 9 มกราคม 2549                                                             . 9 มกราคม 2550



. 19 มกราคม 2550                                                          . 18 พฤษภาคม 2542



3..คณะกรรมการ. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ
2542 หมายความว่า



. คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



. กรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



. กรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



4. ใครไม่ได้เป็นผู้รักษาการตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ
2542



. นายกรัฐมนตรี                                                                ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง



. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม                     . รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



5. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งหมดกี่คน



. 24 คน                                                                              . 30 คน



. 36 คน                                                                              ง.42 คน



6. ใครเป็นประธานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



. นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกที่ได้รับมอบหมาย



. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง



 .รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี



7. ผู้ใดไม่ได้เป็นคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



. ปลัดการทรวงพาณิชย์                                                   ข. ปลัดกระทรวงการคลัง



. ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                              . ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



8. ผู้แทนคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจาก ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนกี่คน



. 2 คน                                                                                                 . 3 คน



. 5 คน                                                                                                 ง.ขึ้นอยู่กับจำนวน อบต. ทั่วประเทศ



9. ผู้แทนคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจาก
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนกี่คน



. 2 คน                                                                                                 . 3 คน



. 5 คน                                                                                                 . ขึ้นอยู่กับจำนวน อบต. ทั่วประเทศ



10. ใครเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



. นายกรัฐมนตรี                    ข.คณะกรรมการ ก..


.ปลัดการทรวงมหาดไทย     . ...                                          



11. ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีจำนวนกี่คน



. 8 คน                    . 10 คน                                                             



. 12 คน                ง. 14 คน



12. ใครเป็นเลขานุการคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



. ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                             



. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



 ค. หัวหน้า สกถ.



 . บุคคลซึ่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้ง



13. ใครเป็นประธานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคนปัจจุบัน
(2551)



. นายสมัคร สุนทรเวช                                                    ข. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์


. นายศิวะ แสงมณี                                 . รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร                         



14. บุคคลใดสามารถเป็นผู้ทรงคณะวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้



. อาจารย์ผู้สอนในสภาบันอุดมศึกษาของรัฐ
               . ผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมือง

               ค. ผู้ที่เป็นข้าราชการ                                                         
               ง. บุคคลที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป

15. ผู้ทรงคณะวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีอายุไม่ตำกว่ากี่ปี



. 30 ปี              . 35 ปี                                                                    



. 40 ปี               . 45 ปี                                                                  



16. ผู้ทรงคณะวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี



. 4 ปี วาระเดียว            . 4 ปีแต่ไม่เกิน 2 วาระ                                                    



. 6 ปี วาระเดียว            ง.3 ปี วาระเดียว



17. ผู้ทรงคณะวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจาก



. การเลือกตั้ง         . การแต่งตั้ง                                                           



. การสรรหา            . การคัดเลือก



18. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



. จัดทำแผนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.



. ปรับปรุงสัดส่วนภาษีอากรและรายได้



. กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจ



. กำหนดคุณสมบัติในการแต่งตั้งข้าราชการ



20. สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสังกัดหน่วยงานใด



. สำนักนายกรัฐมนตรี               . สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                      



. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย                           .สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง


                              ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว                        

ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
 
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 <<



จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
54.  กำหนดเวลาทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง

        ตอบ  4      ดูคำอธิบายข้อ 51.  ประกอบ

55.  ลูกจ้างได้รับอุบัติเหตุจากเครื่องจักรขณะทำงาน

        ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ 53     ประกอบ

        ตั้งแต่ข้อ 56.-60.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  ใบสมัครงาน (Application Blank)            (2)  การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)

        (3)  การทดสอบ (Employment Test)                (4)  การสัมภาษณ์ (Interview)

        (5)  การตรวจร่างกาย (Physical Check)

56.  ประโยชน์ของเครื่องมือนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่รับคนที่ขาดคุณสมบัติมาตั้งแต่ต้น

        ตอบ  2      หน้า 65 – 66 การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) เป็นขั้นตอนการกลั่นกรองบุคคลที่เห็นได้ชัดว่ามีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะกระทำโดยให้มีการกรอกข้อมูลเบื้องต้น ณ ห้องรับใบสมัคร ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะขจัดหรือป้องกันผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมปนเข้ามาในสำนักงานตั้งแต่ต้น จะได้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในขั้นตอนของการคัดเลือกจริงต่อไป

57.  เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดกความรู้

        ตอบ  4      หน้า 66 – 67  การทดสอบ (Employment Test) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดคุณสมบัติและความรู้ความสามารถของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องและจำเป็นสำหรับการทำงาน เช่น ความถนัดทักษะ สติปัญญา (I.Q.) การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (E.Q.) เป็นต้น

58.  เป็นเครื่องมือที่วัดพฤติกรรม วัดบุคลิกภาพ

        ตอบ  4      หน้า 67,  การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินความรู้ความสามารถในเชิงปฏิภาณไหวพริบ การตัดสินใจ ตลอดจนประเมินพฤติกรรมและบุคลิกภาพของผู้สมัครได้ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้แสดงวิสัยทัศน์ของตนเอง และถือเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกที่เก่าแก่ที่สุด เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด และเกิดความยุติธรรมได้ยากที่สุด

59.  เป็นเครื่องมือที่สามารถบอกได้ระดับหนึ่งว่าคน ๆ นั้นจะอยู่กับองค์การได้นาน

        ตอบ  1      หน้า 65 – 66,   ใบสมัครงาน (Application Blank) ถือเป็นเครื่องมือคัดเลือกคนเข้าทำงานอย่างหนึ่งที่สามารถบอกได้ในระดับหนึ่งว่าผู้สมัครคนนี้จะอยู่องค์การไหนได้นานหรือไม่ เช่น คนที่แต่งงานแล้วจะอยู่องค์การได้นานมากกว่าคนโสด เป็นต้น

60.  เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือกและสมควรทำเมื่อทราบชัดว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน

        ตอบ  5      หน้า 65, 69 การตรวจร่างกาย (Physical Check/Examination) นับว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการคัดเลือก และสมควรกระทำเมื่อทราบชัดเจนว่าจะมีการจ้างอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพื่อปฏิเสธคนที่มีร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน และเพื่อป้องกันการรับบุคคลที่มีโรคติดต่อต้องห้ามเข้ามาทำงานด้วย

        ตั้งแต่ข้อ 61.- 65.     เป็นปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับการรักษาวินัยให้กับข้าราชการในเรื่องใด

        (1)  การดูแล                                 (2)  การป้องกัน                                   (3)  การเยียวยา

        (4)  การส่งเสริมให้มีวินัย         (5)  การดำเนินการทางวินัย              

61.  อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่กรณีขายหุ้นชิน

        ตอบ  5      การดำเนินการทางวินัย  แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้    1.  กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร ซึ่งกรณีนี้ผู้กระทำความผิดต้องถูกลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด   2.  กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำการสอบสวน ซึ่งกรณีนี้ผู้กระทำความผิดต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี เช่น อธิบดีกรมสรรพากรถูกปลดออกจากราชการฐานละเลยต่อหน้าที่กรณีขายหุ้นชิน เป็นต้น

62.  ผู้กำกับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทำงานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน

        ตอบ  1      หน้า 199 – 200  การรักษาวินัยในความหมายของการดูแล หมายถึง การสอดส่องกำกับตรวจตราโดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้อยู่ในระเบียบวินัย เช่น ผู้กำกับมีหน้าที่ตรวจตราให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทำงานถูกต้องตามระเบียบ ไม่ลัดขั้นตอน, การไปตรวจเยี่ยมกำลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น

63.  ผู้กำกับการจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันในเขตพื้นที่

        ตอบ  2      หน้า 200 การรักษาวินัยในความหมายของการป้องกัน หมายถึง การกระทำในทางที่จะขจัดเหตุที่ทำให้ข้าราชการกระทำผิดทางวินัย ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องคอยระมัดระวังมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชาผิดวินัย โดยอาจใช้วิธีการขู่ผู้ที่จะทำผิดวินัยให้กลัว เช่น ผู้กำกับจะถูกย้ายทันทีที่พบว่ามีบ่อนการพนันใยเขตพื้นที่ เป็นต้น

64.  การตรวจเยี่ยมกำลังพลโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะช่วยให้ทหารอยู่ในระเบียบการแต่งกายและรักษาสถานที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อยู่เสมอ

        ตอบ  1      ดูคำอธิบายข้อ  62.  ประกอบ

65.  การให้ผู้ที่กระทำผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทำความสะอาดตู้โทรศัพท์

        ตอบ  3      หน้า 200 – 201   การรักษาวินัยในความหมายของการเยียวยา หมายถึง การแก้ไขและบำรุงหรือส่งเสริมให้มีวินัยดีขึ้น โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องเยียวยาแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัยดีขึ้น เช่น การให้ผู้ที่กระทำผิดกฎจราจรเพียงเล็กน้อยไปทำความสะอาดตู้โทรศัพท์ เป็นต้น

        ตั้งแต่ข้อ 66. – 70.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  ฝึกอบรมแบบฝึกปฏิบัติงานจริง (On-the-job-Training)

        (2)  ฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training)

        (3)  ฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training)

        (4)  การฝึกแบบจำลอง (Simulation Training)                (5)  การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training)

66.  เป็นเทคนิคที่นิยมใช้อบรมผู้บริหาร

        ตอบ  5      หน้า 167  การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case Study Training) เป็นเทคนิคที่นิยมที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ และให้ผู้เข้าฝึกอบรมทำการศึกษารายละเอียดของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในกรณีศึกษา พร้อมกับกำหนดปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา แล้วเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงาน

67.  ใช้ฝึกอบรมนักบิน

        ตอบ  4      หน้า 165 – 166 การฝึกอบรมแบบจำลอง (Simulation Training) เป็นวิธีการฝึกอบรมที่มุ่งให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เครื่องมือและกระบวนการที่เป็นแบบจำลองซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในการทำงานจริง เช่น การฝึกอบรมนักบิน การฝึกอบรมผู้ใช้เครื่องจักรกลขนาดหนัก เป็นต้น

68.  บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า

        ตอบ  3      หน้า 164 การฝึกอบรมแบบช่างฝึกหัด (Apprenticeship Training) เป็นวิธีการฝึกอบรมที่มุ่งให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้และทักษะทางด้านช่างฝีมือในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จนกระทั่งมีฝีมือสามารถออกไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีคือ

                            1.  สมัครเป็นลูกมือช่างที่ตนสนใจ     2.  สมัครเป็นช่างฝึกหัดโครงการช่างฝึกหัดทวิภาคีระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการ เช่น บริษัทโตโยต้ารับสมัครนักเรียนอาชีวช่างยนต์เข้ารับการฝึกอบรมการซ่อมรถโตโยต้า เป็นต้น

69.  ต้องมีการแนะนำประวัติขององค์การ

        ตอบ  2      หน้า 155 – 156  การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Orientation Training) เป็นวิธีการฝึกอบรมที่มีความเหมาะสมแบะนิยมใช้กับพนักงานที่เข้าทำงานใหม่ เป็นโปรแกรมที่จัดให้พนักงานใหม่ ได้รับความรู้ทางสารสนเทศต่าง ๆ ที่น่าสนใจ  และได้รับทราบเกี่ยวกับองค์การหรือสถานที่ทำงาน เช่น ประวัติองค์การ ผู้บริหารและระบบการบริหารงาน ความก้าวหน้าในงาน ความก้าวหน้าในงานเงื่อนไขการจ้างงาน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และความสะดวกในการทำงานร่วมกันเป็นทีม

70.  แจ้งถึงเงื่อนไขการว่างงาน

        ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ 69 ประกอบ

        ตั้งแต่ข้อ 71. - 75.    จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  การจำแนกตำแหน่งตามชั้นยศ (Rank Classification : R.C.)

        (2)  การจำแนกตำแหน่งตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Position  Classification : P.C.)

        (3)  การจำแนกตำแหน่งตามชั้นยศทางวิชาการ (Academic Rank Classification : A.R.C.)

        (4)  การจำแนกตำแหน่งแบบผสมระหว่าง R.C. และ A.R.C

      (5)  การจำแนกตำแหน่งแบบผสมระหว่าง P.C. และ A.R.C

71.  เหมาะกับการศึกษาแบบ Specialist

      ตอบ  2      หน้า 72 – 73, หลักการสำคัญของการกำหนดหรือจำแนกตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Position  Classification : P.C.) คือ   1.  ถือหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งหรืองานเป็นหลัก    2.  รับเงินเดือนเป็นอันดับตามระดับตำแหน่งที่ได้จากการประเมินค่างาน (Job Evaluation) ฯลฯ ซึ่งข้อดีของระบบนี้ประการหนึ่ง คือ เหมาะสมกับการศึกษาแบบ Specialist

72. ข้าราชการพลเรือนในปัจจุบัน

        ตอบ  ไม่มีข้อใดถูก     พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้ยกเลิกระบบจำแนกตำแหน่ง (Position Classification : P.C.) หรือระบบ “ซ” (Common Level) และกำหนดประเภทตำแหน่งใหม่โดยจำแนกกลุ่มตำแหน่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ บริหาร อำนวยการ วิชาการ และทั่วไป ซึ่งเรียกวิธีการกำหนดตำแหน่งแบบใหม่นี้ว่า ระบบ “แท่ง” (Broadbanding)

73.  รับเงินเดือนตามการประเมินค่างาน (Job Evaluation)

      ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ  71. ปะกอบ

74.  ความก้าวหน้าไม่ติดโครงสร้างแบบพีระมิด

        ตอบ  3      หน้า 74     หลักการสำคัญของการจำแนกตำแหน่งตามคุณวุฒิหรือชั้นยศทางวิชาการ (Academic Rank Classification : A.R.C.) คือการยึดคุณวุฒิ ความชำนาญ และประสบการณ์ของบุคคลเป็นหลัก ซึ่งข้อดีระบบนี้ปะการหนึ่งคือ การไม่ติดอยู่ในกรอบหรือโครงสร้างแบบพีระมิด

75.  ข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจในปัจจุบัน

        ตอบ  4      การกำหนดตำแหน่งข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจของไทยในปัจจุบันนั้น จะมีลักษณะผสมระหว่างระบบชั้นยศ (R.C.) กับระบบคุณวุฒิของบุคคล (A.R.C.)



        ตั้งแต่ข้อ 76. – 80.    สะท้อนถึงหลักการในการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องใด

        (1)  กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน                              (2)  กำหนดแบบและลักษณะคนที่ประเมิน

        (3)  กำหนดตัวผู้ประเมิน                                                          (4)  กำหนดวิธีการประเมิน

      (5)  การนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้

76.  รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตำรวจให้นายตำรวจทุกนายใส่เกียร์ห้าทำงานถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน

        ตอบ  4      หน้า 190 – 191       การกำหนดวิธีการประเมินผลงาน มีหลายวิธีแตกต่างกัน ตามวัตถุระสงค์ที่ใช้ดังนี้           1.  การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจ ความคิดริเริ่มการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ฯลฯ       2.  การประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ตั้งใจทำงาน รอบคอบ รวดเร็ว ว่องไว เฉื่อยชา อดทน สุภาพ หรือเจ้าโทสะ ฯลฯ เช่น การรักษาผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้นโยบายแก่ข้าราชการตำรวจ ให้ตำรวจทุกนายใส้เกียร์ห้าทำงาน ถ้าใครใส่เกียร์ว่างจะได้เห็นดีกัน เป็นต้น

77.  คณบดีรัฐศาสตร์ ทำหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงนักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์

        ตอบ  1      หน้า 187 – 188     การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการบอกถึงสาเหตุของการประเมินว่ามีการประเมินเพื่ออะไร โดยจะต้องชี้แจงหรือแจ้งให้ผู้ถูกประเมินและผู้ทำการประเมินทราบถึงสาเหตุหรือวัตถุประสงค์ของการประเมินก่อนทำการประเมิน เช่น คณบคณะรัฐศาสตร์ ทำหนังสือแจ้งอาจารย์ผู้บรรยายให้ชี้แจงให้นักศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบก่อนแจกใบประเมินอาจารย์ เป็นต้น

78.  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมาธิการโดยลงคะแนนลับ

        ตอบ  3      หน้า 190,   การกำหนดตัวผู้ประเมิน โดยให้เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ประเมินผล (Peer Appraisal) เป็นวิธีการที่ให้เพื่อนร่วมงานประเมินซึ่งกันและกัน มักจะใช้กับเพื่อนร่วมงานที่ปฏิบัติงานร่วมกันมานานพอสมควร และมีความคุ้นเคยในเรื่องที่จะประเมินเป็นอย่างดี เช่น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมการธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกอาจารย์นรนิติ เป็นประธาน สสร. เป็นต้น

79.  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกันเองเป็นกรรมมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

        ตอบ  3      ดูคำอธิบายข้อ 78.  ประกอบ

80.  การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทำปีละ 2 ครั้ง

      ตอบ  5      หน้า 191   การวิเคราะห์และนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ เป็นการพิจารณาวิเคราะห์จากแบบประเมินผลที่ผู้ประเมินได้ประเมินไว้ แล้วนำผลการวิเคราะห์นั้นไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับผู้ที่ถูกประเมินผู้นั้นตลอดเวลาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน เช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนกระทำปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น

        ตั้งแต่ข้อ 81. – 85.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  ผู้บังคับบัญชา                      (2)  เพื่อนร่วมงาน                              (3)  ประเมินตนเอง

        (4)  ให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน      (5)  ผู้ใต้บังคับบัญชา                          

81.  มหาวิทยาลัยรามคำแหงให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ในชั่วโมงสุดท้ายที่สอนในแต่ละภาค

        ตอบ  4      การให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน การประเมินผลโดยให้บุคลากรภายนอกองค์การเป็นผู้ประเมิน เช่น การให้นักศึกษาทำการประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอน, การประเมินผลการทำงานของรัฐบาลโดยประชาชน, บริษัทโตโยต้าให้ผู้มาติดต่อซ่อมรถเป็นผู้ประเมินผลพนักงาน เป็นต้น

82.  ผู้ประเมินบางคนไม่กล้าประเมินหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินเกินความจริง

        ตอบ  5      ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้ที่สามารถให้ภาพพจน์เกี่ยวกับตัวผู้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีว่าผู้บังคับบัญชาของเขามีความสามารถในด้านการติดต่อสื่อสารกับพวกเขาอย่างไร เคยมอบอำนาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ แต่ข้อเสียของการประเมินด้วยวิธีนี้ก็คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนมักไม่กล้าประเมินผู้บังคับบัญชาหรือถ้ากล้าก็มักจะประเมินผู้บังคับบัญชาเกินความเป็นจริง

83.  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกอาจารย์นรนิติ เป็นประธาน สสร.

        ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

84.  การประเมินผลการทำงานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน

        ตอบ  1      การประเมินผลงานที่ต้องทำในสายการบังคับบัญชาส่วนใหญ่นั้นจะให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน ทั้งนี้เพราะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดและรู้เรื่องเกี่ยวกับบุคลากรที่อยู่ในบังคับบัญชาได้ดีที่สุด ซึ่งวิธีการนี้นิยมใช้กันมากในระบบราชการไทย เช่น การประเมินผลงานทำงานในรอบปีของข้าราชการพลเรือนเพื่อขึ้นเงินเดือน เป็นต้น

85.  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกกรรมาธิการ 35 คน

        ตอบ  2      ดูคำอธิบาข้อ  78.  ประกอบ

        ตั้งแต่ข้อ  86. – 95.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

      (1)  การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)                 (2)  คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

        (3)  การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specificstion)

        (4)  การประเมินค่างาน (Job Evaluation)        (5)  การออกแบบงาน (Job Design)

86.  สามารถความเมื่อยล้า และลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

        ตอบ  5      หน้า 17  การออกแบบงาน (Job Design)  ที่ดีจะทำให้บุคคลทำงานได้อย่างเต็มความสามารถรวมทั้งสามารถลดความเมื่อยล้า และลดการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานลงได้

87.  จ่ายเท่ากันสำหรับงานที่เท่ากัน (Equal Work for Equal Pay)

        ตอบ  4      หน้า 16 – 17, 76, 82    การประเมินค่างาน (Job Evaluation) คือ กระบวนการทที่ทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ในองค์การ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับงาน ตามหลักการที่ว่า “จ่ายเท่ากันสำหรับงานที่เท่ากัน” (Equal Work for Equal Pay) ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) ในการกำหนดค่าจ้างและผลตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ภายในองค์กรเดียวกัน

88.  ความยุติธรรมภายใน (Internal Equity) เกิดจาก

        ตอบ  4      ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

89.  เอาไปใช้ออกแบบงาน (Job Design)

        ตอบ  1      หน้า 15 – 18  ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน ((Job Analysis) ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

                    1.  ให้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์  

                    2.  ใช้เป็นข้อมูลในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

                    3.  ใช้เป็นข้อมูลในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร  

                    4.  ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการทำงาน

                           5.  ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดค่าตอบแทน  

                            6.  ใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน  7.  ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบงาน ฯลฯ

90.  ข้อมูลที่ต้องใช้ทำ คือ กิจกรรมของงาน พฤติกรรมบุคคล เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ มาตรฐาน การปฏิบัติงาน และเนื้อหาของงาน

        ตอบ  1      หน้า 14 – 15  ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ (Job Analysis) มีดังนี้

                            1.  กิจกรรมของงาน   2.  พฤติกรรมของบุคคล   3.  เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องช่วยสนับสนุนการทำงาน   4.  มาตรฐานการปฏิบัติงาน   5. เนื้อหาของงาน   6. ความต้องการของบุคลากร

91.  ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายร้อยตำรวจต้องจบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

        ตอบ  3      หน้า 14   การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน (Job Specificstion) เป็นรายละเอียดของคุณสมบัติเฉพาะของพนักงานทางด้านความสามารถ ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ ซึ่งใช้ในการทำงานเฉพาะอย่างเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ เช่น ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้าเป็นนายตำรวจต้องปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เป็นต้น

92.  การอธิบายรายละเอียดของงานว่า มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ระบุหน้าที่งานหลักหน้าที่งานรอง

        ตอบ  2      หน้า 13 – 14   คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นรายละเอียดที่ระบุถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์ในสายงาน สภาพการทำงาน และความรับผิดชอบในการบังคับบัญชาของงานใดงานหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการอธิบายรายละเอียดของงานว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยระบุชื่อตำแหน่งงาน คำสรุปเกี่ยวกับงาน หน้าที่งานหลักหน้าที่งานรอง และความสัมพันธ์กับงานอื่น ๆ

93.  ได้ข้อมูลมาจาก ความรู้ ทักษะ และความสามารถ

        ตอบ  3   ดูคำอธิบายข้อ 91.  ประกอบ

94.  เป็นกระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงาน

        ตอบ  1      หน้า 12  ศิริโสภาคย์  บูรพเดชะ  กล่าวว่า การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง  กระบวนการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและลักษณะของงานอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ฝ่ายจัดการทราบว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญ และความรับผิดชอบอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานจึงจะทำงานนั้นสำเร็จลงได้

95.  ได้ข้อมูลมาจาก งาน ความรับผิดชอบ และหน้าที่

        ตอบ  2      ดูคำอธิบายข้อ  92. ประกอบ

        ตั้งแต่ข้อ  96. – 100.  จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

        (1)  สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market)

        (2)  อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate)

        (3)  ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพ (Cost of Living)

        (4)  ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay)

        (5)  ขึ้นอยู่กับอิทธิพลอำนาจการต่อรอง (Collective Bargaining)

96.  ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

        ตอบ  3      หน้า 86  ปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการครองชีพหรือค่าครองชีพ (Cost of Living) หมายถึง การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างพอที่จะใช้จ่ายให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความราบรื่นหรือพอกินพอใช้ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าครองชีพ เช่น ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ, รัฐบาลขิงแก่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้ เป็นต้น

97.  ปีนี้ธนาคารกรุงเทพจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 18 เดือน

        ตอบ  4      หน้า 86 – 87  ปัจจัยด้านความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) หมายถึงความสามารถของนายจ้างที่จะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งความสามารถในการจ่ายของแต่ละบริษัทมักจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางอุตสาหกรรม ตลอดจนความมั่นคงที่ปรากฏตามลักษณะของภูมิประเทศที่หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ เช่น ปีนี้ธนาคารกรุงไทยจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 18 เดือน เป็นต้น

98.  รัฐบาลขิงแก่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้คนงานอยู่ได้

        ตอบ  3  ดูคำอธิบายข้อ 96  ประกอบ

99.  สหภาพแรงงานรวมตัวกันเหนียวแน่นก็มีพลังอำนาจกำหนดค่าจ้าง

        ตอบ  5      หน้า 87  อำนาจการต่อรอง (Collective Bargaining) หมายถึง อำนาจในการเจรจาต่อรองของแต่ละฝ่ายระหว่างสหภาพแรงงานรวมตัวกันได้เหนียวแน่นมากเท่าไร พลังอำนาจการเจรจาต่อรองในการกำหนดค่าจ้างก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

100.    บริษัทหลายแห่งได้กำหนดเงินเดือนให้พนักงานใหม่ที่จบปริญญาตรีเท่า ๆ กับ อัตราเงินเดือนข้าราชการ ระดับ 3 วุฒิปริญญาตรี

                ตอบ  2  หน้า 85 – 86  อัตราค่าจ้างทั่วไป (Prevailing Wage Rate) หมายถึง อัตราค่าจ้างในสังคมที่เขาจ้างกันทั่ว ๆไป หรืออัตราค่าจ้างขององค์การเราที่จ่าย

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
jakpy_london ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอขอบ คุณเพื่อนๆ พี่ๆ คุณที่เอื่อเฟื้อแนวข้อสอบ ขอไทยเว็บ เทสไทย อยู่เคียงข้างบุคคลที่ยังย่อท้อต่อไป นานๆครับ
tunooedum ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 
ขอบคุณครับ
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1111111111111111111
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้