ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบเจ้าพนักงานปกครอง 3 ตำแหน่งปลัดอำเภอ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบเจ้าพนักงานปกครอง 3 ตำแหน่งปลัดอำเภอ

แชร์กระทู้นี้

1. การมอบหมายอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนในข้อใดไม่ถูกต้อง
1) นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
3) ปลัดกระทรวงมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
4) อธิบดีมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
5) ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจให้ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีน้ำมันดีเซลจากสถานค้าปลีกในเขต
จังหวัดได้ในอัตราลิตรละเท่าใด
1) ไม่เกิน 3 สตางค์
2) ไม่เกิน 5 สตางค์
3) ไม่เกิน 7 สตางค์
4) ไม่เกิน 9 สตางค์
5) ไม่เกิน 10 สตางค์

3. นโยบายทั่วไป กรมการปกครอง (พ.ศ.2550-2554) ด้านรักษาความสงบเรียบร้อยและความ
มั่นคงภายใน ข้อใด ไม่ถูกต้อง
1) การแก้ไขปัญหายาเสพติด
2) การจัดระบบบริหารจัดการด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้มีประสิทธิภาพ
3) ปรับปรุงกระบวนการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนให้เกิดความเป็นธรรม
4) สนับสนุนการรวมตัวของชุมชนให้เข้มแข็ง
5) จัดระเบียบการปกครองชาวเขาและชนกลุ่มน้อยให้มีประสิทธิภาพ

4. อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
แผ่นดิน พ.ศ.
1) 2534
2) 2535
3) 2536
4) 2537
5) ไม่มีข้อใดถูก

5. บุคคลใดมีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง
1) ประธานรัฐสภา
2) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
3) ประธานวุฒิสภา
4) นายกรัฐมนตรี
5) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

6. ข้อใดไม่ใช่การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนหรือขอเปลี่ยนบัตรตามความสมัครใจ
1) ผู้ถือบัตรซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
2) ลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม
3) ผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่ขอเปลี่ยนบัตร
4) ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
5) สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร

7. ข้อใดมิใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง
2) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
3) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
4) ศาลรัฐธรรมนูญ
5) คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
8. กรมการปกครอง เคยมีชื่อว่า
1) กรมมหาดเล็ก
2) กรมมหาดไทย
3) กรมพลำภัง
4) ถูกข้อ 1 และ 2
5) ถูกข้อ 2 และ 3
9. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มีอยู่หลายประการ
ยกเว้นข้อใด
1) บุคคลมีย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี
2) บุคคลซึ่งอายุเกิน 70 ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความ
ช่วยเหลือจากรัฐ
3) บุคคลมีสิทธิที่ฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละ
เว้นการกระทำ ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงาน
4) บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งกระทำการใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจใน
การปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
5)บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ

10. ข้อใดมิใช่สิทธิเสรีภาพที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
1) ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ได้
2) บุคคลมีเสรีภาพในการรวมกันตั้งสหภาพและสมาคม
3) การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง
4) พรรคการเมืองต้องแสดงที่มาของรายได้และการใช้จ่ายโดยเปิดเผย
5) บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหะสถานโดยปกติสุข

11. นายปริญญา นาคฉัตรีย์ เป็นอธิบดีกรมการปกครอง คนที่
1) 23
2) 24
3) 25
4) 26
5) 27
12. ข้อใดถือว่าเป็นบ้านตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547
1) แพซึ่งจอดประจำและมีเจ้าของ
2) ที่ทำการไปรษณีย์
3) โรงพยาบาล
4) เรือนจำ
5) ถูกทุกข้อ
13. ข้อใดไม่ใช่นโยบายเน้นหนักของกรมการปกครองปี 2554
1) ส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแบบพอเพียง
2) สนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้มให้มีประสิทธิภาพ
3) รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและอำนวยความเป็นธรรม
ให้แก่ประชาชน
4) ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการกำกับ ดูแล การปกครองท้องที่ อย่างมีประสิทธิภาพ
5) พัฒนาพลมืองของชาติให้มีความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
14. รอบการทำบัตรรอบหนึ่งมีระยะเวลากี่ปี
1) 4 ปี
2) 5 ปี
3) 6 ปี
4) 7 ปี
5) 8 ปี
15. อะไรไม่ใช่ภารกิจหลักของกรมการปกครองในทศวรรษหน้า
1) การอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน
2) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3) การพัฒนางานกิจการชายแดน
4) การพัฒนาระบบงานทะเบียน
5) การสนับสนุนช่วยเหลือการเลือกตั้ง
16. ส่วนราชใดต่อไปนี้ที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
1) ทบวงซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2) จังหวัด
3) อำเภอ
4) เทศบาลเมือง
5) เทศบาลตำบล
17. หัวหน้าส่วนราชการของกรมการปกครองในส่วนภูมิภาค คือ
1) ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด
2) ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ
3) ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ
4) ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด
5) ปลัดจังหวัด นายอำเภอ
18. ผู้ว่าราชการจังหวัดป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานได้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจึงทำหน้าที่แทนการ
ปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการจังหวัด ตรงกับข้อใด
1) รักษาราชการแทน
2) ปฏิบัติราชการแทน
3) รักษาการในตำแหน่ง
4) ปฏิบัติหน้าที่แทน
5) รักษาการแทน
19. ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่ได้แจ้งเหตุความ
จำเป็นซึ่งไม่อาจไป ใช้สิทธิเลือกตั้งผู้นั้นจะเสียสิทธิใด
1) สิทธิเลือกตั้งทุกประเภทในการเลือกครั้งต่อไป
2) สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
3) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
4) สิทธิสมัครเข้ารับราชการ
5) สิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
20. บุคคลใดสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านได้
1) นักพรต
2) เป็นลูกจ้างของเอกชนที่มีหน้าที่ทำงานประจำ
3) เป็นผู้ที่มีความรู้ต่ำกว่าภาคบังคับ
4) เคยถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง
5) เป็นกรรมการกลางอิสลามประจำมัสยิดในตำแหน่งคอเต็บ
21. การขอใช้ที่ดินสาธาระประจำหมู่บ้านจะต้องได้รับอนุมัติจาก
1) กระทรวงมหาดไทย
2) กรมการปกครอง
3) ผู้ว่าราชการจังหวัด
4) นายอำเภอ
5) สภาตำบล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล
22. ข้อใดหมายถึงเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
1) Self Reliance Economy
2) Self Enough Economy
3) Self Sufficient Economy
4) Self Dependency Economy
5) Self Community Economy
23. ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการทำแผนพัฒนา อบต. อย่างไร
1) ร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนา อบต.
2) เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร อบต.
3) เป็นคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนา อบต.
4) เป็นผู้กำกับ ตรวจสอบ การจัดทำแผนพัฒนา อบต.
5) เป็นกรรมการศูนย์ประสานการพัฒนา อบต.
24. สัตว์พาหนะตาม พ.ร.บ. สัตว์พาหนะ ได้แก่
1) ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา อูฐ
2) ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา
3) ช้าง ม้า โค กระบือ ลา อูฐ
4) ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ อูฐ
5) ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา อูฐ สุนัขที่ใช้ลากเลื่อน
25. ข้อใดถือว่าเป็นกรณี "การขอมีบัตรใหม่"เเอ๊คกรุ๊ป
1) บัตรเดิมหมดอายุ
2) บัตรเดิมสูญหายหรือถูกทำลาย
3) ผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัวหรือเปลี่ยนชื่อสกุล
4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
5) ถูกทุกข้อ
26. พินัยกรรมตามกฎหมายมีกี่แบบ
1) 2 แบบ
2) 3 แบบ
3) 4 แบบ
4) 5 แบบ
5) 6 แบบ
27. การทำพินัยกรรมที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอได้แก่
1) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายมือง เอกสารลับ และแบบธรรมดา
2) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เอกสารลับ และทำด้วยวาจา
3) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง แบบธรรมดา และทำด้วยวาจา
4) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เอกสารลับ แบบธรรมดา และทำด้วยวาจา
5) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เอกสารลับ แบบธรรมดา แบบเขียนเองทั้งฉบับ และทำด้วย
วาจา
28. นาย ก. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและทำบัตรประจำตัวประชาชนที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ปัจจุบันนาย ก. ได้มาทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และบัตรประจำตัวประชาชนที่ถืออยู่
หมดอายุ ข้อใดถูกต้องที่สุด
1) นาย ก. ต้องไปขอมีบัตรใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่เท่านั้น
2) นาย ก. สามารถใช้บัตรที่หมดอายุติดต่อธุรกิจได้
3) นาย ก. ไม่สามารถทำบัตรที่สำนักทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครได้
4) นาย ก. สามารถขอมีบัตรใหม่ได้ที่สำนักทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร หรือสำนัก
ทะเบียนในจ.เชียงใหม่ รวมทั้งสำนักทะเบียนในท้องที่ที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนด้วย
ระบบคอมพิวเตอร์
5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
29. การแจ้งคำสั่งทางการปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอย่างอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องทราบโดยวิธี ส่งทาง ไปรษณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดวันกี่
วัน นับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ
1) ห้าวัน
2) เจ็ดวัน
3) สิบวัน
4) สิบห้าวัน
5) ยี่สิบวัน
30. การแบ่งส่วนราชการภายในกรมให้ตราเป็น
1) พระราชบัญญัติ
2) พระราชกำหนด
3) พระราชกฤษฎีกา
4) กฎกระทรวง
5) คำสั่งกระทรวง 


DVD เตรียมสอบปลัดอำเภอ ที่กำลังจะเปิดสอบ ทั่วประเทศ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติว
และการติวสอบต้องใช้เวลาและเงินจำนวนมาก
แต่จะดีไหมถ้าท่านสามารถติวสอบเองได้เองหรือบางท่านอาจจะไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ท่านก็สามารถเอาไฟล์ MP3
จากแผ่นนี้ไปลงใน มือถือ ipad iphone ใช้ฟังในรถยนต์ หรือฟังควบคู่กับการทำกิจกรรมต่างๆ ท่านก็สามารถจำได้เท่ากับการอ่าน

MP3 ติวสอบปลัดอำเภอ
" ประกอบด้วย เนื้อหา และแบบฝึกหัด 
การันตีได้ผล...วัดจากการมีผู้สอบได้แล้ว
แผ่น DVD ประกอบด้วย

หลักการและกระบวนการบริหารแนวใหม่
ความรู้พื้นฐานในการปฎิบัติราชการ
MP3 พรก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 
MP3 พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ
MP3 พรบ. ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน
MP3 พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน
MP3 พรบ. พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
MP3 พรบ.ว่าด้วยการรักษาความลับของราชการ 
MP3 พรบ. ระเบียบงานสารบรรณ
MP3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พศ.2557
กฎหมายทั่วไป
MP3 กฎหมายอาญา
MP3 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
MP3 วิธีพิจารณาความแพ่ง
MP3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
E-Book สรุป ข่าวเด่น สถานการปัจจุบัน ข่าวไทย และทั่วโลก
E-Book รวมแนวข้อสอบเก่าปลัดอำเภอ ปี 39,43,48,51,55
*รับประกันคุณภาพ*    
สอบถามรายละเอียดที่  

Line : testthai1

ราคาชุดละ 2,500 บาท / จัดส่งถึงที่...
คอร์ส DVD
 ชุดเตรียมสอบ+ หนังสือแนวข้อสอบปลัดอำเภอ

จำหน่ายเอกสารเตรียมสอบปลัดอำเภอ
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ 

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกรมการปกครอง

- ความรู้พื้นฐานในการปฎิบัติราชการ

- สรุปกฎหมายทั่วไป ที่ใช้สอบ

ความรู้ควมเข้าใจในการปกครอง

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2539

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2543

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2548

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2551

- แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ปี 2555


สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
รวบรวม ถาม-ตอบ  เกี่ยวกับข้อสอบปลัดอำเภอ
1.    ถาม การอนุญาตในการปกพาอาวุธปืนให้ใครอนุญาต
ตอบ  1.กรณีบุคคลทั่วไป
พรบ.อาวุธปืน
มาตรา ๒๒ ให้เจ้าพนักงานต่อไปนี้ มีอำนาจออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน มีอาวุธปืนติดตัวไปได้ตามความที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(๑) อธิบดีกรมตำรวจ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร และทั่วราชอาณาจักร
(๒) ผู้ว่าราชการจังหวัด เฉพาะภายในเขตจังหวัดของตน และเฉพาะผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น
2.กรณีเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง
เป็นไปตามระเบียบ มท ว่าด้วยการพาและใช้อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครอง 2546 สรุปสาระสำคัญคือ จะพาอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ หรือได้รับมอบให้มีและใช้โดยชอบด้วยกฎหมายติดตัวในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบ
***1.อำนาจในการออกใบอนุญาตให้มีและใช้ (ไม่รวมถึงการพา) เป็นอำนาจของนายทะเบียนอาวุธปืน ซึ่งในเขต กทม.ได้มีการแก้ไขประกาศแต่งตั้งนายทะเบียนเป็นอธิบดีกรมการปกครอง มาเมื่อปี 2548
2.ส่วนอำนาจในอนุญาต ให้มีอาวุธปืนติดตัวไป (คือการพา) อยู่ในตัวบทกฎหมายอาวุธปิน มาตรา ๒๒ ซึ่งยังไม่มีการแก้ไขกฎหมาย หนังสือเวียนเป็นแต่เพียงการแจ้งแนวทางปฏิบัติในกรณีต่างๆ เท่านั้น ไม่อาจไปยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายได้ ฝากไว้นิดนึง ในการสอบของกรมการปกครองขอให้น้องๆ ยึดตัวบทกฎหมายเป็นลำดับแรกในการดูคำตอบครับ ตัวอย่างคำถามอมตะในเรื่องนี้คือ ถ้าถามว่านายอำเภอสังกัดใด ถ้าให้เลือกระหว่าง กรมการปกครอง กับ กระทรวงมหาดไทย ต้อ เลือกตามกฎหมายคือ กระทรวงมหาดไทย
****คำสั่ง มท เมื่อปี 2549 ให้จำกัดการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวเป็นการชั่วคราว เลยค้นในเครื่องคัดลอกมาให้ดูครับ แต่ถ้าหลังกว่านี้จะลองไปหาข้อมูลให้อีกที เนื่องจากยังมีความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อเสริมสร้างความ มั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๗ แห่ง พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ให้จำ กัดการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวในเขตกรุงเทพมหานครและทั่ว ราชอาณาจักร โดยให้ระงับการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวในเขตกรุงเทพมหานครและทั่ว ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หากบุคคลใดมีความจำเป็นพิเศษมากกว่าปกติธรรมดา และ ประสงค์จะขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวจะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน โดยการอนุมัติของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕
****มาตรา ๕๗ ในคราวมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน รัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งห้ามหรือจำกัดการออกใบอนุญาตทุกประเภทหรือบางประเภทในชั่วระยะเวลาที่กำหนดหรือจะออกคำสั่งโดยประกาศหรือแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตส่งมอบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิดแก่เจ้าพนักงานเพื่อเก็บรักษาไว้หรือจะสั่งให้จำหน่ายเสียก็ได้ ในกรณีที่สั่งให้จำหน่ายให้นำมาตรา ๖๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลมและถ้าไม่อาจปฏิบัติตามที่กล่าวแล้ว จะสั่งให้จำหน่ายแก่ทางราชการในราคาอันสมควรก็ได้
คำสั่งนี้จะกำหนดให้ใช้บังคับในบางท้องที่หรือทั่วราชอาณาจักรก็ได้

2.  ถาม   ปัจจุบันนี้ พรบ โรงแรม กำหนดให้โรงแรมมีกี่ประเภท
ตอบ กฎกระทรวงซึ่งออกตาม พรบ.โรงแรม คือ กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 กำหนดประเภทโรงแรมไว้ 4 ประเภท คือประเภท 1 ถึง 4 โดยแบ่งตามธุรกรรมที่โรงแรมนั้นทำ เช่น ประเภท 1 หมายถึงให้บริการห้องพักอย่างเดียว ประเภท 2 ถึง 4 ก็จะมีเพิ่มเรื่องห้องอาหาร สถานบริการ ห้องประชุมสัมมนา
3. ถาม เกี่ยวกับสังกัดของข้าราชการ กระทรวงมหาดไทย
  ตอบ 1.ตำแหน่งนายอำเภอ เป็นตำแหน่งตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งตามกฎหมายนี้ ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีตำแหน่งอยู่ 4 ตำแหน่งเท่านั้นที่มีการระบุสังกัดไว้คือ ผู้ว่า รองผู้ว่า ผู้ช่วยผู้ว่า และนายอำเภอ โดยในกฎหมายระบุว่าสังกัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนตำแหน่งปลัดจังหวัด ปลัดอำเภอไม่มีการระบุสังกัดไว้
2.การที่กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดชื่อตำแหน่งต่างๆ ไว้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีตำแหน่งในการบริหารงานบุคคลเสมอไป เช่น ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ว่า ก็ไม่ตำแหน่งในการบริหารงานบุคคลจริงๆ
3.การจะมีตำแหน่งในทางการบริหารงานบุคคล เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งฉบับปัจจุบันให้ดูมาตรา 44 ซึ่งกำหนดว่า นอกจากตำแหน่งที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ.กระทรวงอาจกำหนดตำแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ.ทราบ และมาตรา 47 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ.กระทรวงกำหนด
ซึ่งตำแหน่ง ปลัดจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอ ก.พ.(กฎหมายเดิมเป็นอำนาจของ ก.พ.)กำหนดเป็นตำแหน่งในสังกัดกรมการปกครอง เมื่อเป็นข้าราชการกรมการปกครองก็ต้องรับเงินเดือนจากกรมการปกครอง
หมายเหตุ :ตอนนี้พี่ไม่ได้เป็นปลัดอำเภอแล้วครับ
4. ถาม การตั้ง เมือง พัทยา  
ตอบ ตัง โดย พรบ. แก้ไข เปลี่ยนแปลง ใช้ พรฏ.
5.  ถาม โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกรมการปกครอง มีกี่สำนัก กี่กอง กี่วิทยาลัย
ตอบ  1 วิทยาลัย 5 สำนัก 5 กอง 5 ภายใน
***คำถามที่ ๑ โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของกรมที่มีสถานะตามกฎหมายนั้น จะหมายถึงส่วนราชการที่ปรากฎใน กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการของกรม2545 ซึ่งมีดังนี้
ส่วนราชการระดับกอง มี 5 แห่ง คือ สำนักงานเลขา กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง กองสื่อสาร และกองวิชาการและแผนงาน
ส่วนราชการระดับสำนัก (ผู้บริหารระดับ 9) มี 6 แห่ง คือ วิทยาลัยการปกครอง สำนักการสอบสวน สำนักกิจการความมั่นคง สำนักบริหารการทะเบียน สำนักปกครองท้องที่ และสำนักอาสารักษาดินแดน
แต่ที่น้องๆ จะโดนคำถามหลอก คือ ในการบริหารราชการจะมีการแบ่งส่วนราชการภายใน (หรือง่ายก็คือส่วนราชการที่ไม่มีฐานะตามกฎหมาย) ซึ่งปัจจุบันของกรมมี สำนักงานผู้ตรวจ กองตรวจสอบระบบบัญชร กลุ่มพัฒนาระบบราชการ ศูนย์สารสนเทศ สำหรับสำนักยุทธศาสตร์ฯ เป็นการเปลี่ยนภายในจาก กองวิชาการมาเป็นสำนักนี้
ดังนี้ เวลาอ่านคำถามต้องอ่านให้ดีว่าถาม ถึงส่วนราชการตามกฎหมาย หรือรวมถึงส่วนราชการภายในด้วย
6.ถาม เกี่ยวกับเรื่องสำนักทะเบียน
ตอบ ข้อ 1. ตอบ ถูกต้องแล้วครับ พรบ.ทะเบียนราษฎร ฉบับที่ 2 จะใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งหมายถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2551 นี้ (สอบไปแล้วมั้ง)
ดังนั้นในการสอบดูให้ดีว่าคำถามถามอย่างไร อย่าให้พลาดจากการอ่านคำถาม แต่อย่างไรก็ต้องดูฉบับที่ 2 ด้วย เพราะมีประเด็นเล็กประเด็นน้อยที่แก้ไข แต่หลักการใหญ่ยังคงเดิม
2. ในระเบียบสำนักทะเบียนกลาง กำหนดอำนาจในการอนุมัติเรื่องต่างๆ อยู่ 2 ตำแหน่ง คือ นายทะเบียน และ นอ. (จะเป็นเรื่องยากๆ)
ในส่วนของ นอ.ปกติผู้รักษาราชการแทน หรือได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนจะมีอำนาจที่จะอนุมัติแทน นอ.ได้ทุกเรื่อง เว้นแต่ที่สำนักทะเบียนกลางสงวนให้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผุ้ที่เป็น นอ. เท่านั้น ตามหนังสือ ว 10/2545 คือ เรื่องที่ยากๆ และเสี่ยงต่อการทุจริต ได้แก่
การรับแจ้งเกิดเกินกำหนด กรณีเด็กอายุเกิน 7 ปี การเพิ่มชื่อกรณีตกสำรวจ การเพิ่มชื่อกรณีไม่มีเอกสารมาแสดง และการแก้ไขรายการสัญชาติจากสัญชาติอื่นเป็นสัญชาติไทย
แต่ก็เว้นในกรณีตำแหน่ง นอ.ว่าง หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการติดต่อกันได้เป็นเวลานาน จึงให้ ผู้รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาราชการแทนอันดับแรก เป็นผู้พิจารณาสั่งการแทนได้
น้องอ่านหนังสือละเอียดดีครับ ขอให้โชคดีในการสอบครับ ถ้ายังสงสัยอยู่ก็ถามมาใหม่ได้นะครับ
7. ถาม เกี่ยวกับ กระทรวง ทบวง กรม
ตอบ การยุบส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
8. ถาม สำนักทะเบียนมีอะไรบ้าง
ตอบ สำนักทะเบียน ถ้าพูดถึงตามกฎหมายทะเบียนราษฎรนะครับ (กฎหมายก็มี) จะพูดถึงแต่สำนักทะเบียนที่ปฏิบัติงาน คือ สำนักทะเบียนอำเภอ และท้องถิ่น ในปัจจุบันมี 2014 แห่งประกอบด้วย สนท.อ. 877 สนท.เขตใน กทม 50  สนท.เมืองพัทยา 1 สนท.เทศบาล 1086 (รวมท้องถิ่น 1137) แห่ง
9.ถาม เกี่ยวกับ ป่าไม้
ตอบ ถ้าถามเรื่องการปราบปราม จะเป็นของ กลุ่มงานความมั่นคง ในที่ทำการปกครองจังหวัด และ ฝ่ายความมั่นคง ในที่ทำการปกครองอำเภอ แต่ถ้ามีการจับกุมเป็นคดีที่ต้องมีการสอบสวนคดีอาญาแล้ว การสอบสวนจะไปอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มปกครองและอำนวยความเป็นธรรม (จังหวัด) และ ฝ่ายอำนวยความเป็นธรรม (อำเภอ
10. ถาม  เกี่ยวกับ วช  หรือ สน.ยอ.
ตอบ สำนักยุทธศาสตร์ เป็นหน่วยงานภายในที่ต้องการให้เป็นระดับสำนัก แต่ในทางกฎหมายยังมีฐานะเป็นกองวิชาการอยู่ ผู้อำนวยการก็ยังเป็นระดับ 8 อยู่เหมือนเดิม
ข้อสอบคราวนี้คำถามคำตอบจะมีความชัดเจน ไม่กำกวม แต่ก็อาจต้องใช้การวิเคราะห์ด้วย ลองดูตัวอย่างคำถามนี้ จะตอบว่าอย่างไร
Q ราชการบริหารส่วนกลางของกรมตามกฎกระทรวงมีเท่าใด
A เวลาตอบต้องตอบตามกฎกระทรวง
Q ในราขการส่วนกลางของกรม มีส่วนราชการตามกฎหมายและภายในรวมเท่าใด
A อันนี้ต้องตอบทั้งหมดรวมทั้งตามกฎหมายและภายใน
Q ในปัจจุบัน ปค.มีส่วนราชการระดับสำนักกี่แห่ง
A เป็นคำถามกำกวม ต้องดูคำตอบ แต่ถ้ามี choice ให้เลือก 6 หรือ 7 ถ้าผมจะตอบตามกฎหมายคือ 6
แต่คำถามกำกวมแบบนี้ไม่มีแน่นอนครับ
11. ถาม  เกี่ยวกับประเภทของบัตร
ตอบ  กฎกระทรวง ฉบับ 18 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกตาม พรบ.บัตร กำหนดบัตรไว้ 3 ชนิด คือ
1.บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันไม่มีแล้ว แต่เดิมเป็นบัตรที่ต้องส่งมาผลิตที่กรม ผู้ที่ไปถ่ายบัตรจะได้ใบเหลืองกลับไปก่อน
2.บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือ บัตรแถบแม่เหล็ก
3.บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ คือ บัตร smartcard
** 1.บัตร smartcard กระทรวง ICT เป็นผู้จัดหาส่งให้กรมการปกครอง เมื่อสองสามวันนี้ก็เพิ่งออกข่าวการรับมอบบัตรรุ่นใหม่นะครับ
2.ความจุของชิปเท่าไร 64 kbyte
3.ทำบัตรฟรีทุกกรณีถึงสิ้นปีใช่ไหม ไม่ใช่ครับ เปลี่ยนบัตรเพราะบัตรเดิมหมดอายุนะฟรีอยู่แล้ว แต่กรณีอื่นๆ ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
12. ถาม เกี่ยวกับผู้รักษาการ แทน นอ.
ตอบ ผู้ที่จะรักษาราชการแทน นอ.ได้มี 2 ตำแหน่งคือ ปลัดอำเภอ กับ หน.ส่วนราชการประจำอำเภอ
คำว่า หน.ส่วนราชการประจำอำเภอ นั้นหมายถึง หน.ของส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย โดยจะดูว่าส่วนราชการใดเป็นส่วนราชการประจำอำเภอก็จะดูได้จากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมนั้นๆ ว่ามีการแบ่งส่วนราชการเป็นภูมิภาคไว้หรือไม่ และถ้ามี มีแบ่งเป็นระดับอำเภอหรือเปล่า เช่น กรมการพัฒนาชุมชน ก็มีการแบ่งส่วนราชการเป็น ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และสำนักงานพัฒนาชุมชนกิ่งอำเภอ (ว่าตามกฎหมายนะครับ)
แต่ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ได้มีการแบ่งส่วนราชการเป็นภูมิภาคไว้ ท้องถิ่นอำเภอ จึงไม่ได้เป็น หน.ส่วนราชการประจำอำเภอ เมื่อไม่ได้เป็น หน.ส่วนราชการประจำอำเภอ จึงรักษาราชการแทน นอ.มิได้ง
ส่วนตำแหน่ง สัสดีอำเภอ เป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีการจัดส่วนราชการเป็นการเฉพาะ และถือกันมาว่า หน่วยสัสดีอำเภอ เป็นส่วนราชการประจำอำเภอของ กห. (แต่โดยส่วนตัว เคยถกเถียงในเรื่องนี้กับหลายคนอยู่เหมือนกันว่าใช่แน่หรือ พยายามค้นหาเอกสารอ้างอิงที่เป็นตัวบทกฎหมายในเรื่องสัสดีอำเภอ ก็ยังหาไม่ได้เลยครับ)
เกือบลืม บอกไว้เลยนะครับ ว่า ปศุสัตว์อำเภอ ไม่ใช่ หน.ส่วนราชการประจำอำเภอ อย่าให้โดนข้อสอบหลอก
13.    ถาม เกี่ยวกับ ส่วนการปกครอง แต่ละประเภท
ตอบ ตอนนี้เท่าที่มีก็คือ จังหวัด75 (+1กทม) อำเภอ 877 ตำบล 7255 หมู่บ้าน 72944 เทศบาล 1276 ( นคร 23 เมือง 129 ตำบล 1124 ) อบต 6500 ท้องถิ่นพิเศษ 2 ( กทม+พัทยา
14.    ถาม เกี่ยวกับการตั้งกิ่งอำเภอ
ตอบ การยกฐานะกิ่งอำเภอทั้ง 81 แห่งเป็นอำเภอเมื่อปีที่แล้ว ทั้งหมดมีอายุการเป็นกิ่งอำเภอเกิน 3-5 ปีทุกแห่งครับ เพราะหลังๆ เขาไม่ให้ตั้งกิ่งอำเภอมานานแล้ว อ้อ ขออภัย มีอยู่กิ่งเดียวที่ไม่ถึง คือ กิ่ง..น่าจะชื่อเวียงเก่า ที่ขอนแก่นนะ แยกมาจาก เขาสวนกวาง (ขออนุญาตไม่บอกนะว่าทำไมตั้งมาได้ทีหลัง)
เหตุผลในการยก ดูจากข่าวการประชุม ครม.นะครับ โดยกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยนำเรื่องยกฐานะกิ่งอำเภอที่มีอยู่ในปัจจุบัน 81 แห่ง เป็นอำเภอ โดยขอยกเว้นหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา
ในคราวการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 มีมติเห็นควรอนุมัติหลักการให้ยกฐานะกิ่งอำเภอเป็นอำเภอ เฉพาะกลุ่มที่ 1 กิ่งอำเภอที่มีศักยภาพสูง 20 แห่ง ทางกระทรวงมหาดไทยจึงได้ถอนเรื่องกลับไปจากการประชุม ครม.คราวก่อน และได้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แล้วเห็นว่าการยกฐานะกิ่งอำเภอ เป็นอำเภอ 81 อำเภอนั้น ยังมีเหตุผลและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง จึงเสนอ ครม.พิจารณาเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ ยังถือเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2550
เหตุผลที่ได้คือสิ่งอยู่ตอนท้าย
15.    ถาม  เกี่ยวกับกฎหมายการทะเบียนราษฎร
ตอบ คำว่า 'บ้าน' เป็นเรื่องที่มีการนำมาออกข้อสอบอยู่ประจำ เพราะคนมักจะสับสนระหว่างกฎหมายสองฉบับ
หลักการมีอยู่ว่า
***กฎหมายปกครองท้องที่ จุดมุ่งหมายคือการจัดระเบียบการปกครอง ดังนั้น บ้านจึงนับเฉพาะ บ้านในเขตการปกครองที่เป็นของราษฎรจริงๆ
'วัด โรงพยาบาล โรงทหาร โรงเรียน เรือนจำ ที่ทำการไปรษณีย์ สถานีรถไฟ สถานที่ต่างๆ ของรัฐบาล อยู่ในความปกครองของหัวหน้าในที่นั้น จึงไม่นับเป็นบ้านตาม
พระราชบัญญัตินี้'
***กฎหมายการทะเบียนราฎษร จุดมุ่งหมายคือการจัดเก็บข้อมูลและทำทะเบียนราษฎร โดยจะเก็บข้อมูลสองอย่างใหญ่ๆ คือ โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างที่คนอาศัยอยู่ได้ และ คน
ดังนั้น บ้านจึงนับทุกอย่างที่คนสามารถอาศัยอยู่ได้ วัด (พระอยู่) บ้านพักในโรงเรียน (ครูอยู่ ใช้บ้านเลขที่ของโรงเรียน) เรือนจำ (นักโทษอยู่) แม้แต่รถนอนแบบในหนังฝรั่ง
ถ้าเป็นที่อยู่อาศัยประจำ (คือไม่เคลื่อนย้านไปไหน) ก็นับว่าเป็นบ้าน
ดังนั้น หลักการจำ คือ สิ่งที่เป็นของหลวงนับเฉพาะทะเบียนราษฎรเท่านั้น
สำหรับ แพ และเรือนั้น ให้นึกถึงสมัยก่อนที่คนไทยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ปัจจุบันก็ยังพอมีที่พิษณุโลกหรืองัยนี่แหละ ดังนั้น แพ และเรือ จึงเข้าข่ายเป็นบ้านของราษฎร เข้าทั้งสองกฎหมาย
16.    ถาม เกี่ยวกับกฎหมาย อ่านและจำอะไรในกฎหมาย
วันที่ ผู้รักษาการ คำนิยาม หลักการสำคัญของบทบัญญัติ ชื่อผู้มีอำนาจ ผู้ปฏิบัติ คณะกรรมการในกฎหมาย
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ ข้อห้ามในการปฏิบัติ เงื่อนไขระยะเวลา เหตุความผิด และโทษที่กำหนด อัตราค่าธรรมเนียม ค่าปรับ
17.    ถาม HOLLY WOOD MODEL เป็นคำพูดที่อธิบายวิธีการบริหารงานแบบหนึ่ง คือ มาจากวิธีการสร้างภาพยนในฮอลิวูด คือ เวลาจะทำหนังสักเรื่อง
ผู้อำนวยการสร้าง ก็จะหาผู้กำกับ ดารา คนเขียนบท ช่างภาพ.....จากที่ต่างๆ ที่คิดว่าเหมาะกับงานชิ้นนั้นๆ มาร่วมกันทำงานให้สำเร็จ งานเสร็จแล้วก็แยกย้ายกันไป
ไม่ติดกับโครงสร้าง ในการบริหาร สมมุติว่าจะทำงานสักอย่างที่สำคัญ ผู้บริหารที่เล็งเห็นผลก็ใช้วิธีการนี้ได้ โดยการรวมคนเก่งๆ จากหน่วยงานต่างๆ ใน
องค์กร แทนหลักการแยกงานกันทำ
18.    ถาม เจ้าบ้าน ตามพรบ.ทะเบียนราษฎร ( ตอบแบบไม่เปิด พรบ )
หมายถึง เจ้าในฐานะ ครอบครอง หรือ ผู้เช่า
รวมไปถึง ผู้ดูแลบ้าน ในกรณีที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน คำว่า "เจ้าบ้าน" นั้น ไม่เกี่ยวกับเรื่อง "สิทธิ" ในตัวบ้าน
ดังนั้น เจ้าบ้าน จึงมีได้หลายฐานะ ใน กม.ปกครองท้องที่ และทะเบียนราษฎร
นิยามไว้คล้ายๆ กัน คือ จะเป็น เจ้าของ ผู้เช่า หรือผู้ครอบครอง หรือผู้อาศัยที่ทำหน้าที่ดูแลบ้านนั้น
19.    ถาม อุทธรณ์ค้าของเก่า ขออนุญาติค้าของเก่าแต่เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาติต้องอุทธรณ์ต่อใครภายในกี่วันครับ คืออ่านหลายเล่มแล้วเขียนไม่ตรงกันครับ
ตามกฎกระทรวงกำหนด ให้อุทธรณ์ต่อ รมว.มท.ครับ แต่วิธีการยื่นคำอุทธรณ์ ให้ยื่นคำอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
20.    ถาม แผนของ กพร. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551- พ.ศ. 2555) เป็นแผนของ ก.พ.ร.ครับไม่ใช่แผนชาติหรือแผนของกรม ฉบับที่แล้ว 2546-50
21.    ถาม เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง  ตอบ เทคนิคการเข้าใจ กฎหมายปกครองอย่างไรครับ
*** กฎหมายปกครองเกือบทั้งหมด จะมีอยู่ 4 เรื่อง คือ
1.โครงสร้าง คือ มีการกำหนดการแบ่งส่วนราชการ หรือหน่วยการปกครอง เป็นอะไรบ้าง มีหลักเกณฑ์อย่างไร
2.ตำแหน่ง คือ จะกำหนดว่าตำแหน่งอะไรในโครงสร้างอะไรบ้าง เช่น มี นายอำเภอในอำเภอ มีนายก อบต. รองนายก อบต. ใน อบต. เป็นต้น
3.อำนาจหน้าที่ขององค์กรและตำแหน่ง คือ กฎหมายกำหนดให้อำนาจหน้าที่ส่วนราชการไว้อะไรบ้าง และกฎหมาย
กำหนดอำนาจหน้าที่ให้แก่ตำแหน่งต่างๆ ในกฎหมายไว้อย่างไร เช่น จังหวัด มีอำนาจหน้าที่อะไร นายอำเภอ มีอำนาจหน้าที่อะไร อบต.มีอำนาจหน้าที่อะไร
4.วิธีการปฏิบัติราชการ ในกรณีปกติและกรณีไม่ปกติ คือ จะบอกถึงสายการบังคับบัญชา ใครบังคับบัญชาใคร อย่างไร การปฏิบัติราชการแทน การรักษาราชการแทน
การรักษาการแทน
***นี่คือหัวใจของกฎหมายปกครอง พี่ใช้บรรยายมานานแล้ว ถ้าจัดระบบความรู้ให้เข้ากับ 4 เรื่องนี้ได้ จะจำได้ง่าย
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
แนวเทคนิคข้อสอบปลัดอำเภอ

ระเบียบข้าราชการพลเรือน 1.เมษา 2535 (นายกรักษาการ)
กรณีการตอบคำตอบที่มีข้อถูกที่สุดให้เลือกตอบข้อที่ถูกที่สุดตามกฏหมายหลัก เช่นตามรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ก่อนแล้วรองลงมาเป็น พรบ.
ก.พ. = คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน = 15-17 คน < 5 + 5+5-7 > ( โดยการโปรดเกล้าฯ )



ตำแหน่ง = 5 คน ข้าราชการ = 5 คน = 2 ปี ผู้ทรงคุณวุฒิ = 5 - 7 คน = 2 ปี

- นายก ประธาน - ปลัด, รองปลัด - อธิบดี,เทียบเท่า C.10
- ปลัด คลัง - หัวหน้า , รองหัวหน้าไม่สังกัด - ผู้ชำนาญการระบบราช,จัด
- ผอ. งบ - หัวหน้า , รองหัวหน้าขึ้นตรงนายก ส่วน,พัฒนาองค์บริหาร
- เลขาเศรษฐกิจสังคม - อธิบดี,ผู้ว่า กฎหมาย (ได้แค่ 3 คน)
- เลขา กพ. C.10 นั้นยกเว้นขึ้นตรงและไม่สังกัด


อกพ.กระทรวง = 11 คน * อกพ. ตามกฎหมายมี 4 ระดับ
1. กระทรวง
2. ทบวง
ตำแหน่ง = 3 ประธานแต่งตั้ง = 8 3. กรม
4 จังหวัด.
- รมว. ประธาน 1คน - คุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่าอธิบดี 3 คน 3 = C.10
- ปลัด รองประธาน 1คน - เลือกจากข้าราชการ C.10 ขึ้นไป 5 คน 5
- ผู้แทน กพ. 1 คน

อกพ. กรม = 11 คน กพ. = 15-17
อกพ.กระทรวง = 11
อกพ.กรม = 11
ตำแหน่ง = 2 ประธานแต่งตั้ง = 9 อกพ.จังหวัด = 11
ภพร = 13
- อธิบดี ประธาน - คุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่าผอ. รอง 3 คน = C8
- รองอธิบดีมอบหมาย 1 คน - เลือกจาก ผอ.รองขึ้นไป 6 คน = C8


อกพ.จังหวัด = 11 คน


ตำแหน่ง = 2 ประธานแต่งตั้ง = 9

- ผู้ว่า ประธาน - คุณวุฒิไมต่ำกว่า 3 คน = C8
- รองผู้ว่ามอบหมาย 1 คน - เลือก จากหัวหน้าส่วนจังหวั ด 6 คน


กพร.กรรมการพัฒนาระบบราชการ = 13 คน


ตำแหน่ง = 3 ครม.แต่งตั้ง = 10

- นายก / รองมอบหมาย ประธาน - คุณวุฒิ 10 คน = วาระ 4 ปี
- รมต 1 คน * - คุณวุฒิ 3 คน ด้วยการทำงานเต็มเวลา
* - กก.กล. 1 คน

* กพร. ไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงนายก
มีเลขา กพร. เทียบเท่า อธิบดี

ข้าราชการพลเรือน คือ บุคคล บรรจุ ตามพรบ. รับเงินเดือน กระทรวง ทบวงกรมฝ่ายพลเรือน
ข้าราชการพลเรือน มี 3 ประเภท 1. พลเรือนสามัญ รับเงินเดือนในอัตราสามัญ
2. พลเรือนในพระองค์ ตามกำหนด กรฎ.
3. พลเรือนประจำต่างประเทศ กรณีพิเศษ
ข้าราชการพลเรือน มี 3 ตำแหน่ง 1. ทั่วไป
2. วิชาชีพเฉพาะ , เชี่ยวชาญเฉพาะ ตามกำหนด กรฎ.
3. บริหารระดับสูง , กลาง ตามกำหนด กรฎ.
ข้าราชการพลเรือน มี 11 ระดับ
กพ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

การบรรจุ

- C.11 = รมต ครม. นายกทูลแต่งตั้ง รมต.บรรจุ
- C.10 = ปลัด ครม. นายกทูลแต่งตั้ง ปลัดบรรจุ
- C.9 = ปลัดบรรจุแต่งตั้ง
- C.8 = อธิบดีบรรจุโดยขอปลัด
- C.7 = อธิบดีบรรจุแต่งตั้ง (ส่วนกลาง)
- C.7 = ผู้ว่าบรรจุแต่งตั้ง (ยกเว้นหัวหน้าส่วนประจำจังหวัด)

- โรคที่ห้าม ตาม กฎ กพ. 5 อย่าง = โรคเรื้อน , วัณโรค , โรคเท้าช้าง , ติดยาเสพติด , พิษสุรา
- ออกไปรับราชการ ทหาร ขอกลับ ภายใน 180 วัน นับแต่วันพ้น (ปลด)
- กรณีตำแหน่ง ว่าง หรือ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ และมิได้บัญญัติไว้ในพรบ. แผ่นดินให้กำหนด การรักษาการในตำแหน่ง = พลเรือน
วินัย คือ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแบบแผนความประพฤติที่กำหนดให้ข้าราชการพึงควบคุมตนเอง และผู้ใต้บังคับ
โทษ 5 สถาน = 1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน ไม่ร้ายแรงโทษตามความเห็นผู้บังคับบัญชา
3. ลดขั้นเงิน * ทัณฑ์บน , ว่ากล่าว
4. ปลดออก ร้ายแรง ตั้งกรรมการสอบ ไม่ใช้โทษทางวินัย
5. ไล่ออก
การตัดเงินเดือน – ลดขั้น
ระดับ - กอง = 5% - 1 เดือน
- สำนัก = 5% - 2 เดือน
- ผู้ว่า , กรม = 5% - 3 เดือน ลด 1 ขั้น

การอุทธรณ์

คำสั่งต่ำกว่า
- ผู้ว่า อุทธรณ์ อกพ.จังหวัด
- อธิบดี กรม
คำสั่งของ - ผู้ว่า , อธิบดี อกพ. กระทรวง
คำสั่งของ - ปลัด นายก กพ.

* คำสั่งลงโทษ ตัด – ลดเงินเดือน อุทธรณ์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
* คำสั่งลงโทษ ปลด – ไล่ อุทธรณ์ต่อ กพ. ใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
* การร้องทุกข์ กรณีถูกสั่งให้ออกไม่ว่ากรณีใดให้ ร้องทุกข์ ภายใน 30 วัน
* สนง.เลขา รมต ว่าการกระทรวง / ทบวงและสนง.ปลัดกระทรวง / ทบวง ทำหน้าที่ อกพ. กรม.
* C.10 , 11 แต่งตั้ง - ถอดถอนต้องนายกทูลเกล้า
- ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ = พระราชกฤษฏิกา
- กรณีหน่วยงานเห็นว่า กพ. กำหนดแต่งตั้งไม่เหมาะสม ให้เสนอเรื่องต่อ ครม.
- ผอ.สำนักงบประมาณ C11. เป็นผู้บังคับบัญาหน่วยงานระดับกรม แต่ C11.
- ม. 68 = กำหนดการรักษาการในตำแหน่งไว้
- การโอน ผู้ว่า C10. มาดำรงตำแหน่ง รองอธิบดี C9. = ต้องได้รับอมุมัติจาก ครม.
- กรณีมี มลทิน หรือ มัวหมอง ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จ ฯ
- จรรยาบรรณข้าฯ ระบุไว้แผวพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 8
วุฒิ 200 6 < อายุ 40 > รัฐธรรมนูญ - 2840
คน รวม
ตรวจแผ่นดิน = 3 6
ตรวจเงิน = 10 6 วุฒิสนอง - วาระเดียว
กก. สิทธิ = 11 6

40 ปี กกต. = 5 7 วุฒิสนอง = วาระเดียว

45 ปี ปปช = 9 9
ศาลรัฐธรรมนูญ = 15 9 วุฒิสนอง = วาระเดียว
- กก. ศาล ยุติธรรม = 18
- ศาลปกครอง = 13 คน นายกสนอง
- กพ. = 15-17 คน
- กพร. = 13 คน
- อกพ. = 11 คน
- องค์มนตรี = 19 คน
- แผนกคดีเมือง = 9 คน
- กก. ปฏิบัติปกครอง = 11-15 คน
- กก. ข้อมูลข่าว = 24 คน
- กก. วินิจฉัย = 3 คน
- กก. ศาลยุติธรรม = 15 คน

ไม่ไว้วางใจ รมต. เสียง = 1/5
ไม่ไว้วางใจ นายก เสียง = 2/5
ไม่ไว้วางใจ ครม เสียง = 3/5
- เสอนชื่อ นายก สส. ไม่น้อย = 1/5 /ผู้นำฝ่ายค้านมีเสียง = 1/5
- เห็นชอบตั้งนายก ไม่น้อย = 1/2
- ครม. แถลงนโยบาย = 15 วัน แล้วเลขาครม ,เลขานายก,เศรษฐกิจสังคม,งบประมาณจัดทำแผน เสนอ ครม = 90 วัน 4 ปี
- ประชุมลับ = 1/4
- สภา ครบวาระ เลือกใหม่ = 45 วัน /กรณีว่างเลือกใหม่ 60 วัน สภาผู้แทนครบวาระ = 45
สภา ฯ - วุฒิครบวาระเลือกใหม่ =30 วัน /กรณีว่างเลือกใหม่ 45 วัน ยุบสภา = 60
- ยุบสภาครบวาระเลือกใหม่ =60 วัน วุฒิสภาครบ = 30
ว่าง = 45
รัฐธรรมนูญ = 11 ตุลา 2540 ปีที่ 52 ฉบับที่ 16 มี 12 หมวด 336 ม.
- * พรบ. ที่รัฐสภาเห็นชอบแล้ว นายกทูลฯ ภายใน 20 วัน
ผู้สำเร็จราชการ ฯ = ลงนามรับสนอง = ประธานรัฐสภา
= ยุบสภา = วุฒิสภา
- เปิดประชุม ปิด = พรฎ
- เลือก สส. ตราเป็น = พรบ.
- ผู้นำฝ่ายค้านมีเสียง = 1/5
- วุฒิพิจารณาร่าง ฯ ที่สภา สส. เสนอมา = 60 วัน เกิน 30 วัน/กรณีผ่านสภามาแล้วเห็นชอบ = 20 วัน
ยกร่างผ่าน 180 วัน ได้ทันที
- วุฒิ ฯ มีอำนาจถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งสูง
- กกต. ครบตามวาระเลือกใหม่ = 45 วัน(อายุ 40 ปี )
- แผนนิติบัญญัติ สน. เลขา นายก + สน. กฤษฎิกา

การรักษาราชการ , การมอบอำนาจ

* ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินระบุไว้ เรื่องการดำเนินการแทนคือ
1. การรักษาราชการแทน
2. การปฏิบัติราชการแทน
* แต่ถ้าตำแหน่งใดไม่มีบัญญัติไว้ใน พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 ให้ ใช้คำว่า รักษาการ เช่น
- รักษาการในตำแหน่ง
- หมายเหตุ กรณี ปลัดจังหวัดไม่ได้บัญญัติไว้แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความไว้ให้นายอำเภอรักษาราชการแทน
- การปฏิบัติราชการแทน = การมอบอำนาจในการสั่งการให้ผู้อื่นทำแทนตนโดยทำเป็นหนังสือ
หมายเหตุ การมอบอำนาจให้แล้ว ผู้ที่ได้รับมอบ จะมอบให้คนอื่นโดยพละการไม่ได้ แต่มีข้อกรณียกเว้น ถ้าเจ้าของอำนาจที่แท้จริง เขียนบัญญัติไว้ว่า ให้ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจไป อาจมอบอำนาจต่อให้ใคร…………ก็ได้ตามที่เจ้าของอำนาจเขียนไว้
* - กรณี ผู้ว่าได้รับมอบอำนาจมาจากผู้ที่ให้อำนาจ และผู้ว่าต้องการมอบอำนาจนั้นให้รองผู้ว่า กรณีเช่นนี้ ผู้ว่าสามารถมอบให้รองผู้ว่าได้เลย เพียงแต่แจ้งให้ผู้มีอำนาจ(เจ้าของ)ทราบเท่านั้น
- แต่ถ้าผู้ว่าจะมอบให้ปลัดจังหวัด ลงมา ผู้ว่าต้องขออนุมัติจากเจ้าของอำนาจเสียก่อนจึงจะมอบได้
* ผู้ว่าฯ สามารถมอบอำนาจให้ตั้งแต่รองผู้ว่าฯลงมา ปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่ง หัวหน้าส่วนอำเภอ ได้ แต่ไม่สามารถให้หัวหน้าส่วนกิ่งได้
- การรักษาราชการแทน กรณี
- ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอ ให้ผู้ว่าแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนประจำอำเภอ รักษาราชการแทน
- มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ แต่ไม่อาจปฏิบัติการได้ ให้นายอำเภอแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนประจำอำเภอ
- มิได้แต่งตั้งไว้(ผู้ว่าหรือนายอำเภอที่ได้แต่งตั้งไว้) ผู้รักษาราชการแทนไว้ให้ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนไว้
สาระสำคัญ
อุดมการณ์ แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง = - พัฒนาคน
= - พัฒนาชุมชน
= - พัฒนาสังคม
= - พัฒนาหมู่บ้านชนบท
พัฒนาอย่างมีดุลยภาพ = - พัฒนาเศรษฐกิจ (1)
3 ด้าน = - พัฒนาสังคม (2)
= - พัฒนาจิตใจ (3)
- เกษตร ทษฎีใหม่ แบ่งพื้นที่สัดส่วน =30-30-20-20
- S = if Sufficient Economy = เศรษฐกิจพอเพียง (SSE)
- การแจ้งคำสั่งทางปกครอง แจ้งทางไปรษณีย์ ภายในประเทศ = 7 วัน
- อาคาร ที่อยู่มีคนมากเกินไป =1:3 ตรม.
- การเช่า ไม่ได้กำหนดระยะเวลา = 6 ปี
- การค้น = - ค้นตัวบุคคล
- ค้นสถานที่
- แผนพัฒนาอำเภอ = 3 ประเภท - แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี
- แผนพัฒนาอำเภอ ประจำปี
- แผน ปฏิบัติการ อำเภอประจำปี
- รมว.มท = ผอ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร
- Re – X – Ry ประกาศล้างยาเสพติด = ครั้งที่ 3

คณะกรรมการสถานะการฉุกเฉิน

1. นายก / รองฯ มอบหมาย = ประธาน - มีคณะทั้งหมด รวมประธานด้วย = 19 คน
- เลขาธิการสภาความมั่นคง = เป็นเลขานุการ
- คารวาน แก้จน เริ่ม 1 สิงหาคม 2548
- Smrt crd = เริ่มตามกฏหมาย 1 กันยายน 2548 3 จังหวัดภาคใต้
- โครงการปลัดตำบล = สน. กิจการความมั่นคง ภายใน = ปลัดตำบล = 250 ตำบล 3 จังหวัดใต้

กฎหมาย
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ = มีข้อบังคับทั่วไป
1. รัฐธรรมนูญ = พรบ.ประกอบมี 7 ฉบับ
2. พระราชบัญญัติ = กษัตริย์ ตราขึ้น โดยความยินยอมของรัฐสภา พรบ. = ครม./สส = เสนอร่าง
(รัฐสภา = พิจารณา)
กษัตริย์ = ตรา
3. พระราชกำหนด = กษัตริย์ ตราขึ้น โดยคำแนะนำของนายกฯ พรก. = รมต/นายก = เสนอ
ครม = พิจารณา
กษัตริย์ = ตรา
4. พระราชกฤษฎีกา = กษัตริย์ ตราขึ้น โดยคำแนะนำของ ครม. พรฎ = รมต = เสนอ
ครม = พิจารณา
กษัตริย์ = ตรา
5. กฎกระทรวง = รมต. ดำเนินการให้เป็นไปตาม พรบ. กฎกระทรวง = รมต = เสนอ ครม = พิจารณา
รมต. = ตรา
6. กฎหมายที่ออกโดยองค์กรท้องถิ่น เทศบัญญัติ, ข้อบัญญัติจังหวัด, ข้อบัญญัติตำบล, ข้อบัญญัติกทม., ข้อบัญญัติพิทยา
- การใช้กฎหมาย ไม่มีผลย้อนหลัง ยกเว้น - ระบุไว้ในกม. นั้นเองว่าให้มีผลย้อนหลัง
- ไม่แย้งกันขัดรัฐธรรมนูญ
- การพยายามทำผิดและได้รับการยกเว้นโทษ = มี 3 กรณี
1. พยายามทำผิดลหุโทษ
2. กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ให้รับโทษ
3. ยับยั้งเสียเอง.
* ระยะเวลารอการลงโทษ = ไม่เกิน 5 ปี
โทษทางอาญา วิธีเพิ่มความปลอดภัย
1. ริบทรัพย์ 1. กักกัน อายุความ จับไม่ได้, ไม่ได้ฟ้อง
2. ปรับ 2. ห้ามเข้าเขต - 20 ปี = ประหาร ,จำตลอด , 40 ปี ขึ้นไป
3. กักขัง 3. เรียกประกันฑันถ์บน - 15 ปี = จำ 7 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 20 ปี
4. จำคุก 4. คุมตัวไว้สถานบริการ - 10 ปี = จำ 1-7 ปี
5. ประหารชีวิต 5. ห้ามประกอบอาชีพ - 5 ปี = จำ 1เดือน – 1 ปี
- 1 ปี = จำ 1 เดือนลงมาหรืออย่างอื่น
* คดียอมความได้ = 3 เดือนรู้เรื่องรู้ตัว
* คดีอุกฉกรรณ์ = จำคุกตั้งแต่ 10ปี ขึ้นไป


- สภาพบุคคล = เริ่มตั้งแต่คลอด ทารก ตาย
- การสิ้นสุดสภาพบุคคล - ตายธรรมชาติ
- ตามตามกฎหมาย = สาบสูญ 1. ธรรมดา = 5 ปี
2. พิเศษ 2 ปี ( สิ้นสุดสงคราม,พาหนะอับปาง, อันตรายชีวิต)
- การบรรลุนิติภาวะ = 20 ปี, สมรส

ผู้เยาว์ = ผู้แทนโดยชอบธรรม
วิกลจริต = คนบ้าแต่ศาลยังไม่ได้สั่ง
คนไร้ความสามารถ = ศาลสั่งให้คนวิกลจริตแล้ว = ผู้อนุบาล ทำแทนทุกเรื่อง
คนเสมือนไร้ความสามารถ = กายพิการ, สุรุ่ยสุร่าย, ติดสุรา = ผู้พิทักษ์ ทำแทนบางเรื่อง



- ภูมิลำเนา = ถิ่นอันบุคคลนั่นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ
- ภูมิลำเนานิติบุคคล = ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ - สาขา.
- ทรัพย์แบ่งได้ = แยกออกแล้ว แต่ละส่วนยังได้รูปบริบูรณ์
- ทรัพย์แบ่งไม่ได้ = แยกออกแล้ว เปลี่ยนสภาวะ
* - ทรัพย์นอกพาณิชย์ = ทรัพย์ที่ไม่สามารถยึดถือเอาได้, โอนไม่ได้ เช่น ที่สาธารณะ, สิ่งของที่กฎหมายห้ามโอน, ทรัพย์ให้ครอบ
- ดอกผลนิตินัย = ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า ลาภอื่น ๆ ที่ได้เป็นครั้งคราว

- นิติกรรม มี 4 ประเภท

1. ต้องทำเป็นหนังสือ = สัญญาเช่า
2. เป็นหนังสือต่อ จนท. = พินัยกรรมฝ่ายเมือง ฯ
3. จดทะเบียนต่อ จนท. = จดทะเบียนห้างฯ = สมรส, หย่า
4. ต้องทำเป็นหนังสือและจดต่อ จนท. = ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

- โมฆะ = ตกเป็นอันเสียเปล่าบังคับไม่ได้
- โมฆะ = นิติกรรมสมบูรณ์จนกว่าจะมีการบอกล้างแล้วจึงจะเสียเปล่า เว้นแต่จะให้ (สัตยาบัน) = การแสดงการยอมรับนิติกรรม


พรบ. ระเบียบบริหารแผ่นดิน 2534 . แก้ไข ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2546

1. รวมอำนาจ 2. แบ่งอำนาจ 3. กระจายอำนาจ
ส่วนกลาง = นิติบุคคล ส่วนบุคคล ส่วนท้องถิ่น นิติบุคคล
- สำนักนายก - จังหวัด นิติบุคคล - อบจ.
- กระทรวง - อำเภอ - เทศบาล
- ทบวง - สุขาภิบาล
- กรม - พิเศษ< อบต, กทม, พัทยา>

จัดตั้งเป็นพรบ.

1 ส่วนกลาง การจัดตั้ง, รวม โอน สน.นายก เพิ่มอัตราและตำแหน่ง = พรบ.
กระทรวง
รวม โอน ทบวง ไม่เพิ่มอัตราและตำแหน่ง = พรฎ.
เปลี่ยนชื่อ,ยุบ กรม พรฎ.

2. ภูมิภาค - การจัดตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขต จังหวัด จัดตั้ง พรบ. = นิติบุคคล
แบ่งส่วน จว. = 1. สนง, จังหวัด - ผู้ว่าสังกัด สนง.ปลัดมท.
2. ส่วนราชการประจำจังหวัด

- การจัดตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขต อำเภอ จัดตั้ง ตรา พรฎ.
แบ่งส่วน อ. = 1. สนง. อำเภอ – นายอำเภอสังกัดกระทรวงมท. (ตามกฎหมาย) - ปลัดอำเภอ กรมการปกครอง
2. ส่วนราชการประจำอำเภอ

- นายอำเภอมีอำนาจดูแล ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
- กรณีมีนายอำเภออยู่ แต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ นายอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งคนรักษาการแทนได้
- แต่ถ้าไม่มีคนดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้เป็นอำนาจของผู้ว่า แต่งตั้งคนรักษาฯแทนนายอำเภอ ไล่เสียงไปตามลำดับตั้งแต่ปลัดอำเภอก่อนลงไป


สำนักนายกรัฐมนตรี นิติบุคคล นายก ตรา พรบ. จัดตั้ง
รองนายกฯ
รมต.

ขึ้นตรานายก กพร. ขึ้น ปลัด สน.นายก
1 - เลขาธิการนายก - สนง. ปลัดฯ
2 - เลขา ครม ตรากรฎ - กรมประชาสัมพันธ์
3 - ข่าวกรอง - สนง.คุ้มครองผู้บริโภค
4 - ความมั่นคง ไม่มีฐานะเป็นกรม
5 - งบประมาณ
6 - กฤษฎีกา มีเลชาเทียบเท่าอธิบดี
7 - กพ.
8 - เศรษฐกิจสังคม

กระทรวง พรบ.จัดตั้ง นิติบุคคล


สนง. สมต - ไม่มีฐานะเป็นกรม สนง. ปลัด = เป็นกรม กรม/เรียชื่ออื่น
- เลขานุการ รมต. บังคับบัญชา

* กลุ่มภาระกิจ - ส่วนราชการระดับกรม 2 กรม ขึ้นไป
ออกเป็นกฎกระทรวง - มีหัวหน้ากลุ่มเป็น อธิบดีขึ้นไป (โดยส่วนมากจะให้รองปลัดเป็นหัวหน้า)
- ถ้าขึ้นตรงปลัดให้รายงานปลัด
- ถ้าขึ้นตรง รมต. ให้รายงานปลัดด้วย (โดยส่วนมากให้ขึ้นตรงรมต.)
- การแต่งตั้ง C.9 ในภาระกิจ(กลุ่มภาระกิจ)ให้เป็นอำนาจของปลัดหารือกันหัวหน้ากลุ่ม
* ยกเว้นกลุ่มภาระกิจของหระทรวงต่างประเภท ให้ชั้นตรงปลัดและรายงานให้ รมต. อีกทางด้วย




* งานที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดกองหนึ่งโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของ สำนักบริหารการปกครองท้องที่

กรม นิติบุคคล จัดตั้งตรา พรบ.

สังกัดกระทรวง. ไม่สังกัดกระทรวง
กรม กรม
- สนง. เลขานุการกรม = เทียบเท่ากอง 1 - ราชเลขาธิการ
- กองหรือส่วนมีฐานะเทียบเท่า 2 - ราชวัง
3 - สน.พุทธ
4 - สน.โครงการราชดำริ ขึ้นตรง นายก
5 - สน.กก.วิจัย
6 - ราชบัณทิต
7 – ตำรวจแห่งชาติ
8 - ปปง.
9 - อัยการสูงสุด ขึ้นตรง รมว. ยุติธรรม
* เขต ปฏิบัติราชการทางวิชาการ ( มีหัวหน้าเขตรับนโยบายจากกระทรวง ทบวง กรม)
* บริการงานต่างประเทศ = คณะผู้แทน หัวหน้าคณะ
รองหัวหน้าคณะ ข้าราชการกระทรวงต่างประเทศ





กระทรวงมหาดไทย มี 8 ( 6 รัฐวิสาหกิจ) ส่วนราชการ
1. สนง. รัฐมนตรี ไม่มีฐานะเป็นกรม
2. สนง.ปลัด = กรม = เทียบเท่ากรม
3. กรมปกครอง
4. กรมพัฒนาชุมชน
5. กรมที่ดิน เป็นกรม
6. กรมป้องกันฯ
7. กรมเขต
8. กรมปกครองท้องถิ่น
7 กรม 1 หน่วยงาน

- ที่ทำการปกครองจังหวัด - กลุ่มปกครองและอำนวยฯ การสอบสวนชันสูตร
3 หน่วย = 1 กลุ่ม - ฝ่ายความมั่นคงจัดระเบียบ , อพป, อส
= 2 ฝ่าย - ฝ่ายการเงินบัญชี
- ที่ทำหารอำเภอ - ฝ่ายบริหารงานปกครอง บริงานทั่วไป -อาวุธปืน
4 ฝ่าย - ฝ่ายอำนวยฯ ธรรม ศูนย์ดำรงธรรม - ผู้มีอิทธิพล
- ฝ่ายทะเบียนบัตร
- ฝ่ายความมั่นคง จัดระเบียบสังคม , ชายแดน อพยภ, อพป , อส

* กรมการปกครอง * - 6 สำนัก
- 5 กอง
= 11 ส่วนราชการ
ส่วนกลาง (สำนัก = 6 สน.) กอง (หน่วยภายใน = 3 หน่วย)
1. สน.สอบสวนฯ ทะเบียนความมั่นคง, จัดระเบียบ 1. สนง.เลขากรม = กอง
2. สน. กิจการมั่นคงภายใน ชุนกลุ่มน้อย 2. กองการเจ้าหน้าที่ บริหารบุคคล
3. สน. บริการทะเบียน งานทะเบียนทั่วไป 3. กองคลัง จัดซื้อ – พัสดุ
4. สน. การปกครองท้องที่ กำนันผู้ใหญ่ - ความยากจน SML 4. กองสื่อสาร สื่อสาร
5. สน. อำนวยการกองรักษาดินแดน อส. 5. กองวิชาณและแผนงาน ทำงบประมาณ
6. วิทยาลัยปกครอง พัฒนาบุคลากร
= 5 สำนัก(1 เทียบเท่าสำนัก) = 4 กอง (1 เทียบเท่ากอง)
= 6 หน่วย (สำนัก) = 5 กอง


* จังหวัด จัดตั้งตรา พรบ. = นิติบุคคล
- ยุบ
- เปลี่ยนแปลง
แบ่งส่วน จว.
1. สนง. จังหวัด - ผู้ว่าสังกัด สนง ปลัด มท. แต่งตั้งผู้ว่า C.10 ต้องทูลเกล้า
- หัวหน้า สนง. จว.
- ปลัดจังหวัด กฎหมายไม่ได้ระบุสังกัดไว้
- รองผู้ว่า/ ผู้ช่วยผู้ว่า สังกัด กระทรวง

2. ส่วนราชการประจำจังหวัด
* คณะกรรมการจังหวัด = ปรึกษาแก่ผู้ว่า
= ให้ความเห็นชอบจัดทำแผน
- ผู้ว่า ประธาน
- รองผู้ว่ามอบหมาย
- ปลัดจังหวัด
- อัยการ
- ผบก.
- หัวหน้าส่วนจังหวัด
- หัวหน้าสำนักงานจังหวัด = เลขา

* อำเภอ จัดตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงตรา พรฎ.
แบ่งส่วน อภ.
1. สนง. อำเภอ - นายอำเภอกฎหมายระบุกระทรวงมหาดไทย
- ปลัดอำเภอกฎหมายระบุกรมการปกครอง
2. ส่วนราชการประจำอำเภอ

อบต. ประกาศ มท.
- สภา ครบวาระ เลือกใหม่ภายใน 45 วัน / ประชุมครั้งแรกภายใน 15 วัน /ต่อไปไม่เกิน 15
ยุบสภา เลือกใหม่ภายใน 15 วัน

- นายก = 1
รอง = 2 คณะบริหาร อบต. = 3 คน * กรณีนายอำเภอไม่เห็นด้วยกับข้องบประมาณ ส่งคืน
- โทษปรับ 1,000 ร่างให้สภา อบต. ภายใน 15 วัน
- นายอำเภอ ผู้ว่า ส่ง ปลด ยุบ * นายก(ผู้บริหาร ) = ทำแผน พัฒนา อบต.
วาระ 4 ปี - เป็นนิตุบุคคล
- ผู้บริหารสมาชิกมาจากเลือกตั้ง
ท้องถิ่น - รายได้เป็รของตนเอง
อรบ วาระเลือกใหม่ 45 วัน - มีอิสระในการบริหารภานใต้กฎหมาย
ตามกฎหมาย มี 4 แบบ = อบจ. , เทศบาล, สุขาภิบาล, ตามกฎหมาย(อบต,กทม,พัทยา)

* อบจ. (พ.ศ 2549) กฎหมายกำหนดเพียงว่าให้มีอบจ. ราษฎร ไม่เกิน 500,000 = 24
เกิน 500,000 – 1,000,000 = 30 รอง 2 คน
เกิน 1,000,000 – 1,500,000 = 36
เกิน 1,500,000 – 2,000,000 = 42 รอง 3 คน
เกิน 2,000,000 = 48 รอง 4 คน
โครงสร้าง 1. สภา อบจ. ( 1 + 2 ) = 3
ประธาน รอง
ยุบเลือกใหม่ = 60 วัน
2. นายก อบจ. ที่ปรึกษาได้ 5 คน
- รอง 2 (24,30)
- รอง 3 (36 – 42)
- รอง 4 (48)
* กำหนดโทษปรับได้ไม่เกิน 10,000 / จ. 6 เดือน
- ประชุมครั้งแรก ภายใน 15 วัน
* เทศบาล จัดตั้งโดย ประกาศ มท. * คณะที่ปรึกษาเทศบาล =ปลัด มท.= ประธาน/คณะกรรมการกลาง= รมว.
โครงสร้าง 1. สภาเทศบาล (1 + 1 ) = 2
2. นายก - ตำบล 12 รองนายก (นายกเทศแต่งตั้ง) 2
- เมือง 18 รองนายก (นายกเทศแต่งตั้ง) 3
- นคร 24 รองนายก (นายกเทศแต่งตั้ง) 4 ปรช 50,000 -
การกำกับ - ผู้ว่าสามารถเสนอ รมว. มท ยุบสภา (ปลด) ได้ / กก.เทศจังหวัด มี 18 คน
เลือกใหม่ภายใน 45 วัน
- ประชุมแรกภายใน 15 วัน สมัยต่อไป 30 วัน ( มีได้ 4 สมัย )

มหาดไทย ดูแลเทศบาลโดยตรง = ตรากฤษฎีกา
เทศบาล ทำงานร่วม
เทศบาล กัน 2 เทศฯ สหการ = ตรากฤษฎีกา
* พัทยา (2542) = นายก 1 + 4 รอง ฯ = 5

พรบ. ปกครองท้องที่ 2547
บ้าน = บ้าน, แพ เรือที่จอดประจำ
เจ้าบ้าน = เจ้าของ , ผู้เช่า
หมู่บ้าน = จัดตั้งโดย ประกาศจังหวัด อนุมัติจากมท.
ตามพรบ. ปกฯ มติครม. 14 พ.ศ.2539
- คน 200 - ชุมชนหนาแน่น = คน 1,200 600 คน (แยกบ้าน = ½ 1200 = 240
- บ้าน 5 บ้าน = บ้าน 240 120 บ้าน
- ชุมชนห่างไกล = คน 600 200 คน 1/3
= บ้าน 120 40 บ้าน (600 = 120 )
- ห่างจากหมู่บ้านเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
ตำบล ประกาศ มท. จัดตั้ง

ตามพรบ. ปกครอง ฯ มติ ครม.
- หมู่บ้านรวมกัน 20 หมู่บ้าน - ชุมชนหนาแน่น = คน 4,800
- กำหนดเขตให้ขัดเจน = มีหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน
- ชุมชนห่างไกล = คน 3,600
= มีหมู่บ้าน 69 หมู่บ้านกระทรวงมหาดไทย มี = 8 ส่วนราชการ
= 7 กรม + 1 เทียบเท่า

กิ่งอำเภอ ประกาศ มท. จัดตั้ง

พรบ. ท้องที่ มติ ครม. 2 พ.ย. 2547
- หลายตำบลรวมกัน - คน 25,000
- มี 4 ตำบล
- ห่างจากอำเภอเดิม 20 กม.
- เห็นชอบ อบต. , หัวหน้าอำเภอ, หัวหน้าจังหวัด
อำเภอ ราชกฤษฎีกา จัดตั้ง

พรบ. ท้องที่ มติ ครม. 2 พ.ย. 2547
- หลายตำบลรวม - เป็นกิ่งมาแล้ว 5 ปี
- พระราชานุญาติ - คน 35,000
- เห็นชอบ อบจ. หัวหน้าจังหวัด
* จัดตั้งอำเภอ/กิ่ง กรณีพิเศษ = ท่องเที่ยว, ไม่สงบ , ชายแดน, ราชดำริ

ผู้ใหญ่บ้าน วาระ 5 ปี เป็นตั้งแต่วันเลือก (พญบ. ไม่อยู่ ผู้ช่วยฝ่ายปกครองรักษาการแทน แจ้งกำนัน
- สัญชาติไทยเกิด แล้วให้ผู้ว่าออกหนังสือสำคัญ เกิน 15 วัน แจ้งกำนัน แจ้งอำเภอ
- ไม่ต่ำกว่า 25 ปี
- มีชื่อ 2 ปี
* - เลือกภายใน 15 วัน นับแต่นายอำเภอทราบว่างลง ลับ/เปิดเผย 10.00 –1 5.00 น. ถ้าคะแนนเท่ากันให้ ใช้วิธีจับฉลาก
- ผู้มีสิทธิเลือก 18 ปี มีชื่อใน 3 เดือน

ผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่ง
- หมู่บ้านถูกยุบ
- ไปที่อื่นเกิน 3 เดือน
- ขอให้ออกโดย เสียง ½ ทั้งหมด
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
111111111111
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้