บทความนี้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ได้รับการเรียกตัวให้เข้าสอบสัมภาษณ์ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน หรือได้รับการ คัดเลือก จากจดหมายสมัครงาน เพื่อทดสอบความรู้ ความสามารถ บุคลิกภาพ ทักษะไหวพริบ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้อง พิจารณาผู้ที่มีความ เหมาะสมที่สุด ดังนั้นผู้ที่เข้าสอบสัมภาษณ์ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ซึ่งบทความนี้อาจเป็นแนวทางเพื่อพิชิตสิ่งที่หวังไว้
- เตรียมตัวให้พร้อมที่สุด รักษาสุขภาพ ระมัดระวังเรื่องการกิน การพักผ่อน หลายคนพลาดท่าเรื่องการกินมาแล้ว เช่น ท้องเสีย เป็นไข้ ซึ่งอาจเกิดจากความวิตกกังวล ความเครียด ฯลฯ บางคนเพื่อนฝูงมาร่วมแสดงความยินดีล่วงหน้า ฉลองล่วงหน้าหามรุ่งหามค่ำ พับเพียบไปก็เยอะนะ จะหาว่าไม่บอก ลดความวิตกกังวล ทบทวนความรู้ ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์ เตรียมตัวเตรียมใจให้ดี
- แต่งกายอย่างไรดี อันนี้สำคัญเพราะเขาจะมองคุณด้วยความละเอียดมันหมายถึงบุคลิกภาพ และบ่งบอกว่า คุณ เป็น คนลักษณะอย่างไร ถ้าแต่งกายดีสุด สุด ด้วยเสื้อผ้าราคาแพง เขาอาจมองว่าคุณเป็นคนรสนิยมสูงฟุ่มเฟือย (แล้วแต่ลักษณะงานนะ ถ้าคุณไปสมัครเป็นนักร้องวัยรุ่น ดารา หรือนายแบบหรือผู้บริหารก็เป็นอีกอย่าง ) ควรแต่งกายสุภาพสมฐานะ ใส่เสื้อเชิ๊ต กางเกงสุภาพ อย่าใส่ยีนส์นะขอร้อง เขาจะหาว่าไม่รู้กาละเทศะ ไม่รุ่มร่าม หรือคับเกินไป ห้ามใส่รองเท้าแตะ เด็ดขาด ควรใส่รองเท้าหนังสีสุภาพ ไม่มีลวดลาย พูดง่าย ๆ แต่งตัวให้สุภาพดูดีเท่านั้นพอ
- ควรเตรียมอะไรไปบ้าง ก่อนเดินทางไปสัมภาษณ์ควรติดต่อสอบถาม และดูรายละเอียดให้ชัดเจน ว่าต้องเตรียมอะไรไปบ้างปกติจะเตรียมหลักฐานต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งเขาอาจจะขอเพิ่มเติม ตัวอย่างผลงาน เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย หรืออื่น ๆ ตามลักษณะของตำแหน่งงาน และที่จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณมากที่สุด แต่อย่าพะรุงพะรัง จะทำให้เสียบุคลิกภาพเปล่า ๆ
- ควรเดินทางไปถึงที่สัมภาษณ์เมื่อใด ก่อนอื่นคุณต้องมั่นใจว่าจะไปถึงที่สอบใช้เวลาเท่าใด โดยเฉพาะคนที่อยู่ต่างจังหวัด แล้วเดินทางเข้าไปสอบในกรุงเทพ พลาดมาเยอะเหมือนกัน ต้องหาข้อมูลให้ชัดเจน และต้องแน่ใจว่าเขานัดสัมภาษณ์ที่ใด ถ้าไม่แน่ใจให้เดินทาง ไปดูล่วงหน้าก่อน แต่ที่ดีที่สุดควรเดินทางไปถึงที่สัมภาษณ์ล่วงหน้าประมาณสัก 15 นาที จะทำให้เรามีสมาธิ และมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น แต่ถ้าไปถึงล่วงหน้าเป็นชั่วโมง ก็ดีแต่อาจจะทำให้คุณรอนานอาจเกิดความหงุดหงิด เสียสมาธิได้ และควรไปคนเดียว ถ้าไม่จำเป็นอย่าพาผู้อื่นไปด้วยเพราะจะทำให้เราพะวง เขาอาจจะมองว่าคุณยังไม่เป็นผู้ใหญ่พอ - ทำอย่างไรดีขณะนั่งรอสัมภาษณ์ ระหว่างนั่งรอสัมภาษณ์ จงใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ที่สุด พยายาม หาข้อมูลเกี่ยวกับ หน่วยงาน ท ี่ คุณสัมภาษณ์ให้มากที่สุด เช่น เอกสาร แผ่นพับ ตัวอย่างผลงาน หรือสอบถามจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อหารายละเอียดเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณให้มากที่สุด พยายามแสดงความเป็นมิตรที่ดีด้วยรอยยิ้ม กับผู้อื่นรวมทั้งผู้เข้าสอบด้วยกันเพื่อสร้างความประทับใจ อย่าใช้สายตาว่าเขาคือศตรูหรือคู่แข่งซึ่งมันจะไม่เป็นผลดีสำหรับคุณเลย
- เมื่อถูกเรียกตัวเข้าสัมภาษณ์ ก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์ลองหายใจลึก ๆ แต่อย่ามากอาจหน้ามืดก่อน ถ้ามีประตูควร เคาะ ประตู เสียก่อน ตามมารยาท ยกมือวันทาด้วยท่าทางสุภาพ ควรไหว้ประธานหรือผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุดเพียงผู้เดียวถ้านั่งอยู่หลายคน โดยทั่วไปมัก นั่ง ตรงกลาง เรื่องนี้ ใช้ไหวพริบเองก็แล้วกัน อย่าเพิ่งนั่งจนกว่าจะได้รับอนุญาต หรือ คำเชิญจากผู้สัมภาษณ์ กล่าวขอบคุณครับแล้วนั่งให้หัวใจเต้น เบาลง จงมีสายตาท่าทางที่เป็นมิตร ห้ามหยิ่ง อันนี้แน่อยู่แล้วโดยธรรมชาติ
- เมื่อได้ฟังคำถามคำแรก จงตอบคำถามด้วยความมั่นใจ ฉะฉาน ยกเว้นคุณไปสมัครเป็นนางเอกหนังเรื่องนางอาย พูดให้เป็นธรรมชาติด้วยเสียงที่พอเหมาะอย่าค่อย หรือดังเกินไป จงพูดเท่าที่จำเป็นอย่าคุยโม้โอ้อวด หรือถ่อมตนมากเกินไป จงพูดในสิ่งที่เป็นความจริงและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำถามและเป็นประโยชน์ สำหรับคุณให้มากที่สุด
- ถ้าไม่เข้าใจคำถาม ? อย่าเดาคำถามอย่างเด็ดขาดควรกล่าวคำขอโทษและขอทบทวนคำถามอีกครั้งให้แน่ใจ แต่อย่าไม่เข้าใจบ่อยมาก ไม่ดี ถ้าคุณเข้าใจคำถามผิด แล้วเขาทักมากรุณากล่าวคำขอโทษแล้วตอบใหม่อย่ายืนยันคำพูดเดิม หรือย่าเถียงเด็ดขาด อาจทำให้การสัมภาษณ์ยุติลง
- ถ้าพบกับคำถามที่ตอบไม่ได้ จงอย่าอ้างว่าไม่ได้เรียนมา และอย่าแสดงกริยาหงุดหงิดอารมณ์เสีย เขาอาจจะอยากลองดูไหวพริบการแก้ปัญหาของคุณ อันนี้อย่าตอบมั่วเด็ดขาด ยอมรับซะว่าไม่ทราบจริง ๆ และจะไปสืบค้นหาคำตอบภายหลัง ซึ่งแสดงว่าคุณเป็นผู้ใฝ่รู้ (ต้องทำจริง ๆ นะ) อย่าขอเปลี่ยนคำถามหรือขอผู้ช่วยเพราะไม่ใช่เกมโชว์
- คำถามที่ลำบากใจ นอกจากคำถามที่ตอบไม่ได้แล้ว ยังอาจเจอคำถามที่ลำบากใจ ทำใจเย็น ๆ ไว้ เช่น คุณต้องการเงินเดือนเท่าไหร่ อันนี้อาจพบแน่ ถ้าตอบมากไปกลัวเขาไม่จ้าง ถ้าตอบน้อยไปกลัวเขาให้แค่นั้น แต่โดยปกติเขาจะมีเกณฑ์อยู่แล้ว เพียงแต่อยากดูความคาดหวังของเรา จงหาข้อมูลก่อนว่าที่นี่เขาจ้างอย่างไร ตำแหน่งคุณเริ่มต้นได้เท่าไหร่ แต่ถ้าไม่ทราบจริง ๆ ก็ยึดถือการจ้างตามอัตราเงินเดือนที่ กพ. กำหนด แต่อาจจะต้องคำนึงถึงความยากง่ายของงานด้วย จงใช้ไหวพริบของคุณตอบให้ดีที่สุด อย่าพูดในสิ่งที่ทำไม่ได้ และไม่มั่นใจอาจจะสร้างปัญหาได้ในภายหลัง
- การใช้วาจา ในระหว่างสัมภาษณ์ ควรใช้คำพูดที่ฉะฉานไม่ก้าวร้าว อย่าพูดคำพูดที่ไม่แน่ใจบ่อย ๆ หรือ ภาษาที่เป็นกระแสนิยม เช่น ใช่มั้งคะ ! แบบว่า! ว้าวดีจังเลย! จ๊าบจริงครับ! เจ๋งเลยครับ! ระวังดี ๆ นะโดยเฉพาะคนที่พูดบ่อย ๆ จนเป็นนิสัยอาจจะหลุดออกมาได้ มือขอให้อยู่เป็นสุขอย่าคุ้ยแคะแกะเกา ระวังให้ดีให้มันอยู่ในที่ที่ควรอยู่ จงใช้เท่าที่จำเป็น ถ้าเป็นการเปลี่ยนงานอย่านินทาว่าร้ายที่ทำงานเดิมของคุณเป็นอันขาด จงชี้แจงสิ่งที่เป็นเหตุผลในการเปลี่ยนงานตามความเป็นจริง (ในสิ่งที่เปิดเผยได้)
- เมื่อการสัมภาษณ์สิ้นสุดลง เป็นธรรมดาครับ ก็ต้องกล่าวขอบคุณที่ให้โอกาส แม้ว่าการสัมภาษณ์อาจจะไม่เป็นที่พอใจคุณเท่าใดนัก เช่น อาจตอบคำถามไม่ดี หรือมีข้อผิดพลาด พยายามข่มใจไว้ ไหว้งาม ๆ แล้วเดินออกไป อย่าลืมเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย เช่น โต๊ะ เก้าอี้
- หนังสือขอบคุณสักฉบับก็ดี เมื่อเขาให้โอกาสคุณแล้วอาจจะมีหนังสือขอบคุณที่ให้โอกาสเข้าพบ ถึงแม้ว่าจะพลาด หวังก็ตามซึ่ง จะสร้าง ความประทับใจทั้ง 2 ฝ่าย อย่าลืมว่าโอกาสหน้ายังมีอีกที่เราอาจต้องมาสมัครที่นี่อีก ถ้าคุณได้งานทำก็น่าดีใจและตั้งใจทำให้เต็มความสามารถ ที่สำคัญคือ น้ำใจ เอื้ออาทร เสียสละ แต่ถ้าพลาดหวังนั่นไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีความสามารถ เขาอาจอยากได้เราแต่มีคนที่เหมาะสมกว่า หรือ ความสามารถ ของเราไม่ตรงกับความต้องการของเขาก็ได้
ที่กล่าวมาคงเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับผู้ที่เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ หรือ กำลังหางาน หรือเปลี่ยนงาน เพื่อให้ได้งานทำตาม ความ ปราถนาผมขอให้คุณประสบความสำเร็จนะ