16. ข้อใดต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิอุทธรณ์
ก. ผู้รับมอบอำนาจให้ประกันตัวจำเลยในคดีอาญาจะอุทธรณ์คำสั่งแทนนายประกัน
ข. โจทก์ร่วมฟ้องคดีแล้วขอถอนฟ้องโดยระบุว่าเพราะโจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงกันได้แล้ว ต่อมา พนักงานอัยการยื่นฟ้อง โจทก์ร่วมขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ต่อมาโจทก์ร่วมอุทธรณ์คำพิพากษาศาล ชั้นต้น
ค. คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องก่อนศาลประทับฟ้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาล
ง. ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแต่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ในสำนวนหลังและอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลเฉพาะสำนวนที่ตนเป็นโจทก์ร่วม
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะ
1. ผู้รับมอบอำนาจให้ประกันตัวจำเลย ย่อมมีอำนาจเฉพาะประกันตัวและนำจำเลยส่งศาล เมื่อผู้มอบอำนาจไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีต่อศาลจึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งแทนนายประกันไม่ได้ ( คำพิพากษาฎีกาที่ 2922/2541)
2. โจทก์ร่วมฟ้องคดีแล้วขอถอนฟ้องโดยระบุว่าเพราะโจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงกันได้แล้วต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้อง โจทก์ร่วมขอเข้า ร่วมเป็นโจทก์ เมื่อโจทก์ร่วมฟ้องคดีร่วมไม่ได้ จึงอุทธรณ์ไม่ได้ ( คำพิพากษาฎีกาที่ 297798/2538)
3. คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก่อนศาลประทับฟ้อง จำเลยไม่อยู่ในฐานะจำเลย ดังนั้นเมื่อศาลสั่งอย่างไร จำเลยจึงอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาลไม่ได้
17. ข้อใด จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ก. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินกว่าหนึ่งพันบาท
ข. คำสั่งศาลที่ว่าคดีมีมูล
ค. คำสั่งศาลที่เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว
ง. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะข้อยกเว้นของ ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้มีดังนี้
1. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้โทษกักขังแทนโทษจำคุก
2. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
3. ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอกำหนดโทษไว้ หรือ
4. จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินกว่าหนึ่งพันบาท
18. ข้อใดเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ก. อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำเบิกความของตัวโจทก์ พยานจำเลย และพฤติการณ์ของจำเลยประกอบ กันฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง
ข. คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด จำเลยอุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม
ค. ไม่มีข้อใดถูก
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะ อุทธรณ์นั้น ต้องมีลักษณะดังนี้
1. ต้องเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น
2. ต้องมีลักษณะชัดแจ้ง
3. ต้องเป็นสาระแก่คดี ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกำหมาย โดยอนุโลมตามบทบัญญัติในประมวลกำหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาไม่ได้บัญญัติไว้
เหตุที่ ข้อ ข. ไม่ใช่อุทธรณ์ที่ชอบเนื่องจากเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
19. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ก. คำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย
ข. ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขอเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลย
ค. คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว
ง. คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้แก้ฟ้อง
คำตอบ : ข้อ ข. เพราะเป็นคำสั่งภายหลังจากศาลชั้นต้นตัดสินไปแล้วและไม่ใช่คดีที่อยู่ในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากยังไม่ได้มีการอุทธรณ์จึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
20. การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกี่วัน
ก. 1 เดือน
ข. 30 วัน
ค. 2 เดือน
ง. 60 วัน
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะการยื่นอุทธรณ์ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนด 1 เดือน นับจากวันที่อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง
21. การแก้ฟ้องอุทธรณ์ข้อใดต่อไปนี้ไม่สามารถทำได้
ก. การเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว
ข. การแก้ไขชื่อผู้อุทธรณ์ซึ่งพิมพ์ผิด เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว
ค. การแก้ไขที่เป็นการสละข้อต่อสู้ในฟ้องอุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะการเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์เป็นการแก้ไขประเด็นสำคัญจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ภายในอายุอุทธรณ์
22. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัญหาข้อเท็จจริง
ก. ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ฐานใด
ข. ปัญหาว่าจำเลยกระทำการโดยสุจริตหรือไม่
ค. จำเลยเถียงว่า จำเลยอายุ 16 ปี ไม่ใช่ 19 ปี
ง. จำเลยโต้เถียงดุลยพินิจในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล
คำตอบ : ข้อ ข. เพราะปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ฐานใด เป็นปัญหาข้อกำหมาย
23. ผู้พิพากษาที่มีอำนาจที่จะอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาสำหรับคดีซึ่งกฎหมายห้ามฎีกา คือ
ก. ผู้พิพากษาที่จะพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ข. ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต่อมาย้ายไปรับราชการเป็นผู้พิพากษา ศาลอื่น
ค. ผู้พิพากษาที่จะพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต่อมาย้ายไปรับราชการเป็นตุลาการ ศาลปกครอง
ง. ข้อ ก และ ข ถูก
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะผู้พิพากษาที่จะอนุญาตให้ฎีกาได้คือ
1. ผู้พิพากษาที่จะพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
2. ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
3. ผู้พิพากษาที่ทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษาที่มีอำนาจอนุญาตดังกล่าวแม้ต่อมาย้ายไปรับราชการที่ศาลอื่นหากยังคงรับราชการเป็นผู้พิพากษาอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในศาลยุติธรรมใด รวมทั้งผู้พิพากษาอาวุโสด้วย ก็ยังมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาได้ แต่ถ้าไปเป็นตุลาการศาลปกครอง หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วจะอนุญาตให้ฎีกาไม่ได้
24. ต่อไปนี้เรื่องใดผิด
ก. กรณีไม่แน่ชัดว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ ให้ผู้ว่า ราชการจังหวัดเป็นผู้ชี้ขาด
ข. กรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักรให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบ
ค. การสอบสวนถ้าทำโดยพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจในการที่จะสอบสวน แต่ไม่มีการ คัดค้านจากผู้ต้องหาหรือจำเลย ก็ถือว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบ
ง. กรณีความผิดที่เกิดนอกราชอาณาจักร อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะมอบหมายหน้าที่ให้ พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแทนก็ได้
คำตอบ : ข้อ ค.. การสอบสวนถ้าทำโดยพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจในการที่จะสอบสวน แต่ไม่มีการ คัดค้านจากผู้ต้องหาหรือจำเลยการสอบสวนนั้นก็ยังไม่ชอบอยู่นั่นเอง
25. ข้อใดไม่ใช่โทษทางอาญา
ก. ริบทรัพย์สิน
ข. บำเพ็ญประโยชน์
ค. ปรับ
ง. กักขัง
คำตอบ : ข้อ ข. เพราะโทษทางอาญามีดังนี้
1. ประหารชีวิต
2. จำคุก
3. กักขัง
4. ปรับ
5. รับทรัพย์สิน
26. ในชั้นตรวจคำฟ้องถ้าศาลเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องหรือมีข้อบกพร่องศาลมีอำนาจดำเนินการได้กี่ประการ
ก. 2 ประการ
ข. 3 ประการ
ค. 4 ประการ
ง. 5 ประการ
คำตอบ : ข้อ ข. เพราะศาลมีอำนาจดำเนินการได้ 3 ประการ คือ
1. ให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง
2. พิพากษายกฟ้อง
3. ไม่ประทับฟ้อง
27. ข้อใดผิด
ก. กรณีฟ้องของโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบความผิด ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง
ข. กรณีโจทก์ฟ้องผิดศาลหรือฟ้องต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นศาลต้องไม่ รับฟ้อง
ค. ในวันที่พนักงายอัยการโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาล โจทก์ไม่ได้นำตัวจำเลยมาศาลซึ่งถือว่าเป็นการยื่น ฟ้องที่ไม่ถูกต้อง ศาลต้องไม่รับฟ้อง
ง. คำฟ้องโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฐานะเป็นโจทก์ หรือไม่ได้ลงชื่อผู้ร้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง
คำตอบ : ข้อ ง. เพราะ คำฟ้องที่โจทก์ไม่ได้ลงชื่อในฐานะเป็นโจทก์ หรือไม่ได้ลงชื่อผู้ร้องให้ศาลสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้อง
28. ข้อใดไม่ใช่เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง
ก. เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวฐานทำให้เสียทรัพย์ ต่อมาโจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องกล่าวหามารดา จำเลยว่าฉ้อโกง
ข. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฆ่าคนตายโดยเจตนา อ้างว่าเหตุเกิดในเวลากลางวัน จำเลยให้การต่อสู้ว่า กระทำไปเพราะป้องกันตัว เมื่อสืบพยานจำเลยเสร็จ โจทก์ขอแก้ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเวลา กลางคืน
ค. โจทก์ขอให้ศาลนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นแต่ไม่ได้ขอมาในคำขอท้ายฟ้องต่อมาโจทก์จึงยื่นขอ แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง โดยขอให้ศาลนับโทษต่อ
ง. โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้วโดยอ้างเหตุว่าคำฟ้องโจทก์พิมพ์ วันที่เกิดเหตุผิดพลาด
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะไม่ใช่เรื่องแก้ไขฟ้องเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นเรื่องการฟ้องจำเลยคนใหม่เข้ามา จะฟ้องเข้ามาในคดีเดิมไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ 18/2511)
29. คำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องในข้อใดที่กฎหมายห้ามมิให้ศาลอนุญาต
ก. คำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องที่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการสู้คดี
ข. คำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมฟ้องที่ยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
ค. คำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมฟ้องในประเด็นที่จำเลยมิได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือไม่ได้กล่าว เอาไว้
ง. ถูกทุกข้อ
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะ ป.วิ. อ. มาตรา 164 กำหนดไว้ว่า คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าทำให้จำเลยเสียเปรียบในการสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต
30. กำหนดนัดของศาลในข้อใดที่แม้ว่าโจทก์ผิดนัดแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นกำหนดนัดที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องได้
ก. นักพร้อม
ข. นัดสืบพยานโจทก์
ค. นัดไต่สวนมูลฟ้อง
ง. นัดพิจารณา
คำตอบ : ข้อ ก. เพราะนัดพร้อมไม่ถือว่าเป็นกำหนดนัดที่ศาลพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 ได้
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนิติกกร สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ใหม่ล่าสุดที่กำลังเปิดสอบ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติวและเวลาไปหาซื้อหนังสือ
เป็นไฟล์เอกสารส่งทาง e-mail
ส่งทันทีรวดเร็ว ได้อ่านสอบเร็วไม่ต้องรอ รวบรวมจากหนังสือมากกว่า
สิบเล่มและรุ่นพี่ที่สอบได้
รายละเอียดภายในไฟล์ประกอบด้วย
ความรู้ความสามารถทั่วไป
- แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- แนวข้อสอบกฎหมายอาญา
- แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง
ความรู้ความเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ
- ข้อสอบ พรบ. ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไข 2550
- ข้อสอบ พ.ร.ก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
- สรุป ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ 2547
- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
- สรุปประเด็นสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 2548
- กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์ พ.ศ. 2551
- ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการจัดการร้องทุกข์ 2552
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com