ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนายร้อยตำรวจ อาญา สาย ป. พร้อมเฉลย
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนายร้อยตำรวจ อาญา สาย ป. พร้อมเฉลย

แชร์กระทู้นี้

กฎหมายอาญา
1. บุคคลใดเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา
(ก) ราษฎรที่ถูกเกณฑ์มาช่วยราชการ
(ข) ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการประกวดเทพี
(ค) ลูกจ้างภารโรงประจำสำนักงานนายกรัฐมนตรี
(ง) ผิดทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ง
ข้อสังเกต การที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา จะต้อง
1. ต้องมีการแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย และ
2. การ แต่งตั้งนั้นต้องเป็นการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการหน้าที่ราชการ หมายถึง หน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น
2. ความผิดใดแม้ไม่มีเจตนาก็เป็นความผิดได้
(ก) ความผิดอันยอมความได้ (ข) ความผิดอาญาแผ่นดิน
(ค) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (ง) ความผิดที่กระทำโดยประมาท
ตอบ ง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 4 การ กระทำโดยประมาท คือ การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลภาวะเช่นนั้นจักต้องมีทัศนะวิสัยและพฤติกรรม กล่าวถึงการกระทำเสียก่อน แต่หากเทียบกับในภาวะวิสัยและพฤติการณ์เช่นเดียวกันแล้วก็กระทำไม่แตกต่าง กับจำเลย จำเลยก็ไม่เป็นประมาท
3. จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจราจร ไดั้เรียกผู้เสียหายซึ่งขับรถบรรทุกฝ่าฝืนจราจรหยุดรถเพื่อตรวจใบอนุญาติขับ ขี่ และจับกุมอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ แต่ภายหลังได้เรียกเงินจากผู้เสียหายโดยมิชอบ ดังนี้
(ก) เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน
(ข) ผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่
(ค) ผิดฐานกรรโชก (ง) ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ก
ตามข้อ ก เป็นความผิดมาตรา 149 กล่าวคือเป็นการเรียกรับทรัพย์สิน (สินบน) เพื่อจะกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งของตน จะตรงกับคำถามมากกว่า ข้อ (ข) เนื่องจากตามข้อ (ข) ไม่ชัดเจนนั้น เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 จึง ต้องมีตัวประกอบที่ว่าด้วยคือ การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติของเจ้าพนักงาน จะต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือกระทำโดยทุจริต ซึ่งมาตรา 149 จะตรงกับกรณีการรับทรัพย์สินมากกว่า
4. เหตุที่ทำให้การกระทำ ไม่เป็นความผิดและไม่มีโทษซึ่งผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้ คือ
(ก) ป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมายพอสมควรแก่เหตุ
(ข) เจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
(ค) ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก (ง) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ค.
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อ
1. การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
2. การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด คือ ไม่เป็นความผิด
3. การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
ตามโครงร่างวิจัย 1. ถ้าการกระทำนั้นมีกฎหมายยกเว้นความผิดบุคคลก็ไม่ต้องรับผิด ซึ่งกฎหมายยกเว้นความผิดมีหลักเกณฑ์ คือ
ก) กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา เช่น การป้องกันตามมาตรา 68 การทำแท้งตาม มาตรา 305 การแสดงความเห็นโดยทุจริต ตาม มาตรา 329 การแสดงความเห็นในศาลตาม มาตรา 231 เป็นต้น
ข) ความ ยินยอมยกเว้นความผิด ซึ่งไม่มีประวัติในกฎหมาย แต่เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่นำมาใช้เพื่อเป็นคุณ เช่น แพทย์ตัดขาคนไข้เพื่อช่วยชีวิต เป็นต้น
ค) กฎหมายยกเว้นความผิดในรัฐธรรมนูญ เป็นการอภิปรายในสภา
ง) กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การตัดกิ่งไม้รุกล้ำ มาตรา 1347
จ) กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ กฎหมายได้กำหนดให้ผู้กระทำ (เจ้าพนักงาน) มีอำนาจกระทำได้ การกระทำนั้นก็จะไม่เป็นความผิดทางอาญา เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 ทำไมเจ้าพนักงานที่ยังยางล้อรถคนร้ายจนยางแตก เพื่อจับกุมคนร้าย เป็นการกระทำพอสมควรแก่สามารถทำได้
5. ในกรณีเพิ่มโทษน้อยกว่า และลดโทษมากกว่าต้องเป็นไปดังต่อไปนี้
(ก) แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพราะเป็นดุลพินิจของศาล
(ข) เพิ่มก่อนแล้วจึงลดเพราะเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมากกว่า
(ค) ลดก่อนแล้วจึงเพิ่มเพราะเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมากกว่า
(ง) แล้วแต่พนักงานอัยการจะร้องขอ
ตอบ ขตามมาตรา 54 กำหนด ให้ศาลกำหนดโดยที่จะลงเส้นก่อน แล้วจึงเพิ่มหรือลดโทษ ในกรณีที่มีทั้งการเพิ่มโทษและลดโทษ ให้กำหนดโทษก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ และลดโทษจากโทษที่เพิ่มแล้วนั้น แต่ถ้าส่วนของการเพิ่มเท่ากับหรือมากกว่าส่วนของการลด และศาลเห็นสมควรจะไม่เพิ่มไม่ลดก็ได้
6. รถ ยนต์วิ่งมาตกหลุมที่เป็นท่อระบายน้ำ เป็นเหตุให้คนโดยสารเป็นอันตรายบาดเจ็บสาหัส โดยไม่มีเครื่องหมายให้รู้ได้อยากทราบว่าเทศบาลมีความผิดข้อหาใด
(ก ) ไม่มีความผิด
(ข) มีความผิดต้องชดใช้ทางแพ่ง
(ค) ต้องชดใช้ทางแพ่งและผิดทางอาญา
(ง) ประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินเสียหาย
ตอบ ค
7. หลักสำคัญที่สุดประการหนึ่งของการกระทำโดยพลาดตาม ปอ. มาตรา 60 คือ

(ก) ผู้เสียหายจะต้องมี 2 ฝ่าย ขึ้นไป
(ข) ผู้กระทำเล็งเห็นว่าผลจะเกิดแก่ผู้เสียหาย
(ค) ต้องเจตนากระทำความผิดต่อทรัพย์และผลที่เกิดแก่ทรัพย์
(ง) ผู้กระทำต้องไม่ประสงค์ต่อผล
ตอบ ก

ตามมาตรา 60 การกระทำผิดตามมาตรานี้ จะเป็นพลาดได้ต้องมีเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่งและผลการกระทำไป เกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง

การกระทำใดพลาดมีหลักเกณฑ์

1. การกระทำโดยพลาด ต้องมีผู้ถูกกระทำสองฝ่ายขึ้นไป ฝ่ายแรกคือ ผู้เสียหายคนแรกที่ผู้กระทำมีเจตนา ประสาก็ต้องเห็นผลหรือเล็งเห็นผล ฝ่ายที่สอง คือ ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น
2. พลาด นั้นจะต้องไม่เลือกเจตนาประสงค์ต่อผล และไม่ใช่เรื่องเล็งเห็นผล เช่น แดงต้องการฆ่าดำ ดำยืนติดกับขาวแดงใช้ปืนลูกซองยิงดำ กระสุนถูกดำตายและกระสุนแผ่กระจายไปถูกขาวตายด้วย แดงยิงดำเป็นเจตนาฆ่าประเภทประสงค์ต่อมาตรา 59 และมาตรา 288 ขาวยืนติดกับดำและใช้ลูกซอง จึงเป็นเจตนาฆ่า ประเภทเล็งเห็นผล มาตรา 59 และมาตรา 288
3. การที่ผลเกิดแก่ผู้ซึ่งได้รับผลร้ายไม่ต้องคำนึงว่าผู้กระทำจะประมาทหรือไม่
4. การ กระทำโดยพลาดจะต้องมีผลเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายที่สอง โดยไม่ต้องคำนึงว่าผลจะเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรกด้วยหรือไม่ก็ตาม และเป็นเรื่องเจตนาโอน แดงเจตนาฆ่าดำ แต่พลาดไปถูกขาว เจตนาฆ่าก็จะโอนไปเสียเจตนาฆ่าต่อขาวด้วย
8. วิธีการเพื่อความปลอดภัย
(ก) เป็นโทษทางอาญาที่เบาที่สุด
(ข) เป็นวิธีการซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันสังคมจาการกระทำผิดซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต
(ค) กฎหมายให้อำนาจศาลโดยแท้ เพื่อใช้วิธีการนี้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
(ง) เป็นโทษทางอาญาซึ่งมีวัตถุประสงค์จะป้องกันสังคม
ตอบ ข

ความแตกต่างระหว่างโทษตามมาตรา 18 (ประหารชีวิต,จำคุก,กักขัง,ปรับ,ริบทรัพย์สิน) กับวิธีการเพื่อความปลอด ภัย คือโทษซึ่งใช้ลงแก่ผู้กระทำความผิดเพื่อการปราบปรามนั้นเป็นการมองย้อนใน อดีตที่ผ่านมาว่ากระทำความผิดอะไรมาแล้วสมควรถึงจะลงโทษอย่างไร แต่วิธีการเพื่อความปลอดภัยจะเป็นการไปในอนาคตว่าจะมีมาตราการอย่างใดบ้าง ที่เอามาใช้เพื่อป้องกันผู้ที่มีสภาพเป็นอันตรายไม่ให้ไปกระทำความผิดอีกใน อนาคตซึ่งอาจจะกระทำโดยการตัดโอกาสที่เขาจะไปทำความผิดเช่น เอาตัวไปกักกัน หรือควบคุมคนวิกลจริตไว้ในสภาพ เป็นต้น

สำหรับการที่ ข้อ (ค) ไม่ถูกต้องเนื่องจากวิชาการเพื่อความปลอดภัยบทวิธีเป็นต้นของพนักงานอัยการที่จะร้องขอการฟ้องขอให้กักกันตมามาตรา 43 เป็นต้น
9. โดยหลักแล้วต้องใช้ทฤษฎีเงื่อนไขเสมอแต่บางกรณีต้องใช้ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสมแทนทั้งๆที่ถ้าใช้ทฤษฎีเงื่อนไขก็ใช้ได้
(ก) กรณีที่ผลของการกระทำความผิดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษน้อยลง
(ข) กรณีมีเหตุแทรกแซงเกิดขึ้น
(ค) กรณีที่เป็นผลจากการกระทำโดยไม่เจตนาไม่ประมาท
(ง) ไม่มีข้อถูก
ตอบ ข
เรื่อง นี้เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล กล่าวคือ เมื่อมีผลของการกระทำเกิดขึ้นผู้กระทำจะต้องรับผิดชอบในผลหรือไม่มีหลัก คือ

1. ผล โดยตรง คือ ผลตามทฤษฎีเงื่อนไข กล่าวคือ ถ้าผลนั้นเป็นผลโดยตรงผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลนั้นหลักคือ ถ้าไม่มีการกระทำของจำเลยผลไม่เกิด ถือว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของเลย และต้องมีเหตุอื่นๆ ประกอบด้วยในการที่ก่อให้เกิดนั้นขึ้นก็ตามแต่ถ้าไม่มีการกระทำของจำเลย ผลก็ยังเกิดอยู่นั่นเองถือว่าผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของ จำเลย

2. ถ้าผลโดยตรงทำให้ผู้กระทำได้รับโทษหนักขึ้น ผลโดยตรงนั้นจะต้องเป็นผลธรรมดาด้วย ตามมาตรา63 ผล ธรรมดาคือผลตามทฤษฎีตามเหตุที่เหมาะสม คือเป็นผลที่วิญญูชนคาดเห็นความเป็นไปได้ของผลนั่น เช่น แดงโกธรดำ เมื่อรู้ว่าดำไปต่างประเทศ จึงว่างเพลิงเผาบ้านดำ บ้านดำไหม้ไฟ แดงผิด มาตรา 218 แน่นอน เพราะไฟลุกไหม้เป็นผลโดยตรงจากการวางเพลิงของแดง แต่เมื่อไฟตกลงในบ้านดำ ปรากฏว่าพบศพขาวตายในไฟ ขาวได้รับมอบหมายจากดำให้มาเฝ้าบ้าน ความตายของขาวเป็นผลธรรมดาจากการกระทำของแดง และเป็นผลให้แดงต้องรับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 224 ความตายของคนเป็นผลธรรมดา ของการวางเพลิงซึ่งวิญญูชนควรคาดหมายได้ เป็นผลธรรมดา ตามมาตร 63

3. บาง กรณีผลที่เกิดขึ้นนั้นปลายไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้ที่กระทำต้องรับผลที่หนักขึ้น แต่เป็นผลในขั้นปลายที่เกิดจากสิ่งๆ หนึ่งในระหว่างกลางหรือเรียกว่า เหตุแทรกแซง ประดับ คือผู้กระทำจะรับผลในบั้นปลายหรือไม่ ให้ดูว่าถ้าผลในบั้นปลายอันเป็นผลโดยตรงนั้นเกิดจากเหตุแทรกแซง จะต้องพิจารณาว่า เหตุแทรกแซงนั้นวิญญูชนคาดหมายได้หรือไม่ ถ้าคาดหมายได้ผู้กระทำจะต้องรับผิด

10. ดำยืมโฉนดของผู้อื่นมา แล้วขูดลบชื่อเจ้าของโฉนด ดำมีความผิดข้อหาใด
(ก) ปลอมแปลงเอกสาร (ข) ปลอมแปลงเอกสารราชการ
(ค) ปลอมแปลงใบสำคัญ (ง) ผิดทุกข้อ
ตอบ ง
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารตามมาตรา 264 วรรคแรก มี 3 ความผิดคือ

ความผิดที่ 1 – ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือ แต่ส่วนหนึ่งส่วนใด
ความผิดที่ 2 – การ 1) เติม 2)ตัดทอนข้อความ หรือ 3) แก้ไขด้วยประการใด ในเอกสาร

ที่แท้จริง

ความผิดที่ 3 – การประทับตราปลอม หรือ ลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร

ซึ่งทั้งความผิดทั้ง 3 ความ ผิดนั้นจะต้องทำโดยประการที่น่าจะเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และมีมูลเหตุชักจูงเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง แต่เนื่องจากตามคำถามไม่ชัดเจนว่าการขูดลบชื่อเจ้าของโฉนด เป็นการกระทำเพื่ออะไร

11. เจตนาพิเศษ หมายถึง
(ก) เจตนาและมูลเหตุจูงใจประกอบกัน
(ข) เจตนาชั่วร้าย
(ค) เจตนาที่ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกกระทำ
(ง) ความตั้งใจในการกระทำความผิด
ตอบ ก เจตนาพิเศษ คือ มูลเหตุจูงใจในการกระทำ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า”เพื่อ”
12. อุบัติเหตุ คือ
(ก) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรืออุบัติขึ้นในกรณีต่างๆ
(ข) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ
(ค) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยขาดความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์
(ง) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมิได้เจตนาหรือประมาท
ตอบ ง
13. ก. เอาปืนเด็กเล่นมาขู่ ข. แทง ค. ให้ตาย ข. เชื่อว่าเป็นความจริง โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดูให้ดีเสียก่อน ซึ่งถ้า ข. ใช้ความระมัดระวัง อย่างเพียงพอ ก็จะทราบว่าเป็นปืนเด็กเล่น ข. กลัวตาย จึงแทง ค ตาย ดังนี้
(ก) ข. มีความผิด ฐานทำให้ ค. ตายโดยประมาท
(ข) ไม่มีความผิดฐานใดเลย
(ค) ข. มีความผิดฐานฆ่า ค. ตายโดยเจตนา
(ง) ข. มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะเป็นการกระทำผิดด้วยความจำเป็น
ตอบ ก
การกระทำโดยประมาท คือการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติกรรม

ภาวะเช่นนั้น หมายถึง ขณะกระทำการนั้นๆ

วิสัย หมายถึง สภาพภายในตัวผู้กระทำ

พฤติกรรม หมายถึง สภาพภายนอกผู้กระทำ

เมื่อ เกิดกรณีที่จะต้องพิจารณา ประเภท หรือไม่ จะต้องพิจารณาโดยหากบุคคลผู้ซึ่งอยู่ในภาวะและวิสัยเช่นเดียวกับจำเลย ก็ไม่อาจระมัดระวังได้อีกว่าจำเลย จำเลยจึงจะไม่ประมาท

ส่วนการกระทำความผิดโดยจำเป็นตาม (ง) แนะตามมาตรา 67 นั้น แบ่งได้เป็น 2 กรณี

1. การกระทำความผิดโดยเป็น อันเนื่องมาจาก อยู่ในบังคับหรืออยู่ภายใต้อำนาจ โดยไม่อาจขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงได้
2. การกระทำความผิดโดยจำเป็นเพื่อให้พ้นภยันตราย
ตามคำถามข้อ 13 ข้อ เท็จจริงน่าจะใกล้เคียงกับการกระทำใดแก่เพื่อให้พ้นภยันตราย จึงต้องการองค์ประกอบที่สำคัญ คือมีภยันตรายเกิดขึ้น แต่กรณีตามคำถามขึ้นที่นำมาขู่เป็นปืนเด็กเล่น จึงไม่อาจก่อภยันตรายได้ จึงไม่เข้าลักษณะที่จะอ้างการกระทำโดยจำเป็นได้

14. ในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าได้กระทำเกินกว่าเหตุ เนื่องจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือกลัว
(ก) ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นก็ได้
(ข) ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นพียงใดก็ได้
(ค) ผู้กระทำต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
(ง) ผู้กระทำต้องระวางโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นมาตรา 69 ตอนท้าย
ตอบ ก
15.กระทำความผิดหลายกระทง คือ การกระทำความผิด
(ก) กรรมเดียว และเป็นความผิดผลเดียว
(ข) กรรมเดียว และเป็นความผิดหลายบท
(ค) หลายกรรมเกิดเป็นความผิดหลายบท
(ง) หลายกรรมแต่เป็นความผิดบทเดียว
ตอบ ค

16. เอกสารสิทธิหมายถึง
(ก) ส.ค. 1 (ข) ใบแต่งทนายความ
(ค) ทะเบียนสมรส (ง) คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในคดีอาญา
ตอบ ก
เอกสารสิทธิ์ มีคำนิยามตามมาตรา 1 (9) ซึ่งหมายถึง “ เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน จ้าง หรือระงับสิทธิ์ “ สิทธิ นั้นอาจเป็นบุคคลลัทธิหรือทรัพย์สินก็ได้ แต่สิ่งนี้สำคัญ คือ เอกสารสิทธิ์นั้นจะต้องเป็นเอกสารที่แสดงที่แดงให้เห็นถึงสิทธินั้นโดยตรงใน ตัวเอกสารนั้นเอง เช่น สัญญากู้ยืมเงิน ส.ค. 1 ใบเสร็จรับเงิน ตั๋วเงินต่างๆ

สิทธิ ทะเบียนสมรส เป็นเพียงเอกสารที่รับรองสถานะของบุคคลเท่านั้น ในตัวเอกสารไม่ได้ก่อตั้งสิทธิขึ้นมา ค่าร้องทุกข์ไม่ได้ก่อตั้งสิทธิ เพราะสิทธิของผู้เสียหายเป็นอยู่แล้ว เช่นเกี่ยวกับดำเนินการ หากของศาลบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง เป็นเพียงเอกสารที่แสดงฐานะบุคคล

17. เอกสาร หมายถึงข้อใด
(ก) ควันที่พ่นออกเป็นคำด่า (ข) ไฟกระพริบเป็นตัวเลข
(ค) ภาพถ่าย (ง) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ข
ความหมายของเอกสารจะอยู่ในมาตรา 1 (7) มีข้อควรสังเกตุว่าสาระสำคัญที่จะทำให้เป็นเอกสารอยู่ที่กระทำให้ปรากฎความหมายด้วยตัวอักษร ฯลฯ คืออ่านได้ใจความ ฉะนั้นการขีดเขียนแต่ไม่ปรากฏความหมาย เช่น วาดรูป รูปภาพ จึงไม่ใช่เอกสาร

18. การพยายามกระทำความผิด ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ
(ก) การพยายามฆ่าตัวเอง (ข) การพยายามวางเพลิง
(ค) การพยายามกระทำความผิดซึ่งผู้กระทำยับยั้งเสียเองหรือกลับใจแก้ไขไม่ให้กระทำนั้นบรรลุผล
(ง) การพยายามปล้นทรัพย์
ตอบ ค

มาตรา 82 มี ข้อสังเกตว่า ความผิดที่พยายามกระทำ แต่ยับยั้งกลับใจนั้น จะต้องยังไม่เป็นความผิดสำเร็จ เช่น ลักทรัพย์สำเร็จพาทรัพย์เคลื่อนที่แล้ว กลับใจนำไปคืน ไม่เข้ากรณีมาตรา 82 แต่ยาวเป็นเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78 เป็นต้น

สำหรับ การฆ่าตัวตายนั้นไม่เป็นความผิดกฎหมายอยู่แล้ว การพยายามฆ่าตนเองจึงไม่เป็นความผิดด้วย โปรดสังเกต ไม่ทำความผิดทำให้ต้องรับโทษ แต่หากกฎหมายกำหนดว่า ไม่ต้องรับโทษ แสดงว่าเป็นความผิด แต่ยกเว้นโทษ
19. ดูต้นทางให้เพื่อนทำอนาจาร มีความผิดฐานใด
(ก) เป็นตัวการในการกระทำอนาจาร (ข) เป็นผู้สนับสนุนในการกระทำอนาจาร
(ค) พยายามกระทำอนาจาร (ง) ไม่มีความผิดฐานใด
ตอบ ข

ถ้า การต่างกับผู้สนับสนุน ตรงที่ว่า ตัวการต้องมีการกระทำ ในขณะที่การเป็นความผิดฐานพยายามได้จะต้องเป็นการที่ความผิดยังไม่สำเร็จ แต่เมื่อความผิดสำเร็จและเกิดผลแล้ว จะไม่เป็นการพยายามอีกไม่เข้ากรณี ()
20. ถ้ามีเหตุอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำผิดคนใด
(ก) ถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดี จะนำเหตุนั้นไปใช้กับผู้กระทำความผิดคนอื่นด้วยก็ได้
(ข) ถ้าเป็นเหตุส่วนตัว จะนำเหตุนั้นไปใช้กับผู้กระทำความผิดคนอื่นด้วยก็ได้
(ค) ถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดี ใช้กับผู้กระทำความผิดคนอื่นด้วยก็ได้
(ง) ผิดทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ค มาตรา 89

21. ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงซึ่งผู้กระทำมิได้มีเจตนาร้าย จะแก้ตัวได้เพียงใด
(ก) อาจทำให้พ้นผิด (ข) ไม่ต้องรับโทษ

(ค) ได้รับโทษน้อยลง (ง) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ง
มาตรา 62 สำคัญผิดในข้อเท็จจริง กล่าวคือ ข้อเท็จจริงไม่มีแต่คิดว่ามีข้อเท็จจริง เช่น จำเลยเชื่อว่า เข้าใจว่าผู้เสียหายอายุ 17 ปี ย่อมมีผลให้จำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด มาตรา 277 วรรค 1 จำเลยยอมไม่มีความผิดฐานนี้
22. พลตำรวจชาติ ประดับเครื่องหมายยศ สิบตำรวจโท ไปขอเงินพ่อค้าโดยอ้างว่าผู้ใหญ่ให้มาเอาพ่อค้าจะให้ 100 บาท พลตำรวจชาติ บอกว่าไม่พอ และว่าค้าขายใหญ่โตไม่คิดติดต่อกับตำรวจบ้างหรือแล้วกลับไป พลตำรวจชาติมีความผิดฐานใด
(ก) ฐานกรรโชก (ข) ฐานรีดเอาทรัพย์
(ค) เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบ
(ง) ประดับเครื่องหมายยศสิบตำรวจเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิใช้
ตอบ ง
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ตามมาตรา 337 จะต้องเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้คำว่าประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายโดยอาจมีหรือไม่มีอาวุธ
ส่วนความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 148 จะ ต้องเป็นการใช้อำนาจ ในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ เบื้องต้นจะต้องมีอำนาจให้กระทำหน้าที่นั้นได้แล้วใช่โดยมิชอบ จะต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่นั้นก่อน แก้จากคำถาม พลตำรวจถ้ายังไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ใดที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่หรือเป็น หน้าที่ของงานไว้ เพียงแต่ติดเครื่องหมายทางตำรวจชั้นผู้ใหญ่เพื่อเอาเครื่องหมายไปอวดแก่พ่อ ค้าพ่อค้าเพื่อขอเงินเท่านั้น จึงเป็นความผิดฐานประดับเครื่องหมายที่ตนไม่มีสิทธิใช้ตามมาตรา 146
23. คนขับรถแท็กซี่จำนวน 15 คน รวมหัวกันรับส่งคนโดยสารที่สถานีรถไฟ โดยมีความมุ่งหมายว่าถ้าคนอื่นมารับส่งบ้างจะแกล้งทำให้ของโสโครกเปรอะเปื้อน คนขับรถทั้ง 15 คน มีความผิดฐานใด
(ก) ฐานซ่องโจร (ข) ฐานอังยี่ (ค) ฐานก่อการจราจล
(ง) แกล้งทำให้ของโสโครกเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ
ตอบ ไม่มีข้อใดถูก
เป็นความผิดลงโทษ ตามมาตรา 389 เมื่อมีการกระทำนั้นเกิดขึ้นไม่เป็นความผิดฐานซ่องโจร แม้ว่าจะสมคบกันเกิน 5 คน ก็ตาม เพราะ การกระทำความผิดตามมาตรา 389 นั้น โทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึง 1 ปี จึงขาดองค์ประกอบ ตามมาตรา 210 ไม่เป็นความผิดฐานอังยี่ เพราะไม่ใช่คณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ
24. นายสงวนได้กล่าวต่อ จ.ส.ต. สันติ ในขณะที่จะเข้าจับกุมตน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า “ไอ้จ่า ถ้ามึงจับกู กูจะเอามึงออก “ นายสงวนกล่าวถ้อยคำนี้เป็นความผิดฐานใด
(ก) ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่
(ข) หมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน
(ค) ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
(ง) ไม่มีความผิด
ตอบ ค
หมิ่น ประมาท เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยบุคคลที่สามเมื่อฟังแล้วจะลดคุณค่าของผู้ถูกใส่ความลง ดูหมิ่นหมายถึงการดูถูก เหยียดยาม ทำให้อับอายเสียหาย กับประมาทหรือด่า โดยผู้กล่าว หรือผู้กระทำความผิดจะมีความรู้สึกลดคุณค่าของผู้ถูกดูหมิ่นลง
25. ร.ต.ต. ธวัชพนักงานสอบสวนได้ทำการไกล่เกลี่ยแบ่ง ทรัพย์สินกันระหว่างสามีภรรยา นายตุ๋ย สามีได้กล่าวต่อ ร.ต.ต.ธวัช ว่า “ หมวดทำอย่างนี้ไม่ยุติธรรม ชุ่ยมาก” ถ้อยคำที่นายตุ๋ยกล่าวเป็นความผิดฐานใดหรือไม่
(ก) ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
(ข) หมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่
(ค) กระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย
(ง) ไม่มีความผิด
ตอบ ง
การกระทำของ ร.ต.ต. ธวัช ในการไกล่เกลี่ยนั้นไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจึงไม่เป็นการหมิ่นหรือหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
26. กรณีใดที่ท่านเห็นว่ามิใช่ “สาธารณะสถาน”
(ก) ร้านจำหน่ายฝิ่นตรงที่จัดไว้สำหรับผู้มาสูบฝิ่น
(ข) ที่นาที่มีเจ้าของโดยที่เจ้าของปล่อยให้คนอื่นอาศัยเดินผ่านไปมาได้
(ค) สถานเริงรมย์ที่ติดประกาศห้ามบุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไป
(ง) สถานที่บนรถไฟที่จัดไว้สำหรับผู้โดยสาร
ตอบ ข มาตรา 1 (3)
องค์ ประกอบของ สาธารณะสถาน คือ สถานที่ใดประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ที่นาที่มีเจ้าของแม้เจ้าของจะ ปล่อยคนอื่นอาศัยเดินผ่านไปมาได้ ก็ไม่ใช่สาธารณะสถาน เพราะมีเจ้าของอยู่
27. กรณีใดท่านเห็นว่าเป็น”เคหสถาน”
(ก) เกวียนซึ่งเจ้าของใช้เป็นที่อยู่ประจำทั้งกลางวันและกลางคืนในเวลาเดินทาง
(ข) รั้วบ้าน (ค) ตู้นอนบนรถไฟ
(ง) ศาลาที่มีไว้สำหรับผู้โดยสารพักรอรถประจำทางมีคนนอนอยู่ประจำ
ตอบ กมาตรา 1 (4)
องค์ประกอบของเคหะสถาน คือ
เป็นที่ซึ่งใช้อยู่อาศัย
ที่นั้นคนอยู่อาศัย รวมถึงบริเวณซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย
ข้อสำคัญ ที่ซึ่งใช้อยู่อาศัยนั้นต้องเป็นที่คนอาศัยจริง ถ้าไม่มีคนอยู่อาศัยก็ไม่เรียก เคหะสถานเช่น เรือนปลูกไว้ แต่ไม่มีคนอาศัยอยู่เลย เป็นต้น แต่ถ้าเป็นที่คนอยู่อาศัยแล้วขณะเกิดเหตุไปธุระเสียหรือปิดใล่กุญแจไว้ชั่ว คราว ก็ยังนับว่าเป็นเคหะสถาน รั้วบ้านเป็นขอบเขตของเคหะสถานไม่ใช่เคหะสถาน
28. กรณีใดท่านเห็นว่าเป็น “อาวุธ”
(ก) นาย ก. ใช้เข็มสำหรับเย็บผ้า ทิ่มตานาย ข. บอดทั้งสองข้าง
(ข) นาย ก. ใช้ไฟฟ้าจี้บังคับนาย ข เพื่อให้นาย ข ส่งทรัพย์ให้
(ค) นาย ก ถือขวดน้ำกรดไปขู่ให้นาย ข ส่งทรัพย์ให้
(ง) นาย ก ใช้ปิ่นปักผมขู่เพื่อให้นาย ข ส่งทรัพย์ให้
ตอบ ก
อาวุธ ตามมาตรา 1 (5) แยกได้เป็น 3 ประเภท
1. สิ่งซึ่งเป็นอาวุธโดยสภาพ ซึ่งใช้ประทุษร้ายร่างกายได้ถึงสาหัส เช่น ระเบิด ปืน หอก มีด เป็นต้น
2. สิ่ง ซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ได้ใช้ประทุษร้ายร่างกาย ถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ เช่น ไม้คานหาบของ ไม้เท้า เหล็ก ระแวง เป็นต้น แต่ถ้าได้นำไปประทุษร้ายร่างกาย จนถึงสาหัสได้แล้ว ถือเป็นอาวุธ
3. สิ่ง ซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่เจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ คือ สิ่งซึ่งมิได้ทำขึ้นไว้เป็นเครื่องประหารโดยตรง แต่สิ่งนั้นสามารถจะใช้ประทุษร้ายต่อร่างกายได้ถึงสาหัส เช่น เคียวเกี่ยวข้าว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถ้านำติดตัวไปโดยเจตนาจะประทุษร้ายและสามารถทำให้ถึงสาหัสได้ก็ เป็นอาวุธ
สาระ สำคัญในสิ่งซึ่งจะเป็นอาวุธโดยสภาพ หรือไม่เป็นอาวุธโดยสภาพนั้นอยู่ในบทบังคับที่ว่าประทุษร้ายร่างกายถึงสาหัส ได้หรือไม่อย่างไรเรียกว่าเป็นสาหัสเป็นไปตาม มาตรา 297
29. กรณีใดท่านเห็นว่ามิใช่เป็นการ “ใช้กำลังประทุษร้าย”
(ก) จำเลยกับพวกจับมือเด็กผู้เลี้ยงกระบือไว้ และช่วยกันแกะเอาเชือกที่เด็กจูงกระบือไว้ในมือออก
(ข) จำเลยจับมือและกอดเด็กหญิงอายุ 14 ปี
(ค) ก ใช้เท้าเงื้อจะถีบ ข ทำให้ ข รู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม เจ็บใจและแค้นใจ
(ง) ก เห็น ข กำลังเดินผ่านหน้าบ้าน ก ก จึงเอาน้ำอุจจาระราดศรีษะ ข
ตอบ ค
มาตรา 1 (6) ใช้ คำว่าประทุษร้าย ได้แก่ การประทุษร้ายโดยการใช้อำนาจทางกายหรือกำลังกายของผู้กระทำกับการประทุษร้าย แก่จิตใจ เช่นการขู่ให้กลัว และการประทุษร้ายซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลโดยอยู่ในภาวะที่ไม่อาจขัด ขืนได้ ตาม (ก) (ข) และ (ง) มีการใช้กำลังทางกายภาพ
30. กรณีใดท่านเห็นว่าเป็นเอกสารราชการ
(ก) แบบแจกแจงการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
(ข) หนังสือมอบอำนาจให้จัดการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนเจ้าของที่ดิน
(ค) ใบอนุญาติขับขี่รถยนต์
(ง) หลักฐานการกู้ยืมเงินอันทำเป็นหนังสือ
ตอบ ก
มาตรา 1 (8) เอกสารราชการหมายถึง เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขั้นในหน้าที่ เอกสารที่เจ้าพนักงานนั้นไม่ได้ทำแต่ ได้รับรองในหน้าที่ และสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่
..1 เป็นเอกสารสิทธิ แต่ไม่ใช่เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการใบมอบฉันทะเป็นหนังสือธรรมดา
31. กรณีใดท่านเห็นว่าเป็น”เอกสารสิทธิ”
(ก) สลากกินแบ่งของรัฐบาลที่เจ้าหน้าที่สำนักงานสลากกินแบ่งทำขึ้น
(ข) ทะเบียนสมรส (ค) บัตรประจำตัวประชาชน
(ง)คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตอบ ก
มาตรา 1 (9) เอกสาร สิทธิ เป็นหลักฐานที่จะเกิดผลบังคับได้ตามกฎหมาย ทะเบียนสมรส คำร้องทุกข์ บัตรประชาชน ไม่ใช่เอกสารสิทธิ สลากกินแบ่งของรัฐบาลที่ออกโดยสำนักงานกินแบ่งของรัฐบาล เป็น เอกสารสิทธิแต่ไม่ใช่เอกสารทางราชการ
32. กรณีใดท่านเห็นว่าเป็น”เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ”
(ก) ใบสำคัญรับเงินค่าพาหนะที่ข้าราชการนำมาขอเบิกเงิน
(ข) ทะเบียนรถยนต์
(ค) ทะเบียนสมรส
(ง) สัญญาจะซื้อจะขาย
ตอบ ก
เอกสารสิทธิที่กระทำโดยเจ้าพนักงานที่ทำในหน้าที่ – เอกสาร สิทธิอันเป็นเอกสารราชการ ทะเบียนสมรส ไม่ใช่เอกสารสิทธิ ทะเบียนรถยนต์เป็นเอกสารราชการ ใบสำคัญรับเงินค่าพาหนะเดินทาง ที่ข้าราชการนำมาเบิกเงินไม่ใช่เอกสารราชการ
ข้อ นี้คำตอบที่น่าจะถูกมากที่สุดคือ สัญญาจะชื้อจะขาย แต่ควรต้องเพิ่มเติมว่าที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้น เนื่องจากเป็นเอกสารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสิทธิ
33. ข้อใดไม่เป็นเอกสาร
(ก) ภาพวิวชายทะเลลงชื่อผู้เขียนภาพไว้ด้วย
(ข) ภาพถ่ายหนังสือแจ้งผลการสอบไล่
(ค) ศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหง
(ง) แผนที่ประเทศไทย
ตอบ ก
จะเป็นเอกสารสิทธิได้จะต้อง กระทำให้ปรากฏความพยายามถ่ายตัวอักษร ฯลฯ คืออ่านได้ใจความ ภาพวิวชายทะเลไม่อาจอ่านได้ใจความได้
34. นายฉุย ถูกนายฉิม ฟ้องให้ชำระหนี้ 5,000 บาท คดี อยู่ระหว่างอุทธรณ์ นายฉุยกลัวว่าถ้าแพ้คดีจะต้องถูกกยึดทรัพย์ จึงโอนที่ดินและบ้านไปให้นายฉาบ จนหมด ดังนั้น นายฉุยจะมีความผิดฐานใด
(ก) ยักยอก (ข) ฉ้อโกง (ค) โกงเจ้าหนี้ (ง) ไม่มีความผิด
ตอบ ค
ความ ผิดฐานยักยอกจะต้องมีการครอบครอง ทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ความทำผิดฐานฉ้อโกงจะต้องมีการหลอกลวง โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงอันควรแจ้งความ ผิดฐานโกงเจ้าหนี้ มาตรา 35 คือการโอน ซ้อน ย้าย ทรัพย์โดยเจตนาเพื่อมิให้ เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
35. ความหมายของ “กรรมเดียว” คือ
(ก) การกระทำหลายอันละเมิดกฎหมายหลายบท
(ข) การกระทำอันเดียวซึ่งละเมิดกฎหมายตั้งแต่ 2 บทขึ้นไปหรือการกระทำต่อเนื่องโดยมีเจตนาอย่างเดียวกัน
(ค) การกระทำหลายอันต่างเจตนากัน
(ง) การกระทำอันเดียวละเมิดกฎหมายบทเดียว
ตอบ ถูกทั้งข้อ ข และ ง
กรรม คือการกระทำ กรรมเดียวคือเจตนาเดียว แต่การกระทำเดียวนั้นอาจละเมิดกฎหมายหลายบทหรือบทเดียวก็ได้
36. นาย โหน่งรวมเงินกับนายเหน่ง ซื้อรถจักรยานยนต์สามล้อรับจ้างส่งผู้โดยสาร โดยนายโหน่งเป็นผู้ครอบครองรถแต่ผู้เดียว ต่อมานายโหน่งนำรถนั้นไปขายเสีย นายโหน่งมีความผิดฐานใดหรือไม่
(ก) ไม่มีความผิด (ข)ผิดฐานลักทรัพย์
(ค) ผิดฐานยักยอก (ง) เป็นละเมิดทางแพ่ง
ตอบ ค
ไม่ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะนายโหน่งครอบครองรถดังกล่าวอยู่แล้ว ความผิดฐานลักทรัพย์นั้นเป็นเรื่องทำทรัพย์และแจ้งการครอบครอง ดังนั้น การจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ข้อเท็จจริงจะต้องฟังด้วยว่า ผู้อื่นครอบครองทรัพย์นั้นอยู่
37. บุคคลในข้อใดที่กฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ
(ก) เอกอัครราชฑูตและอัครราชฑูต (ข) ราชฑูตและอุปฑูต
(ค) ฑูตทหารและกงสุล (ง) บุคคลในข้อ ก และ ข้อ ข
ตอบ ง
ตามมาตรา 131 ให้ ความคุ้มครองบุคคลใดก็ตามที่เป็นผู้แทนของรัฐต่างประเทศที่ได้รับการแต่ง ตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก จึงหมายถึง พวกคณะฑูตและฑูตทหารด้วย กงสุล นั้นกฎหมายระหว่างประเทศก็อนุโลมให้ถือเป็นฑูตด้วย ข้อนี้จึงไม่มีข้อใดถูกเพราะทั้ง (ก) (ข) และ(ค) เป็นคำตอบที่ถูกทั้งหมด
38.คำกล่าวใดในข้อต่อไปนี้ที่ไม่ถือว่าเป็นการดูหมิ่น
(ก) อีดอกทอง (ข) ไอ้หน้าด้าน
(ค) อีหน้าหมู อีหน้าหมา (ง) อีหน้าเลือดไม่ปราณีคนจน
ตอบ ง
ดูหมิ่น คือการแสดงเหยียดหยาม เช่นด่าด้วยคำพูดหยาบคาย หรือแสดงกริยาเหยียดหยามอย่างอื่น เช่นถ่มน้ำลายรด ด่าด้วยคำหยาบคาย ด่าว่าเป็นสัตว์เดรัจฉาน
39. ผู้ชายสำเร็จความใคร่ให้แก่กันโดยฝ่ายหนึ่งได้สมัครใจยินยอมนั้น ผู้กระทำจะมีความผิดอาญาฐานใด บ้างหรือไม่
(ก) กระทำชำเรา (ข) ไม่มีความผิดใดๆ
(ค) กระทำอนาจาร (ง) ข่มขืนกระทำชำเรา
ตอบ ข
กระทำชำเราย่อมสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อของลับของชายล่วงล้ำเข้าไปในของลับผู้หญิงไมว่าจะล่วงล้ำเล็กน้อยเท่าใด
กระทำอนาจาร หมายถึง การกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่น
การกระทำของผู้ชายที่สำเร็จความใคร่ให้แก่กัน แต่ไม่เป็นความผิดตามผิดตามมาตรา 278 เนื่องจากมีความยินยอม เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการใช้การขู่เข็ญหรือหลอกลวงใดๆ
40.นายสมศักดิ์ใช้ปืนยิงขา นายแสนแสบ ขณะนั้นนายสมศักดิ์ยืนห่างจากนายแสนแสบประมาณ 2เมตร นายแสนแสบได้ รับ บาดเจ็บอย่างมาก รักษาตัวอยู่ 20 วันจึงกลับมาทำงานได้ตามปกตินายสมศักดิ์มีความผิดฐานใด
(ก) พยายามฆ่านายแสนแสบ (ข) ทำร้ายผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

(ค) ทำร้ายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส (ง) ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
ตอบ ข
ใช้ ปืนยิงขาแสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่า เมื่อไม่มีเจตนาฆ่า จึงไม่ผิดฐานพยายามฆ่า และไม่ใช่การกระทำโดยประมาท เพราะไม่ใช่การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง จึงเป็นเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้นเพียงแต่จะถือว่าอันตรายสาหัสหรือไม่ต้อง พิจารณามาตรา 297 (1)-(8) การรักษาตัว 20วันไม่เข้ากรณีดังกล่าว


สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
61 โจรเข้าปล้นบ้านริมน้ำหญิงเจ้าของบ้านกลัวโจรจะทรมาน จึงกระโดดหนีลงน้ำจมน้ำตาย ดังนี้

(ก) โจรมีความผิดฐานฆ่าเจ้าของบ้านโดยประมาท
(ข) โจรมีความผิดฐานฆ่าเจ้าของบ้าน
(ค) โจรมีความผิดฐานพยายามฆ่าหญิงเจ้าของบ้าน
(ง) โจรมีความผิดฐานฆ่าหญิงเจ้าของบ้านโดยไม่เจตนา
ตอบ ข
ไม่ มีความผิดฐานฆ่าเจ้าของบ้าน เนื่องจาก ไม่มีเจตนาฆ่า ไม่เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า และไม่เจตนาทำร้ายพยาน จึงจะเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา มาตรา 290
62. ลักทรัพย์คราวเดียว เป็นทรัพย์หลายเจ้าของ
(ก) เป็นการกระทำผิดหลายกระทง ผิดกฎหมายบทเดียว
(ข) เป็นการกระทำกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท
(ค) เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ
(ง) เป็นการการะทำกรรมเดียว วาระเดียว ผิดกฎหมายบทเดียว
ตอบ ง
กรรมเดียวคือการกระทำเดียว เจตนาเดียว และถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายบทเดียวแต่มีผู้เสียหายหลายคนในการกระทำความผิดคราวเดียว
63. ความผิดต่อไปนี้ ไม่มีพยายามกระทำความผิด
(ก) ความผิดโดยเจตนา (ข) ความผิดโดยประมาท
(ค) ผิดทั้ง 2 ข้อ (ง) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ข
การกระทำโดยประมาทเป็นการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น การกระทำโดยประมาทมิใช่การกระทำโดยเจตนา
64. การงดเว้นการที่จักต้องกระทำ ตาม ป. อาญา มาตรา 59 วรรคท้าย คำว่า “ จักต้อง” หมายความถึง
(ก) หน้าที่ตามกฎหมาย (ข) หน้าที่ที่เกิดจากการยอมรับโดยเจาะจง
(ค) หน้าที่ที่เกิดจากความสัมพันธ์พิเศษ (ง) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ง
65. หลักพิเศษที่ใช้กับความผิดลหุโทษ ข้อใดถูกต้อง
(ก) ความผิดลหุโทษไม่ต้องการเจตนาในการกระทำความผิด
(ข) พยายามกระทำความผิดลหุโทษไม่มีโทษ
(ค) ผู้สนับสนุนความผิดลหุโทษไม่มีโทษ (ง) ถูกทั้ง 3 ข้อ
ตอบ ง
66. ข้อใดเป็นความผิดซึ่งเกิดจากเจตนาโดยเล็งเห็นผลของการกระทำ
(ก) นาย ดำ เป็นหมอไสยศาสตร์ ให้นายแดงใช้มีดลองฟันเพื่ออวดวิชายิงฟันไม่เข้าของตน นายแดงฟันไปที่บริเวณหลังของนายดำ ทำให้นายดำถึงแก่ความตาย
(ข) นายแม่น เป็นนักแม่นปืน เล็งยิงนกที่เกาะอยู่บนรั้ว ปรากฏว่ายิงไปถูกเด็กซึ่งยืนอยู่ใกล้นกถึงแก่ความตาย
(ค) นาย เอก ไปล่าสัตว์กับนายโทเห็นกวางยืนอยู่หน้าโท นายเอกจึงปืนเล็งไปที่กวางซึ่งมีวิถีกระสุนอยู่ใกล้เคียงกับศรีษะนายโทปรากฏ ว่ากระสุนถูกนายโทตาย
(ง) ถูกเฉพาะข้อ ก และ ค
ตอบ ง
(ข) เป็น การกระทำโดยประมาทไม่ใช่เจตนาประเภทประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นเจตนาโดยเล็ง เห็นผลในขณะกระทำ จะพิจารณาโดยเทียบเคียงกับระดับความคิดเป็นของบุคคลในฐานะหรือสภาพอย่าง เดียวกัน ถ้าการกระทำนั้นตามธรรมร่วมเล็งเห็นผลว่าจะเกิดได้แน่นอนเท่าที่จิตใจของ บุคคลในฐานะหรือสภาพนั้นจะเล็งเห็นได้
67 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องตามหลักเรื่องเจตนาพิเศษ
(ก) กฎหมายให้ดูเจตนาตามหลักเรื่องเจตนาพิเศษ
(ข) เจตนาพิเศษนำมาใช้ในความผิดที่จะกำหนดโทษให้สูงขึ้น
(ค) เจตนาพิเศษนำมาใช้กับความผิดที่จะยกเว้นให้เท่านั้น
(ง) บางความผิดต้องมีเจตนาพิเศษจึงจะเป็นความผิด
ตอบ ง
เจตนาพิเศษเป็นองค์ประกอบการกระทำความผิดอย่างหนึ่งมีกำหนดไว้สำหรับความผิดบางมาตรามักจะขึ้นด้วยคำ “เพื่อ” “ ในประการที่น่าจะ………….”
68. นายมาประสงค์จะฆ่านายมี เห็นโอ่งตั้งอยู่หน้าบันไดหน้านายมี คิดว่าเป็นนายมีจึงยิงไปที่โอ่งนั้น นายมาจะมีความผิดฐานใดหรือไม่
(ก) ไม่มีความผิด (ข) ฆ่าผู้อื่นโดยประมาท
(ค) พยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 80
(ง) พยายามฆ่าผู้อื่นในความผิดที่เป็นไปไม่ได้ตามมาตรา 81
ตอบ ง
ความพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ มี 2เหตุปัจจัย คือปัจจัยในด้านอาวุธที่ใช้ในการกระทำเช่นปืนเด็กเล่น และปัจจัยเกี่ยวกับวัตถุที่กระทำต่อ เช่น นำไปที่โอ่ง ตอไม้
69. ก ใช้สุนัขที่ฝึกให้ไปเอาทรัพย์ของผู้อื่น
(ก) ก ต้องรับผิดฐานพยายามลักทรัพย์ เพราะเป็นการกระทำโดยตรงของ ก
(ข) ก ต้องรับผิด ฐานใช้ให้ผู้อื่นไปกระทำความผิด
(ค) ก ไม่มีความผิดอะไรเลย เพราะเป็นการกระทำของสุนัข
(ง) ก ต้องรับผิดฐานลักทรัพย์ เพราะเป็นการกระทำโดยอ้อมของ ก
ตอบ ง
บุคคลอาจใช้สัตว์เป็นเครื่องมือในการละเมิดกฎหมายได้ ถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าของสัตว์เอง
70. นาย สี ตั้งใจฆ่านายสา จึงเงื้อดาบขึ้นเพื่อฟันนายสา แต่มีนายแสงจับมือนายสีไว้ ทำให้นายสีฟันนายสาไม่ได้เช่นนี้ถีอว่านายสีกระทำความผิดตามที่ตั้งใจหรือ ยัง
(ก) ยัง เพราะยังมิได้กระทำการอันเป็นเนื้อหาแห่งความผิดนั้น
(ข) เป็นการลงมือแล้ว เพราะไม่ได้กระทำการอันเป็นเนื้อหาแห่งความผิดนั้นแล้ว
(ค) ยัง เพราะการเงื้อดาบอยู่ในขั้นตระเตรียมการเท่านั้น
(ง) เป็นการลงมือแล้ว เพราะได้เคลื่อนไหวร่างกายแล้ว
ตอบ ข
ได้มีการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำนั้นไปไม่รอด เพราะมีผู้มาขัดขวางไว้ เป็นการพยายามกระทำความผิดแล้ว
71. การกระทำที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
(ก) การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
(ข) การกระทำโดยจำเป็นพอสมควรแก่เหตุ
(ค) การกระทำขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะจิตบกพร่อง
(ง) ถูกทั้งข้อ ก และ ค
ตอบ ก
การกระทำโดย และการกระทำขณะจิตบกพร่อง เป็นการกระทำความผิดแต่กฎหมายยกเว้นโทษ
72. การกระทำที่ไม่เป็นความผิดอาญา
(ก) การกระทำโดยจำเป็นพอสมควรแก่เหตุ
(ข) การกระทำขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะจิตบกพร่อง
(ค) การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
(ง) ถูกทุกข้อ
ตอบ ค
73. กระทำตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ซึ่งคำสั่งนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับการยกเว้นโทษตาม
มาตรา 70 ก็ต่อเมื่อ
(ก) ต้องเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงาน
(ข) ผู้กระทำไม่รู้ว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(ค) ผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
(ง) ถูกทั้งหมด
ตอบ ง
74. กระทำชำเราหญิงรูปร่างใหญ่โตโดยหญิงนั้นยอม และจำเลยมีได้ทราบว่าหญิงนั้นอายุไม่เกิน 13 ปี จำเลยมีความผิดหรือไม่
(ก) ไม่ผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิด
(ข) ไม่ผิดเพราะสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด
(ค) ผิด เพราะหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี
(ง) ผิดเพราะเป็นความผิดเด็ดขาด
ตอบ ข
ความผิดฐานกระทำชำเราหญิงอายุไม่เกิน 15 ตามมาตรา 277 ต้องเป็นการกระทำแก่ผู้อายุ ยังไม่เกิน 15 ปี อายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบความผิดด้วย เมื่อไม่รู้ข้อเท็จจริงเรื่องอายุ จึงไม่มีความผิด ตามหลัก “รู้เท่าใดเจตนาเท่านั้น”
75.ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าพนักงานเพราะขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวที่เป็นองค์ประกอบความผิดรวมกระทำความผิดกับเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่
(ก) เป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิด
(ข) เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
(ค)เป็นผู้โฆษณาหรือประกาศให้ผู้อื่นกระทำความผิด
(ง) เป็นผู้ใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิด
ตอบ ข
76. ถ้าความผิดที่ได้สนับสนุนได้กระทำถึงขั้นลงมือกระทำความผิดแล้วผู้สนับสนุนจะไม่ต้องรับโทษ
ต่อเมื่อ
(ก) ผู้ลงมือกระทำความผิดเปลี่ยนใจไม่กระทำไปให้ตลอด เพราะกลัวเจ้าพนักงานตำรวจจับผู้กระทำจึงได้กระทำไปไม่ตลอด
(ข) เนื่องจากการขัดขวางของผู้สนับสนุน ถูกขัดขวางการกระทำที่ที่ตนสนับสนุน จึงกระทำการไปไม่ตลอดหรือกระทำไปแล้วแต่ไม่บรรลุผล
(ค) ผู้สนับสนุนถูกขัดขวางการกระทำที่ตนสนับสนุน จึงกระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปแล้วแต่ไม่บรรลุผล
(ง) การขัดขวางของผู้เสียหาย จึงทำให้ผู้กระทำกระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่ไม่บรรลุผล
ตอบ ข มาตรา 88
77. ต่อไปนี้ข้อใดถูก
(ก) สมคบกันมาก่อนแล้วร่วมไปด้วยกันแม้ไม่ได้กระทำเองก็ถือเป็นตัวการด้วย
(ข) การร่วมมือกระทำความผิดนั้น แม้มาร่วมภายหลังจากความผิดสำเร็จก็ถือว่าเป็นตัวการร่วมด้วย
(ค) มีการกระทำแต่ไม่มีเจตนาร่วมก็ดี หรือมีเจตนาร่วมแต่ไม่ได้กระทำก็ดี ถือว่าเป็นตัวการ
(ง) ถูกทั้งหมด
ตอบ ก
การที่จะเป็นตัวการช่วย ตามมาตรา 83 จะต้องมีบุคคล 2 คน ขึ้นไป กระทำร่วมจ้าง ถือว่าร่วมกันได้และการร่วมกระทำความผิดที่จะเป็นตัวการร่วมกันนั้น หมายความถึง ร่วมในขณะลงมือกระทำความผิด คือถึงขั้นพยายามกระทำความผิดแล้ว ถ้าเป็นการร่วมมือก่อนกระทำความผิด หรือ หลังกระทำความผิดไม่ใช่ร่วมมือในฐานตัวการ แต่เป็นผู้สนับสนุน และผู้กระทำร่วมกันทั้งหลายต้องมีเจตนากระทำร่วมกันด้วย
78. จำเลยดูต้นทางให้เพื่อนทำอนาจาร จำเลยมีความผิดเพียงใด
(ก) เป็นตัวการในการอนาจาร
(ข) เป็นผู้สนับสนุนการอนาจาร
(ค) ไม่มีความผิดฐานอนาจาร (ง) ผิดทั้งหมด
ตอบ ข
79. ความผิดใด ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร
(ก) ผู้กระทำผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย
(ข) ก ยืนอยู่ประเทศลาวมีเจตนาฆ่า ข ซึ่งยืนอยู่ฝนประเทศไทย
(ค) ถูกทั้งข้อ ก และ ข (ง) ผิดทั้งหมด
ตอบ ค
การใช้กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดในราชอาณาจักรนั้นแยกเป็น 2 ประเภท
1. ความผิดที่กระทำในราชอาณาจักรแท้
2. ความผิดที่กฎหมายให้ถือว่ากระทำในราชอาณาจักร มาตรา 4 วรรค 2 มาตรา 5 มาตรา 6
80. การตระเตรียมกระทำความผิด ที่มีโทษตาม ป .อาญา
(ก) ตระเตรียมการเพื่อปลงพระชนม์พระมาหากษัตริย์
(ข) ตระเตรียมการวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น
(ค) ตระเตรียมการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (ง) ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข
ตอบ ง
การ ตระเตรียมเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นแห่งการลงมือ การตระเตรียมกระทำความ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
81. ขณะเกิดเพลิงไหม้เจ้าของบ้านตกใจมากจึงไม่ทันคิดจะไปเอาน้ำจากที่อื่นมาดับไฟ จึงไปลักน้ำจากบ้านอื่นมาดับไฟ เป็นกรณี
(ก) เป็นการพยายามกระผิดตามมาตรา 80 (ประมวลกฎหมายอาญา )
(ข) เป็นการกระทำความผิดซึ่งไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะปัจจัยที่ใช้ในการกระทำตามมาตรา 81
(ค) ไม่ถูกทั้งสองข้อ (ง) ถูกทุกข้อ
ตอบ ก
82. นาย ก ได้พกอาวุธปืนลูกซองสั้นชนิดทำเองไม่มีหมายเลขทะเบียนจำนวน 1 กระบอก และภายในรังเพลิงมีกระสุนปืน ลูกซองขนาด นัมเบอร์ 12 จำนวน 1 นัด เดินอยู่ตามถนนหมู่บ้านและถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัว โดยกล่าวหาว่ามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุ ญาติ และพกพาอาวุธปืนไปในเมืองในหมู่บ้าน หรือที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พกพา การกระทำของนาย ก
(ก) กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
(ข) เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน
(ค) เป็นการกระทำ 2 กรรม
(ง) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ก
การ มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปื่นไว้ในครอบครองนั้นเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ ผิดกฎหมายหลายบท แค่การพกอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน หรือที่สาธารณะนั้นเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นความผิดต่างกรรมหลายกระทง มาตรา 91
83. นาย ก ทราบว่านาย ข หมิ่นประมาท เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2506 และนาย ก ได้มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2506 ดังนั้น
(ก) คดีหมิ่นประมาทของนาย ก ขาดอายุความแล้ว
(ข) คดีหมิ่นประมาทของนาย ก ยังไม่ขาดอายุความ
(ค) คดีหมิ่นประมาทนาย ก ขาดอายุความ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2506
(ง) คดีหมิ่นประมาทนาย ก จะขาดอายุความ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2506
ตอบ ข
ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 373 กำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งมาตรา 96 กำหนดให้ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรือ่งความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดการนับระยะเวลา 3 เดือนนี้ใช้หลัก
84. ผู้ใดพยายามกระทำความผิดที่เป็นความผิดลหุโทษ
(ก) ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ (ข) ไม่เป็นความผิด
(ค) ได้รับยกเว้นโทษ (ง) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ กตามมาตรา 105
85. การทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ที่เป็นลหุโทษนั้น
(ก) ไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด (ข) ต้องมีเจตนาจึงเป็นความผิด
(ค) ถ้าเพียงแต่พยายามก็เป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (ง) ถูกทั้งข้อ ข และ ค
ตอบ ง
ตามมาตรา 391 จะต้องมีเจตนาทำร้ายแต่เป็นความผิดลหุโทษ เพียงแค่พยายามจะไม่ต้องรับโทษ
86. ต่อไปนี้ข้อใดเป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำตามหน้าที่
(ก) กล่าวกับตำรวจขณะปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า “ ตำรวจเฮงซวย ถือว่ามีอำนาจก็ทำไปตามอำนาจจะต้องให้เจอดีเสียบ้าง
(ข) กล่าวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะเข้าทำการจับกุมตามกน้าที่ว่า “ คุณแกล้งจับผม”
(ค) ผู้ขับขี่รถยนต์กลาวต่อเจ้าพนักงานตำรวจจราจรขณะทำการตามหน้าที่จับรถยนต์ผู้ขับขี่ว่า “ลื้อชุ่ยมาก”
(ง) ถูกทุกข้อ
ตอบ ง
การดูหมิ่น เป็นการแสดงอาการเหยียดหยามดูถูก อาจใช้คำด่า โดยผู้กล่าวรู้สึกลดคุณค่าของผู้ถูกดูหมิ่นลง
87. จ.ส.ต.แดง เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ แกล้งทำการจับกุมนายดำ ซึ่งเป็นราษฎรในความผิดอาญาฐานหนึ่งโดยไม่ปรากฏว่านายดำได้กระทำความผิดแล้ว ข่มขืนใจเอาเงินแล้วปล่อยตัวไป ดังนี้ จ.ส.ต. แดงมีความผิดฐานใด
(ก) เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ (ม. 148 ป.อ.)
(ข) เป็นเจ้าพนักงานเรียกหรือรับสินบน (ม.149 ป.อ.)
(ค) เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (ม. 157 ป.อ.)
(ง) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข
88. ผู้ ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ถ้าและได้กระทำความผิดใดๆ อีกในระหว่างที่ยังต้องรับโทษอยู่ดี ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้น
(ก) หนึ่งในสองของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
(ข) หนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
(ค) สองในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
(ง) ไม่มีข้อถูก
ตอบ ข(มาตรา 93)
89.ใน คดีอาญาถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายในกำหนด นับวันกระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(ก) อายุความ 20 ปี (ข) อายุความ 15 ปี
(ค) อายุความ 10 ปี (ง) อายุความ 18 ปี
ตอบ กมาตรา 95(1)
90. การ ยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือการกักขังแทนค่าปรับ ถ้ามิได้ทำภายในกำหนด นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด จะยึดทรัพย์สินหรือกักขังไม่ได้
(ก) กำหนด 2 ปี (ข) กำหนด 3 ปี
(ค) กำหนด 10 ปี (ง) กำหนด 10 ปี
ตอบ คมาตรา 99
91. ความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยขาดต่อใบอนุญาตนั้น อายุความ
(ก) 1ปี (ข) 2 ปี (ค) 3ปี
(ง) ไม่มีอายุความ ถือว่าเป็นความผิดไปเรื่อยๆ
ตอบ ง
92. อายุความในความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานนั้น อายุความเริ่มนับตั้งแต่
(ก) ศาลมีคำสั่งพิพากษาสิ้นสุดลง
(ข) วันที่ขัดขืนไม่หระทำตามคำสั่งเป็นต้นไป
(ค) วันที่รับหมายหรือคำสั่ง
(ง) ถูกทั้ง 3ข้อ
ตอบ ข
93. ความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน การฟ้องร้องคดีมีอายุความ
(ก) 2 ปี (ข) 4 ปี .(ค) 5 ปี (ง) 10 ปี
ตอบ คมาตรา 95 (4)
94.นาย แดงผูกปืนยาวลูกซองบรรจุลูกไว้ด้วยผ้าขาวม้า และผูกเพียงเงื่อนเดียวแขวนไว้กับขอแขวนเสื้อที่หน้าเรือน ต่อมาประมาณ หนึ่งชั่วโมงมีพายุพัดมา ปืนหลุดจากที่แขวนตกลงมายังพื้นเรือน และปืนลั่นถูกนายเขียวซึ่งนั่งอยู่ใกล้ปืนที่ตก นายเขียวได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา นายแดงจะมีความผิดฐานใด
(ก) มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
(ข) มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยกระทำโดยประมาท
(ค) ไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาและไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุ
(ง) มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเพราะการตายนั้นมาเกิดภายหลังที่ถูกปืน
ตอบ ค
ไม่ เป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เพราะไม่มีความประสงค์ต่อผลให้นายเขียวตาย ในขณะเดียวกันการที่ลมพายุพัดก็เป็นเหตุแทรกแซง ที่โดยปกติถือว่าไม่อาจคาดหมายได้ จึงไม่ใช่การเล็งเห็นผลและ แม้นายแดงจะไม่รอบคอบในการผูกปืนแต่ไกลเกินกว่าเหตุ เพราะถ้าไม่มีพายุ ปืนก็ไม่ตกลงมา จึงเป็นเหตุบังเอิญอย่างมาก เช่นเดียวกับการถูกกระสุนปืนก็เป็นเหตุบังเอิญด้วยมีหลัก อยู่ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าผลอันเกิดจากการกระทำของตนเอง
95. นายแดงทะเลาะกับนายเขียวอย่างรุนแรง นายแดงโกธรใช้ปืนยิงนายเขียว แต่กระสุนพลาดไปถูกนายดำบิดานายแดงถึงแก่ความตายนายแดงผิดฐานใด
(ก) ฆ่าคนตายโดยเจตนา (ข) ฆ่าบุพการีตาย
(ค) ฆ่าคนตายโดยเจตนาและพยายามฆ่า (ง) ฆ่าบุพการีตาย และพยายามฆ่า
ตอบ ค
นายแดงกับนายเขียว เป็นพยายามฆ่า คือลงมือแล้วแต่ไม่บรรลุผล แต่นายแดงต่อนายดำ (บิดา) เป็น ฆ่าคนตายโดยเจตนา แต่เป็นเจตนาโดยพลาด ซึ่งมีหลักว่าพลาดเป็นเรื่องเจตนาโอน และเจตนาที่โอนมาจะเป็นเจตนาเดียวกับเจตนาที่กระทำต่อเขียว ซึ่งเจตนามีต่อเขียวเป็นเจตนาฆ่าบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่บุพการีที่จะต้องทำให้ แดงจะต้องรับโทษหนักขึ้น ตามหลักเรื่องพลาดในมาตรา 60
96. นาย เขียวกับพวกคอยดักซุ่มอยู่ระหว่างทาง โดยคิดว่านายแดงจะต้องขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมาทางนั้น บังเอิญนายดำขี่จักรยานยนต์ผ่านไปนายเขียวกับพวกสำคัญผิดคิดว่าเป็นนายแดง จึงร่วมกันใช้ปืนยิงนายดำถึงแก่ความตาย นายเขียวกับพวกผิดฐานใด
(ก) ร่วมกันฆ่าคนโดยเจตนา (ข) ร่วมกันฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
(ค) ประมาทเป็นเหตุให้คนตาย (ง) ร่วมกันฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ตอบ ง
นายเขียวกับพวกจะยกเอาข้อสำคัญในตัวบุคคลมาแก้ตัวว่ามิได้กระทำต่อนายดำ โดยเจตนาฆ่าไม่ได้ตามมาตรา 61 และยังเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามมาตรา 289(4) ด้วย เนือ่งจากในการฆ่านั้นมักกระทำมีโอกาสคิดทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำการฆ่า และเป็นการกระทำร่วมกันของบุคคล ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป จึงเป็นตัวการร่วมกันทั้งหมด ตามมาตรา 83
97. ก มีความโกธรเคือง ข และหาทางฆ่า ข ตลอดมา วันหนึ่งเดินไปพบ ค สำคัญผิดคิดว่าเป็น ข จึงเอาปืนยิง ค ถึงแก่ความตาย ก จะต้องรับผิดเพียงใด
(ก) ฆ่าคนตายตามมาตรา 288
(ข) ฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(ค) ประมาทเป็นเหตุให้คนตาย
(ง) ไม่มีความผิดเพราะเป็นการสำคัญผิด
ตอบ ข
การ หาทางฆ่าตลอดมา และเมื่อพบตัวจึงฆ่าทันที จุดสำคัญอยู่ไม่ได้อยู่ที่ว่าก่อนการฆ่าคิดนานหรือไม่ เวลาในการคิดไม่สำคัญ จุดสำคัญอยู่ที่ว่าผู้กระทำได้ผ่านการคิดทบทวนชั่งน้ำหนักดูแล้วจึงตัดสินใจ
98. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว จะต้องรับโทษเพียงใด
(ก) ไม่มีความผิด (ข) มีความผิด
(ค) มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (ง) มีความผิดแต่ต้องรับโทษน้อยลง
ตอบ คมาตรา 67
99. การกระทำที่ถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นมีผลอย่างไร
(ก) ไม่มีความผิด (ข) มีความผิด
(ค) มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (ง) มีความผิดแต่รับโทษน้อยลง
ตอบ กมาตรา 68
100. คนร้ายจูงกระบือไปจากใต้ถุนเรือนนายเขียวเมื่อเวลา 24.00 น นายเขียวร้องถาม คนร้ายหันปืนมาทางนายเขียว นายเขียวจึงยิงปืนไปจากบนเรือน 2 นัด ถูกคนร้ายตายนายเขียวถูกลักกระบือมาแล้วครั้งหนึ่ง และหมู่บ้านนั้นก็มีการลักกระบือกันเสมอ ดังนี้นายเขียวผิดฐานใด
(ก) ฆ่าคนตายโดยเจตนา (ข) ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
(ค) เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ (ง) เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
ตอบ ค
การป้องกันตามมาตรา 68 เป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัยโดยพอสมควรแก่เหตุ
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้