108. กองทะเบียนพล มีสำเนาคำสั่งที่อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ลงนาม มีต้นฉบับ (ต้นครุฑ) เจ้าหน้าที่คนนั้นจะต้องดำเนินการอย่างไร
1. ขอออกเลขที่หนังสือที่สำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ
2. ขอออกเลขที่ที่กองวิชาการ กรมตำรวจ
3. ขอออกเลขที่ที่กองทะเบียนพล
4. ขอออกเลขที่ที่สำนักงานกำลังพล
109. หน่วยงานของกรมตำรวจที่มีที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งานบริการทั่วไป ได้แก่
1. กองบัญชาการตำรวจนครบาล 2. กองบัญชาการศึกษา
3. สำนักงานแพทย์ใหญ่ 4. กองวิชาการ
110. หน่วยงานของกรมตำรวจที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ต้องนำเงินค่าส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ของแต่ละเดือนที่ใช้บริการแล้ว ภายในวันที่เท่าใดของเดือนถัดไป
1. ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป 2. ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
3. ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป 4. ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป
111. การทำความตกลงระหว่างหน่วยงานของกรมตำรวจที่ได้รับจัดสรรงบประม าณกับการสื่อสารแห่งประเทศ โดยชำระค่าส่งรายเดือนต้องกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการ ส่งไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุได้ไม่เกิน
1. ไม่เกิน 2 คน 2. ไม่เกิน 3 คน 3. ไม่เกิน 4 คน 4. ไม่เกิน 5 คน
112. สำนักงานส่งกำลังบำรุงมีความจำเป็นจะเสนองานโดยตรงไปยังกรมตำรว จสั่งการจะต้องดำเนินการอย่างไร
1. แจ้งให้สำนักงานเลขานุการดำเนินการต่อไป 2. นำเรื่องขออนุมัติกรมตำรวจเพื่อดำเนินการ
3. แจ้งเวียนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทราบและดำเนินการ 4. ให้กองวิชาการดำเนินการ
113. สิ่งของต้องห้ามมิให้ส่งทางไปรษณีย์ ได้แก่อะไร
1. วัตถุมีคมที่ไม่มีเครื่องหุ้มห่อป้องกันพอ 2. สัตว์มีชีวิต
3. สิ่งโสโครกหรือสิ่งมีพิษ 4. ถูกทุกข้อ
114. หนังสือราชการ (เป็นเรื่องสำคัญ) ที่ทำในนามกรมตำรวจ หรือผู้ทำการแทน หรือรองอธิบดี ผู้ช่วยอธิบดี ใครเป็นผู้ลงนามตรวจ
1. ผู้บังคับการหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปลงนามตรวจ
2. สารวัตรหรือเทียบเท่าสารวัตรลงนามตรวจ
3. รองสารวัตรลงนามตรวจ 4. รองผู้บังคับการลงนามตรวจ
115. การออกเลขที่หนังสือทุกชนิดในนามของกรมตำรวจ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องนำไปออกเลขที่ ณ หน่วยงานใด
1. สำนักงานอธิบดีกรมตำรวจ
2. สำนักงานอธิบดี รองอธิบดีหรือผู้ช่วยอธิบดี ตามความเหมาะสม
3. สำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ 4. กองวิชาการ กรมตำรวจ
116. หนังสือสั่งการ (คำสั่ง) ของกรมตำรวจ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องนำไปออกเลขที่ ณ หน่วยงานใด
1. สำนักงานอธิบดีกรมตำรวจ
2. สำนักงานอธิบดี รองอธิบดีหรือผู้ช่วยอธิบดี ตามความเหมาะสม
3. สำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ 4. กองวิชาการ กรมตำรวจ
117. ผู้มีอำนาจกำหนดเลขประจำส่วนราชการเจ้าของเรื่องให้กับส่วนราชก ารระดับกองบังคับการ กองกำกับการและแผนก ได้แก่
1. อธิบดีกรมตำรวจ 2. ผู้บัญชาการตำรวจ 3. ผู้บังคับการตำรวจ 4. หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด
118. ร.ต.ต.เด่น ยอดปัญญา เจ้าหน้าที่ทะเบียนพล ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.ต.เขียว ยอดฝีมือ ให้นำเรื่องกลับมาเพื่อเสนอกรมตำรวจสั่งการเป็นกรณีเร่งด่วน ต้องดำเนินการอย่างไร
1. นำงานเสนอกรมตำรวจสั่งการทันที
2. นำงานเสนอรับผิดชอบตามงานเมื่อกรมตำรวจสั่งการแล้ว
3. นำงานมาลงทะเบียนรับหนังสือที่สำนักงานเลขานุการกรมตำรวจก่อน
4. นำงานมาลงทะเบียนรับหนังสือที่กองทะเบียนพลก่อน
119. การรับรองสำเนาหนังสือทุกชนิดให้ข้าราชการตำรวจตั้งแต่ยศอะไรขึ ้นไปของหน่วยงานเจ้าของเรื่องลงลายมือชื่อรับรอง
1. ร้อยตำรวจตรี 2. ร้อยตำรวจโท 3. ร้อยตำรวจเอก 4. พันตำรวจตรี
120. ศาลมีหมายเรียกให้กรมตำรวจ หรือส่วนราชการในสังกัดกรมตำรวจส่งเอกสารใด ๆ ไปยังศาล จะต้องดำเนินการอย่างไร
1. ให้สำเนาเอกสารส่งซึ่งรับรองสำเนาถูกต้องส่งไป 2. ให้จัดส่งต้นฉบับไป
3. ให้สำเนาเอกสารส่งไป 4. ตอบปฏิเสธเอกสารสูญหาย
121. กองสวัสดิการ กรมตำรวจ ทำหนังสือให้กรมตำรวจลงนามเพื่อแจ้งเวียนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทราบต้องดำเนินการอย่างไร
1. รับผิดชอบในการจัดทำและส่งหนังสือไป 2. ส่งเรื่องไปให้เลขานุการกรมตำรวจ
3. นำเสนอรกมตำรวจสั่งการ 4. ส่งเรื่องไปยังสำนักงานกำลังพล
122. การใช้คำย่อ "ยศ" ของข้าราชการตำรวจ สำหรับผู้มียศตำรวจเป็นหญิงให้ใช้ดังนี้
1. ร.ต.ต. (หญิง) แดง ใจงาม 2. ร.ต.ต. (ญ) แดง ใจงาม
3. ร.ต.ต. หญิง แดง ใจงาม 4. ร.ต.ต. ญ แดง ใจงาม
123. กองคดี กรมตำรวจ จัดทำหนังสือเสร็จแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไร
1. จัดส่งเองจะเป็นหนังสือในนามหน่วยในนามกรมตำรวจ หรือในนามกระทรวงมหาดไทย
2. ส่งให้เลขานุการกรมตำรวจ
3. ส่งให้กองการสอบดำเนินการ
4. เสนอเรื่องไปให้กรมตำรวจสั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ มารับ
124. การสำเนาเรื่องต่าง ๆ ของกรมตำรวจที่ทำในนามของกระทรวงมหาดไทย เช่น สำเนา ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่ง จะต้องดำเนินการอย่างไร
1. เจ้าหน้าที่งานสำเนาส่งเอง
2. กองกลางสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยสำเนาส่ง
3. เจ้าของเรื่องจัดการสำเนาส่งเองทุกเรื่องไป
4. ส่งเรื่องไปยังสำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ
125. ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหม และการสื่อสารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการใช้บริการไปรษณีย์สนาม โดยไม่ต้องชำระค่าไปรษณียากร ของทหารและตำรวจตระเวนชายแดนที่ปฏิบัติราชการสนามชายแดน มีผลบังคับเมื่อไร
1. วันที่ 1 มกราคม 2522 2. วันที่ 1 มกราคม 2523
3. วันที่ 1 มกราคม 2524 4. วันที่ 1 มกราคม 2525
126. บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทาง ปฏิบัติคือ
1. แจ้งความ 2. คำชี้แจง 3. คำแนะนำ 4. ประกาศ
127. หนังสือประชาสัมพันธ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสาร บรรณ พ.ศ. 2526 มีกี่ชนิด
1. 2 ชนิด 2. 3 ชนิด 3. 4 ชนิด 4. 5 ชนิด
128. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการมีกี ่ชนิด
1. 2 ชนิด 2. 5 ชนิด 3. 2 ชนิด 4. 3 ชนิด
129. หนังสือสั่งการมีกี่ชนิด
1. 4 ชนิด 2. 3 ชนิด 3. 2 ชนิด 4. 3 ชนิด
130. หนังสือสั่งการมี 3 ชนิด ได้แก่
1. คำสั่ง ระเบียบ และหนังสือประทับตรา 2. ระเบียบ คำสั่ง และหนังสือภายใน
3. ระเบียบ คำสั่ง และหนังสือภายนอก 4. คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
131. รายงานการประชุม คือ
1. การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าประชุม
2. ผู้จดรายงานการประชุม
3. มติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน
4. ถูกข้อ 1 และ 3
132. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจกรรมของทาง ราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน
1. คำชี้แจง 2. แจ้งความ 3. ข่าว 4. แถลงการณ์
133. หนังสือที่เขียนโดยใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และต้องลงชื่อ ซึ่งมีไปในเรื่องราชการสำคัญ เช่น เรื่องที่มีลักษณะผูกมัดรัฐบาล หรือพาดพิงถึงนโยบายของรัฐบาล เรื่องที่เป็นการแสดงอัธยาศัยไมตรี และเรื่องที่ขอความช่วยเหลือ หรือขอความสะดวกเป็นพิเศษ เป็นคำนิยามของหนังสือแบบใด
1. หนังสือราชการที่ไม่เป็นแบบพิธี 2. หนังสือราชการที่เป็นแบบพิธี
3. จัดเป็นบันทึกช่วยจำ 4. หนังสือกลาง
134. หนังสือที่มีผู้รับเป็นจำนวนมาก และมีใจความเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมด จัดเป็นหนังสือประเภทใด
1. หนังสือสั่งการ 2. หนังสือประชาสัมพันธ์ 3. บันทึก 4. หนังสือเวียน
135. เอกสารจำพวกภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ และหนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่นั้น จะจัดอยู่ในประเภทใด
1. หนังสือเวียน 2. หนังสืออื่น 3. หนังสือราชการ 4. วัสดุและอุปกรณ์
136. ตัวอักษรสีแดง ที่ใช้สำหรับระบุชั้นความเร็วจะต้องมีขนาดเท่าใด
1. ไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์ 2. เท่าตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์
3. ใหญ่กว่าตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์ 4. เล็กกว่าตัวพิมพ์โป้ง 32 พอยท์
137. หนังสือราชการมีกี่ชนิด
1. 4 ชนิด 2. 5 ชนิด 3. 6 ชนิด 4. 7 ชนิด
138. หนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณด้วยความรวดเร็วเป็ นพิเศษ เป็นหนังสือที่จะต้องดำเนินการอย่างไร
1. ปฏิบัติอย่างไรก็ได้ 2. ปฏิบัติไปตามปกติ
3. ปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง 4. ปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ
139. คำที่ใช้ในการจ่าหน้าซองถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1. ขอพระราชทานกราบบังคมทูล 2. ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายขอเดชะ
3. ขอพระราชทานกราบทูล 4. ขอประทานกราบทูล
140. บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบคือ
1. ประกาศ 2. โฆษณา 3. แถลงการณ์ 4. ข่าว
141. หนังสือประทับตรา คือ
1. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับก องขึ้นไป
2. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับก รมขึ้นไป
3. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับก องลงมา
4. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการต่ำกว่ าระดับกรม
142. ถ้าให้ท่านเขียนหนังสือถึงพระราชาคณะ ท่านจะใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในหนังสือว่าอย่างไร
1. ใช้คำขึ้นต้นว่า "นมัสการ" และคำลงท้ายว่า "ขอนมัสการด้วยความนับถืออย่างยิ่ง"
2. ใช้คำขึ้นต้นว่า "นมัสการ" และคำลงท้ายว่า "ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง"
3. ใช้คำขึ้นต้นว่า "นมัสการ" และคำลงท้ายว่า "ขอนมัสการด้วยความเคารพ"
4. ใช้คำขึ้นต้นว่า "นมัสการ" และคำลงท้ายว่า "ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง"
143. หนังสือรับรองที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ให้ปรากฎแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจงใช้
1. กระดาษบันทึกในการพิมพ์ 2. กระดาษขาวในการพิมพ์
3. กระดาษครุฑในการพิมพ์ 4. ไม่มีข้อใดถูก
144. หนังสือที่เป็นคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
1. หนังสือภายใน 2. หนังสือภายนอก 3. หนังสือประชาสัมพันธ์ 4. หนังสือสังการ
145. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำคือ
1. คำสั่ง 2. ข้อบังคับ 3. ระเบียบ 4. คำแนะนำ
146. สำเนาเอกสารที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์แล้ว เช่น สำเนาร่างพระราชบัญญัติถ้าถือว่าเป็นเอกสารที่จะต้องปฏิบัติตาม ที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ จะต้องเก็บไว้อย่างน้อยกี่ปี จึงจะทำลายได้
1. 1 ปี 2. 3 ปี 3. 5 ปี 4. 10 ปี
147. การลงทะเบียนหนังสือเก็บ ตามแบบที่ 20 โดยกำหนดให้ลงข้อความว่า "ให้ลงวันเดือนปี ที่นำหนังสือนั้นเข้าทะเบียนเก็บ" ข้อความดังกล่าวจัดอยู่ในช่วงใด
1. เลขทะเบียนรับ 2. รหัสแฟ้ม 3. วันเก็บ 4. อายุการเก็บ
148. สมุดส่งหนังสือให้จัดทำตามแบบที่เท่าใด
1. 15 2. 16 3. 17 4. 18
149. ข้อใดที่ไม่มีรายละเอียด ในทะเบียนหนังสือรับ ตามแบบที่ 13
1. เลขทะเบียนหนังสือ 2. การปฏิบัติ 3. ลงรับที่ 4. เวลา
150. บัตรตรวจค้น ซึ่งจะต้องจัดทำตามแบบนั้น มีทั้งหมดกี่ช่อง
1. 6 ช่อง 2. 7 ช่อง 3. 8 ช่อง 4. 9 ช่อง
151. การเก็บหนังสือเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว ให้ประทับตรากำหนดเก็บไว้ที่
1. มุมล่างด้านขวาของกระดาษแผ่นแรก 2. มุมล่างด้านซ้ายของกระดาษแผ่นแรก
3. ตรงกลางของกระดาษแผ่นแรก 4. ไม่มีระเบียบกำหนดไว้
152. การลงทะเบียนรับหนังสือ ตามแบบที่ 13 นั้น ในช่อง "การปฏิบัติ" ให้ลงข้อความว่า
1. ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
2. ให้ลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึงหรือส่วนราชการ หรือชื่อบุคคลในกรณีที่ไม่มีตำแหน่ง
3. ให้บันทึกการปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือฉบับนั้น
4. ให้ลงชื่อผู้รับหนังสือนั้นให้สามารถอ่านออกได้
153. ในการยืมหนังสือที่เก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1. การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืม ต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับแผนก
2. การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืม ต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง
3. การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืม เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับแผนก
4. ถูกทุกข้อ
154. ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือนั ้น หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หมายถึง
1. รองอธิบดีกรมตำรวจซึ่งอธิบดีกรมตำรวจได้มอบหมายให้กระทำแทน
2. อธิบดีกรมตำรวจ
3. ผู้อำนวยการสำนักของกรุงเทพมหานคร
4. ข้อ 1 และ 2
155. ในทะเบียนส่งหนังสือ การลงเลขทะเบียนส่ง ควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง
1. ลงเลขลำดับของทะเบียนหนังสือส่งเรียงลำดับติดต่อกันไปถึงสิ้นปี งบประมาณ
2. ลงเลขลำดับของทะเบียนหนังสือส่งเรียงลำดับติดต่อกันไปตั้งแต่ 1 ตุลาคม ถึง 30 กันยายนของปีถัดปี
3. ลงเลขลำดับของทะเบียนหนังสือส่งเรียงลำดับติดต่อกันไปตลอดปีปฏิ ทิน
4. ข้อ 1 และ 2
156. ทุกปีปฏิทิน ให้ส่วนราชการจัดส่งหนังสือที่มีอายุครบ 25 ปี พร้อมทั้งบัญชีส่งมอบหนังสือครบ 25 ปร ให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ภายใน.............
1. ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป 2. ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
3. ถูกทั้ง 1 และ 2 4. ไม่มีข้อใดถูก
157. ตามระเบียบงานสารบรรณ วัน เดือน ปี ที่รับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับอยู่ในส่วนใด
1. ช่องที่ 2 ของทะเบียนหนังสือรับ 2. ช่องที่ 3 ของทะเบียนหนังสือรับ
3. มุมบนด้านขวา 4. มุมล่างด้านขวา
158. การเสนอบัญชีขอทำลายหนังสือ ให้เสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ภายใน
1. ภายใน 60 วัน ก่อนวันสิ้นปีปฏิทิน 2. ภายใน 60 วัน หลังวันสิ้นปีปฏิทิน
3. ภายใน 30 วัน ก่อนวันสิ้นปีปฏิทิน 4. ภายใน 30 วัน หลังวันสิ้นปีปฏิทิน
159. ข้อใดปฏิบัติไม่ถูกต้อง ในเรื่องการยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว
1. ผู้ยืมต้องแจ้งให้ทราบว่าเรื่องที่ยืม จะนำไปใช้ในราชการใด
2. ผู้ยืมต้องมอบหลักฐานการยืม แล้วลงชื่อรับเรื่องที่ยืม
3. การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้ นไป
4. การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาติให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกล งมา
160. การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือ ควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
1. จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
2. จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง
3. ข้อ 1 และ 2 4. ไม่มีข้อใดถูก
161. ข้อใดที่ไม่มีอำนาจกำหนดขั้น "ลับที่สุด"
1. ผู้บัญชาการตำรวจ 2. ผู้บัญชาการทหารบก 3. ผู้บังคับการกรม 4. ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร
162. การรับเอกสารลับที่สุดและมากถ้าจ่าหน้าซองหรือห่อชั้นในระบุถึง ตำแหน่งก็ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้เปิดซองและลงชื่อในใบรับเอกสา รลับ
1. ผู้ครองตำแหน่ง 2. ผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ครองตำแหน่ง
3. นายทะเบียนเอกสารลับ 4. ถูกทุกข้อ
163. เครื่องหมายแสดงชั้นความลับ แผนที่ภาพถ่าย ให้แสดงชั้นความลับไว้ที่ใด
1. ด้านในของปกหน้าปกหลัง 2. ด้านนอกของปกหน้าปกหลัง
3. ต้นและปลายม้วน 4. ใกล้ชื่อหรือมาตราส่วน
164. ผู้มีอำนาจกำหนดชั้น ลับ และปกปิดได้แก่
1. หัวหน้ากอง 2. ผู้บังคับหมวดเรือ 3. ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร 4. ผู้บังคับกองร้อย
165. การกำหนดชั้นความลับของเอกสารให้พิจารราจากความสำคัญของ
1. เนื้อความในเอกสารตามแฟ้มเรื่องที่เก็บ 2. เนื้อความของเอกสารนั้น ๆ
3. เนื้อความตามเอกสารอื่นที่อ้างถึง 4. ไม่มีข้อใดถูก
166. รปภ. 19 คือ
1. รายงานเอกสารลับสูญหาย 2. รายงานการตรวจสอบเอกสารลับ
3. บันทึกการรับรองการรักษาความลับเมื่อพ้นจากตำแหน่งหรือหน้าที่ 4. ผิดทุกข้อ
167. บุคคลใดที่จะต้องมีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์โดยละเอียดเป็ นพิเศษ
1. บุคคลที่ไปต่างประเทศบ่อย ๆ
2. บุคคลที่จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญในส่วนราชการ
3. ถูกทั้ง 2 ข้อ 4. ผิดทั้ง 2 ข้อ
168. การสูญเสียกำลังพลในการรบที่สำคัญ จัดอยู่ในประเภท
1. ลับที่สุด 2. ลับมาก 3. ลับ 4. ปกปิด
169. รปภ. 13 คือ
1. รายงานการตรวจสอบเอกสารลับ 2. ใบรับรองเอกสารลับ
3. ใบรับรองการโอนเอกสารลับ 4. ใบรับรองการทำลายเอกสารลับ
170. การเก็บรักษาเอกสารลับที่สุด และลับมากให้ปลอดภัย เลขรหัสสำหรับห้องนิรภัยหรือตู้นิรภัย ควรเปลี่ยนตามวาระดังนี้
1. เมื่อความลับรั่วไหล หรือสงสัยว่าความลับจะรั่วไหล
2. เมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ในสำนักงานที่รู้รหัสกุญแจ
3. ตามห้วงระยะเวลาไม่นานกว่า 6 เดือนต่อหนึ่งครั้ง 4. ถูกทุกข้อ
171. หนังสือประทับตราให้ใช้อย่างไร
1. ระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการและให้ร่วมถึงบุคคลภายนอกด้วย
2 ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการและระหว่างส่วนราชการกับบุค คลภายนอกเฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
3. ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการและระหว่างส่วนราชการกับบุค คลภายนอกเฉพาะกรณีที่
เป็นเรื่องสำคัญ
4. ไม่มีข้อใดถูก
172. หนังสือภายใน คืออะไร
1. หนังสือติดต่อราชการที่ไม่เป็นแบบพิธีอย่างหนังสือภายนอก
2. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวงทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
3. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีซึ่งผู้บังคับบัญชา ใช้ส่งข้อความภายในจากกรุงเทพฯถึงจังหวัดอื่นๆ
4. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดอื่น ใช้กระดาษตราครุฑ
173. หนังสือภายนอก คืออะไร
1. หนังสือติดต่อราชการที่ไม่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษอะไรก็ได้
2. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการนำมามอบให้ส่วนราช การในกการติดต่อ
3. หนังสือที่ติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วน ราชการหรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหร ือที่มีบุคคลภายนอก
174. งานสารบรรณ คืองานที่เกี่ยวกับอะไร
1. งานที่เกี่ยวกับด้านการรับ การส่ง และการลงเลขหนังสือรับ - ส่ง
2. งานที่เกี่ยวกับด้านหนังสือราชการและหนังสือทั่วไป
3. งานที่เกี่ยวกับด้านหนังสือราชการที่จะต้องเก็บรักษา
4. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสารเริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
175. การปรับปรุงสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2506 เสียใหม่ได้เหมาะสมยิ่งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ใด
1. พ.ศ. 2507 2. พ.ศ. 2515 3. พ.ศ. 2520 4. พ.ศ. 2526
176. การส่งหนังสือซึ่งมิใช่เป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ เมื่อส่งหนังสือให้ผู้รับแล้ว ผู้ส่งจะต้องดำเนินการอย่างใด
1. ให้ผู้รับลงชื่อในสำเนาคู่ฉบับ 2. ให้ผู้รับลงชื่อในสำเนาที่เจ้าของเรื่องรับรองสำเนาถูกต้อง
3. ให้ผู้รับลงชื่อรับในสมุดส่งหนังสือ 4. ถูกทุกข้อ
177. ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสารบรรณ พ.ศ. 2516 ได้แบ่งวิธีการเก็บหนังสือไว้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
1. 2 ประเภท คือ การเก็บก่อนปฏิบัติ การเก็บหลังปฏิบัติเสร็จแล้ว
2. 3 ประเภท คือ การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อเสร็จแล้ว การเก็บเพื่อไว้ใช้ในการตรวจสอบก่อนปฏิบัติ
3. 4 ประเภท คือ การเก็บก่อนปฏิบัติ การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว การเก็บเพื่อไว้ใช้ในการตรวจสอบ
4. 5 ประเภท คือ การเก็บก่อนปฏิบัติ การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว การเก็บเพื่อไว้ใช้ในการตรวจสอบ การเก็บเพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง
178. บัญชีส่งมอบหนังสือครบ 25 ปี และบัญชีหนังสือครบ 25 ปี ที่ขอเก็บเอง อย่างน้อยให้มีต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับ เพื่อให้ส่วนราชการผู้มอบและผู้รับมอบยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่าย ละฉบับ ส่วนราชการ “ผู้รับมอบ” ตามระเบียบนี้ได้แก่
1. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
3. หอสมุดแห่งชาติ 4. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
179. การยืมหนังสือต่างกรม ผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็น
1. หัวหน้าแผนกเก็บ 2. หัวหน้ากองเจ้าของเครื่อง
3. หัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป 4 อธิบดีกรมเจ้าสังกัด
180. คณะกรรมการทำลายหนังสือ
1. ได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน โดยปกติแต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
2. ได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน โดยปกติแต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
3. ได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอีกอย่างน้อย 3 คน โดยปกติแต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
4. ได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอีกอย่างน้อย 3 คน โดยปกติแต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
181. บัตรยืมหนังสือ ไม่มีรายละเอียดในเรื่องใด
1. ชื่อหนังสือ 2. ผู้ยืม - ผู้รับ
3. วันยืม - กำหนดส่งคืน 4. ผู้สั่งให้ส่งคืน - วันที่สั่งให้ส่งคืน
182. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2516 ประกาศ ณ วันที่
1. 1 มิถุนายน 2526 2. 11 มิถุนายน 2526 3. 1 เมษายน 2526 4. 11 เมษายน 2526
183. อธิบดีกรมตำรวจ ลงนามในหนังสือเวียน ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามในหนังสือเวียน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ให้จัดสรรเงินงบประมาณในการก่อสร้างให้กับกรมตำรวจ หนังสือที่ ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามข้อใด เป็นการใช้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ถูกที่สุด
1. สำนักงานนโยบายและแผนมหาดไทย 2. กองกลาง สำนักงานนโยบายและแผน
2. กรมตำรวจ สำนักงานนโยบายและแผน 4. กรมตำรวจ กองงบประมาณ
184. ให้ท่านเร่งหนังสือนิมนต์ สมเด็จพระญาณสังวร จะใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายข้อใดถูก
1. คำขึ้นต้น กราบทูล สมเด็จพระญาณสังวร คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
2. คำขึ้นต้น นมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร คำลงท้าย ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
3. คำขึ้นต้น นมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร คำลงท้าย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
4. คำขึ้นต้น กราบทูล สมเด็จพระญาณสังวร คำลงท้าย ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
185. การลงชื่อในหนังสือแบบที่ 1 ข้อใดถูกที่สุด
1. พันตำรวจเอกหญิง
(คุณหญิงสม ลูกเล็ก)
2. พันตำรวจเอกหม่อมหลวง
(เล็ก พึ่งบุญ ณ อยุธยา)
3. พันตำรวจเอก
(หม่อมหลวงใหญ่ ทองใหญ่ ณ อยุธยา)
4. พันตำรวจเอก
(หม่อมลูกปลา ยุคล)
186. สลก. ทำหนังสือให้ พล.ต.อ. จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธ์ ผู้ช่วย อ.ตร. (ปป.2) ลงนามเรียน อ.ตร. ข้อใดเป็นการใช้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ถูกที่สุด
1. ส่วนราชการ สลก. โทร 2518966
ที่ 0501.31/123 วันที่ 20 กันยายน 2538
2. ส่วนราชการ สง. ผู้ช่วย อ.ตร. (ปป.2) โทร 2512345
3. ส่วนราชการ สลก. โทร 2518966
ที่ 0501.31/123 (ปป.2) / 123 วันที่ 10 กันยายน 2538
4. ส่วนราชการ สง. ผู้ช่วย อ.ตร. (ปป.2) โทร 2518666
ที่ 0501.31/789 วันที่ 10 กันยายน 2538
187. ประกาศ ณ วันที่ ใช้ในหนังสือประเภทใดบ้างที่ท่านเห็นว่าถูกที่สุด
1. คำสั่ง, ระเบียบ, ข้อบังคับ 2. ระเบียบ, ประกาศ, ข้อบังคับ
3. ระเบียบ, ประกาศ, แถลงการณ์ 4. คำสั่ง, ประกาศ, ข้อบังคับ
188. ข้อใดเป็นหนังสืออื่นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสาร บรรณ พ.ศ. 2526
1. หนังสือที่ นาย ก. ร้องเรียน อ.ตร. 2. ฟิล์ม 3. โฉนด 4. แผนผังสถานที่เกิดเหตุ
189. การประทับระดับความเร่งด่วน อยู่ในตำแหน่งใดในทางปฏิบัติที่ท่านเห็นว่าถูกที่สุด
1. หนังสือภายนอก ประทับที่ด้านขวาของครุฑ
2. หนังสือภายใน ประทับด้านขวาของครุฑใต้ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
3. หนังสือประทับตรา ประทับเหนือเลขที่รหัสประจำส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
4. หนังสือรับรอง ประทับด้านขวาของครุฑ
190. การปฏิบัติในการพิมพ์หนังสือราชการแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่พิมพ์ด ีดจะปฏิบัติอย่างไรถึงจะถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ข้อที่ 30
1. ต้นฉบับ 1 ฉบับ, สำเนาคู่ฉบับ 1 ฉบับ, สำเนาอย่างน้อย 1 ฉบับ
2. ต้นฉบับ 1 ฉบับ, สำเนาอย่างน้อย 2 ฉบับ
3. ต้นฉบับ 1 ฉบับ, สำเนาคู่ฉบับอย่างน้อย 2 ฉบับ
4. ต้นฉบับ 1 ฉบับ, สำเนา 21 ฉบับ
191. ถ้าท่านได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำลายบรรดาเอกสารลับที ่สุด และลับมากที่ยกเลิกแล้วและสำเนาที่เหลือใช้ ท่านจะใช้วิธีทำลายเอกสารเหล่านั้นอย่างไร
1. โดยการเผา หรือโดยวิธีการแปรรูปอย่างอื่น ๆ จนไม่สามารถทราบความลับในซากเอกสารนั้นได้
2. ฉีกให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือ โดยวิธีแปรรูปอย่างอื่น ๆ จนไม่สามารถทราบความลับในซากเอกสารนั้นได้
3. เผาให้เป็นผง จนไม่สามารถทราบความลับในซากเอกสารนั้นได้
4. เผาแล้วขยี้ขี้เถ้าให้เป็นผงหรือด้วยวิธีแปรรูปอย่างอื่น ๆ จนไม่สามารถทราบความลับในซากเอกสารนั้นได้
192. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ยึดถือหลักการทั่วไปตามแนวทางต่อไปนี้
1. ป้องกันการบ่อนทำลายอันจะเป็นผลกระทบกระเทือนต่อความสามัคคีหรื อความมั่นคงแห่งชาติ
2. การรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น จะต้องไม่ให้มีจุดอ่อน ณ ที่ใดเลย
3. การรักษาความปลอดภัยนั้น จะต้องมีการสอดส่องและตรวจสอบมาตรการที่วางไว้เป็นประจำ
4. ที่กล่าวมาทุกข้อถูกต้องทั้งหมด
193. หากท่านได้รับการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทะเบียนเอกสารลับและจะต้อง ส่งเอกสารลับที่สุดภายในส่วนราชการที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ท่านจะต้องใช้ใบปกเอกสารลับปิดทับเอกสารเพื่อป้องกันผู้อื่นลอบ ดูข้อความภายใน ในกรณีนี้ท่านจะต้องใช้ปกเอกสารลับ
1. สีแดง 2. สีเหลือง 3. สีน้ำเงิน 4. สีน้ำตาล
194. ในการประชุมออกข้อสอบ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตำรวจชั้นประทวนและพลตำรวจเป็ฯน ายตำรวจชั้นสัญญาบัตรประจำปี 2538 โดยมี สกพ. เป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่อง และ บช.ศ. เป็นเจ้าของสถานที่ (ห้องประชุม) ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยในการประชุมซึ่ง ถือว่าเป็นการประชุมลับ ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแหงชาติ พ.ศ. 2517 ได้แก่
1. ผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล
2. ผู้บัญชาการศึกษา
3. อธิบดีกรมตำรวจ
4. ผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล หรือผู้บังคับบัญชาการศึกษาคนใดคนหนึ่งตามแต่จะตกลงกัน
195. ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ซึ่งเป็นการประชุมลับ ณ ห้องประชุม 2 กรมตำรวจ เลขานุการ ก.ตร. ในฐานะผู้จัดการประชุมมีความจำเป็นต้องแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ควรจะดำเนินการแถลงข่าวอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517
1. เพื่อเลิกประชุมแล้วก็เชิญเข้าไปรับฟังการแถลงข่าว ณ ห้องประชุม 2 กรมตำรวจ
2. ตั้งสำนักงานแถลงข่าวนั้นโดยเฉพาะและควรอยู่นอกพื้นที่ที่มีการ รักษาความปลอดภัย
3. ใช้สถานที่ใดก็ได้ที่สะดวกสำหรับผู้สื่อข่าว
4. ไม่มีข้อใดถูก
196. ความมุ่งหมายของการปฏิบัติเมื่อเกิดการละเมิดการรักษาความปลอดภ ัย คือ
1. เพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุด
2. ป้องกันมิให้เกิดการละเมิดการรักษาความปลอดภัยซ้ำอีก
3. ค้นหาข้อบกพร่อง สาเหตุ ผลเสียหาย เพื่อนำมาวิเคราะห์วิจัยในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการรักษาความปลอ ดภัยให้รัดกุมยิ่งขึ้น
4. ถูกทุกข้อ
197. ผู้บังคับบัญชาเมื่อทราบว่าได้เกิดการละเมิดการรักษาความปลอดภั ยขึ้น ต้องดำเนินการอยางไร ดังต่อไปนี้
1. แจ้งให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องเดิมและหรือเจ้าของสถานที่หรือผ ู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
2. สอบสวนเพื่อให้รู้ว่าใครเป็นผู้ละเมิดและพิจารณาแก้ไขข้อบกพร่อ ง
3. พิจารณาลงโทษบุคคลผู้ละเมิดและผู้รับผิดชอบ
4. ถูกทั้งข้อ 1,2 และ 3
198. อธิบดีชื่อ ก. ได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วเนื่องจากได้ลาออกไปสมัครการรับเลือกตั้ งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็สอบตก ต่อมาได้ขอกลับเข้ารับราชการใหม่ในตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกั บความลับของทางราชการชั้นลับที่สุด หรือลับมากอีก อธิบดี ก. จะถูกดำเนินการอย่างไรในการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์
1. จะต้องดำเนินกรรมวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ใหม่
2. ไม่ต้องดำเนินกรรมวิธีการตรวจสอบแต่อย่างใด เพราะเคยผ่านการตรวจสอบมาแล้วก่อนลาออก
3. จะตรวจสอบหรือไม่ตรวจสอบก็ได้ แล้วแต่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดจะสั่งการ
4. ไม่มีคำตอบข้อใดถูก
199. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
1. วันที่ 16 ธันวาคม 2517 2. วันที่ 17 ธันวาคม 2517
3. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2518 4. วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518
200. ชั้นความลับของทางราชการตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแ ห่งชาติ พ.ศ. 2517 นั้น แบ่งออกเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง
1. แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ลับที่สุด ลับมาก ลับ
2. แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ลับมาก ลับ ปกปิด
3. แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ ลับที่สุด ลับมาก ลับ ปกปิด
4. แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ ลับที่สุด ลับมาก ลับเฉพาะ ลับ
201. ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 นั้น องค์การรักษาความปลอดภัย ได้แก่
1. ศูนย์รักษาความปลอดภัย สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
2. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
3. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
4. ถูกเฉพาะข้อ 1 และข้อ 2
202. ต่อไปนี้ข้อใดเป็นความลับของทางราชการ ชั้นลับมาก
1. การประกอบกำลัง การวางกำลับและการพัฒนากำลังเพื่อการสงคราม
2. รายงานพฤติการณ์ของบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจ
3. การสืบสวนประวัติและพฤติการณ์บุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการมอบคว ามไว้วางใจ
4. เอกสารที่เกี่ยวกับการจัดหา การคัดเลือก การสอบ การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนหรือลดตำแหน่ง การโยกย้าย ปลดหรือพิจารณาทัณฑ์บุคคล ซึ่งถ้าเปิดเผยก่อนเวลา อันสมควรจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการ
203. การที่ทางราชการกำหนดให้มีการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลนั ้น ทางราชการมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1. เพื่อเลือกเฟ้น ตรวจสอบ ให้ได้บุคคลที่มีลักษณะเหมาะสมแก่การบรรจุเข้ารับราชการ
2. เพื่อเลือกเฟ้น ตรวจสอบ ให้ได้บุคคลที่มีลักษณะเหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ราชการ
3. เพื่อกำหนดระดับความไว้วางใจในการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ ยวกับเอกสารลับ
4. ถูกทุกข้อ
204. คำว่าการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร ท่านมีความเข้าใจว่าคืออะไร
1. มาตราการที่กำหนดชั้นสำหรับปฏิบัติต่อเอกสารลับ เพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกได้ล่วงรู้หรือเข้าถึงเอกสารนั้น
2. มาตรการที่กำหนดชั้นสำหรับปฏิบัติต่อเอกสารลับ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่มีหน้าที่ได้ล่วงรู้หรือเข้าถึงเอกสารน ั้น
3. มาตรการที่กำหนดชั้นสำหรับปฏิบัติต่อเอกสารลับ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ได้ล่วงรู้หรือเข้าถึงเอ กสารนั้น
4. มาตรการที่กำหนดชั้นสำหรับปฏิบัติต่อเอกสารลับ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือเข้าถึง เอกสารนั้น
205. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ผู้มีอำนาจกำหนดชั้น “ลับที่สุด” ได้แก่ ข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหรือเทียบเท่าตำแหน่งดังต่อไปนี้ขึ้นไป
1. อธิบดี หัวหน้าคณะทูต ผู้ช่วยทูตฝ่ายต่างประเทศ ผู้บัญชาการตำรวจ
2. อธิบดี หัวหน้าคณะทูต ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ผู้บัญชาการตำรวจ
3. อธิบดี หัวหน้าคณะทูต ผู้ช่วยทูตต่างประเทศ ผู้บัญชาการทหาร
4. อธิบดี หัวหน้าคณะทูต ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ผู้บัญชาการทหาร
206. ข้อความที่ผู้รับไม่ต้องลงในการรับ-ส่ง หนังสือในสมุดส่งหนังสือ หรือรับหนังสือได้แก่
1. ยศ, ชื่อ, ชื่อสกุล ให้สามารถอ่านออกได้
2. ตำแหน่ง
3. สังกัด
4. สังกัดและตำแหน่งของผู้รับหนังสือนั้นให้สามารถอ่านออกได้
207. ระเบียบการใช้คำย่อในส่วนราชการตำรวจต่อไปนี้คำย่อใด เป็นคำย่อของตำแหน่งและส่วนราชการในกรมตำรวจ
1. ลก.ตร./, สกพ. 2. ด.ต., ผบ.มว.
3. กส., สบพ. 4. ว่าที่ ร.ต.ต.หญิง, บก. อก.
208. เมื่อท่านได้รับหนังือที่ “มท 0501/.........” ท่านทราบหรือไม่วาเลขสองตัวแรกหมายถึง
1. กรม 2. กอง 3. แผนก 4. งาน
209. การใช้รหัสพยัญชนะและเลขประจำหน่วยงานข้อใดถูกต้อง
1. หนังสือที่มีไปยังหน่วยงานภายในสังกัดกรมตำรจให้ใช้เลขประจำหน่ วยงานโดยไม่ต้องมีรหัส
พยัญชนะ “มท” นำหน้า เช้า “0601/....”
2. หนังสือที่มีไปถึงหน่วยงานภายนอกสังกัดกรมตำรวจให้ใช้รหัสพยัญช นะ “มท” นำหน้าตามด้วยเลขประจำหน่วยงานและหลังคำว่า “มท” ไม่ต้องมีจุดเพราะเป็นรหัสพยัญชนะไม่ใช่คำย่อ เช่น “มท 0601/......”
3. ถูกทั้งข้อ 1 และข้อ 2
4. ผิดทั้งข้อ 1 และข้อ 2
210. การส่งไปรษณีย์และพัสดุไปรษณีย์ไปยังไปรษณีย์สนามของทหารและตำร วจชายแดนผู้ส่งต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายว่าด้วย การไปรษณีย์ทุกประการ โดยเฉพาะการเข้าห่อซอง หรือหุ้มห่อขนาดและน้ำหนักต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของไปรษณีย์ภั ณฑ์และพัสดุไปรษณีย์แต่ละชนิดแล้วแต่กรณี สำหรับพัสดุไปรษณีย์ที่ส่งต้องมีน้ำหนักอย่างสูงไม่เกิน
1. 3 กิโลกรัม 2. 4 กิโลกรัม 3. 5 กิโลกรัม 4. 6 กิโลกรัม
211. วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้บริการไปรษณีย์สนามของทหารและตำรวจช ายแดนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อตกลงของหน่วยงานใดกับหน่วยงานใด ดังต่อไปนี้
1. กระทรวงกลาโหม กับกระทรวงมหาดไทย 2. กรมไปรษณีย์โทรเลข กับกระทรวงกลาโหม
3. กรมตำรวจ กับกรมไปรษณีย์โทรเลข 4. กระทรวงกลาโหม กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย
212. ข้อบังคับหรือคำสั่งของนายทะเบียนและเจ้าพนักงานจราจรนั้นต้องด ำเนินการอย่างไร
1. ไม่ต้องส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่เมื่อออกข้อบังคับหรือคำสั่งและจะใช้ภายในเขต จว., อำเภอ และตำบลใดก็ให้กำหนดไว้ให้เป็นการแน่นอน
2. ใช้กระดาษขนาด เอ 4 เป็นแบบในการพิมพ์และไม่ต้องส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนจ ึงใช้บังคับ
3. ใช้กระดาษตราครุฑเป็นแบบในการพิมพ์และส่งไปประกาศในราชกิจจานุเ บกษาก่อนจึงใช้บังคับ
4. ใช้กระดาษบันทึกข้อความเป็นแบบในการพิมพ์และประกาศให้ราษฎรผู้ต ้องปฏิบัติตามข้อบังคับได้ทราบล่วงหน้าก่อนในระยะเวลาอันควร
213. แบบของบันทึกข้อความที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีกี่ขนาดและในแต่ล ะขนาดจะมีการกำหนดส่วนของความกว้างยาวไว้อย่างไรบ้าง
1. มี 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ 210 x 279 มิลลิเมตร และขนาดเล็ก 184 x 210 มิลลิเมตร
2. มี 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ 210 x 297 มิลลิเมตร และขนาดเล็ก 148 x 210 มิลลิเมตร
3. มี 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ 210 x 296 มิลลิเมตร และขนาดเล็ก 147 x 210 มิลลิเมตร
4. มี 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ 210 x 269 มิลลิเมตร และขนาดเล็ก 174 x 210 มิลลิเมตร
214. ข้อความที่กล่าวว่า “ข้อกำหนดที่ทางราชการได้วางไว้เพื่อให้ข้าราชการตำรวจได้ปฏิบั ติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนการปกครอง และธรรมเนียมประเพณีของตำรวจเพื่อรักษาไว้ซึ่งวินัยของข้าราชกา ร” เป็นความหมายที่ปรากฎอยู่ในเรื่องอะไร
1. ระเบียบการตำรวจ 2. ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี
3. วินัยของข้าราชการตำรวจ 4. ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี
215. ในการเขียนหรือพิมพ์นามบุคคล บริษัท ห้างร้านและสถานที่ของคนต่างด้าวเป็นตัวอักษรไทย หากใช้ตัวอักษรไม่ถูกต้องอาจจะเป็นสาเหตุซึ่งจะทำให้เกิดการเข้ าใจผิดได้ว่าเป็นคนละคนหรอืคนละแห่ง ดังนั้น ท่านจะมีวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว
1. ให้เขียนเฉพาะนามของภาษานั้นกำกับไว้ด้วย
2. ให้ใช้กระดาษประทับที่แสดงถึงบุคคล บริษัท ห้างร้าน ดังกล่าวประทับแสดงกำกับไว้ด้วย
3. ให้เขียนนามหรือพิมพ์อักษรของภาษานั้นกำกับไว้ด้วย
4. ให้เขียนนามหรือพิมพ์อักษรของภาษานั้นเป็นภาษาไทยกำกับไว้ด้วย
216. การประมวลเรื่องเสนอกรมตำรวจกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งขึ้นหน่วยงานเจ้าของเรื่องมีวิธีปฏิบัติเช่นใดบ้างก่ อนที่จะประมวลเรื่องดังกล่าวเสนอกรมตำรวจพิจารณา สั่งการต่อไป
1. ส่งเรื่องนั้นไปให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณามีความ เห็ฯขึ้นมาเสียก่อน
2. ส่งเรื่องนั้นไปให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบไปดำเนินการรว บรวมข้อกฎหมายระเบียบ คำสั่ง และเอกสารต่าง ๆ เสนอขึ้นไป
3. ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องดำเนินการนำเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณา ตามลำดับขั้นได้เลย
4. ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอก รมตำรวจพิจารณาสั่งการต่อไป
217. สำหรับเรื่องการลงความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่ปกติให้ใช้บันทึกฉบ ับเดียว ถ้าเป็นข้อความสั้น ๆ ก็ควรที่จะใช้วิธีการเขียน แต่ถ้าเป็นข้อความที่ยาวมากก็ให้ใช้วิธีการพิมพ์ดีดแทน และเมื่อพิมพ์ไปตลอดหน้าแล้วยังไม่หมดข้อความ หากท่านเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจะต้องดำเนินการอย่างไร
1. ให้ตัดข้อความที่ไม่สำคัญออกไปเพื่อให้เนื้อความของความเห็นอยู ่ในหน้าเดียวกัน
2. ให้ใช้กระดาษแผ่นเดิมพิมพ์ต่อไปโดยวิธีการพับกระดาษมาครึ่งแผ่น แล้วพิมพ์เฉพาะส่วนที่พับด้านหลัง
3. ให้ใช้กระดาษสำเนาพิมพ์เพียงครึ่งหน้าส่วนที่เหลือไว้สำหรับให้ ผู้บังคับบัญชาเขียนความเห็น
4. ให้ใช้กระดาษสำเนาพิมพ์เต็มทั้งหน้าในหน้าต่อไปจนหมดข้อความ
218. ตามระเบียบงานสารบรรณในหน้าที่ตำรวจข้อใดกล่าวไว้ถูกต้อง
1. การเสนองานของหน่วยงานที่มีที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครไปยั งกรมตำรวจนั้น ให้จัดเจ้าหน้าที่ ตำรวจนำงานไปเสนออธิบดีกรมตำรวจที่สำนักงานโดยตรง
2. การเสนองานนั้นผู้เสนอจะต้องเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น หรือตามสายการบังคับบัญชาเท่านั้น จะปฏิบัติอื่นไม่ได้เด็ดขาด
3. หน่วยงานที่มีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้จัดเจ้าหน้าที่เสนองานนำงานเสนอที่สำนักงานเลขานุการกรมตำรว จเป็นประจำเพื่อนำเสนอกรมตำรวจให้ต่อไปและให้รับงานต่าง ๆ ที่กรมตำรวจสั่งการถึงหน่วยและสำนักเลขานุการกรมตำรวจจัดแยกไปย ังหน่วยของตนกลับไปด้วย
4. การเสนองานของหน่วยไปยังกระทรวงมหาดไทย ให้หน่วยงานนั้น ๆ เสนอตรงไปกระทรวงหมาดไทย โดยไม่ต้องเสนอผ่านกรมตำรวจ
219. หนังสือทุกชนิดที่มีถึงกรมตำรวจโดยหนังสือนั้นจ่าหน้าซองระบุตำ แหน่งอธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจหรือระบุส่วนราชการ กรมตำรวจ ถ้าท่านเป็นเจ้าหน้าที่งานสารบรรณของสำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ ท่านจะปฏิบัติต่อหนังสือนั้นอย่างไร
1. ประทับตรารับหนังสือของกรมตำรวจที่หน้าซองนั้น โดยไม่ต้องเปิดผนึกแล้วนำเสนออธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ เพื่อสั่งการให้หน่วยเกี่ยวข้องปฏิบัติต่อไป
2. จัดแยกหนังสือนั้นไปให้กองบัญชาการหรือหน่วยขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ หรือหน่วยเทียบเท่าที่มีหน้าที่ตามระเบียบการตำรวจว่าด้วยการกำ หนดหน้าที่การงานในราชการกรมตำรวจ โดยไม่ต้องนำเสนออธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ สั่งการก่อนแต่อย่างใด
3. เปิดผนึกประทับตรารับหนังสือ และลงทะเบียนของกรมตำรวจที่หนังสือนนั้นทางมุมบนด้านขวาแล้วนำเ สนออธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจเพื่อสั่งการให้หน่วยปฏิบัติทุกเรื่อ งไป
4. ไม่มีข้อถูก
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลยในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com