ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบข้าราชการ รัฐสภาสามัญ ทุกตำแหน่ง
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบข้าราชการ รัฐสภาสามัญ ทุกตำแหน่ง

แชร์กระทู้นี้

1.     กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับที่เท่าไร 

     ก.    ฉบับที่ 12                                                                              ข.    ฉบับที่ 13 

        ค.    ฉบับที่ 14                                                                              ง.     ฉบับที่ 15 

        ตอบ       ค.   ฉบับที่ 14  (พ.ศ. 2537)

                        กฎ ก.ร. ฉบับที่ 14 ( พ.ศ. 2537)                               

2.     กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับปัจจุบัน ให้ยกเลิกกฎหมายใด          

        ก.    กฎ ก.ร. ฉบับที่  1                                                                 ข.    กฎ ก.ร. ฉบับที่ 4 

        ค.    กฎ ก.ร. ฉบับที่ 5                                                                  ง.    กฎ ก.ร. ฉบับที่ 6 

        ตอบ       ก.  กฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 

                        กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537)  ข้อ 2

                ให้ยกเลิก กฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2518)  ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 และ กฎ ก.ร. ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 

3.     การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ หรือข้อมูลที่ได้จากการประชุมลับของผู้ใด ซึ่งสภาพดังกล่าวยังมิได้มีมติให้เปิดเผยข้อมูลได้ ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 

        ก.    รัฐสภา                                                                                   ข.    วุฒิสภา 

        ค.    สภาผู้แทนราษฎร                                                                ง.     ถูกทุกข้อ 

        ตอบ       ง.   ถูกทุกข้อ 

                        กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537)  ข้อ 3

             ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาความลับของทางราชการ 

                การเปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 

                การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ หรือข้อมูลที่ได้จากการประชุมลับของรัฐสภา วุฒิสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสภาดังกล่าวยังมิได้มีมติให้เปิดเผยได้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 

4.     การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เกินกว่ากี่วันถือเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 

        ก.    3  วัน                                                                                      ข.    7  วัน

ค.    15  วัน                                                                                    ง.    30  วัน 

        ตอบ       ค.   15  วัน    

        กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537)  ข้อ 3                       

       (10)   ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง 

หน้าที่ราชการมิได้

                การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

5.     ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่ดำรงตำแหน่งใด

        ก.    กรรมการผู้จัดการ                                                                ข.    สมาชิกพรรคการเมือง 

        ค.    กรรมการพรรคการเมือง                                                    ง.     ถูกทุกข้อ 

        ตอบ       ง.   ถูกทุกข้อ
กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537)  ข้อ 3

(14)       ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรง 

ตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท 

                                                                                                        (15)   ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง กรรมการพรรคการเมือง 

ดำรงตำแหน่งอื่นใดในพรรคการเมือง 

(16)   ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ 

ราชการ 

6.     ข้อใดไม่ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรง 

        ก.    การกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก 

        ข.    การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง 

        ค.    ความผิดลหุโทษ 

        ง.     การดูหมิ่น เหยียดหยาม สมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง 

        ตอบ       ค.   ความผิดลหุโทษ

                กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537)  ข้อ  3                  (12)  ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องต้อนรับ และให้ความสะดวกแก่สมาชิกรัฐสภาและประชาชน    ผู้มาติดต่อราชการอันเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้        ดูหมิ่นเหยียดหยาม สมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 

7.     กฎ  ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ มีผลบังคับใช้เมื่อใด

        ก.    ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

        ข.    ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

        ค.    3  วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

        ง.    7  วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาม 

ตอบ      ข.   ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

                        กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14  (พ.ศ. 2537)  ข้อ 1

กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป 

8.   ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร.  ฉบับปัจจุบันนี้ด้วยเหตุผลใด 

        ก.    ปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2518) 

        ข.    ปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2520) 

ค.    เพื่อให้สอดคล้องกับ พรบ. ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4         พ.ศ. 2535 

ง.    ทุกข้อเป็นเหตุผลหมด 

        ตอบ       ข.   ปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2520) 

                หมายเหตุ  :  เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้คือ โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2518)  ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518  ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ และกฎ ก.ร. ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2520)  ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518  ว่าด้วยกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4)  พ.ศ.  2535  ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 

9.    กฎ ก.ร. ฉบับปัจจุบัน ประกาศใช้เมื่อใด 

ก.    23  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2537 

ข.    24  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2537 

ค.    25  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2537 

ง.    30  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2537 

ตอบ       ก.   23  พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 

                ให้ไว้ ณ วันที่  23  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2537 

                กฎ  ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14  (พ.ศ.  2537)  ข้อ 1 

กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

                                                                                                       

10.  กฎ ก.ร. ฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้เมื่อใด 

        ก.    24  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2537 

        ข.    30  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2537 

        ค.    5   ธันวาคม  พ.ศ.  2537 

        ง.     7  ธันวาคม  พ.ศ.  2537 

        ตอบ       ก.   24  พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 

                        ให้ไว้ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 

                        กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ฉบับที่ 14  (พ.ศ. 2537)  ข้อ 1 

กฎ  ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เป็นต้นไป

1.     กฎ  ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรืองดขั้นเงินเดือน ประกาศใช้ตามกฎหมายใด 

        ก.    การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา พ.ศ. 2544      

        ข.    การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานสภาผู้แทนราษฎร  พ.ศ. 2545 

        ค.    พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 

        ง.     ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข. 

        ตอบ       ง.   ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.

               ตามที่ได้มีประกาศรัฐสภา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

พ.ศ. 2544  ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2544 และประกาศรัฐสภาเรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2545  ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2545  ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสียใหม่ โดยกำหนดให้มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการภายในสำนัก แต่เนื่องจาก กฎ ก.ร. ที่เกี่ยวกับอำนาจการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนยังมิได้กำหนดให้อำนาจผู้อำนวยการสำนักไว้ในกฎ ก.ร. ดังกล่าว 

2.     กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ประกาศใช้ พ.ศ. ใด 

     ก.    พ.ศ. 2544                                                                              ข.    พ.ศ. 2545 

        ค.    พ.ศ. 2546                                                                              ง.    พ.ศ. 2547 

        ตอบ       ค.   พ.ศ. 2546 

                        กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ประกาศ

        ใช้ พ.ศ. 2546

3.     กฎ  ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ประกาศใช้เมื่อ 

        พ.ศ. ใด 

        ก.    ตั้งแต่วันประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา 

        ข.    ถัดจากวันประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา 

ค.    3  วันหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

ง.    7  วันหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

        ตอบ       ข.   ัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจฯ พ.ศ. 2546  ข้อ 1  กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 

4.     กฎ  ก.ร.ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน ให้ยกเลิกกฎหมายใด

        ก.    กฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 (2518) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 

        ข.    กฎ ก.ร. ฉบับที่  9 (2520) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 

        ค.    กฎ ก.ร. ฉบับที่  12 (2537) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 

        ง.     กฎ ก.ร. ฉบับที่  15 (2540) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 

        ตอบ     ค.   กฎ ก.ร. ฉบับที่ 12 (2537) ออกใน พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 

                      กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจฯ พ.ศ. 2546  ข้อ 2  ให้ยกเลิก กฎ ก.ร. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2537)

ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518  ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน                                                                                   

5.    ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าส่วนราชการภายในสำนัก หมายถึงผู้ใด 

        ก.    ผู้อำนวยการรัฐสภา                                                             ข.    ผู้อำนวยการส่วนราชการ

       ค.    ผู้อำนวยการสำนัก                                                                ง.    ผู้อำนวยการกอง 

        ตอบ       ค.   ผู้อำนวยการสำนัก

                        ผู้อำนวยการสำนัก    หมายความว่า ข้าราชการรัฐสภาที่ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ 

ภายในสำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยกำหนดให้เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการภายใน 

สำนักหรือส่วนราชการดังกล่าว 

6.     ผู้บังคับบัญชาข้าราชการรัฐสภาสามัญ สามารถสั่งลงโทษผู้กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงโดยสั่งตัดเงินเดือน

        ครั้งหนึ่งไม่เกินเท่าใด 

        ก.    ไม่เกิน 5 %                                                                            ข.    ไม่เกิน  7 %

        ค.    ไม่เกิน  10 %                                                                        ง.    ไม่เกิน  15 %

        ตอบ       ก.   ไม่เกิน  5  %

                กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจฯ พ.ศ. 2546  ข้อ  4    ู้อำนวยการสำนัก ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีอำนาจสั่งลงโทษ ภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน  5 %  และเป็นเวลาไม่เกินสองเดือน

7.    จากข้อข้างต้น ในการสั่งตัดเงินเดือนนั้น สามารถสั่งได้ไม่เกินกี่เดือนติดต่อกัน 

        ก.    ไม่เกิน 1  เดือน                                                                    ข.    ไม่เกิน 2 เดือน 

        ค.    ไม่เกิน 3  เดือน                                                                    ง.     ไม่เกิน  4  เดือน 

        ตอบ       ข.   ไม่เกิน  2  เดือน

                คำอธิบายดังข้อข้างต้น

8.     ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญ เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง มีอำนาจ 

        สั่งลงโทษตามข้อใด 

         ก.    สั่งลงโทษภาคทัณฑ์                                                           ข.    ตัดเงินเดือน 

 ค.    ลดขั้นเงินเดือน                                                                   ง.    ถูกทุกข้อ 

         ตอบ      ง.   ถูกทุกข้อ

                        กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจฯ พ.ศ. 2546  ข้อ 5    ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธาน 

        วุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการวุฒิสภา หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม 

มาตรา 6 (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม 

โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2535  ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา 

ของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงมีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือน 

ครั้งหนึ่งไม่เกิน  5 %   และเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น

 

จำหน่ายเอกสารเตรียมสอบข้าราชการรัฐสภาสามัญ ใหม่ล่าสุด

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ  และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก 
ประกอบด้วย
1. แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์)
2.แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
แนวข้อสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง (เลือกตามตำแหน่งที่สอบ)
  • เจ้าพนักงานบันทึกข้อมูลปฏิบัติงาน
  • เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
  • เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน
  • เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน
  • เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
  • นายช่างปฏิบัติงาน
  • นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
  • เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
  • เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ทั่วไปปฏิบัติงาน
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ
  • วิทยากรปฏิบัติการ
  • นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
  • นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติการ
  • นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
  • นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
  • นักบัญชีปฏิบัติการ

  • ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 
    สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท
    กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
    เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

     บิ๊กซีขอนแก่น
    decho pragay  ออมทรัพย์
    โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com

     

     

    จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
    admin ออฟไลน์
    ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
    รายละเอียดผู้ใช้ 
    1.     ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาที่ใช้ในปัจจุบัน ประกาศใช้  พ.ศ. ใด
        ก.    พ.ศ. 2549    ข.    พ.ศ. 2550
        ค.    พ.ศ. 2551    ง.    พ.ศ. 2552
        ตอบ       ค.  พ.ศ. 2551
                ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551    
    2.    ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ฉบับนี้ประกาศใช้โดยอาศัยกฎหมายใด    
        ก.    ม. 134  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550
        ข.    ม. 135  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550
        ค.    ม. 136  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550
        ง.    ม. 137  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550
        ตอบ      ก.  ม. 134  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550
            อาศัยอำนาจตามความมาตรา 134  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  วุฒิสภาจึงตราข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาขึ้นไว้
    3.    ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา   พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
        ก.    นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา    
        ข.    ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
        ค.    3  วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
        ง.    7  วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
        ตอบ       ข.   ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
            ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ. 2551   ข้อ 2  ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
    4.    ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ. 2551   ยกเลิกข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ. ใด
        ก.    พ.ศ. 2544    ข.    พ.ศ. 2545
    ค.    พ.ศ. 2546    ง.    พ.ศ. 2547
        ตอบ       ก.   พ.ศ. 2544  
                 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ. 2551  ข้อ 3  ให้ยกเลิกข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา
        พ.ศ. 2544
    5.    ผู้รักษาการตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา คือผู้ใด
        ก.    ประธานสภา    ข.    ประธานวุฒิสภา
        ค.    คณะรัฐมนตรี    ง.    นายกรัฐมนตรี
        ตอบ       ข.   ประธานวุฒิสภา
                  ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ. 2551  ข้อ  4   ให้ประธานวุฒิสภารักษาการตามข้อบังคับนี้     และมีอำนาจวางระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้
    6.    หมวด  1  ในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาว่าด้วยเรื่องใด
        ก.    การเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา
        ข.    อำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภา
        ค.    การประชุมวุฒิสภา
        ง.    การเสนอญัตติ
        ตอบ       ก.  การเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา
                หมวด  1   การเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา
    7.    ในการเลือกประธานวุฒิสภาในครั้งแรก ให้ผู้ใดดำเนินการเป็นประธานในที่ประชุมชั่วคราว
        ก.    ประธานวุฒิสภาเดิม    ข.    ผู้อาวุโสที่สุด
        ค.    รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1    ง.    มติในที่ประชุม
    ตอบ      ข.   ผู้อาวุโสที่สุด
            ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ. 2551  ข้อ 5   ในการเลือกประธานวุฒิสภาและ
    รองประธานวุฒิสภาครั้งแรก ให้เลขาธิการวุฒิสภาเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุด ซึ่งอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาดำเนินการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา และเพื่อให้ที่ประชุมสภาดำเนินการในเรื่องอื่นที่จำเป็นจะต้องประชุมปรึกษาในการประชุมครั้งนั้นด้วย ในการดำเนินการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภา ให้สมาชิกผู้มีอายุสูงสุดในลำดับถัดไปซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมt
    8.    ในการเสนอชื่อเพื่อเลือกประธานวุฒิสภานั้น สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อโดยมีผู้รับรองไม่น้อย
        กว่ากี่คน
        ก.    5  คน    ข.   7  คน
        ค.    10  คน    ง.    15  คน
        ตอบ        ค.   10  คน
            ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ. 2551  ข้อ  6   ในการเลือกประธานวุฒิสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิ์เสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ก่อนที่จะดำเนินการเลือกตั้งประธานวุฒิสภานั้น ให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุมวุฒิสภาภายในเวลาที่ที่ประชุมวุฒิสภากำหนด ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียวให้ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อสองชื่อหรือมากกว่าสองชื่อ ให้มีการลงคะแนนเป็นการลับโดยการเขียนชื่อผู้ซึ่งตนประสงค์จะเลือกลงบนแผ่นกระดาษ ใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ แล้วให้เรียกชื่อสมาชิกตามลำดับอักษรมาลงคะแนนเป็นรายคน โดยนำซองใส่ลงในภาชนะที่จัดไว้เพื่อการนั้น ในการตรวจนับคะแนนให้ประธานของที่ประชุมเชิญสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนกรณีมีการเสนอชื่อสองชื่อ ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้าได้คะแนนสูงสุดเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลาก กรณีมีการเสนอชื่อมากกว่าสองชื่อ ให้ผู้ ได้คะแนนสูงสุดและมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมเป็นผู้ได้รับเลือก
    แต่ถ้าผู้ได้คะแนนสูงสุดมีคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม ให้ดำเนินการดังนี้
            (1)   ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับแรกหนึ่งคน และผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่สองหนึ่งคน ให้นำชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดสองลำดับดังกล่าวมาให้สมาชิกลงคะแนน หรือ
            (2)   ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับแรกเกินกว่าหนึ่งคน ให้นำชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดดังกล่าวมาให้สมาชิกลงคะแนน หรือ
            (3)   ถ้ามีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับแรกหนึ่งคนและมีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่สองเกินกว่าหนึ่งคน ให้นำชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับแรกและลำดับที่สองทุกคนมาให้สมาชิกลงคะแนน ทั้งนี้ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือก แต่ถ้าคะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากให้ประธานของที่ประชุมประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุมวุฒิสภา   และสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำลายบัตรออกเสียงลงคะแนนนั้นด้วย
    จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
    admin ออฟไลน์
    ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
    รายละเอียดผู้ใช้ 
    ๑. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
    การเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้
    สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับ
    แต่งตั้งภายในกี่วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก
    และต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับรองไม่น้อยกว่าเท่าใด
    ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
    ก. ๑๕ วัน, หนึ่งในสาม
    ข. ๓๐ วัน, หนึ่งในห้า
    ค. ๔๕ วัน, หนึ่งในสาม
    ง. ๖๐ วัน, หนึ่งในห้า
    ตอบ ข้อ ข
    ๒. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ข้อใด
    ต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
    ก. ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
    แต่งตั้งประธานองคมนตรี
    ข. ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรม
    ราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
    ค. ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
    แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
    ง. ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
    แต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
    ตอบ ข้อ ค
    ๓. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สมัย
    ประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนดเวลา ๑๒๐ วันแต่
    พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขยายเวลาออกไป
    ก็ได้ ส่วนการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลา ๑๒๐ วัน
    จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบตาม ข้อใดดังต่อไปนี้
    ก. คณะรัฐมนตรี
    ข. นายกรัฐมนตรี
    ค. รัฐสภา
    ง. ประธานรัฐสภา
    ตอบ ข้อ ค
    ๔. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ในระหว่าง
    สมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือ
    เงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์
    ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะทรงตรา...……….…………………..ให้ใช้
    บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้ และต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
    ภายใน …….………วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    ก. พระราชกำหนด, ๓ วัน
    ข. พระราชกำหนด, ๗ วัน
    ค. พระราชกฤษฎีกา, ๓ วัน
    ง. พระราชกฤษฎีกา, ๗ วัน
    ตอบ ข้อ ก
    ๕. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
    ตำแหน่งใดต่อไปนี้ ก่อนเข้ารับหน้าที่ต้องปฏิญาณตนใน
    ที่ประชุมรัฐสภา
    ก. ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    ข. องคมนตรี
    ค. รัฐมนตรี
    ง. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
    ตอบ ข้อ ก
    ๖. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ผู้ที่
    เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถ้าประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง
    เป็นสมาชิกวุฒิสภา ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
    มาแล้วเป็นเวลาเท่าใด นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
    ก. ไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน
    ข. ไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน
    ค. ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
    ง. เกินกว่าหนึ่งปื
    ตอบ ข้อ ง
    จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
    รายละเอียดไฟล์แนบ
    กล่องตอบกลับด่วน

    กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
    กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้