ข้อสอบงานสารบรรณ
1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า "งานสารบรรณ" ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร
ก.งานรับ-ส่งและเก็บรักษาหนังสือ ข.งานร่าง-เขียนและพิมพ์หนังสือ
ค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร** ง.งานที่เกี่ยวกับงานทะเบียนเอกสาร
2.ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ เมื่อใด
ก.1 มิถุนายน 2516 ข.1 มิถุนายน 2526**
ค.1 ตุลาคม 2526 ง.1 ธันวาคม 2527
3.หนังสือราชการคืออะไร
ก.เอกสารทุกชนิดที่พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย ข.เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ**
ค.เอกสารที่มีไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งในราชการ ง.เอกสารที่ทางราชการเป็นเจ้าของ
4.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายนอก** ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือประทับตรา ง.หนังสือประชาสัมพันธ์
5.ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
ก. เรื่อง ข.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
ค.คำขึ้นต้นและคำลงท้าย ง.อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย**
6.หนังสือภายในเป็นหนังสืออย่างไร
ก.ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน ข.ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
ค.ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. **
7.หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด
ก.แบบฟอร์ม** ข.การเก็บหนังสือ
ค.ผู้ส่งและผู้รับ ง.การลงทะเบียนรับ-ส่ง
8.หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง
ก.ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ข.การเตือนเรื่องที่ค้าง
ค.ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. **
9.แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด
ก.ประทับตรา ข.สั่งการ
ค.ประชาสัมพันธ์ ** ง.เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น
จงพิจารณาตัวเลือกต่อไป แล้วใช้ตอบคำถามตั้งแต่ ข้อ 10 ถึง 13
ก.แถลงการณ์
ข.ข้อบังคับ
ค.คำสั่ง
ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.
10. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย** ข
11. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจน**ก
12. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย** ค
13.บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบทั่วกัน** ง
14.หนังสือราชการที่มีคำว่า “ด่วนมาก” ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติตามกำหนดเวลา ข.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติ
ค.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติ** ง.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติ
15.วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ
ก.ใต้รูปครุฑ ข.ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก **
ค.ไม่มีการลงวัน เดือนปี ในหนังสือชนิดนี้ ง .ผิดทุกข้อ
16.หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง…
ก.ประทับตราให้ถูกที่สุด ข.ระบุตัวผู้รับให้ชัดเจน
ค.มีคำว่าหนังสือประทับตรา ง.มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ**
17.รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
ก.หนังสือภายใน ข.หนังสือสั่งการ
ค.หนังสือประชาสัมพันธ์ ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ**
18.หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ
ก.เจ้าหน้าที่ระดับ 2 ขึ้นไป ข.หัวหน้าแผนก
ค.หัวหน้าฝ่าย ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย**
19.หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติเร็วที่สุด ข.ปฏิบัติโดยเร็ว
ค.ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ ** ง.ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา
20.หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
ก.หนังสือที่เกี่ยวกับความลับ ข.หนังสือที่มีหลักฐานการโต้ตอบ
ค.หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติหลักฐาน** ง.หนังสือสำนวนการสอบสวน
21.ตั้งแต่ข้อ 22 ถึง 25 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วน ใดของซอง โดยยึดคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
ก.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
ข.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
ค.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
ง.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง
22.เลขที่หนังสือออก ** ก
23.คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ ** ง
24.ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ** ค
25.ด่วนมาก **
26.การเก็บหนังสือราชการปกติจะต้องเก็บรักษาไว้กี่ปี
ก.5 ปี ข.10 ปี**
ค.15 ปี ง.20 ปี
27.ข้อความที่บันทึกในรายงานการประชุมมักเริ่มต้นด้วยอะไร
ก.ประธานกล่าวเปิดประชุม** ข.บอกเรื่องที่จะประชุม
ค.การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน ง.การอ่านรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
28.ข้อความสุดท้ายของรายงานการประชุมควรจะเป็นอะไร
ก.เวลาเลิกประชุม ข.ผู้จดรายงานการประชุม**
ค.ผู้ตรวจรายงานการประชุม ง.วัน เดือน ปี และสถานที่ประชุม
29.หนังสือราชการที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ แบ่งเป็นกี่ประเภท
ก. 4 ข. 3**
ค. 2 ง.ประเภทเดียว
30.ข้อใดอาจช่วยให้หนังสือราชการมีใจความแจ่มชัด
ก.การใช้ภาษาที่ง่าย สั้น แต่ได้ใจความดี ข.การแยกแยะใจความออกเป็นข้อๆ หรือตอนๆ
ค.การเท้าความถึงเรื่องที่เคยติดต่อกันมา ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.**
31.ข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ ให้ปฏิบัติเป็นรายการสุดท้ายในการรับหนังสือ
ก.ลงทะเบียนรับหนังสือ ข.ประทับตรารับหนังสือ
ค.เปิดผนึกซองและตรวจเอกสาร ง.ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ**
32.การเสนอหนังสือคืออะไร
ก.การนำหนังสือไปส่งให้ผู้รับ ข.การส่งหนังสือออกจากส่วนราชการ
ค.การสรุปใจความสำคัญในหนังสือเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
ง.การนำหนังสือที่ดำเนินการชั้นเจ้าหน้าที่แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา**
33.ข้อใดไม่มีกำหนดไว้ในทะเบียนงานสารบรรณ
ก.ทะเบียนรับ ข.ทะเบียนจ่าย**
ค.ทะเบียนส่ง ง.ทะเบียนเก็บ
34.ซองหนังสือราชการมีกี่ขนาด
ก. 2 ข. 3
ค. 4** ง. 5
35.การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ข้อใดไม่ใช่วิธีการเก็บหนังสือ 1 ใน 3 อย่างดังกล่าว
ก.การเก็บก่อนปฏิบัติ** ข.การเก็บระหว่างปฏิบัติ
ค.การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว ง.การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
36.การเก็บหนังสือมีประโยชน์ต่อข้อใดมากที่สุด
ก.การค้นหา** ข.การตรวจสอบ
ค.การทำความสะอาดที่เก็บ ง.ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
37.หนังสือราชการประเภทใดอาจไม่ต้องทำสำเนาคู่ฉบับไว้ก็ได้
ก.หนังสือภายนอก ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือสั่งการ ง.หนังสือประทับตรา**
38.ข้อใดเรียงลำดับส่วนราชการจากใหญ่ไปหาเล็ก ได้ถูกต้อง
ก.กอง แผนก กรม กระทรวง ข.แผนก กรม กอง กระทรวง
ค.กระทรวง กอง กรม แผนก ง.กระทรวง กรม กอง แผนก**
39.การประทับตรารับหนังสือควรประทับตามที่ส่วนใดของหนังสือจึงจะถูกต้อง
ก.ที่มุมบนขวา** ข.ที่มุมบนซ้าย
ค.ที่มุมล่างซ้าย ง.ที่มุมล่างขวา
40.ข้อใดเรียงลำดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับหนังสือได้ถูกต้อง
ก.ลงทะเบียนรับ ประทับตรารับหนังสือ เปิดผนึกซองตรวจ
ข.ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ เปิดผนึกซองตรวจ
ค.เปิดผนึก-ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ และตรวจ
ง.เปิดผนึก ตรวจ ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ**
41.การเปิดซองหนังสือราชการ ถ้ามีซองอีกชั้นหนึ่งอยู่ข้างใน แสดงว่าหนังสือนั้นต้องเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายใน ข.หนังสือภายนอก
ค.หนังสือราชการด่วน ง.หนังสือราชการลับ**
42.หนังสือประทับตราต่างกับหนังสือภายนอกและหนังสือภายในในแง่ใ ด
ก.คำขึ้นต้น ข.คำลงท้าย
ค.การลงชื่อ ง.ทั้ง ก. ข. และ ค.**
43.ตราที่ใช้ประทับในหนังสือประทับตราตามระเบียบงานสารบรรณกำหนดให้ใช้หมึกสีอะไร
ก.แดง** ข.ดำ
ค.น้ำเงิน ง.เขียว
44.”ประกาศ ณ วันที่………” ใช้กับหนังสือสั่งการชนิดใด
ก.คำสั่ง ข.ระเบียบ
ค.ข้อบังคับ ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.**
45.ข้าราชการที่มีตำแหน่งยศทหารหรือตำรวจ ต้องพิมพ์ยศลงหน้าชื่อในวงเล็กใต้ลายเซ็นหรือไม่
ก.ไม่ต้องพิมพ์ยศ ข.พิมพ์ยศลงไปด้วย**
ค.พิมพ์หรือไม่พิมพ์ก็ได้ ง.ไม่มีคำตอบถูก
46.การเขียนหนังสือราชการถึงพระภิกษุ-สามเณร ทั่วไป ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
ก.เรียน ข.กราบเรียน
ค.ถึง ง.นมัสการ**
47.โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุใช้ในกรณีใด
ก.เรื่องเร่งด่วน ข.เรื่องเกี่ยวกับความลับราชการ
ค.เรื่องเกี่ยวกับการเงิน ง.เรื่องที่สั่งด้วยหนังสือไม่ทัน**
48.ทำไมจึงต้องมีระเบียบงานสารบรรณ
ก.เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีระเบียบเป็นหลักปฏิบัติ**
ข.เพื่อความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชาในการควบคุมงาน
ค.เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรู้เรื่องระเบียบงานสารบรรณ
ง.เพื่อให้ข้าราชการร่างและรับส่งหนังสือราชการได้ถูกต้อง
49.พระเจ้าแผ่นดินแต่งตัว ใช้ราชาศัพท์ว่าอย่างไร
ก.ทรงเครื่อง** ข.แต่งพระองค์
ค.ทรงเครื่องใหญ่ ง.ทรงพระสุคนธ์
50.พระภิกษุ สามเณร ป่วยใช้คำว่าอย่างไร
ก.ไม่สบาย ข.ประชวร
ค.อาพาธ** ง.ทรงพระประชวร
51.ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก.เดินทาง ข.ฟังเทศน์
ค.ทำบุญ** ง.ไปวัด
52.พระฉาย ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก. พระรูป ข.กระจกส่อง**
ค.หวี ง.ช้อนส้อม
53.นายกรัฐมนตรี ตาย คำที่ขีดเส้นใต้คำใดจึงจะถูกต้องตามราชาศัพท์
ก.ถึงแก่กรรม ข.มรณกรรม
ค.อสัญกรรม ** ง.พิราลัย
54.หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 15 ปี
ข.นำไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
ค.ให้ปฏิบัติตามระเบียบสารบรรณโดยเคร่งครัด
ง.ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแหงชาติ**
55.การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือราชการไปดู หรือคัดลอก ต้องได้รับอนุญาตจากใครก่อน
ก.เจ้าหน้าที่เก็บ ข.ประจำแผนก
ค.หัวหน้าแผนก ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย**
56.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.1 ปี** ข.1 ปี 6 เดือน
ค.2 ปี ง.3 ปี
57.การตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือให้ตั้งอย่างน้อยกี่คน
ก. 2 คน ข. 3 คน**
ค. 4 คน ง. 5 คน
58.ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใด
ก.อธิบดี ข.ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเทียบเท่าอธิบดี
ค.ปลัดกระทรวง ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค. แล้วแต่กรณี**
59.ผู้มีอำนาจอนุมัติการทำลายหนังสือราชการในส่วนภูมิภาคได้แก่ ผู้ใด
ก.ปลัดจังหวัด ข.อธิบดี
ค.รองผู้ว่าราชการจังหวัด ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด**
60.ตราครุฑที่ใช้สำหรับเป็นแบบพิมพ์ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่ มีความสูงเท่าไร
ก.2.5 ซม. ข.3.0 ซม.**
ค.3.5 ซม. ง.4.0 ซม.
61.ขนาดตราครุฑที่ใช้ประทับแทนการลงชื่อต้องเป็นวงกลม 2 วงซ้อนกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกและวงในเท่าไร
ก. 3.5 ซม. และ 2.5 ซม. ข. 4.0 ซม. และ 3.0 ซม.
ค. 4.5 ซม. และ 3.5 ซม.** จ.ขนาดพอเหมาะเท่าไรก็ได้
62.ตราครุฑมาตรฐานที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณ 2526 มีกี่ขนาด
ก. 2 ขนาด** ข. 3 ขนาด
ค. 4 ขนาด ง. 5 ขนาด
63.การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้มายืมและขอรับหนังสือต้องเป็นข้าราชการที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผนก** ข.หัวหน้าฝ่าย
ค.หัวหน้ากอง ง.รองอธิบดี
64.หนังสือราชการประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานทางราช การตลอดไป
ก.หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ข.หนังสือเกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน
ค.หนังสือที่ต้องใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.**
65.การเขียนหนังสือราชการที่มีคำลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ” เป็นหนังสือที่มีไปถึงใคร
ก.อธิบดี ข.ปลัดกระทรวง
ค.นักวิชาการ ชำนาญการ ง.ถูกหมดทุกข้อ**
พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
66. พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
“ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือสิ่งใด ๆ
ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งของนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และ
ไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม
การบันทึกภาพหรือเสียงการบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทำไว้ปรากฏได้
“ข้อมูลข่าวสารของราชการ” ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานการเงิน
ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมายรหัส
หรือสิ่งของบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์ลายนิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะ เสียงของคน
หรือรูปถ่ายและให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย
67. หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ในราชการกิจจานุเบกษา คือ
1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ และวิธีการดำเนินงาน
3) สถานที่ติดต่อ เพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
4) กฎ มติครม. ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือการตีความ
5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
68. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะเปิดเผยมิได้
69. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐ อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของ
รัฐ ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน คือ
1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
2) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับให้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสำเร็จตาม
วัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การ
ตรวจสอบหรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
3) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานองรัฐในการดำเนินการเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง
รายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการนำความเห็นหรือ
การแนะนำภายในดังกล่าว
4) การเปิดเผย จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
5) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล
โดยไม่สมควร
6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดย
ไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำมาเปิดเผยต่อผู้อื่น
70. “บุคคล” ตาม พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 หมายความว่าบุคคลธรรมดาที่มี
สัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นอยู่ในประเทศไทย
71. “ บุคคลในครอบครัว” ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526
หมายถึง 1) คู่สมรส
2) บุตร
3) บิดา มารดาของผู้เดินทางและหรือบิดามารดาของคู่สมรส
4) ผู้ติดตาม
72. “ภูมิลำเนาเดิม” หมายความว่า ท้องที่ที่เริ่มรับราชการ กลับเข้ารับราชการใหม่ หรือได้รับการบรรจุ
เป็นลูกจ้างครั้งแรกหรือครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี
73. การเดินทางไปราชการชั่วคราวได้แก่
1) การปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกสถานที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่ง
ผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการ
2) การไปสอบคัดเลือก หรือรับการคัดเลือก ตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา
3) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน
4) การเดินทางไปราชการเฉพาะระหว่างเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรของผู้ซึ่งรับราชการประจำ
ในต่างประเทศ
5) การเดินทางข้ามแดนชั่วคราว เพื่อไปปฏิบัติราชการในดินแดนต่างประเทศ ตามข้อตกลง
ระหว่างประเทศ
74. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้แก่
1) ค่าเบี้ยเลี้ยง
2) ค่าเช่าที่พัก
3) ค่าพาหนะ รวมถึงการเช่ายานพาหนะ หรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก
ค่าจ้างคนหาบหามและอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน
4) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อในการเดินทางไปราชการ
75. การนับเวลาเดินทางไปราชการ เพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่
หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนถึงกลับสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการแล้วแต่กรณี
เวลาเดินทางไปราชการให้นับ 24ชั่วโมง เป็นหนึ่งวัน ถ้าไม่ถึง 24 ชั่วโมง หรือเกิน 24 ชั่วโมง
และส่วนที่ไม่ถึงหรือเกิน 24 ชั่วโมง ถ้านับได้เกิน 12 ชั่วโมง ให้นับเป็นหนึ่งวัน
76. การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ เบิกค่าเช่าที่พักได้ดังนี้
ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 8 ลงมาหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าให้พักแรมรวมกัน 2 คนต่อห้อง โดยเบิกค่าเช่าที่พักได้
เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคู่คนละไม่เกินร้อยละ 70 ของอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว
เว้นแต่กรณีที่ไม่เหมาะสมจะพักรวมกัน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้
ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราค่าเช่าห้องพักคนเดียว
77. ในกรณีที่เบิกค่าเช่าที่พักในลักษณะเหมาจ่ายวันละไม่เกิน 1,000 บาท
78. การเดินทางไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือก หรือการเดินทางไปราชการในกรณีนำบุคคลไม่มี
สิทธิไปด้วย ผู้เดินทางไปราชการจะเบิกค่าพาหนะรับจ้างไป กลับ ระหว่างสถานที่พักไม่ได้
79. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายใยการฝึกอบรม ใช้ระเบียบ พ.ศ.2549 โดยยกเลิก
ระเบียบเดิมทั้งหมด
80. การฝึกอบรมระดับต้น หมายถึง การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลกรของรัฐ
ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 1 ถึงระดับ 2 หรือมีระดับตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการระดับ 1 และ 2
81. การฝึกอบรมระดับกลาง หมายถึง การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลกรของรัฐ
ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 3 ถึงระดับ 8
82. บุคคลที่จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ตามระเบียบฯ ได้แก่
1) ประธานในพิธีเปิดหรือพิธีปิดการฝึกอบรม แขกผู้มีเกียรติและผู้ติดตาม
2) เจ้าหน้าที่
3) วิทยากร
4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
5) ผู้สังเกตการณ์
83. หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรเป็นดังนี้
1) ชั่วโมงฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการบรรยาย ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรไม่เกิน 1 คน
2) ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการอภิปราย หรือสัมมนาเป็นหมู่คณะ ให้จ่ายค่าสมนาคุณ
วิทยากรได้ไม่เกิน 5 คน โดยรวมถึงผู้ดำเนินการอภิปราย
84. การนับชั่วโมงการฝึกอบรมให้นับตามเวลาที่กำหนดในตารางการฝึกอบรม โดยไม่ต้องหักเวลาที่พัก
รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม แต่ละชั่วโมงของการฝึกอบรมต้องมีกำหนดเวลาการฝึกอบรม
ไม่น้อยกว่า 50 นาที กรณีกำหนดเวลาการฝึกอบรมไม่ถึง 50 นาที แต่ไม่น้อยกว่า 25 นาทีให้เบิก
ค่าสมนาคุณวิทยากรได้ครึ่งหนึ่ง
85. อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร
1) วิทยากรที่เป็นบุคคลของรัฐ ให้ได้รับค่าสมนาคุณวิทยากรสำหรับการฝึกอบรม ระดับต้น
ระดับกลางและบุคคลภายนอก ไม่เกิน ชั่วโมงละ 600 บาท สำหรับการฝึกอบรมระดับสูง
ไม่เกินชั่วโมงละ 800 บาท
2) วิทยากรที่ไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1 ให้ได้รับค่าสมนาคุณวิทยากรในการฝึกอบรมระดับต้น
ระดับกลาง และบุคคลภายนอก ไม่เกินชั่วโมงละ 1,200 บาท สำหรับการฝึกอบรมระดับสูง
ไม่เกินชั่วโมงละ 1,600 บาท
86. การจัดฝึกอบรมบุคคลภายนอก
1) การจัดฝึกอบรมที่ไม่จัดอาหารทั้ง 3 มื้อ ให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้ไม่เกินคนละ 120 บาท/วัน
2) การฝึกอบรมมีจัดอาหารให้ 2 มื้อ ให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้ไม่เกินคนละ 80 บาท/วัน
3) การฝึกอบรมที่จัดอาหารให้ 1 มื้อ ให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้ไม่เกินคนละ 40 บาท/วัน
87. อัตราค่าอาหารในการฝึกอบรม
1) การฝึกอบรมระดับต้น ระดับกลางและการฝึกอบรมบุคคลภายนอก
- ถ้าจัดอาหารครบทุกมื้อไม่เกิน 500 บาท
- ถ้าจัดไม่ครบทุกมื้อไม่เกิน 300 บาท
2) การฝึกอบรมระดับสูง
- ถ้าจัดอาหารครบทุกมื้อไม่เกิน 700 บาท
- ถ้าจัดไม่ครบทุกมื้อไม่เกิน 500 บาท
88. ตามระเบียบของทางราชการ “รถยนต์ราชการ” มีกี่ประเภท และหมายถึงรถยนต์ในลักษณะใด
ตอบ 4 ประเภท รถประจำตำแหน่ง รถส่วนกลาง รถรับรอง และรถอารักขา
แนวข้อสอบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง/ชุมชนเข้มแข็ง
1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
ตอบ ROYAL-INTIATED SELF SUFFICIENT ECONOMY PROJECT
2. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขึ้นแนะแนวทาง มาแล้วกี่ ปี
ตอบ 25 ปี
3. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริหมายถึง
ตอบ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีระบบคุ้มกันในตัว
4. การที่จะเปลี่ยนให้คนมีเศรษฐกิจพอเพียง จำเป็นต้องทำทั้งหมดหรือไม่ ตามแนวพระราชดำริ
ตอบ ไม่จำเป็น เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็อยู่ได้
5. การดำเนินโครงการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
ตอบ ทุนทางสังคม (Social Capital)
6. เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ก็เพื่อมุ่งพัฒนาสินค้าชุมชน ออกเป็นสินค้าส่งออก ใช่หรือไม่
ตอบ ไม่ใช่ แต่เป้าหมายเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้
7. บทบาทข้าราชการในการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง
ตอบ สนับสนุนเงินทุน เป็นผู้ให้ความสะดวก (FACILITATOR) และสนับสนุน (SUPPORTER)
8. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
ตอบ คณะกรรมการบริหารโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ( กปร.)
9. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ระดับอำเภอ
ตอบ คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ
10. การใช้เงินทุนดังกล่าว หากกลุ่มไม่สามารถคืนเงินยืมได้ จะทำอย่างไร
ตอบ องค์การบริหารส่วนตำบล ต้องตั้งงบประมาณชดใช้คืนเงินทุน
11. เศรษฐกิจพอเพียง สนองตอบต่อเป้าหมายใดทางเศรษฐกิจ
ตอบ การกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรมในสังคม
12. หลักการสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ เศรษฐกิจพอเพียง และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
13. กรมการปกครองรับผิดชอบและสนับสนุนการจัดประชาคม ระดับใด
ตอบ ระดับจังหวัด และอำเภอ
14. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เริ่มปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาฉบับใด
ตอบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
15. การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาแบบใด
ตอบ แบบองค์รวม (HORISTIC APPROACH) คือ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสามารถประสานกันครบองค์มีดุลยภาพเกิดขึ้น
16. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ปรากฏอยู่ในโครงการใดของกระทรวงมหาดไทย
ตอบ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
17. การพัฒนาประชารัฐ มีแนวทางการพัฒนาอย่างไร
ตอบ เน้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน ให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของภาครัฐ ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ให้มีความต่อเนื่องในการบริหารงานพัฒนาและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
18. ในระยะเริ่มต้นของการใช้แผนฯ 8 ได้เกิดกระบวนการอะไรเกี่ยวกับการพัฒนาประชารัฐ
ตอบ ประชาคมจังหวัด
19. ตามแนวคิดประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) แบ่งสังคมออกเป็นส่วน ๆ กี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ 3 ส่วน คือภาครัฐหรือราชการ (PUBLICE SECTOR) ภาคธุรกิจเอกชน (BUSINESS SECTOR)และภาคประชาชน (VOLUNTARY SECTOR)
20. หน่วยงานใดบ้างที่ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
ตอบ กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สถาบัน ราชภัฏ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
21. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ มาจากภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
ตอบ THE PROJECT OF COMMUNITY EMPOWERMENT RESPONSE TO CRISIS ACTION PLAN : (CERCAP)
22. โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ อยู่ในความดูแลขององค์กรใด
ตอบ คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ โดยมีคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
23. องค์กรระหว่างประเทศใด ที่ให้การสนับสนุนโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
ตอบ UNDP – UNITED NATION DEVELOPMENT PROGRAMME
24. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ตอบ การสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ จังหวัด
25. กรมการปกครองใช้วิธีการใด ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ
ตอบ การอบรมแบบมีส่วนร่วม (PARTICITIPATORY TRAINING)
26. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ- A – I – C (APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL) F.S.C. (FUTURE SEARCH CONFERENCE)
27. F.S.C. คืออะไร
ตอบ FUTURE SEARCH CONFERENCE หรือการสร้างอนาคตร่วมกัน เป็นเทคนิคการทำความเข้าใจอดีต ปัจจุบันและเชื่อมโยงสู่อนาคตร่วมกัน ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ (VISION)ของอนาคตและจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ
28. A – I – C คืออะไร
ตอบ APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL เป็นการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ทำความเข้าใจสภาพปัญหาและขีดจำกัด และสร้างวิสัยทัศน์รวมทั้งแผนงานร่วมกัน
29. ทุนทางสังคม (SOCIAL CAPITAL) คืออะไร
ตอบ ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสถาบันองค์กรทางสังคม
30. ประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) คืออะไร
ตอบ การที่คนในสังคม มีจิตสำนึก(CIVIL CONSCIOUSNESS) ร่วมกัน มารวมตัวกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน เพื่อกระทำการบางอย่าง ด้วยความรักและเอื้ออาทรต่อกัน ภายใต้ระบบการจัดการให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เพื่อประโยชน์สาธารณะ
31. องค์ประกอบของประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ จิตสำนึกประชาสังคม โครงสร้างองค์กรประชาสังคม และเครือข่ายประชาสังคม
2. ผู้นำที่อยู่ในพื้นที่ หรืออยู่ในชุมชนที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชน เกิดการรวมตัวตามแนวความคิดประชาสังคม เรียกว่าอะไร
ตอบ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CHANG AGENT)
33. เวทีประชาคมคืออะไร
ตอบ คือ พื้นที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่ผู้คนสามารถมาพบปะรวมตัวกันเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน ความคิด ความเห็นได้
34. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คืออะไร
ตอบ การเพิ่มกำลังอำนาจให้แก่ประชาชน ในการคิด การทำ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา การแก้ปัญหาต่าง ๆ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
35. องค์ประกอบของชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย อะไรบ้าง
-องค์ประกอบ 9 ประการ คือ
1. มีบุคคลหลากหลายรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ หรือไม่ทางการ
2. มีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยผลประโยชน์สาธารณะและของสมาชิก
3. มีจิตสำนึกของการพึ่งตนเอง รักและเอื้ออาทรต่อกันและมีความรักชุมชน
4. มีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ
5. มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
6. เรียนรู้ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
7. มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
8. มีการจัดการบริหารงานกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี
9. มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย
36. ยูเนสโก ประกาศให้คนไทย 2 ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลก คือ ม.ร.ว ศึกฤทธิ์ ปราโมทย์ และ สุนทราภรณ์ (เอื้อ สุนทรสนาน)
37. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2553 กระทรวงฯ ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันอย่าง
ต่อเนื่อง “รั้วชายแดน รั้วสังคม รั้วชุมชน รั้วโรงเรียน รั้วครอบครัว ” และ กำหนดนโยบายเร่งด่วน “Clean and seal”
38. Clean and seal คือ การกวาดล้างและการป้องกัน
39. การประชุม ASEAN(๑๐ ประเทศ) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เป็นครั้งที่ 15 (+๓ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
(+๖ ได้แก่ อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย) การประชุมครั้งที่16 ประเทศเวียตนาม เป็นเจ้าภาพ
40. การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เน้นไปที่ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ที่มาของ ส.ส. (มาตรา 93 ถึงมาตรา 98) 2. ที่มาของ ส.ว. (มาตรา 111 ถึงมาตรา 121) 3.การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 265) 4.การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 266) 5.การทำสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (มาตรา 190) และ 6. การยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง (มาตรา 237)
41.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปีใด และมีจำนวนทั้งสิ้นกี่คน
ตอบ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 99 คน
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
[font=arial ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com