แนวข้อสอบ
นักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ
1. การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมได้แก่ข้อใด
ก. โดยนิติกรรม
ข. โดยอายุความ
ค. โดยผลของกฎหมาย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
ถูกทุกข้อ
การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอม มีด้วยกัน ๓ วิธี คือ
๑. โดยนิติกรรมหรือสัญญา คือ
เจ้าของภารยทรัพย์ยอมให้สิทธิภาระจำยอมแก่เจ้าของสามยทรัพย์โดยการทำสัญญา
(นิติกรรม) แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์
๒. โดยอายุความ คือ
เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ที่ดินของเจ้าของภารยทรัพย์เป็นเวลา ๑๐ ปี ไม่ว่าที่ดินมีโฉนดหรือ น.ส. ๓ ก็ตาม
๓. โดยผลของกฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิภาระจำยอม เช่น
ผู้ที่ปลูกบ้านรุกล้ำไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ย่อมได้ภาระจำยอมในส่วนที่ปลูกรุกล้ำ
2. สิทธิอาศัยหมายถึงข้อใด
ก. สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๑๐ ปี
ข. สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๒๐ ปี
ค. สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ ปี
ง. สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๔๐ ปี
ตอบ ค.
สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ ปี
สิทธิอาศัย คือ
สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า โดยจะกำหนดระยะเวลากันไว้ไม่เกิน ๓๐ ปี หรือกำหนดไว้ให้มีระยะเวลาตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้ และมีสิทธิเฉพาะการอาศัยเท่านั้น จะทำการค้าไม่ได้ และห้ามโอนให้แก่กันแม้โดยทางมรดก
3. ที่ดินที่งอกริมตลิ่งเป็นของบุคคลใด
ก. กรรมสิทธิ์ของรัฐบาล
ข. กรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
ค. กรรมสิทธิ์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข.
กรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง
(โดยธรรมชาติ) ที่งอกนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
4. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๐ คือใคร
ก. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ข. นายสมัคร
สุนทรเวช
ค. นายสมชาย
วงศ์สวัสดิ์
ง. นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
ตอบ ก.
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
5. ถ้าต้องการรับมรดกที่ดินของมารดาซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้และไม่มีผู้จัดการมรดกจะต้องดำเนินการอย่างไร
ก. หลักฐานหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
ข. หลักฐานที่แสดงว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรม
ค. หลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
ถูกทุกข้อ
วิธีดำเนินการ
ในการรับมรดกของมารดาให้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกนำหลักฐานหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หลักฐานที่แสดงว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรม และหลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก เช่น
มรณบัตร ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัว
สูติบัตร หลักฐานการสมรส ฯลฯ ไปยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
สำนักงานที่ดินซึ่งที่ดินที่จะขอรับมรดกตั้งอยู่
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้วเชื่อว่าผู้ขอเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกตามที่ขอแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะทำการประกาศมีกำหนด
30 วัน หากไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านภายในเวลาที่ประกาศ
พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการจดทะเบียนให้ได้
6. ค่าธรรมเนียมในการโอนมรดกเฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดานคือเท่าใด
ก. ร้อยละ 0.3
ข. ร้อยละ 0.5
ค. ร้อยละ 0.7
ง. ร้อยละ 0.9
ตอบ ข.
ร้อยละ 0.5
ค่าธรรมเนียม
การจดทะเบียนโอนมรดกเฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรสจะเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.5
(ร้อยละห้าสิบสตางค์) จากราคาประเมินทุนทรัพย์
7. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๐
ได้ยกเลิกวรรคใดแห่งประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘
ก. วรรคสองของ มาตรา ๕๔
ข. วรรคสามของ มาตรา ๕๖
ค. วรรคสองของ มาตรา ๕๗
ง. วรรคหนึ่งของ มาตรา ๕๙
ตอบ ค.
วรรคสองของ มาตรา ๕๗
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ มาตรา ๕๗
แห่งประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“โฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ทำเป็นคู่ฉบับรวมสองฉบับมอบให้ผู้มีสิทธิในที่ดินฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ ณ สำนักงานที่ดิน สำหรับฉบับที่เก็บไว้ ณ
สำนักงานที่ดินนั้นจะจำลองเป็นรูปถ่ายหรือจัดเก็บโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือเสมือนเป็นต้นฉบับ”
8. ที่ดินใดสามารถขออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือ น.ส. ๓
ก. เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์
ข. เป็นที่ดินที่ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ค. เป็นที่ภูเขา
ง. เป็นที่สงวนหวงห้าม
ตอบ ก.
เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์
การขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(น.ส. ๓ หรือ น.ส. ๓ ก.)
หากท่านได้มีการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินมาแล้ว
แต่ที่ดินของท่านยังไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.
๓ หรือ น.ส. ๓ ก.) และท่านต้องการที่จะมีเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว ท่านจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ดังนี้
๑. เป็นที่ดินที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์
๒. ต้องไม่เป็นที่ดินที่ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
เช่น ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
ตลิ่ง
๓. ต้องไม่เป็นที่เขา ที่ภูเขา
หรือที่สงวนหวงห้าม
หรือที่ดินที่ทางราชการเห็นว่าควรสงวนไว้เพื่อทรัพยากรธรรมชาติ
9. ข้อใดมิใช่หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงในการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
ก. บัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมสำเนา
ข. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
ค. แบบแจ้งการครองครอบที่ดิน (ส.ค. ๑)
ง. ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ
ตอบ ก.
บัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมสำเนา
หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงในการขออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
๑. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
๒. แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑)
๓. ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
๔. ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ
๕. ตราจองเป็นใบอนุญาต
๖. หลักฐานการเสียภาษีที่ดินหรือหลักฐานอื่นๆ
ในกรณีที่ไม่ได้แจ้งการครอบครองและไม่อยในท้องที่ที่ประกาศเป็นเขตเดินสำรวจ เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓
ก.)
10. ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้
ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง
หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ห้ามมิให้บุคคลกระทำการใดต่อไปนี้
ก. เข้าไปยึดถือ ครอบครอง
รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า
ข. ทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน
ค. ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
ถูกทุกข้อ
ประมวลกฎหมายที่ดิน
มาตรา ๙
ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้น ถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ห้ามมิให้บุคคลใด
(๑) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง
รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า
(๒) ทำด้วยประการใด ให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน
ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย
ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา หรือ