ตัวอย่างข้อสอบกลุ่มงานวิศวกรรม
จงอธิบายระบบของโทรศัพท์เคลื่อนที่
ระบบวิทยุประเภทต่างๆ โดย ไม่มีผู้แต่ง
จุดประสงค์ของการใช้ระบบวิทยุก็คือ การส่งข้อมูลหรือข่าวสารระหว่างจุดสองจุดที่ไม่มีสายตัวนำต่อเชื่อมกัน การส่งสัญญาณข้อมูลโดยคลื่นวิทยุนั้นจำเป็นจะต้องใช้ตัวพา (Carrier) โดยที่สัญญาณข้อมูลจะขี่บนตัวพาไป ตัวพามักจะใช้สัญญาณรูปไซน์ (sinusoidal signal) ซึ่งเขียนได้เป็น Asin (2pฆt+q) โดยที่ Aคือ แอมปลิจูดบอกถึงความแรงของสัญญาณ ฆ เป็นความถี่และ q คือ เฟส (phase) ขบวนการที่ทำให้ข้อมูลขี่บนตัวพานั้นเรียกว่า มอดดูเลชั่น (modulation) หรือการมอดดูเลต ซึ่งกระทำได้สามวิธีคือมอดดูเลชั่นบนแอมปลิจูด (Amplitude Modulation) หรือเอเอ็ม (AM) มอดดูเลชั่นบนความถี่ (Frequency Modulation) หรือเอฟเอ็ม (FM) และมอดดูเลชั่นบนเฟส (Phase Modulation) หรือพีเอ็ม (PM) ในระบบเอเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูล จะขี่บนแอมปลิจูดของตัวพา กล่าวคือ แอมปลิจูดของตัวพาจะมีค่าเปลี่ยนไปตามค่าของสัญญาณข้อมูลและในระบบเอฟเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูลจะขี่ไปบนความถี่ของตัวพา กล่าวคือ ความถี่ของตัวพาจะมีค่าแปรเปลี่ยนไปตามค่าของสัญญาณข้อมูล ส่วนระบบพีเอ็มนั้นเฟสของตัวพาจะแปรเปลี่ยนตามค่าของสัญญาณข้อมูล ระบบเอฟเอ็มและพีเอ็มมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากความถี่และเฟสมีความเกี่ยวข้องกัน
สถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ และสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ จะใช้ความถี่ของตัวพาที่แตกต่างกันออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณรบกวนกัน เมื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงประกาศว่ากระจายเสียงด้วยความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ หมายความว่า ตัวพานั้นใช้ความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ วิทยุกระจายเสียงปัจจุบันจะเป็นแบบเอเอ็มหรือเอฟเอ็ม
ระบบเอเอ็ม ระบบเอฟเอ็ม
เครื่องส่งวิทยุระบบเอเอ็มและเอฟเอ็มนั้น ประกอบด้วยส่วนที่เป็นมอดดูเลเตอร์ ซึ่งเป็นวงจรที่นำเอาสัญญาณข้อมูลไปมอดดูเลตตัวพาผลที่ได้จะเป็นสัญญาณเอเอ็มหรือเอฟเอ็ม ที่มีความถี่ศูนย์กลางอยู่ที่ความถี่ของตัวพา หลังจากนั้นจะถูกขยายให้มีกำลังสูงเท่าที่ต้องการ แล้วจึงส่งสัญญาณไปยังเสาอากาศเพื่อให้แผ่กระจายเป็นคลื่นวิทยุออกไป เครื่องรับวิทยุ เอเอ็มและเอฟเอ็มที่มีขายในท้องตลาดจะเป็นเครื่องรับที่เรียกว่า ระบบซูเปอร์เฮตเทอโรไดน์ (superheterodyne) โดยมีหลักการทำงานอย่างคร่าวๆ ดังต่อไปนี้
ส่วนแรกของเครื่องรับคือ เสาอากาศ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงคลื่นวิทยุ เป็นสัญญาณไฟฟ้าปกติสัญญาณนี้จะอ่อนมาก สัญญาณที่ได้รับจะอ่อนลงถ้าระยะทางจากเครื่องส่งเพิ่มขึ้น เสาอากาศนี้จะรับคลื่นวิทยุจำนวนมากมายที่อยู่ในอากาศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการกรองเอาสัญญาณที่ไม่ต้องการออก เพื่อที่เครื่องรับจะได้เลือกเฉพาะสถานีวิทยุที่ต้องการ
วิธีการกรองจะใช้เทคนิคที่ขยับความถี่ของสถานีที่ต้องการไปยังความถี่ที่คงตัวค่าหนึ่ง ความถี่คงตัวนี้เรียกว่า ความถี่ไอเอฟ (IF ย่อมาจาก intermediate frequency) ระบบเอเอ็มจะใช้ความถี่ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ และระบบเอฟเอ็มจะใช้ความถี่ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์ แล้วจึงผ่านวงจรกรองหรือฟิลเตอร์ที่ปล่อยให้ความถี่ไอเอฟและใกล้เคียงผ่านได้เท่านั้น วงจรกรองนี้เรียกว่าไอเอฟฟิลเตอร์ วงจรที่ทำหน้าที่ขยับความถี่นั้นเรียกว่า วงจรมิกเซอร์ (mixer) ซึ่งทำการคูณสัญญาณที่รับเข้ามากับสัญญาณไซน์ที่สร้างขึ้นในเครื่องรับ ความถี่ของสัญญาณไซน์จะมีค่าเท่ากับความถี่ของสถานีที่ต้องการ บวกกับ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ (หรือ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์ กรณีเป็นเอฟเอ็ม) ดังเช่น ถ้าต้องการรับสถานีวิทยุเอเอ็มความถี่ ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ผู้ฟังก็จะปรับปุ่มเลือกสถานีบนเครื่องรับจนหน้าปัดบอกว่า ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ปุ่มนี้เองจะไปเปลี่ยนความถี่ของวงจรกำเนิดสัญญาณไซน์ ให้สร้างความถี่ที่ ๖๕๐ + ๔๕๕ = ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์ วงจรมิกเซอร์จะทำหน้าที่คูณสัญญาณความถี่ ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์ กับสัญญาณที่เข้ามาจากเสาอากาศผลของการคูณสองสัญญาณเข้าด้วยกันจะทำให้เกิดสัญญาณสองสัญญาณ สัญญาณที่หนึ่งจะมีความถี่เท่ากับผลต่างของความถี่ของสัญญาณทั้งสอง สัญญาณที่สองจะมีความถี่เท่ากับผลบวกของความถี่ของสัญญาณทั้งสอง
เนื่องจากสัญญาณจากเสาอากาศมีมากมายผลของวงจรมิกเซอร์ก็มีสัญญาณมากมายเช่นเดียวกัน แต่สัญญาณส่วนมากจะไม่สามารถผ่านไอเอฟฟิลเตอร์ สัญญาณของสถานีที่ผ่านได้ก็คือสถานีที่มีความถี่เท่ากับผลต่างของความถี่ของสัญญาณไซน์ และความถี่ไอเอฟ ในกรณีของตัวอย่างที่กล่าวไว้ สัญญาณไซน์มีความถี่ ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์ ดังนั้น สถานีที่ผ่านไอเอฟฟิลเตอร์ ได้นั้น จะต้องมีความถี่ของตัวพาเท่ากับ ๑,๑๐๕-๔๕๕ = ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์
เมื่อผ่านไอเอฟฟิลเตอร์แล้วก็จะมีวงจรขยายสัญญาณไอเอฟ แล้วจึงผ่านวงจรดีมอดดูเลเตอร์ (demodulator) ซึ่งทำหน้าที่ดึงเอาสัญญาณข้อมูลที่ขี่บนแอมปลิจูด (หรือสัญญาณข้อมูลที่ขี่บนความถี่ในกรณีของเอฟเอ็ม) ออกมา เมื่อได้แล้วก็จะผ่านวงจรขยายให้มีกำลังเพิ่มมากขึ้นตามที่ต้องการเพื่อจะไปขับลำโพง กลายเป็นเสียงหรือดนตรีออกมาการปรับปุ่มบนเครื่องรับวิทยุให้ดังมากดังน้อย ก็คือการปรับกำลังขยายของวงจรขยายนั่นเอง ความถี่ที่ใช้ในการกระจายเสียงระบบเอเอ็ม อยู่ในช่วง ๕๒๖.๕ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๑,๖๐๖.๕ กิโลเฮิรตซ์ ส่วนระบบเอฟเอ็มใช้ความถี่ในช่วง ๘๗ เมกะเฮิรตซ์ ถึง ๑๐๘เมกะเฮิรตซ์
สัญญาณที่มอดดูเลตแบบเอฟเอ็มมีคุณภาพดีกว่าแบบเอเอ็ม เพราะว่า ระบบเอฟเอ็มสามารถกำจัดสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าระบบเอเอ็ม แต่ว่าสัญญาณเอฟเอ็มต้องใช้ช่องความถี่ที่กว้างกว่าทำให้การจัดสรรความถี่ให้กับสถานีทำได้น้อยรายกว่าการใช้ระบบเอเอ็ม
คลื่นสั้น
นอกเหนือจากการกระจายเสียงระบบเอเอ็มและเอฟเอ็มแล้ว ยังมีการกระจายเสียงวิทยุที่เรียกว่า คลื่นสั้น (short wave หรือ SW) ซึ่งมักจะเหมาะกับผู้ฟังที่อยู่ห่างไกล เช่น ข้ามประเทศดังเช่น ในประเทศไทยอาจรับสถานีกระจายเสียงคลื่นสั้นจากประเทศอังกฤษ ความถี่ของวิทยุในแถบคลื่นสั้นจะอยู่ในช่วงประมาณ ๒ เมกะเฮิรตซ์ถึง ๒๓ เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นช่วงที่คลื่นวิทยุสามารถแพร่ได้โดยการสะท้อนจากชั้นบรรยากาศจึงสามารถกระจายเสียงระยะไกลได้ วิธีการมอดดูเลตของการกระจายเสียงคลื่นสั้นนั้นก็ใช้การมอดดูเลตแบบเอเอ็ม
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบทีโอที TOT กลุ่มงานวิศวกรรม
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
แนวข้อสอบวัดความถนัดทางเชาวน์ปัญญา _Aptitude Test
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ทีโอที
ตัวอย่างข้อสอบเก่า TOT ข้อเขียน
ตัวอย่างแนวข้อสอบข้อเขียน TOT
ตัวอย่างข้อสอบกลุ่มงานวิศวกรรม _อัตนัย
ความสามารถด้านตัวเลขและความสามารถในการใช้ภาษาไทย
สั่งซื้อที่
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3 ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2
ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay
ผลงานการสอบได้ของลูกค้า
ติดตามข่าวการสอบราชการที่ https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่ www.ข้อสอบงานราชการไทย.com