ถาม – ตอบ หน้าที่ ความรู้
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
************************
1. "ศึกษานิเทศก์ คือ
ตอบ ผู้ทำหน้าที่นิเทศ-แนะนำ-ชี้นำ-กระตุ้นให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษา
ให้เกิดความรู้ ความตระหนัก
และมีทักษะในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน" รวมทั้งสามารถเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการสำหรับนักบริหารระดับสูงในองค์กรที่สังกัด
เช่น ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่
ผู้อำนวยการกลุ่มงานต่าง ๆ เป็นต้น
2. ศึกษานิเทศก์
จะต้องมีความรู้ในด้านใดบ้าง
ตอบ 1) มีความรู้-แตกฉาน ลึกซึ้งในเนื้อหาสาระ
เรื่องที่จะทำการนิเทศ
2) มีทักษะในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ สำหรับครู ผู้บริหารสถานศึกษา หรือ องค์กรเครือข่าย
3) มีทักษะในการวิจัยเชิงประเมินนโยบาย แผนงาน
หรือโครงการต่าง ๆ สามารถใช้การประเมินเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และชี้แนะจุดเด่น จุดอ่อน
หรือสิ่งที่ควรปรับปรุงในโครงการหรือปฏิบัติการใด ๆ ของหน่วยงานที่สังกัด
4) มีทักษะด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะ
ไอ ซีที เพื่อสนับสนุนหรือให้เิอื้อต่อการทำงานในยุคปัจจุบัน
5) มีทักษะในการใช้กลไกเครือข่ายหรือส่งเสริมเครือข่าย ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงวิชาชีพ
3. แฮริส (Harris)
ได้แบ่งหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ไว้ว่าอย่างไร
ตอบ 1)
หน้าที่ทางการสอน (Teaching Function) เป็นหน้าที่หลัก
ศึกษานิเทศก์จะต้องทำงานที่เกี่ยวกับการสอนโดยตรง นั่นคือช่วยเหลือ
แนะนำ เกี่ยวกับวิธีการสอนที่ดีให้กับครูรวมตลอดถึงการวัดและประเมินผลด้วย
2) หน้าที่จัดบริการ (Special Service Function) เป็นการช่วยเหลือแนะนำเกี่ยวกับการบริการให้แก่นักเรียนโดยตรง
ได้แก่ หน่วยสุขภาพพลานามัย
การแนะแนว บริการจิตบำบัด และสันทนาการเป็นต้น
3) หน้าที่จัดอำนวยการ (Management Function) เป็นการช่วยเหลือในเรื่องการจัดดำเนินงานในด้านธุรการทั่วไป
เกี่ยวข้องกับคณะบุคคล เป็นการเกี่ยวพันโดยทางอ้อมกับการเรียนการสอน
4) หน้าที่การนิเทศ (Supervision Function) เป็นงานเกี่ยวกับการนิเทศการติดต่อ
ประสานงานเป็นงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน ศึกษานิเทศก์จะทำงานร่วมกับครู
5) หน้าที่บริหารงานทั่วไป (General
Administration Function) เป็นหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารในโรงเรียนทั่ว
ๆ ไป ที่ศึกษานิเทศก์จะช่วยเหลือโรงเรียนได้
4. กระทรวงศึกษาธิการ
ได้กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของศึกษานิเทศก์ไว้ว่าอย่างไร
ตอบ หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการ และงานนิเทศการศึกษาเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษา
ค้นคว้าทางวิชาการ และวิเคราะห์
วิจัย ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
1. การนิเทศการศึกษา โดยส่งเสริมให้สถานศึกษาบริหารหลักสูตรสถานศึกษา จัดกระบวนการเรียนรู้ มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาชาติ
พัฒนาการวัดและประเมินผลการศึกษา การพัฒนาสื่อ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
2. การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ เพื่อจัดทำเป็นเอกสาร
คู่มือ
และสื่อใช้ในการปฏิบัติงานและเผยแพร่ให้ครูได้ใช้ในการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอน
3. การวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อพัฒนาระบบการบริหารงานวิชาการ พัฒนามาตรฐาน
และการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
และเผยแพร่แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู
และผู้สนใจทั่วไป
4. การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
เพื่อเป็นข้อมูล และสารสนเทศในการวางแผนนิเทศและพัฒนางานทางวิชาการ
5. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
5. ผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานใดบ้าง
ตอบ 1) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษา
เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา
2) ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศการศึกษา
โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้รับการนิเทศ
3) มุ่งมั่น พัฒนาผู้รับการนิเทศให้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจนเกิดผลต่อการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
4) พัฒนาแผนการนิเทศให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
5) พัฒนาและใช้นวัตกรรมการนิเทศการศึกษาจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
6) จัดกิจกรรมการนิเทศการศึกษาโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้รับการนิเทศ
7) รายงานผลการนิเทศการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
8)
ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
9) ร่วมพัฒนางานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค
10) แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
11) เป็นผู้นำและสร้างผู้นำทางวิชาการ
12) สร้างโอกาสในการพัฒนางานได้ทุกสถานการณ์
6. ลักษณะงานโดยทั่วไปของสายงานนิเทศการศึกษา
เป็นอย่างไร
ตอบ สายงานนิเทศการศึกษา
มีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาทั้งสถานศึกษาของรัฐสถานศึกษาของเอกชนและสถานศึกษาของบุคคล ครอบครัว
องค์กร และสถาบันต่าง ๆ การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ การวิเคราะห์
วิจัย ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนางานวิชาการและการจัดการศึกษาเพื่อให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารงานวิชาการอย่างมีคุณภาพ
และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
7. ศึกษานิเทศก์ มีกี่วิทยาฐานะ
ตอบ 4 วิทยฐานะ ได้แก่
1. ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
2. ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
3. ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
4. ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ
8. หน้าที่และความรับผิดชอบศึกษานิเทศก์แต่ละวิทยฐานะ
มีอะไรบ้าง
ตอบ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการ
และงานนิเทศการศึกษาเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน ศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ และวิเคราะห์
วิจัย ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผล
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการ และงานนิเทศการศึกษาเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน ศึกษา
ค้นคว้าทางวิชาการและวิเคราะห์
วิจัย ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายงานวิชาการ งานติดตาม
ตรวจสอบ
ประเมินผลการจัดการศึกษาและจัดทำรายงานโดยแสดงให้เห็นว่ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ปรับประยุกต์ระเบียบแบบแผนการนิเทศที่กำหนดให้เหมาะสมกับสถานการณ์และมีการพัฒนาตนและพัฒนาวิชาชีพมีทักษะในการนิเทศที่คำนึงถึงความแตกต่างของครู
ส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้เป้าหมายของหลักสูตรมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
เป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ