1. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะ Thyroid crisis ข้อใดสำคัญที่สุด
ก. การดูแลให้ยา antithyroid hormone และสารละลายไอโอดีนตามแผนการรักษา
ข. การให้ไอโอดีนทางปากควรผสมในนม น้ำผลไม้หรือน้ำเปล่าอย่างน้อย 100 ซี.ซี.
ค. จัดท่านอนท่า Fowler sposition เพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
ง. เช็ดตัวระบายความร้อน เพราะผู้ป่วยมีอาการไข้สูงมาก
ตอบ ก. การดูแลให้ยา antithyroid hormone และสารละลายไอโอดีนตามแผนการรักษา
2. ถ้าท่านต้องการวางแผนการสอน ข้อใดที่ท่านควรแนะนำผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษเพื่อป้องกันภาวะ
Thyroid crisis และ Myxedema coma
ก. หมั่นตรวจคลำคอ พบมีขนาดโตขึ้นควรรีบพบแพทย์
ข. หลังผ่าตัดต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ควรมาพบแพทย์ตามนัด เพื่อประเมินสภาพและปรับขนาด
ยาไทรอยด์
ค. เมื่อมีอาการใจสั่น หงุดหงิดนอนไม่หลับให้เพิ่มยาต้านไทรอยด์จนกว่าอาการทุเลา
ง. หมั่นดูแลตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่กระทบต่ออากาศที่ร้อนจนเกินไป
ตอบ ข. หลังผ่าตัดต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ควรมาพบแพทย์ตามนัด เพื่อประเมินสภาพและปรับขนาด
ยาไทรอยด์
3. ข้อใดเป็นสาเหตุของ DKA (diabetic ketoacidosis)
ก. มีการขาดเกลือแร่ ข. มีการเพิ่ม Glycogen
ค. มีการทำลายโปรตีนมากเกินไป ง. มีการเผาผลาญไขมันสมบูรณ์
ตอบ ค. มีการทำลายโปรตีนมากเกินไป
4. ท่านควรซักประวัติข้อใดเพิ่มเติม ถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
ก. อาการเจ็บป่วยในปัจจุบันและประวัติการมีปัญหาผิดปกติของต่อมไทรอยด์และตับอ่อน
ข. อาชีพและความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว
ค. ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัวเกี่ยวกับความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
ง. ประวัติการเจ็บป่วยที่เคยได้รับการรักษาเช่นการทำ Dialysis
ตอบ ก. อาการเจ็บป่วยในปัจจุบันและประวัติการมีปัญหาผิดปกติของต่อมไทรอยด์และตับอ่อน
5. ผู้ป่วยรายหนึ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการ Thyroid crisis ตรวจพบว่าผู้ป่วยหมดสติ อุณหภูมิร่างกาย
40 องศา หายใจเหนื่อยหอบ ท่านคิดว่าควรทำการพยาบาลข้อใด
ก. ให้รับประทาน para 2 เม็ด และตรวจสัญญาณชีพทุก 2 ชั่วโมง
ข. ให้รับประทาน para 2 เม็ด และตรวจสัญญาณชีพทุกชั่วโมง
ค. เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ตรวจสัญญาณชีพทุกชั่วโมง
ง. เช็ดตัวด้วยน้ำแข็งหรือใช้เครื่อง Hypothemia และตรวจสัญญาณชีพทุกชั่วโมง
ตอบ ง. เช็ดตัวด้วยน้ำแข็งหรือใช้เครื่อง Hypothemia และตรวจสัญญาณชีพทุกชั่วโมง
6. นายต้น ไม่รู้สึกตัวไป 24 ชั่วโมง เมื่อรู้ตัวพบว่ามีการอัมพาตของแขนขาซีกขวา ตาบอดครึ่งซีก
พยาบาลต้องการตรวจสอบว่า มีการเกิดของอัมพาตที่ด้านใดของร่างกายนายต้นโดยวิธีใด
ก. อ้าปากผู้ป่วยและดูอาการของลิ้น
ข. ยกแขนทั้ง 2 ขึ้นและปล่อยให้ตกลงและสังเกตอาการอ่อนแรงของแขน
ค. ให้ผู้ป่วยกรอกตาไปมา
ง. จะมีความดันโลหิตต่ำทางแขนซีกที่มีอัมพาต
ตอบ ข. ยกแขนทั้ง 2 ขึ้นและปล่อยให้ตกลงและสังเกตอาการอ่อนแรงของแขน
7. พยาบาลที่ดูแลนายต้น สังเกตพบว่านายต้นยังมีความสับสน มือขวาและซ้ายอยู่ พยาบาลควรปฏิบัติ
อย่างไร
ก. เดินทางไปด้านซ้ายมือและบอกให้นายต้นทราบว่าเป็นอัมพาตซีกซ้าย
ข. รายงานแพทย์ทราบ
ค. เดินมาบีบมือผู้ป่วย
ง. เดินไปทางด้านขวามือและให้กำลังใจผู้ป่วย
ตอบ ก. เดินทางไปด้านซ้ายมือและบอกให้นายต้นทราบว่าเป็นอัมพาตซีกซ้าย
8. ภรรยาของนายต้นต้องการทราบว่าสามีจะเป็นอัมพาตตลอดไปหรือไม่ พยาบาลควรจะอธิบายให้
นางทราบอย่างไร
ก. นายต้นสามารถที่จะกลับคืนสู่สภาพปกติได้ขึ้นอยู่กับการบวมของเนื้อสมอง
ข. ไม่เป็นเพราะระยะนี้เป็นระยะเริ่มแรก
ค. เนื้อสมองไม่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ ดังนี้อาการนี้จะยังคงมีอยู่
ง. เขาสามารถที่จะออกกำลังกายทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
ตอบ ก. นายต้นสามารถที่จะกลับคืนสู่สภาพปกติได้ขึ้นอยู่กับการบวมของเนื้อสมอง
9. พยาบาลควรจะช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างไร ที่จะไม่ให้เกิดการอักเสบของตาดำ
ก. ล้างตาด้วยน้ำเกลือ ข. ตรวจปฏิกิริยาของรูม่านตาเป็นระยะ
ค. อย่าให้แสงเข้าในห้องมาก ง. ปิดตาไว้
ตอบ ง. ปิดตาไว้
10. ลักษณะของบุคคลที่แสดงถึงความพอใจตนเอง (Self fulfillment)
ก. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ข. มีฐานะร่ำรวยและมีเกียรติยศ
ค. ประสบความสำเร็จสมหวังในชีวิต ง. มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ตอบ ค. ประสบความสำเร็จสมหวังในชีวิต
11. ข้อใดเป็นเกณฑ์การพิจารณาระดับของพัฒนาการทางสังคมของโอเบิล์ต (Post conventional level)
ในผู้ใหญ่
ก. แรงจูงใจ ข. เจตนาของการกระทำ
ค. การเสียสละให้อภัย ง. การหลีกเลี่ยงการลงโทษ
ตอบ ข. เจตนาของการกระทำ
12. การพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นคือข้อใด
ก. การเลือกคู่ครอง ข. การปรับตัวเข้ากับเพศตรงข้าม
ค. การเลี้ยงดูบิดามารดา ง. การสร้างที่อยู่อาศัย
ตอบ ก. การเลือกคู่ครอง
13. วิกฤตการณ์ของวัยกลางคน (Mid-life crisis) ที่พบได้บ่อยคือข้อใด
ก. ภาวะที่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายต่อชีวิต
ข. ภาวะที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน
ค. ภาวะที่มีการสูญเสียบทบาททางสังคม
ง. ภาวะที่สูญเสียความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
ตอบ ง. ภาวะที่สูญเสียความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
14. ข้อใดไม่มีผลต่อการปรับตัวของวัยผู้ใหญ่เพื่อให้ประสบความสำเร็จในชีวิตสมรส
ก. ความรัก ข. ความพึงพอใจทางเพศ
ค. การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ง. ความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว
ตอบ ก. ความรัก
15. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวในการทำหน้าที่ของบิดามารดา คือข้อใด
ก. การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ข. ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
ค. ทัศนคติต่อการมีบุตร ง. ระดับการศึกษาของบิดามารดา
ตอบ ค. ทัศนคติต่อการมีบุตร
16. พัฒนาการทางบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลในข้อใดมากที่สุด
ก. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ข. วุฒิภาวะและการเรียนรู้
ค. การรับรู้และแรงจูงใจ ง. การเรียนรู้และประสบการณ์
ตอบ ง. การเรียนรู้และประสบการณ์
17. ข้อใดเป็นภาวะแทรกซ้อนของ DKA
ก. การติดเชื้อ ข. มีการเพิ่ม glucagon
ค. มีภาวะไตวาย ง. หายใจหอบมีภาวะกรดเกิดขึ้น
ตอบ ค. มีภาวะไตวาย
18. ผู้ป่วยรายหนึ่งนอนกระสับกระส่าย เหงื่อออกเต็มใบหน้า จับดูตัวเย็น ชีพจรค่อนข้างเบา นับได้
120 ครั้ง/นาที วัดความดันโลหิตได้ 80/50 มิลลิเมตรปรอท ท่านคิดว่าผู้ป่วยกำลังเกิดภาวะใด
ก. Hyperglycemia ข. Hypoglycemia
ค. Hyperosmolar ง. Hyperkalemia
ตอบ ข. Hypoglycemia
19. ท่านจะช่วยผู้ป่วยในข้อ 18 อย่างไร
ก. รายงานแพทย์ทราบและเตรียมชุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ข. ฉีด Adrenaine 0.3 mg. เข้ากล้ามและรายงานแพทย์
ค. รีบเจาะเลือดหา BS และให้ดื่มน้ำหวาน
ง. ให้นอนศีรษะต่ำและให้ออกซิเจน Inhalation
ตอบ ค. รีบเจาะเลือดหา BS และให้ดื่มน้ำหวาน
20. การพยาบาลผู้ป่วย DKA ท่านคิดว่าข้อใดสำคัญที่สุด
ก. ป้องกันการติดเชื้อ
ข. ป้องกันภาวะเครียดต่างๆ
ค. หมั่นพลิกตะแคงตัวเพื่อป้องกัน Hypostatic pneumonia
ง. ฉีด Rl ตามเวลาและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
ตอบ ง. ฉีด Rl ตามเวลาและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง