เวอร์ชันเต็ม: [-- สรุปความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน AEC --]

งานราชการ แนวข้อสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ธกส -> แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ กฎหมาย พรบ.ต่างๆ -> สรุปความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน AEC [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2013-02-17 13:21

สรุปความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน AEC

UploadImage


ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน
“ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคมอาเซียน อันถือเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน คือ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เช่นโรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558


UploadImage


ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน

3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
ในตอนนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน ก.พ.2552 นี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจะรับรองแผนงานหรือแผนกิจกรรมการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

กำเนิดอาเซียนและวัตถุประสงค์การจัดตั้ง
 เมื่อวันที่ 8สิงหาคม 2510ณ วังสราญรมย์ (ที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศไทย ในขณะนั้น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้“ หรือ “อาเซียน” (ASEAN) ซึ่งเป็นตัวย่อของ Association of SouthEast Asian Nations ชื่อทางการ ในภาษาอังกฤษของอาเซียน ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรี-ต่างประเทศของทั้ง 5ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี


UploadImage

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
(1)ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
(2)ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
(3)เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
(4)ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
(5)ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(6)เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
และ(7)เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ


นับตั้งแต่วันก่อตั้ง อาเซียนได้พยายามแสดงบทบาทในการธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและความเจริญร่วมกันในภูมิภาค ตลอดจนมีวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนพัฒนาการในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม จนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศ และนำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6เมื่อปี 2527เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7ในปี 2538ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10ประเทศ

ได้รู้จัก ที่มาที่ไปของประชาคมอาเซียน กันไปแล้ว ในตอนหน้า เรามาเรียนรู้ผลกระทบ ผลได้ผลเสีย ของประเทศไทยในด้านต่างๆกันบ้างนะคะ  จะได้เตรียมตัว รับมือกันได้ทันปี 2558
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


admin 2013-02-17 13:22

1. อาเซียนคืออะไร

ก. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก

ข. องค์กรแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออก

ค. ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ง. ประชาชาติมวลรวมแห่งทวีปเอเชียใต้

2. สัญลักษณ์ของอาเซียนคืออะไร

ก. รวงข้าว 10 รวง

ข. รวงข้าว 11 รวง

ค. ต้นข้าว 10 ต้น

ง. ต้นข้าว 11 ต้น

3. บุคคลที่ถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งอาเซียนแรกเริ่มคือใคร

ก. ดร.ถนัด คอมันต์

ข. นายศุภชัย พานิชยศักดิ์

ค. ดร.มหาเดย์ มูฮัมหมัด

ง. ดร.ยูซุปต์ แวดาโอ๊ะ

จ. ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

4. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค

ก. เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีการค้าอย่างเสรีมากขึ้น

ข. เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำสินค้าของประเทศตนมาขายมากขึ้น

ค. เพื่อให้ประเทศสมาชิกติดต่อค้าขายกันได้ง่ายขึ้น

ง. เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมมือกันต่อต้านสินค้าของประเทศนอกกล่ม

5. การประชุมประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเรียกว่า อะไร?

ก. การประชุมอาเซียนซัมมิท

ข. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ค. การจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก

ง. การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม

6. ข้อใดคือ อาเซียน (ASEAN)

ก. Asia South East Association Nations

ข. Association for South East Asian Nations

ค. Asia South East Association National

ง. Association for South East Asian National

7. สมาชิกอาเซียนมีกี่ประเทศ

ก. 10 ประเทศ

ข. 12 ประเทศ

ค. 15 ประเทศ

ง. 20 ประเทศ

8. อาเชียน บวก 3 มีตัวย่อว่าอย่างไร

ก. APT

ข. AST

ค. ATS

ง. ATP

9. อาเซียนมี 3 เสาหลัก ยกเว้นข้อใด

ก. ประชาคมการเมืองอาเซียน

ข. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน

ค. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ง. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

10. ต้นเหตุการณ์กำเนิดอาเชียน ข้อใดไม่ใช่

ก. ปัจจัยทางการเมือง – กระบวนการให้ เอกราช/การปลดปล่อย (decolonization process)

ข. การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

ค. สงครามเย็น

ง. การรวมตัวด้านเศรษฐกิจ

11. ข้อใดเป็นผลความร่วมมือของอาเซียน

ก. เขตการลงทุนอาเซียน

ข. เขตการค้าเสรีอาเซียน

ค. ความร่วมมือด้านบริการของอาเซียน

ง. ถูกทุกข้อ

12. เริ่มแรก อาเซียน (ASEAN)จัดตั้งโดยประเทศสมาชิก กี่ประเทศ

ก. 4 ประเทศ

ข. 5 ประเทศ

ค. 6 ประเทศ

ง. 7 ประเทศ

13. ข้อใดจัดเป็นกลุ่มประเทศผู้ก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน

ก. ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม

ข. สิงคโปร์ พม่า มาเลเซีย ลาว อินโดนีเซีย

ค. ไทย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน

ง. ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

14. ASEAN + 3 คือข้อใด

ก. ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – อินเดีย

ข. ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – นิวซีแลนด์

ค. ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – จีน

ง. ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – ออสเตรเลีย

15. ประเทศใดไม่ใช่กลุ่มสมาชิกอาเซียน

ก. เมียนมาร์

ข. สิงคโปร์

ค. เวียดนาม

ง. ติมอร์-เลสเต

16. ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดของอาเซียนคือ

ก. อินโดนีเซียร์

ข. เมียนมาร์

ค. กัมพูชา

ง. เวียดนาม

17. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก. มีการกำหนดเขตการค้าเสรีในอาเซียน

ข. เศรษฐกิจหลักในอาเซียนคือ เกษตรกรรม

ค. อาเซียนมุ่นเน้นพัฒนาเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว

ง. สมาชิกอาเซียนคือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

18. AFTA เกี่ยวข้องกับข้อใด

ก. เขตการค้าเสรี

ข. เขตปกครองพิเศษ

ค. เขตส่งเสริมการท่องเทียว

ง. เขตพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ

19. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการร่วมกลุ่มของอาเซียน

ก. เพื่อพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ

ข. เพื่อร่วมกันต่อต้านการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ

ค. เพื่อส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง

ง. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศ

20. ข้อใดเป็นความสำคัญของไทยที่มีต่ออาเซียน

ก. เป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียน

ข. เป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน

ค. เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่อาเซียน

ง. เป็นตัวแทนติดต่อค้าขายกับตะวันตก

21. ข้อใดเป็นประโยชน์ของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน

ก. เปลี่ยนมาใช้เงินตราสกุลเดียวกัน

ข. ทำให้นักลงทุนไม่กล้ากักตุนสินค้า

ค. มีอำนาจต่อรองทางการค้ากับต่างชาติเพิ่มขึ้น

ง. ทำให้ชนพื้นเมืองมีสิทธิ์ในการลงทุนมากกว่าต่างชาติ

22. ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN)

ก. อาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข. อาเซียนมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเพื่อให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพแสรีภาพ และความเป็นกลาง

ค. อาเซียนประสบความสำเร็จในการขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและลดการค้ากับประเทศนอกภูมิภาค

ง. อาเซียนประสบความสำเร็จในการยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค

23. เพลงประจำอาเซียนคือเพลงอะไร

ก. Sorry Sorry

ข. Asian Games

ค. Asia air

ง. The ASEAN Way

24. คำขวัญของอาเซียนคือข้อใด

ก. หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม

ข. หนึ่งประชาคม หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งเศรษฐกิจ

ค. หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม หนึ่งวิสัยทัศน์

ง. หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาชาติ

25. ข้อใดกล่าวถึงลักสัญลักษณ์อาเซียนได้ถูกต้อง

ก. ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อความมั่นคงและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ข. ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ค. ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ง. ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพ

26. ข้อใดกล่าวถึงสีของสัญลักษณ์อาเชียนไม่ถูกต้อง

ก. สีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ข. สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

ค. สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์

ง. สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

27. สำนักงานใหญ่ของอาเซียนอยู่ที่เมืองใด

ก. กรุงเทพ

ข. ฮานอย

ค. กรุงจาการ์ตา

ง. กัวลาลัมเปอร์

28. เลขาธิการสมาคมอาเซียนคือใคร

ก. นายอภิสิทธิ เวชาชีวะ

ข. ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

ค. มหาเธร์ มูฮัมหมัด

ง. ซูซิโล บัมบัง ยุดโฮโยโน

29. คนไทยคนแรกที่ได้เป็นเลขาธิการสมาคมอาเชียนคือใคร

ก. แผน วรรณเมธี

ข. นายชวน หลีกภัย

ค. ดร.ถนัด คอมันต์

ง. นายจุรินทร์ พิสสุวรรณ

30. ข้อใดเป็นความร่วมมือทางด้านสังคมในอาเซียน

ก. จัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน

ข. จัดโครงการแรกเปลี่ยนผู้บริหารประเทศ

ค. ส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย

ง. ชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ นับถือพุทธศาสนา

แบบทดสอบ เรื่อง อาเซียน

1. 5 ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนได้เเก่ข้อใด ?

ก. มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์

ข. มาเลเซีย พม่า ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์

ค. มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม

ง. อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ติมอร์ พม่า ไทย

 2 . รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยในตอนลงนามปฏิญญาอาเซียนคือใคร ?
ก. จอมพลถนอม กิตติขจร

ข. นายปองพล อดิเรกสาร

ค. พันเอก (พิเศษ)ดร.ถนัด คอมันตร์

ง. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

 3. การลงนามปฏิญญาอาเซียนลงนามเมื่อใด ?
ก. เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510

ข. เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2508

ค. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2512

ง. เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2510

 4. การลงนามปฏิญญาอาเซียนลงนามที่ใด ?
ก. พระราชวังจันทรเกษม

ข. พระบรมมหาราชวัง

ค. พระราชวังสราญรมย์

ง. พระราชวังดุสิต

 5. สมาชิกอีก 5 ประเทศได้เเก่ข้อใด ?
ก. เวียดนาม จีน พม่า ลาว ติมอร์

ข. เวียดนาม พม่า ลาว บรูไน กัมพูชา

ค. เวียดนาม พม่า ลาว อินโดนีเซีย เกาหลีใต้

ง. พม่า ลาว อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไทย

 6. สีบนพื้นธงอาเซียนมีกี่สี ?
ก. 3 สี

ข. 4 สี

ค. 5 สี

ง. 6 สี

 7 . สัญลักษณ์ของอาเซียนคือข้อใด ?
ก. รวงข้าว 10 ต้น

ข. มัดหญ้า 10 ต้น

ค. ฝ้าย 10 ต้น

ง. มัดผักตบชวา 10 ต้น

 8. AFTA คืออะไร ?
ก. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ข. ความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรม

ค. เขตการค้าเสรี

ง. เขตการลงทุนอาเซียน

 9. AFTA ย่อมาจากอะไร ?

ก. ASEAN Free Trade Area.

ข. ASEAN Free Tride Area.

ค. ASEAN Vision 2020

ง. ASEAN Troika.

 10. ใครเป็นผู้เสนอให้ก่อตั้ง AFTA ?

ก. ปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)

ข. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

ค. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ง. นายอานันท์ ปันยารชุน

 11. ข้อใดหมายถึง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ?
ก. ASEAN Comminity.

ข. ASEAN Political Security Comminity.

ค. ASEAN Economic Community

ง. ASEAN Socio-Cultural Comminity.

 12. สำนักเลขาธิการอาเซียนอยู่ที่ใด ?
ก. กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย

ข. บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

ค. เวียงจันทน์ ประเทศลาว

ง. พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

 13. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันคือใคร ?
ก. Umarjadi Notowijono

ข. สุรินทร์ พิศสุวรรณ

ค. Roderick Yong

ง. Narciso G. Reyes

 14. การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 13 ประชุมที่ประเทศใด ?
ก. ประเทศอินโดนีเซีย

ข. ประเทศลาว

ค. ประเทศกัมพูชา

ง. ประเทศสิงคโปร์

 15. ชื่อย่อของ เขตการลงทุนอาเซียน คือข้อใด ?

ก. AIA

ข. IAI

ค. AEC

ง. ARF

 16. หัวข้อหลักของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 คือข้อใด ?

ก. กฏบัตรอาเซียน

ข. การพยายามผลักดันให้อาเซียนเดินหน้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน 2015

ค. การพยายามให้ประชาคมอาเซียนมีบทบาทในประชาคมโลก

ง. พิธีลงนามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

 17. การนำร่อง 12 สาขาสำคัญ ประเทศพม่ามีทักษะอะไร ?
ก. การท่องเที่ยว การบิน

ข. เกษตร ประมง

ค. ไม้ ยาง

ง. สาขาสุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ

 18. การนำร่อง 12 สาขาสำคัญ ประเทศไทยมีทักษะอะไร ?

ก. การท่องเที่ยว การบิน

ข. อิเล็กทรอนิกส์ ประมง

ค. เกษตร ประมง

ง. ไม้ ยาง

 19. การนำร่อง 12 สาขาสำคัญ ประเทศฟิลิปปินส์มีทักษะอะไร ?
ก. อิเล็คทรอนิสต์

ข. ยานยนต์

ค. สิ่งทอ

ง. สาขาสุขภาพ

 20. ข้อใดมิใช่ ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ?

ก. อินเดีย จีน

ข. เเคนาดา สหภาพยุโรป

ค. ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

ง. ศรีลังกา ไอซ์เเลนด์


1.ASEAN ย่อมาจากอะไร  
Association of Southeast Asian Nations
หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

  2.อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง
มี 5  ประเทศ  ได้แก่  ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  และสิงคโปร์

  3.ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม

4.คำขวัญอาเซียน มีว่าอย่างไร  
หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม
(One Vision, One Identity, One Community)

5.ใครคือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน (2555)
ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ

6.สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมายใดบ้าง

รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน

สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง

สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า

สีขาว      หมายถึง   ความบริสุทธิ์

สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง

             
  7.ประชาคมอาเซียน 3 เสาหลัก ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (ASEAN Socio-Cultural Community :  ASCC)

               8.สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด
กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

9.อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด
ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

10.กฎบัตรอาเซียน เริ่มใช้เมื่อวันที่เท่าใด  
16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  
11.ปฏิญญากรุงเทพ   เกิดขึ้นเมื่อวันที่เท่าไร
8 สิงหาคม พ.ศ. 2510

  12.ภาษาราชการของอาเซียน คือ ภาษาใด  
ภาษาอังกฤษ

13.เพลงอาเซียน มีชื่อว่าอะไร
เพลง The ASEAN Way

14.อาเซียน+3 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ รวมประเทศ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น

15.อาเซียน+6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ+3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

16.กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น

17.ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political Security Community)  
        อาเซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี


18.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
           อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2553 โดยมีเป้าหมายให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี

19.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community)
          อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional cooperation)ภายใต้สังคมและวัฒนธรรม ที่ครอบคลุมในหลายด้าน ได้แก่ เยาวชน การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน การขจัดความยากจน สวัสดิการสังคมและการพัฒนา วัฒนธรรมและสารนิเทศ กิจการพลเรือน การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด  การจัดการภัยพิบัติ โดยมีคณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


              

admin 2013-02-17 14:41

รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน ประวัติอาเซียน10ประเทศ


ประเทศอาเซียน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก flagspot.net , สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
 
          ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
 
          แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
 
 รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน 


บรูไน


1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 

          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน"เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลของประเทศบรูไนได้ที่นี่ 


กัมพูชา


2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

           อ่านข้อมูลประเทศกัมพูชา ได้ที่นี่ 


อินโดนีเซีย


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย ได้ที่นี่ 


ลาว


4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 

           อ่านข้อมูลประเทศลาว ได้ที่นี่ 


มาเลเซีย


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศมาเลเซีย ได้ที่นี่ 

ฟิลิปปินส์


6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์ ได้ที่นี่ 


สิงคโปร์


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

           อ่านข้อมูลประเทศสิงคโปร์ ได้ที่นี่ 


ประเทศไทย


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

           อ่านข้อมูลประเทศไทย ได้ที่นี่ 


เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 

           อ่านข้อมูลประเทศเวียดนาม ได้ที่นี่ 


ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 

           อ่านข้อมูลประเทศพม่า ได้ที่นี่ 



ประเทศอาเซียน


          ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
 
          โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้
 
           1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

           2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

                มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

                ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

                 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

                ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
    
          กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
 

ความร่วมมือ


           3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน

admin 2013-02-17 14:42

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag

ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้

 

 

1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ข้อควรรู้
- ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ มีระยะเวลาอยู่ในบรูไนฯได้ 2 สัปดาห์
- ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
- การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
- การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
-จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
-สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง

 

 

 

2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

ข้อควรรู้
- เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ โดยกรอกแบบฟอร์ม Visa on Arrival พร้อมยื่นรูปถ่ายและค่าธรรมเนียม 20 ดอลลาร์สหรัฐ
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี

ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–

 


 

3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ หรือรับประทานอาหารคนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
- ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
- บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ

ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–

 

 

 

4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

ข้อควรรู้
-ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
-ลาวขับรถทางขวา

ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–

 

 

 

5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

ข้อควรรู้
-ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
-มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว

ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–

 

 

 

6.ประเทศพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

ข้อควรรู้
-

ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–

 

 

 

7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ข้อควรรู้
-การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น

ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–

 

 

 

8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ข้อควรรู้
- หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
-การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
-การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต

ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–

 

 

 

9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออกประเทศมากกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติหรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
- บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต

ข้อมูลฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–

 

 

 

10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข






เวอร์ชันเต็ม: [-- สรุปความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน AEC --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.218088 second(s),query:2 Gzip enabled

You can contact us