เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 --]

งานราชการ แนวข้อสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ธกส -> รวมพระราชบัญญัติ ในการสอบรับราชการ -> แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2013-01-29 11:00

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514

แนวข้อสอบ

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด

ก. ๒๔ มีนาคม พ.. ๒๕๑๔                  ค. ๒๖ มีนาคม พ.. ๒๕๑๔

ข. ๒๕ มีนาคม พ.. ๒๕๑๔                  ง. ๒๗ มีนาคม พ.. ๒๕๑๔

ตอบ  ค. ๒๖ มีนาคม พ.. ๒๕๑๔

2. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.. ๒๕๑๔ มีกี่หมวด กี่มาตรา

ก. 6  หมวด  110  มาตรา  1  บทเฉพาะกาล

ข. 6  หมวด  113  มาตรา  1  บทเฉพาะกาล

ค. 7  หมวด  113  มาตรา  1  บทเฉพาะกาล

ง. 8  หมวด  113  มาตรา  1  บทเฉพาะกาล

ตอบ  ง. 8  หมวด  113  มาตรา  1  บทเฉพาะกาล

3. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.. ๒๕๑๔ มีกี่ฉบับ

ก.  6  ฉบับ                                                                  ค.  4  ฉบับ

ข. 5  ฉบับ                                                                   ง.  3  ฉบับ

ตอบ  ก.6  ฉบับ  ได้แก่

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.. ๒๕๑๔ (ฉบับที่ ๑)

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๑๖

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๓) .. ๒๕๒๒

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๓๒

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๕) .. ๒๕๓๔

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๖) .. ๒๕๕๐

4. ปิโตรเลียมหมายความว่า

ก. น้ำมันดิบ                                              

ข. ก๊าซธรรมชาติ

ค. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง.ถูกทุกข้อ

ปิโตรเลียมหมายความว่า น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลวสารพลอยได้ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และอยู่ในสภาพอิสระ ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของแข็ง ของหนืด ของเหลว หรือก๊าซ และให้หมายความรวมถึงบรรดาไฮโดรคาร์บอนหนักที่อาจนำขึ้นมาจากแหล่งโดยตรง โดยใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี แต่ไม่หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน หรือหินอื่นที่สามารถนำมากลั่นเพื่อแยกเอาน้ำมันด้วยการใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี

5. ไฮโดรคาร์บอนที่มีสภาพเป็นของเหลวหรือที่มีความดันไอสูงซึ่งผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับก๊าซธรรมชาติ หรือได้มาจากการแยกออกจากก๊าซธรรมชาติ  คืออะไร

ก. ก๊าซธรรมชาติ                                                       ค. น้ำมันดิบ

ข. ก๊าซธรรมชาติเหลว                                             ง. ปิโตรเลียม

ตอบ    ข. ก๊าซธรรมชาติเหลว

ก๊าซธรรมชาติเหลวหมายความว่า ไฮโดรคาร์บอนที่มีสภาพเป็นของเหลวหรือที่มีความดันไอสูงซึ่งผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับก๊าซธรรมชาติ หรือได้มาจากการแยกออกจากก๊าซ

ธรรมชาติ

6. ข้อใดเป็น สารพลอยได้

ก. ก๊าซฮีเลียม                                                             ค. กำมะถัน

ข. คาร์บอนไดออกไซด์                                           ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง.ถูกทุกข้อ

สารพลอยได้หมายความว่า ก๊าซฮีเลียม คาร์บอนไดออกไซด์ กำมะถัน และสารอื่นที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียม

7. มาตรา ๔ นิยามคำว่าน้ำมันดิบแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ฉบับที่เท่าใด

ก. ฉบับที่ 4                                                                 ค. ฉบับที่ 2

ข. ฉบับที่ 3                                                                 ง. ฉบับที่ 5

ตอบ  ก. ฉบับที่ 4        

น้ำมันดิบ๒ หมายความว่า น้ำ มันแร่ดิบ แอสฟัลท์ โอโซเคอไรท์ไฮโดรคาร์บอนและบิทูเมนทุกชนิดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่ว่าในสภาพของแข็ง ของหนืด หรือของเหลว และให้หมายความรวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลวด้วย

8. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของ คำว่าจำหน่าย

ก. นำปิโตรเลียมไปใช้ในกิจการใด ๆ ของผู้รับสัมปทานหรือของผู้อื่นโดยไม่มีการขาย

ข. ส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อการกลั่นน้ำมันไม่ว่าโรงลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่

ค. โอนปิโตรเลียมโดยมีค่าตอบแทน

ง. ส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซหรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อกิจการดังกล่าว ไม่ว่าโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซ หรือสถานที่เก็บรักษาดังกล่าวจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่

ตอบ   ค. โอนปิโตรเลียมโดยมีค่าตอบแทน

ขายหมายความรวมถึงแลกเปลี่ยนและโอนโดยมีค่าตอบแทนด้วย

จำหน่าย๕ หมายความว่า

() ส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อการกลั่นน้ำมันไม่ว่าโรงลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่

() ส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซหรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อกิจการดังกล่าว ไม่ว่าโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซ หรือสถานที่เก็บรักษาดังกล่าวจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่

() นำปิโตรเลียมไปใช้ในกิจการใด ๆ ของผู้รับสัมปทานหรือของผู้อื่นโดยไม่มีการขาย หรือ

() โอนปิโตรเลียมโดยไม่มีค่าตอบแทน

9. ห้ามมิให้ผู้ใดทำลาย ดัดแปลง เคลื่อนย้าย ถอน หรือทำให้หลุดซึ่งเครื่องหมายกำหนดเขตแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิต หรือเครื่องหมายหลักฐานการแผนที่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นำมาติดตั้ง ปัก หรือฝังไว้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากใคร

ก. อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ                           ค. นายกรัฐมนตรี

ข. คณะกรรมการปิโตรเลียม                                   ง. รัฐมนตรี

ตอบ  ก. อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

มาตรา ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดทำลาย ดัดแปลง เคลื่อนย้าย ถอน หรือทำให้หลุดซึ่งเครื่องหมายกำหนดเขตแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิต หรือเครื่องหมายหลักฐานการแผนที่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นำมาติดตั้ง ปัก หรือฝังไว้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี

10. หนังสือหรือคำสั่งที่มีถึงบุคคลใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้นำไปส่งในเวลาใด

ก. เวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก

ข. เวลาทำการของผู้รับ หรือส่ง

ค. เวลาใดก็ได้

ง. ถูกเฉพาะข้อ  ก  และ  ข

ตอบ   ง. ถูกเฉพาะข้อ  ก  และ  ข

มาตรา ๘ หนังสือหรือคำสั่งที่มีถึงบุคคลใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้นำไปส่งในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของผู้รับ หรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

11. ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่อย่างไร

ก. สั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานงดเว้นการปฏิบัติใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น

ข. นำปิโตรเลียม หิน ดิน และสิ่งที่ได้จากการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ

ค. เข้าไปในบริเวณที่ที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมและสถานที่ทำการของผู้รับสัมปทานในเวลาทำ การเพื่อตรวจกิจการปิโตรเลียมให้เป็นไปตามสัมปทานและตามพระราชบัญญัตินี้

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

มาตรา ๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

() เข้าไปในบริเวณที่ที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมและสถานที่ทำการของผู้รับสัมปทานในเวลาทำ การเพื่อตรวจกิจการปิโตรเลียมให้เป็นไปตามสัมปทานและตามพระราชบัญญัตินี้

() สั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานงดเว้นการปฏิบัติใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น

() นำปิโตรเลียม หิน ดิน และสิ่งที่ได้จากการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ

12. ผู้รับสัมปทานมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานงดเว้นการปฏิบัติใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นต่ออธิบดีภายในกี่วัน

ก. 15 วัน                                                                     ค. 7  วัน

ข. 30 วัน                                                                     ง.  60 วัน

ตอบ   ค. 7  วัน

ผู้รับสัมปทานมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตาม () ต่ออธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำสั่ง คำสั่งของอธิบดีให้เป็นที่สุด

การอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองไม่เป็นเหตุทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่ง เว้นแต่อธิบดีเห็นสมควรให้ทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

13. ผู้รับสัมปทานต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีใด

ก. ผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสัมปทาน

ข. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน

ค. ทำให้ทบวงการเมืองใดต้องกระทำการเพื่อบำบัดปัดป้องความเสียหาย

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสัมปทานหรือพระราชบัญญัตินี้ และการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือทำให้ทบวงการเมืองใดต้องกระทำการเพื่อบำบัดปัดป้องความเสียหายเช่นว่านั้น ผู้รับสัมปทานต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการบำบัดปัดป้องความเสียหายดังกล่าวตามจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับสัมปทานเพราะการละเมิดนั้น

14. สิทธิในการถือสัมปทานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ถูกกล่าวไว้ในมาตราใด

ก. มาตรา  10                                                              ค. มาตรา  15

ข. มาตรา  13                                                              ง. มาตรา  17

ตอบ    ข. มาตรา  13  

15. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

ตอบ   ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน


admin 2013-01-29 11:00
มาตรา ๔๑ ในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานจะผลิตปิโตรเลียมก็ได้

มาตรา ๔๒ ก่อนผลิตปิโตรเลียมจากที่ใดที่หนึ่งในแปลงสำรวจ ผู้รับสัมปทานต้องแสดงว่าได้พบหลุมปิโตรเลียมที่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์และได้กำหนดพื้นที่ผลิตถูกต้องแล้ว และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้วจึงจะผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ผลิตนั้นได้
การกำหนดสมรรถนะเชิงพาณิชย์ของหลุมปิโตรเลียมและการกำหนดพื้นที่ผลิตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๒ ทวิ เมื่อผู้รับสัมปทานได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้ผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒ แล้ว ให้ผู้รับสัมปทานยื่นแผนการผลิตในรายละเอียดสำหรับพื้นที่ผลิตดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้รับสัมปทานต้องเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมตามแผนภายในสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจากอธิบดีตามมาตรา ๔๒ ถ้าผู้รับสัมปทานไม่เริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมสำหรับพื้นที่ที่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ผลิตนั้นสิ้นสุดลง
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอขยายระยะเวลาเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมออกไปจากกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้รับสัมปทานแจ้งเป็นหนังสือพร้อมด้วยเหตุผลให้อธิบดีทราบล่วงหน้าก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าหกเดือน ถ้าอธิบดีเห็นว่าการที่ผู้รับสัมปทานไม่สามารถเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิตนั้นมิใช่ความผิดของผู้รับสัมปทาน ให้อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้ขยายระยะเวลาเริ่มทำการผลิตออกไปได้ตามที่เห็นสมควร แต่การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมให้กระทำได้ไม่เกินคราวละสองปีและให้อนุญาตขยายได้ไม่เกินสองคราว
ตลอดระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิต ผู้รับสัมปทานจะต้องทบทวนแผนการผลิตปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่ง แล้วแจ้งผลการทบทวนเป็นหนังสือต่ออธิบดีทุกปี และถ้าผู้รับสัมปทานประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแผนการผลิตปิโตรเลียม ให้ผู้รับสัมปทานได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน จึงจะเปลี่ยนแปลงแผนการผลิตปิโตรเลียมได้

มาตรา ๔๓ ในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ถ้าผู้รับสัมปทานได้พัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใดในช่วงข้อผูกพันช่วงใด ผู้รับสัมปทานมีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นในช่วงข้อผูกพันช่วงนั้นได้

มาตรา ๔๔ ถ้าผู้รับสัมปทานไม่สามารถแสดงว่าได้พบหลุมปิโตรเลียมที่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์ในแปลงสำรวจแปลงใด หรือมิได้กำหนดพื้นที่ผลิตตามมาตรา ๔๒ ให้ถือว่าสัมปทานในส่วนที่เกี่ยวกับแปลงสำรวจแปลงนั้นสิ้นอายุเมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม

มาตรา ๔๕ เมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใด และผู้รับสัมปทานได้รับสิทธิผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้นแล้วผู้รับสัมปทานมีสิทธิสงวนพื้นที่ในแปลงสำรวจแปลงนั้นไว้ได้ไม่เกินร้อยละสิบสองครึ่งของพื้นที่เดิมของแปลงสำรวจแปลงนั้น ตามระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานกำหนดแต่ต้องกำหนดไม่เกินห้าปีนับแต่วันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงนั้น แต่ผู้รับสัมปทานจะคืนพื้นที่แปลงสำรวจที่ขอสงวนไว้นั้นก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
ในการสงวนพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อการสงวนพื้นที่ได้เป็นไปโดยถูกต้องแล้ว ผู้รับสัมปทานย่อมมีสิทธิสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่ที่สงวนไว้นั้นได้ และให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าสงวนพื้นที่ล่วงหน้าเป็นรายปีตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานพบปิโตรเลียมในเขตพื้นที่ที่สงวนไว้และประสงค์จะผลิตปิโตรเลียม ให้นำมาตรา ๔๒ มาใช้บังคับ

มาตรา ๔๖ ผู้รับสัมปทานซึ่งชำระค่าสงวนพื้นที่สำหรับปีใด มีสิทธิได้รับค่าสงวนพื้นที่ในปีนั้นคืนเท่ากับจำนวนค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่ที่สงวนไว้ในปีนั้นได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินค่าสงวนพื้นที่ที่ได้ชำระไปแล้ว
การขอรับค่าสงวนพื้นที่คืนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๗ ผู้รับสัมปทานอาจรับบริษัทอื่นเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมตามสัมปทานได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ในกรณีเช่นนี้ผู้ร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมแต่ละรายต้องชำระค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ และเงินอย่างอื่น และปฏิบัติตามข้อผูกพันที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการปิโตรเลียมในส่วนที่เป็นของตน
ผู้ร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมทุกรายต้องรับผิดร่วมกันและแทนกันในการปฏิบัติตามสัมปทานและตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ผู้ร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมรายหนึ่งไม่ต้องรับผิดชอบในการชำระภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในส่วนที่เป็นของผู้ร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมรายอื่น
ในกรณีที่ผู้ร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมรายใดไม่ชำระภาษีเงินได้ที่ตนมีหน้าที่ต้องเสีย ให้รัฐมนตรีแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมรายอื่นทุกรายทราบ และถ้ามิได้มีการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือ ให้ถือเป็นอีกเหตุหนึ่งที่จะเพิกถอนสัมปทานได้ด้วย

มาตรา ๔๘ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิโอนสัมปทานทั้งหมด หรือเฉพาะที่เกี่ยวกับแปลงสำรวจแปลงใดแปลงหนึ่ง พื้นที่ผลิต หรือพื้นที่ที่สงวนไว้เขตใดเขตหนึ่งให้แก่บริษัทอื่นโดยไม่ต้องขอรับอนุญาตในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) บริษัทผู้รับสัมปทานถือหุ้นในบริษัทผู้รับโอนสัมปทานนั้นเกินร้อยละห้าสิบของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้
(๒) บริษัทผู้รับโอนสัมปทานถือหุ้นในบริษัทผู้รับสัมปทานเกินร้อยละห้าสิบของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้ หรือ
(๓) มีบริษัทที่สามถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้ทั้งในบริษัทผู้รับสัมปทานและบริษัทผู้รับโอนสัมปทาน
การโอนตามวรรคหนึ่ง ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งเป็นหนังสือให้รัฐมนตรีทราบพร้อมทั้งแสดงหลักฐานว่าการโอนดังกล่าวได้เป็นไปตามกรณีที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง และในกรณีที่ผู้รับสัมปทานได้มีการรับรองของบริษัทที่มีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือด้านการจัดการกับผู้รับสัมปทานเกี่ยวกับทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญ ตามมาตรา ๒๔ วรรคสอง ผู้รับสัมปทานต้องยื่นหลักฐานแสดงการรับรองผู้รับโอนสัมปทานโดยบริษัทดังกล่าวให้แก่รัฐมนตรีด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐมนตรีจะเห็นว่าผู้รับโอนสัมปทานเป็นผู้ที่ยื่นขอสัมปทานได้โดยไม่ต้องมีการรับรองหรือมีบริษัทอื่นที่รัฐบาลเชื่อถือเข้ารับรองผู้รับโอนสัมปทานแทนตามมาตรา ๒๔ แล้ว
การโอนตามมาตรานี้ จะมีผลต่อเมื่อผู้รับสัมปทานได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดีว่าการโอนได้เป็นไปโดยถูกต้องตามมาตรานี้แล้ว

มาตรา ๔๙ ผู้โอนสัมปทานและผู้รับโอนสัมปทานตามมาตรา ๔๘ ต้องรับผิดร่วมกันและแทนกันในการปฏิบัติตามสัมปทานและตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕๐ นอกจากกรณีตามมาตรา ๔๘ ผู้รับสัมปทานอาจโอนสัมปทานทั้งหมดหรือเฉพาะที่เกี่ยวกับแปลงสำรวจแปลงใดแปลงหนึ่ง พื้นที่ผลิต หรือพื้นที่ที่สงวนไว้เขตใดเขตหนึ่งให้แก่บริษัทอื่นได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
ผู้รับโอนสัมปทานตามวรรคหนึ่งต้องมีลักษณะตามมาตรา ๒๔

มาตรา ๕๑ รัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอนสัมปทาน เมื่อผู้รับสัมปทาน
(๑) ไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันสำหรับการสำรวจปิโตรเลียมตามที่กำหนดในสัมปทานตามมาตรา ๓๐
(๒) ไม่วางหลักประกันหรือวางหลักประกันไม่ครบจำนวนตามมาตรา ๘๐/๒
(๓) ไม่ชำระค่าภาคหลวงตามหมวด ๗ หรือผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามหมวด ๗ ทวิ
(๔) ไม่ชำระภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(๕) ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดี
(๖) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัมปทานว่าเป็นเหตุเพิกถอนสัมปทานได้

มาตรา ๕๒ เมื่อมีเหตุที่จะเพิกถอนสัมปทานเกิดขึ้นและเหตุนั้นรัฐมนตรีเห็นว่าอาจแก้ไขได้ ให้รัฐมนตรีแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบถึงเหตุนั้น และกำหนดให้ผู้รับสัมปทานแก้ไขภายในเวลาที่เห็นสมควร ถ้าผู้รับสัมปทานไม่สามารถแก้ไขได้ภายในเวลาที่กำหนดโดยมีเหตุอันสมควร ให้ขออนุญาตขยายเวลาออกไปได้เท่าที่จำเป็นก่อนครบกำหนดเวลานั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีอำนาจขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานขอขยาย ถ้าผู้รับสัมปทานไม่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่สามารถแก้ไขภายในเวลาที่ขยายออกไป ให้รัฐมนตรีมีคำสั่งเพิกถอนสัมปทานโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่มีเหตุที่จะเพิกถอนสัมปทานเกิดขึ้นและเหตุนั้น รัฐมนตรีเห็นว่าไม่อาจแก้ไขได้ ให้รัฐมนตรีมีคำสั่งเพิกถอนสัมปทานโดยไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
คำสั่งเพิกถอนสัมปทานให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับคำสั่ง เว้นแต่ผู้รับสัมปทานจะดำเนินการตามมาตรา ๕๓

มาตรา ๕๒ ทวิ ในกรณีที่รัฐมีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลอาจขอให้ผู้รับสัมปทานเร่งรัดการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานได้สงวนไว้ตามมาตรา ๔๕ ก็ได้ โดยเสนอแผนการผลิตในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะตามโครงสร้างของแหล่งปิโตรเลียม
ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวย รัฐบาลจะเสนอให้มีการลดหย่อนค่าภาคหลวงตามมาตรา ๙๙ ทวิ และ/หรือ เสนอเพิ่มค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจตามมาตรา ๑๐๐ ฉ (ข) สำหรับพื้นที่นั้นหรือไม่ก็ได้
ถ้าผู้รับสัมปทานไม่สามารถเจรจาทำความตกลงกับรัฐบาลได้ภายในสิบสองเดือนนับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับข้อเสนอจากรัฐบาลตามวรรคหนึ่ง และรัฐบาลเห็นว่าการเร่งรัดการผลิตปิโตรเลียมดังกล่าวเป็นความจำเป็นแก่เศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลมีสิทธิแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบว่า รัฐบาลจะเข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นด้วยความเสี่ยงภัยแต่ฝ่ายเดียว
เมื่อรัฐบาลได้แจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบถึงการเข้าใช้สิทธิดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าสิทธิตามสัมปทานของผู้รับสัมปทานเฉพาะในพื้นที่ที่ได้กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง และรัฐบาลมีอำนาจมอบหมายให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือผู้หนึ่งผู้ใดเข้าประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวได้
หากในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวมีผลกำไรปิโตรเลียมประจำปีตามมาตรา ๑๐๐ จัตวา ของหมวด ๗ ทวิ เกิดขึ้นให้รัฐบาลนำผลกำไรปิโตรเลียมประจำปีดังกล่าวชำระคืนเงินลงทุนอันเป็นรายจ่ายที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายในพื้นที่ดังกล่าว ให้แก่ผู้รับสัมปทานจนกว่าจะครบจำนวน และในการคำนวณผลกำไรขาดทุนสำหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียมของรัฐตามมาตรานี้ ให้คำนวณดังเช่นการคำนวณสำหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานอื่น แต่มิให้มีค่าลดหย่อนพิเศษตามมาตรา ๑๐๐ ตรี (๔) เพื่อนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย
ในระหว่างการประกอบกิจการปิโตรเลียมของรัฐบาลตามมาตรานี้ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิขอเข้าร่วมทุนกับรัฐบาลได้ โดยใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อกำหนดว่าด้วยการประกอบกิจการปิโตรเลียมโดยการเสี่ยงภัยลงทุนแต่ฝ่ายเดียว ของสัญญาร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยที่ให้ผลดีที่สุดแก่ผู้รับสัมปทาน แต่การขอใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องแจ้งให้รัฐบาลทราบอย่างช้าภายในสามปีนับแต่วันที่รัฐบาลได้เข้าใช้สิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรานี้
ถ้ารัฐบาลไม่เริ่มต้นประกอบกิจการปิโตรเลียมอย่างจริงจังในพื้นที่ที่กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาสองปี นับแต่วันที่สิทธิตามสัมปทานของผู้รับสัมปทานนั้นสิ้นสุดลงตามวรรคสี่ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิร้องขอให้รัฐบาลคืนสิทธิในพื้นที่ดังกล่าวให้แก่ตนโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อรัฐมนตรีภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ครบกำหนดสองปีดังกล่าว และในกรณีที่มีการคืนสิทธิในพื้นที่ ให้ขยายอายุสัมปทานของผู้รับสัมปทานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นที่นั้นออกไปเท่ากับระยะเวลาที่รัฐบาลได้เข้าใช้สิทธิตามมาตรานี้ และรัฐบาลมีสิทธิได้รับคืนเงินที่ได้ลงทุนไปในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าที่การลงทุนนั้นได้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับสัมปทาน

มาตรา ๕๓ ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการที่รัฐมนตรีสั่งให้ผู้รับสัมปทานแก้ไข เหตุที่จะสั่งเพิกถอนสัมปทานตามมาตรา ๕๒ และข้อพิพาทที่เกี่ยวกับปัญหาที่ว่าได้มีการปฏิบัติตามสัมปทานหรือไม่ ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ดำเนินการระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามวิธีการที่กำหนดในสัมปทาน
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ หรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการภายในเวลาที่กำหนด ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิหรือประโยชน์ทั้งหมดหรือบางส่วนหรือเพิกถอนสัมปทานได้

หมวด ๔
การเก็บรักษาและขนส่งปิโตรเลียม
                  

มาตรา ๕๔ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิเก็บรักษาและมีสิทธิขนส่งปิโตรเลียม
การเก็บรักษาและการขนส่งปิโตรเลียมให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัมปทาน

มาตรา ๕๕ ในกรณีจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายเป็นการด่วน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้รับสัมปทานมีอำนาจผ่านหรือเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ของบุคคลใดเพื่อ ตรวจ ซ่อมแซม หรือแก้ไขท่อส่งปิโตรเลียมในเวลาใด ๆ ได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินหรือสถานที่นั้นทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ถ้าการผ่านหรือเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ตามวรรคหนึ่ง เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองหรือผู้ทรงสิทธิอื่นใดในที่ดินหรือสถานที่นั้นมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้รับสัมปทาน และถ้าไม่สามารถตกลงกันถึงจำนวนค่าเสียหายได้ ให้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยโดยนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ

หมวด ๕
การขายและจำหน่ายปิโตรเลียม
                  

มาตรา ๕๖ ภายใต้บังคับหมวดนี้ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิขายและจำหน่ายปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้

มาตรา ๕๗ ในการขายน้ำมันดิบที่ผลิตได้เพื่อใช้ภายในราชอาณาจักร ให้ผู้รับสัมปทานขายในราคาดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ยังไม่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาน้ำมันดิบที่สั่งซื้อจากต่างประเทศส่งถึงโรงกลั่นน้ำมันภายในราชอาณาจักร
(๒) ในกรณีที่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาเฉลี่ยที่ได้รับจริงสำหรับน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานทุกรายส่งออกนอกราชอาณาจักรในเดือนปฏิทินที่แล้วมา ในการนี้อธิบดีอาจให้ผู้รับสัมปทานส่งหลักฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับราคาที่ได้รับจริง ณ จุดส่งออกด้วยก็ได้
(๓) ในกรณีที่น้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั่วราชอาณาจักรมีปริมาณถึงสิบเท่าขึ้นไป ของความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักร ให้ขายในราคาที่มีกำไรตามสมควร โดยคำนึงถึงข้อตกลงที่เทียบเคียงกันได้ในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่
การกำหนดราคาตามมาตรานี้ให้คำนึงถึงความแตกต่างของคุณภาพ ค่าขนส่งและกรณีแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งมวลด้วย

มาตรา ๕๘ ในการขายก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้เพื่อใช้ภายในราชอาณาจักร ให้ผู้รับสัมปทานขายในราคาดังต่อไปนี้
(๑) ราคาที่ตกลงกับคณะกรรมการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี แต่ราคาที่ตกลงกันนั้นต้องไม่สูงกว่าราคาเฉลี่ยของก๊าซธรรมชาติที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของคุณภาพและค่าขนส่งด้วย
(๒) ในกรณีที่ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ทั่วราชอาณาจักรมีปริมาณมากกว่าความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักร ให้ขายในราคาที่มีกำไรตามสมควร โดยคำนึงถึงกรณีแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งมวล และข้อตกลงที่เทียบเคียงกันได้ในประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่

มาตรา ๕๙ ก่อนส่งน้ำมันดิบออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่การส่งออกเพื่อการวิเคราะห์หรือการทดลอง ผู้รับสัมปทานต้องประกาศราคา เอฟ โอ บี ณ จุดที่ส่งออก ตามชนิด ความถ่วงจำเพาะและคุณภาพของน้ำมันดิบนั้น
ราคาที่ประกาศตามวรรคหนึ่งต้องกำหนดและเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งคราวตามวิธีกำหนดคุณภาพที่ทันสมัย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงราคาประกาศของน้ำมันดิบที่เทียบเคียงกันจากประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันกับประเทศไทย ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจุดที่ส่งออกและจุดที่รับซื้อ รวมทั้งช่องทางที่จำหน่ายได้ในตลาดและค่าขนส่งด้วย
ในกรณีที่อธิบดีเห็นว่าราคาที่ผู้รับสัมปทานประกาศไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามวรรคสอง ให้อธิบดีแจ้งให้ผู้รับสัมปทานแก้ไขราคาประกาศให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้รับสัมปทานยังไม่แก้ไขหรือแก้ไขแล้วแต่ยังไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามวรรคสอง ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดราคาประกาศขึ้นใหม่แทนผู้รับสัมปทาน
หากผู้รับสัมปทานเห็นว่าราคาที่อธิบดีประกาศตามวรรคสามไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีสิทธิร้องขอต่อศาลเพื่อให้กำหนดราคาประกาศใหม่ได้ แต่ต้องร้องขอภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่อธิบดีกำหนดราคาประกาศ และให้ศาลมีอำนาจกำหนดราคาประกาศได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าผู้รับสัมปทานไม่ร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าราคาประกาศเป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่มีการร้องขอต่อศาลตามวรรคสี่ ให้ราคาประกาศเป็นไปตามที่อธิบดีกำหนดไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคำสั่งของศาลเป็นที่สุด

มาตรา ๖๐ เมื่อรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควร อาจสั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียมที่มีคุณภาพเหมาะสมเพื่อให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักรตามราคาที่กำหนดในมาตรา ๕๗ ได้ โดยผู้รับสัมปทานต้องจัดหาปิโตรเลียมดังกล่าวตามอัตราส่วนของปิโตรเลียมที่ตนผลิตได้ กับปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั่วราชอาณาจักรในรอบหกเดือนที่แล้วมา
ในกรณีที่รัฐมนตรีสั่งให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมสำหรับปิโตรเลียมที่มิได้ส่งออกตามมาตรา ๘๓ และต่อมาได้มีการส่งปิโตรเลียมนั้นออกนอกราชอาณาจักร ในกรณีเช่นนี้ การสั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียม ตามวรรคหนึ่งเพื่อทดแทนปิโตรเลียมนั้นจะกระทำมิได้
ในการสั่งให้ผู้รับสัมปทานจัดหาปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีต้องแจ้งเป็นหนังสือกำหนดเดือนเริ่มต้นสำหรับการจัดหาปิโตรเลียมให้ผู้รับสัมปทานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามเดือน และจะกำหนดเดือนสิ้นสุดสำหรับการจัดหาปิโตรเลียมไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้กำหนดเดือนสิ้นสุดดังกล่าว ให้รัฐมนตรีบอกเลิกการจัดหาปิโตรเลียมได้เมื่อแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามเดือน

มาตรา ๖๑ ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศหรือเพื่อให้มีปิโตรเลียมเพียงพอกับความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักร ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศห้ามส่งปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้ทั้งหมดหรือบางส่วนออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามส่งไป ณ ที่ใดเป็นการชั่วคราวได้
ในกรณีที่มีการประกาศห้ามส่งปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้บางส่วน ให้รัฐมนตรีห้ามผู้รับสัมปทานส่งปิโตรเลียมที่ผลิตได้ออกตามอัตราส่วนของปิโตรเลียมที่ตนผลิตได้กับปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั่วราชอาณาจักรในรอบหกเดือนที่แล้วมา
การประกาศตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๖๒ ในกรณีที่มีการห้ามส่งปิโตรเลียมออกเพื่อให้มีปิโตรเลียมเพียงพอกับความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักรตามมาตรา ๖๑ ถ้าผู้รับสัมปทานร้องขอ ให้รัฐมนตรีจัดให้มีผู้ซื้อปิโตรเลียมที่ห้ามส่งนั้นในราคาตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ แล้วแต่กรณี

admin 2013-01-29 11:00
หมวด ๖
ประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้รับสัมปทาน
                  

มาตรา ๖๓ การให้สัมปทานตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ตัดสิทธิการให้สัมปทานหรือการอนุญาตตามกฎหมายอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติอื่นใดเว้นแต่ปิโตรเลียม

มาตรา ๖๔ ให้ผู้รับสัมปทานได้รับหลักประกันว่า
(๑) รัฐจะไม่บังคับโอนทรัพย์สินและสิทธิในการประกอบกิจการปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานมาเป็นของรัฐ เว้นแต่เป็นการโอนตามข้อกำหนดในสัมปทาน
(๒) รัฐจะไม่จำกัดการส่งปิโตรเลียมออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๖๑

มาตรา ๖๕ เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ให้คณะกรรมการมีอำนาจอนุญาตให้ผู้รับสัมปทานถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ แม้ว่าจะเกินกำหนดที่พึงจะมีได้ตามกฎหมายอื่น
ผู้รับสัมปทานโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งได้เมื่อได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
การอนุญาตของคณะกรรมการตามมาตรานี้ให้อธิบดีแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบ

มาตรา ๖๖ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่ได้รับสัมปทาน แต่ในกรณีที่ที่ดินในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตที่ผู้รับสัมปทานมีความจำเป็นต้องใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม รวมทั้งที่ดินนอกแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตดังกล่าวที่ผู้รับสัมปทานมีความจำเป็นต้องใช้ในการเก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียมเป็นที่ดินที่บุคคลหรือส่วนราชการเป็นเจ้าของ มีสิทธิครอบครองหรือมีหน้าที่ดูแลตามกฎหมาย ให้ผู้รับสัมปทานปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรมิได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ผู้รับสัมปทานมีสิทธิผ่านเข้าออกและใช้ในการก่อสร้างใด ๆ ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องเสียค่าทดแทน
(๒) ในกรณีที่ดินที่ส่วนราชการใดเป็นเจ้าของ มีสิทธิครอบครองหรือมีหน้าที่ดูแลตามกฎหมาย ผู้รับสัมปทานต้องขออนุญาตต่อส่วนราชการนั้น
(๓) ในกรณีที่ดินที่บุคคลใดเป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิครอบครอง ผู้รับสัมปทานต้องทำความตกลงกับบุคคลนั้น

มาตรา ๖๗ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานมีความจำเป็นต้องเข้าไปในที่ดินที่บุคคลใดเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิครอบครองเพื่อสำรวจปิโตรเลียม ให้ขออนุญาตเจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นก่อน
ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งไม่อนุญาต และพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีความจำเป็นต้องเข้าไปสำรวจปิโตรเลียมในที่ดินนั้นและการไม่อนุญาตนั้นไม่มีเหตุอันสมควรเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันว่าจะเข้าไปสำรวจปิโตรเลียมในที่ดินนั้นแล้ว ให้ผู้รับสัมปทานเข้าไปสำรวจปิโตรเลียมในที่ดินนั้นในความควบคุมดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
ถ้าการเข้าไปในที่ดินตามวรรคสองเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองหรือผู้ทรงสิทธิอื่นใดในที่ดินนั้นมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้รับสัมปทาน และถ้าไม่สามารถตกลงกันถึงจำนวนค่าเสียหายได้ ให้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย โดยนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ

มาตรา ๖๘ เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการปิโตรเลียม ให้ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

มาตรา ๖๙ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเพียงเท่าที่กฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ผู้รับสัมปทานและผู้รับจ้าง ซึ่งได้ทำสัญญาจ้างเหมาโดยตรงกับผู้รับสัมปทานมีสิทธินำช่างฝีมือและผู้เชี่ยวชาญ รวมตลอดถึงคู่สมรสและบุตรที่อยู่ในอุปการะซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามความจำเป็นในการประกอบกิจการปิโตรเลียมได้ตามจำนวนและระยะเวลาที่คณะกรรมการมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ แม้ว่าจะเกินอัตราจำนวนคนเข้าเมืองและระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ผู้รับสัมปทานมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา ๗๐ ผู้รับสัมปทานและผู้รับจ้างซึ่งได้ทำสัญญาจ้างเหมาโดยตรงกับผู้รับสัมปทาน มีสิทธินำเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ โครงก่อสร้าง ยานพาหนะ ส่วนประกอบ อุปกรณ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม เข้ามาในราชอาณาจักรได้ โดยให้ได้รับยกเว้นการเสียอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร แต่ของดังกล่าวต้องเป็นของที่คณะกรรมการมีคำสั่งเห็นชอบว่าจำเป็นในการประกอบกิจการปิโตรเลียม
ผู้รับสัมปทานมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำสั่ง

มาตรา ๗๑ ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ให้ผู้รับสัมปทานได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากร และเงินที่ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นเรียกเก็บทุกชนิด เว้นแต่
(๑) ภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(๒) ค่าภาคหลวงไม้ ค่าบำรุงป่า และค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
(๓) ค่าภาคหลวง ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ และค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ค่าธรรมเนียมเพื่อตอบแทนบริการตามกฎหมายอื่น

มาตรา ๗๒ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ปิโตรเลียมหรือการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดี ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานหลายรายมีพื้นที่ผลิตคาบเกี่ยวกันในแหล่งสะสมปิโตรเลียมแหล่งเดียวกัน รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้รับสัมปทานดังกล่าวร่วมกันผลิตปิโตรเลียมได้

มาตรา ๗๓ ในการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียม ถ้าพบโบราณวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ผู้รับสัมปทานต้องรายงานให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันพบ

มาตรา ๗๔ ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในทะเล ผู้รับสัมปทานต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนโดยปราศจากเหตุอันสมควรต่อการเดินเรือ การเดินอากาศ การอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเล หรือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และต้องไม่ทำการอันเป็นการกีดขวางต่อการวางสายเคเบิลหรือท่อใต้น้ำ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่สายเคเบิลหรือท่อใต้น้ำ

มาตรา ๗๕ ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานต้องป้องกันโดยมาตรการอันเหมาะสมตามวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดีเพื่อมิให้ที่ใดโสโครกด้วยน้ำมัน โคลนหรือสิ่งอื่นใด
ในกรณีที่ที่ใดเกิดความโสโครกด้วยน้ำมัน โคลน หรือสิ่งอื่นใดเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมโดยผู้รับสัมปทาน ผู้รับสัมปทานต้องบำบัดปัดป้องความโสโครกนั้นโดยเร็วที่สุด
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ดำเนินการหรือดำเนินการตามวรรคสองล่าช้า หรือหากไม่ดำเนินการทันทีอาจก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีมอบหมายอาจเข้าดำเนินการบำบัดปัดป้องความโสโครกนั้นแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวทั้งหมด

มาตรา ๗๖ ผู้รับสัมปทานต้องรายงานผลการประกอบกิจการปิโตรเลียม แผนงานและงบประมาณประจำปีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด
รายงานตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นความลับและมิให้เปิดเผยจนกว่าจะพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*ได้รับรายงานหรือพึงได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่
(๑) เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการแก่ส่วนราชการหรือบุคคลซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
(๒) เป็นการนำข้อสนเทศจากรายงานนั้นไปใช้ในการเรียบเรียงและเผยแพร่รายงานหรือบันทึกทางวิทยาศาสตร์ เทคนิคหรือสถิติ โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว ทั้งนี้ ต้องหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อสนเทศด้านพาณิชย์ให้มากที่สุด หรือ
(๓) ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับสัมปทานให้เปิดเผยได้ แต่การให้หรือไม่ให้ความยินยอมของผู้รับสัมปทานต้องกระทำโดยไม่ชักช้า
ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่รายงานเกี่ยวกับการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ผลิตและรายงานเกี่ยวกับพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานได้คืนพื้นที่แล้วตามมาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๓๗

มาตรา ๗๗ ผู้รับสัมปทานต้องเสนองบบัญชีค่าใช้จ่ายและงบการเงินประจำปี ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด

มาตรา ๗๘ ผู้รับสัมปทานมีสิทธิเก็บรักษาเงินตราต่างประเทศและนำหรือส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้ เมื่อเงินนั้นเป็นเงินที่ได้มาจากการประกอบกิจการปิโตรเลียม

มาตรา ๗๙ อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากน้ำในหลุมเจาะใด ๆ ที่ผู้รับสัมปทานไม่ต้องการใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม แต่ส่วนราชการนั้นต้องให้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมสำหรับค่าวัสดุที่ผู้รับสัมปทานยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ผู้รับสัมปทาน

มาตรา ๘๐ ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ไม่ว่าสิทธิสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานจะสิ้นอายุแล้วหรือไม่ ผู้รับสัมปทานต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดี สำหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียมและการอนุรักษ์ทรัพยากรปิโตรเลียม

มาตรา ๘๐/๑ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่รับผิดชอบในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรวจผลิต เก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียม โดยให้ผู้รับสัมปทานยื่นแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน เพื่อขอรับความเห็นชอบจากอธิบดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่มีสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรวจ ผลิต เก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียมที่ต้องรื้อถอนเพิ่มขึ้น หรือเทคโนโลยีด้านการรื้อถอนเปลี่ยนแปลงไป หรือประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนคลาดเคลื่อน ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้รับสัมปทานแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง หรือผู้รับสัมปทานอาจยื่นขอเสนอแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงแผนงานหรือประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งเองก็ได้ โดยเสนอต่ออธิบดีเพื่อให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่ออธิบดีให้ความเห็นชอบแล้วให้ถือเป็นแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสำหรับพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมนั้น
ผู้รับสัมปทานต้องทำการรื้อถอนให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากผู้รับสัมปทานไม่ดำเนินการรื้อถอน หรือดำเนินการล่าช้าอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายอธิบดีมีอำนาจมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการรื้อถอนแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทาน โดยใช้จ่ายจากหลักประกันตามมาตรา ๘๐/๒
มาตรา ๘๐/๒ ให้ผู้รับสัมปทานวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือวัสดุอื่นใดตามมาตรา ๘๐/๑ ต่ออธิบดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยหลักประกันจะเป็นเงินสด พันธบัตรของรัฐบาลไทย สัญญาค้ำประกันของธนาคารหรือหลักประกันอื่นใดก็ได้
หลักประกันที่เป็นเงินสด พันธบัตรของรัฐบาลไทย หรือทรัพย์สินอื่นใดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แต่ไม่พ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ถ้าผู้รับสัมปทานไม่วางหรือวางหลักประกันไม่ครบตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนหลักประกันที่ต้องวาง หรือวางขาด แล้วแต่กรณีนับแต่วันที่ครบกำหนดส่ง และให้อธิบดีเตือนให้มีการวางหลักประกัน และเงินเพิ่มภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเตือน และถ้ายังไม่มีการวางหลักประกันและเงินเพิ่มให้ถูกต้องรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนสัมปทานได้
ในกรณีที่อธิบดีมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าดำเนินการแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทานในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือวัสดุอื่นใดตามมาตรา ๘๐/๑ ให้ใช้จ่ายจากหลักประกันตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่หลักประกันไม่เพียงพอ ผู้รับสัมปทานต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนที่ขาด และหากมีหลักประกันเหลือให้คืนแก่ผู้รับสัมปทาน
การเก็บรักษาและการเบิกจ่ายหลักประกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๘๑ ผู้รับสัมปทาน ตัวแทน และลูกจ้างของผู้รับสัมปทานมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๗
ค่าภาคหลวง
                  

มาตรา ๘๒ ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่าย แต่ไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมดังต่อไปนี้
(๑) (ยกเลิก)
(๒) ปิโตรเลียมที่ผลิตและใช้ไปในสภาพเดิมในราชอาณาจักรเพื่อการวิเคราะห์ทดลอง สำรวจ ผลิต อนุรักษ์ เก็บรักษา และขนส่งปิโตรเลียม
(๓) ปิโตรเลียมที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อการวิเคราะห์และทดลอง
(๔) ก๊าซธรรมชาติที่โอนโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่ผู้รับสัมปทานรายอื่น เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรปิโตรเลียมเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดี
(๕) ก๊าซธรรมชาติที่จำเป็นต้องเผาทิ้งระหว่างการผลิตปิโตรเลียม
กรณีตาม (๒) ถึง (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*กำหนด

มาตรา ๘๓ ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นตัวเงิน แต่รัฐมนตรีอาจสั่งให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมแทนทั้งหมดหรือบางส่วนตามประเภทและชนิดของปิโตรเลียมที่ต้องเสียค่าภาคหลวงนั้นได้
ในการสั่งตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีต้องแจ้งเป็นหนังสือกำหนดว่าจะให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมสำหรับปิโตรเลียมที่ส่งออกหรือปิโตรเลียมที่มิได้ส่งออกหรือทั้งสองอย่าง และกำหนดเดือนเริ่มต้นสำหรับการเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมให้ผู้รับสัมปทานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน และจะกำหนดเดือนสิ้นสุดสำหรับการเสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้กำหนดเดือนสิ้นสุดดังกล่าว ให้รัฐมนตรีบอกเลิกรับชำระค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมได้เมื่อแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน

มาตรา ๘๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๙ มาตรา ๙๙ ทวิ และมาตรา๙๙ ตรี ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานผลิตได้ในแต่ละแปลงสำรวจ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เสียเป็นตัวเงิน ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงตามมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายได้ในเดือนนั้น ในอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราค่าภาคหลวงท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือ
(๒) ในกรณีที่เสียเป็นปิโตรเลียม ให้เสียเป็นปริมาณปิโตรเลียมที่คำนวณเป็นมูลค่าได้เท่ากับจำนวนค่าภาคหลวงที่พึงเสียเป็นตัวเงินตาม (๑) ทั้งนี้ โดยให้คำนวณปิโตรเลียมที่เสียเป็นค่าภาคหลวงรวมเป็นปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่วยด้วย
มูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายได้ในเดือนนั้นตาม (๑) หมายถึงมูลค่าปิโตรเลียมทั้งสิ้นที่ผู้รับสัมปทานขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมทุกชนิดในรอบเดือน
สำหรับปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากพื้นที่ผลิตในแปลงสำรวจที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*กำหนดว่าเป็นแปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตร ให้ผู้รับสัมปทานเสียค่าภาคหลวงเป็นจำนวนร้อยละเจ็ดสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๘๕ ในการคำนวณมูลค่าปิโตรเลียมสำหรับเสียค่าภาคหลวงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) สำหรับปริมาณ ให้ถือเอาปริมาณปิโตรเลียมที่มีอุณหภูมิ ๖๐ องศาฟาเรนไฮท์ และความดัน ๑๔.๗ ปอนด์ต่อหนึ่งตารางนิ้วเป็นเกณฑ์
(๒) สำหรับราคา ให้ถือราคาดังต่อไปนี้
(ก) น้ำมันดิบที่ส่งออก ให้ถือราคาประกาศ
(ข) น้ำมันดิบที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวงสำหรับน้ำมันดิบที่มิได้ส่งออกให้ถือราคาตลาด
(ค) น้ำมันดิบที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวงสำหรับน้ำมันดิบที่ส่งออก ให้ถือราคามาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ง) ปิโตรเลียมที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวงเฉพาะส่วนที่มิใช่น้ำมันดิบ ให้ถือราคาตลาด
(จ) ปิโตรเลียมนอกจาก (ก) ถึง (ง) ให้ถือราคาที่ขายได้จริงในกรณีที่มีการขาย และให้ถือราคาตลาดในกรณีที่มีการจำหน่าย
ทั้งนี้ ให้คิดมูลค่าปิโตรเลียม ณ สถานที่ขายหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรที่อธิบดีและผู้รับสัมปทานจะได้ตกลงกัน แต่สำหรับน้ำมันดิบที่ส่งออก ให้คิดมูลค่า ณ สถานที่ส่งออก และในกรณีที่สถานที่ขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมตาม (จ) แตกต่างไปจากสถานที่ขายหรือจำหน่ายที่ได้ตกลงกัน ให้ปรับปรุงราคาโดยคำนึงถึงความแตกต่างของค่าขนส่งระหว่างสถานที่ขายหรือจำหน่ายนั้นกับสถานที่ขายหรือจำหน่ายที่ได้ตกลงกันแล้วด้วย

มาตรา ๘๖ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณมูลค่าปิโตรเลียมตามมาตรา ๘๕ ถ้าจำเป็นต้องคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ให้คำนวณตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีราคาประกาศ ให้คำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยในรอบระยะเวลาสามเดือนที่มีการชำระค่าภาคหลวงตามมาตรา ๘๗โดยคิดจากอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยรายวันที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
(๒) ในกรณีอื่น ให้คำนวณเงินตราต่างประเทศหรือสิทธิเรียกร้องที่มีมูลค่าเป็นเงินตราต่างประเทศที่ได้รับตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ขายเงินตราต่างประเทศนั้น ถ้ามิได้มีการขายเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเงินตราต่างประเทศหรือสิทธิเรียกร้องนั้นตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยในรอบระยะเวลาหนึ่งเดือนก่อนเดือนที่ได้รับ โดยคิดจากอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยรายวันที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้

มาตรา ๘๗ ในกรณีที่ให้เสียค่าภาคหลวงเป็นตัวเงิน ให้ผู้รับสัมปทานชำระเป็นรายเดือนปฏิทิน
ค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายในเดือนใด ให้ถือเป็นค่าภาคหลวงสำหรับเดือนนั้น และให้ผู้รับสัมปทานชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเดือนถัดไป ณ สถานที่ที่อธิบดีกำหนด พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงตามที่อธิบดีกำหนดโดยแสดงรายการครบถ้วนตามแบบนั้น และยื่นเอกสารประกอบตามที่อธิบดีกำหนดด้วย
ผู้รับสัมปทานจะยื่นคำขอชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลใดก็ได้ เมื่อรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควร จะอนุมัติให้ชำระเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลนั้น ตามเงื่อนไขและวิธีการที่กำหนดก็ได้

มาตรา ๘๘ ในกรณีที่มีการส่งน้ำมันดิบหรือผลิตภัณฑ์ที่กลั่นจากน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานขายหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ออกนอกราชอาณาจักรโดยผู้รับสัมปทานมิได้เสียค่าภาคหลวงสำหรับน้ำมันดิบที่ส่งออกตามราคาประกาศที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘๕ (๒) (ก) ให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้ที่ทำการส่งออกเสียค่าภาคหลวงสำหรับน้ำมันดิบที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือสำหรับน้ำมันดิบส่วนที่กลั่นเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกนอกราชอาณาจักรเป็นจำนวนเท่ากับความแตกต่างระหว่างค่าภาคหลวงที่รัฐพึงได้รับจากผู้รับสัมปทาน ถ้าผู้รับสัมปทานเป็นผู้ส่งน้ำมันดิบดังกล่าวออกเอง ณ เวลาที่มีการส่งออก กับค่าภาคหลวงที่รัฐได้รับจากผู้รับสัมปทานเมื่อผู้รับสัมปทานขายหรือจำหน่ายน้ำมันดิบภายในราชอาณาจักร

มาตรา ๘๙ การเก็บค่าภาคหลวงตามมาตรา ๘๘ มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ปริมาณน้ำมันดิบที่ส่งออกในรอบเดือน ได้แก่
(ก) ในกรณีที่การส่งออกเป็นน้ำมันดิบ คือ ปริมาณน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานหรือผู้ที่ทำการส่งออก ได้ส่งออกทั้งสิ้นในรอบเดือน
(ข) ในกรณีที่การส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ที่กลั่นจากน้ำมันดิบคือปริมาณน้ำมันดิบที่ใช้กลั่นเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ตามปริมาณที่มีการส่งออกในรอบเดือน ปริมาณน้ำมันดิบดังกล่าวให้คำนวณด้วยการนำปริมาณน้ำมันดิบที่ใช้ในการกลั่นผลิตภัณฑ์ชนิดที่ส่งออกในรอบเดือนเฉพาะส่วนที่ผู้รับสัมปทานได้ขายหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรคูณด้วย “อัตรามาตรฐานร้อยละ” ของปริมาณผลิตภัณฑ์ชนิดที่ส่งออกที่จะพึงได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบที่ใช้กลั่นนั้น คูณด้วยปริมาณผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกนอกราชอาณาจักรในรอบเดือนนั้นและหารด้วยปริมาณผลิตภัณฑ์ชนิดที่ส่งออกซึ่งกลั่นได้ทั้งสิ้นในรอบเดือน
“อัตรามาตรฐานร้อยละ” ของผลิตภัณฑ์ชนิดที่ส่งออกที่จะได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ ให้คำนวณตามชนิดของน้ำมันดิบที่ใช้กลั่น วิธีการกลั่นและเงื่อนไขทางเทคนิคอื่น ตามที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*กำหนด
(๒) ราคาประกาศที่ใช้สำหรับคำนวณค่าภาคหลวงสำหรับน้ำมันดิบที่ส่งออกได้แก่ ราคาประกาศ ณ เวลาที่มีการส่งออก ในกรณีที่ไม่มีราคาประกาศ ให้ใช้ราคาประกาศสำหรับน้ำมันดิบที่มีคุณภาพอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันของผู้รับสัมปทานรายอื่น และในกรณีที่ไม่มีราคาประกาศดังกล่าว ให้อธิบดีกำหนดราคาประกาศโดยคำนึงถึงสภาพการณ์ตามที่กำหนดในมาตรา ๕๙ วรรคสอง
(๓) วิธีการคำนวณความแตกต่างของค่าภาคหลวงตามมาตรา ๘๘ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกะทรวง
(๔) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นนอกจากที่กำหนดในมาตรานี้ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้

มาตรา ๙๐ ในกรณีที่ให้เสียค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียม ให้ผู้รับสัมปทานชำระเป็นรายเดือนตามมาตรา ๘๗ วรรคหนึ่ง และให้ชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลาและตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด ณ สถานที่ตามมาตรา ๘๕ วรรคสอง พร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงตามที่อธิบดีกำหนดโดยแสดงรายการครบถ้วนตามแบบนั้นและยื่นเอกสารประกอบตามที่อธิบดีกำหนดด้วย
ในกรณีที่ให้ผู้รับสัมปทานส่งชำระค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียม ณ สถานที่อื่นนอกจากสถานที่ที่อธิบดีและผู้รับสัมปทานตกลงกันตามมาตรา ๘๕ วรรคสอง ผู้รับสัมปทานไม่จำต้องเสียค่าขนส่งเกินจำนวนที่พึงต้องเสีย

มาตรา ๙๑ อธิบดีมีอำนาจประเมินค่าภาคหลวงและเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อ
(๑) ผู้รับสัมปทานมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงภายในเวลาที่กำหนด
(๒) ผู้รับสัมปทานยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนค่าภาคหลวงที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป
(๓) ผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของอธิบดีหรือไม่ตอบคำถามของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตรวจสอบค่าภาคหลวงโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงหลักฐานในการคำนวณค่าภาคหลวง

มาตรา ๙๒ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา ๙๑ อธิบดีมีอำนาจ
(๑) จัดทำรายการลงในแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงที่เห็นว่าถูกต้องเมื่อมิได้มีการยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวง
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงหรือในเอกสารที่ยื่นประกอบแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงเพื่อให้ถูกต้อง
(๓) กำหนดมูลค่าของปิโตรเลียมตามราคาตลาดในเมื่อมีการจำหน่ายหรือมีการขายโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๔) กำหนดจำนวนค่าภาคหลวงตามที่รู้เห็นหรือพิจารณาว่าถูกต้องเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙๑ (๓)

มาตรา ๙๓ ให้การดำเนินการตามมาตรา ๙๑ หรือมาตรา ๙๒ อธิบดีมีอำนาจ
(๑) ออกหนังสือเรียกผู้รับสัมปทานหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ
(๒) ออกคำสั่งให้ผู้รับสัมปทานหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องตอบคำถามเป็นหนังสือส่งบัญชี หลักฐาน รายงาน หรือเอกสารอื่นอันควรแก่กรณีมาตรวจสอบไต่สวน
ทั้งนี้ ต้องให้เวลาแก่ผู้รับหนังสือหรือคำสั่งไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสือหรือคำสั่งนั้น

มาตรา ๙๔ เมื่ออธิบดีได้ประเมินค่าภาคหลวงแล้ว ให้แจ้งผลการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้รับสัมปทาน พร้อมกับกำหนดเวลาให้ผู้รับสัมปทานชำระค่าภาคหลวงตามที่ประเมินภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินของอธิบดี
ถ้าผู้รับสัมปทานไม่พอใจในผลการประเมินของอธิบดี ให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิร้องขอต่อศาลเพื่อให้กำหนดค่าภาคหลวงใหม่ได้ แต่ต้องร้องขอภายในระยะเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมินและให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าภาคหลวงได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าผู้รับสัมปทานไม่ร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าค่าภาคหลวงเป็นไปตามการประเมินของอธิบดี
การร้องขอต่อศาลตามวรรคสองไม่เป็นเหตุทุเลาการชำระค่าภาคหลวง และเพื่อประโยชน์ในการชำระค่าภาคหลวงในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ให้จำนวนค่าภาคหลวงเป็นไปตามที่อธิบดีประเมินตามมาตรา ๙๑ หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๙๒

มาตรา ๙๕ การประเมินของอธิบดีให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(๑) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงในกรณีที่ผู้รับสัมปทานยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงภายในเวลาที่กำหนด
(๒) ห้าปีนับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงในกรณีที่ผู้รับสัมปทานยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงเมื่อพ้นเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวง
(๓) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงในกรณีที่ผู้รับสัมปทานมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวง หรือยื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงที่ต้องชำระขาดไปเกินร้อยละยี่สิบห้าของค่าภาคหลวงที่ต้องเสีย

มาตรา ๙๖ ถ้าผู้รับสัมปทานมิได้ชำระค่าภาคหลวงภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๘๗ หรือชำระค่าภาคหลวงขาดจากจำนวนที่ควรต้องเสีย ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนหรือเศษของเดือนของค่าภาคหลวงที่ต้องชำระหรือชำระขาดแล้วแต่กรณี
การคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งมิให้คิดทบต้น และให้เริ่มนับแต่วันสิ้นสุดแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเสียค่าภาคหลวงจนถึงวันที่ชำระ
เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินจำนวนค่าภาคหลวงที่ต้องชำระหรือชำระขาด แล้วแต่กรณี

มาตรา ๙๗ ถ้าผู้รับสัมปทานมิได้ชำระค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๙๐ หรือชำระค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมขาดจากจำนวนที่ต้องเสีย ผู้รับสัมปทานต้องชำระค่าภาคหลวงเป็นปิโตรเลียมจนครบจำนวน และให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนหรือเศษของเดือนของมูลค่าปิโตรเลียมที่ต้องชำระเป็นค่าภาคหลวงหรือที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี
การคำนวณมูลค่าของปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่งให้ถือราคาตลาดในเวลาที่ต้องเสียค่าภาคหลวง และให้นำมาตรา ๙๖ วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับ

มาตรา ๙๘ เงินเพิ่มอาจงดหรือลดลงได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๙๙ เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์หรือภาวะการผลิตปิโตรเลียมค่าภาคหลวงตามพระราชบัญญัตินี้อาจลดลงเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินร้อยละสามสิบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่บางพื้นที่ภายในแปลงสำรวจหรือในพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทาน ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออำนวยหรือที่มีพลังผลิตของพื้นที่ลดลง และไม่อยู่ในแผนการสำรวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทานให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจลดหย่อนค่าภาคหลวงให้แก่ผู้รับสัมปทานโดยทำความตกลงกับผู้รับสัมปทานเพื่อให้ผู้รับสัมปทานทำการสำรวจและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ตามแผนซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้กำหนดขึ้น
ในการให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อลดหย่อนค่าภาคหลวงตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาและศักยภาพทางปิโตรเลียมของพื้นที่ดังกล่าว สถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายในประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในตลาด และผลได้ผลเสียอื่นๆ ของประเทศที่จะได้รับจากการเร่งรัดให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
ค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนตามมาตรานี้ จะต้องเป็นค่าภาคหลวงที่เกิดจากกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานดำเนินการอยู่แล้วในแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิตนั้น หรือเป็นค่าภาคหลวงที่จะเกิดขึ้นจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้ในแผน และการลดหย่อนดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละเก้าสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่ผู้รับสัมปทานพึงต้องเสียสำหรับปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้ในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิตที่อยู่ในแปลงสำรวจนั้น หรือไม่เกินร้อยละเก้าสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะเกิดจากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนด โดยระยะเวลาที่ได้รับลดหย่อนจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ทำความตกลงหรือวันที่เริ่มผลิต และในความตกลงกับผู้รับสัมปทานดังกล่าวจะมีเงื่อนไขหรือมีข้อกำหนดอย่างใดๆ ก็ได้

มาตรา ๙๙ ตรี ในพื้นที่ที่สภาพทางธรณีวิทยาบ่งชี้ว่าการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นจำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากหรือการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่นั้นไม่อาจดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการอาจให้สัมปทานสำหรับพื้นที่ดังกล่าวโดยลดหย่อนค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่เริ่มผลิตขึ้นมาจากพื้นที่นั้นตามจำนวนปิโตรเลียมที่จะกำหนดไว้ในสัมปทานก็ได้แต่พื้นที่ที่กำหนดให้สัมปทานดังกล่าวจะต้องมีขนาดไม่เกินสองร้อยตารางกิโลเมตร และค่าภาคหลวงที่จะลดหย่อนต้องไม่เกินกว่าร้อยละเก้าสิบของจำนวนค่าภาคหลวงที่จะพึงเสีย โดยระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับลดหย่อนค่าภาคหลวงจะต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่เริ่มผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ผลิตในการให้สัมปทานตามมาตรานี้จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดๆ ก็ได้
ในการให้คำแนะนำของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙๙ ทวิ วรรคสอง มาใช้บังคับ
การเปิดให้สัมปทานตามวรรคหนึ่ง ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*กำหนดข้อผูกพันในด้านปริมาณเงินและ/หรือปริมาณงานขั้นต่ำสำหรับการสำรวจปิโตรเลียม ที่ผู้ขอสัมปทานจะต้องปฏิบัติหากได้รับสัมปทานจากรัฐบาล โดยได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวงตามมาตรานี้

มาตรา ๑๐๐ ในการเก็บค่าภาคหลวงจากบุคคลตามมาตรา ๘๘ จากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้รับสัมปทาน รัฐมนตรีจะมอบให้กรมสรรพสามิตเก็บแทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*ก็ได้

admin 2013-01-29 11:01
หมวด ๗ ทวิ
ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ
                  

มาตรา ๑๐๐ ทวิ ในหมวดนี้
“รายได้ปิโตรเลียม” หมายความว่า รายได้ของผู้รับสัมปทานที่เกิดจากแปลงสำรวจแต่ละแปลง ทั้งนี้ เฉพาะรายได้ตามรายการที่กำหนดในมาตรา ๑๐๐ ตรี (๑)
“รายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน” หมายความว่า รายจ่ายที่เป็นทุนที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายลงทุนไปในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๑๐๐ ตรี (๒)
“รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็น” หมายความว่า รายจ่ายตามปกติและจำเป็นที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายไปในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๑๐๐ ตรี (๓) แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยรายจ่ายที่เป็นทุนและเงินที่ได้ชำระเป็นผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ถ้ามี
“ค่าลดหย่อนพิเศษ” หมายความว่า จำนวนเงินลดหย่อนที่รัฐบาลกำหนดตามมาตรา ๑๐๐ ตรี (๔) สำหรับแปลงสำรวจแต่ละแปลง”

มาตรา ๑๐๐ ตรี รายได้ปิโตรเลียม รายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็น และค่าลดหย่อนพิเศษในหมวดนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) รายได้ปิโตรเลียม หมายความเฉพาะจำนวนรวมของรายได้ตามรายการ ดังต่อไปนี้
(ก) ยอดเงินได้จากการขายปิโตรเลียม
(ข) มูลค่าของปิโตรเลียมที่จำหน่าย
(ค) มูลค่าของปิโตรเลียมที่ส่งชำระเป็นค่าภาคหลวง
(ง) ยอดเงินได้เนื่องจากการโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใด ๆ อันเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียม
มูลค่าของปิโตรเลียมตาม (ข) และ (ค) ให้คำนวณตามมาตรา ๘๕ และในกรณีที่มีการโอนสัมปทานตามมาตรา ๔๘ ยอดเงินได้เนื่องจากการโอนทรัพย์สินหรือสิทธิใด ๆ ตาม (ง) ต้องไม่ต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีครั้งสุดท้ายของบริษัทผู้โอนในวันที่การโอนมีผล
(๒) รายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน ได้แก่ รายจ่ายที่เป็นทุนตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(๓) รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็น ได้แก่ รายจ่ายตามปกติและจำเป็นตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยรายจ่ายที่เป็นทุนและเงินที่ชำระเป็นผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ถ้ามี รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็นจะต้องเป็นรายจ่ายที่ผู้รับสัมปทานสามารถพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจแก่อธิบดีว่าเป็นรายจ่ายตามปกติและจำเป็นในการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามปกติวิสัย
(๔) ค่าลดหย่อนพิเศษ ได้แก่ จำนวนเงินที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นครั้งคราวในขณะที่ให้สัมปทาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เงินจำนวนนี้ รัฐบาลยินยอมให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธินำมาคำนวณรวมกับรายจ่ายในลักษณะที่เสมือนเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนของแปลงสำรวจแต่ละแปลง เพื่อนำมาหักออกจากรายได้ปิโตรเลียมอันจะเป็นการลดผลกำไรของผู้รับสัมปทานในการเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐบาลตามหมวดนี้ ค่าลดหย่อนพิเศษเป็นมาตรการสำหรับชักจูงให้มีการลงทุนเพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียมในประเทศไทยโดยรัฐบาลจะกำหนดจำนวนโดยคำนึงถึงสภาวะการแข่งขันในการลงทุนระหว่างประเทศ
ในกรณีที่รายได้หรือรายจ่ายตามมาตรานี้เกี่ยวพันกับแปลงสำรวจหลายแปลง และไม่สามารถแบ่งแยกกันได้โดยชัดแจ้ง ให้คำนวณรายได้หรือรายจ่ายของแปลงสำรวจแต่ละแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๐๐ จัตวา ให้คำนวณกำไรขาดทุนสำหรับการประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแต่ละแปลง เป็นรายปีตามรอบระยะเวลาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และรายได้ปิโตรเลียมเมื่อได้หักผลบวกของรายจ่ายปิโตรเลียมที่เป็นทุน รายจ่ายปิโตรเลียมตามปกติและจำเป็นและค่าลดหย่อนพิเศษแล้ว ผลอันนี้ย่อมเป็น “ผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี” หรือ “ผลขาดทุนปิโตรเลียมประจำปี” แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มี “ผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี” ให้นำ “ผลขาดทุนปิโตรเลียมประจำปี” ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันไปหักลดหย่อนได้และถ้าหากยังมีผลขาดทุนปิโตรเลียมประจำปีคงเหลือเป็นจำนวนเท่าใดก็ให้นำไปหักลดหย่อนในรอบระยะเวลาบัญชีต่อ ๆ ไปได้เพียงเท่าจำนวนที่เหลืออยู่
ในรอบระยะเวลาบัญชีใด การประกอบกิจการปิโตรเลียมในแปลงสำรวจแปลงใดมี “ผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี” ให้ผู้รับสัมปทานเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐบาล ตามบทบัญญัติในหมวดนี้

มาตรา ๑๐๐ เบญจ ให้เรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผลกำไรปิโตรเลียมประจำปี ในอัตราที่กำหนดจาก “ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร” โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่ไม่เกิน ๔,๘๐๐ บาท ไม่ต้องเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ
(๒) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๔,๘๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท ให้เรียกเก็บในอัตราร้อยละ ๑ ของ ๒๔๐ บาทแรก และให้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๑ ต่อทุก ๆ ๒๔๐ บาท เศษของ ๒๔๐ บาท ให้ถือเป็น ๒๔๐ บาท
(๓) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๑๔,๔๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๑ ต่อทุก ๆ ๙๖๐ บาท เศษของ ๙๖๐ บาท ให้ถือเป็น ๙๖๐ บาท
(๔) ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร ส่วนที่เกิน ๓๓,๖๐๐ บาท ขึ้นไป ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๑ ต่อทุก ๆ ๓,๘๔๐ บาท เศษของ ๓,๘๔๐ บาท ให้ถือเป็น ๓,๘๔๐ บาท
แต่ทั้งนี้ จะเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษเกินร้อยละ ๗๕ ของผลกำไรปิโตรเลียมในแต่ละปีไม่ได้

มาตรา ๑๐๐ ฉ “ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร” คือจำนวนรายได้ปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานที่เกิดจากแปลงสำรวจในรอบปี หารด้วยผลบวกของความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทั้งหมดซึ่งผู้รับสัมปทานได้ลงทุนเจาะไปแล้วในแปลงสำรวจนั้นกับ “ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ”
การกำหนดค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตรตามมาตรานี้มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดสัดส่วน ระหว่างรายได้ของผู้รับสัมปทานที่ได้มาจากปิโตรเลียมที่ผลิตในแปลงสำรวจ กับความพยายามในการลงทุนของผู้รับสัมปทานและสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจนั้น
การคำนวณ “ค่าของรายได้ในรอบปีต่อหลุมเจาะลึกหนึ่งเมตร” ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(ก) รายได้ปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานในแปลงสำรวจในรอบปีให้นำมาคำนวณเฉพาะรายการตามมาตรา ๑๐๐ ตรี (๑) (ก) (ข) (ค) และให้ปรับมูลค่าด้วยค่าเงินเฟ้อและค่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
(ข) “ค่าคงที่แสดงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ” หมายความถึงจำนวนความลึกเป็นเมตรของหลุมเจาะปิโตรเลียมในแปลงสำรวจที่รัฐบาลยินยอมให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธินำมาใช้เป็นเกณฑ์คำนวณเพื่อลดการเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษค่าคงที่ดังกล่าวนี้ รัฐมนตรีจะได้ประกาศกำหนดในการเปิดให้สัมปทานและระบุไว้ในสัมปทาน โดยคำนึงถึงสภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ และสถิติค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกับแปลงสำรวจที่เกี่ยวข้อง ประกาศค่าคงที่ดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขสำหรับการเพิ่มค่าคงที่ในกรณีโครงสร้างที่มีสภาพทางธรณีวิทยาที่ไม่เอื้ออำนวยไว้ด้วยก็ได้
(ค) ความลึกสะสมรวมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทั้งหมดซึ่งผู้รับสัมปทานได้เจาะในแปลงสำรวจ ได้แก่ ผลรวมของความลึกเป็นเมตรตามแนวหลุมของหลุมเจาะปิโตรเลียมทุกหลุมซึ่งผู้รับสัมปทานได้เจาะในแปลงสำรวจนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นประกอบกิจการปิโตรเลียม จนถึงวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ โดยให้รวมความลึกของหลุมเจาะที่ผู้รับสัมปทานได้เจาะตามวิธีการสำรวจ อนุรักษ์และผลิตปิโตรเลียมที่ดี แม้ว่าจะไม่มีการผลิตปิโตรเลียมจากหลุมดังกล่าว แต่ไม่ให้รวมหลุมเจาะที่ได้มีการผลิตปิโตรเลียมไปแล้วเป็นปริมาณเกินกว่าหนึ่งแสนบาเรลและเป็นหลุมเจาะที่ผู้รับสัมปทานได้ทำการสละหลุมนั้นแล้ว

มาตรา ๑๐๐ สัตต เพื่อประโยชน์ในการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามความในหมวดนี้ ให้ผู้รับสัมปทานยื่นแบบแสดงรายการเพื่อคำนวณการเสียผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษสำหรับแปลงสำรวจแต่ละแปลงตามกำหนดระยะเวลาและตามแบบที่อธิบดีกำหนด โดยแสดงรายการครบถ้วนตามแบบนั้นและยื่นเอกสารประกอบตามที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ นับแต่ผู้รับสัมปทานเริ่มต้นประกอบกิจการปิโตรเลียมเป็นต้นไป
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๑ มาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ มาตรา ๙๕ มาตรา ๙๖ และมาตรา ๙๘ มาใช้บังคับกับการประเมินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษและเงินเพิ่มในกรณีที่มิได้ชำระผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษภายในกำหนดเวลา

มาตรา ๑๐๐ อัฏฐ ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามหมวดนี้ ให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจค้น ตรวจสอบ หรือยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นใดซึ่งเกี่ยวกับรายได้หรือรายจ่ายในการประกอบกิจการปิโตรเลียม

หมวด ๘
บทกำหนดโทษ
                  

มาตรา ๑๐๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงออกตามมาตรา ๑๔ (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๑๐๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๔ ผู้รับสัมปทานผู้ใดผลิตปิโตรเลียมโดยมิได้รับอนุมัติจากอธิบดี ตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา ๑๐๔ ทวิ ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ยื่นแผนการผลิตปิโตรเลียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๔๒ ทวิ วรรคหนึ่งหรือไม่แจ้งผลการทบทวนแผนการผลิตปิโตรเลียมเป็นรายปีตามมาตรา ๔๒ ทวิ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกวันละห้าพันบาทจนกว่าผู้รับสัมปทานจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๑๐๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่แสนบาท

มาตรา ๑๐๖ ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๗ ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ มาตรา ๗๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๑๐๘ ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๐๙ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา ๑๐๙ ทวิ ผู้ใดขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา ๑๐๐ อัฏฐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๑๑๐ ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ นำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง หรือกระทำการใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาคหลวงหรือผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา ๑๑๑ บรรดาปิโตรเลียม เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้มา ได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๔ หรือมาตรา ๑๐๕ ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดนั้น

บทเฉพาะกาล
                  

มาตรา ๑๑๒ บทบัญญัติเกี่ยวกับการสำรวจปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การสำรวจหาแหล่งน้ำมันแร่ดิบตามสัญญาที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*ทำไว้ก่อนวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๗

มาตรา ๑๑๓ ภายในหกเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ชังคับ ให้ผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียม และผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ออกให้ตามสัญญาปิโตรเลียมที่ทำไว้ก่อนวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ ดำเนินการขอสัมปทานให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีมีอำนาจให้สัมปทานแก่ผู้ขอสัมปทานตามวรรคหนึ่งโดยสัมปทานนั้นจะมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาปิโตรเลียมซึ่งได้กล่าวถึงในวรรคหนึ่ง และสัมปทานนั้นให้นับระยะเวลาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในสัมปทานย้อนหลังไปจนถึงวันออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียมและประทานบัตรทำเหมืองปิโตรเลียม และให้อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียมและประทานบัตรทำเหมืองปิโตรเลียมนั้นสิ้นอายุในวันที่รัฐมนตรีให้สัมปทาน
ในกรณีที่มิได้มีการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียมหรือผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองปิโตรเลียม แล้วแต่กรณี สละสิทธิ และให้อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียม หรือประทานบัตรทำเหมืองปิโตรเลียมนั้นสิ้นอายุในวันครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง แต่ผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียม หรือผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองปิโตรเลียมนั้นยังคงต้องรับผิดตามสัญญาปิโตรเลียม


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรี


อัตราค่าธรรมเนียม
                  

(๑) คำขอสัมปทาน                                  ฉบับละ ๕๐,๐๐๐         บาท
(๒) ค่าสงวนพื้นที่แต่ละแห่ง
เศษของตารางกิโลเมตร ให้คิด                ตารางกิโลเมตรละ
ค่าธรรมเนียมตามอัตราส่วน                   ๒๐๐,๐๐๐          บาท ต่อปี
(๓) ค่ารังวัด ตามความยาวของระยะที่วัด
กิโลเมตรหรือเศษของกิโลเมตรละ                          ๕๐๐                   บาท
(๔)   ค่าหลักเขตบนพื้นดิน                           หลักละ ๑,๐๐๐           บาท

admin 2013-01-29 11:01
บัญชีอัตราค่าภาคหลวง
                  

ร้อยละของมูลค่าปิโตรเลียม
ที่ขายหรือจำหน่ายในรอบเดือน

ขั้นที่ ๑ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาเรล                                                               ๕
ขั้นที่ ๒ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาเรล
แต่ไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาเรล                                             ๖.๒๕
ขั้นที่ ๓ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาเรล
แต่ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาเรล                                             ๑๐
ขั้นที่ ๔ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาเรล
แต่ไม่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ บาเรล                                             ๑๒.๕
ขั้นที่ ๕ ปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขาย
หรือจำหน่ายได้ในรอบเดือน
ส่วนที่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ บาเรล                                             ๑๕
ปริมาณปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่ายในรอบเดือน หมายถึงปริมาณปิโตรเลียมทั้งหมดทุกชนิดที่ผู้รับสัมปทานขายหรือจำหน่ายได้ในเดือนนั้น
เพื่อประโยชน์ในการกำหนดปริมาณปิโตรเลียม ให้ถือว่าปริมาณความร้อนของก๊าซธรรมชาติจำนวนสิบล้าน บี ที ยู มีค่าเทียบเท่าปริมาณปิโตรเลียมหนึ่งบาเรล


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมภายใต้มาตรการควบคุมที่เหมาะสม เพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่รัฐผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมและประชาชน แต่ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการนี้โดยเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๑ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

ข้อ ๑ ในกรณีที่มีเอกชนลงทุน หรือร่วมทุนกับกรมการพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม เพื่อทำการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ที่กรมการพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม ได้รับมอบหมายให้ทำการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ให้นำบทบัญญัติในหมวด ๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งว่าด้วยประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้รับสัมปทานมาใช้บังคับแก่เอกชนผู้ลงทุนหรือร่วมทุน เสมือนเอกชนผู้ลงทุนหรือร่วมทุนนั้นเป็นผู้รับสัมปทานตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ด้วย

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลได้พิจารณาเห็นสมควรส่งเสริมให้มีการสำรวจปิโตรเลียมในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตร แต่การสำรวจในบริเวณดังกล่าวต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการสำรวจบนบกหรือในทะเลที่มีน้ำลึกไม่เกินสองร้อยเมตรเป็นจำนวนมาก และในการนี้ผู้ขอสัมปทานจำเป็นจะต้องได้รับสัมปทานให้ดำเนินการในแปลงสำรวจที่มีพื้นที่กว้างใหญ่พอสมควรจึงจะคุ้มกับการเสี่ยงในการลงทุนสำรวจ แต่พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ มีบทบัญญัติจำกัดมิให้ผู้ขอสัมปทานได้รับสัมปทานเกินห้าแปลงสำรวจ หรือมีพื้นที่รวมกันเกินห้าหมื่นตารางกิโลเมตร ทำให้ผู้ซึ่งได้รับสัมปทานแล้วอาจหมดสิทธิที่จะเข้าประมูลแข่งขันกันเพื่อขอรับสัมปทานสำหรับแปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตรโดยปริยาย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวโดยมิให้ใช้บทบัญญัติจำกัดเช่นนั้นแก่ผู้ขอสัมปทานสำหรับแปลงสำรวจในทะเลที่มีน้ำลึกเกินสองร้อยเมตร และลดอัตราส่วนของพื้นที่แปลงสำรวจที่ต้องคืนเมื่อครบห้าปีแรกนับแต่วันได้รับสัมปทานให้น้อยลงเพื่อให้ผู้รับสัมปทานมีพื้นที่แปลงสำรวจเหลือมากขึ้นสำหรับสำรวจเพิ่มเติมในระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมช่วงต่อไป และลดค่าภาคหลวงให้อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันขอสัมปทานอย่างกว้างขวางและเป็นการจูงใจให้มีผู้ขอสัมปทานดำเนินการสำรวจในบริเวณดังกล่าวมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๒

มาตรา ๙ บทบัญญัติมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนสิทธิตามสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ได้ออกไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ในส่วนที่ว่าด้วยการต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม การต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม การปฏิบัติตามข้อผูกพันในการสำรวจปิโตรเลียม และการเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับการสำรวจปิโตรเลียมยังไม่รัดกุม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒

มาตรา ๓๓  ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน

มาตรา ๓๔ ให้เพิ่มบัญชีอัตราค่าภาคหลวงท้ายพระราชบัญญัตินี้เป็นบัญชีอัตราค่าภาคหลวงท้ายพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔

มาตรา ๓๕  เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานได้รับความยินยอมจากรัฐมนตรีตามมาตรา ๓๖ บรรดาบทบัญญัติทั้งหลายนอกจากบทบัญญัติว่าด้วยค่าธรรมเนียมอันเป็นค่ารังวัดและค่าหลักเขตบนพื้นดินแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่ผู้รับสัมปทานสำหรับสัมปทานที่ได้ออกให้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับผู้รับสัมปทานดังกล่าว

มาตรา ๓๖ ผู้ที่ได้รับสัมปทานอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิยื่นคำขอเพื่อให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่แปลงสำรวจที่ยังมิได้มีการผลิตและขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับได้ การยื่นคำขอให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ และในการนี้ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ พร้อมทั้งบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ มาใช้บังคับกับแปลงสำรวจนั้นทุกมาตรา เว้นแต่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ขนาดพื้นที่แปลงสำรวจตามสัมปทานและการคืนพื้นที่ โดยให้ผู้รับสัมปทานยังคงมีสิทธิเช่นเดิม ตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
การยื่นหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออธิบดีแล้ว ให้ผู้รับสัมปทานทำความตกลงกับรัฐบาลเกี่ยวกับการกำหนดค่าลดหย่อนพิเศษและการแสดงรายการเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามบทบัญญัติในหมวด ๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ โดยดำเนินการตามระเบียบที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดในการดำเนินการทำความตกลงดังกล่าว ให้ผู้รับสัมปทานทำความตกลงเบื้องต้นกับกรมทรัพยากรธรณีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ ถ้าไม่สามารถทำความตกลงเบื้องต้นดังกล่าวได้ภายในกำหนดเวลา ให้ถือว่าคำขอนั้นไม่มีผลเว้นแต่รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปได้ตามความจำเป็นแต่ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอ
ความตกลงกับรัฐบาลจะมีผลต่อเมื่อรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีให้ความยินยอมแก่ผู้รับสัมปทานที่ได้ยื่นคำขอตามมาตรานี้ และเมื่อรัฐมนตรีให้ความยินยอมแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานทราบ
ให้แปลงสำรวจในสัมปทานที่ผู้รับสัมปทานได้ขอใช้สิทธิและได้รับความยินยอมจากรัฐมนตรีตามมาตรานี้ อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้กับพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๒ ตั้งแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับหนังสือแจ้งความยินยอมของรัฐมนตรีตามวรรคสาม และให้สัมปทานเดิมของผู้รับสัมปทานยังคงใช้บังคับได้ไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะได้มีการออกสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อไปและในกรณีที่ผู้รับสัมปทานที่ยื่นคำขอเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานในแปลงสำรวจบนบกในระหว่างวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ ถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้รับสัมปทานดังกล่าวพ้นจากเงื่อนไขการชำระผลประโยชน์รายปีและโบนัสรายปีตามที่กำหนดในสัมปทาน
การเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับสัมปทานตามพระราชบัญญัตินี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนใด ๆ ที่ผู้รับสัมปทานได้เสียหรือจะต้องเสียให้แก่รัฐบาลตามที่กำหนดไว้ในสัมปทานเดิม ก่อนวันที่สัมปทานเดิมจะสิ้นสุดลงตามวรรคสี่ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากรัฐบาล

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันหลายประการ เนื่องจากในขณะที่ตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับปิโตรเลียมในประเทศไทยไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นได้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากขึ้นและได้ข้อมูลทางธรณีวิทยาของประเทศมากขึ้นจนอาจบ่งชี้ได้ว่า แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยส่วนใหญ่น่าจะมีขนาดเล็ก (Marginalfield) นอกจากนี้ สภาพการณ์เกี่ยวกับปิโตรเลียมในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบใหม่ในภูมิภาคเดียวกันกับประเทศไทย และในด้านราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำลง เป็นเหตุให้การลงทุนสำหรับการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศไม่ขยายตัวเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อจูงใจให้การสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องอันจะช่วยให้การนำทรัพยากรปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ได้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนเพื่อปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งปรับปรุงมาตรการในการเร่งรัดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อให้ผู้รับสัมปทานที่เคยได้รับยกเว้นภาษีการค้า ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕

มาตรา ๗๗ ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” คำว่า “ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “ปลัดกระทรวงพลังงาน” คำว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ” และคำว่า “อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี” เป็น “อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ”

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการปิโตรเลียมขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๒๓ บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง เงื่อนไข หรือข้อผูกพันที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง เงื่อนไข หรือข้อผูกพันที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม โดยข้อเท็จจริงที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศส่วนใหญ่เป็นแหล่งขนาดเล็ก หรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมากและแหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งเริ่มมีกำลังการผลิตลดต่ำลง ทำให้ผู้ประกอบการปิโตรเลียมมีความเสี่ยงในการลงทุนสูง ไม่จูงใจผู้ประกอบการให้ทำการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติมจากแหล่งปิโตรเลียมในสัมปทานทำให้ประเทศเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในการนำทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ กฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน อีกทั้งการพิจารณาอนุมัติและอนุญาตของรัฐเกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีกระบวนการหลายขั้นตอน ตลอดจนในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเดียวกันและใกล้เคียงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศของตน เพื่อดึงดูดนักลงทุนซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการปิโตรเลียมข้ามชาติกลุ่มเดียวกัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความคล่องตัวในการดำเนินการ และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.032339 second(s),query:3 Gzip enabled

You can contact us