เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555 --]

งานราชการ แนวข้อสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ธกส -> แนวข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ กฎหมาย พรบ.ต่างๆ -> แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555 [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2012-07-06 18:53

แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555

  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

ก. 11 มกราคม พ.ศ. 2555 ค. 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ข. 22 มกราคม พ.ศ. 2555 ง. 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ตอบ ค. 25 มกราคม พ.ศ. 2555

  1. ข้อใดคือผู้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ข. นายกรัฐมนตรี

ค. รองนายกรัฐมนตรี

ง. เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี

ตอบ  ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

  1. ข้อใดไม่ใช่หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง

ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ข. ปลัดทบวง

ค. เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี

ง. รองปลัดกระทรวงผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ

ตอบ ค. เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี

ข้อ5 ในระเบียบนี้

ปลัดกระทรวงให้หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดทบวง และรองปลัดกระทรวงผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ

  1. ข้อใดคือหัวหน้าสวนราชการ

ก. อธิบดี 

ข. เลขานุการรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสำนักงานรัฐมนตรี

ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด

ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ5 ในระเบียบนี้

หัวหน้าส่วนราชการหมายความว่า อธิบดี หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีฐานะเป็นอธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดและให้หมายความรวมถึงเลขานุการรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสำนักงานรัฐมนตรีด้วย”

  1. ในกรณีที่จะลาติดตามคู่สมรสไปยังต่างประเทศได้นั้น คู่สมรสต้องไปทำงานในต่างประเทศเป็นระยะเวลากี่ปีขึ้นไป

ก. 1 ปี ค. 3 ปี

ข. 2 ปี ง. 4 ปี

ตอบ ก. 1 ปี

  1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการลาทุกประเภทที่มีการกำหนดการลาไว้เป็นพิเศษ

ก. ผู้ลาต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการลาประเภทนั้นด้วย

ข. ผู้อนุญาตต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการลาประเภทนั้นด้วย

ค. ผู้ลาและผู้อนุญาตปฏิบัติตามข้อกำหนดในการลาตามปกติ

ง. ถูกทั้ง ก และ 

ตอบ  ง. ถูกทั้ง ก และ 

  1. การลาต้องเสนอใบลาต่อส่วนใด

ก. ผู้บังคับบัญชา

ข. ผู้บังคับบัญชาสูงสุด

ค. ผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต

ง. หัวหน้าฝ่าย

ตอบ ค. ผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต

  1. ข้าราชการได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ ณ หน่วยงานอื่นต้องการลาคลอดบุตร ต้องขออนุญาตที่หน่วยงานใด

ก. หน่วยงานต้นสังกัด

ข. หน่วยงานที่ไปช่วยราชการ

ค. สำนักงาน ก.พ.

ง. ถูกทั้ง ก และ ข

ตอบ ข. หน่วยงานที่ไปช่วยราชการ

  1. หน่วยงานต้องส่งรายงานการลาของข้าราชการที่มาช่วยราชการต่อหน่วยงานต้นสังกัดอย่างน้อยปีละกี่ครั้ง

ก. 3 ครั้ง ค. 1 ครั้ง

ข. 2 ครั้ง ง. ไม่ต้องรายงาน

ตอบ ค. 1 ครั้ง

ข้อ 9 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ ณ หน่วยงานอื่นใดของทางราชการ

หากประสงค์จะลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน หรือลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลในระหว่างเวลาที่ไปช่วยราชการ ให้เสนอขออนุญาตลาต่อผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่ไปช่วยราชการ แล้วให้หน่วยงานนั้นรายงานจำนวนวันลาให้หน่วยงานต้นสังกัดของผู้นั้นทราบอย่างน้อยปีละครั้ง

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


admin 2013-02-16 20:42
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการพ.ศ.๒๕๕๕
๑.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๕ มีผลบังคับใช้วันที่ ๒๕ มกราคม๒๕๕๕
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
๒.ผู้มีอำนาจการลาไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ หากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนให้เสนอใบลาต่อผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปพิจารณา
- การลาในช่วงก่อนและหลังวันหยุดราชการประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการประจำปีเพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันให้ผู้มีอำนาจใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสม
๓.การนับวันลานับตามปีงบประมาณ
- การนับวันลาให้นับต่อเนื่องกันรวมวันหยุดราชการที่อยู่ระหว่างวันลาประเภทเดียวกันยกเว้น 
ลาป่วย  ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร   ลากิจส่วนตัว   ลาพักผ่อน  นับเฉพาะวันทำการ
- การลาป่วยหรือลากิจส่วนตัวต่อเนื่องกันในปีงบประมาณเดียวกันหรือไม่ก็ตาม นับเป็นหนึ่งครั้ง
- การลาไปช่วยเหลือภริยา ลากิจส่วนตัว(ไม่ใช่ลากิจเลี้ยงดูบุตร) ลาพักผ่อนหากมีราชการจำเป็นผู้บังคับบัญชามีอำนาจเรียกกลับมาปฏิบัติราชการระหว่างลาได้ และถือว่าให้สิ้นสุดวันลาก่อนวันกลับมาปฏิบัติราชการแต่ถ้าผู้มีอำนาจเห็นว่าการเดินทางต้องใช้เวลา ให้ถือว่าสิ้นสุดก่อนวันเดินทางกลับ
- การลาครึ่งวันเช้าบ่ายนับเป็นการลาครึ่งวัน
- การยกเลิกวันลาการลาสิ้นสุดก่อนวันมาปฏิบัติราชการ
๔. การควบคุมการลา
- จัดทำบัญชีลงเวลาปฏิบัติราชการ
- เครื่องบันทึกเวลาการปฏิบัติราชการ
- แบบอื่นตามที่เห็นสมควรได้
๕.การลาต้องใช้ใบลาตามแบบที่กำหนดเว้นกรณีเร่งด่วนจำเป็นใช้วิธีการอื่นได้แต่ต้องส่งใบลาตามแบบในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
ส่วนราชการอาจนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการเสนออนุญาต และยกเลิกวันลา สำหรับวันลาป่วย ลาพักผ่อน ลากิจส่วนตัว(เว้นลากิจเลี้ยงดูบุตร)
๖.การไปต่างประเทศระหว่างการลาหรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ (ผวจ.)  แล้วรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบด้วย
๗.การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทยผู้ว่าราชการจังหวัดอนุญาตได้ไม่เกิน ๗ วันนายอำเภอท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อประเทศนั้นอนุญาตได้ไม่เกิน  ๓  วัน
๘.ข้าราชการที่ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษให้รีบรายงานพฤติการณ์ปัญหาอุปสรรคต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ (ผวจ.)ทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ แล้วไม่ต้องนับเป็นวันลา แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นพฤติการณ์พิเศษให้ถือวันวันที่ไม่มาเป็นวันลากิจส่วนตัว
๙.. การลาแบ่งออกเป็น  ๑๑  ประเภทคือ   
๑. การลาป่วย   
๒. การลาคลอดบุตร
๓.การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
๔ การลากิจส่วนตัว
๕. การลาพักผ่อน
๖. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
๗. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล๘. การลาไปศึกษาฝึกอบรม ปฏิบัติงานวิจัย หรือดูงาน
๙. การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ๑๐. การลาติดตามคู่สมรส
๑๑.การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
๑๐. การลาป่วย
- เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลาดยกเว้นจำเป็น เสนอวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ในกรณีที่ข้าราชการผู้ขอลามีอาการป่วย จนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้อื่นลาแทนได้แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้วให้เสนอใบลาโดยเร็ว
- การลาป่วย ๓๐ วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์
- การลาป่วยไม่ถึง ๓๐ วัน ถ้าผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นสมควรให้เสนอใบรับรองแพทย์ประกอบการลาหรือสั่งให้ไปตรวจร่างกายประกอบการพิจารณาอนุญาตได้
๑๑ การลาคลอดบุตร (ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์)
- เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลาถ้าลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลาแทนได้ เมื่อลงชื่อได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว
- ลาในวันที่คลอด ก่อนหรือหลังคลอดก็ได้แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน ๙๐ วัน
- ลาไปแล้วยังไม่คลอดยกเลิกวันลาคลอดบุตรได้ ให้นับวันที่หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจ
- การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวการลาประเภทอื่นให้ถือว่าวันลานั้นสิ้นสุดลง และนับเป็นวันลาคลอดบุตรนับแต่วันลาคลอดบุตร
๑๒การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร (ที่ชอบด้วยกฎหมาย)
- เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่คลอดบุตรลาครั้งหนึ่งติดต่อกันไม่เกิน ๑๕ วันทำการ
-ผู้มีอำนาจอนุญาตอาจให้แสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาได้
๑๓. การลากิจส่วนตัว
- เสนอใบลาจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
-ถ้ามีเหตุจำเป็น เสนอแล้วระบุสาเหตุ แล้วหยุดราชการไปก่อนได้แต่ต้องรีบชี้แจงโดยเร็ว
- ถ้าไม่สามารถเสนอใบลาได้ให้ส่งใบลาพร้อมเหตุผลความจำเป็นในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ลากิจส่วนตัวต่อเนื่องจากลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน๑๕๐ วันทำการ
๑๔. การลาพักผ่อน
- เสนอใบลาจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
- ลาได้ปีงบประมาณละ ๑๐ วันทำการ
-ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง ๖เดือนไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีที่บรรจุ
-ปีใดที่ไม่ได้ลา หรือลาแต่ไม่ครบ ๑๐ วันให้สะสมวันที่ยังไม่ได้ลารวมกับปีต่อๆ ไปได้แต่รวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันแล้วไม่เกิน ๒๐ วันทำการ ถ้ารับราชการไม่น้อยกว่า๑๐ ปี สะสมไม่เกิน ๓๐ วันทำการ
ปีแรก ลาพักผ่อน ๕ วัน เหลือ ๕ วัน      
ปีที่สอง สิทธิลา ๑๐ วัน สะสม ๕ วัน รวม๑๕ วัน   ลาพักผ่อน  ๔  วันเหลือ ๑๑ วัน
ปีที่สาม สิทธิลา ๑๐ วัน สะสม ๑๐ วัน(รับราชการไม่ถึง ๑๐ ปี)  รวม ๒๐ วัน
สะสม ๑๑ วัน (รับราชการไม่น้อยกว่า ๑๐ปี) รวม ๒๑ วัน
๑๕.การลาไปอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- เสนอใบลาก่อนวันอุปสมบทหรือวันเดินทาง ไม่น้อยกว่า๖๐ วัน ถ้าไม่ทันให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต
- ต้องอุปสมบทหรือเดินทาง ภายใน ๑๐วันนับแต่วันเริ่มลา และรายงานตัวภายใน ๕ วันนับแต่วันที่ลาสิกขาหรือวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย ทั้งนี้นับรวมอยู่ในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตการลา
- ถ้ามีอุปสรรคยกเลิกวันลาและให้นับวันที่หยุดราชการไปแล้วเป็นลากิจส่วนตัว
๑๖.การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
- หมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกภายใน๔๘ ชั่วโมง
- หมายเรียกเข้ารับการเตรียมพลรายงานต่อผู้บังคับบัญชาภายใน ๔๙ ชม. นับแต่เวลารับหมายเรียก
-รายงานลาแล้วไปเข้ารับการตรวจเลือกโดยไม่ต้องรออนุญาต ผู้บังคับบัญชารายงานผวจ.ทราบ
- รายงานตัวกลับเข้ารับราชการภายใน ๗ วัน
๑๗. การลาไปศึกษาฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน (ทั้งในประเทศและต่างประเทศ)
- เสนอใบลาตามลำดับจนถึง อธิบดีเพื่อพิจารณาอนุญาต แล้วรายงานปลัดกระทรวงทราบ
๑๘.การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
-เสนอใบลาตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาอนุญาต(นับเวลาเต็มเวลาราชการ)
- ลาไม่เกิน ๑ ปี รายงานตัวภายใน ๑๕วันนับแต่วันครบกำหนดเวลา และรายงานผลภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติราชการ
๑๙. การลาติดตามคู่สมรส
-เสนอใบลาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงเพื่อพิจารณาอนุญาต
- ลาได้ไม่เกิน ๒ ปี จำเป็นลาต่อได้อีก ๒ปี รวมแล้วต้องไม่เกิน ๔ ปี ถ้าเกิน ๔ ปีให้ลาออก
๒๐.การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
-ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการจนทุพพลภาพหรือพิการ
-ลาไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
-ลาได้ครั้งหนึ่งตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน ๑๒เดือน
-ได้รับอันตรายเพราะเหตุอื่นจนทุพพลภาพหรือพิการ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ (อธิบดี,ผวจ.) เห็นว่ายังรับราชการได้สามารถลาไปอบรบหลักสูตรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ แต่ไม่เกิน ๑๒เดือน
- ต้องเป็นหลักสูตที่ส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐองค์กรการกุศลอันเป็นสาธารณะ สถาบันที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของทางราชการเป็นผู้จัดหรือร่วมจัด
- เสนอใบลาพร้อมหลักฐานเกี่ยวกับหลักสูตรที่จะลา เอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการเพื่อไปฟื้นฟูได้ (อธิบดี อนุญาตได้ไม่เกิน ๖เดือน, ปลัดกระทรวง,รมต.ไม่เกิน ๑๒ เดือน)
๒๑.ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต
ผู้ว่าราชการจังหวัด   ลาป่วยครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๒๐ วันลากิจส่วนตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน ๔๕ วัน ลาคลอดบุตร ลาไปช่วยเหลือภริยาฯ  ลาพักผ่อน ลาเข้ารับการตรวจเลือกฯ
พัฒนาการจังหวัด นายอำเภอ  ลาป่วยครั้งหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วันลากิจส่วนตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน ๓๐ วัน        ลาคลอดบุตร ลาพักผ่อน
พัฒนาการอำเภอ ลาป่วยครั้งหนึ่งไม่เกิน ๓๐วัน ลากิจส่วนตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๕ วัน

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

admin 2013-02-16 20:44
ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ  พ.ศ.2555

1.   ข้อใดกล่าวสอดคล้องเกี่ยวกับ  ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ  พ.ศ.2555
ก.   ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 23  มกราคม พ.ศ. 2555
ข.   ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24  มกราคม พ.ศ. 2555
ค.   ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25  มกราคม พ.ศ. 2555
ง.   ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26  มกราคม พ.ศ. 2555
2.   ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการปี  2555  มีผลใช้บังคับเมื่อใด
ก.   23    ม.ค.    2555
ข.   24    ม.ค.    2555
ค.   25    ม.ค.    2555
ง.   26    ม.ค.    2555
3.   จากข้อ  2  ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ก.   นายกรัฐมนตรี
ข.   ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค.   เลขาธิการ ก.พ.
ง.   ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.   ข้อใดกล่าวผิดตามระเบียบว่าด้วยการลาปี  พ.ศ.2555
ก.   ลากิจธุระ
ข.   ลาติดตามคู่สมรส
ค.   ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
ง.   ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
5.   ข้อใดกล่าวผิด
ก.   ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาคลอดบุตร  ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว  ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว  โดยไม่ต้องมีใบรับรองของแพทย์
ข.   การลาคลอดบุตรจะลาในวันที่คลอด  ก่อน  หรือหลังวันที่คลอดบุตรก็ได้  แต่เมื่อรวมวันลาแล้วต้องไม่เกิน 90  วัน
ค.   ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตรและได้หยุดราชการไปแล้ว  แต่ไม่ได้คลอดบุตรตามกำหนด  หากประสงค์จะขอยกเลิกวันลาคลอดบุตรที่หยุดไป  ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ยกเลิกวันลาคลอดบุตรได้  โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจธุระ
ง.   การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดซึ่งไม่ครบกำหนดวันลาของการลาประเภทนั้น  ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง  และให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันที่เริ่มลาคลอดบุตร
6.   ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
    ก.  ให้ข้าราชการที่ประสงค์จะลาไปช่วยเหลือภริยาโดยชอบด้วยกฏหมายที่คลอดบุตรให้จัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลาภายใน  60  วันนับแต่วันที่คลอดบุตร
    ข.   ให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน  16 วันทำการ
    ค.   ให้มีสิทธิ์ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน   30   วันทำการ
     ง.   ไม่มีข้อใดกล่าวถูก      
7.    ข้อใดกล่าวสอดคล้องเกี่ยวกับข้าราชการที่ลาไปปฎิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
   ก.   มีระยะเวลาไม่เกิน   1   ปี
   ข.   มีระยะเวลาไม่เกิน   2   ปี
   ค.   มีระยะเวลาไม่เกิน   3   ปี
   ง.    มีระยะเวลาไม่เกิน   4   ปี
8.   จากข้อ  7   เมื่อปฎิบัติงานเสร็จแล้ว   ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายในข้อใด
   ก.   ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน   10   วัน  และรายงานผลเกี่ยวกับการลา ไปปฏิบัติงานให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน    15   วัน
   ข.   ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน   15   วัน  และรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน    30   วัน
   ค.  ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน   20   วัน  และรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน    45   วัน
   ง.  ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน   30   วัน  และรายงานผลเกี่ยวกับการลาไป
ปฏิบัติงานให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน    60   วัน
9.   ข้าราชการที่ประสงค์จะลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ  ข้อใดต่อไปนี้กล่าวสอดคล้อง  
    ก.  มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน  60   วัน
   ข.   มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรที่ประสงค์จะลา  แต่ไม่เกิน  6  เดือน
   ค.  มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา  แต่ไม่เกิน  120   วัน
   ง.   มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา  แต่ไม่เกิน  12   เดือน
10 .    ข้าราชการมาสายกี่ครั้งจึงจะถือว่ามาสายบ่อยครั้ง
ก.    10 ครั้ง              ข.    11  ครั้ง              ค.  12  ครั้ง      ง. 13 ครั้ง
11.     ข้าราชการลาป่วย  ลากิจ  กี่ครั้งขึ้นไปจึงจะถือว่าลาบ่อยครั้ง
ก.   10  ครั้ง              ข. 11  ครั้ง              ค. 12  ครั้ง          ง. 13  ครั้ง
12.    ข้าราชการลากิจ ลาป่วย รวมกันได้ไม่เกินกี่วัน จึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ก.   21 วัน              ข.  22 วัน            ค. 23 วัน          ง. 24 วัน
13.    การลาของข้าราชการมีกี่ประเภท
ก.   5 ประเภท          ข. 9  ประเภท                  ค. 10  ประเภท      ง. 11  ประเภท
14.ข้อใดคือผู้มีอำนาจเกี่ยวกับ การตีความ วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการลา
ก.   รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี     ข. นายกรัฐมนตรี  ค.ปลัดสำนักนายรัฐมนตรี    ง. รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
15.การนับวันลาตามระเบียบว่าด้วยการลาปี 2555   เป็นการนับตามข้อใด
ก.   ตามปีปฏิทิน         ข. ตามปีงบประมาณ    ข.   ตามปีชนปี            ง. ตามหน่วยงานต้นสังกัดกำหนด
16. เพื่อเป็นการควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการลาปี  2555 ลักษณะการจะดำเนินการอย่างไรจึงจะชอบด้วยระเบียบ
ก.   จัดทำบัญชี ลง เวลา ปฏิบัติราชการ          ข. ใช้เครื่องบันทึกเวลาปฏิบัติราชการ
ข.   ผู้บริหารจะกำหนดแบบใดก็ได้              ง.  ถูกทุกข้อ
17.นายอำเภอ แม่สาย  สามารถอนุญาตให้ข้าราชการครูไปต่างประเทศ คือ ประเทศพม่า  จำนวนกี่วัน
ก.   3  วัน                 ข. 7  วัน              ค.   ไม่สามารถอนุญาตได้           ง. ไม่เกิน 3 วัน
18. การลาป่วยจำนวนกี่วัน จึงต้องแนบใบรับรองแพทย์
ก.   25 วัน               ข. 30  วัน           ค.  แล้วแต่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร       ง. ข้อ ข และ ค
19.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้องในการปฏิบัติการลาคลอดบุตร
ก.   ลาครั้งหนึ่งได้  60  วัน  โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
ข.   ลาครั้งหนึ่งได้  90  วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
ค.   ลาครั้งหนึ่งได้  120 วัน  โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
ง.   ลาครั้งหนึ่งได้  80  วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
20.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การลาตามระเบียบว่าด้วยการลา
ก.   ลาป่วย          ข.  ลากิจธุระ       ค.   ลาติดตามคู่สมรส        ง.   ลาไปศึกษาฝึกอบรมดูงาน  หรือปฏิบัติการวิจัย
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

admin 2013-02-16 20:45
ระเบียบฯ ว่าด้วยการลาของข้าราชการ  พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539
44. การลา ตามระเบียบฯ ว่าด้วยการลาของข้าราชการ  พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539
        มี  9 ประเภท  ได้แก่    1. ลาป่วย    2. ลากิจส่วนตัว      3. ลาคลอดบุตร     4.  ลาพักผ่อน      
            5. ลาอุปสมบท   6. ลาตรวจเลือก/ระดมพลทหาร     7. ลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน  
            8.  ลาไปปฏิบัติงานองค์การระหว่างประเทศ            9. ลาติดตามคู่สมรส
45. การลาป่วย  ลาได้ดังนี้
             1. ลาได้ไม่เกิน  120 วันทำการ  เว้นแต่อันตรายจากปฏิบัติหน้าที่
        2.  ลา  30 วันขึ้นไป  ต้องมีใบรับรองแพทย์ (ไม่ถึง  30 วัน ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชา)
46. การลากิจส่วนตัว  ลาได้ดังนี้
      1.  ลาได้ไม่เกิน  45 วันทำการ     2. ลากิจส่วนตัวเลี้ยงดูบุตรให้ลาต่อเนื่องจากการลาคลอดได้ไม่เกิน  150 วันทำการโดยไม่ได้รับเงินเดือน
47. ลาคลอดบุตร    ลาได้ไม่เกิน  90 วัน (นับจากวันเริ่มลาทุกวันแม้วันหยุด)
48. ลาอุปสมบท/พิธีฮัจย์   ไม่เกิน  120 วัน  ส่งใบลาก่อนวันบวช/วันไป ไม่น้อยกว่า  60 วัน ต่อปลัดกระทรวง
49. ลาศึกษาต่อ  ฝึกอบรม  ดูงาน/ลาไปปฏิบัติงานองค์การระหว่างประเทศ/ลาติดจามคู่สมรส  ลาได้ไม่เกิน  4 ปี
50. พัฒนาการอำเภอ  มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในฝ่าย ลาป่วยครั้งที่หนึ่งไม่เกิน  30 วัน  
        ลากิจส่วนตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน  15 วัน
51. นายอำเภอ มีอำนาจให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในส่วนราชการ  ลาได้ดังนี้
         1.  ลาป่วยครั้งหนึ่งไม่เกิน  60 วัน   ลากิจส่วนตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน  30 วัน        2.  ลาคลอดบุตร   3. ลาพักผ่อน
52. ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจให้ข้าราชการในสังกัด ลาได้ ดังนี้
              1.  ลาป่วย  120 วัน , ลากิจ  45 วัน         2.  ลาคลอดบุตร       3. ลาพักผ่อน     4. ลาเข้ารับการระดมพล
53.  การลาพักผ่อน มีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
                 1.  ต้องเข้ารับราชการแล้ว ครบ  6 เดือน
        2.  ลาได้  10 วัน/ปี
        3.  ลาสะสมได้ไม่เกิน  20 วัน/ปี  เว้นแต่รับราชการ  10 ปี มีวันลาสะสมได้ไม่เกิน  30 วัน
54. การนับวันลาตามระเบียบนี้  ให้นับตามปีงบประมาณ
55. การลากิจส่วนตัว, ลาพักผ่อน และลาป่วย ที่มิใช่ลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการ
       ผู้ได้รับอันตราย หรือการเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้นับเฉพาะวันทำการ
56. การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอใน
       ท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ในสังกัดจังหวัด หรืออำเภอนั้น ๆ ไปประเทศนั้นได้ โดย - ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจอนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน
       -นายอำเภอมีอำนาจอนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 3 วัน
57. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ โดยปกติให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
        ตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันลาอุปสมบทหรือก่อนวันเดินทางไปประกอบ
        พิธีฮัจย์ไม่น้อยกว่า 60 วัน แต่ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาได้ ให้ชี้แจงเหตุผลความ
        จำเป็นประกอบการลา และให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้
58. ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือกให้รายงานการลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับ
          การตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง
59. ข้าราชการทีได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง
          นับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไป
60. การลาตามข้อ58,59 ข้าราชการผู้นั้นให้ไปเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
         ตามวัน เวลาในหมายเรียกนั้น โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต
61. การลาติดตามคู่สมรส ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
         ตามลำดับ จนถึงปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการชั้นตรงแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้
         ลาได้ไม่เกิน 2 ปี และในกรณีจำเป็น อาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี ถ้าเกิน 4 ปี ให้ลาออกจาก
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555 --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.040139 second(s),query:2 Gzip enabled

You can contact us