admin |
2010-09-14 10:23 |
ความสามารถด้านภาษาไทย
ความสามารถด้านภาษาไทย ความเข้าใจทางภาษา เป็นการวัดความเข้าใจทางภาษาโดยหาว่าคำใดที่เกี่ยวข้องกันโดยทางใดทางหนึ่ง เช่นความรู้สึก การใช้สอย เป็นต้น ตัวอย่าง แต่ละข้อจะมีคำมาให้คำหนึ่ง ให้หาคำตอบที่เกี่ยวข้องกับคำที่ให้มานี้ในทางใดทางหนึ่ง จาก ก ข ค ง และ จ ๑. ลอย ก. ผอม ข. บาง ค. เบา ง. สูง จ. เล็ก คำตอบคือข้อ ค. จะเห็นได้ว่า คำที่ให้มาคือคำว่า “ลอย” ท่านต้องหาคำที่มีความหมายที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคำว่าลอย “ลอย” ซึ่งในที่นี้ท่านจะเห็นว่า สิ่งที่จะลอยได้ต้องมีน้ำหนัก เบา แบบฝึกหัด ๑. ไกปืน ก. เหนี่ยว* ข. รั้ง ค.กด ง. ดัน จ. ดึง ๒. น้ำจันฑ์ ก. ดื่ม* ข. กิน ค. ทรง ง. พรม จ. เสวย ๓. จาบัลย์ ก. ดีใจ ข. เสียใจ* ค. ตระหนก ง. ตระหนก จ. กรุ้มกริ่ม ๔. แอมแปร์ ก. ไฟฟ้า* ข. สว่าง ค. น้ำหนัก ง. ทรงกลม จ. ความยาว ๕. ซูดซาด ก. มัน ข. ขม ค. เผ็ด* ง. เฝื่อน จ.หวาน ๖. กระโต้งโห่ง ก. จิ่งหรีด ข. นกแก้ว ค. นกยูง * ง. นกเขา จ. เก้ง ๗. ป.ล. ก. ภาษี ข. ทหาร ค. รถยนต์ ง. ออมสิน จ. จดหมาย* ๘. เมตตากรุณา ก. มนุษยชาติ ข.มนุษยธรรม* ค. มนุษยเทพ ง. มนุษยศาสตร์ จ. มนุษย์สัมพันธ์ ๙. อบายมุข ก. เที่ยวกลางคืน* ข. อยุติธรรม ค. หลอกลวง ง. ลักทรัพย์ จ. ข่มขู่ ๑๐. มรณภาพ ก. สัตว์ ข. มนุษย์ ค. พระสงฆ์* ง. ขุนนางผู้ใหญ่ จ. พระมหากษัตริย์ ๑๑. กร้าน ก. ตา ข. ผิว* ค.เล็บ ง. ขนคิ้ว จ.น้ำใจ ๑๒. แสงแดด ก. ไขมัน ข. โปรตีน ค. วิตามินซี ง. วิตามินดี* จ. พิษสุราเรื้อรัง ๑๓. บรรณารักษ ก. สวน ข. เงิน ค. ภาษี ง. หนังสือ* จ. วัตถุโบราณ ๑๔. ขลุ่ย ก. หลัง ข. ด้าม ค. เลา* ง. เรือน จ. เชือก ๑๕. อริยสัจจ์ ก. มุทิตา ข. สมุทัย* ค. เมตตา ง. อุเบกขา จ. สัมมาอาชีวะ ๑๖. จาม ก. มีด ข. จอบ ค. ง้าว ง. ขวาน* จ. ค้อน ๑๗. เทนนิส ก. ตี* ข. ปา ค. ฟาด ง. เหวี่ยง จ. ขว้าง ๑๘. สหัสนัยน์ ก. ปาก ข. เท้า ค. มือ ง. ตา* จ. หู ๑๙. เอสกิโม ก. หนาว* ข. ร้อน ค. แห้ง ง. อุ่น จ. ฝน ๒๐. ปิตุฆาต ก. ทรพี* ข. อิเหนา ค. พระราม ง. พระอภัยมณี จ. พระพุทธเจ้า ***** หมายเหตุ ตำตอบคือดอกจันข้างหลังข้อที่ถูกต้อง***** ความสามารถในการจับใจความ แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านนี้ ตอนแรกจะให้ข้อความซึ่งอาจเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองมาให้ท่านต้องอ่านให้ละเอียด แล้วจึงใช้เนื้อหาที่อ่านไปแล้วตอบคำถาม ข้อควรละวังในการทำข้อสอบแบบนี้ก็คือ ท่านจะต้องใช้เนื้อหาจากข้อความที่กำหนดให้เท่านั้นจะใช้สามัญสำนึก หรือความรู้ หรือประสบการณ์เดิมมาตอบไม่ได้ ตัวอย่าง ข้อความที่กำหนดให้ “เวลาพรุ่งนี้ฝนจะตก ครั้งฝนเหือดแห้ง โจโฉจะมาถึงตำบลนั้น จะหยุดอยู่ให้ทหารหุงข้าวกิน แต่พอเห็นควันเพลิง ก็ให้เร่งทหารออกโจมตีเอา” คำถาม : เหตุใดจึงให้โจมตีเมื่อเห็นควันเพลิง ก. เพราะทหารกำลังพัก ข. เพราะทหารกำลังหิวข้าว ค. เพราะทหารกำลังวางอาวุธ ง. เพราะควันบังมิให้ทหารเห็น จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า ท่านต้องอ่านข้อความเสียก่อน แล้วตีความที่ให้มานั้นว่าเป็นอย่างไร ในตัวคำถาม จะเห็นว่าให้ทหาร โจมตีเมื่อมองเห็นควันเพลิง ทำไมจึงต้องให้โจมตีในเวลานั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า เมื่อกองทัพโจโฉหุงข้าวหุงปลาจะเป็นเวลาที่ทหารไม่ได้ระมัดระวังตัว เป็นระยะเวลาที่ทหารกำลังพักหุงข้าวกินกัน จึงอาจประมาทเมื่อโจมตีในเวลานั้นจึงได้เปรียบ ข้อ ค จึงถูก แบบฝึกหัด ข้อความนี้ใช้ตอบข้อง 1-3 ...ฝ่ายขุนช้างหมางจิตให้คิดแค้น ลูกขุนแผนมั่นคงไม่สงสัย เมื่อกระนั้นเหมือนกูครั้นดูไป ก็กลับไพล่เหมือนพ่อไอ้ทรพี........ 1. คำว่า “กู” และ “พ่อ” หมายถึงใคร? ก. ขุนแผน และขุนช้าง ข. ขุนช้างและขุนแผน* ค. ขุนช้างทั้งสองแห่ง ง. ขุนแผนทั้งสองแห่ง 2. คำว่า “ อ้ายทรพี” เป็นคำด่าใคร? ก.ขุนช้าง ข. ขุนแผน ค.ลูกขุนช้าง ง. ลูกขุนแผน* จ. ไม่ได้หมายถึงผู้ใด 3. ข้อความข้างบนนี้ควรเป็นข้อความประเภทใด ก. นึก ข. พูด ค. ด่า* ง. ชม จ. บ่น ข้อความตอนนี้ใช้ตอบข้อ 4-10 “...ซึ่งการจะให้ออกไปเรียนครั้งนี้ มีความประสงค์มุ่งหมายจะให้ได้วิชาความรู้อย่างเดียวไม่ได้หมายมั่นจะให้เป็นเกียรติยศชื่อเสียงอย่างหนึ่งอย่างใด ในชั้นที่ยังเป็นผู้เรียนวิชานี้อยู่เลย เพราะฉะนั้นที่จะไปครั้งนี้อย่าไปถือยศว่าเป็นเจ้า ให้ถือบรรดาศักดิ์ผู้มีตระกูลในกรุงสยาม...” 4. ผู้ที่กล่าวความข้างต้นนี้ ควรจะเป็นอะไรกับผู้เรียน? ก. ปู่ ข. พ่อ* ค. ลุง ง. พี่ จ. เพื่อน 5. ข้อความข้างต้นนี้กล่าวเมื่อตอนใด? ก. ก่อนไปเรียน* ข. ขณะที่กำลังเรียน ค. ก่อนกลับบ้านเกิด ง. กลับถึงบ้านเกิดแล้ว จ. ไม่มีข้อความตอนใดที่จะบอกให้ทราบ 6. จุดประสงค์ในการส่งไปเรียนครั้งนี้มีอย่างไร? ก. ให้มีเกียรติยศชื่อเสียง ข. ให้มีวิชาความรู้ติดตัว* ค. ให้หยิ่งในบรรดาศักดิ์ ง. การเรียนและการไว้เกียรติ จ. การหาชื่อสียงและการถือยศ 7. ข้อความข้างบนนี้เกี่ยวกับเรื่องใด? ก. การไว้ยศและการถือศักดิ์ ข. การเดินทางและการเรียน ค. การเรียนและการปฏิบัติตน* ง. การเรียนและการไว้เกียรติ จ. การหาชื่อสียงและการถือยศ 8. ข้อความข้างบนมีจุดประสงค์อย่างไร? ก. ตำหนิ ข. ปลุกใจ ค.โอวาท* ง. คาดโทษ จ. สุนทรพจน์ 9. ผู้ที่จะไปเรียนควรเป็นบุคคลประเภทใด ก. ขุนนางผู้ใหญ่ ข. บุคคลธรรมดา ค. บุตรของขุนนาง ง. ข้าราชการที่ทำงานดี จ. โอรสของพระเจ้าแผ่นดิน* 10. ผู้ถูกส่งไปเรียน ควรไปเรียน ณ ที่ใด ก. ในอำเภอ ข. ในจังหวัด ค. ต่างจังหวัด ง. ต่างประเทศ* จ. ไม่มีข้อความใดที่ทราบได้ “...เชื่อไหม ครูเคยน้อยใจในอาชีพของครูเป็นที่สุดเพราะอาชีพทำให้พวกเธอและสังคมหวังในตัวครูสูงเกินไป สูงจนไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะขึ้นชื่อว่าครูแล้ว เธอเองและสังคมบังคับให้ทุกอณูของหัวใจครูสร้างขึ้นด้วยธรรมะ ขันติ และความอดกลั้นเป็นเลิศ จงใจขังให้อยู่ในกรอบในโดยเจตนา บังคับให้เป็นแบบฉบับโดยสมบูรณ์ เธอไม่ปฏิเสธใช่ไหมว่าครูทำงานอยู่กับสิ่งที่เลี้ยงยากที่สุด ทำงานอยู่กับสิ่งที่เจ้าตัวของตัวเองยังบังคับไม่ได้ เพราะแรงที่วูบวาบ แปรปรวนขึ้นๆลงๆ อยู่ตลอดเวลา ครูเหมือนสารถีที่ทำให้ม้าพยศทั้งหลายของเธอ โขยกอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งถึงขั้นปฏิญาณไว้ว่า ต่อไปนี้จะไม่มีน้ำรักให้ แต่ไฉนเธอมาตักขอดได้ทุกครั้งไป...” 11. อาชีพที่ผู้เขียนยึดในขณะนั้นคืออาชีพอะไร ก. ครู* ข. ขับรถ ค. ฝึกม้า ง. ตักน้ำ จ. เลี้ยงสัตว์ 12. สิ่งที่เลี้ยงยากที่สุดคืออะไร ก. การปราบม้าพยศ ข. ความประพฤติของครู ค. อดกลั้นต่อความใฝ่สูง ง. การให้คนมีธรรมะ ขันติ* ง. ความประพฤติของนักเรียน 13. ใครเป็นผู้สร้างกรอบการดำเนินชีวิตครู ก. ครูและสังคม ข. ครูและนักเรียน ค. วินัยและสังคม ง. วินัยและนักเรียน จ. นักเรียนและสังคม* 14. คนเขียนไม่เป็นตัวของตัวเองเพราะเหตุใด ก. หลงมัวเมาในความรัก ข. หวังว่าให้เป็นแบบอย่างที่ดี* ค. เอาใจใส่ม้ามากกว่าตนเอง ง. ความแปรปรวนของผู้โดยสาร จ. ถูกจำกัดขอบเขตการพักอาศัย ***** หมายเหตุ ตำตอบคือดอกจันข้างหลังข้อที่ถูกต้อง*****
|
|