เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบบทบาทภารกิจ กตช. ก.ตร. ใช้สอบจ่าดาบ 50 ปี --]

งานราชการ แนวข้อสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ธกส -> แนวข้อสอบตำรวจ 2558 -> แนวข้อสอบบทบาทภารกิจ กตช. ก.ตร. ใช้สอบจ่าดาบ 50 ปี [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2011-09-01 09:12

แนวข้อสอบบทบาทภารกิจ กตช. ก.ตร. ใช้สอบจ่าดาบ 50 ปี

ข้อ 6  ข้อใดหมายถึงข้าราชการตำรวจ”?

 ก. ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ

 ข. บุคคลที่มียศและไม่มียศ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

 ค.  บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย

 ง. บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ

 ตอบ  ค. บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ( มาตรา. 4 ) 

 มาตรา 4   ในพระราชบัญญัตินี้

              “ข้าราชการตำรวจหมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย
                “ประธานกรรมการหมายความว่า ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
                “กรรมการหมายความว่า กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
                “กองทุนหมายความว่า กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
                “กองบัญชาการหมายความรวมถึง  ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบัญชาการด้วย
             “กองบังคับการหมายความรวมถึง ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบังคับการด้วย

 

ข้อ 7 ผู้รักษาการตาม พรบ.นี้ คือใคร

 ก.นายกรัฐมนตรี ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

 ค.รองนายกรัฐมนตรี ง.ผบ.ตร.

 ตอบ   นายกรัฐมนตรี (มาตรา. 5 )

  (มาตรา. 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ )

 

ข้อ 8  พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของบุคคลหรือหน่วยงานใด

 ก.นายกรัฐมนตรี  ข. ประธานรัฐสภา

  ค.วุฒิสภา ง.รัฐสภา

  ตอบ    รัฐสภา

 ( ก่อน ม.1 ระบุว่า ......จึงทรง......ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา)

 

ข้อ 9 คำว่า กองทุน ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 หมายความว่าอะไร?

 ก.กองทุนสำหรับครอบครัวข้าราชการตำรวจ

 ข.กองทุนช่วยเหลืองานสอบสวนคดีอาญา

 ค.กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา

  ง.กองทุนเพื่อการสอบสวนและวิธีพิจารณาความอาญา

  ตอบ  ก.กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ( ม.4 )

 ข้อ 10 ให้.............. รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และมีอำนาจออก...........เพื่อนปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

   ก.นายกรัฐมนตรี / พระกิจจานุเบกษา

   ข.นายกรัฐมนตรี / กฏกระทรวง

   ค. นายกรัฐมนตรี / พระราชกฤษฏีกา

   ง.นายกรัฐมนตรี / ระเบียบ

  ตอบ  ข.นายกรัฐมนตรี / กฏกระทรวง (มาตรา. 5 )

  ( มาตรา. 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ )

 ข้อ 11. panda  ต้องการทราบว่า ข้อใดถูก

 ก.ข้าราชการตำรวจต้องรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนเท่านั้น

  ข.กองบัญชาการ หมายความว่าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ

 ค.กรรมการหมายความว่าคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ

 ง.กองบังคับการหมายความว่าหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ

  ตอบ  ข.กองบัญชาการ หมายความว่าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ( มาตรา. 4)

 ตามมาตรา. 4  ข้าราชตำรวจหมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้ง หรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการส่วนตัวเลือกอื่น

  ค.กรรมการหมายความว่าคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ(ไม่มีคำว่าคณะครับ)

   ง.กองบังคับการหมายความว่าหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ(ต้องตอบว่ากองบังคับการหมายความว่า ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบังคับการด้วย ครับ )

 ข้อ12. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มีทั้งหมดกี่ลักษณะ

 ก. 6 ลักษณะ ข.7 ลักษณะ

 ค. 8 ลักษณะ ง.9ลักษณะ

 ตอบ  ข. 7 ลักษณะ (ข้อนี้ไม่ต้องไปเปิดครับ ดุสารบัญก็พอครับ)

 ข้อ 13 ประธานกรรมการ หมายถึงบุคคลใด ?

 ก. ผบ.ตร.  ข.นายกรัฐมนตรี

 ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

 ง. รอง ผบ.ตร.

  ตอบ  ข้อนี้หลอกครับ อ้าวววว หากท่านเข้าใจจะทราบว่า ไม่มีข้อถูก ตามมาตรา.4  ประธานกรรมการหมายความว่า ประธานนโยบายตำรวจแห่งชาติ แต่หากต้องตอบตามความจริงนะครับต้องตอบตาม ข้อ ข.นายยกรัฐมนตรี มาตราที่ 17 

มาตรา 17  ให้ ก... ประกอบด้วย
                 () นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
                 () กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม ()
       ให้ประธานกรรมการ โดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการ
ตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไปคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก
... และแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก...
       หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม () ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ ก...
       ให้นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา

  ข้อ 14. vonnnnn อยากทราบว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการได้ตามข้อใด

 ก.สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / กองบัญชาการ / กองบังคับการ

  ข.กองบัญชาการ / กองบังคับการ / กองกำกับการ

 ค.สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / กองบัญชาการ

 ง.กองบัญชาการภาคต่าง ๆ / กองบังคับการ / กองกำกับการ / แผนก/งาน

  ตอบ  ค.สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / กองบัญชาการ (มาตรา. 10)

 อ้างจาก มาตรา. 10 สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้

 1 สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 2 กองบัญชาการ 

 การแบ่งส่วนราชการตาม (1) เป็นกองบัญชาการหรือการจัดตั้งกองบัญชาการตาม (2) ให้ตราเป็นพระราชกฤษฏีกา และการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นให้ออกเป็นกฎกระทรวง และให้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในพระราชกฤษฏีกาหรือกฏกระทรวงนั้นแล้วแต่กรณี

  ข้อนี้อย่าสับสนนะครับ เดี๋ยวจะงง ตัวเลือกบางข้อมีกองบังคับการตามมาด้วย ตามวรรค สอง จะมีคำว่ากองบังคับการ มาเกี่ยวด้วย นั่นแยกมาจากกองบัญชาการตามข้อ (2) ครับ ( เช่น ก.สำนั กงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / กองบัญชาการ / กองบังคับการ )ตัดออกไปเลยครับอย่าสนใจ

  ข้อ15.  TheMeng ต้องการทราบว่า ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 ก.ปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดตาม ป.อาญา

 ข.สืบสวนสอบสวนผู้กระทำความผิดตาม ป.วิอาญา

 ค.ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา

 ง. ให้การสนับสนุนกองทัพกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน

 ตอบ  ค.ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา (มาตรา. 6 (3))

        มาตรา สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                () รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
                () ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                () ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
                () รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
                () ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                () ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
                () ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตาม () () () () หรือ () เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
        ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดความผิดทางอาญาขึ้นสำหรับการกระทำใดเป็นการเฉพาะ และตกอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติตาม () () หรือ () จะตราพระราชกฤษฎีกาโอนอำนาจหน้าที่ตาม () () หรือ () เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญาดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นใดก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ให้ข้าราชการตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติพ้นจากอำนาจหน้าที่ดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่

 ข้อ16. ให้ สตช.ส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา....... ฯลฯ.ทั้งนี้การดำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่.............ใครกำหนด ?

 ก. ก.ต.ช.กำหนด ข.ก.ต.ร.

 ค.คณะรัฐมนตรี ง.ผบ.ตร.

 ตอบ  ก. ก.ต.ช.กำหนด (มาตรา.ที่ 7 )

 มาตรา. 7 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ เพื่อป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดทาง อาญา รักษาความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม และความต้องการแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การดำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่ ก.ต.ช.กำหนด )

 ข้อ17. การแบ่งข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วยก็ได้โดยให้ตราเป็น.......?

 ก.พระราชกำหนด  ข.พระราชกฤษฏีกา

 ค.พระราชกิจจานุเบกษา  ง.พระราชบัญญัติ

 ตอบ  ข้อ ข.พระราชกฤษฏีกา (ม.8 )

   มาตรา ข้าราชการตำรวจอาจให้แบ่งเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วยก็ได้ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
          ข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดหรือปฏิบัติหน้าที่ใด จะเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดวิธีการบรรจุ การแต่งตั้ง การดำเนินการทางวินัย การบังคับบัญชา การโยกย้ายระหว่างข้าราชการตำรวจประเภทมียศและข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ รวมตลอดทั้งการปรับยศ และปรับเงินเดือนเมื่อมีการโยกย้ายดังกล่าวและการอื่นตามที่จำเป็นไว้ด้วย
            พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ไม่มีผลกระทบฐานะของข้าราชการตำรวจที่มียศอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

 ข้อ 18. วัน เวลา ทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการ ของข้าราชการตำรวจ?

  ก.ก.ต.ร กำหนด  ข.ผบ.ตร.กำหนด

   ค.ครม.กำหนด   ง.ประธาน ก.ต.ร.กำหนด

  ตอบ  ข้อ ค. ครม.กำหนด (ม.9)

  ( ตาม มาตรา. 9  วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการ ของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ก.ต.ช.จะกำหนดให้ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม วัน เวลา ที่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้ )

 ข้อ 19  กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่.......จะกำหนดให้แตกต่างจากข้อ 18.ก็ได้ ?

 ก.ก.ต.ร กำหนด  ข.ผบ.ตร.กำหนด

 ค.นายกรัฐมนตรี กำหนด   ง. ก.ต.ช.กำหนด

 ตอบ  ง. ก.ต.ช.กำหนด (ม.9)

  (มาตรา. 9  วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการ ของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ก.ต.ช.จะกำหนดให้ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม วัน เวลา ที่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้ )

 ข้อ 20. การแบ่งราชการเป็นกองบังคับการให้ออกเป็น......?

   ก.พระราชกำหนด  ข.พระราชกฤษฏีกา

   ค.พระราชกิจจานุเบกษา  ง.กฏกระทรวง

 ตอบ   ง.กฏกระทรวง(ม.10)

 ( มาตรา.มาตรา. 10 สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้

 1 สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 2 กองบัญชาการ 

 การแบ่งส่วนราชการตาม (1) เป็นกองบัญชาการหรือการจัดตั้งกองบัญชาการตาม (2) ให้ตราเป็นพระราชกฤษฏีกา และการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นให้ออกเป็นกฎกระทรวง และให้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในพระราชกฤษฏีกาหรือกฎกระทรวงนั้นแล้วแต่กรณี

 ข้อ 21 ผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คือผู้ใด?

 ก. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  ข. จเรตำรวจ

 ค. รอง ผบ.ตร. ง. ทุกข้อถูกหมดหากได้รับมอบหมาย

 ตอบ  ก. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ม.11)

 มาตรา 11   สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าส่วนราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                  () รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการที่นายกรัฐมนตรี และ    ... กำหนด รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                 () เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติรองจากนายกรัฐมนตรี
                 () เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
                 () วางระเบียบหรือทำคำสั่งเฉพาะเรื่องไว้ให้ข้าราชการตำรวจหรือพนักงานสอบสวนปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น

 

ข้อ 22  ใครที่เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ได้รองจาก ผบ.ตร.?

  ก.จเรตำรวจ ข.รอง ผบ.ตร.

  ค. ผู้ช่วย ผบ.ตร. ง. ทุกข้อ ถูกต้องแล้ว ครับบบบบ

 ตอบ  ง. ทุกข้อ ถูกต้องแล้ว ครับบบบบ (ม.12)

 (มาตรา. 12 ให้มีจเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือ ผู้ช่วยผุ้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผุ้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ รองจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่ผุ้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดหรือมอบหมาย )

 ข้อ.23 ใครเป็นผู้บังคับบัญชาตำรวจในกองบัญชาการ รองจาก ผู้บัญชาการ?

 ก.รอง ผุ้บัญชาการ ข.ผู้ช่วยผู้บัญชาการ

 ค.ถูกต้องแล้วครับ ทั้ง ก.และ ข. ง.ไม่มีข้อถูกครับบบบบ

 ตอบ  ก.รอง ผุ้บัญชาการ (ม.13)

 ( มาตรา. 13 .ในกองบัญชาการหนึ่ง ให้มีผู้บัญชาการคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจ และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น ขึ้นตรงต่อผุ้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และจะให้มีรองผู้บัญชาการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บัญชาการตามที่ผู้บัญชาการมอบหมายด้วยก็ได้( ปัจจุบัน ตำแหน่งผุ้ช่วยผุ้บัญชาการไม่มีแล้วครับ)

  ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับกับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการด้วยโดยอนุโลม รวมทั้งให้หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังเช่นผู้บัญชาการด้วย

 ข้อ 24. ผุ้บัญชาการต้องรายงายผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหา และอุปสรรคต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทุก กี่เดือน 

   ก. สามเดือน ข.สี่เดือน

 ค. ห้าเดือน ง.หกเดือน

 ตอบ  ข.สี่เดือน (มาตรา.l4

 มาตรา 14   ผู้บัญชาการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
                   () บริหารราชการของกองบัญชาการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก... .ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                   () ควบคุม กำกับ ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของกองบัญชาการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก... .ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                   () เป็นผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติในราชการทั่วไปของกองบัญชาการ
                   () รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทุกสี่เดือน หรือตามระยะเวลาที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด
                   () ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก...   .ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                   ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดกำหนดให้การดำเนินการใดเป็นอำนาจของอธิบดีหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการมีอำนาจเช่นว่านั้นในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในกองบัญชาการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก... กำหนด

 ข้อ 25 ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง มี ใครเป็นผู้มีอำนาจและทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจที่สังกัดกองบัญชาการอื่น และปฏิบัติราชการประจำอยุ่ในจังหวัดนั้น

 ก.ผู้บัญชาการ ข.ผู้บังคับการ

 ค.ผู้กำกับการ ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด

  ตอบ  ข.ผู้บังคับการ (ม.15 วรรคสุดท้าย )

 มาตรา 15  ในกองบังคับการหนึ่ง ให้มีผู้บังคับการคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองบังคับการนั้น และจะให้มีรองผู้บังคับการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บังคับการตามที่ผู้บังคับการมอบหมายด้วยก็ได้
                   ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับกับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากองบังคับการด้วยโดยอนุโลม รวมทั้งให้หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังเช่นผู้บังคับการด้วย

           ผู้บังคับการมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
                   () บริหารราชการของกองบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก... .ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                   () ควบคุม กำกับ ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของกองบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก... .ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                   () ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของทางราชการ ก...    .ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                   ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจที่สังกัดกองบัญชาการอื่นและปฏิบัติราชการประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ  ข้อบังคับ หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการ หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีด้วย ในการนี้ ให้มีอำนาจสั่งการใด ๆ เพื่อให้เกิดการประสานงานและความร่วมมือกันในการปฏิบัติหน้าที่ หรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการตำรวจในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อ-บังคับ หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกองบัญชาการ มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราว แล้วรายงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองบัญชาการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด 

  ข้อ 26 วอนซะแล้ว ไม่รู้ว่า ก.ต.ช.ชื่อเต็มว่าอะไร?

   ก. กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ

    ข. คณะกรรมการนโยบายข้าราชการตำรวจแห่งชาติ

     ค.คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ

    ง.คณะกรรมาการนโยบายตำรวจแห่งชาติ

  ตอบ  ค.คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ( ตามหัวข้อลักษณะที่ 3)

 ข้อ 27 จากข้อ 26 มีอำนาจหน้าที่ทำอะไรกันบ้าง?

  ก.กำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ

  ข.กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

   ค.ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบแบบแผน มติคณะรัฐมนตรี และกฎหมาย

   ง.ทุกข้อที่กล่าวมานั้นละ จำได้นะ

 ตอบ  ง.ทุกข้อที่กล่าวมานั้นละ จำได้นะ (มาตรา. 16 )

 ( ม.16 ให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติคณะหนึ่งเรียกว่า ก.ต.ช.) มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบแบบแผน มติคณะรัฐมนตรี และกฎหมาย)

 ข้อ 28 จากข้อ 26 ใครเป็นประธานกรรมการ

   ก.ผบ.ตร.  ข.นายกรัฐมนตรี

   ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ง.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

 ตอบ  ข.นายกรัฐมนตรี (ม.17  )

 มาตรา 17 ให้ ก... ประกอบด้วย
                 () นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
                 () กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม ()
       ให้ประธานกรรมการ โดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการ
ตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไปคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก
... และแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ก...
       หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม () ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ ก...
       ให้นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา

 ข้อ 29 กรรมการโดยตำแหน่ง ของ ก.ต.ช.มีใครกันบ้าง (ปาริชาติตอบหน่อย ดัง ๆ)

 ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม / ปลัดกระทรวงมหาดไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม / และเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ / ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม / ปลัดกระทรวงมหาดไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม / และเลขาธิการสหประชาติ / ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 ค.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม / ปลัดกระทรวงมหาไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม / และเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ / ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 ง.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม / ปลัดกระทรวงมหาไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม / และเลขาธิการสหประชาชาติ / ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 ตอบ  ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม / ปลัดกระทรวงมหาดไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม / และเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ / ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(มาตรา. 17)

( มาตรา. 17  ดูคำเฉลย ข้อ 28)

 ข้อ 30 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนกี่คนครับ พี่น้อง?

 ก. 9 คน   ข.8 คน 

  ค. 6 คน  ง. 4 คน 

 ตอบ   ง. 4 คน (ม.17)

  ( ม.17 วรรคสอง (2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน สี่คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม (1 ) ดูคำเฉลย ข้อ 28

 ข้อ 31 หลักเกรณ์ และวิธีการสรรหากรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่...........

 ก.ระเบียบ ก.ต.ช. ข.ระเบียบ ก .ตร.

 ค.ระเบียบ ครม. ง.ระเบียบ ข.ต.อ.

 ตอบ  ก.ระเบียบ ก.ต.ช.( ม.17  )

 ( ม.17  ) ใ ห้ ก.ต.ช.ประกอบด้วย

 ( 1 ) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม และเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ และ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน สี่คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม (1 )

 ให้ประธานกรรมการโดยโดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ยศ พล.ต.ท.ขึ้นไปคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ต.ช. และแต่งตั้งข้าราชการยศ พล.ต.ต.ขึ้นไป จำนวนไม่เกิน สองคนเป็นผู้ช่วย เลขานุการ ก.ต.ช.

 หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตาม (2 ) ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน ระเบียบ ก.ต.ช. ให้ นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา)


สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


admin 2011-09-01 09:14
กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผล การปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2547
                                                                                           

        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๑ (๒) และมาตรา ๖๖  แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มติ ก.ตร.  ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๔๗  เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๗  และมติอนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๗  เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗  จึงออกกฎ ก.ตร.ไว้  ดังต่อไปนี้
        ข้อ ๑  กฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
        ข้อ ๒  กฎ ก.ตร. นี้  มีหลักการที่จะประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติ ราชการของข้าราชการตำรวจบนพื้นฐานของผลสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก
        ข้อ ๓  การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ  มี วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการและนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน
        ข้อ ๔  การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ   ให้ประเมินจากผลงานและคุณลักษณะผู้ปฎิบัติราชการ ดังนี้
        (๑)  การประเมินผลงานให้พิจารณาจากองค์ประกอบ  ดังต่อไปนี้
(ก)  ปริมาณงาน
(ข)  คุณภาพของผลงาน
(ค)  ความทันเวลา
(ง)  ผลลัพธ์  ประโยชน์ในการนำไปใช้และประสิทธิผลของงาน
(จ)  การประหยัดทรัพยากรหรือความคุ้มค่าของผลงาน
(๒)  การประเมินคุณลักษณะผู้ปฏิบัติราชการ  ให้พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
(ก)  ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติราชการ
(ข)  การรักษาวินัย
                       (ค)  การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ตำรวจ
(ง)  ความคิดริเริ่ม  การสร้างสรรค์  และงานเชิงรุก
        สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  อาจกำหนดให้มีองค์ประกอบการประเมินอื่น ๆ เพิ่มเติม  ได้ตามความเหมาะสมของลักษณะภารกิจและสภาพการปฏิบัติ ราชการของข้าราชการตำรวจ  ในตำแหน่งต่าง ๆ โดยให้กำหนดตัวชี้วัดขององค์ประกอบการประเมิน  รวมทั้งแบบประเมิน ผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม
        ข้อ ๕  ให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการร่วมกัน ระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน เช่น แผนงาน โครงการ กิจกรรม หรือผลงานที่กำหนดในการมอบหมายงาน เป็นต้น  ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงข้อตกลงผลการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือภารกิจหลัก ที่ได้มีการกำหนดไว้ด้วย
        ข้อ ๖  ให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ ปีละ ๒ ครั้ง  ตามรอบปีงบประมาณ  คือ
ครั้งที่ ๑  ระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคม  ของปีถัดไป
ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายน  ของปีเดียวกัน
        ข้อ ๗  การประเมินผลการปฏิบัติราชการ  ให้มีสัดส่วนคะแนน การประเมินจากผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐  และแบ่งกลุ่มผลการประเมินไม่น้อยกว่า ๓ กลุ่ม  เช่น  กลุ่มสูงกว่ามาตรฐานกลาง   กลุ่มอยู่ในมาตรฐานกลาง  และกลุ่มต่ำกว่ามาตรฐานกลาง เป็นต้น  โดยให้ผู้บังคับบัญชา จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่มีผลการประเมินไว้ให้ชัดเจนทุกครั้งที่มีการประเมิน
        ข้อ ๘  ให้มีการแจ้งการประเมินและผลการประเมิน  การเปิด โอกาสให้เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและผลการประเมิน   การประกาศรายชื่อผู้ที่มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่มสูงกว่า มาตรฐานกลางในที่เปิดเผย
        ข้อ ๙  ให้มีคณะกรรมการพิจารณาผลการประเมิน  เพื่อทำ หน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของผู้รับการประเมินที่เห็นว่า ผลการประเมินของตนไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง
        ข้อ ๑๐  เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินผลการปฏิบัติราชการแต่ละครั้งแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมิน นำผลการประเมินไปใช้ประกอบการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้รับการประเมินเพื่อให้ มีการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาการปฏิบัติราชการให้มีสมรรถนะและผลสัมฤทธิ์ของงานดียิ่งขึ้น
        ข้อ ๑๑  ให้มีระบบการจัดเก็บผลการประเมิน เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
        ข้อ ๑๒  ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ดำเนินการกำหนดราย ละเอียด วิธีการ เพื่อถือปฏิบัติตามกฎ ก.ตร. นี้  รวมทั้ง การปรับปรุงและพัฒนาการประเมินผลการปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี  ภารกิจและลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง และมีอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติ ราชการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับข้าราชการตำรวจ

                                                ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
                                                        พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ
                                  รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                                                      ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ

(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม ๑๒๑  ตอนพิเศษ ๓๓ก  ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗)
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com




admin 2011-09-01 09:15
สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๒๗ สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครอง และผูกพันรัฐสภาคณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมายและการตีความกฎหมายทั้งปวง
มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้

มาตรา ๒๙ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วยบทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฎหรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย โดยอนุโลม
มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคลฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
มาตรา ๓๑ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา ๓๒ บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้
มาตรา ๓๓ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
มาตรา ๓๔ สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครองการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทำถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
มาตรา ๓๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถานบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถาน จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักรการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน การผังเมือง หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทำมิได้
มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมายการตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกันจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษา
ความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา ๓๘ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนาหรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น
มาตรา ๓๙ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูดการเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพเกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนการสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้
การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงครามหรือการรบ แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามความในวรรคสอง เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้
มาตรา ๔๐ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา ๔๑ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกิจการวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๔๒ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่นการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ
มาตรา ๔๖ บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้การจัดองค์กรภายใน การดำเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมือง ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารของพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้นจะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติหรือข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป
มาตรา ๔๘ สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔๙ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติการกำหนดค่าทดแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรมโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์
และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืนกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว ต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรคสาม และการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาด หรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


admin 2011-09-01 09:15
แบบทดสอบวิชา กฎ  ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ   พ.ศ.  ๒๕๕๑

1.    กฎ  ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ   บัญญัติขึ้นในปี พ.ศ.ใด
พ.ศ.๒๕๕๑
2.    กฎ  ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯ มีที่มาอย่างไร
1)    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 279 และมาตรา 280
2)    พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 31(2) และมาตรา 77
3)    มติ ก.ตร.ในการประชุมครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2551
3.    กฎ  ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯ มีผลใช้บังคับเมื่อใด
1)    เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2)    ลงราชกิจจาเมื่อ ๑๙ ก.ย.๒๕๕๑
3)    มีผลบังคับใช้เมื่อ ๑๙  พ.ย.๒๕๕๑
4.    อะไรคือกรอบแห่งการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการตำรวจ
ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
5.    การพิจารณาสรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้ใดรวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน และการลงโทษบุคคล ทั้งในระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการหรือหน่วยเทียบเท่ากองบัญชาการ กองบังคับการ กองกำกับการ สถานีตำรวจ และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ควรคำนึงถึง
พฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคลดังกล่าว
6.    หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมและพัฒนาคุณธรรมของข้าราชการตำรวจ
กองบัญชาการศึกษา
7.    หน่วยงานใดที่มีหน้าที่กำหนดตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงานและข้าราชการตำรวจที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยม
กองบัญชาการศึกษา
8.    ตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงานและข้าราชการตำรวจที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ  ต้องได้รับความเห็นชอบจาก
ก.ตร.
9.    หน่วยงานใดมีอำนาจและหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ
จเรตำรวจ
10.    กรณีที่ข้าราชการตำรวจพบว่ามีการละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ให้สามารถรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเหนือหน่วยงานที่ตนสังกัดได้อย่างน้อยกี่ชั้น
อย่างน้อยสามลำดับชั้น
11.    ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจประกอบด้วย
1)    คุณธรรม ค่านิยมหลัก และอุดมคติของตำรวจ
2)    จริยธรรมของตำรวจ
3)    จรรยาบรรณของตำรวจ
12.    คุณธรรม ค่านิยมหลัก และอุดมคติของตำรวจ  ถือเป็น
1)    เครื่องเหนี่ยวรั้งให้ข้าราชการตำรวจอยู่ในกรอบของศีลธรรมและคุณธรรม
2)    เป็นแนวทางชี้นำให้ข้าราชการตำรวจบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
13.    จริยธรรมของตำรวจ คือ
คุณความดีที่เป็นข้อประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจเพื่อให้ประชาชนศรัทธา เชื่อมั่นและยอมรับ
14.    จรรยาบรรณของตำรวจ คือ
ประมวลความประพฤติในการปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพตำรวจ ที่ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือปฏิบัติ เพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของข้าราชการตำรวจและวิชาชีพตำรวจ
15.    “การไม่เลือกปฏิบัติ” ตรงกับธรรมะข้อใด
16.    กรณีเมื่อข้าราชการตำรวจได้ละเมิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ จะต้อง
รายงานผู้บังคับบัญชาทางใด
เป็นหนังสือทันที
17.    คุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาท  ได้แก่
(1) การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม
(2) การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีเท่านั้น
(3) การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด
(4) การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่
ของบ้านเมือง
18.    คุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาท  ตรงกับธรรมะข้อใด
19.    ค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ใดเป็นผู้กำหนด
ผู้ตรวจการแผ่นดิน
20.    ค่านิยมหลักมีกี่ประการ        9  ประการ
21.    ค่านิยมหลัก ตรงกับธรรมมะข้อใด
(1) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
(2) การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
(3) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
(4) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(5) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
(6) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
(7) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
(8) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(9) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์การ
22.    อุดมคติของตำรวจมีกี่ประการ         9 ประการ
23.    แนวทางชี้นำการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรลุถึงปณิธานของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เรียกว่า
อุดมคติของตำรวจ
24.    อุดมคติของตำรวจ มีอะไรบ้าง  ตรงกับธรรมะข้อใด
1)    เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
2)    กรุณาปราณีต่อประชาชน
3)    อดทนต่อความเจ็บใจ
4)    ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
5)    ไม่มักมากในลาภผล
6)    มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชนแก่ประชาชน
7)    ดำรงตนในยุติธรรม
8)    กระทำการด้วยปัญญา
9)    รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
10)    
25.    จริยธรรมของตำรวจ มีกี่ประการ        9   ประการ
26.    จริยธรรมของตำรวจ มีอะไรบ้าง
1)    ข้าราชการตำรวจต้องเคารพ ศรัทธา และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
2)    ข้าราชการตำรวจต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายอื่นโดยเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติ
3)    ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ ประชาชน ชุมชน และประเทศชาติ เป็นสำคัญ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
4)    ข้าราชการตำรวจต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เพื่อให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
5)    ข้าราชการตำรวจต้องหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันโลกทันเหตุการณ์ และมีความชำนาญการในงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบธรรมเนียมการปฏิบัติของส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรม เช่น ฝ่ายอัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และกระทรวง ทบวง กรมอื่น ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตน เพื่อสามารถประสานงานได้อย่างกลมกลืนแนบเนียน และเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
6)    ข้าราชการตำรวจต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม โดยยึดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
7)    ข้าราชการตำรวจต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
8)    ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ
9)    ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ข้าราชการตำรวจต้องประพฤติปฏิบัติ
10)    
27.    จรรยาบรรณของตำรวจมีกี่ประการ    6  ประการ
28.    จรรยาบรรณของตำรวจ  มีอะไรบ้าง  ตรงกับจริยธรรมข้อใด
1)    ข้าราชการตำรวจจะต้องสำนึกในการให้บริการประชาชนด้านอำนวยความยุติธรรม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ประชาชนมีความเลื่อมใส เชื่อมั่นและศรัทธา ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
2)    เมื่อเข้าจับกุมหรือระงับการกระทำผิด ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
3)    ข้าราชการตำรวจต้องตระหนักว่า การใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง เป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุด ข้าราชการตำรวจอาจใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบแบบแผน หรือเมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัยใช้อาวุธต่อสู้ขัดขวางการจับกุม หรือเพื่อช่วยบุคคลอื่น ที่อยู่ในอันตรายต่อชีวิต   เมื่อมีการใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ไม่ว่าจะมีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตหรือไม่ ข้าราชการตำรวจต้องรายงานเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามระเบียบแบบแผนทันที
4)    ในการรวบรวมพยานหลักฐาน การสืบสวนสอบสวน การสอบปากคำ หรือการซักถามผู้กระทำความผิด ผู้ต้องหา ผู้ที่อยู่ในความควบคุมตามกฎหมาย ผู้เสียหาย ผู้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือบุคคลอื่น ข้าราชการตำรวจต้องแสดงความเป็นมืออาชีพโดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการตำรวจ รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบและสติปัญญา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
5)    ข้าราชการตำรวจต้องควบคุมดูแลบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของตนอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายและมีมนุษยธรรม ซึ่งต้องประพฤติปฏิบัติ
6)    ข้อมูลข่าวสารที่ข้าราชการตำรวจได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 19 หรือจากการปฏิบัติหน้าที่อื่น ข้าราชการตำรวจจะต้องรักษาข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นความลับอย่างเคร่งครัด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์หรือชื่อเสียงของบุคคล หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษทั้งต่อผู้เสียหายหรือผู้กระทำความผิดข้าราชการตำรวจจะเปิดเผยข้อมูลนั้นได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเพื่อประโยชน์ในราชการตำรวจที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น
29.    วิธีจำค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม 9 ประการ ( 4 ยึด  จิตดี ทำถูก เร็วไม่เลือก ให้ครบ มาตรฐาน )
(๑)  ยึดคุณธรรมและจริยธรรม
(๒) จิตดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
(๓) ยึดประโยชน์ประเทศ  และไม่ทับซ้อน
(๔) ทำสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(๕) บริการรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
(๖) ให้ข้อมูลข่าวสารครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือน
(๗) มุ่งผลสัมฤทธิ์  มาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
(๘) ยึดประชาธิปไตย
(๙) ยึดจรรยาวิชาชีพ
30.    วิธีจำอุดมคติของตำรวจ 9  ประการ ในทางธรรมะ
(๑) เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
(๒) กรุณาปราณีต่อประชาชน
(๓) อดทนต่อความเจ็บใจ
(๔) ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
(๕) ไม่มักมากในลาภผล
(๖) มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
(๗) ดำรงตนในยุติธรรม
(๘) กระทำการด้วยปัญญา
(๙) รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
31.    วิธีจำจริยธรรมของตำรวจ 9  ประการ  ( 2 เคา  5 ต้อง  2 เป็น )
1)    เคารพ ศรัทธา และยึดมั่นประชาธิปไตย
(1)    จงรักภักดี  
(2)    เป็นกลางทางการเมือง
2)    เคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
3)    ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) รวดเร็ว กระตือรือร้น รอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นธรรม
(2) วิริยะอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร เสียสละ ใช้ปฏิภาณไหวพริบ กล้าหาญและอดทน
(3) รับผิดชอบ ความเต็มใจ ไม่ละทิ้งหน้าที่ ไม่หลีกเลี่ยงหรือปัดความรับผิดชอบ
(4) ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า
(5) รักษาความลับ
4)    ต้องมีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
(1) เป็นมิตร มีมนุษยสัมพันธ์
(2) ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ ไม่เบียดเบียน กริยาสุภาพ  ให้เกียรติ
(3) เอื้อเฟื้อ สงเคราะห์ และช่วยเหลือ
(4) ให้ข้อมูลข่าวสาร
5)    ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้
6)    ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม ( 6 ไม่ )
(1) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ แสวงหาประโยชน์
(2) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ ไปในทางจูงใจหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ของตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น จนทำให้สูญเสียความเที่ยงธรรมและยุติธรรม
(3) ไม่รับของขวัญนอกเหนือจากโอกาสและกาลตามประเพณีนิยม และมีมูลค่าเกิน ป.ป.ช.
(4) ไม่ใช้เวลาราชการหรือทรัพย์ของราชการเพื่อธุรกิจหรือประโยชน์ส่วนตน
(5) ไม่ประกอบอาชีพเสริมซึ่งมีลักษณะเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นการขัดกัน
(6) ดำรงชีวิตส่วนตัวไม่ให้เกิดมลทินมัวหมองต่อตำแหน่งหน้าที่ ไม่ทำผิดกฎหมายแม้เรื่องเล็กน้อย
7)    ต้องภาคภูมิใจในวิชาชีพ กล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม
(1) ตรงไปตรงมา
(2) ไม่สั่งให้ลูกน้องทำในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อคุณธรรมและศีลธรรม
(3) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ตนรู้หรือควรจะรู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) ไม่เลี่ยงกฎหมาย ใช้หรือแนะนำให้ใช้ช่องโหว่
8)    เป็นนายต้องประพฤติปฏิบัติดี
    (1) เป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดี
(2) หมั่นอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) ปกครองด้วยหลักการและเหตุผล
(4) ใช้หลักคุณธรรมในการ
9)    เป็นลูกน้องต้องประพฤติปฏิบัติดี
(1) เคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่ง
(2) รักษาวินัยและความสามัคคีในหมู่คณะ
(3) ปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานด้วยความสุภาพมีน้ำใจ
(4) อุทิศตนเอง ไม่หลีกเลี่ยงหรือเกี่ยงงาน
32.    วิธีจำจรรยาบรรณของตำรวจ  6  ประการ (   6  ต้อง )
1)    ต้องสำนึกในการให้บริการประชาชน
(1) อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
(2) สุภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติประชาชน
(3) ขณะที่อยู่ในเครื่องแบบหรือนอกเครื่องแบบ ต้องดำรงตนให้อยู่ในสภาพที่พร้อมและเหมาะสม
(4) พกพาอาวุธตามระเบียบแบบแผน ไม่จับหรือถืออาวุธ หรือเล็งอาวุธไปยังบุคคล
(5) พกพาเอกสารหรือตราประจำตัว และแสดงเอกสารหรือตราประจำตัวเมื่อมีบุคคลร้องขอ
2)     ต้องยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเมื่อเข้าจับกุมหรือระงับการกระทำผิด
(1) ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญและมีสติปัญญา
(2) ยืนหยัดเจตนารมณ์ในการรักษากฎหมายให้ถึงที่สุด ไม่ประนีประนอม ผ่อนปรน หรือละเลย
(3) ไม่ใช้มาตรการรุนแรง  
3)     ต้องตระหนักว่า การใช้อาวุธ กำลัง หรือความรุนแรง ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็น
4)    ต้องแสดงความเป็นมืออาชีพ ในการ การสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน
(1) ไม่ทำการทารุณหรือทารุณกรรมต่อบุคคล
(2) ไม่ใช้ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือปล่อยปละละเลยให้มีการทารุณ
(3) ไม่กระทำการข่มขู่หรือรังควาน หรือไม่ใช้อำนาจที่มิชอบ หรือแนะนำเสี้ยมสอน
(4) ไม่กักขังหรือหน่วงเหนี่ยวบุคคลที่ยังไม่ได้ถูกจับกุม
(5) ไม่ใช้อำนาจที่มิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน
5)    ต้องควบคุมดูแลบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของตนอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายและมีมนุษยธรรม
      (1) ไม่ผ่อนปรนให้บุคคลนั้นมีสิทธิหรือได้ประโยชน์
(2) ไม่รบกวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับทนายความ
(3) จัดให้บุคคลได้รับการรักษาพยาบาลหรือการดูแลทางการแพทย์ตามสมควร
(4) ไม่ควบคุมเด็กและเยาวชนร่วมกับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ หรือไม่คุมขังผู้หญิงร่วมกับผู้ชาย
6)    ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นความลับอย่างเคร่งครัด
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


admin 2013-01-31 17:49
111111111111


เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบบทบาทภารกิจ กตช. ก.ตร. ใช้สอบจ่าดาบ 50 ปี --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.262058 second(s),query:2 Gzip enabled

You can contact us