เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบนักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ --]

งานราชการ แนวข้อสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ธกส -> แนวข้อสอบ การไฟฟ้า กฟภ. การประปา กปน. คู่มือสอบ ติวสอบ -> แนวข้อสอบนักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2011-06-17 15:15

แนวข้อสอบนักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ

1. ประธานศาลอุทธรณ์ หมายถึงข้อใด 

 ก. อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข.  ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้รับเลือก

 ค. อธิบดีผู้พิพากษาศาลฎีกา ง. ไม่มีข้อถูก 

 คำตอบ ก. ประธานศาลอุทธรณ์ หมายความว่า อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วย

 ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลากร 

2. ข้าราชการศาลยุติธรรม หมายถึงใคร 

 ก. สมศรี เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 3 ข. สมชาย ผู้ช่วยผู้พิพากษา 

 ค. สมเดช เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม 1 ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก 

 คำตอบ . ข้าราชการศาลยุติธรรม หมายความว่า ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ

 ข้าราชการฝ่ายตุลาการ 

3. ข้าราชการตุลาการ หมายถึงใคร 

 ก. อนันต์ อธิบดีผู้พิพากษา ข. อรุณ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น 

 ค. อดิศร ผู้ช่วยผู้พิพากษา ง. ถูกทุกข้อ 

 คำตอบ ง. ข้าราชการตุลากร หมายความว่า ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ

 ฝ่ายตุลาการ 

4. ข้อใดมิใช่ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 

 ก. กนิษฐา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข. กรกนก เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม 3 

 ค. กษมา ลูกจ้างชั่วคราว ง. ถูกทุกข้อ 

 คำตอบ ค. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมาย

 ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ 

5. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรียกโดยย่อว่าอะไร 

 ก. ก.ศ. ข. ก.บ.ศ. 

 ค. ค.บ.ศ. ง. ค.บ.ศ. 

 คำตอบ ข. ก.บ.ศ. หมายความว่า คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม

6. คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เรียกโดยย่อว่าอะไร 

 ก. ก.ศ. ข. ก.บ.ศ. 

 ค. ค.ข.ศ. ง. ก.ข.ศ. 

 คำตอบ ก. ก.ศ. หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม

7. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสำนักงานศาลยุติธรรม 

 ก. เป็นหน่วยงานอิสระ ข. มีฐานะเป็นนิติบุคคล 

 ค. เป็นรัฐวิสาหกิจ 

 ง. การแบ่งส่วนราชการภายในและการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ทำเป็นประกาศ ก.บ.ศ. 

 คำตอบ ค. ให้มีสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล 

  การแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานศาลยุติธรรมและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ 

 ส่วนราชการนั้น ให้ทำเป็นประกาศ ก.บ.ศ. 

  ประกาศตามวรรคสอง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากประธานศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจา 

 นุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ 

8. สำนักงานศาลยุติธรรมมีหน้าที่อะไร 

 ก. งานธุรการของศาลยุติธรรม ข. งานส่งเสริมงานตุลาการ 

 ค. งานวิชาการของศาลยุติธรรม ง. ถูกทุกข้อ 

 คำตอบ ง. สำนักงานศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการของศาลยุติธรรม งานส่งเสริม 

 งานตุลาการ และงานวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่ศาลยุติธรรม รวมทั้ง 

 เสริมสร้างให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 

9. ข้อใดเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำศาลยุติธรรมที่จะต้องรับผิดชอบ 

 ก. งานธุรการ ข. งานช่วยค้นคว้าทางวิชาการแก่ผู้พิพากษา 

 ค. ประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ ง. ถูกทุกข้อ 

 คำตอบ ง. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำศาลยุติธรรมทุกแห่ง ให้เพียงพอที่จะ 

 รับผิดชอบงานธุรการ งานช่วยค้นคว้าทางวิชาการแก่ผู้พิพากษา รวมตลอดทั้งการประสานงานกับ 

 ส่วนราชการต่างๆ และงานอื่นใดตามที่ศาลยุติธรรมมอบหมาย 

10. ใครมีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการโดยทั่วไปของสำนักงานศาลยุติธรรม 

 ก. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ ข. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม 

 ค. ผู้อำนวยการศาลยุติธรรม ง. จ่าศาล 

 คำตอบ ข. ให้มีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา 

 มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ 

 ของทางราชการ รวมทั้งระเบียบ ประกาศ และมติของ ก.บ.ศ. และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการใน 

 สำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ 

11. บุคคลใดเป็นผู้แทนของสำนักงานศาลยุติธรรมในกิจการของสำนักงานศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก 

 ก. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ ข. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม 

 ค. ผู้อำนวยการศาลยุติธรรม ง. จ่าศาล 

 คำตอบ ข. ในกิจการของสำนักงานศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการสำนักงาน 

 ศาลยุติธรรมเป็นผู้แทนของสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อการนี้ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมจะ 

 มอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติราชการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ ก.บ.ศ. 

 กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

12. ข้อใดเป็นประธานคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 

 ก. ประธานศาลฎีกา ข. อธิบดีศาลอุทธรณ์ 

 ค. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก 

 คำตอบ ก. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรียกโดยย่อว่า ก.บ.ศ มีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน

 กรรมการบริหารศาลยุติธรรม 

13. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมข้อใดกล่าวถูกต้อง 

 ก. เลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ 

 ข. เลือกจากข้าราชการตุลาการในศาลฎีกา จำนวน 4 คน 

 ค. เลือกจากข้าราชการตุลาการในศาลอุทธรณ์ จำนวน 4 คน 

 ง. เลือกจากข้าราชการตุลาการในศาลชั้นต้น จำนวน 4 คน 

 คำตอบ ก. ให้มีคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า ก.บ.ศ. ประกอบด้วย

(1) ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 

(2) กรรมการบริหารศาลยุติธรรมซึ่งข้าราชการตุลาการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา 

 เป็นผู้เลือกจากข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล ดังต่อไปนี้ 

(ก) ศาลฎีกา ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลฎีกาในตำแหน่งที่ไม่ 

 ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 4 คน 

(ข) ศาลอุทธรณ์ ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลอุทธรณ์

 และศาลอุทธรณ์ภาคในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หรือผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 

 จำนวน 4 คน 

(ค) ศาลชั้นต้น ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการผู้มีอาวุโสสูงสุด 100 คนแรกที่ดำรง 

 ตำแหน่งในศาลชั้นต้น และซึ่งมิใช่ข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส จำนวน 4 คน 

(3) กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือ 

 ด้านการบริหารและการจัดการซึ่งประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม และกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 

 (2) เป็นผู้เลือกจากบุคคลซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการหรือข้าราชการศาลยุติธรรม จำนวน 

 ไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 4 คน 

14. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี

 ก. 35 ปี ข. 40 ปี 

 ค. 45 ปี ง. 50 ปี 

 คำตอบ ข. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม 

 ดังต่อไปนี้ 

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด 

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ 

(3) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา 

 สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น 

(4) ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง 

(5) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน 

 ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง 

(6) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามกฎหมาย 

 ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมหรือตามกฎหมายอื่น 

(7) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว 

(8) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด 

 ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 

(9) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วย 

 ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมหรือตามกฎหมายอื่น 

15. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีวาระคราวละกี่ปี 

 ก. 1 ปี ข. 2 ปี 

 ค. 4 ปี ง. 5 ปี 

 คำตอบ ข. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน 

 สองวาระติดต่อกันไม่ได้ 

16. กรณีเป็นที่สงสัยเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการบริหารศาลยุติธรรมต้องให้ใครเป็นผู้วินิจฉัย 

 ชี้ขาด 

 ก. ประธานศาลฎีกา ข. อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 

 ค. ก.บ.ศ. ง. ก.ศ. 

 คำตอบ ค. ในกรณีเป็นที่สงสัยเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ให้ 

 ก.บ.ศ. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด 

17. กรณีที่กรรมการบริหารศาลยุติธรรมจะต้องจัดให้มีการเลือกกรรมการบริหารศาลยุติธรรมแทนตำแหน่ง 

 ที่ว่างภายในกี่วัน 

 ก. 7 วัน ข. 15 วัน 

 ค. 30 วัน ง. 60 วัน 

 คำตอบ ก. ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่างลง ไม่ว่าเพราะเหตุใดและวาระการอยู่ 

 ในตำแหน่งที่ว่างลงนั้นเหลือไม่น้อยกว่า 90 วัน ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการให้มี 

 การเลือกกรรมการบริหารศาลยุติธรรมแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าว 

 ว่างลงและให้ผู้ได้รับเลือกอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน 

18. ข้อใดเป็นอำนาจของ ก.บ.ศ. 

 ก. ให้ความเห็นชอบในการเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการและการอำนวยความยุติธรรม 

 แก่ประชาชนของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรี 

ข. ให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในการบริหารราชการของศาลยุติธรรม 

ค. วินิจฉัยชี้ขาดคดีกรณีที่มีการขัดแย้งกันระหว่างศาล 

ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก 

 คำตอบ ง. ก.บ.ศ. มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงาน 

 บริหารราชการและงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และ 

 ประเพณีปฏิบัติของทางราชการศาลยุติธรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

(1) ออกระเบียบหรือประกาศ หรือมีมติเพื่อการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับ 

 งานบริหารราชการและงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามนโยบายของประธานศาลฎีกา 

 รวมทั้งมีอำนาจยับยั้งการบริหารราชการของศาลยุติธรรมหรือสำนักงานศาลยุติธรรมที่ไม่เป็นไปตาม 

 ระเบียบ ประกาศ หรือมตินั้นด้วย 

(2) ให้ความเห็นชอบในการเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการและการอำนวยความ 

 ยุติธรรมแก่ประชาชนของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรี 

(3) พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในการบริหารราชการของ 

 ศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อดำเนินการตามมาตรา 32 

(4) พิจารณาให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการงบประมาณและการพัสดุของศาลยุติธรรม 

 และสำนักงานศาลยุติธรรม 

(5) การกำหนดวันทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุด 

 ราชการของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และลูกจ้างของสำนักงานศาลยุติธรรม 

(6) กำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดเพื่อใช้ในการบริหารราชการศาลยุติธรรม 

 รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำและใช้ตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายนั้นไว้ด้วย 

(7) แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลให้ทำการใดๆ แทน และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือ 

 ค่าตอบแทนให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง 

(8) กำกับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ 

 หรือกฎหมายอื่น 

(9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.บ.ศ. 

19. ใครไม่ได้เป็นกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมโดยตำแหน่ง 

 ก. ประธานศาลอุทธรณ์ ข. อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 

 ค. เลขาธิการ ก.พ. ง. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม 

 คำตอบ ข. ให้มีคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า ก.ศ. ประกอบด้วย

(1) รองประธานศาลฎีกาซึ่งมีอาวุโสสูงสุดเป็นประธาน ประธานศาลอุทธรณ์ เลขาธิการ ก.พ. 

 และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

(2) ข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมชั้นศาลละ 1 คน 

(3) ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 8 ขึ้นไป ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการ 

 ศาลยุติธรรมที่ดำรงตำแหน่งระดับ 6 ขึ้นไป จำนวน 5 คน และ 

(4) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาองค์กร ด้านการบริหารงานบุคคล หรือด้านการบริหารและ 

 การจัดการ ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการหรือข้าราชการศาลยุติธรรม และมีคุณสมบัติและ 

 ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.บ.ศ. กำหนด ซึ่งกรรมการตาม (1) (2) และ (3) เป็นผู้เลือกจำนวนไม่เกิน 

 3 คน 

 ให้ ก.ศ. แต่งตั้งข้าราชการศาลยุติธรรมเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ 

20. ข้อใดมิใช่อำนาจของ ก.ศ. 

 ก. กำหนดวันทำงาน วันหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 

 ข. กำหนดคุณสมบัติ การคัดเลือก บรรจุแต่งตั้งข้าราชการศาลยุติธรรม 

 ค. การจัดสวัสดิการแก่ข้าราชการศาลยุติธรรม 

 ง. ไม่มีข้อถูก 

 คำตอบ ก. ให้ ก.ศ. มีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และการอื่นของ 

 สำนักงานศาลยุติธรรม ในเรื่องดังต่อไปนี้ 

(1) การกำหนดคุณสมบัติ การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ 

 การพัฒนา การย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การออกจากราชการ 

 การสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน วินัยการสอบสวนและการลงโทษทางวินัย 

 การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์ การลงโทษสำหรับข้าราชการศาลยุติธรรม 

(2) การรักษาราชการแทนและกากรปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งของข้าราชการศาลยุติธรรม 

(3) การกำหนดเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการศาลยุติธรรม 

(4) การจ้างและการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน อันจะ 

 เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรม รวมทั้งกำหนดอัตราค่าตอบแทนการจ้างด้วย 

(5) การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินกิจการใดๆ ตามแต่จะมอบหมาย 

(6) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่ราชการศาลยุติธรรม 

(7) การรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการศาลยุติธรรม 

(8) การกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการจ้างลูกจ้างของสำนักงานศาลยุติธรรม รวมทั้ง 

 การกำหนดเครื่องแบบ การแต่งกาย และการจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นของลูกจ้างของ 

 สำนักงานศาลยุติธรรม 

(9) การกำหนดกิจการอื่นอันจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  ทุกตำแหน่ง  ใหม่ล่าสุด

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ 

ประกอบด้วย
ความรู้เกี่ยวกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
แนวข้อสอบอำนาจหน้าที่และภารกิจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การจัดการความขัดแย้งโดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชน
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยเครือข่ายและอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ
ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการจัดการร้องทุกข์ 2552
สรุปสาระสำคัญ พรบ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย
สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ 2553
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ 2553

(เลือกตามตำแหน่งที่สอบ)
1.ชื่อตำแหน่ง : นักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ (ด้านสิทธิมนุษยชน)
2.ชื่อตำแหน่ง : นักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ (ด้านภาษาอังกฤษ)
3.ชื่อตำแหน่ง : นักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ (ด้านกฎหมาย)

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

 


admin 2011-10-02 10:54
แนวข้อสอบนักวิชาการยุติธรรมปฎิบัติการ (ด้านสิทธิมนุษยชน) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
1.อะไร เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิดและติดตัวไปจนตาย
    1. กลไกคุ้มครอง            2. สิทธิมนุษยชน
    3. กฎหมาย                4. บัญญัติ ระเบียบ
ตอบ ข้อ 2.
2. กลไกการคุ้มครองสิทธิ คือ อะไร
1.    เครื่องมือสำหรับประชาชนหรือบุคคลใดๆที่ถูกละเมิดสิทธิ
2.    กฏหมายสำหรับประชาชน เพื่อรักษาซึ่งไว้ความยุติธรรม    
3.    บทบัญญัติของสังคม เพื่อให้สังคมรักษาสิทธิซึ่งกันและกัน
4.    สนธิสัญญาของประชาชน และรัฐ เพื่อการรักษาสิทธิ
ตอบ ข้อ 1.
3. ข้อใดคือประเภทของกลไกการคุ้มครองสิทธิ  
    1. ประเภทที่เป็นทางการ        2.ประเภทที่ไม่เป็นทางการ    
    3. ประเภทจารีตประเพณี            4. ประเภทสนธิสัญญา
ตอบ ข้อ 2.
4.ด้านสิทธิมนุษยชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างใครกับใคร โดยไม่จำกัดเขตแดน
1.รัฐกับประชาชน            2.รัฐกับสิทธิ
3.รัฐกับปัจเจกบุคคล            4. ประชาชนกับสิทธิ
ตอบ ข้อ 3.
5.ข้อใดไม่ใช่ กลไกคุ้มครองสิทธิอยู่ในรูปของคณะกรรมการประจำสนธิสัญญานั้น
1. คณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม    2.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
3.ข้อร้องเรียนตามกระบวนการ 1503    4.คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคน
ตอบ ข้อ 4.
6.คณะกรรมการข้อใด มีฐานะเป็นหน่วยงานในเครือ ECOSOC มีความเป็นอิสระและไม่ได้เป็นตัวแทนของภาคีในกติกา
1. คณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม    2.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
3.ข้อร้องเรียนตามกระบวนการ 1503    4.คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคน
ตอบ ข้อ 1.
7. ข้อใด จัดตั้งขึ้นตามสมัชชาที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2006 แทนที่ Human Rights Commission
1. คณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม    2.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
3.ข้อร้องเรียนตามกระบวนการ 1503    4.คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคน
ตอบ ข้อ 3.
8. ข้อใดไม่ใช่ กลไกคุ้มครองตามกฎหมายภายในประเทศ
1.    กลไกที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  
2.    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
3.    คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
4.    คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ตอบ ข้อ 3.
9. ข้อใด คือ กลไกการคุ้มครองสิทธิที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น
1.    กลไกที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  
2.    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
3.    คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
4.    คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ตอบ ข้อ 3.
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตราใด ระบุว่าบุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และเข้าถึง
    1. มาตรา 39                2. มาตรา 40
    3. มาตรา 41                4. มาตรา 42
ตอบ ข้อ 2.
11. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความยุติธรรมประกอบด้วย ข้อใด
    1. ทหาร ตำรวจ อัยการ ศาล        2. ประชาชน  เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ศาล ตำรวจ
    3. ทนายความ นักจิตวิทยา  ศาล ตำรวจ    4. ตำรวจ ทหาร  อัยการ ศาล
ตอบ ข้อ 3.
12. ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้  เมื่อเห็นว่ามีกรณีในข้อใด
1.    บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
2.    กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคล มีปัญหาเกี่ยวกับประชาชน
3.    เห็นว่าการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนไม่เป็นธรรม
4.    การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ
ตอบ ข้อ 1.
13. การร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาต้องทำเป็นหนังสือดังนี้ ข้อใดไม่ใช่
    1. ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องเรียน    2. ระบุเหตุที่ทำให้ต้องร้องเรียน
    3. ใช้ถ้อยคำตามที่เข้าใจ        4. ลงลายมือชื่อผู้ร้องเรียน
ตอบ ข้อ 3.
14. การร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาสามารถโทรไปได้ที่เบอร์ใด
    1. 1660                2. 1676
    3. 1543                4. 1221
ตอบ ข้อ 2.
15. ผู้เสียหายจากการกระทำอันเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น หมายถึงข้อใด
    1. ผู้เสียหาย                2. ผู้ถูกล่าวหา
    3. ผู้ทุจริต                4. ผู้ถูกใส่ความ
ตอบ ข้อ 1.
16. ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาหรือมีพฤติการณ์ปรากฏแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่า ได้กระทำการอันเป็นมูลที่จะนำไปสู่การถอดถอนจากตำแหน่ง การดำเนินคดีอาญา การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือการดำเนินการทางวินัย ตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และให้หมายความรวมถึงตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำดังกล่าวด้วย หมายถึง ข้อใด
    1. ผู้เสียหาย                2. ผู้ถูกล่าวหา
    3. ผู้ทุจริต                4. ผู้ถูกใส่ความ
ตอบ ข้อ 2.
17. ข้อใดไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
1.    ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ
2.    ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3.    ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเลขาธิการ
4.    ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้า หน้าที่เอกชน
ตอบ ข้อ 4.
18. กระบวนการร้องเรียนจะต้องทำหนังสือถึง " เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช." หรือ "ตู้ ปณ.ใด
    1. ตู้ ปณ. 99                2. ตู้ ปณ. 100
    2. ตู้ ปณ. 101                4. ตู้ ปณ.102
ตอบ ข้อ 4.
19. ทรัพย์สินที่จะแสดงให้เห็นว่าร่ำรวยผิดปกติฯ มีอะไรบ้าง
    1. บ้าน                 2. ที่ดิน
    3. รถยนต์                4. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข้อ 4.
20. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 252 - 254 และ พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ใด
    1. พ.ศ.2542                        2. พ.ศ.2543  
    3. พ.ศ.2544                       4. พ.ศ.2545
ตอบ ข้อ  1.
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com


decho 2014-05-26 19:54
111111111


เวอร์ชันเต็ม: [-- แนวข้อสอบนักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.042716 second(s),query:2 Gzip enabled

You can contact us