เวอร์ชันเต็ม: [-- วิธีการเตรียมตัวสอบรับราชการ --]

งานราชการ แนวข้อสอบ รับราชการ ก.พ. อบต. ครูผู้ช่วย ตำรวจ ธกส -> เทคนิคการทำข้อสอบรับราชการ -> วิธีการเตรียมตัวสอบรับราชการ [สั่งพิมพ์] เข้าสู่ระบบ -> ลงทะเบียน -> ตอบกลับ -> ตั้งกระทู้

admin 2011-05-29 12:35

วิธีการเตรียมตัวสอบรับราชการ

1. เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมสำหรับการสอบ การสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือก การคัดเลือกในภาคราชการมีระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการสรรหาบุคคลเข้ารับงานราชการด้วยระบบคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสอบข้าราชการ จึงต้องเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน คือ

 

1.1 จัดหาเอกสารหรือหนังสือสำหรับเตรียมสอบงานราชการ วิธีการหาหนังสือหรือเอกสารเตรียมสอบ มีดังนี้

  • หนังสือหรือเอกสารมีเนื้อหาที่ตรงตามหลักสูตรสอบแข่งขันฯ มีเนื้อหาสาระใหม่ ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน 
  • เลือกหนังสือทั้งที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียด เนื้อหาสรุปและหรือหนังสือที่เป็นแบบฝึก
  • เลือกหนังสือหลายๆ เล่ม เจ้าของหรือผู้แต่งที่เชื่อถือได้
  • ควรเลือกหนังสือภาคความรู้ทั่วไป เช่น หนังสือวัดความถนัดต่าง ๆ เป็นตั้น พร้อมทั้งมีตัวอย่างแบบฝึกและข้อสอบ
  • ควรเลือกหนังสือเฉพาะเรื่อง ในภาคการศึกษา เช่น จิตวิทยาการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษาหลักสูตรและการสอน เป็นต้น ส่วนมากจะมีในสถาบันการศึกษา และหนังสือเตรียมสอบทั่วไปซึ่งส่วนมากจะเป็นเนื้อหา โดยสรุป
  • ภาคกฎหมายการศึกษาหรือกฎหมายปฏิบัติงานราชการ หนังสือที่เหมาะคือหนังสือเตรียมสอบโดยทั่วไปเพราะมีทั้งเนื้อหาโดยละเอียดและสรุปไว้แล้ว มีตัวอย่างแบบ ทดสอบให้ทำด้วย
  • ภาควิชาเฉพาะวุฒิหรือวิชาเอก ควรเลือกหนังสือ ตำราเรียน หนังสือสรุปเนื้อหา หรือหนังสือเตรียมสอบเข้าเรียนระดับชั้นต่างๆ ไม่ควรยึดหนังสือเตรียมสอบฯเป็นหลักเพราะเนื้อหามีน้อย
  • หนังสือรวมข้อสอบฯ หรือหนังสือที่มีตัวอย่างข้อสอบให้ฝึกทำ ก็เป็นสิ่งจำเป็นควรมีไว้เพื่อฝึกทักษะการทำข้อสอบ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้

 

1.2. วิธีการอ่านหนังสืออย่างไรให้จำได้เร็ว เทคนิคการอ่านหนังสือ มีดังนี้

  • ศึกษาหลักสูตรการสอบแข่งขันฯ ให้เข้าใจและจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา หนังสือ
  • ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ควรศึกษาโดยวิธีฝึกทำข้อสอบ ดูเฉลยและทำความเข้าใจ เรื่องไหนที่ยากควรทำจุดสังเกตไว้ในหนังสือหรือบันทึกสรุปวิธีการหรือหลักการหาคำตอบไว้ในสมุดบันทึกใช้ทบทวนใน คราวต่อไป
  • วิชาการศึกษา ควรศึกษาเป็นเรื่องๆ ตามกรอบหลักสูตรสอบฯโดยใช้หนังสือหรือเอกสารหลายๆเล่มประกอบกัน ทำจุดสังเกตไว้ในหนังสือ หรือสรุปเนื้อหาไว้ในสมุดบันทึก ใช้ทบทวนในคราวต่อไป
  • วิชาเอกหรือวิชาเฉพาะวุฒิ ควรศึกษาในสองลักษณะ คือ ลักษณะการจัดการเรียนการสอนวิชานั้นและเนื้อหาสาระของวิชานั้นๆ ในประเด็นสำคัญ สรุปและบันทึกสาระสำคัญเอาไว้ ฝึกทำข้อสอบวิชานั้น ๆ
  • ควรวางแผนในการศึกษาหรืออ่านหนังสือทั้งในเรื่องสถานที่ เวลา เนื้อหาวิชาตามความถนัดและความสะดวกของตนเอง เวลาที่เหมาะสำหรับอ่านหนังสือที่บ้านควรจะเป็นตอนเช้าประมาณ 04.00 -06.00 นาฬิกา
  • นอกจากการศึกษาเอกสารแล้วสื่อเอกสารอย่างอื่นก็เป็นสิ่งจำเป็น เช่น การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน การสอบถามหรือปรึกษากับครู อาจารย์ หรือผู้รู้ฯ การเข้ารับการอบรมสัมมนา(ติวสอบฯ) เป็นสิ่งจำ เป็น เพื่อรู้ความ เคลื่อนไหวปัจจุบัน
  • การติดตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากเพราะเนื้อหาเหล่านี้จะกำหนดในหลักสูตรสอบฯ และออกข้อสอบทุกครั้ง

 

1.3. วางแผนในการสอบอย่างไรให้ได้ผล ควรวางแผนการสอบตั้งแต่การเดินทาง การเข้าที่พัก การไปดู สนามสอบหรือห้องสอบ การทำข้อสอบและการเดินทางกลับ ดังนี้

  • ควรออกเดินทางไปถึงสถานที่หรือภูมิภาคสอบฯ อย่างน้อย 1วัน เพื่อจะได้มีเวลาพักผ่อน ไปดูสนามสอบฯ
  • เตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ หรือของใช้ส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง สิ่งที่จะลืมไม่ได้ คือ บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบฯ ปากกา ดินสอ และยางลบ (ใช้สำหรับฝนหรือระบายข้อสอบ) ยารักษาโรคประจำตัว(ถ้ามี) และหนังสือ หรือสรุปย่อเนื้อหาที่ได้จัดทำไว้แล้ว
  • คืนก่อนสอบ ให้ทบทวนเนื้อหาตามหลักสูตรสอบฯ เล็กน้อย หลังจากนั้นให้รีบเข้านอน
  • ในวันสอบ หลังจากภารกิจส่วนตัวเรียบร้อย ควรไปถึงสนามสอบก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • ก่อนถึงเวลาสอบประมาณ 5-10 นาที ควรตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง เข้าห้องน้ำทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย
  • เมื่ออยู่ในห้องสอบให้ปฏิบัติตามระเบียบของการสอบ หรือตามที่กรรมการคุมห้องสอบชี้แจง ให้ตั้งสติ ให้ดี มีสมาธิและวางแผนการทำข้อสอบ

 

1.4. การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบกรณีข้อสอบเป็นปรนัย (ชนิดตัวเลือก)

  • การบริหารเวลาในการสอบโดยตรวจสอบเวลาที่จะใช้ในการทำข้อสอบ แล้วคำนวณระยะเวลาในการทำข้อสอบ (โดยปกติมาตรฐานข้อสอบจะใช้เวลาทำข้อละ 1 นาที )ให้ชำเลืองดูนาฬิกาขณะทำข้อสอบเป็นระยะ ทำข้อสอบทีละ ข้อ โดยอ่านคำถามและทำความเข้าใจอย่างละเอียด
  • กรณีข้อสอบที่ต้องใช้วิธีคำนวณหรือจำเป็นต้องขีดเขียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ให้ขีดเขียนลงในกระดาษคำถามได้ (อย่าใส่ใจกับข้อห้ามที่บอกว่าห้ามขีดเขียนใดๆ ลงบนข้อสอบเกินไปนัก)
  • เมื่อทำข้อสอบครบทุกข้อแล้ว หากยังเหลือเวลาอย่าเพิ่งรีบออกจากห้องสอบให้กลับมาทบทวนข้อที่ยากหรือยังทำไม่ได้
  • หากใกล้หมดเวลาสอบแล้วยังทำไม่เสร็จ หรือข้อสอบจำนวนมาก ให้ใช้วิธีการเดา

 

1.5. การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบกรณีข้อสอบเป็นอัตนัย (อธิบาย)

  • ตรวจสอบดูว่าข้อสอบมีกี่หน้า คำถามครบทุกข้อหรือไม่ และอ่านคำชี้แจงให้เข้าใจ โดยเฉพาะประเด็นให้ทำกี่ข้อ
  • ให้ทำข้อที่ง่ายก่อน วางกรอบหรือทิศทางของคำตอบว่าจะตอบอะไรก่อนหลัง ควรอธิบายให้ชัดเจน กะทัดรัด แต่ตรงประเด็นมากที่สุด ไม่ควรบรรยายแบบน้ำท่วมทุ่ง เพื่อให้ได้คำตอบมากๆ ครบจำนวนหน้ากระดาษ เท่านั้น และควร เขียนอย่างบรรจง ประณีตที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

1.6. การปฏิบัติตัวหลังจากสอบเสร็จ ควรทำใจให้สบายถ้าหากเรามั่นใจและเตรียมตัวมาอย่างดี เราต้องสอบได้แน่ๆ หากเป็นเวลาพักเที่ยงควรรีบไปรับประทานอาหารกลางวันให้อิ่มและ พักผ่อน หรือถ้า ไม่มีสอบแล้วให้กลับไปพักผ่อนและเตรียมตัวสอบในวันถัดไป

 

2. เทคนิคการเลือกคำตอบที่ ถูกของงานราชการ

 

2.1. เทคนิคการเลือกคำตอบข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไปของงานราชการ คือ ต้องรู้ หลักการ วิธีการคิด สูตรทางคณิตศาสตร์หรือ พีชคณิต การฝึกทำข้อสอบประเภทนี้บ่อยๆ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้รู้ จำ และ เข้าใจหลักการ วิธีการคิด หรือสูตรการคิดได้อย่างรวดเร็วและจะทำเกิดความมั่นใจในที่สุด

 

2.2 เทคนิคการเลือกคำตอบข้อสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ลักษณะคำถาม 20 ประเภท ของข้อสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง โดยสรุปพอสังเขป ได้แก่

  • คำถามเกี่ยวกับพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส แนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์
  • คำถามเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวหรือแนวโน้มใหม่ทางด้านการศึกษา
  • คำถามเกี่ยวกับความรอบรู้ (ความเคลื่อนไหวทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและการปกครองและการต่างประเทศ)
  • คำถามที่เกี่ยวกับ มติหรือนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้มีในหลักสูตรการสอบแข่งขันหรือการคัดเลือก ข้าราชการ
  • คำถามเกี่ยวกับนโยบายหรือโครงการของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • คำถามเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีหรือสาระสำคัญ หลักการ ของเรื่องนั้นๆ
  • คำถามเกี่ยวกับ วัน เวลา จำนวน สถานที่หรือ ตัวเลข
  • คำถามเกี่ยวกับ บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่ตนเองปฏิบัติงาน หรือหน่วยงานต้นสังกัด
  • คำถามที่มีคำว่า ไม่ ไม่ใช่ ผิด ไม่ถูกต้อง แตกต่างไปจากพวก หรือยกเว้น
  • คำถามที่เป็นมีศัพท์ภาษาอังกฤษ หรือสำนวน ให้แปลความ หรืออธิบาย
  • คำถามที่มีประเด็นคำถามหลายประเด็นในข้อเดียวกัน
  • คำถามที่ถามถึงขั้นตอนการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ
  • คำถามที่ถามถึงประเด็นที่สำคัญที่สุด
  • คำถามที่มีตัวเลือกถูกทุกข้อ หรือถูกหลายข้อ
  • คำถามวิเคราะห์ เช่น ความเข้าใจและการนำไปใช้, หลักการ หรือนิยามศัพท์, ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน, สาระตามข้อบัญญัติของระเบียบหรือกฎหมาย, เป้าหมาย ผลลัพท์ หรือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา, ถ้อยคำ วลีที่เป็นตัวชี้วัด ของประเด็นคำถาม

 

3. เทคนิคในการเข้าสอบสัมภาษณ์ การสอบสัมภาษณ์และการให้ คะแนน จะพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน (ถ้ามี) ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
  • บุคลิกภาพด้านต่างๆ รวมทั้งอุปนิสัยของผู้ที่จะเข้ารับงานราชการเป็นข้าราชการครู
  • ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบ ของข้าราชการ
  • คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ ของข้าราชการ
  • ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ของข้าราชการ
  • ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
  • อื่นๆ ตามหน่วยงานผู้สอบฯกำหนด

ด่วนที่สุด! เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ให้ผ่านง่ายๆ

....การสอบสัมภาษณ์เป็นเรื่องที่ไม่ยากอย่างที่คิด แต่ก่อนอื่นคุณมีการเตรียมตัวที่ดีรู้เขารู้เราพอสมควร เช่น ศึกษาประวัติจังหวัดนั้นๆ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ของจังหวัด สินค้าเด่นระดับ OTOP แหล่งท่องเที่ยวเป็นแบบไหน ถ้าเป็นประวัติศาสตร์ต้องรู้ประวัติบ้าง

ถ้าคุณเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ต้องการรับข้าราชการคนใหม่ คุณมีเหตุผลอย่างไรในการเลือก ในทางกลับกัน ทำอย่างไรจะให้กรรมการสอบสัมภาษณ์เห็นความแตกต่างในความเหมือนข องผู้สมัครสอบสัมภาษณ์เช่นคุณ และเทคะแนนให้คุณ? หากคุณเอาใจกรรมการมาใส่ใจคุณ คุณจะสอบสัมภาษณ์ได้ไม่ยาก....

1. เมื่อคุณทราบว่าสอบผ่านข้อเขียนแล้ว ขั้นแรก ให้คุณติดตามข่าววัน เวลา สอบสัมภาษณ์ให้ดี เตรียมเอกสารให้พร้อม เอกสารบางอย่างอาจต้องยื่นก่อนวันสอบสัมภาษณ์ เช่น ตอนสมัคร คุณยื่นไว้ไม่ครบ แต่เขาให้โอกาสคุณไปสอบข้อเขียนก่อน เอกสารที่ต้องเตรียมไปวันสัมภาษณ์ เบื้องต้น 1.1 บัตรประจำตัวผู้สอบ 1.2 บัตรประชาชน 1.3 สำเนาทะเบียนบ้าน 1.4 ปริญญาบัตร หรือวุฒิบัตร และทรานสคริป ฉบับภาษาไทย 1.5 ใบสมรส , ใบหย่า ,ใบเปลี่ยนเชื่อ ,ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี) 1.6 ใบรับรองแพทย์ 1.7 ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี) 1.8 ใบเฉพาะวิชาชีพ (สำหรับบางตำแหน่ง เช่น ศึกษา3 ได้แก่ใบประกอบวิชาชีพครู ,วิศวกร3 ได้แก่ ใบอนุญาตวิชาชีพวิศวกรรม เป็นต้น)
กรณีถ่ายสำเนาควรถ่ายให้สะอาดๆ สุดๆ ไม่ใช่กระดำกระด่าง และให้ถ่ายเป็น A4 เท่านั้น

2. วางแผนเรื่องตารางเวลาให้รอบคอบ เพราะส่วนใหญ่คุณทำงานทุกวันอยู่แล้ว ธุรกิจยุ่งเหยิง จนลืมวันสำคัญในชีวิต ซึ่งเป็นวันตัดสินชะตาชีวิตคุณ ควรตรวจดูวันเวลาที่สอบสัมภาษณ์ รวมไปถึงลำดับที่เข้าสอบสัมภาษณ์ และควรไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาเล็กน้อยโดยฉบับลำดับต้นๆ ต้องรอให้สัมภาษณ์ให้ทันที สำหรับลำดับท้ายๆ ควรไปรอตั้งแต่การเริ่มการสอบสัมภาษณ์ ไม่ใช่ไปตอนที่ตัวเองคิดว่าจะถูกเรียกสัมภาษณ์ มาสายอาจถูกตัดสิทธิได้ อย่าวางใจในระบบขนส่ง (รถไฟ รถทัวร์) ของเรามากนัก

3. เตรียมตัวด้านวิชาการไว้บ้าง ได้แก่ ลักษณะงานที่ปฏิบัติในตำแหน่งที่สอบได้ (ดูจากคู่มือรับสมัครสอบจะเขียนบรรยายไว้อย่างละเอียด) ศึกษาข้อมูลการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ดูข่าวทางทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ในช่วงก่อนสัมภาษณ์ 1-5 วัน

4. การเตรียมตัวที่จำเป็นอีกข้อหนึ่ง คือ เตรียมนำเสนอตัวเอง หรือจุดเด่นของคุณต่อหน้ากรรมการสัมภาษณ์ คุณควรฟิตซ้อมเรื่องนี้ไว้ตามสมควร เพื่อจะได้ราบรื่นในวันสอบจริง จะลองซ้อมด้วยตัวเองหน้ากระจก หรือซ้อมให้เพื่อนฟังก็ได้ ปกติในการสอบสัมภาษณ์กรรมการจะขอให้คุณนำเสนอตัวเอง เช่น ประวัติการศึกษา หน้าที่การงานในอดีตและปัจจุบัน เหตุผลและมูลจูงใจที่มาสอบตำแหน่งนี้ ส่วนเวลาที่เหลือจะเปิดโอกาสให้ตอบข้อซักถามกับกรรมการ
     ในวันสอบสัมภาษณ์ต้องแต่งกายให้เรียบร้อยและสะอาดสะอ้าน ทรงผม เล็บมือ ฯลฯ ต้องดูดี ผู้ชายควรสวมเชิ้ตสีสุภาพ ผูกเนคไทให้เรียบร้อยก็ดี ส่วนผู้หญิงควรนุ่งกระโปรง สวมเสื้อสไตส์สุภาพ (จะใส่สูทด้วยก็ได้) งดเว้นการย้อมผมในสีต่างๆ ชั่วคราว และไม่ควรโป้โชว์ ที่ทำให้หัวใจกรรมการหวั่นไหว เพราะไม่ช่วยคะแนนดีขึ้นแต่อย่างใด

5. ก่อนเข้าห้องสอบให้สำรวจว่าปิดเครื่องมือสื่อสารแล้วหรือยัง ถึงแม้คุณจะทำธุรกิจตลอดเวลาก็ตาม เพื่อจะไม่รบกวนการสัมภาษณ์และสะดุดให้เสียอารมณ์กรรมการ เมื่อเข้าไปในห้องสอบ ต้องมีท่าทีนอบน้อม ตามธรรมเนียมไทยที่ดี มีสัมมาคารวะ ทั้งขามาและขากลับ ต้องยกมือไหว้กรรมการทุกท่าน (ถึงแม้บางท่านจะอายุน้อยกว่าคุณก็ตามที)

6. ตอบทุกคำถามอย่างมั่นใจ แต่ไม่โอหัง หรือขี้โม้จนน่าหมั่นใส้ รวมทั้งไม่ใช้ท่าทีขี้เล่น หรือลุกลี้ลุกรน

7. ต่อไปนี้คือเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาให้การสัมภาษณ์ บางครั้งดูเหมือนตอบคำถามกรรมการได้หมด แต่ตกสัมภาษณ์ เพราะการสอบสัมภาษณ์ มิใช่เป็นการตอบคำถามแต่เพียงอย่างเดียว แต่คณะกรรมการจะพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
    ก) ความตั้งใจที่จะเข้ารับราชการ รวมถึงความร่วมมือจากส่วนอื่นที่สัมพันธ์กับคุณ เช่น ครอบครัวคุณ ความมั่นใจว่าคุณจะเป็นข้าราชการที่ดี
    ข) บุคลิกภาพและความเป็นผู้นำ ดูจากเรื่องราวที่คุณแนะนำตัวเอง การจัดเวลานำเสนอ การแต่งกาย การพูดจา
    ค) การนำเสนอความรู้ที่สามารถนำไปพัฒนาท้องถิ่น สังคม ประเทศชาติ

8. คำถามสุดฮิตติดชาร์ท ที่ถูกต้อนเป็นประจำ
    ก) ตำแหน่งคุณใหญ่โตดูแลงานมากมาย เงินเดือนก็เยอะ มารับราชการทำไม
    ข) เหตุใดมาสอบที่นี่ บ้านอยู่ ....... ไกลจากที่นี่จะตายไป
    ค) คุณอยู่แถวจังหวัด.... ทำไมไม่สอบจังหวัด...... เพราะอยู่ใกล้บ้านคุณ
    ง) คุณคิดว่า บรรจุตำแหน่งนี้แล้ว จะทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ให้กับท้องถิ่นของคุณ
    จ) ที่ทำงานของคุณ ที่บ้านของคุณไม่สนับสนุนให้คุณรับราชการ คุณแอบมาสอบไม่มีปัญหาเหรอ
ฉ) คุณต้องอยู่ที่นี่อย่างน้อย 2 ปีตามระเบียบใหม่ จะไม่มีปัญหากับครอบครัวเหรอ
ช) ค่าครองชีพสูงมาก เงินเดือนคุณแค่นี้ จะไหวหรือ


nooooolek 2011-06-14 09:48
ขอบคุณนะคะ

phusanisa 2011-08-20 01:52
ขอบคุณค่ะ

ohmnakron 2012-03-04 11:35
ขอบคุณมากๆๆคับ


เวอร์ชันเต็ม: [-- วิธีการเตรียมตัวสอบรับราชการ --] [-- top --]


Powered by PHPWind v7.5 SP3 Code ©2003-2010 PHPWind
Time 0.184878 second(s),query:2 Gzip enabled

You can contact us