ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
boontipa ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ใช้ระดับ I
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

แชร์กระทู้นี้

1.             ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

                ก. แนวทางในการบรรลุผล

                ข. ขั้นตอนหรือแผนงาน

                ค.ทุนที่ใช้ในการดำเนินการ

                ง. เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

                ตอบ ง.  ทุนที่ใช้ในการดำเนินการ

 องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะมีดังนี้

 1. ต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

 2. ต้องประกอบด้วยลำดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์             ที่ได้กำหนดเอาไว้

                                3. ต้องมีลักษณะเป็นแนวทางหรือหลักการที่ประสงค์จะเป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้        สามารถบรรลุผลสำเร็จลงได้

                                4. ต้องมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ   ฯลฯ

2.             ข้อใดถูกต้อง

ก. Scientific Reasons : การนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

ข. Professional Reasons : การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

ค. Political Reasons : การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

ง. Policy Effects : ปัจจัยน้ำข้าวของนโยบาย เช่น ทรัพยากร

จ. ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ  ค.  Political Reasons: การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

 Thomas R.Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือไม่กระทำ โดยเขาได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ ๓ ประการได้แก่

1. เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทำความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย

2. เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนำความรู้เชิงนโยบายไปใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ

3. เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง

3.            ความสมเหตุสมผลทางด้านปัทสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนในเรื่องใด

                ก. การวางแผนที่เน้นเนื้อหา

                ข. การวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

                ค. การวางแผนที่เน้นการควบคุม

                ง. การวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

                จ. การวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

                ตอบ  ข. การวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

 ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นเนื้อหาสาระหรือทฤษฎีเชิงสาระ เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระเฉพาะเรื่องที่จะนำมาวางแผนเป็นอย่างมากโดยมุ่งอธิบายรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหาที่เจาะลึกในแต่ละเรื่องโดยไม่สนใจเรื่องวิธีการเช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

 1. การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทำหน้าที่ ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีซึ่งมุ่งอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน และต่อมาได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นกานนำนโยบายไปปฏิบัติ

 2. การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปัทสถานได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนทางสังคมและการวางแผนสนับสนุน

4.            ข้อใดถูกต้อง

                ก. นโยบายสาธารณะได้มากจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม

                ข. แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา

                                ค. ความสมเหตุสมผลทางด้านปัทสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

                                ง. ทฤษฎีเชิงกรรมวิธีต่อมาได้พัฒนาไปเป็นการวางแผนที่เน้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ

                                จ. ข้อ ค. และ ข้อ ง. ถูก

                ตอบ จ. ข้อ ค. และ ข้อ ง. ถูก

                                                คำอธิบายดังข้อข้างต้น

5.            ข้อใดไม่ถูกต้อง

                ก. แผนงานเป็นตัวแปรที่ Cook & Scioll  เสนอไว้ในตัวแบบของเขา

                ข. การนำนโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่ปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจ

                ค. นโยบายทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวของกับการสร้างความมั่นคงให้กับประชาชน

                ง. การจัดการศึกษานอกโรงเรียนเกี่ยวของกับนโยบายทางด้านการศึกษา

                จ. นโยบายทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับการกินดีอยู่ดีของประชาชน

                ตอบ  ค. นโยบายทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวของกับการสร้างความมั่นคงให้กับประชาชน

 นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Econmomic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยงข้องกับความอยู่ดี กินดีของประชาชน ให้ประชาชนได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนอะไรที่ได้มาซึ่งรายได้ รายจ่าย ซึ่งเมื่อจ่ายไปแล้วมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น

6.            ข้อใดไม่ถูกต้อง

                ก. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย

                ข. การจัดทำร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย

                ค. การกำหนดทางเลือกอยู่ในขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย

                ง. การตีความหรือแปลงนโยบายอยู่ในขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ

                จ. ถูกทุกข้อ

                ตอบ  จ. ถูกทุกข้อ

 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย การพิจารณาปัญหานโยบาย (Policy Problem) หรือความต้องการของประชาชนที่จะนำมากำหนดเป็นนโยบาย การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา ส่วนขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation)

                ประกอบด้วย

 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

 2. การกำหนดเกณฑ์วัด และวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน

 3. การกำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน

 4. การนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

7. Pressman and Wildavsky ศึกษาเรื่องใด

                ก. การปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

                ข. การจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

                ค. การพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นวิทยาลัยที่สมบูรณ์

                ง. Catalytic Role Model

                จ. โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาล

                ตอบ  ข. การจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

 Pressman and Wildavsky ได้เสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Implementation” โดยมุ่งศึกษานโยบายการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย แห่งนครโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งผลงานวิจัยฉบับนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบและเป็นจุดกำเนิดของวิชาการนำนโยบายไปปฏิบัติอีกด้วย

8.            ใครพบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

                ก. ธงชัย สมครุฑ

                ข. ปิยวดี ภูศรี

                ค. อาคม ใจแก้ว

                ง. สากล จริยวิทยานนท์

                จ. เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์

                ตอบ  จ. เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์

                                                เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ศึกษาเรื่อง การปฏิบัตินโยบายสำหรับชายแดนภาคใต้: ศึกษืเท่านั้น แล้วผลการศึกษาในเรื่องนี้ ผู้วิจัยก็พบว่าการแสวงหาผลประโยชน์ เป็นปัจจัยประการหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดความล้มเหลวหรือความสำเร็จของนโยบายไปปฏิบัติ

 

9.            ความสามารถในการผลิตหรือให้บริการ โดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเภทใด

                ก. ประสิทธิผล

                ข. ประสิทธิภาพ

                ค. ความเหมาะสม

                ง. ความเป็นธรรม

                จ. ความสามารถในการตอบสนอง

                ตอบ  ข. ประสิทธิภาพ

                                                ประสิทธิภาพ หมายถึง  ความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบาย โดยใช้ต้นทุนต่ำสุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการ โดยมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด


เอกสารแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ 

- ความรู้เกี่ยวกับสภาวิจัยแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

แนวข้อสอบสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

- การสอบสัมภาษณ์

การบริหารแผนงาน นโยบาย โครงการ

การวิเคราะห์ ประเมินประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงาน (ถาม-ตอบ)

แนวข้อสอบ การบริหารแผนงาน นโยบาย โครงการ

นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยฉบับที่ 8 พ.ศ.2555-2559

แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน

- การบริหารจัดการงานวิจัย


ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ 399-

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย 
สาคขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี เดโช  พระกาย  ออมทรัพย์
 
โอนเงินแล้วแจ้งที่  
decho.by@hotmail.com


decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1111111111111
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ถาม – ตอบ
นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559)
*******************************

1.     นโยบายการวิจัยของชาติระหว่าง พ.ศ. 2555-2559  ได้กำหนดเรื่องใดไว้บ้าง
ตอบ   1. เน้นการบูรณาการด้านการวิจัยที่สอดคล้องกับแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สามารถเชื่อมโยงกับแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ความต่อเนื่องของนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2554) การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ รวมทั้งนโยบายและแนวทางการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติระยะยาว พ.ศ. 2553-2572
2. ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับการวิจัย ตลอดจนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมกันเสนอแนะ ปฏิบัติ และติดตามผล
3. เน้นงานวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) ซึ่งมีการกำหนดกลยุทธ์การวิจัยที่สอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศ บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. จัดสรรงบประมาณการวิจัยให้กระจายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งในภูมิภาค โดยมีกระบวนการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ และมีกลไกกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัยในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค
5. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2555-2559) อย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
6. ให้นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559) เป็นพื้นฐานเชิงนโยบายที่เชื่อมโยงกับการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายการวิจัยของชาติระยะยาว (พ.ศ. 2553-2572)
2.    วิสัยทัศน์การวิจัยของชาติ คืออะไร
ตอบ   “ประเทศไทยมีและใช้งานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน”
3.    พันธกิจการวิจัยของชาติ ได้แก่
ตอบ    “พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศให้สูงขึ้น และสร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่า สามารถประยุกต์และพัฒนาวิทยาการที่เหมาะสมและแพร่หลาย รวมทั้งให้เกิดการเรียนรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ตลอดจนเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้ทรัพยากรและเครือข่ายวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม”
4.    ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2555-2559) มีกี่ยุทธศาสตร์
ตอบ  5 ยุทธศาสตร์
5.    ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ  ข้อที่  1  คืออะไร
ตอบ   การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม
6.    เป้าประสงค์การวิจัยในการสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม คืออะไร
ตอบ  สร้างเสริมองค์ความรู้ให้เป็นพื้นฐานเพื่อความมั่นคงของประเทศ โดยการสร้างความเข้มแข็งของสังคม การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต และความผาสุกของประชาชน
7.    ยุทธศาสตร์การวิจัยในข้อ  1 มุ่งเน้นในเรื่องใด
ตอบ  มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต สวัสดิการเพื่อความมั่นคงของชีวิต ตลอดจนการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การสร้างความเข้มแข็งและการสร้างภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นและสังคม รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความยากจน นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ และการเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ โดยในระดับภูมิภาค อาจมุ่งเน้นในประเด็นสำคัญที่มีความจำเป็นต้องการผลงานวิจัยในพื้นที่ด้วย
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้