ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : เปิดรับสมัครสอบข้าราชการตุลาการ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

เปิดรับสมัครสอบข้าราชการตุลาการ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา

แชร์กระทู้นี้

คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เปิดรับสมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (สนามเล็ก) ประจำปี 2557
สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 30 มิ.ย.57

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม > http://ojc.thaijobjob.com/201406/lnw-1.pdf


ประกาศ เรื่อง กำหนดวันและเวลายื่นใบสมัคสอบคัดเลือกเพื่อบรรจะเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2557 (ประกาศวันที่ 11 มิถุนายน 2557)

(สนามใหญ่) รับสมัครทาง internet วันที่ 2 - 31 กรกฎาคม 2557


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา 

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

เตรียมสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา

ตัวอย่างข้อสอบ ผู้ช่วยผู้พิพากษา
แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ผู้ช่วยผู้พิพากษา)
ระเบียบสมัครและทดสอบความรู้ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายอาญา
สรุปวิชา กฎหมายลักษณะพยาน
สรุปประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

สรุปวิชากฎหมาย ป.วิ.อาญา

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่  โทร 085-0127724 Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย  ในราคาเพียงชุดละ   399 บาท 

หนังสือ + MP3 
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์   679  บาท

กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย

 สาขาบิ๊กซีขอนแก่น ชื่อบัญชี เดโช  พระกาย  ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com

รูปภาพ: ผู้ช่วยผู้พิภากษา (Large).jpg
decho ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
ข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
อัยการผู้ช่วย
    ข้อ  1.  ที่บุตรก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น บิดา มารดาจะต้องร่วมรับผิดด้วยเพียงใด
    นาย ก ห้ามมิให้นาย ข บุตรอายุ 16 ปี นำรถยนต์ออกไปใช้ และเก็บลุกกุญแจรถยนต์เสีย เมื่อนาย ก ไม่อยู่ นาย ข ได้ลักลอบนำรถยนต์ออกไปขับเล่น โดยใช้ลูกกุญแจอื่น และแล้วนาย ข ขับรถไปชนรถผู้อื่นเสียหาย ดังนี้ นาย ก จะต้องร่วมรับผิดในความเสียหายนั้นด้วยหรือไม่?
    ธงคำตอบ    บิดา มารดา จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เฉพาะบุตรที่เป็นผู้เยาว์เท่านั้น ส่วนบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว บิดา มารดา หาต้องรับผิดด้วยไม่ แต่กรณีที่ บิดา มารดา ต้องร่วมรับผิดกับบุตรที่เป็นผู้เยาว์ดังกล่าวนั้น หาก บิดา มารดา พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามความเหมาะสมแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย (ป.พ.พ.มาตรา 429) ตามอุทาหรณ์ บิดาไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย เพราะบิดาได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลแล้ว

    ข้อ  2. นายแดงขอร้องด้วยวาจาให้นายสีซึ่งเป็นเพื่อนของนายแดงไปขอเช่าที่ดินของนายมาแห่งหนึ่งเนื้อที่ 200 ตารางวา เพื่อสร้างอาคารทำการค้า เมื่อนายสี มาขอเข่าตามคำร้องของนายแดงนายมาก็ตกลง และได้ทำหนังสือสัญญาเช่ากันเองระหว่างนายแดงกับนายมา มีกำหนด 5 ปี โดยนายสีเป็นผู้ลงนามในสัญญาแทนนายแดง เมื่อเช่ากันมาได้เพียง 1 ปี นายมาไม่ยอมให้นายแดงเช่าต่อไป ดังนี้นายแดงจะมีสิทธิบังคับนายมาให้ปฏิบัติตามสัญญานั้นได้หรือไม่
ธงคำตอบ   นายแดงไม่มีสิทธิบังคับให้นายมาปฏิบัติตามสัญญา เพราะการตั้งตัวแทนไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ (ป.พ.พ.มาตรา 538,798 วรรค 2 )

    ข้อ  3.  กรมหนึ่งในกระทรวงมหาดไทยได้ทำสัญญาจ้าง  บริษัท ก จำกัด ทำโต๊ะ  เก้าอี้ จำนวนหนึ่งเป็นเงินหนึ่งแสนบาท  โดยแบ่งการรับเงินค่าจ้างเป็นงวดๆตามผลของงาน  ผู้รับจ้างได้ทำโต๊ะ เก้าอี้  ส่งผู้จ้าง  และได้รับเงินไป 2 งวด  โดยถูกต้องแล้ว  ต่อมาผู้รับจ้างทำผิดสัญญาทำให้ผู้จ่างได้รับความเสียหาย  กรมผู้จ้างจึงบอกเลิกสัญญาแล้วส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาฟ้องผู้รับจ้าสงเรียกค่าเสียหาย  ในการสอบหลักฐานชั้นอัยการ  ปรากฏจากกรมทะเบียนการค้าว่า บริษัท ก จำกัด  ผู้รับจ้างมีวัตถุประสงค์ในการค้ารถยนต์และเป็นนายหน้าเท่านั้น  ส่วนเจ้าหน้าที่ซึ่งลงนามในสัญญาแทนกรมผู้จ้างดก็ลงนมโดยไม่มีอำนาจ  เช่นนี้  กรมผู้จ้างจะมีสิทธิฟ้องผู้ใดหรือไม่  และผู้รับจ้างจะอ้างข้อต่อสู้ไดเพียงใด
    ธงคำตอบ   ข้อถามมีอยู่ 2 ข้อ  คือ  ถามว่ากรมผู้จ้างจะมีสิทธิฟ้องผู้ใดหรือไม่  และผู้รับจ้างจะอ้างข้อต่อสู้ได้เพียงใด  ถ้าตอบว่ามีสิทธิหรือไม่มีสิทธิฟ้องผู้ใด  ก็ให้อ้างเหตุผลในคำตอบข้อหลังไว้ในคำตอบข้อแรก  กรมผู้จ้างฟ้องบริษัทฯไม่ได้  เพราะ บริษัทฯ ไม่มีวัตถุประสงค์ในการทำเครื่องเรือนขายผู้แทนกระทำการนอกเหนือวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ บริษัทฯจึงไม่ต้องรับผิด
    กรมผู้จ้างฟ้องผู้แทนบริษัทฯ ที่เข้าทำสัญญา  กับ กรมได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรค 2  ผู้รับจ้างจะอ้างว่ากรมไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ลงนามไม่มีอำนาจไม่ได้  เพราะกรมได้รับผลแห่งสัญญา  เป็นการให้สัตยาบันแล้ว ตามาตรา 823

    ข้อ  4.  ก ทำสัญญากู้เงิน ข  โดยนำที่ดินของตน 2 แปลง  ที่ตำบลบางเขนและตำบลพระโขนงซึ่งมีราคาแปลงละ 60,000 บาท  จำนองเป็นประกันเงินกู้โดยมิได้ระบุลำดับ  ต่อมา ก  ได้มาทำสัญญากู้เงินจาก ค  อีก 40,000 บาท  โดยได้นำที่ดินที่ตำบลบางเขนจำนองซ้อนไว้กับ ค อีก  เมื่อ ก  ผิดนัดไม่ชำระหนี้ของ ข  ข ได้บังคับจำนองจากที่ดินที่ตำบลบางเขน  ได้เงินชำระหนี้ของ ข  พอดีครั้นต่อมา  ก  ได้ผิดนัด  ไม่ชำระหนี้เงินกู้แก่ ค   กับได้มีเจ้าหนี้สามัญอื่นยึดที่ดินที่ตำลพระโขนง  ค  มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินตำบลพระโขนงเอาเงินชำระหนี้เงินกู้ก่อนเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ หรือไม่เพียงไร  และถ้าบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้  ค  จะขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของ ก  จนครบจำนวนหนี้ได้หรือไม่  เพียงใด
    ธงคำตอบ   ตาม ป.พ.พ. มาตรา 734 ค   เข้ารับช่วงสิทธิการเป็นเจ้าหนี้จำนองของ ข  เพียงเท่าจำนวนที่ ข  จะพึงได้รับจากที่ดินที่จำนองทั้งสองแปลง  โดยกระจายไปตามส่วนแห่งราคาทรัพย์สิน  คือ  มีสิทธิเข้าบังคับจำนองที่ดินตำบลพระโขนงก่อนเจ้าหนี้สามัญ   แต่เอาชำระหนี้ได้เพียง 30,000 บาท  ส่วนหนี้ที่เหลือ  ค  ไม่มีสิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของ ก  ได้ตามาตรา 733  เว้นแต่จะได้กำหนดไว้ในสัญญาจำนองว่าให้ ก  ยังคงต้องรับผิดส่วนที่ขาด

    ข้อ  5.  ก  เจ้าของสวนยางได้ทำสัญญาให้  ข  เช่าสวนยางมีกำหนด 10 ปี  โดยมีข้อกำหนดไว้ในสัญญาว่า  ข  ผู้เช่าจะต้องโค่นต้นยางเก่าออกทั้งหมด  และปลูกต้นยางใหม่แทนที่ให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 ปี  เมื่อ ข  เช่าได้ 3 ปี  ได้โค่นต้นยางเก่าและปลูกต้นยางใหม่เสร็จเรียบร้อยตาสัญญา  ก  เจ้าของสวนยางได้บอกเลิกสัญญาโดยอ้างว่า  การเช่ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  จึงมีผลใช้บังคับได้เพียง 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538  ดังนี้  ข  จะมีอำนาจฟ้องขอให้  ก  จัดการจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เพื่อให้มีการกำหนดเช่า 10 ปี  ตามสัญญาที่ได้ทำไว้หรือไม่
    ธงคำตอบ   ข  มีอำนาจฟ้อง ก  จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เพราะสัญญาระหว่าง ก  กับ  ข  เป็นสัญญาต่างตอบแทน  มิใช่เป็นสัญญาเช่าธรรมดา  การที่ ก  ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ( ฎีกา  796/2495 )

    ข้อ  6.  ขาวได้รับมอบอำนาจจากนายเขียวให้เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่นายดำออกจากที่เช่าของเขียว  ในที่สุดศาลได้พิพากษาให้ขับไล่ดำออกจากที่เช่า  คดีถึงที่สุดแล้วแต่ระหว่างที่อยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดีอยู่นั้น  เขียวได้ถึงแก่กรรม  ดังนี้  ขาวจะยังคงมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลได้หรือไม่
    ธงคำตอบ   ขาวยังมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้ปนไปตามคำพิพากษาของศาลได้จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของเขียวจะเข้ารับมรดกความ  เพราะแม้สัญญาตัวแทนจะระงับสิ้นไปเพราะตัวการตายก็ดี  แต่ตัวแทนก็ต้องจัดการ  อันสมควรทุกอยางเพื่อรักษาประโยชน์ของตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 ( ฎีกาที่  896/2502 )

    ข้อ  7.  นายขาวกับนางเขียวได้ทำการสมรสเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่ พ.ศ. 2470  แต่ไม่มีบุตรเนื่องจากนางเขียวเป็นหมัน  นายขาวกับนางเขียวประสงค์ที่จะได้บุตรอันเกิดจากนายขาวไว้  ฉะนั้นเพื่อให้นายขาวได้สมรสกับนายแดง  นายขาวกับนายเขียวจึงได้ตกลงกันทำหนังสือย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยาเมื่อ  พ.ศ. 2498  โดยได้ระบุในหนังสือหย่าว่าได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  แต่หลังจากที่ได้ทำหนังสือหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้ว  นายขาวกับนางเขียวก็ยังอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตามเดิมตลอดมา  และยังมิได้แบ่งทรัพย์สินกันอย่างใด
    ในปี 2504  นายขาวได้มีบุตรอันเกิดจากนางแดง  และเกิดทะเลาะวิวาทกับนางเขียว  นายขาวไม่ประสงค์จอยู่กินเป็นสามีภรรยากับนางเขียวต่อไป  จึงขอหย่าและขอให้จัดแบ่งทรัพย์สินดังนี้  นางเขียวจะอ้างว่าได้ขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน  และได้แบ่งทรัพย์กันเรียบร้อยแล้วตามหนังสือสัญญาหย่าที่ได้ทำไว้เมื่อ พ.ศ. 2498  ได้เพียงใดหรือไม่
    ธงคำตอบ   นายเขียวอ้างว่าได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากับนายขาวแล้วได้เพราะการหย่าขาดเป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมาย  แต่นางเขียวจะอ้างว่าได้แบ่งทรัพย์สินกับนายขาวเรียบร้อยแล้วไม่ได้  เพราะความจริงยังมิได้แบ่งกัน

    ข้อ  8.  ก  รับจ้างซ่อมรถยนต์ของ ข  เมื่อซ่อมเสร็จจึงมอบให้ ค  ลูกจ้างของตนขับรถไปให้ ข ที่บ้าน  แต่ก่อนที่ ค จะนำรถยนต์ไปส่งมอบแก่ ข   ค ได้ขับรถไปเที่ยวที่นครปฐม  และโดยความประมาทเลินเล่อของ  ค   ได้ขับรถไปชนรถยนต์ของ ง  ที่นครปฐม  เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันเสียหาย  ดังนี้  ก  จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อ ข  และ ง เพียงไรหรือไม่
    ธงคำตอบ   ก  ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อ ข ตาม ป.พ.พ. มาตรา 220  หรืออาจต้องรับผิดตามาตรา 425  แล้วแต่เหตุผลที่อ้าง  ส่วนจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียกายแก่ ง  หรือไม่นั้น  ฟังเหตุผลของการแปลคำว่า “ ในทางการที่จ้าง ” ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425

    ข้อ  9.  ดำใช้อุบายหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินไปจากขาว  แล้วปลอมหนังสือมอบอำนาจนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า  ขาวได้มอบอำนาจให้ตนเป็นผู้ดอนขายมี่ดินให้แก่ดำเอง  เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อ  จึงได้ทำการโอนทะเบียนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อของดำ  ต่อมาดำได้นำที่ดินแปลงนี้ไปจำนองกับเขียวซึ่งได้รับจำนองไว้โดยสุจริต  มีค่าตอบแทน  และได้จดทะเบียนการจำนองไว้ต่อพนักงานแล้ว  ดังนี้  เขียวจะยกสิทธิตามสัญญาจำนองขึ้นต่อสู้กับขาวได้เพียงไรหรือไม่
    ธงคำตอบ  เขียวจะยกสิทธิตามสัญญาจำนองขึ้นต่อสู้กับขาวไม่ได้  เพราะการจำนองได้กระทำโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม  การจำนองจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 119  ทั้งนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ได้กระทำโดยสุจริตผิดกฎหมาย  จึงต้องถือว่ามิได้มีนิติกรรมการโอยเกิดขึ้น  กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังเป็นของจาวอยู่

    ข้อ  10.  ก  ได้ประกาศให้มีการยื่นประมูลเพื่อทำการก่อสร้างตึกแถวของ ก  ปรากฏว่า  ข  เป็นผู้ยื่นประมูลในราคาต่ำสุด  จึงเผยเป็นผู้ประมูลได้  ก  ได้แจ้งผลการประมูลให้ ข   ทราบแล้ว  ข  ตกลงรับทำการก่อสร้างตามที่ได้ยื่นประมูลไว้   และตกลงมาทำสัญญากันเป็นลายลักษณ์อักษรภายในกำหนด 7 วัน  แต่แล้ว ข ได้บิดพลิ้วไม่ยอมมาทำสัญญาภายในกำหนด  เนื่องจากเห็นว่าตนได้ยื่นประมูลผิดพลาดไม่อาจรับทำการก่อสร้างในราคาที่ยื่นไว้ได้  ดังนี้  ก  จะถือว่าสัญญารับเหมาก่อสร้างได้เกิดขึ้นตั้งแต่ ก  ได้แจ้งให้ ข  ทราบถึงผลการยื่นประมูล  และฟ้องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาได้หรือไม่
    ธงคำตอบ   ยังไม่ถือว่ามีสัญญาเกิดขึ้น  เพราะได้มีข้อตกลงให้มาทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ก  จึงฟ้อง ข  ให้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ ( ป.พ.พ. 366 วรรค2 )

    ข้อ  11.  นายมาต้องกรเปิดร้านค้าขาย  ได้ทำสัญญากู้เงินนายมีไปลงทุน 1,000 บาท  และอนุญาตให้นายมีซื้อของเชื่อในร้านของตนได้  นายมีได้ซื้อของเชื่อไปจากร้านนายมาเป็นเงิน 1,000 บาท  ต่อมานายมีได้มีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องทีมีต่อนายมาตามสัญญากู้ไปให้นายคำ  โดยมีหนังสือแจ้งการโอนหนี้รายนี้ไปให้นายมาทราบแล้ว  ถ้านายคำแจ้งให้นายมามาชำระนี้ตามสัญญากู้ที่ได้รับโอนมา  นายมาจะขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่นายมีซื้อของเชื่อไปได้หรือไม่
    ธงคำตอบ   ถ้านายมาให้ความยินยอมในการที่นายมีดอนหนี้ให้นายคำ  โดยมีอิดเอื้อนนายมาจะขอหักกลบลบหนี้จากนายคำไม่ได้  แต่ถ้านายมาเพียงแต่ได้รับคำบอกกล่าวการโอนไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย  นายมาหักกลบลบหนี้ได้ ( ป.พ.พ. 308 , 341  )
    ข้อ  12.  นายสีฝานาฬิกาไว้กับนายสา  ต่อมาอีกประมาณ 1 เดือนนายสีได้ตั้งนายสาเป็นตัวแทนขายรถยนต์ของนายสี  โดยตกลงจะให้บำเหน็จในการเป็นตัวแทนขายรถยนต์ร้อยละ 10 ของราคาที่ขาย  เมื่อนายสาขายรถยนต์ได้มอบเงินให้นายสีไปแล้ว  นายสีไม่ยอมจ่ายค่าบำเหน็จให้นายสาตามที่ให้สัญญาไว้และทวงให้นายสาส่งนาฬิกาที่ฝากไว้คืน  ดังนี้  นายสาจะยึดนาฬิกาไว้จนกว่านายสีจะจ่ายค่าบำเหน็จตามที่ตกลงกันได้หรือไม่
    ธงคำตอบ   นายสาจะยึดนาฬิกาไว้ไม่ได้เพราะนาฬิกาไม่ได้ตกอยู่ในความครอบครองของนายสาเพราะเป็นตัวแทน ( ป.พ.พ. มาตรา 819 )

    ข้อ  13.  นายดำและนายแดงเป็นพ่อค้า  ในการซื้อเกี่ยวกับการค้านั้น  นายดำเป็นลูกหนี้นายแดงอยู่ 2,000 บาท  นายขาวเพื่อนของนายดำได้เอาแหวนเพชรของตนไปจำนำไว้กับนายแดงเป็นประกันหนี้รายนี้  ถ้าหนี้ที่นายดำเป็นหนี้นายแดงได้ขาดอายุความเพราะนายแดงมิได้ฟ้องขอให้ชำระเสีย  ภายในกำหนดเวลา 2 ปี  นายแดงจะบังคับจำนำโดยนำแหวนเพชรออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ที่นายดำเป็นลูกหนี้แทนจะได้หรือไม่
    ธงคำตอบ   นายแดงบังคับจำนำโดยเอาแหวนเพชรออกขายทอดตลาดได้  เพราะการที่หนี้จำนำเป็นประกันขาดอายความ  ไม่ทำให้การจำนำระงับไป ( ป.พ.พ. 189 , 769 (1)  )

    ข้อ  14.  นายจอนขอซื้อข้าวสารชนิดพิเศษจากนายจันมีอยู่ 10 กระสอบ  ทั้งหมดอย่างหนึ่ง  หรือขอซื้อเพียง 3 กระสอบจากจำนวน 10 กระสอบนั้นอีกอย่างหนึ่ง  นายจันตกลงขายให้และตกลงกันว่านายจอนจะมารับเอาไปจากร้านของนายจันเองในวันรุ่งขึ้น  ในคืนนั้นเองไฟไหม้ในย่านที่ร้านของนายจันตั้งอยู่  ไฟไกไหม้ลุกลามมาถึงร้านของนายจันและไหม้ข้าวสารทั้ง 10 กระสอบนั้นเสียหายใช้ไม่ได้  นายจอนจึงขอให้นายจันคืนเงินค่าข้าวสารครึ่งหนึ่งที่นายจอนชำระไปแล้วในวันตกลงซื้อให้  นายจันปฏิเสธทั้งยังได้เรียกร้องให้นายจอนชำระราคาที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งให้แก่นายจันด้วย  ท่านเห็นว่าการปฏิเสธและข้อเรียกร้องของนายจันชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
    ธงคำตอบ   การซื้อขายข้าวสารทั้ง 10 กระสอบ  เป็นการซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่งกรรมสิทธิ์จึงโอนไปยังนายจอนผู้ซื้อตั้งแต่เมื่อตกลงซื้อขายกัน ( ป.พ.พ. 458 , 460 )  ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของนายจันผู้ขาย  จึงตกเป็นพับแก่นายจอนผู้ซื้อ ( ป.พ.พ. 370 วรรคแรก )  นายจอนไม่อาจเรียกร้องเอาค่าข้าวสารที่ชำระไปแล้บางส่วนคืนตนยังต้องชำระราคาที่ค้างอยู่ให้แก่ผู้ขายอีก  การปฏิเสธและข้อเรียกร้องของนายจันชอบด้วยข้อกฎหมายดังกล่าวนี้  
    หากนายจอนซื้อเพียง 3 กระสอบ  ผงทางกฎหมายจะผิดกันหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง  หากข้อเท็จจริงได้ความว่า  ได้มีการคัดเลือกหรือทำโดยวิธีใดเพื่อบ่งตัวทรัพย์ว่าเป็นข้าวสารกระสอบไหนแล้วกรรมสิทธิ์ในข้าวสารทั้ง 3 กระสอบ  ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อ  กรณีจึงเป็นไปเช่นเดียวกับข้อกฎหมายข้างต้น  แต่ถ้าข้อเท็จจริงได้ความว่ายังไม่มีการคัดเลือกหรือแยกข้าวสาร 3 กระสอบออก  กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจากผู้ขายภัยพิบัติจึงตกอยู่แก่นายจัน  นายจันไม่อาจเรียกร้องให้นายจอนชำระราคาได้  และเงินที่ได้รับไว้แล้วก็ต้องคืนไป ( ป.พ.พ. มาตรา 460  วรรคแรก )

    ข้อ  15.  นายแดงเป็นเจ้าหนี้เงินกู้นายดำ 30,000 บาท  โดยมีนายขาวเป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้รายนี้  เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ  นายขาวได้ทราบว่า  นาดำผิดนัดชำระหนี้และหลบหนีไป  ไม่ทราบว่าไปอยู่แห่งใด  นายขาวเองก็ไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นพอที่จะนำมาชำระหนี้แก่นายแดงในฐานเป็นผู้ค้ำประกันได้  แต่นายเขียวญาตินายขาวเป็นลูกหนี้นายขาวอยู่ 20,00 บาทท  นายขาวเห็นว่าแม้นายเขียวจะชำระหนี้แก่ตน  นายแดงก็จะต้องบังคับเอาชำระหนี้ที่นายขาวได้ค้ำประกันไว้อย่างแน่นอน  นายขาวจึงปลดหนี้ให้นายเขียวญาติของตนเสย  ดังนี้  ถ้านายแดงมาปรึกษากับท่านถึงวิธีการเอาชำระหนี้รายนี้ท่านจะแนะนำนายแดงอย่างไร
    ธงคำตอบ   แม้นายขาวจะเป็นผู้ค้ำประกันก็ถือได้ว่าเป็นลูกหนี้ ( ฎีกาที่ 582/2483 )  จึงควรแนะนำให้นายแดงร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่นายขาวปลดหนี้ให้นายเขียวตาม ป.พ.พ. มาตรา 237  เพราะการที่นายขาวได้ปลดหนี้ให้แก่นายเขียวเป็นการทำให้นายแดงเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วแนะนำให้นายแดงใช้สิทธิเรียกร้องเอาชำระหนี้จากนายเขียวในนามของตนเองแทนนายขาว  ในเมื่อนายขาวขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง ( ป.พ.พ. มาตรา 233 )


    ข้อ  16.  เมื่อวันที่ 2 เมษายน  2507  นายสียกที่ดินมีโฉนดให้แก่นายสาโดยเสน่หา กำหนดว่าจะไปดอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนายสีได้หายป่วยแล้ว  ระหว่างที่นายสียังไม่หายป่วยนี้  นายสาได้เข้ามาอยู่ในที่ดินยกให้  และได้ปลูกตึกกเป็นที่อยู่อาศัยบนที่ดิน 1 หลัง  สิ้นค่าก่อสร้างไป 80,000 บาท   พอปลูกบ้านเสร็จได้ 3 เดือน  นายสีก็ถึงแก่กรรมเสียก่อนที่จะได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่นายสา  ดังนี้ที่ดินที่นายสีได้ยกให้นายสาและตึกที่นายสาได้ปลูกบนที่ดินนี้ตามกฎหมายจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายสาหรือทายาทของนายสีโดยสมบูรณ์  หรือภายใต้เงื่อนไขอย่างใด
    ธงคำตอบ   ที่ดินที่นายสียกให้นายสาตกเป็นกรรมสิทธิอ์แก่ทายาทของนายสี  เพราะสัญญษให้ที่ดินนี้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525  ส่วนตึกนั้นเป็นกรรมสิทธิ์แก่ทายาทของนายสีตาม ป.พ.พ. มาตรา 107  ภายใต้บังคับมาตรา 1310  หรือ 1311  แล้วแต่ว่านายสาได้ปลุกสร้างลงโดยสุจริตหรือไม่สุจริต ( ฟังเหตุผลประกอบคำตอบ )

    ข้อ  17.  นายมีกู้เงินนายมาไป 60,000 บาท  โดยนำบ้านของตนไปจำนองเป็นประกันหนี้รายนี้  ต่อมานายีเดินทางไปค้าขายที่ประเทศลาว  จึงได้ให้นายมั่นเป็นผู้ดูแลบ้าน  ระหว่างที่นายมียังค้าขายอยู่ที่ประเทศลาวนั้นบ้านของนายมีถูกพายุพัดพัง  นายมั่นจึงได้จัดการสร้างจ้างช่างมาซ่อมแซมบ้านนายมี  สิ้นค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ้านไป 5,000 บาท  เนื่องจากการค้าขายของนายมีที่ประเทศลาวไม่ได้ผล  นายมีจึงไม่มีทรัพย์สินที่จะนำมาชำระแก่นายมา  และนายมั่น  นายมาจึงได้บังคับจำนองบ้านของนายมีแต่ขายทอดตลาดได้เงินเพียง 4,00 บาท  ไม่พอชำระหนี้  ดังนี้นายมั่นจะมีทางเอาชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการบังคับจำนองเพียงใดหรือไม่
    ธงคำตอบ   นายมั่นเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 274  ดังนั้น  ถ้านายมั่นได้ไปจดทะเบียนไว้เมื่อทำการซ่อมบ้านนายมีเสร็จแล้ว  นายมั่นก็เอาชำระหนี้ได้ก่อนนายมา  แต่ถ้านายมั่นมิได้ไปจดทะเบียนไว้ก็เอาชำระหนี้ไม่ได้ ( ป.พ.พ. มาตรา 285 , 287 )

    ข้อ  18.  นายเหลืองเป็นลุกหนี้นายเขียว  โดยมีนายม่วงเป็นผู้ค้ำประกัน  ต่อมานายเหลืองผิดนัดไม่ชำระหนี้นายเขียวจึงฟ้องนายเหลืองและนายม่วงเป็นจำเลย  ศาลพิพากษาให้นายเหลืองชำระหนี้แก่นายเขียว  ถ้าไม่ชำระก็ให้นายม่วงซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระแทนจนครบ  ก่อนที่จะชำระหนี้  นายเหลืองได้ถึงแก่กรรมและไม่มีทรัพย์ที่จะชำระหนี้ได้  ถ้านายเขียวได้ขอชำระหนี้จากนายม่วง  เมื่อหลังจากที่นายเหลืองได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว 2 ปี  นายม่วงจะอ้างว่านายเขียวได้ขอให้ชำระหนี้เมื่อขาดอายุความมรดกแล้วตนซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย  ข้อมูลต่อสู้ของนายม่วงนี้จะรับฟังได้เพียงใดหรือไม่
    ธงคำตอบ   นายม่วงจะยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ไม่ได้  เพราะนายม่วงต้องรับผิดในฐานะเป็นลุกหนี้ตามคำพิพากษาไม่เกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกัน ( ฎีกาที่ 605/2485 )

    ข้อ  19.  ข  ตกลงขายที่ดินของ ข  ซึ่งมีเนื้อที่ 1 ไร่  ราคาตารางวาละ 1,100 บาท  เป็นเงิน 400,000 บาท  ให้แก่ ก  โดย ก  ยินยอมวางเงินมัดจำให้ ข  ไว้ในวันตกลงซื้อขายกันนี้เป็นเงิน 10,000 บาท  ในวันรุ่งขึ้นจึงได้ทำสัญญาจะซื้อขายกัน  กำหนดจดทะเบียนดอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินที่เหลือภายใน 30 วัน  ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายกันนั้น  ข  เห็นที่ดินของ ข  ซึ่งเป็นทางเดินเข้าหลังที่ดินแปลงที่ซื้อขายนี้เก็บไว้ก็ไม่ได้ประโยชน์  ข  จึงตกลงกำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อขายด้วยว่า ข ยอมยกที่ดินซึ่งเป็นทางเดินด้านหลังของตนให้แก่ ก  ด้วย  โดยจดทะเบียนดอนกรรมสิทธิ์พร้อมกันในวันจดทะเบียนทำสัญญาซื้อขายแต่แล้ว  ข  “ บิดพลิ้ว ”  ไม่ยอมขายและดอนที่ดินให้แก่  ก  ตามที่ได้ทำสัญญาไว้  ดังนี้  ก  จะฟ้อง ข  ให้ปฏิบัติตามสัญญานี้ได้เพียงใดหรืไม่
    ธงคำตอบ   ก  ฟ้อง ข  ให้ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายได้  เพราะได้วางเงินมัดจำไว้แล้ว  ( ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง )  แต่ไม่อาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ ข  จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทางเดินที่ ข  ยกให้ได้  เพราะการให้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่   จึงไม่สมบูรณ์  ( ป.พ.พ. มาตรา 525 , 526 )
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้