ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

แชร์กระทู้นี้

แนวข้อสอบ

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

1. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.. ๒๕๑๘ ให้ไว้ ณ วันใด

ก. ๓ มกราคม พ.. ๒๕๑๘                                    ค. ๓ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๕๑๘

ข. ๔ มกราคม พ.. ๒๕๑๘                                    ง. ๔ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๕๑๘

ตอบ    ข.๔ มกราคม พ.. ๒๕๑๘

2. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.. ๒๕๑๘ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วัน

นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ก. 30 วัน                                                                     ค. 90  วัน

ข. 60 วัน                                                                     ง. 180  วัน

ตอบ   ค. 90  วัน

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

3. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท มีกี่ฉบับ

ก. 2  ฉบับ                                                                   ค. 4 ฉบับ

ข. 3  ฉบับ                                                                   ง.  5 ฉบับ

ตอบ   ค. 4 ฉบับ  ได้แก่

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.. ๒๕๑๘ (ฉบับที่ ๑)

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๒ ) .. ๒๕๒๘

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๓) .. ๒๕๓๕

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๔ ) .. ๒๕๔๓

4. วัตถุออกฤทธิ์หมายความว่าอย่างไร

ก. สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย

ข. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ

ค. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์

ง. ถูกทั้ง  ข  และ ค

ตอบ   ง.ถูกทั้ง  ข  และ ค

วัตถุออกฤทธิ์หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

5. สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย  คืออะไร

ก. วัตถุออกฤทธิ์                                                        ค. วัตถุตำรับ

ข. วัตถุตำรับยกเว้น                                                  ง. ไม่มีข้อถูก

ตอบ   ค. วัตถุตำรับ

วัตถุตำรับหมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรม ซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้

วัตถุตำรับยกเว้นหมายความว่า วัตถุตำรับที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมบางประการสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้น

6. ข้อใดคือความหมายของคำว่า เสพ

ก. การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ด้วยวิธีการกิน

ข. การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ด้วยวิธีการสูดดม

ค. การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ด้วยวิธีการฉีด

ง. การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือทางใด

ตอบ   ง. การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือทางใด   

เสพหมายความว่า การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือทางใด

        “ติดวัตถุออทธิ์หมายความว่า เสพเป็นประจำติดต่อกันจนตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งวัตถุออกฤทธิ์นั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ

7. ใครเป็นรักษาการตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.. ๒๕๑๘

ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข                             

ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ตอบ   ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นกับออกประกาศ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

8. ใครมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์

ก. ปลัดการกระทรวงสาธารณสุข                          ค. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข              ง. คณะกรรมกาวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

ตอบ   ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา

() ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ว่าวัตถุออกฤทธิ์ใดอยู่ในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔

() กำหนดมาตรฐานว่าด้วยปริมาณส่วนประกอบคุณภาพ ความบริสุทธิ์ หรือลักษณะอื่นของวัตถุออกฤทธิ์ ตลอดจนการบรรจุและการเก็บรักษาวัตถุออกฤทธิ์ตาม ()

() เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตาม ()

() ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามมิให้ผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง

(๔ ทวิ) ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ซึ่งอนุญาตให้ผลิตเพื่อส่งออกและส่งออกได้

() ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องมีคำเตือนหรือข้อควรระวังเป็นหนังสือหรือเป็นภาพ ให้ผู้ใช้ระมัดระวังตามความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้

() ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก

() ระบุวัตถุตำรับให้เป็นวัตถุตำรับยกเว้น

(๗ ทวิ) กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ตามมาตรา ๑๐๖ ทวิ

() ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้าไปยังประเทศหนึ่งประเทศใดตามมาตรา ๘๓

() ระบุสถาบันของทางราชการตามมาตรา ๑๕ () มาตรา ๑๗ () และมาตรา ๖๓ ()

(๑๐)  กำหนดสถานพยาบาลผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์

(๑๑) กำหนดระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการรักษาพยาบาลและระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาล

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
หมวด ๗
การโฆษณา
                  

มาตรา ๔๘ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่
(๑) การโฆษณาซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม เภสัชกร หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง หรือ
(๒) เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์

หมวด ๘
พนักงานเจ้าหน้าที่
                  

มาตรา ๔๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ผลิต สถานที่ขาย สถานที่นำเข้า หรือสถานที่เก็บ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ในระหว่างเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจนำวัตถุออกฤทธิ์ในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ อาจยึดหรืออายัดวัตถุออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ตลอดจนภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ผู้รับอนุญาตและบรรดาผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การขาย การนำเข้าหรือการเก็บ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในสถานที่ผลิต สถานที่ขาย สถานที่นำเข้า หรือสถานที่เก็บ อำนวยความสะดวกตามสมควร

มาตรา ๕๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวเมื่อผู้รับอนุญาตหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องร้องขอ
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๑ วัตถุออกฤทธิ์รวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ และเอกสารที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา ๔๙ หรือในกรณีมีการส่งออกหรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ ถ้าไม่ปรากฏเจ้าของ หรือพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือศาลไม่พิพากษาให้ริบ และผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอรับคืนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ยึดหรืออายัด หรือวันที่ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือวันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข
ถ้าสิ่งที่ยึดหรืออายัดไว้นั้นเป็นของเสียง่าย หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหาย หรือจะเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเกินราคาของวัตถุออกฤทธิ์ พนักงานเจ้าหน้าที่จะจัดการขายสิ่งที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อนถึงกำหนดตามวรรคหนึ่งก็ได้ได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใดให้ยึดเงินนั้นไว้แทน

มาตรา ๕๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

หมวด ๙
การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
                  

มาตรา ๕๓ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อนุญาตโดยความเห็นหรือคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ในกรณีมีการฟ้องผู้รับอนุญาตต่อศาลว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อนุญาตจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้รอคำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้
ผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตใด ๆ ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีกไม่ได้

มาตรา ๕๔ ผู้รับอนุญาตผู้ใดขาดคุณสมบัติ หรือเข้าลักษณะต้องห้ามข้อหนึ่งข้อใด ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ หรือไม่จัดให้มีเภสัชกรอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดดำเนินการตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง ผู้อนุญาตโดยความเห็นหรือคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตใด ๆ อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตและผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้หรือไม่ก็ได้สุดแต่จะพิจารณาเห็นสมควร

มาตรา ๕๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบ ในกรณีไม่พบตัวผู้ถูกสั่งหรือผู้ถูกสั่งไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ปิดคำสั่งไว้ ณ ที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายที่สถานที่ผลิต สถานที่ขาย หรือสถานที่นำเข้า ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ และให้ถือว่าผู้รับอนุญาตได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคำสั่ง
คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง จะโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือโดยวิธีอื่นอีกด้วยก็ได้

มาตรา ๕๖ ผู้อนุญาตโดยความเห็นหรือคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตก่อนกำหนดเวลาได้ เมื่อเป็นที่พอใจว่าผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว

มาตรา ๕๗ ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ยกอุทธรณ์ หรือแก้ไขคำสั่งของผู้อนุญาตในทางที่เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ได้
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

มาตรา ๕๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขายวัตถุออกฤทธิ์ของตนที่เหลืออยู่แก่ผู้รับอนุญาตอื่น หรือแก่ผู้ซึ่งผู้อนุญาตเห็นสมควรก็ได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือวันที่ได้ทราบคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เว้นแต่ผู้อนุญาตจะผ่อนผันขยายระยะเวลาให้ต่อไปอีกแต่ต้องไม่เกินหกสิบวัน

หมวด ๑๐
มาตรการควบคุมพิเศษ
                  

มาตรา ๕๙ ให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย

มาตรา ๖๐ ในกรณีวัตถุตำรับมีวัตถุออกฤทธิ์อันระบุอยู่ในประเภทต่างกันมากกว่าหนึ่งประเภทผสมอยู่ ให้ถือว่าวัตถุตำรับนั้นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่มีการควบคุมเข้มงวดกว่าในประเภทที่ผสมอยู่นั้น

มาตรา ๖๑ ในกรณีวัตถุตำรับใด
(๑) มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างปรุงผสมอยู่
(๒) มีลักษณะที่ไม่อาจก่อให้เกิดมีการใช้ที่ผิดทาง
(๓) ไม่สามารถจะแยกสกัดเอาวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้นกลับมาใช้ในปริมาณที่จะทำให้เกิดมีการใช้ที่ผิดทาง และ
(๔) ไม่ก่อให้เกิดอันตรายทางด้านสุขภาพและสังคมได้
รัฐมนตรีอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นวัตถุตำรับยกเว้นได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
วัตถุตำรับยกเว้นที่ประกาศตามวรรคสอง รัฐมนตรีอาจประกาศเพิกถอนได้ เมื่อปรากฏว่าวัตถุตำรับนั้นไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๖๒ ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขมีไว้ในครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทเว้นแต่ได้รับใบอนุญาต
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นำความในมาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๖๒ ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑

มาตรา ๖๒ ตรี ห้ามมิให้ผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ เว้นแต่การเสพตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรมเพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลผู้นั้น

มาตรา ๖๒ จัตวา ห้ามมิให้ผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยง ส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง หรือขู่เข็ญ ให้ผู้อื่นเสพวัตถุออกฤทธิ์
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ในสาขาทันตกรรม อาจแนะนำหรือบังคับให้ผู้อื่นเสพเพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลผู้นั้นได้

มาตรา ๖๓ บทบัญญัติมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์สำหรับกิจการของผู้รับอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔
(๒) การมีไว้ในครอบครองของบุคคลในปริมาณพอสมควรเพื่อการเสพ การรับเข้าร่างกาย หรือการใช้ด้วยวิธีอื่นใดซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของบุคคลนั้นหรือสัตว์ของบุคคลนั้น
(๓) การมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ตามหน้าที่ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ของกระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรมหรือสถาบันอื่นของทางราชการตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๔) การมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ตามหน้าที่ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข
(๕) การมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ในปริมาณพอสมควรเท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาล หรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือ เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นใดที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรแต่ถ้ายานพาหนะดังกล่าวจดทะเบียนในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๖๒

มาตรา ๖๔ ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระบุวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง มีไว้ในครอบครองในปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนดโดยไม่ต้องขออนุญาตก็ได้

มาตรา ๖๕ ผู้รับอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ต้องจัดให้มีการป้องกันตามสมควรเพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์สูญหายหรือมีการนำเอาวัตถุออกฤทธิ์ไปใช้โดยมิชอบ

มาตรา ๖๖ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิใช่เภสัชกรที่อยู่ประจำควบคุมกิจการของสถานที่ผลิต สถานที่ขาย หรือสถานที่นำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ขายวัตถุดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นในสถานที่นั้น เว้นแต่อยู่ในความควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของเภสัชกรประจำสถานที่นั้น

มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๘ เภสัชกรจะขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ให้ได้เฉพาะแก่กระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม สถาบันอื่นของทางราชการตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง ผู้ที่มีใบสั่งยาของบุคคลดังกล่าว หรือผู้รับอนุญาตผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ เท่านั้น และต้องลงบัญชีรายละเอียดการขายทุกครั้งตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ใบสั่งยาตามวรรคหนึ่งให้ใช้ได้ครั้งเดียว เว้นแต่ผู้สั่งจะได้กำหนดไว้ว่า ให้จ่ายซ้ำได้แต่รวมกันต้องไม่เกินสามครั้ง และจำนวนยาที่สั่งแต่ละครั้งต้องไม่เกินจำนวนที่จำเป็นต้องใช้ ภายในเวลาไม่เกินสามสิบวัน
ใบสั่งยาแต่ละฉบับให้ใช้ได้ไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ออก

มาตรา ๖๘ ในกรณีไม่มีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรมหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งในปริมณฑลห้ากิโลเมตรจากสถานที่ที่มีใบอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ เภสัชกรที่อยู่ประจำควบคุมกิจการของสถานที่ขายนั้นจะขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ สำหรับผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาของบุคคลดังกล่าวก็ได้ แต่ทั้งนี้จะขายสำหรับการใช้แต่ละรายได้ไม่เกินสามวันต่อเดือน และต้องลงบัญชีรายละเอียดการขายทุกครั้งตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๙ ในการส่งมอบวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๘ เภสัชกรต้องมอบคำเตือนหรือข้อควรระวังตามประกาศของรัฐมนตรีมาตรา ๖ (๕) ให้แก่ผู้ซื้อด้วย

หมวด ๑๑
การค้าระหว่างประเทศ
                  

มาตรา ๗๐ ในการนำเข้าหรือส่งออกแต่ละคราว ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวจากผู้อนุญาตก่อน
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๗๑ ในการนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขต้องจัดให้มีสำเนาใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้นส่งมาพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์หนึ่งฉบับและให้ส่งตรงไปยังเลขาธิการอีกสองฉบับ
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังสำเนาใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง โดยแจ้งวันเดือนปีและปริมาณที่แท้จริงของวัตถุออกฤทธิ์ที่นำเข้า และส่งสำเนานั้นกลับไปให้เจ้าหน้าที่ของประเทศผู้ออกใบอนุญาตนั้นหนึ่งฉบับ และเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงสาธารณสุขหนึ่งฉบับ

มาตรา ๗๒ ห้ามมิให้ผู้ใดส่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ไปยังบุคคลอื่นหรือสถานที่อื่นนอกเหนือไปจากบุคคลหรือสถานที่ที่ระบุในใบอนุญาตนำเข้า

มาตรา ๗๓ ในการส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขต้องนำใบอนุญาตนำเข้าของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศนั้นมามอบให้กระทรวงสาธารณสุขก่อนจึงจะได้รับการพิจารณาออกใบอนุญาตเฉพาะคราวเพื่อส่งออก และในการส่งออกให้ผู้รับอนุญาตแนบสำเนาใบอนุญาตนั้นไปพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ส่งออกนั้นหนึ่งฉบับ
ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดส่งสำเนาใบอนุญาตเฉพาะคราวเพื่อส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์สองฉบับไปยังเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศผู้รับนั้นด้วย และให้เลขาธิการจัดให้มีการตรวจสอบสำเนาใบอนุญาตที่จะส่งกลับมานั้น

มาตรา ๗๔ ในการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ผู้รับอนุญาตต้องมีใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้นมาพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์และต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้บรรทุกทราบก่อนผ่านเข้ามาในราชอาณาจักร และให้ผู้ควบคุมยานพาหนะนั้นจัดให้มีการป้องกันตามสมควรเพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์สูญหายหรือมีการนำเอาวัตถุออกฤทธิ์ที่อยู่ในยานพาหนะนั้นไปใช้โดยมิชอบ
ในกรณีมีการขนถ่ายวัตถุออกฤทธิ์ออกจากยานพาหนะที่ใช้บรรทุกไปยังยานพาหนะอื่น ให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้บรรทุกมานั้นแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ที่นั้นทราบก่อน และให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้น มีหน้าที่ควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ในระหว่างขนถ่าย เมื่อขนถ่ายเสร็จให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่รับขนถ่ายวัตถุออกฤทธิ์นั้นมีหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ควบคุมยานพาหนะตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๗๕ ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเกี่ยวกับการตรวจ การยึด การริบ หรือการจับกุมผู้กระทำความผิดมาใช้บังคับแก่การนำเข้า การส่งออก หรือการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

มาตรา ๗๖ ในการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงการส่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังจุดหมายอื่นที่มิได้ระบุในใบอนุญาตที่ส่งออกที่ส่งมาพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศผู้ออกใบอนุญาตนั้น และเลขาธิการให้ความเห็นชอบด้วย

มาตรา ๗๗ ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงการส่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังจุดหมายอื่น ตามมาตรา ๗๖ ให้ถือว่าวัตถุออกฤทธิ์นั้นได้ส่งออกจากประเทศที่ออกใบอนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักร และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังสำเนาใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้น โดยแจ้งวันเดือนปีและปริมาณที่แท้จริงของวัตถุออกฤทธิ์ที่นำผ่าน และส่งสำเนานั้นกลับไปให้เจ้าหน้าที่ของประเทศผู้ออกใบอนุญาตนั้นหนึ่งฉบับ และเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงสาธารณสุขหนึ่งฉบับ
ในการส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังจุดหมายใหม่ตามวรรคหนึ่ง ผู้รับอนุญาตต้องนำใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศผู้รับใหม่มามอบให้กระทรวงสาธารณสุขก่อน จึงจะได้รับการพิจารณาออกใบอนุญาตเฉพาะคราวเพื่อส่งออก และให้ผู้รับอนุญาตแนบสำเนาใบอนุญาตนั้นไปพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ส่งไปยังจุดหมายใหม่ด้วยหนึ่งฉบับ
ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดส่งสำเนาใบอนุญาตเฉพาะคราวเพื่อส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์สองฉบับไปยังเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศผู้รับใหม่ด้วย และให้เลขาธิการจัดให้มีการตรวจสอบสำเนาใบอนุญาตที่จะส่งกลับมานั้น

มาตรา ๗๘ ในระหว่างที่มีการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ หรือในระหว่างที่วัตถุออกฤทธิ์อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ศุลกากรตามมาตรา ๗๔ วรรคสอง ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปหรือแปรสภาพวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นอย่างอื่น หรือเปลี่ยนหีบห่อที่บรรจุวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเลขาธิการ

มาตรา ๗๙ ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็น เลขาธิการมีอำนาจผ่อนผันการใช้บังคับมาตรการควบคุมตามมาตรา ๗๔ และมาตรา ๗๗ เกี่ยวกับการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ได้ตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๘๐ ในการนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ ผู้รับอนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๘๑ ในการนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๘๐ ห้ามมิให้ผู้ใดส่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ ไปยังบุคคลอื่นหรือสถานที่อื่นนอกเหนือไปจากบุคคลหรือสถานที่ที่ระบุในใบแจ้งการส่งออกของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้น

มาตรา ๘๒ ในการส่งออกแต่ละคราวซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ ผู้รับอนุญาตต้องจัดให้มีสำเนาใบแจ้งการส่งออกไปพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ส่งออกนั้นหนึ่งฉบับ และให้ส่งตรงไปยังเลขาธิการอีกสองฉบับ
ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดส่งสำเนาใบแจ้งการส่งออกตามวรรคหนึ่งไปยังเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศผู้รับเข้าหนึ่งฉบับ

มาตรา ๘๓ เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้รับแจ้งการห้ามนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดที่ต่างประเทศได้แจ้งผ่านเลขาธิการสหประชาชาติระบุห้ามนำเข้าไปยังประเทศนั้น ให้รัฐมนตรีประกาศการห้ามนำเข้านั้นในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๘๔ ห้ามมิให้ผู้ใดส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังประเทศที่ระบุห้ามนำเข้าตามมาตรา ๘๓ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวจากประเทศนั้นและใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวจากเลขาธิการ
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๘๕ การมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ในปริมาณพอสมควรเท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ในเรือ เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นใดที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ ให้ได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมสำหรับการนำเข้า นำผ่านหรือส่งออกตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๘๖ ผู้ควบคุมยานพาหนะตามมาตรา ๘๕ ต้องจัดให้มีการป้องกันตามสมควร เพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์สูญหายหรือมีการนำเอาวัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้ในยานพาหนะนั้นไปใช้โดยมิชอบ

มาตรา ๘๗ ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๙ หรือมาตรา ๖๒ รวมทั้งกระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรมและสถาบันอื่นของทางราชการตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่ได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต การขาย การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ที่มิใช่วัตถุตำรับยกเว้น ต้องจัดให้มีการทำบัญชีรับจ่ายวัตถุออกฤทธิ์ และเสนอรายงานให้เลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี บัญชีดังกล่าวต้องเก็บรักษาไว้และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาในขณะเปิดดำเนินการ ทั้งนี้อย่างน้อยภายในสองปีนับแต่วันลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี
บัญชีรับจ่ายวัตถุออกฤทธิ์และรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๘๘ เมื่อปรากฏว่าผู้ใดเสพติดซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการโดยความเห็นหรือคำแนะนำของคณะกรรมการ มีอำนาจสั่งให้จัดส่งผู้นั้นไปรับการรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ณ สถานพยาบาลหรือสถานพักฟื้นตามที่เห็นสมควรเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในกรณีจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการจะขยายเวลาต่อไปอีกได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
ให้กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ให้การรักษา การศึกษาอบรม การดูแล ภายหลังการรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพตามสมควรแก่บุคคลดังกล่าวในวรรคหนึ่ง เพื่อให้บุคคลนั้นกลับคืนสู่สภาพของปกติชนซึ่งมิได้เสพติดซึ่งวัตถุออกฤทธิ์
(วรรคสาม)

หมวด ๑๒
บทกำหนดโทษ
                  

มาตรา ๘๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๓ ทวิ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

มาตรา ๙๐ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๙๑ ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๙ ผู้ใดดำเนินกิจการ ภายหลังที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแล้วและมิได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับวันละสองร้อยบาทนับแต่วันถัดจากวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุจนถึงวันที่มายื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต

มาตรา ๙๒ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๔ หรือมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๙๓ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙๕ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ หรือมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๙๖ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๙๗ เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติผู้ใดละทิ้งหน้าที่ในการควบคุมกิจการของผู้รับอนุญาตโดยไม่มีเหตุอันควรหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ หรือมาตรา ๓๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท

มาตรา ๙๘ ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท
ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ผู้ใดขายหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ปลอมโดยไม่รู้ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอมต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท

มาตรา ๙๙ ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐานหรือวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ (๒) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐานหรือวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ (๒) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ผู้ใดขายหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐานหรือวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ โดยไม่รู้ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐานหรือวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๑๐๐ ผู้ใดขายหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้กระทำการตามวรรคหนึ่งกระทำโดยไม่รู้ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

มาตรา ๑๐๑ ผู้ใดผลิต ขายหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับแต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๒ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา ๑๐๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๘ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๖ มาตรา ๗๘ หรือมาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๕ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา ๑๐๖ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือ ประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ผู้ใดมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง หรือผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐๖ ทวิ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๖ (๗ ทวิ) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

มาตรา ๑๐๖ ตรี ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ ทวิ หรือมาตรา ๖๒ ตรี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๐๖ จัตวา ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ จัตวา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ จัตวา เป็นการกระทำต่อหญิงหรือต่อบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นการกระทำเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา หรือเพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นในการกระทำความผิดทางอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา ๑๐๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๖ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท

มาตรา ๑๐๘ เภสัชกรผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท

มาตรา ๑๐๙ เภสัชกรผู้ใดไม่ลงบัญชีตามมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๖๘ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา ๑๑๐ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา ๑๑๑ ผู้ควบคุมยานพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๑๑๒ ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

มาตรา ๑๑๓ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๗ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา ๑๑๔ ผู้เสพติดซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ผู้ใดขัดขืนไม่ยอมไปรับการรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพตามคำสั่งของเลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการตามมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเมื่อพ้นโทษแล้ว ให้ส่งตัวผู้นั้นไปรับการรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพตามคำสั่งเดิม

มาตรา ๑๑๕ ผู้รับการรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพตามคำสั่งของเลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการตามมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ผู้ใดหลบหนีไปจากสถานพยาบาลหรือสถานพักฟื้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและเมื่อพ้นโทษแล้ว ให้ส่งตัวผู้นั้นไปรับการรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพตามคำสั่งเดิม

มาตรา ๑๑๕ ทวิ ในกรณีที่มีการยึดวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๔๙ หรือตามกฎหมายอื่น และไม่มีการฟ้องคดีต่อศาล เพราะเหตุที่ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด และพนักงานอัยการสั่งให้งดการสอบสวน หรือเพราะพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือเพราะมีการเปรียบเทียบตามมาตรา ๑๑๗ ถ้าไม่มีผู้ใดมาอ้างว่าเป็นเจ้าของภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ยึด ให้วัตถุออกฤทธิ์นั้นตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข และให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ถ้าผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของตามวรรคหนึ่ง แสดงต่อคณะกรรมการได้ว่าเป็นเจ้าของแท้จริงและไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ให้คณะกรรมการสั่งให้คืนวัตถุออกฤทธิ์แก่เจ้าของ ถ้าวัตถุออกฤทธิ์นั้นยังคงอยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๑๖ บรรดาวัตถุออกฤทธิ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ริบเสียทั้งสิ้น

มาตรา ๑๑๖ ทวิ ในกรณีที่มีการฟ้องคดีความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อศาล และไม่ได้มีการโต้แย้งเรื่องประเภท จำนวนหรือน้ำหนักของวัตถุออกฤทธิ์นั้น ถ้าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวตามมาตรา ๑๑๖ หรือตามกฎหมายอื่น และไม่มีคำเสนอว่าผู้เป็นเจ้าของแท้จริงไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบวัตถุออกฤทธิ์นั้น ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

มาตรา ๑๑๗ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมีโทษปรับสถานเดียว ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการมีอำนาจเปรียบเทียบได้

บทเฉพาะกาล
                  

มาตรา ๑๑๘ ให้ผู้ได้รับอนุญาตผลิต ขาย หรือนำเข้า ซึ่งยาที่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ หรือมีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วยตามกฎหมายว่าด้วยยาในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ และถ้าประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการไปพลางก่อนได้ แต่ถ้าผู้อนุญาตมีคำสั่งเป็นหนังสือไม่ออกใบอนุญาตให้ ผู้นั้นไม่มีสิทธิดำเนินกิจการนับแต่วันที่ทราบคำสั่งเป็นต้นไป และให้นำความในมาตรา ๕๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๑๙ ยาที่เป็นวัตถุออกฤทธิ์หรือมีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ซึ่งผลิต ขาย หรือนำเข้าโดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีข้อความว่า “วัตถุออกฤทธิ์” ตามมาตรา ๒๗ (๓) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี


อัตราค่าธรรมเนียม
                  

(๑) ใบอนุญาตผลิตวัตถุออกฤทธิ์                                   ฉบับละ      ๕,๐๐๐     บาท
(๒) ใบอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์                                    ฉบับละ         ๕๐๐     บาท
(๓) ใบอนุญาตนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์                              ฉบับละ      ๕,๐๐๐     บาท
(๔) ใบอนุญาตส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์                             ฉบับละ         ๕๐๐     บาท
(๕) ใบอนุญาตนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์                             ฉบับละ         ๒๐๐     บาท
(๖) ใบอนุญาตเฉพาะคราวเพื่อ
นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์                            ฉบับละ         ๒๐๐     บาท
(๗) ใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์
ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์                                                ฉบับละ         ๑๐๐     บาท
(๘) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ                             ฉบับละ      ๑,๐๐๐     บาท
(๙) ใบแทนใบอนุญาต                                               ฉบับละ           ๕๐     บาท
(๑๐) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ                   ฉบับละ           ๕๐     บาท
(๑๑) การต่ออายุใบอนุญาต หรือ
ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ                             ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม
                                                                                      สำหรับใบอนุญาต
                                                                                       หรือใบสำคัญนั้น
(๑๒) ค่าสลักหลังใบอนุญาตในการค้าระหว่างประเทศ
สำหรับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓                           ครั้งละ         ๑๐๐     บาท


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ซึ่งได้กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อร่วมมือกับประเทศภาคีอื่น ๆ ควบคุมการผลิตการขาย การนำเข้า การส่งออก การนำผ่านหรือการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาททั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ มิให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลและสังคม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วเห็นควรแก้ไข คือ กำหนดให้เภสัชกรขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ให้แก่กระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม สถาบันอื่นของทางราชการตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ เพราะกระทรวง ทบวง กรม ฯลฯ มีความจำเป็นที่จะต้องซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวจากเอกชนและแก้ไขหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ และเกี่ยวกับวิธีการส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติยิ่งขึ้น นอกจากนั้นได้แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้ถูกต้อง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรให้มีบทบัญญัติเพื่อกำหนดปริมาณการครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ รวมทั้งให้มีบทบัญญัติห้ามเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ เว้นแต่เป็นการเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน กับให้มีบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง หรือขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพวัตถุออกฤทธิ์ ประกอบกับในปัจจุบันไม่มีบทยกเว้นสำหรับอุตสาหกรรมยาภายในประเทศที่ผลิตเพื่อการส่งออก และส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ไปจำหน่ายในต่างประเทศ นอกจากนี้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ ไม่มีบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ซึ่งของกลางวัตถุออกฤทธิ์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดมาตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น ทั้งในกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีต่อศาลและในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาล ทำให้เป็นภาระหน้าที่แก่กระทรวงสาธารณสุขในการเก็บรักษาและดูแลของกลางวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าว และทำให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณเพื่อการเก็บรักษาและดูแลวัตถุออกฤทธิ์เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ดังนั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณและให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการดำเนินคดีให้เป็นไปโดยรวดเร็วและบริสุทธิ์ยุติธรรม สมควรกำหนดให้ในกรณีที่มีการยึดวัตถุออกฤทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น ถ้าไม่มีการฟ้องคดีต่อศาลและไม่มีผู้ใดมาอ้างเป็นเจ้าของภายในเวลาที่กำหนด ให้ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข และหากมีการฟ้องคดีต่อศาลเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ริบของกลางวัตถุออกฤทธิ์ ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายทำลาย หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด และสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบบรรดาวัตถุออกฤทธิ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นเพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มเติมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
พระราชบัญญัติ
วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ศ. ๒๕๑๘
                  

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นปีที่ ๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“วัตถุออกฤทธิ์” หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์  ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
“วัตถุตำรับ” หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรม ซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้
“วัตถุตำรับยกเว้น” หมายความว่า วัตถุตำรับที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมบางประการสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้น
“เอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์” หมายความว่า กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยรูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ อันเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ ซึ่งสอดแทรกหรือรวมไว้กับภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์
“ผลิต” หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ และหมายความรวมถึงเปลี่ยนรูป แบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ
“ขาย” หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขาย
“นำเข้า” หมายความว่า นำหรือสั่งเข้าในราชอาณาจักร
“ส่งออก” หมายความว่า นำหรือส่งออกจากราชอาณาจักร เพื่อไปต่างประเทศ
“นำผ่าน” หมายความว่า นำหรือส่งผ่านราชอาณาจักรแต่ไม่รวมถึงการนำหรือส่งวัตถุออกฤทธิ์ผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้มีการขนถ่ายออกจากเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
“เสพ” หมายความว่า การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือทางใด
“ติดวัตถุออกฤทธิ์” หมายความว่า เสพเป็นประจำติดต่อกันจนตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งวัตถุออกฤทธิ์นั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ
“การรักษาพยาบาล” หมายความว่า การรักษาพยาบาลผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์รวมตลอดถึงการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ เพื่อให้บุคคลนั้นกลับคืนสู่สภาพของปกติชน
“สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลหรือสถานพักฟื้นที่ให้การรักษาพยาบาลหรือการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพของผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์ ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๖
“สถานที่” หมายความรวมถึง อาคารหรือส่วนของอาคารและบริเวณของสถานที่ด้วย
“เภสัชกร” หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาเภสัชกรรม
“ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้รับใบอนุญาต ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งนิติบุคคลแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ด้วย
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า
(๑) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(ก) สำหรับการอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท
(ข) สำหรับการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ และประเภท ๔ หรือนำผ่าน ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท
(ค) สำหรับการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท ๓ และประเภท ๔ ในกรุงเทพมหานคร
(๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท ๓ และประเภท ๔ ในจังหวัดที่อยู่ในเขตอำนาจ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นกับออกประกาศ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๑) ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ว่าวัตถุออกฤทธิ์ใดอยู่ในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔
(๒) กำหนดมาตรฐานว่าด้วยปริมาณส่วนประกอบคุณภาพ ความบริสุทธิ์ หรือลักษณะอื่นของวัตถุออกฤทธิ์ ตลอดจนการบรรจุและการเก็บรักษาวัตถุออกฤทธิ์ตาม (๑)
(๓) เพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตาม (๑)
(๔) ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามมิให้ผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง
(๔ ทวิ) ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ซึ่งอนุญาตให้ผลิตเพื่อส่งออกและส่งออกได้
(๕) ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องมีคำเตือนหรือข้อควรระวังเป็นหนังสือหรือเป็นภาพ ให้ผู้ใช้ระมัดระวังตามความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
(๖) ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก
(๗) ระบุวัตถุตำรับให้เป็นวัตถุตำรับยกเว้น
(๗ ทวิ) กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ตามมาตรา ๑๐๖ ทวิ
(๘) ระบุชื่อและประเภทวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้าไปยังประเทศหนึ่งประเทศใดตามมาตรา ๘๓
(๙) ระบุสถาบันของทางราชการตามมาตรา ๑๕ (๒) มาตรา ๑๗ (๒) และมาตรา ๖๓ (๓)
(๑๐) กำหนดสถานพยาบาลผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์
(๑๑) กำหนดระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการรักษาพยาบาลและระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาล

หมวด ๑
คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
                  

มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์หรือผู้แทน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือผู้แทน อธิบดีกรมอนามัยหรือผู้แทน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือผู้แทน ผู้อำนวยการกองสุขภาพจิต กรมการแพทย์ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้

มาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ
(๖) ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทน และให้ผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งตนแทน

มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา ๑๑ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ให้ความเห็น คำแนะนำหรือความเห็นชอบในเรื่องต่อไปนี้
(๑) การผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ หรือการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ
(๒) การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต การเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ หรือการเพิกถอนวัตถุตำรับยกเว้น
(๓) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่าน มีไว้ในครอบครอง หรือการนำมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ หรือวัตถุตำรับ ยกเว้นและการตรวจสอบสถานที่ผลิต สถานที่ขาย สถานที่เก็บ และสถานที่ประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งวัตถุดังกล่าว
(๔) การออกกฎกระทรวงหรือประกาศที่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) เรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย หรือตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร

มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา ศึกษา หรือวิจัยเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ และให้นำความในมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

หมวด ๒
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต เกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์
                  

มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๓ ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ เว้นแต่การผลิตเพื่อส่งออกและการส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ บางชนิด ที่รัฐมนตรีประกาศระบุชื่อตามมาตรา ๖ (๔ ทวิ) โดยได้รับใบอนุญาต
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๔ กระทรวงสาธารณสุขอาจอนุญาตให้ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ในปริมาณพอสมควร เท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาล หรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในยานพาหนะนั้นได้
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๕ บทบัญญัติมาตรา ๑๓ ทวิ ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม ขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตนหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง ขายเฉพาะสำหรับใช้กับสัตว์ที่ตนบำบัดหรือป้องกันโรค
(๒) การขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ โดยกระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย หรือสถาบันอื่นของทางราชการตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) การนำวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินปริมาณที่จำเป็นต้องใช้รักษาเฉพาะตัวภายในสามสิบวัน โดยมีหนังสือรับรองของแพทย์ หรือ
(๔) การนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ในปริมาณเท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือ เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นใด ที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร แต่ถ้ายานพาหนะดังกล่าว จดทะเบียนในราชอาณาจักรให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตาม มาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ หรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท เว้นแต่ได้รับใบอนุญาต
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๗ บทบัญญัติมาตรา ๑๖ ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การผลิตยาที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม สำหรับคนไข้เฉพาะราย หรือของผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งสำหรับสัตว์เฉพาะราย
(๒) การผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ โดยกระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรมหรือสถาบันอื่นของทางราชการตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) การขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม ขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตน หรือที่ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งขายเฉพาะสำหรับสัตว์ซึ่งตนบำบัด หรือป้องกันโรค
(๔) การนำวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินจำนวนที่จำเป็นต้องใช้รักษาเฉพาะตัวภายในสามสิบวันโดยมีหนังสือรับรองของแพทย์ หรือ
(๕) การนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ในปริมาณพอสมควรเท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ในเรือ เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นใดที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร แต่ถ้ายานพาหนะดังกล่าวจดทะเบียนในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๖

มาตรา ๑๘ ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต ขาย หรือนำเข้า ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ได้เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาต
(๑) ได้รับใบอนุญาตให้ผลิต ขาย หรือนำเข้า ซึ่งยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา แล้วแต่กรณี และ
(๒) มีเภสัชกรอยู่ประจำตลอดเวลาทำการ
ให้ผู้รับอนุญาตผลิต หรือนำเข้า ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ขายวัตถุดังกล่าวที่ตนผลิตหรือนำเข้าได้โดยไม่ต้องรับใบอนุญาตขายอีก

มาตรา ๑๙ ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ และประเภท ๔ หรือจะออกใบอนุญาตให้นำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทแก่ผู้หนึ่งผู้ใดเฉพาะแต่ละครั้งและจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๒๐ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๙ ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตด้วย
ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้รับอนุญาตด้วย เว้นแต่ผู้รับอนุญาตจะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการสุดวิสัยที่ตนจะล่วงรู้หรือควบคุมได้

มาตรา ๒๑ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๙ ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๒ ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
ในกรณีมีการอุทธรณ์การขอต่ออายุใบอนุญาตผลิตวัตถุออกฤทธิ์ตามวรรคหนึ่งก่อนที่รัฐมนตรีจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์รัฐมนตรีจะสั่งอนุญาตให้ประกอบกิจการไปพลางก่อนเมื่อมีคำขอของผู้อุทธรณ์ก็ได้

มาตรา ๒๓ ผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยยาอีก

หมวด ๓
หน้าที่ของผู้รับอนุญาต
                  

มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาต ผลิต ขาย นำเข้าหรือเก็บไว้ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ นอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

มาตรา ๒๕ ผู้อนุญาตอาจอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ นอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การขายส่งตรงแก่ผู้รับอนุญาตอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรมหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง
(๒) การขายในบริเวณสถานที่ที่มีการประชุมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม เภสัชกร หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๖ ผู้รับอนุญาตผลิต ขาย หรือนำเข้า ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ต้องจัดให้มีเภสัชกรอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดดำเนินการ เว้นแต่ในกรณีมีความจำเป็นชั่วครั้งคราว
ในระหว่างที่เภสัชกรมิได้อยู่ประจำควบคุมกิจการ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการผลิตหรือขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔

มาตรา ๒๗ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคาร ณ สถานที่ผลิตแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตวัตถุออกฤทธิ์ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๒) จัดให้มีการวิเคราะห์วัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้นก่อนนำออกจากสถานที่ผลิตโดยต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้งและมีหลักฐานแสดงรายละเอียดซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันวิเคราะห์
(๓) จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์หรือคำเตือน หรือข้อควรระวังการใช้วัตถุออกฤทธิ์ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๔) การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๘ ให้ผู้รับอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคาร ณ สถานที่ขายแสดงว่าเป็นสถานที่ขายวัตถุออกฤทธิ์ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๒) จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๓) ดูแลให้มีฉลาก เอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ หรือคำเตือนหรือข้อควรระวังการใช้วัตถุออกฤทธิ์ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์
(๔) การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๙ ให้ผู้รับอนุญาตนำเข้า ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคาร ณ สถานที่นำเข้า แสดงว่าเป็นสถานที่นำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๒) จัดให้มีใบรับรองของผู้ผลิตแสดงรายละเอียดการวิเคราะห์วัตถุออกฤทธิ์ที่นำเข้า
(๓) จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์
(๔) จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ เอกสารกำกับต้องเป็นภาษาไทย แต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้
(๕) การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๐ ในกรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๑ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตของตนไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตย้าย เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มสถานที่ผลิต สถานที่ขาย สถานที่นำเข้า หรือสถานที่เก็บซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ และประเภท ๔ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อนุญาต
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

หมวด ๔
หน้าที่ของเภสัชกร
                  

มาตรา ๓๓ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๒๗ (๓)
(๓) ควบคุมการแบ่งบรรจุและการปิดฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ควบคุมการขายวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามมาตรา ๓๔
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดดำเนินการ
(๖) การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๔ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๒๘ (๒)
(๒) ควบคุมการปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ (๓)
(๓) ควบคุมการขายให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ควบคุมการปรุงวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามใบสั่งยาของบุคคลซึ่งกล่าวใน (๕)
(๕) ดูแลให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ที่ปรุงตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๖) ควบคุมการส่งมอบวัตถุออกฤทธิ์ให้ถูกต้องตามใบสั่งยาของบุคคลซึ่งกล่าวใน (๕)
(๗) ควบคุมการทำบัญชีรับจ่ายวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๘) ควบคุมมิให้มีการขายวัตถุออกฤทธิ์แก่ผู้ซึ่งไม่มีใบสั่งยาของบุคคลซึ่งกล่าวใน (๕) หรือแก่ผู้ซึ่งไม่ได้รับใบอนุญาตผลิต ขาย หรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์
(๙) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดดำเนินการ (๑๐) การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๕ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ที่นำเข้าให้ถูกต้องตามตำรับของวัตถุตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้
(๒) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๒๙ (๓) และ (๔)
(๓) ควบคุมการขายวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามมาตรา ๓๔
(๔) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดดำเนินการ
(๕) การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

หมวด ๕
วัตถุออกฤทธิ์ปลอม วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน และวัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ
                  

มาตรา ๓๖ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำเข้า ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ดังต่อไปนี้
(๑) วัตถุออกฤทธิ์ปลอม
(๒) วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน
(๓) วัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ
(๔) วัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับแต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้
(๕) วัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ

มาตรา ๓๗ วัตถุออกฤทธิ์หรือสิ่งต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอม
(๑) สิ่งที่ทำเทียมวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(๒) วัตถุออกฤทธิ์ที่แสดงชื่อว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์อื่นหรือแสดงเดือนปีที่วัตถุออกฤทธิ์สิ้นอายุซึ่งเกินความจริง
(๓) วัตถุออกฤทธิ์ที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่ความจริง
(๔) วัตถุออกฤทธิ์หรือสิ่งที่แสดงว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๖ (๑) หรือตามตำรับของวัตถุตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้ซึ่งมิใช่ความจริง
(๕) วัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐานถึงขนาดสารออกฤทธิ์ขาดหรือเกินกว่าร้อยละสิบของปริมาณที่กำหนดไว้ไปจากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุด ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๖ (๒) หรือตามที่กำหนดไว้ในตำรับของวัตถุตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้

มาตรา ๓๘ วัตถุออกฤทธิ์ต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน
(๑) วัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐานโดยสารออกฤทธิ์ขาดหรือเกินจากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุด ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๖ (๒) หรือตามตำรับของวัตถุตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้ แต่ไม่ถึงขนาดดังกล่าวในมาตรา ๓๗ (๕)
(๒) วัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้นโดยมีความบริสุทธิ์หรือลักษณะอื่นซึ่งมีความสำคัญต่อคุณภาพของวัตถุออกฤทธิ์ผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๖ (๒) หรือตามตำรับของวัตถุตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้

มาตรา ๓๙ วัตถุออกฤทธิ์ต่อไปนี้เป็นวัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ
(๑) วัตถุออกฤทธิ์ที่สิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในฉลากซึ่งขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับไว้
(๒) วัตถุออกฤทธิ์ที่แปรสภาพจนมีลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุออกฤทธิ์ปลอมตามมาตรา ๓๗ (๕) หรือวัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐานมาตรา ๓๘

หมวด ๖
การขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ
                  

มาตรา ๔๐ ผู้รับอนุญาตผลิตหรือผู้รับอนุญาตนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ผู้ใดจะผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าว ต้องนำวัตถุตำรับนั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน และเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุตำรับนั้นได้
การขอขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ และการออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่ผู้รับอนุญาตผลิตหรือผู้รับอนุญาตนำเข้าซึ่งวัตถุตำรับตัวอย่างที่ได้รับอนุญาตแต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๑ การขอขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับตามมาตรา ๔๐ ต้องแจ้งรายการดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อวัตถุตำรับ
(๒) ชื่อและปริมาณของวัตถุต่าง ๆ อันเป็นส่วนประกอบของวัตถุตำรับ
(๓) ขนาดบรรจุ
(๔) วิธีวิเคราะห์มาตรฐานของส่วนประกอบของวัตถุตำรับ ในกรณีที่ใช้วิเคราะห์นอกตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศระบุตามกฎหมายว่าด้วยยา
(๕) ฉลาก
(๖) เอกสารกำกับวัตถุตำรับ (ถ้ามี)
(๗) ชื่อผู้ผลิตและประเทศที่สถานที่ผลิตตั้งอยู่ และ
(๘) รายการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๒ การแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว จะกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
การขอแก้ไขรายการและการอนุญาตแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเห็นว่า
(๑) การขอขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับไม่เป็นไปตามมาตรา ๔๑ หรือตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๔๐
(๒) วัตถุตำรับที่ขอขึ้นทะเบียนไม่เป็นที่เชื่อถือในสรรพคุณหรืออาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้
(๓) วัตถุตำรับที่ขอขึ้นทะเบียนใช้ชื่อในทำนองโอ้อวดไม่สุภาพหรืออาจทำให้เข้าใจผิดจากความจริง หรือ
(๔) วัตถุตำรับที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอมตามมาตรา ๓๗ หรือเป็นวัตถุตำรับที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนตามมาตรา ๔๖
คำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๔๔ บทบัญญัติมาตรา ๔๓ ให้ใช้บังคับแก่การแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๕ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญ ถ้าผู้รับใบสำคัญประสงค์จะขอต่ออายุใบสำคัญ จะต้องยื่นคำขอก่อนใบสำคัญสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าจะได้มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบสำคัญนั้น
การขอต่ออายุและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีผู้ขอต่ออายุใบสำคัญไม่ได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบสำคัญ ให้นำความในมาตรา ๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๖ เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าวัตถุตำรับใดที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วนั้น ต่อมาปรากฏว่าไม่มีสรรพคุณตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรืออาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ หรือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอม หรือใช้ชื่อผิดไปจากที่ขึ้นทะเบียนไว้ ให้คณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับนั้นได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา ๔๗ ในกรณีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และยื่นคำขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลาย
การขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับและการออกใบแทนใบสำคัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้