แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ไว้ ณ วันใด
ก. ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
ข. ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ง.
๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
ตอบ ค. ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
2. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
พ.ศ. ๒๕๑๔ มีกี่หมวด
กี่มาตรา
ก. 6 หมวด
110 มาตรา 1
บทเฉพาะกาล
ข. 6 หมวด
113 มาตรา 1
บทเฉพาะกาล
ค. 7 หมวด
113 มาตรา 1
บทเฉพาะกาล
ง. 8 หมวด
113 มาตรา 1
บทเฉพาะกาล
ตอบ ง. 8
หมวด 113 มาตรา
1 บทเฉพาะกาล
3. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
พ.ศ. ๒๕๑๔ มีกี่ฉบับ
ก. 6 ฉบับ ค. 4 ฉบับ
ข. 5 ฉบับ ง. 3 ฉบับ
ตอบ ก.6
ฉบับ
ได้แก่
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
พ.ศ. ๒๕๑๔ (ฉบับที่ ๑)
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๑๖
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๒๒
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๒
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๓๔
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๐
4. “ปิโตรเลียม” หมายความว่า
ก. น้ำมันดิบ
ข. ก๊าซธรรมชาติ
ค. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น
ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.ถูกทุกข้อ
“ปิโตรเลียม” หมายความว่า น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลวสารพลอยได้
และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และอยู่ในสภาพอิสระ ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของแข็ง
ของหนืด ของเหลว หรือก๊าซ และให้หมายความรวมถึงบรรดาไฮโดรคาร์บอนหนักที่อาจนำขึ้นมาจากแหล่งโดยตรง
โดยใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี แต่ไม่หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน หรือหินอื่นที่สามารถนำมากลั่นเพื่อแยกเอาน้ำมันด้วยการใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี
5. ไฮโดรคาร์บอนที่มีสภาพเป็นของเหลวหรือที่มีความดันไอสูงซึ่งผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับก๊าซธรรมชาติ
หรือได้มาจากการแยกออกจากก๊าซธรรมชาติ
คืออะไร
ก. ก๊าซธรรมชาติ ค. น้ำมันดิบ
ข. ก๊าซธรรมชาติเหลว ง.
ปิโตรเลียม
ตอบ ข. ก๊าซธรรมชาติเหลว
“ก๊าซธรรมชาติเหลว” หมายความว่า ไฮโดรคาร์บอนที่มีสภาพเป็นของเหลวหรือที่มีความดันไอสูงซึ่งผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับก๊าซธรรมชาติ
หรือได้มาจากการแยกออกจากก๊าซ
ธรรมชาติ
6. ข้อใดเป็น “สารพลอยได้”
ก. ก๊าซฮีเลียม ค. กำมะถัน
ข. คาร์บอนไดออกไซด์ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.ถูกทุกข้อ
“สารพลอยได้” หมายความว่า ก๊าซฮีเลียม คาร์บอนไดออกไซด์
กำมะถัน และสารอื่นที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียม
7. มาตรา ๔ นิยามคำว่า
“น้ำมันดิบ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
ฉบับที่เท่าใด
ก. ฉบับที่ 4 ค. ฉบับที่ 2
ข. ฉบับที่ 3 ง. ฉบับที่ 5
ตอบ ก. ฉบับที่ 4
“น้ำมันดิบ”๒ หมายความว่า น้ำ มันแร่ดิบ แอสฟัลท์ โอโซเคอไรท์ไฮโดรคาร์บอนและบิทูเมนทุกชนิดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
ไม่ว่าในสภาพของแข็ง ของหนืด หรือของเหลว และให้หมายความรวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลวด้วย
8. ข้อใด ไม่ใช่
ความหมายของ คำว่า“จำหน่าย”
ก. นำปิโตรเลียมไปใช้ในกิจการใด
ๆ ของผู้รับสัมปทานหรือของผู้อื่นโดยไม่มีการขาย
ข. ส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อการกลั่นน้ำมันไม่ว่าโรงลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
ค. โอนปิโตรเลียมโดยมีค่าตอบแทน
ง. ส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ
โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซหรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อกิจการดังกล่าว ไม่ว่าโรงแยกก๊าซ
โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว โรงอัดก๊าซ หรือสถานที่เก็บรักษาดังกล่าวจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
ตอบ ค. โอนปิโตรเลียมโดยมีค่าตอบแทน
“ขาย” หมายความรวมถึงแลกเปลี่ยนและโอนโดยมีค่าตอบแทนด้วย
“จำหน่าย”๕ หมายความว่า
(๑) ส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อการกลั่นน้ำมันไม่ว่าโรงลั่นน้ำมันหรือสถานที่เก็บรักษาจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
(๒) ส่งก๊าซธรรมชาติไปยังโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว
โรงอัดก๊าซหรือสถานที่เก็บรักษาเพื่อกิจการดังกล่าว ไม่ว่าโรงแยกก๊าซ โรงทำก๊าซให้เป็นของเหลว
โรงอัดก๊าซ หรือสถานที่เก็บรักษาดังกล่าวจะเป็นของผู้รับสัมปทานหรือไม่
(๓) นำปิโตรเลียมไปใช้ในกิจการใด ๆ ของผู้รับสัมปทานหรือของผู้อื่นโดยไม่มีการขาย
หรือ
(๔) โอนปิโตรเลียมโดยไม่มีค่าตอบแทน
9. ห้ามมิให้ผู้ใดทำลาย
ดัดแปลง เคลื่อนย้าย ถอน หรือทำให้หลุดซึ่งเครื่องหมายกำหนดเขตแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิต
หรือเครื่องหมายหลักฐานการแผนที่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นำมาติดตั้ง ปัก หรือฝังไว้
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากใคร
ก. อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ค.
นายกรัฐมนตรี
ข. คณะกรรมการปิโตรเลียม ง. รัฐมนตรี
ตอบ ก. อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
มาตรา ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดทำลาย ดัดแปลง เคลื่อนย้าย
ถอน หรือทำให้หลุดซึ่งเครื่องหมายกำหนดเขตแปลงสำรวจหรือพื้นที่ผลิต หรือเครื่องหมายหลักฐานการแผนที่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นำมาติดตั้ง
ปัก หรือฝังไว้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี
10. หนังสือหรือคำสั่งที่มีถึงบุคคลใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้นำไปส่งในเวลาใด
ก. เวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
ข. เวลาทำการของผู้รับ
หรือส่ง
ค. เวลาใดก็ได้
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก
และ ข
ตอบ ง. ถูกเฉพาะข้อ ก
และ ข
มาตรา ๘ หนังสือหรือคำสั่งที่มีถึงบุคคลใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้นำไปส่งในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของผู้รับ หรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
11. ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ก. สั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานงดเว้นการปฏิบัติใด
ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
ข. นำปิโตรเลียม
หิน ดิน และสิ่งที่ได้จากการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
ค. เข้าไปในบริเวณที่ที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมและสถานที่ทำการของผู้รับสัมปทานในเวลาทำ
การเพื่อตรวจกิจการปิโตรเลียมให้เป็นไปตามสัมปทานและตามพระราชบัญญัตินี้
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
มาตรา ๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในบริเวณที่ที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมและสถานที่ทำการของผู้รับสัมปทานในเวลาทำ
การเพื่อตรวจกิจการปิโตรเลียมให้เป็นไปตามสัมปทานและตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานงดเว้นการปฏิบัติใด
ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
(๓) นำปิโตรเลียม หิน ดิน และสิ่งที่ได้จากการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
12. ผู้รับสัมปทานมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานงดเว้นการปฏิบัติใด
ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นต่ออธิบดีภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ค. 7 วัน
ข. 30 วัน ง. 60 วัน
ตอบ ค. 7
วัน
ผู้รับสัมปทานมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตาม
(๒) ต่ออธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำสั่ง
คำสั่งของอธิบดีให้เป็นที่สุด
การอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองไม่เป็นเหตุทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่ง
เว้นแต่อธิบดีเห็นสมควรให้ทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
13. ผู้รับสัมปทานต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีใด
ก. ผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสัมปทาน
ข. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน
ค. ทำให้ทบวงการเมืองใดต้องกระทำการเพื่อบำบัดปัดป้องความเสียหาย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสัมปทานหรือพระราชบัญญัตินี้
และการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือทำให้ทบวงการเมืองใดต้องกระทำการเพื่อบำบัดปัดป้องความเสียหายเช่นว่านั้น
ผู้รับสัมปทานต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการบำบัดปัดป้องความเสียหายดังกล่าวตามจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนด
แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับสัมปทานเพราะการละเมิดนั้น
14. สิทธิในการถือสัมปทานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ถูกกล่าวไว้ในมาตราใด
ก. มาตรา 10 ค. มาตรา 15
ข. มาตรา 13 ง. มาตรา 17
ตอบ ข. มาตรา
13
15. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
ตอบ ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน