ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543

แชร์กระทู้นี้

วิชา พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ..2543

    1.สภาพการจ้าง หมายความว่า

                    หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาการทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้าง หรือลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงาน

 2.ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หมายความว่า

                   ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัตินี้

 3.ลูกจ้าง หมายความว่า

                   ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง

 4.นายจ้าง หมายความว่า

                  รัฐวิสาหกิจซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนรัฐวิสาหกิจด้วย

 5.ฝ่ายบริหาร หมายความว่า

                 ลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการจ้าง เลิกจ้าง ขึ้นค่าจ้าง ตัดค่าจ้าง หรือลดค่าจ้าง

 6.คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งประกอบด้วย

                กรรมการของรัฐวิสาหกิจนั้นคนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแห่งนั้นกำหนด เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายนายจ้างซึ่งรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น แต่งตั้งจากฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจนั้น ตามจำนวนที่รัฐวิสาหกิจกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคน และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างซึ่งแต่งตั้งจากสมาชิกของสหภาพแรงงาน ในรัฐวิสาหกิจนั้นตามที่สหภาพแรงงานเสนอ มีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนฝ่ายนายจ้างเป็นกรรมการ

 7.สหภาพแรงงานต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อ

 1.ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน

 2.พิจารณาช่วยเหลือสมาชิกตามคำร้องทุกข์

              3.แสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างของลูกจ้าง

 4.ดำเนินการและให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ

 8.มาตรา ๒๓ คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่

 1.พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการแรงงานสัมพันธ์

 2.หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในรัฐวิสาหกิจนั้น

 3.พิจารณาปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการทำงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐวิสาหกิจนั้น

 4.ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาตามคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน รวมถึงการร้องทุกข์เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย

 5.ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง

 

 

 9.มีแนวคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับสหภาพแรงงาน

 การจัดตั้งสหภาพแรงงาน ในแต่ละองค์กร แต่ละหน่วยงาน เป็นสิ่งที่ดี ที่จะมีผู้แทนของฝ่ายลูกจ้าง มาช่วยดูแล ปกป้องผลประโยชน์ขององค์กรและช่วยปกป้องสิทธิของพนักงาน ซึ่งถ้าสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ได้ตามมาตรา 40 อย่างครบถ้วน ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก

         หมายเหตุ

ให้อ่านเพิ่มเติม มาตรา 6,มาตรา 25,26,27,29


ดาวโหลดพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้