ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : แนวข้อสอบนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ  กรมราชทัณฑ์
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

แนวข้อสอบนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ  กรมราชทัณฑ์

แชร์กระทู้นี้

1.ข้อใดเป็นกระบวนการในการบริหารงานบุคคลของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลสำเร็จในงานราชทัณฑ์ 

ก. การจัดหาบุคคลเข้ามาปฏิบัติราชการ, การส่งเสริมสนับสนุนให้ได้ความเจริญก้าวหน้า, การปกครองด้วย ความเป็นธรรมและเสมอภาค, การดูและเอาใจใส่ด้านสวัสดิการตามควรแก่อัตภาพ 

ข. การสรรหาบุคคลเข้ามารับราชการ, การปฐมนิเทศและฝึกอบรมผู้บรรจุใหม่, การส่งเสริมสนับสนุนให้ได้รับความก้าวหน้า, การดูแลเอาใจใส่ด้านสวัสดิการตามควรแก่อัตภาพ 

ค. การสรรหาบุคคลเข้ามารับราชการ, การปฐมนิเทศผู้มาบรรจุใหม่, การปกครองด้วยความเป็นธรรมและเสมอภาค, การดูและเอาใจใส่ด้านสวัสดิการตามควรแก่อัตภาพ 

ง. การสรรหาบุคคลเข้ามารับราชการ, การปฐมนิเทศและฝึกอบรมผู้บรรจุใหม่, การส่งเสริมสนับสนุนให้ได้รับความก้าวหน้า, การปกครองด้วยความเป็นธรรมและเสมอภาค, การดูแลเอาใจใส่ด้านสวัสดิการตามควรแก่อัตภาพ 

2. เมื่อกรมราชทัณฑ์มีตำแหน่งว่างลงหรือได้รับจัดสรรตำแหน่งเพิ่มขึ้น เป็นหน้าที่ของใครในการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมราชทัณฑ์ 

ก. เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และกระทรวงยุติธรรม 

ข. เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และกรมราชทัณฑ์ 

ค. เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) 

ง. เป็นหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ 

3. การปฐมนิเทศและการฝึกอบรมผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้ารับการใหม่ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดในสังกัดของกรมราชทัณฑ์ 

ก. กองการเจ้าหน้าที่ 

ข. ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการกรมราชทัณฑ์ 

ค. สถาบันพัฒนาข้าราชการราชทัณฑ์ 

ง.กองนิติการ 

4. งานทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง ฝ่ายราชทัณฑปฏิบัติ รับผิดชอบงานตามข้อใด 

ก. รับผิดชอบเกี่ยวกับการคำนวณวันพ้นโทษ 

ข. รับผิดชอบเกี่ยวกับการเลื่อนและชดเชยผู้ต้องขัง 

ค. รับผิดแชอบเกี่ยวกับการพักการลงโทษ อภัยโทษ 

ง. รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังความความเหมาะสม 

5. โรงงานฝึกวิชาชีพถูกพายุพัดพังเสียหาย เป็นหน้าที่ของงานใดในการซ่อมแซมบำรุงรักษาให้กลับสภาพเดิม 

ก. งานพัสดุฝึกวิชาชีพ ฝ่ายฝึกวิชาชีพ 

ข. งานเงินทุนฝึกวิชาชีพ ฝ่ายฝึกวิชาชีพ 

ค. งานพัสดุและอาคารสถานที่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 

ง. งานการเงินและบัญชี ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 

6. เป้าหมายในการพัฒนางานราชทัณฑ์มีองค์ประกอบที่สำคัญกี่ประการ ประกอบด้วยอะไรบ้าง 

ก. 2 ประการ คือ บุคลากร โครงสร้าง 

ข. 3 ประการ คือ บุคลากร โครงสร้าง และงาน 

ค. 4 ประการ คือ บุคลากร โครงสร้าง เทคโนโลยี และงาน 

ง. 5 ประการ คือ บุคลากร โครงสร้าง เทคโนโลยี งาน และสภาพแวดล้อม 

7. นายไสว เหลือทน ถูกจับกุมในคดียาเสพติดให้โทษ ศาลอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างดำเนินคดี ต่อมาศาลได้มีคำสั่งเบิกตัวไปยังศาลเพื่อนพิจารณาคดีไปยังเรือนจำ จาการตรวจสอบปรากฏว่าไม่มีตัว คุมขังอยู่ภายในเรือนจำ เรือนจำจะต้องแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบว่าไม่มีตัวคุมขังอยู่ภายในเรือนจำ กรณีดังนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดที่ทำหนังสือแจ้งให้ศาลทราบ 

ก. ฝ่ายบริหารทั่วไป 

ข. ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ 

ค. ฝ่ายควบคุมและรักษาการ 

ง. ฝ่ายสวัสดิการผู้ต้องขัง 

8. นายเดชา น้ำดี เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ ไดรับมอบหมายให้รับผิดชอบการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเรือนจำ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะอาดของบริเวณกำแพงเรือนจำ ตลอดจนตรวจสอบประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานของอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนที่เจ้าหน้าที่ใช้ขณะปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ นายเดชา น้ำดี ฝ่ายสังกัดใด 

ก. ฝ่ายควบคุมรักษาการ 

ข. ฝ่ายสวัสดิการ 

ค. ฝ่ายบริหารทั่วไป 

ง. ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ 

9. นายสมโชค รักงาน ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้างานยานพาหนะในการหาวัตถุดิบใช้ในการฝึกวิชีพผู้ต้องขังนายสมโชค รักงาน สังกัดฝ่ายใด 

ก. ฝ่ายบริหารทั่วไป 

ข. ฝ่ายสวัสดิการ 

ค. ฝ่ายควบคุมและรักษาการณ์ 

ง. ฝ่ายฝึกวิชาชีพ 

10. เรือนจำมีความประสงค์จะขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรม จำนวน 50 ไร่ เรือนจำจะต้องยื่นแบบคำขอต่อผู้ใด 

ก. ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ป่านั้นตั้งอยู่ 

ข.นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอที่ป่านั้นตั้งอยู่ 

ค. กรมป่าไม้ 

ง. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ป่านั้นตั้งอยู่

11. เรือนจำมีความประสงค์จะขอใช้ที่สาธารณะประโยชน์ทุ่งเลี้ยงสัตว์จัดตั้งเป็นเรือนจำชั่วคราว เรือนจำจะต้องยื่นคำขอใช้พื้นที่ต่อผู้ใด 

ก. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์นั้นตั้งอยู่ 

ข. นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์นั้นตั้งอยู่ 

ค. ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์นั้นตั้งอยู่ 

ง. กรมที่ดิน 

12. เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกิดจากงบประมาณของแผ่นดิน ในส่วนของพัสดุจะต้องมีการตรวจสอบพัสดุประจำปี เรือนจำจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการตรวจสอบ บุคคลในข้อใดเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุ 

ก. นายสมใจ แตงอ่อน ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่พัสดุฝึกวิชาชีพ 

ข. นายสมนึก มากมี ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่พัสดุร้านค้าสงเคราะห์ผู้ต้องขัง 

ค. นางสาววาสนา พาที ปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุฝ่ายบริหารทั่วไป 

ง. นางสาวแน่งน้อย แก่มาก ปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุกองคลังของจังหวัด 

13. การจ่ายเงินร้านค้าสงเคราะห์ผู้ต้องขัง กรามราชทัณฑ์กำหนดให้ผู้บัญชาการเรือนจำและทัณฑสถานสั่งจ่ายเงินจากผลกำไรได้ แต่ข้อใดเมื่อจ่ายแล้วเป็นการผิดระเบียบ 

ก. จ่ายเป็นเงินรางวัลแก่เจ้าพนักงานและผู้ต้องขัง 

ข. จ่ายเป็นเงินสวัสดิการแก่เจ้าพนักงาน

ค. จ่ายเป็นเงินสวัสดิการแก่ผู้ต้องขัง 

ง. จ่ายเป็นทุนการศึกษาแก่บุตรผู้ต้องขัง 

14. ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการรับ – จ่ายเงินฝากของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน พ.ศ. 2529 กำหนดให้ผู้ต้องขังถอนเงินฝากสำหรับใช่จ่ายประจำวันได้วันละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่เกินจำนวนเงินตามข้อใด 

ก. ไม่เกินครั้งละ 100 บาท 

ข. ครั้งละไม่เกิน 150 บาท 

ค. ครั้งละไม่เกิน 200 บาท 

ง. ครั้งละไม่เกิน 300 บาท 

15. ข้อใดมิได้หมายความรวมถึง “เงินฝากของผู้ต้องขัง” ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการรับ – จ่ายเงินฝากของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน พ.ศ. 2529 

ก. ธนาณัติ 

ข. ตั๋วเงิน 

ค. เช็คเงินสดที่สั่งจ่ายให้ผู้ต้องขัง 

ง. สัญญาการใช้เงินที่ญาติผู้ต้องขังทำไว้กับเรือนจำ 

16. การรับธนาณัติ ตั๋วเงิน หรือการแลกเอกสารอื่นใดอันแทนตัวเงิน ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการับ – จ่ายเงินฝากของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน พ.ศ. 2529 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนรับฝาก และต้องไปรับเงินโดยมิชักช้า ภายในกำหนดกี่วัน 

ก. ภายในกำหนด 2 วันทำการ 

ข. ภายในกำหนด 3 วันทำการ 

ค. ภายในกำหนด 4 วันทำการ 

ง. ภายในกำหนด 5 วันทำการ 

17. ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังให้กรรมการดำเนินการพิจารณารับฝากเครื่องบริโภคที่ปรุงแล้วจากครอบครัวของเจ้าพนักงานไว้จำหน่ายในประเภทสินค้าฝากขาย กำหนดให้หักส่วนลดเป็นรายได้ของร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังได้ไม่เกินร้อยละเท่าใดของจำนวนเงินที่จำหน่ายได้ 

ก. ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ขายได้ 

ข. ไม่เกินร้อยละ 7 ของจำนวนเงินที่ขายได้ 

ค. ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ขายได้ 

ง. มาเกินร้อยละ 15 ของจำนวนเงินที่ขายได้ 

18. ในการแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ แบ่งออกเป็นกี่หน่วยงาน 

ก. แบ่งออกเป็น 17 หน่วยงาน 

ข. แบ่งออกเป็น 16 หน่วยงาน 

ค. แบ่งออกเป็น 15 หน่วยงาน 

ง. แบ่งออกเป็น 14 หน่วยงาน 

19. การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมผลงานในราชทัณฑ์ เป็นงานในหน้าที่รับผิดชอบของหน่วงานใด 

ก. สำนักพัฒนาพฤตินิสัย 

ข. สำนักทัณฑวิทยา 

ค. กองแผนงาน

ง. สำนักงานเลขานุการกรม 

20. การดำเนินการจัดทำคำของบประมาณร่ายจ่ายประจำปี ในส่วนของแผนงานโครงการตามแผนปฏิบัติการของกรมราชทัณฑ์ เป็นหน่วยที่ของหน่วยงานตามข้อใด 

ก. กองคลัง 

ข. กองแผนงาน 

ค. สำนักงานเลขานุการกรม 

ง. กองนิติการ 

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ ใหม่ล่าสุด

รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ

- ประวัติการราชทัณฑ์
- แนวข้อสอบ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์  พ.ศ. 2482
- แนวข้อสอบนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ
- แนวข้อสอบเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์
- หลักการควบคุมและการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
- หลักการบริหารงานราชทัณฑ์
- สรุปสาระสำคัญ พ .ร.บ.  พ. ศ. 2479  และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
- ปรัชญาอาชญาวิทยา

สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 
ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1. ประเทศใดต่อไปนี้ไม่ได้ทำสนสนธิสัญญาโอนนักโทษกับประเทศไทย
ก.  ไนจีเรีย                    ข.   โปรตุเกส
ค.  ฟินแลนด์                    ง.   สเปน
ตอบข้อ  ก.  ไนจีเรีย
2. ข้อใดไม่ใช่เทคโนโลยีที่กรมราชทัณฑ์นำมาใช้ในงานราชการ
ก.  นำระบบ Smart card มาใช้กับผู้ต้องขังเพื่อปรับฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน            
ข.   การจัดตั้งศูนย์บริการร่วม  ( Call Center )
ค.  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E - Learning)    
ง.  การใช้ระบบแสงอินฟาเรด ตรวจจับความเคลื่อนไหว รอบกำแพงในเวลากลางคืน
ตอบข้อ  ง.  การใช้ระบบแสงอินฟาเรด ตรวจจับความเคลื่อนไหว รอบกำแพงในเวลากลางคืน  เหตุผล : ตาม 1, 2, 3 เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่กรมราชทัณฑ์นำมาใช้นอกจากนี้ยังมี การติดตั้งกล้องวงจรปิด ตามจุดต่างๆที่สำคัญของเรือนจำ , การใช้ Video Conference มาใช้ในการเยี่ยมญาติทางไกล และฝากขังทางไกลผ่านจอภาพ , การประชุมทางไกลผ่านโทรศัพท์ (Audio Conference ) , การจัดซื้อจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E –Learning ) , การใช้ระบบข้อมูลการบริหารงบประมาณภาครัฐ (GFMIS ) , การติดตั้งอินเตอร์เน็ต เพื่อข้าราชการและประชาชน และติดต่อผู้บริหารผ่านอีเมล์ และการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสำหรับการบริหารเชิงยุทธศาสตร์
3. โครงการดาวรุ่งมุ่งโอลิมปิคลอนดอน 2012 ดำเนินการโดนเรือนจำใด
ก.   เรือนจำกลางขอนแก่น            ข.  เรือนจำกลางเชียงใหม่
ค.  ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง            ง.  เรือนจำพิเศษธนบุรี
ตอบข้อ  ง.  เรือนจำพิเศษธนบุรี  เหตุผล :  เรือนจำพิเศษธนบุรี ได้จัดเป็นค่ายมวยเพื่อคัดเลือกผู้ต้องขังเข้ารับการฝึกกีฬามวบสากลสมัครเล่นเพื่อคัดและเก็บตัวตามโครงการดาวรุ่งมุ่งโอลิมปิค
4. นักมวยคนแรกของกรมราชทัณฑ์ ที่เป็นแชมป์โลก มวยสากลอาชีพ คือใคร
ก.  อำนาจ รื่นเริง                    ข.  แซมซั่น ส. ศิริพร
ค.  ใหม่ เมืองคอน                ง.  บูรพา ป. วิถี
ตอบข้อ  ข.  แซมซั่น ส. ศิริพร เหตุผล :  แซมซั่น ส. ศิริพร เป็นนักมวยหญิงที่ชกมวยอาชีพทั้งๆที่ยังเป็นผู้ต้องขังและได้เป็นแชมป์โลก  WBC
5. ปกติการจัดเวรยามกลางคืน จะจัดให้มี 4 ผลัด อยากทราบว่าเวรผลัด สาม จะต้องอยู่ช่วงเวลาใด
ก.  03 .00 – 06.00 น.                ข.  21 .00 – 23.00 น.
ค.  24 .00 – 03.00 น.                ง. 02 .00 – 06.00 น.
ตอบข้อ  ค.  24 .00 – 03.00 น.  เหตุผล : ผลัด  3 เวลา 24 .00 – 03.00 น.
6.  กีฬาชนิดใดไม่ใช่ชนิดกีฬาที่ ทัณฑสถานวันหนุ่ม ได้รับการสนับสนุน จากการกีฬาแห่งประเทศไทย
ก.  วอลเลย์บอล                    ข.  มวย
ค.  ฟุตบอล                    ง.  เทวันโด
ตอบข้อ  ง.  เทวันโด  เหตุผล :  เทวันโดไม่ใช่ 4 ชนิดกีฬาที่การกีฬาแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุน อบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนและเซปักตระกร้อ คือชนิดกีฬาที่ 4
7. โครงการใดเป็นความร่วมมือระหว่างกรมราชทัณฑ์ กับกระทรวงสาธารณสุข
ก.  หนึ่งหมอ หนึ่งเรือนจำ            ข.  นวดไทยเพื่อสุขภาพในเรือนจำ
ค.  สุขภาพดีถ้วนหน้า                ง.  ยิ้มได้เมื่อเจอหมอ
ตอบข้อ  ข.  นวดไทยเพื่อสุขภาพในเรือนจำ  เหตุผล :  การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนวดไทยเพื่อสุขภาพในเรือนจำ และทัณฑสถานของกรมราชทัณฑ์
8. กรมราชทัณฑ์สังกัดกระทรวงใด
ก.  กระทรวงยุติธรรม                ข.  กระทรวงมหาดไทย
ค.  สำนักนายกรัฐมนตรี                ง.  กระทรวงพัฒนาสังคม
ตอบข้อ  ก.  กระทรวงยุติธรรม  
9. เรือนจำในปัจจุบันมีกี่แห่ง ( ไม่นับเรือนจำชั่วคราว )
ก.  154  แห่ง                    ข.  159  แห่ง
ค.  143  แห่ง                    ง.  169  แห่ง
ตอบข้อ  ค.  143  แห่ง  
10. ในเรือนจำมีผู้ต้องขังประเภทใดมากที่สุด
ก.  ผู้ต้องขังคดียาเสพติด                ข.  ผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับทรัพย์
ค.  ผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับเพศ            ง.  ผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ตอบข้อ  ก.  ผู้ต้องขังคดียาเสพติด
11. อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกคือใคร
ก.  หลวงพิษณุโลก                ข.  กรมพระยาดำรง
ค.  นายศีล  พีระศรี                ง.  พระยาชัยวิชิต  วิสิษฐรรมธาดา
ตอบข้อ  ง.  พระยาชัยวิชิต  วิสิษฐรรมธาดา
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 
1.       ผู้ใดมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 8 ในกรมราชทัณฑ์  
ก.      นายกรัฐมนตรี         ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค.      อธิบดีกรมราชทัณฑ์         ง.  ปลัดกระทรวง
คำตอบ  ค.  การบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 8 ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง
2.       ตำแหน่งที่มีคุณลักษณะบริหารตามที่ ก.พ.กำหนด จะต้องมีการสับเปลี่ยน ย้าย  โอน  เพราะห้ามปฏิบัติ
หน้าที่เดียว ติดต่อกันเป็นเวลากี่ปี
ก.      3  ปี               ข.  4  ปี
ค.      5  ปี               ง.  6  ปี
คำตอบ  ข.  ภายใต้บังคับมาตรา 57  วรรคหนึ่ง  และมาตรา 60  ให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่  ย้าย  หรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 9  ระดับ 10  และระดับ 11  ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.พ.กำหนด  โดยมิควรให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า   4 ปี  อ.พิพัฒน์-อ.วันนรัตน์
3.       การโอนข้อใดถูกต้อง
ก.      จะทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอม
ข.      แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม
ค.      รับเงินเดือนในขั้นที่สูงกว่าเดิม
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวง  ทบวง  กรม  อาจทำได้เมื่อมีผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอม  โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
4.       ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาในการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน    
ก.      คุณภาพและปริมาณงาน
ข.      ระยะเวลาการรับราชการ
ค.      ความสามารถและความอุตสาหะในการทำงาน
ง.       การปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
คำตอบ  ข.  การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน  ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน  ตลอดจนการรักษาวินัย  การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
5.       การกระทำผิดวินัยในข้อใด  ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก.      เปิดเผยความลับของทางราชการ
ข.      รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
ค.      ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่  ข่มเหง  ประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  กระทำผิดวินัย  ที่ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรงได้แก่
1)       การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ (มาตรา 82)
2)       การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (มาตรา 84)
3)       การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ (มาตรา 85)
4)       การเปิดเผยความลับของทางราชการ (มาตรา 87)
5)       การขัดคำสั่ง หรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา (มาตรา 88)
6)       การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา (มาตรา 90)
7)       การละทิ้งหรือทอดทิ้งราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร (มาตรา 92)
8)               การดูหมิ่น  เหยียดหยาม  กดขี่  ข่มเหง  ประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (มาตรา 94)
9)       การกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก (มาตรา 98)
6.       ข้อใดไม่ใช่โทษสำหรับข้าราชการที่กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง
ก.      ภาคทัณฑ์            ข.  ตัดเงินเดือน
ค.      ลดขั้นเงินเดือน         ง.  ปลดออก  
คำตอบ  ง.  ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์  ตัดเงินเดือน  ลดขั้นเงินเดือน
7.       การยับยั้งการอนุญาตให้ลาออก  สามารถยับยั้งได้ไม่เกินกี่วัน
ก.      30  วัน            ข.  45  วัน
ค.      60  วัน            ง.  90  วัน
คำตอบ  ง.  กรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52  เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน  นับตั้งแต่วันที่ขอลาออกก็ได้
8.       ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งลงโทษตัดเงินเดือน นาย ก.  นาย ก. สามารถอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อ
หน่วยงานใด
ก.      อ.ก.พ. กรม            ข.  อ.ก.พ. จังหวัด
ค.      อ.ก.พ. กระทรวง         ง.  ก.พ.
คำตอบ  ค.  การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ.กระทรวง
9.       การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก  ข้อใดถูกต้อง
ก.      อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 30 วัน
ข.      อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวง ภายใน 30 วัน
ค.      อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 15 วัน
ง.       อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวง ภายใน 15 วัน
คำตอบ  ก.  การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก  หรือไล่ออก ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
10.       ข้อใดไม่ใช่ประเภทของข้าราชการพลเรือน
ก.      ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข.      ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ค.      ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ง.       ไม่มีข้อใดถูก
คำตอบ  ง.  ประเภทของข้าราชการพลเรือนมี 3 ประเภท ได้แก่
1)       ข้าราชการพลเรือนสามัญ
2)       ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
3)       ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
11.       การพัฒนาผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ก.      ให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ข.      ให้รู้หลักและวิธีปฏิบัติราชการ
ค.      ให้รู้แนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  วัตถุประสงค์ของการพัฒนาผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ เพื่อ
1)       ให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
2)       ให้รู้หลักและวิธีปฏิบัติราชการ
3)       ให้รู้บทบาทหน้าที่ของราชการในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4)       ให้รู้แนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี
12.       ข้อใดไม่สามารถจะร้องทุกข์ได้
ก.      มีคำสั่งปลดออกจากราชการ  
ข.      ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ค.      เห็นว่าผู้บังคับบัญชาให้อำนาจต่อตนไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ง.       เกิดความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน
คำตอบ  ก.  ปลดออกเป็นโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง  ฉะนั้น  จะต้องใช้วิธีการอุทธรณ์  ไม่ใช่การร้องทุกข์  ส่วนการร้องทุกข์จะใช้ได้ในกรณีดังนี้
1)       ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
2)       เห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจต่อตนไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
3)       เกิดความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน
13.       การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันกี่วัน  จึงจะถือว่าผิดวินัยร้ายแรง
ก.      เกินกว่า  5  วัน         ข.  เกินกว่า  7  วัน
ค.      เกินกว่า  15  วัน         ง.  เกินกว่า  20  วัน
คำตอบ  ค.  การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า  15  วัน  โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
14.       คุณสมบัติของข้าราชการข้อใดผิด
ก.      มีสัญชาติไทย
ข.      มีอายุไม่ต่ำกว่า  20  ปี
ค.      เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ง.       ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คำตอบ  ข.  คุณสมบัติของข้าราชการจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า  18  ปี
15.       ข้อใดเป็นเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก.      เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ข.      เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค.      มีประสิทธิภาพและเกินความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
1)       เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2)       เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3)       มีประสิทธิภาพและเกินความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4)       ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5)       มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6)       ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7)       มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
16.       ?บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ?  หมายถึงข้อใด
ก.      นักโทษเด็ดขาด         ข.  คนต้องขัง
ค.      คนฝาก            ง.  ไม่มีข้อถูก
คำตอบ  ก.  นักโทษเด็ดขาด  หมายความว่า  บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ
17.       พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479  มิให้ใช้บังคับในสถานที่ตามข้อใด
ก.      ทัณฑสถาน            ข.  เรือนจำพิเศษ
ค.      เรือนจำทหาร            ง.  เรือนจำชั่วคราว
คำตอบ  ค.  ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับถึงเรือนจำทหาร
18.       ใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ
ก.      รัฐมนตรี            ข.  ปลัดกระทรวง
ค.      อธิบดี            ง.  ผู้บัญชาการเรือนจำ
คำตอบ  ก.  รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ  หรือสั่งให้จัดอาณาเขตภายในเรือนจำเป็นส่วน ๆ
19.       ข้อใดมิใช่เอกสารสำคัญที่จะทำให้เจ้าพนักงานเรือนจำขังบุคคลเอาไว้ได้
ก.      หมายจับ            ข.  หมายขัง
ค.      หมายจำคุก            ง.  หนังสือของผู้อำนวยการสถานพินิจ
คำตอบ  ก.  เอกสารของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจให้คุมขังผู้นั้นไว้  ได้แก่  หมายขัง  หมายจำคุก  หนังสือของผู้อำนวยการสถานพินิจ
20.       ข้อใดไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรี
ก.      กำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ
ข.      สั่งย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำหนึ่งไปยังเรือนจำหนึ่ง
ค.      แยกประเภทหรือชั้นของผู้ต้องขัง
ง.       วางเงื่อนไขในการย้ายประเภทหรือชั้นหนึ่งไปยังอีกประเภทหรือชั้นหนึ่ง
คำตอบ  ข.  การสั่งย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำหนึ่งไปยังอีกเรือนจำหนึ่ง ให้เป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีตามมาตรา 12
21.   เจ้าพนักงานเรือนจำจะใช้อาวุธอื่น นอกจากอาวุธปืนแก่ผู้ต้องขังได้ในกรณีใดบ้าง
ก.      เมื่อผู้ต้องขังกำลังจะหลบหนีและไม่มีทางป้องกันอื่นนอกจากใช้อาวุธ
ข.      เมื่อผู้ต้องขังหลายคนก่อความวุ่นวาย
ค.      เมื่อผู้ต้องขังจะใช้กำลังกายทำร้ายเจ้าพนักงานหรือผู้อื่น
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  เจ้าพนักงานเรือนจำอาจใช้อาวุธนอกจากอาวุธปืนแก่ผู้ต้องขังได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1)       เมื่อปรากฏว่าผู้ต้องขังกำลังหลบหนีและไม่มีทางป้องกันอื่นนอกจากใช้อาวุธ
2)       เมื่อผู้ต้องขังหลายคนก่อความวุ่นวาย หรือพยายามใช้กำลังเปิดหรือทำลายประตูรั้ว
3)       เมื่อผู้ต้องขังจะใช้กำลังกายทำร้ายเจ้าพนักงานหรือผู้อื่น
22.   นักโทษเด็ดขาดที่จะออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำได้ต้องเหลือโทษจำคุกกี่ปี
ก.      เหลือไม่เกิน 1 ปี         ข.  เหลือไม่เกิน 2 ปี
ค.      เหลือไม่เกิน 3 ปี         ง.  เหลือไม่เกิน 4 ปี
คำตอบ  ข.  ในกรณีเจ้าพนักงานเรือนจำสั่งให้นักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด  ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกินสองปี เพื่อทำงานสาธารณะตามมาตรานี้
23.       คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำ มีกี่คน
ก.      ไม่น้อยกว่า 3 คน         ข.  ไม่น้อยกว่า 4 คน
ค.      ไม่น้อยกว่า 5 คน         ง.  ไม่น้อยกว่า 6 คน
คำตอบ  ก.  ในกรณีเจ้าพนักงานเรือนจำสั่งให้นักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด  ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกินสองปี เพื่อทำงานสาธารณะตามมาตรานี้
24.       บุคคลใดไม่มีอำนาจสั่งใช้เครื่องพันธนาการและเพิกถอนคำสั่งใช้เครื่องพันธนาการ
ก.      พัศดี            ข.  ผู้คุม
ค.      ปลัดกระทรวง         ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
คำตอบ  ก.  โดยปกติพัศดีเท่านั้นที่มีอำนาจ  ผู้อื่นจะออกคำสั่งไม่ได้  ยกเว้นกรณีมาตรา 14 (4)          เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมมีอำนาจสั่ง และมาตรา 14 (5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจสั่งได้
25.       เครื่องพันธนาการ  ห้ามใช้กับบุคคลในข้อใด
ก.      ผู้ต้องขังอายุไม่เกิน 60 ปี      ข.  ผู้ต้องขังหญิง
ค.      ผู้ต้องขังวิกลจริต         ง.  ข้อ ก. และ ข. ถูก
คำตอบ  ง.  เครื่องพันธนาการที่กำหนดในกฎกระทรวงห้ามใช้แก่
1)       ผู้ต้องขังอายุไม่เกิน 60 ปี
2)       ผู้ต้องขังหญิง
26.       ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้ต้องขัง  เมื่อถูกปล่อยตัวเพราะมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
ก.      กลับมายังเรือนจำ ภายใน 24 ชั่วโมง
ข.      ไปรายงานตัวต่อศาล ภายใน 24 ชั่วโมง
ค.      ไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจ ภายใน 24 ชั่วโมง
ง.       ไปรายงานตัวยังที่ว่าการอำเภอ ภายใน 24 ชั่วโมง
คำตอบ  ข.  เมื่อปล่อยตัวผู้ต้องขังไปเพราะเหตุฉุกเฉินแล้ว เป็นหน้าที่ของผู้ต้องขังจะต้องกลับมายังเรือนจำ หรือไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจ หรือที่ว่าการอำเภอ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ปล่อยตัวไป
27.       ในกรณีเรือนจำไม่มีเจ้าพนักงานหญิงตรวจค้นผู้ต้องขังหญิง จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก.      ให้ผู้ต้องขังหญิงคนอื่นเป็นผู้ตรวจค้น
ข.      ให้เจ้าพนักงานชายเป็นผู้ตรวจค้นแทน
ค.      เชิญหญิงอื่นที่เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือมาช่วยทำการตรวจให้
ง.       ไม่ต้องตรวจค้นผู้ต้องขังหญิงคนนั้น
คำตอบ  ค.  กรณีเรือนจำไม่มีเจ้าพนักงานหญิงตรวจค้นผู้ต้องขังหญิง  และมีความสงสัยในพฤติการณ์ของผู้ต้องขังหญิงนั้น  เจ้าพนักงานมีอำนาจเชิญหญิงอื่นเป็นใครก็ได้  แต่ต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือให้มาช่วยทำการตรวจให้
28.       เหตุที่ต้องแยกตัวผู้ต้องขังที่รับไว้ใหม่จากผู้ต้องขังอื่น เพื่อส่งให้แพทย์ตรวจสุขภาพเพราะเหตุใด
ก.      เพื่อทำการรักษาในกรณีเจ็บป่วย      
ข.      เพื่อฝึกวิชาชีพตามความเหมาะสมของสุขภาพ
ค.      เพื่อป้องกันโรคติดต่อมิให้แพร่กระจายออกไป
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  เจ้าพนักงานเรือนจำต้องจัดแยกผู้ต้องขับที่รับไว้ใหม่จากผู้ต้องขังอื่น เพื่อส่งตัวให้แพทย์ตรวจสุขภาพต่อไป ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดแยกประเภทผู้ต้องขัง เพื่อทำการรักษาในกรณีที่ป่วยและฝึกวิชาชีพตามความเหมาะสมของสุขภาพ ตลอดจนป้องกันโรคติดต่อมิให้แพร่กระจายไปในเรือนจำ กรณีผู้ต้องขังป่วยเป็นโรคติดต่อ
29.       เด็กตามข้อใดที่ไม่อนุญาตให้อยู่ภายในเรือนจำ
ก.      เด็กที่ติดมากับผู้ต้องขัง  ซึ่งเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี
ข.      เด็กที่ติดมากับผู้ต้องขัง  ซึ่งเด็กอายุ 16 ปีบริบูรณ์
ค.      เด็กที่เกิดในเรือนจำ
ง.       เด็กที่คลอดในโรงพยาบาลภายนอกเรือนจำในขณะที่มารดาเป็นผู้ต้องขัง
คำตอบ  ข.  เด็กที่จะอนุญาตให้อยู่ภายในเรือนจำได้ คือ
1)       เด็กที่ติดมากับผู้ต้องขังและเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี      2)  เด็กที่เกิดในเรือนจำ
30.       กฎหมายกำหนดให้แพทย์ต้องเข้าตรวจเรือนจำในส่วนที่เกี่ยวกับอนามัยและสุขาภิบาลทุก ๆ กี่วัน
ก.      3  วัน            ข.  7  วัน
ค.      10  วัน            ง.  15  วัน
คำตอบ  ก.  กฎหมายกำหนดให้แพทย์ต้องเข้าตรวจเรือนจำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอนามัยและสุขาภิบาลของเรือนจำ ทุก ๆ 3 วัน  โดยให้คำแนะนำและบันทึกลงในสมุดตรวจการสุขาภิบาลของเรือนจำแล้วพัศดีมีหน้าที่จัดดำเนินการตามคำแนะนำ
31.       เรือนจำพิเศษซึ่งแยกผู้ต้องขังป่วยประเภทติดยาเสพติดโดยเฉพาะ เรียกว่าอะไร
ก.      ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ      ข.  ทัณฑนิคม
ค.      ทัณฑสถานหญิง         ง.  ทัณฑสถานวัยหนุ่ม
คำตอบ  ก.  ผู้ต้องขังที่ป่วยประเภทติดยาเสพติดในปัจจุบันได้จัดแยดไว้ในเรือนจำพิเศษโดยเฉพาะเรียกว่า ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ
32.       ระยะเวลาที่จะได้รับการพักการลงโทษ ข้อใดถูก
ก.      ชั้นเยี่ยม ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ
ข.      ชั้นดีมาก ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 4 ของกำหนดโทษ
ค.      ชั้นดี ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  ระยะเวลาที่จะได้รับการพักการลงโทษมีดังนี้
1)       ชั้นเยี่ยม ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ
2)       ชั้นดีมาก ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 4 ของกำหนดโทษ
3)       ชั้นดี ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ
33.       ข้อใดมิใช่ประโยชน์ที่ได้รับจากการพักการลงโทษ
ก.      เป็นการจูงใจให้นักโทษเด็ดขาดประพฤติตัวดี
ข.      เป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ
ค.      เป็นการลดจำนวนประชากรในเรือนจำ
ง.       เป็นการลดภาระให้แก่เรือนจำ
คำตอบ  ง.  ประโยชน์ที่ได้รับจากการพักการลงโทษ มีดังนี้
1)       เป็นการจูงใจให้นักโทษเด็ดขาดประพฤติตัวดี
2)       เป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ
3)       เป็นการลดจำนวนประชากรในเรือนจำ
4)       เป็นความก้าวหน้าทางราชทัณฑ์อย่างหนึ่ง
5)       เป็นการฝึกให้นักโทษเข้าอยู่ในสังคมอย่างมีกฎเกณฑ์
34.       การลดวันต้องโทษจำคุก กฎหมายกำหนดให้ลดได้เดือนละไม่เกินกี่วัน
ก.      3  วัน            ข.  5  วัน
ค.      7  วัน            ง.  15  วัน
คำตอบ  ข.  ตามมาตรา 32 (6) ลดวันต้องโทษจำคุกให้เดือนละไม่เกิน 5 วัน
35.       ข้อใดไม่ใช่โทษที่ผู้ต้องขังกระทำผิดวินัยจะได้รับ
ก.      ภาคทัณฑ์
ข.      ลดชั้น
ค.      ตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน
ง.       ตัดการติดต่อพูดจากับทนายความของตน
คำตอบ  ง.  ตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมเยียนหรือติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน เว้นแต่กรณีตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
36.       โทษตามข้อใดผิด
ก.      ขังเดี่ยวไม่เกิน 2 สัปดาห์
ข.      ขังห้องมืดไม่มีเครื่องหลับนอน ไม่เกินสองวันต่อหนึ่งสัปดาห์
ค.      เฆี่ยนคราวหนึ่งไม่เกิน 20 ที
ง.       ตัดจำนวนเงินที่ได้รับการลดวันต้องโทษจำคุก
คำตอบ  ก.  ตามมาตรา 35 (6) ขังเดี่ยวไม่เกิน 3 เดือน
37.       พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนการลงโทษได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ใด
ก.      รัฐมนตรี            ข.  อธิบดี
ค.      ผู้บัญชาการเรือนจำ         ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ค.  พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนการลงโทษอย่างใด ๆ เสียได้ เมื่อมีเหตุอันสมควร แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำ
38.       ข้อใดมิใช่สิ่งของต้องห้ามffice ffice" />
ก.      ของเน่าเสีย            ข.  สัตว์มีชีวิต
ค.      เงินสด            ง.  ศาตราวุธ
คำตอบ  ค.  เงินสด กฎหมายมิได้ระบุเป็นสิ่งของต้องห้าม แต่ก็ไม่อนุญาตให้นำเข้าหรือเก็บรักษาไว้ในเรือนจำ
39.       ข้อใดเป็นสิ่งขอที่อนุญาตให้ผู้ต้องขังนำเข้ามาในเรือนจำได้
ก.      ของใช้ส่วนตัวเพื่อรักษาสุขภาพอนามัย   ข.  ยารักษาโรค
ค.      อาหารสำเร็จรูป         ง.  ข้อ ก. และ ค. ถูก
คำตอบ  ง.  สิ่งของที่อนุญาตให้นำเข้ามาในเรือนจำได้ คือ
1)       ของใช้ส่วนตัวเพื่อรักษาสุขภาพอนามัย
2)       อาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว หรืออาหารสำเร็จรูปอันเป็นของส่วนตัว
40.       กรณีใดที่จะต้องคืนทรัพย์สินที่ผู้ต้องขังฝากเรือนจำไว้ให้แก่ทายาทของผู้นั้น
ก.      กรณีผู้ต้องขังตาย
ข.      กรณีผู้ต้องขังหลบหนีไปพ้น 1 ปี นับแต่วันหลบหนี
ค.      กรณีผู้ต้องขังถูกปล่อยตัวไปแล้ว 3 เดือน
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ก.  กรณีผู้ต้องขังตาย ต้องคืนทรัพย์สินของผู้ต้องขังที่ฝากไว้แก่เรือนจำให้กับทายาท ส่วนกรณีผู้ต้องขังหลลบหนีพ้นกำหนด 1 ปี นับจากวันหลบหนี หรือผู้ต้องขังถูกปล่อยตัวแล้ว ไม่รับทรัพย์สินของตนภายใน 3 เดือน ก็ให้ริบเป็นของแผ่นดินเสีย
41.       เอกสารสำคัญในการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดเรียกว่าอะไร
ก.      ใบสุทธิ            ข.  ใบบริสุทธิ์
ค.      หนังสือบริสุทธิ์         ง.  หนังสือสุทธิ
คำตอบ  ข.  เรือนจำจะออกใบสำคัญในการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดซึ่งเรียกว่า ใบบริสุทธิ์
42.       การปล่อยตัวนักโทษโดยไม่มีเงื่อนไข ข้อใดถูก
ก.      นักโทษที่จำคุกครบกำหนดตามคำพิพากษา
ข.      นักโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
ค.      นักโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกา
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขเป็นการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด  ดังนี้
1)       นักโทษที่จำคุกครบกำหนดตามคำพิพากษา
2)       นักโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ในกรณียื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอ
พระราชทานอภัยโทษต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3)       นักโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษใน
วาระสำคัญต่าง ๆ
43.       การปล่อยตัวโดยมีเงื่อนไข หากนักโทษผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว ข้อใดผิด
ก.      ถูกจับกลับมาอีก โดยจะต้องมีหมายจับ
ข.      ถูกจำคุกต่อไปจนครบกำหนดโทษที่ยังเหลืออยู่ โดยไม่ต้องมีหมายคุกใหม่
ค.      ถูกถอนการพักการลงโทษ หรือถอนการลดวันต้องโทษ
ง.       ถูกลงโทษทางวินัย
คำตอบ  ก.  หากนักโทษไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จะมีผลคือ
1)       ถูกจับกลับมาอีกโดยไม่ต้องมีหมายจับ  และถูกจำคุกต่อไปจนครบกำหนดโทษที่ยัง
เหลืออยู่ โดยไม่ต้องมีหมายจำคุกใหม่
2)       ถูกถอนการพักการลงโทษ หรือถอนการลดวันต้องโทษ
3)       ถูกลงโทษทางวินัย
44.       ปัจจุบันโทษประหารชีวิต ใช้วิธีการใด
ก.      แขวนคอ            ข.  ยิง
ค.      ฉีดยาให้ตาย            ง.  เก้าอี้ไฟฟ้า
คำตอบ  ค.  ปัจจุบันกฎหมายได้เปลี่ยนโทษประหารชีวิต จากวิธียิงเป้ามาเป็นฉีดยาให้ตาย
45.       ข้อใดมิใช่โทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา
ก.      กักกัน            ข.  กักขัง
ค.      ปรับ               ง.  ริบทรัพย์สิน
คำตอบ  ก.  กักกันเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย ส่วนโทษทางอาญามีดังนี้
1)       ประหารชีวิต  
2)       จำคุก
3)       กักขัง
4)       ปรับ
5)       ริบทรัพย์สิน
46.       ข้อใดมิใช่วัตถุประสงค์ของการกักกัน
ก.      ป้องกันการกระทำความผิดอีก      ข.  เพื่อดัดนิสัย
ค.      เพื่อลงโทษให้สมกับความผิด      ง.  เพื่อฝึกหัดอาชีพ
คำตอบ  ค.  วัตถุประสงค์ของการกักกัน คือ
1)       ป้องกันการกระทำความผิดอีก  
2)       เพื่อดัดนิสัย
3)       เพื่อฝึกหัดอาชีพ
47.   ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของนักโทษเด็ดขาดที่อาจถูกส่งไปอยู่ทัณฑนิคม
ก.      เป็นผู้ประพฤติดี
ข.      มีความอุตสาหะ
ค.      รับโทษในเรือนจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ
ง.       โทษที่เหลือไม่น้อยกว่า 2 ปี
คำตอบ  ค.  นักโทษเด็ดขาดคนใดมีคุณสมบัติดังนี้อาจถูกส่งไปอยู่ทัณฑนิคม
1)       เป็นผู้ประพฤติดี
2)       มีความอุตสาหะ
3)       มีความสามารถโดยแสดงให้เห็นผลดีในการศึกษาและการงาน
นักโทษเด็ดขาดเช่นนี้จะต้องรับโทษในเรือนจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของกำหนดโทษ แต่โทษที่เหลือต้องไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือถ้าเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตต้องรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ปี
48.       ข้อใดมิใช่ประโยชน์ของนักโทษพิเศษที่ถูกส่งไปอยู่ทัณฑนิคมจะได้รับffice ffice" />
ก.      นำสามี ภริยา ญาติสืบสายโลหิต ไม่อยู่ร่วมกันได้
ข.      ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบอาชีพ
ค.      ได้รับส่วนแบ่งจากราคาขายพืชผลที่ตนได้เพาะปลูก
ง.       ได้รับเบี้ยเลี้ยงรายเดือนเป็นรางวัล
คำตอบ  ข.  นักโทษพิเศษอาจได้รับอนุญาตให้หาประโยชน์บนที่ดินแปลงใดซึ่งจัดไว้เพื่อการนั้นเป็นการชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรจะเห็นได้ว่า เพียงแต่ได้รับอนุญาตให้หาประโยชน์ได้ แต่ไม่ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น
49.       บุคคลในข้อใดถือว่าเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเรือนจำ
ก.      ทนายความเข้าติดต่อกับผู้ต้องขังเกี่ยวกับคดี
ข.      นักศึกษาขอเข้าไปทำการศึกษา  วิจัย
ค.      คนต่างชาติจากสถานทูตเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังในบังคับของตน
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  บุคคลภายนอกในที่นี้หมายถึง บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ต้องขังหรือเจ้าพนักงานเรือนจำ ทั้งนี้ ไม่ว่าเข้าไปทำธุระใด ๆ เช่น นำของไปส่งเรือนจำ เยี่ยมผู้ต้องขัง หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เช่น ศึกษาวิจัย ดูงาน ทนายความเข้าติดต่อผู้ต้องขังเกี่ยวกับคดี ตลอดจนกงสุลหรือคนต่างชาติจากสถานทูตเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังในบังคับของตน
50.       ข้อใดไม่ถือว่ามีความผิด
ก.      เอก ผู้ต้องขัง รับเงินจากญาติที่มาเยี่ยมเพื่อใช้ในเรือนจำ
ข.      โท ผู้ต้องขัง ให้เงินญาติที่มาเยี่ยม
ค.      ตรี ผู้ต้องขัง ให้เงิน ดำ ผู้ต้องขังด้วยกันด้วยความเสน่หา
ง.       จัตวา ผู้ต้องขัง เจอเงินหล่นอยู่จึงเก็บเอาไว้กับตัวเอง
คำตอบ  ง.  ในกรณีค้นพบเงินสดในตัวผู้ต้องขัง  โดยไม่ปรากฏว่าผู้ต้องขังเป็นผู้นำเข้าหรือรับจากผู้ต้องขังด้วยกัน เช่น ผู้ต้องขังอ้างว่าเก็บได้ เจ้าพนักงานจะริบไม่ได้เพราะการมีเงินสดไว้ในครอบครองมิใช่ความผิด หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องขังนำเข้ามาในเรือนจำหรือรับจากผู้ใด
 
51.       ข้อใดผิดเกี่ยวกับการใช้เครื่องพันธนาการ
ก.      ใช้กับผู้ต้องขังที่น่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ของตนเองหรือผู้อื่น
ข.      ใช้กับผู้ต้องขังวิกลจริต จิตไม่สมประกอบ อันอาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
ค.      ใช้กับผู้ต้องขังที่พยายามจะหลบหนี
ง.       เมื่อพัศดีสั่งว่าจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากสภาพของเรือนจำ สภาพการณ์ของท้องถิ่น
คำตอบ  ง.  เมื่อรัฐมนตรี สั่งว่าจำเป็นต้องใช้เนื่องจากสภาพของเรือนจำ สภาพการณ์ของท้องถิ่น เช่น สภาพเรือนจำไม่แข็งแรง สภาพของท้องถิ่นไม่ปลอดภัยต่อการควบคุมผู้ต้องขังคดีอุกฉกรรจ์ เป็นต้น
52.       ผู้ต้องขังตามข้อใดที่จะใช้ตรวนขนาดที่ 3
ก.      ผู้ต้องขังที่ถูกศาลสั่งลงโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
ข.      ผู้ต้องขังคดีอุกฉกรรจ์
ค.      ผู้ต้องขังคดีที่เป็นที่สนใจของสาธารณะ
ง.       ข้อ ก. และ ข. ถูก
คำตอบ  ง.  การใช้เครื่องพันธนาการ โดยปกติให้ใช้ตรวจขนาดที่ 1 หรือขนาดที่ 2 หรือกุญแจเท้าเว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือศาลได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกผู้ต้องขังตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป หรือเป็นผู้ต้องขังในคดีอุกฉกรรจ์ จะใช้ตรวจขนาดที่ 3 ก็ได้
53.       เครื่องพันธนาการที่เพิ่มขึ้นมาใหม่คืออะไร
ก.      ตรวจ            ข.  กุญแจมือ
ค.      กุญแจเท้า            ง.  โซ่ล่าม
คำตอบ  ค.  เดิมเครื่องพันธนาการมีเพียงตรวจ กุญแจมือ และโซ่ล่าม เท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2541 ได้มีการแก้ไขกฎกระทรวง ข้อ 25-28 เพิ่มเติมกุญแจเท้ามาอีกประเภทหนึ่ง
54.       ใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดชนิดอาวุธที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงใช้
ก.      รัฐมนตรี            ข.  อธิบดี
ค.      ผู้บัญชาการเรือนจำ         ง.  พัศดี
คำตอบ  ก.  รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดชนิดอาวุธที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงใช้และวางเงื่อนไขในการถือหรือมีอาวุธนั้น ๆ
55.       บุคคลใดที่ไม่มีอำนาจสั่งลงโทษผู้กระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์
พ.ศ.2482
ก.      ปลัดกระทรวง         ข.  ผู้บัญชาการเรือนจำ
ค.      พัศดี            ง.  ผู้คุม
56.   วินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ ใช้บังคับแก่ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในที่ffice ffice" />
ใดบ้าง
ก.      เรือนจำ            ข.  ทัณฑนิคม
ค.      สถานฝึกอบรม         ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  วินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ใช้บังคับแก่ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการใน
1)       เรือนจำ  ทัณฑนิคม  นิคมฝึกอาชีพ หรือทัณฑสถานอื่น ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย
2)       สถานฝึกอบรม
57.   ข้อใดคือวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
ก.      ตักเตือนแนะนำสั่งสอนให้มีความประพฤติดี
ข.      แส
สั่งซื้อที่

ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724  Line : testthai1
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงส่ชุดละ 399 บาท  ได้รับภายใน 2-3 ชม.
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ +MP3  ราคา 679 บาท ได้รับภายใน 2-3 วัน
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 
ธ.กสิกรไทย  
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี decho pragay

[font=arial                              ]ผลงานการสอบได้ของลูกค้า 

ติดตามข่าวการสอบราชการที่  https://www.facebook.com/testthai1
ดาวน์โหลดแนวข้อสอบรับราชการที่นี่  www.ข้อสอบงานราชการไทย.com

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้