size="2">พระราชบัญญัติ
จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๓๔
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน และกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน และให้ศาลเยาวชนและครอบครัวที่จัดตั้งขึ้นแทนศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัวด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก(๑) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. ๒๔๙๔(๒) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๖(๓) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๖๓ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕(๔) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๕๐๕(๕) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๐๗(๖) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๓(๗) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๒๓(๘) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดระยอง พ.ศ. ๒๕๒๖(๙) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๓๐(๑๐) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๕๓๐(๑๑) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๓๓(๑๒) พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. ๒๔๙๔(๑๓) พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๖บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้“เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์“คดีธรรมดา” หมายความว่า คดีอื่นๆ นอกจากคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาล ที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว“คดีเยาวชนและครอบครัว” หมายความว่า คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัตินี้“ศาลเยาวชนและครอบครัว” หมายความว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้“ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว” หมายความว่า ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้“สถานพินิจ” หมายความว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนของแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้“ผู้อำนวยการสถานพินิจ” หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานพินิจให้ปฏิบัติราชการแทน“พนักงานคุมประพฤติ” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้“ผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติ” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้“พนักงานสังคมสงเคราะห์” หมายความว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่สืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ควบคุมและสอดส่องความประพฤติเด็กและเยาวชน ให้คำแนะนำและสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ตลอดจนครอบครัวของเด็กและเยาวชน รวมทั้งมีอำนาจสืบเสาะภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวและไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนนั้นในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น มาตรา ๖ ให้นำบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่คดีเยาวชนและครอบครัวเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เท่าที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนกฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๒
ศาลเยาวชนและครอบครัว
มาตรา ๘ ให้จัดตั้ง(๑) ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขึ้นในกรุงเทพมหานคร และให้มีเขตอำนาจตลอดกรุงเทพมหานคร(๒) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลาขึ้นในจังหวัดสงขลา และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดสงขลา(๓) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาขึ้นในจังหวัดนครราชสีมา และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดนครราชสีมา(๔) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดเชียงใหม่(๕) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานี และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดอุบลราชธานี(๖) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยองขึ้นในจังหวัดระยอง และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดระยอง(๗) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดสุราษฎร์ธานี(๘) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดนครสวรรค์(๙) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นขึ้นในจังหวัดขอนแก่น และให้มีเขตอำนาจตลอดจังหวัดขอนแก่นในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดที่ได้จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จัดตั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดทุกศาล แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดใดจะเปิดทำการเมื่อใดให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกาให้แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดมีเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลที่ตั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวนั้น สำหรับจังหวัดที่มีศาลจังหวัดมากกว่าหนึ่งศาลถ้าจะเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดเพียงบางศาลจะให้แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดที่เปิดทำการนั้นมีเขตอำนาจตลอดท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดที่ยังมิได้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ระบุเขตอำนาจดังกล่าวไว้ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสองด้วยให้ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๙ ให้โอนบรรดาคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ และศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไปพิจารณาพิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ หรือศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๐ การจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนอกจากที่ได้จัดตั้งตามมาตรา ๘ ให้กระทำโดยพระราชบัญญัติ ซึ่งจะต้องระบุเขตอำนาจของศาลนั้นไว้ด้วย และจะเปิดทำการเมื่อใดให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกาเมื่อได้จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขึ้นในจังหวัดที่มีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเปิดทำการอยู่แล้ว ให้ยุบเลิกแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวนั้น และให้โอนบรรดาคดีที่ค้างพิจารณาในแผนกดังกล่าวไปพิจารณาพิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดที่จัดตั้งขึ้น มาตรา ๑๑ ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีดังต่อไปนี้(๑) คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด(๒) คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามมาตรา ๖๑ วรรคหนึ่ง(๓) คดีครอบครัว ได้แก่ คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัว แล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(๔) คดีที่ศาลจะต้องพิพากษาหรือสั่งเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว มาตรา ๑๒ ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด มาตรา ๑๓ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ว่าด้วยการโอนคดีในท้องที่ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดทำการแล้ว ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นอื่นใดในท้องที่นั้นรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวไว้พิจารณาพิพากษา มาตรา ๑๔ ในระหว่างการพิจารณาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว แม้จำเลยจะมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์หรือเกินยี่สิบปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส แล้วแต่กรณี ให้ศาลนั้นคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปจนเสร็จสำนวน และถ้าจะมีอุทธรณ์หรือฎีกาก็ให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หรือศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวหรือศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวที่จะพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้ศาลเช่นว่านั้นคงมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าข้อเท็จจริงในเรื่องอายุหรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้องจะผิดไป หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๓ ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้นๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไปถ้าข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่งปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณา ไม่ว่าในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้ศาลนั้นๆ โอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป มาตรา ๑๖ ในศาลเยาวชนและครอบครัวทุกศาลให้มีผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบตามจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนด มาตรา ๑๗ การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่าย
ตุลาการ ซึ่งเป็นผู้มีอัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสมที่จะปกครองและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนและเป็นผู้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจะเป็นผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นอื่นด้วยก็ได้ มาตรา ๑๘ ในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ให้มีอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหนึ่งคน รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางสองคนและเลขานุการศาลเยาวชนและครอบครัวกลางซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการหนึ่งคน ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในทางราชการจะกำหนดให้มีรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมากกว่าสองคนก็ได้ในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศาลละหนึ่งคน ในกรณีที่จัดตั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดใด ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดนั้นหนึ่งคน และเพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีฐานะเสมือนผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด มาตรา ๑๙ เมื่อตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้ทำการแทน ถ้ามีผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทนเมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสสูงสุดในศาลหรือแผนกนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสสูงสุดในศาลหรือแผนกนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาผู้มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทนในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะสั่งให้ผู้พิพากษาศาลใดศาลหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้ มาตรา ๒๐ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้รับผิดชอบงานของศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและอธิบดีผู้พิพากษาภาคตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๑ ให้รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับรองอธิบดีผู้พิพากษาและรองอธิบดีผู้พิพากษาภาคตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และให้มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางตามที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมอบหมาย มาตรา ๒๒ ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔ แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ในส่วนที่เกี่ยวกับศาลเยาวชนและครอบครัวที่อยู่ในเขตอำนาจของตน และให้เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานธุรการของศาลเยาวชนและครอบครัวที่อยู่ในเขตอำนาจของตนตามที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมอบหมาย เมื่อมอบหมายแล้วให้ผู้มอบหมายรายงานไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ศาลเยาวชนและครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่าสองคน และผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี จึงเป็นองค์คณะพิจารณาคดีได้ ส่วนการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งจะต้องทำโดยองค์คณะพิจารณาคดีหลายคน คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะต้องบังคับตามคะแนนเสียงฝ่ายข้างมากของผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดีนั้น ในกรณีที่ผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบดังกล่าวมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้นำบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมในการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวใด จะต้องมีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะหรือไม่ให้เป็นไปตามมาตรา ๑๐๙ มาตรา ๒๕ ในคดีซึ่งอยู่ในอำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวคนใดคนหนึ่งตามมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒ แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าในการพิจารณาคดีนั้นมีเหตุอันสมควรจะสั่งให้ผู้พิพากษาสมทบคนใดคนหนึ่งนั่งพิจารณาร่วมกับตนหรือร่วมกับผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวก็ได้ หรือจะสั่งให้ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวคนใดคนหนึ่งร่วมเป็นองค์คณะด้วยก็ให้มีอำนาจสั่งได้ และให้องค์คณะเช่นว่านี้มีอำนาจพิพากษาคดีตามมาตรา ๒๒ (๕) หรือ (๖) แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๖ ผู้พิพากษาสมทบตามมาตรา ๑๖ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องมีคุณสมบัติดังนี้(๑) มีอายุไม่น้อยกว่าสามสิบปีบริบูรณ์(๒) มีหรือเคยมีบุตรมาแล้ว หรือเคยทำงานเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์หรือการอบรมเด็กมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี(๓) ได้รับการอบรมในเรื่องความมุ่งหมายของศาลเยาวชนและครอบครัว และหน้าที่ตุลาการมาแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง(๔) มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการธุรการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ เว้นแต่ในเรื่องพื้นความรู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง(๕) ไม่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ(๖) มีอัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวผู้พิพากษาสมทบให้ดำรงตำแหน่งคราวละสามปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกก็ได้ ผู้พิพากษาสมทบที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระให้คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าผู้พิพากษาสมทบคนใหม่จะเข้ารับหน้าที่ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ผู้พิพากษาสมทบจะต้องปฏิญาณตนต่อหน้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ซึ่งตนจะเข้าสังกัด แล้วแต่กรณี ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมและรักษาความลับในราชการ มาตรา ๒๗ ผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘ ผู้พิพากษาสมทบพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ(๑) ออกตามวาระ(๒) ตาย(๓) ลาออก(๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๖(๕) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามเวรปฏิบัติการที่กำหนดถึงสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือกระทำการใดๆ ซึ่งถ้าเป็นข้าราชการตุลาการแล้วจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการการพ้นจากตำแหน่งตาม (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) หรือ (๕) ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการและให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๒๙ ในกรณีที่ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระตามมาตรา ๒๘ (๑) จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลที่คณะกรรมการตุลาการคัดเลือกขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ ให้ผู้พิพากษาสมทบซึ่งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนดำรงตำแหน่งแทน มาตรา ๓๐ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วแต่กรณี กำหนดเวรปฏิบัติการของผู้พิพากษาสมทบซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบที่นั่งพิจารณาคดีใด จะต้องพิจารณาคดีนั้นจนเสร็จ เว้นแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจัดให้ผู้พิพากษาสมทบอื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้พิพากษาสมทบจะได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๑ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการมาใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลม
หมวด ๓
สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
มาตรา ๓๒ สถานพินิจเป็นหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม มีผู้อำนวยการสถานพินิจเป็นผู้บังคับบัญชาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการสถานพินิจ มาตรา ๓๒ ทวิ ปลัดกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกใบอนุญาตให้เอกชนจัดตั้งสถานศึกษา สถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิตเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือเป็นจำเลยหรือเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแล้ว และมีอำนาจควบคุมดูแลสถานศึกษาหรือสถานดังกล่าวรวมทั้งมีอำนาจตักเตือนและสั่งเพิกถอนใบอนุญาตที่ได้ออกให้นั้นด้วยการขอ การออก การกำหนดอายุ การต่ออายุ การตักเตือน และการเพิกถอนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๓ การจัดตั้งสถานพินิจ การกำหนดเขตอำนาจและการแบ่งแยกกิจการของสถานพินิจออกเป็นสาขาต่างๆ ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกาในกรณีจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจ พนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานสังคมสงเคราะห์มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนอกเขตอำนาจได้ มาตรา ๓๔ ให้สถานพินิจมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นและโดยเฉพาะให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(๑) สืบเสาะและพินิจเรื่องอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษา อบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และฐานะของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด และของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งเด็กหรือเยาวชนนั้นอาศัยอยู่ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนนั้น รวมทั้งสาเหตุแห่งการกระทำความผิด เพื่อรายงานต่อศาล(๒) สอดส่องความประพฤติของเด็กและเยาวชนตามคำสั่งศาล(๓) ควบคุมเด็กและเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดไว้ในระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาคดี หรือตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล(๔) สงเคราะห์และบำบัดแก้ไขเด็กและเยาวชนในระหว่างที่ถูกควบคุมหรือภายหลังปล่อย(๕) จัดให้มีการตรวจรักษาและพยาบาลเด็กหรือเยาวชนในระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาคดี หรือในระหว่างการควบคุมตัวในสถานพินิจ(๖) จัดการศึกษา ฝึกและอบรม ดูแลและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในความควบคุม(๗) สืบเสาะภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวในคดีครอบครัว รวมทั้งจัดให้แพทย์หรือจิตแพทย์ตรวจร่างกาย สุขภาพหรือจิตใจของคู่ความในกรณีที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๑๑๒(๘) ประมวลและรายงานข้อเท็จจริง รวมทั้งเสนอความเห็นต่อศาลในคดีครอบครัวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๗(๙) ศึกษาค้นคว้าถึงสาเหตุแห่งการกระทำของเด็กและเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดโดยทั่วๆ ไป จัดทำสถิติการกระทำความผิดดังกล่าวของเด็กและเยาวชนและเผยแพร่วิธีป้องกันหรือทำให้ลดน้อยลง ซึ่งการกระทำความผิดนั้น(๑๐) ดำเนินการอื่นตามคำสั่งศาลหรือตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสำหรับสถานพินิจ เพื่อทำหน้าที่(๑) ให้คำปรึกษาแก่ผู้อำนวยการสถานพินิจ(๒) ช่วยเหลือกิจการสถานพินิจ เพื่อสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กและเยาวชนกรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ มาตรา ๓๖ ให้มีแพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พนักงานคุมประพฤติ พนักงานสังคมสงเคราะห์ ครู และพนักงานอื่นตามที่จะได้มีกฎกระทรวงระบุตำแหน่งเพื่อช่วยเหลือผู้อำนวยการสถานพินิจตามสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานของสถานพินิจหรือพนักงานของสถานที่ซึ่งได้รับมอบหมายให้ควบคุม ฝึกและอบรมหรือสงเคราะห์เด็กหรือเยาวชน เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗ ผู้อำนวยการสถานพินิจมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งปวงตลอดจนการปกครองบังคับบัญชาพนักงานของสถานพินิจนั้น และให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานสังคมสงเคราะห์และอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๘ ในระหว่างที่เด็กหรือเยาวชนอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจให้ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(๑) จัดให้เด็กหรือเยาวชนได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาสามัญอย่างน้อยให้พออ่านออกเขียนได้ ฝึกอาชีพหรือวิชาชีพ หรือให้ปฏิบัติการงานอื่นใดเพื่อมิให้มีเวลาว่างโดยไม่จำเป็นให้เหมาะสมกับจิตใจและสุขภาพของเด็กหรือเยาวชนนั้น(๒) ออกกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการรักษาระเบียบวินัยของเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในความควบคุม(๓) ลงทัณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๙ แก่เด็กและเยาวชนที่ละเมิดกฎหมาย ประพฤติชั่วหรือกระทำผิดวินัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง(๔) ส่งเด็กหรือเยาวชนซึ่งมีความประพฤติเหลือขออันจะเป็นภัยต่อเด็กหรือเยาวชนอื่นไปกักไว้ในสถานที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะหรือเรือนจำโดยได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เว้นแต่กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งจะส่งเด็กหรือเยาวชนไปยังเรือนจำก่อนก็ได้ แล้วรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว(๕) อนุญาตให้เด็กหรือเยาวชนออกนอกสถานพินิจเป็นครั้งคราวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง(๖) อนุญาตให้เด็กหรือเยาวชนในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเด็ดขาดแล้วออกไปศึกษาในสถานศึกษาประเภทไปมานอกสถานพินิจ ตามที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว มาตรา ๓๙ ทัณฑ์ที่จะลงแก่เด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจให้มีดังต่อไปนี้(๑) เฆี่ยนไม่เกินสิบสองที(๒) ทำงานหนัก(๓) ตัดประโยชน์และความสะดวกที่สถานพินิจอำนวยให้บางประการ มาตรา ๔๐ เด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจนั้นต้องจัดแยกหญิงและชายให้มีที่อยู่ออกต่างหากจากกัน มาตรา ๔๑ ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจรับเด็กหรือเยาวชนเข้ารับการฝึกอบรมแบบเช้ามาเย็นกลับตามคำสั่งศาล มาตรา ๔๒ ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและผู้ปกครองสถานศึกษาหรือสถานฝึกและอบรมหรือสถานแนะนำทางจิตที่รับเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดไว้ในความควบคุม รายงานความประพฤติ สุขภาพ จิตใจ นิสัยและเรื่องอื่นๆ ที่ศาลต้องการทราบหรือที่เห็นว่าศาลควรทราบต่อศาลซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกเดือนต่อครั้ง หรือภายในระยะเวลาเร็วกว่านั้นตามที่ศาลสั่ง มาตรา ๔๓ ให้พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายอื่น และโดยเฉพาะให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(๑) สืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา ๓๔ (๑) เกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาและบุคคลอื่น(๒) คุมประพฤติเด็กหรือเยาวชนตามคำสั่งศาล ตลอดจนดูแลอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ระหว่างคุมประพฤติ(๓) สอดส่องให้เด็กและเยาวชนปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติตามที่ศาลกำหนด(๔) ให้คำแนะนำแก่บิดามารดา หรือผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งเด็กหรือเยาวชนนั้นอาศัยอยู่ในเรื่องการเลี้ยงดู อบรมและสั่งสอนเด็กหรือเยาวชน(๕) ประมวลและรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เยาว์ ในกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจะต้องบังคับใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในคดีแพ่งที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย เพื่อรายงานต่อศาล(๖) ทำรายงานและความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) เพื่อเสนอต่อศาลหรือผู้อำนวยการสถานพินิจ(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งผู้อำนวยการสถานพินิจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๔ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๓ ให้พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจอย่างพนักงานสอบสวนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ(๑) เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของบิดามารดา หรือผู้ปกครองเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด หรือของบุคคลซึ่งเด็กหรือเยาวชนนั้นอาศัยอยู่ ศึกษาหรือทำการงาน หรือมีความเกี่ยวข้องด้วย ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกและสอบถามบุคคลซึ่งอยู่ในที่นั้น(๒) เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของบิดามารดา หรือผู้ปกครองผู้เยาว์หรือของบุคคลซึ่งผู้เยาว์อาศัยอยู่ ศึกษาหรือทำการงานหรือมีความเกี่ยวข้องด้วย ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก และสอบถามบุคคลซึ่งอยู่ในที่นั้นเกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีครอบครัวที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา ๑๑ (๓)(๓) สอบถามครู อาจารย์ หรือผู้จัดการสถานศึกษาที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดศึกษาหรือเคยศึกษาอยู่เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา นิสัยและสติปัญญาของเด็กหรือเยาวชนนั้น และถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้บุคคลเช่นว่านี้ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วยก็ได้(๔) เรียกบุคคลซึ่งสามารถให้ข้อเท็จจริงมาพบและสาบานหรือปฏิญาณตนและให้ถ้อยคำ(๕) สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองวัตถุหรือเอกสารอันจะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ส่งวัตถุหรือเอกสารนั้นในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปในสถานที่ตาม (๑) หรือ (๒) ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น พนักงานคุมประพฤติจะกระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลหรือคำสั่งผู้อำนวยการสถานพินิจ มาตรา ๔๕ ให้ผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่อย่างพนักงานคุมประพฤติเพียงเท่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานพินิจให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๖ ให้พนักงานสังคมสงเคราะห์มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายอื่น และโดยเฉพาะให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(๑) สงเคราะห์และบำบัดแก้ไขเด็กและเยาวชนในระหว่างที่ถูกควบคุมอยู่ในสถานพินิจหรือที่ได้ปล่อยไปแล้ว ตลอดจนให้คำแนะนำ ควบคุมดูแลและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนนั้น(๒) ให้คำแนะนำแก่บิดามารดา หรือผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ เกี่ยวกับการเลี้ยงดู อบรมและสั่งสอนเด็กหรือเยาวชน เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์และบำบัดแก้ไขเด็กหรือเยาวชน(๓) สอดส่องให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติตามที่ศาลกำหนด(๔) ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการสืบเสาะภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวและไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทในคดีครอบครัว(๕) ทำรายงานและความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) เพื่อเสนอต่อศาลหรือผู้อำนวยการสถานพินิจ(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งผู้อำนวยการสถานพินิจ มาตรา ๔๗ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๖ ให้พนักงานสังคมสงเคราะห์มีอำนาจอย่างพนักงานสอบสวนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ(๑) เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของบิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด หรือของบุคคลซึ่งเด็กหรือเยาวชนนั้นอาศัยอยู่ ศึกษาหรือทำการงาน หรือมีความเกี่ยวข้องด้วย ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก และสอบถามบุคคลซึ่งอยู่ในที่นั้น(๒) เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของบิดามารดา หรือผู้ปกครองผู้เยาว์ หรือของบุคคลซึ่งผู้เยาว์อาศัยอยู่ ศึกษาหรือทำการงานหรือมีความเกี่ยวข้องด้วย หรือเข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของคู่ความในคดีครอบครัวหรือของบุคคลซึ่งคู่ความนั้นอาศัยอยู่ ศึกษาหรือทำการงานหรือมีความเกี่ยวข้องด้วย ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก และสอบถามบุคคลซึ่งอยู่ในที่นั้น(๓) เรียกบุคคลซึ่งสามารถให้ข้อเท็จจริงมาพบและสาบานหรือปฏิญาณตนและให้ถ้อยคำ(๔) เรียกคู่ความหรือบุคคลใดมาพบเพื่อไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทในคดีครอบครัวในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปในสถานที่ตาม (๑) หรือ (๒) ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น พนักงานสังคมสงเคราะห์จะกระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลหรือคำสั่งผู้อำนวยการสถานพินิจ มาตรา ๔๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจ พนักงานคุมประพฤติ ผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติ และพนักงานสังคมสงเคราะห์ แสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องบัตรประจำตัวให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมวด ๔
การสอบสวนคดีอาญา
มาตรา ๔๙ ห้ามมิให้จับกุมเด็กซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่เด็กนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีผู้เสียหายชี้ตัวและยืนยันให้จับหรือมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าได้มีการร้องทุกข์ไว้แล้ว หรือมีหมายจับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาการจับกุมเยาวชนให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕๐ ภายใต้บังคับบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีอาญาเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด และคดีนั้นจะต้องได้รับการพิจารณาพิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัว ให้เจ้าพนักงานผู้จับกุมหรือควบคุมเด็กหรือเยาวชนนั้นแจ้งการจับกุมหรือควบคุมไปยังผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ ตลอดจนบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอาศัยอยู่โดยไม่ชักช้า ในกรณีเช่นว่านี้พนักงานสอบสวนจะต้องถามปากคำเด็กหรือเยาวชนให้เสร็จภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมาถึงสถานที่ทำการของพนักงานสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนถามปากคำเด็กหรือเยาวชนแล้ว ให้ส่งตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปยังสถานพินิจ ผู้อำนวยการสถานพินิจดังกล่าวจะควบคุมเด็กหรือเยาวชนนั้นไว้ยังสถานพินิจหรือจะปล่อยชั่วคราวโดยมอบตัวเด็กหรือเยาวชนให้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่โดยไม่มีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันก็ได้ หรือจะมอบตัวเด็กหรือเยาวชนไว้กับบุคคลหรือองค์การที่เห็นสมควรก็ได้เมื่อมีคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาสั่งโดยพลันหากเห็นไม่สมควรให้ปล่อยชั่วคราวให้รีบส่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวพร้อมทั้งความเห็นไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาสั่งคำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวให้เป็นที่สุด แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวใหม่ส่วนการสอบสวนนั้น ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้ว่าจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของเด็กหรือเยาวชนที่ถูกจับหรือควบคุมนั้นก็ตาม มาตรา ๕๑ เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดแล้วให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรีบดำเนินการสอบสวน และส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุมในกรณีความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินห้าปี จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองครั้งในกรณีความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินห้าปี จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสองครั้งแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีก โดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามคำขอนั้นได้ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล ในกรณีเช่นว่านี้ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้อีก ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองครั้งในการพิจารณาคำร้องขอผัดฟ้อง เด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาจะตั้งที่ปรึกษากฎหมายเพื่อแถลงข้อคัดค้านหรือซักถามพยานก็ได้บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน แต่พนักงานสอบสวนเช่นว่านี้จะต้องรีบดำเนินการสอบสวน และส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีต่อศาลให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม เว้นแต่ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินห้าปี จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ขยายระยะเวลาเป็นหกสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม เว้นแต่ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินห้าปี จะมีโทษปรับขยายระยะเวลาเป็นเก้าสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม มาตรา ๕๒ ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาหลบหนีจากการควบคุมในระหว่างสอบสวน มิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีนั้นรวมเข้าในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๓ ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๕๑ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด มาตรา ๕๔ ในกรณีที่พนักงานสอบสวน พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจจำต้องควบคุมเด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาไว้ก่อนส่งตัวไปยังสถานพินิจตามมาตรา ๕๐ ห้ามมิให้ควบคุมเด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหานั้นไว้ปะปนกับผู้ใหญ่ และห้ามมิให้ควบคุมไว้ในห้องขังที่จัดไว้สำหรับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ มาตรา ๕๕ เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนตามมาตรา ๕๐ แล้ว ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้(๑) สั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา ๓๔ (๑) เว้นแต่ในคดีอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นว่าการสืบเสาะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่จำเป็นแก่คดี จะสั่งงดการสืบเสาะข้อเท็จจริงนั้นเสียก็ได้ แล้วให้แจ้งไปยังพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้อง(๒) ทำรายงานในคดีที่มีการสืบเสาะเพื่อแสดงถึงข้อเท็จจริงตามมาตรา ๓๔ (๑) และแสดงความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุแห่งการกระทำผิดของเด็กหรือเยาวชน แล้วส่งรายงานและความเห็นนั้นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี และถ้ามีการฟ้องร้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาล ให้เสนอรายงานและความเห็นนั้นต่อศาลพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการลงโทษ หรือการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนด้วย(๓) ในกรณีที่ไม่ได้ปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนไปชั่วคราวหรือไม่ได้มอบตัวเด็กหรือเยาวชนไว้กับบุคคลหรือองค์การตามมาตรา ๕๐ ให้เด็กหรือเยาวชนได้รับการปฏิบัติดังต่อไปนี้(ก) ทำความสะอาดร่างกายและเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย(ข) ให้แพทย์ตรวจร่างกายและถ้าเห็นสมควรให้จิตแพทย์ตรวจจิตใจด้วย(ค) ถ้าปรากฏว่าเด็กหรือเยาวชนเจ็บป่วย ซึ่งควรจะได้รับการรักษาพยาบาลก่อนดำเนินคดี ให้มีอำนาจสั่งให้ได้รับการรักษาพยาบาลในสถานพินิจหรือสถานพยาบาลอื่นตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ให้แจ้งไปยังพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๕๖ ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนอยู่ในความควบคุมระหว่างการสอบปากคำตามมาตรา ๕๐ หรืออยู่ในความควบคุมของสถานพินิจระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาคดีก็ดี ระหว่างการตรวจร่างกายหรือจิตใจหรือรับการรักษาพยาบาลก็ดี ไม่ให้ถือว่าเป็นการควบคุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าศาลพิพากษาลงโทษ หรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ศาลจะคิดหักจำนวนวันที่อยู่ในความควบคุมระหว่างการสอบปากคำ หรืออยู่ในความควบคุมของสถานพินิจให้ก็ได้ มาตรา ๕๗ ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนถูกส่งตัวไปควบคุมไว้เพื่อฝึกและอบรมตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลบหนีไปจากการควบคุมแล้วภายหลังจับตัวมาได้ ให้ศาลชั้นต้นที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง หรือศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนถูกส่งตัวไปควบคุมไว้เพื่อฝึกและอบรมมีอำนาจสั่งเพิ่มกำหนดเวลาที่ต้องฝึกและอบรมขึ้นตามที่เห็นสมควรแทนการลงโทษอาญาก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าเวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
หมวด ๕
อำนาจศาลเกี่ยวกับคดีอาญา
มาตรา ๕๘ คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดให้ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้น แต่ถ้า(๑) ในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวแต่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดให้ศาลซึ่งความผิดได้เกิดในเขตนั้นมีอำนาจพิจารณาคดี(๒) มีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดเพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนั้นได้ด้วย(๓) ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนืออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกิดในเขตจังหวัดนั้น โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖ มาตรา ๒๔ ถึงมาตรา ๓๑ และบทบัญญัติในหมวด ๔ และหมวด ๖ ถึงหมวด ๙ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในท้องที่ที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสถานพินิจมิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๐ ถึงมาตรา ๕๗ มาตรา ๖๔ มาตรา ๗๙ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๔ และมาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับ มาตรา ๕๘/๑ ในท้องที่ที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสถานพินิจ ก่อนที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีตามมาตรา ๕๘ (๓) จะมีคำพิพากษาในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินกว่าสามปี หรือปรับเกินกว่าหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ให้ศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ทำการสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา ๓๔ (๑) เกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนนั้นและบุคคลอื่นแล้วรายงานข้อเท็จจริงพร้อมความเห็นให้ศาลทราบเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาในกรณีที่ศาลเห็นว่ารายงานข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่งยังไม่เพียงพอที่จะประกอบการพิจารณาพิพากษา ให้ศาลมีอำนาจสั่งสืบเสาะและพินิจและรายงานเพิ่มเติมได้ มาตรา ๕๙ ถ้าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญาร่วมกับบุคคลซึ่งมิใช่เด็กหรือเยาวชน ให้แยกฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าโจทก์ยื่นฟ้องเด็กหรือเยาวชนร่วมกับบุคคลซึ่งมิใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ต่อมาความปรากฏแก่ศาลนั้นว่าจำเลยเป็นเด็กหรือเยาวชนและถ้าศาลเห็นสมควร ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดามีอำนาจโอนคดีเด็กหรือเยาวชนไปพิจารณายังศาลเยาวชนและครอบครัวตามกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๘ แต่ถ้าศาลเห็นว่าไม่สมควรโอนคดี ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดามีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้แก่จำเลยที่เป็นเด็กหรือเยาวชนได้ มาตรา ๖๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๘ ในกรณีที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีตั้งแต่สองศาลขึ้นไปและเป็นศาลซึ่งอยู่ต่างท้องที่กัน หากศาลใดศาลหนึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว ให้พิจารณาคดีนั้นที่ศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจพิจารณาคดีมีมากกว่าหนึ่งศาล จะพิจารณาคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวในศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ มาตรา ๖๑ เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ บุคคลใดอายุยังไม่เกินยี่สิบปีบริบูรณ์ กระทำความผิดและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา ถ้าศาลนั้นพิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตและนิสัยแล้วเห็นว่าบุคคลนั้นยังมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชน ก็ให้มีอำนาจสั่งให้โอนคดีไปพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจและให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชนคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าศาลเยาวชนและครอบครัวพิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตและนิสัยแล้ว เห็นว่าในขณะกระทำความผิดหรือในระหว่างการพิจารณาเด็กหรือเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดมีสภาพเช่นเดียวกับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไป ก็ให้มีอำนาจสั่งให้โอนคดีไปพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้ มาตรา ๖๒ ในกรณีที่มีการโอนคดีจากศาลเยาวชนและครอบครัวไปยังศาลอื่นตามมาตรา ๒๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะโอนคดีไปยังศาลอื่นที่ใช้วิธีพิจารณาคดีต่างกับศาลเยาวชนและครอบครัวไม่ได้
หมวด ๖
การฟ้องคดีอาญา
มาตรา ๖๓ ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิด เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ ฐานะ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนและพฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีแล้วเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง และเด็กหรือเยาวชนนั้นยินยอมที่จะอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจด้วยแล้ว ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจแจ้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วย ให้มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นได้ คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการนั้นให้เป็นที่สุดการควบคุมเด็กหรือเยาวชนในสถานพินิจตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดเวลาตามที่ผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสองปีบทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินกว่าห้าปีขึ้นไป มาตรา ๖๔ ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจเมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจได้รับการร้องขอของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจดำเนินการสืบสวนและสอบสวนว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลสมควรอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องหรือไม่ แล้วแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าอนุญาตให้ฟ้องหรือไม่อนุญาตให้ฟ้องในกรณีที่ผู้อำนวยการสถานพินิจไม่อนุญาตให้ฟ้อง ผู้เสียหายจะร้องต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ศาลเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจมาสอบถาม แล้วสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งศาลให้เป็นที่สุดเมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้รับฟ้องของผู้เสียหายแล้ว ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจดำเนินการตามมาตรา ๕๕ ตามควรแก่กรณี มาตรา ๖๕ ก่อนที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิด ให้ศาลแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจทราบก่อน ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนตามมาตรา ๖๓ แล้วเห็นว่าเพื่อสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชน สมควรให้มีการคุมความประพฤติของเด็กหรือเยาวชนนั้นก็ให้เสนอความเห็นต่อศาล ถ้าศาลเห็นสมควร ก็ให้ศาลมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของเด็กหรือเยาวชนได้และให้นำมาตรา ๑๐๐ และมาตรา ๑๐๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๖๖ ในท้องที่ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดดำเนินการแล้ว ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งพนักงานอัยการคนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็นเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและจะต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว
หมวด ๗
การพิจารณาคดีอาญา
มาตรา ๖๗ ถ้าศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นเป็นการสมควรที่จะควบคุมเด็กหรือเยาวชนไว้ในระหว่างพิจารณา ให้ศาลสั่งให้ควบคุมเด็กหรือเยาวชนไว้ยังสถานพินิจหรือสถานที่อื่นใดทำนองเดียวกันตามที่ศาลเห็นสมควรผู้อำนวยการสถานพินิจหรือผู้ปกครองสถานที่ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชน มีหน้าที่จัดส่งตัวเด็กหรือเยาวชนมายังศาลตามคำสั่งศาล มาตรา ๖๘ ห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่เด็กในระหว่างเวลาที่จำเป็นต้องควบคุมเด็กนั้นไว้เพื่อการพิจารณาคดี เว้นแต่ในคดีที่มีข้อหาว่าเด็กกระทำความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินสิบปี มาตรา ๖๙ เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้รับฟ้องคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ และแจ้งให้บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยทราบถึงวันและเวลานั่งพิจารณาของศาลโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่ศาลเห็นสมควรศาลจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวมานั่งฟังการพิจารณาด้วยก็ได้ในกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้รับฟ้องคดีที่พนักงานอัยการฟ้องต่อศาลตามมาตรา ๕๓ ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจดำเนินการตามมาตรา ๕๕ ตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๐ เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้รับฟ้องคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดแล้ว อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจะเป็นเจ้าของสำนวนหรือจะให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้นเป็นเจ้าของสำนวนก็ได้ มาตรา ๗๑ ไม่ว่าเวลาใดก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นสมควร ให้มีอำนาจเรียกจำเลยไปสอบถามเป็นการเฉพาะตัวเพื่อหยั่งทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อหาและสาเหตุแห่งการกระทำผิด บุคลิกลักษณะ ท่วงที วาจา และข้อเท็จจริงตามมาตรา ๗๘ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ทั้งนี้ ให้กระทำในห้องที่เหมาะสมซึ่งมิใช่ห้องพิจารณาคดีนั้น มาตรา ๗๒ การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลยให้กระทำในห้องที่มิใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ถ้าไม่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ ให้นัดพิจารณาคดีดังกล่าวในห้องสำหรับพิจารณาคดีธรรมดาแต่ต้องไม่ปะปนกับการพิจารณาคดีธรรมดา มาตรา ๗๓ การพิจารณาคดีในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวให้กระทำเป็นการลับ และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีเท่านั้นมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ซึ่งได้แก่(๑) จำเลย ที่ปรึกษากฎหมายของจำเลย และผู้ควบคุมตัวจำเลย(๒) บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่(๓) พนักงานศาล และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร(๔) โจทก์ และทนายโจทก์(๕) พยาน ผู้ชำนาญการพิเศษ และล่าม(๖) พนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานอื่นของสถานพินิจ(๗) บุคคลอื่นที่ศาลเห็นสมควรอนุญาต มาตรา ๗๔ ถ้าศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าจำเลยไม่ควรฟังคำให้การของพยานในตอนหนึ่งตอนใด ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยออกไปนอกห้องพิจารณาได้ แต่เมื่อศาลสั่งให้จำเลยกลับเข้ามาฟังการพิจารณา ให้ศาลแจ้งข้อความที่พยานเบิกความไปแล้วให้จำเลยทราบเท่าที่ศาลเห็นสมควร มาตรา ๗๕ ในการพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ถ้าศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นสมควรที่จะพูดกับจำเลยโดยเฉพาะ หรือเห็นว่าบุคคลบางคนไม่ควรอยู่ในห้องพิจารณา ศาลมีอำนาจสั่งให้บุคคลทั้งหมดหรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าไม่ควรอยู่ในห้องพิจารณาออกไปนอกห้องพิจารณาได้ มาตรา ๗๖ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจเรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษา หรือให้ทำการงาน หรือมีความเกี่ยวข้องมาเป็นพยานเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับจำเลยได้ มาตรา ๗๗ การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาโดยเคร่งครัด และให้ใช้ถ้อยคำที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ง่าย กับต้องให้โอกาสจำเลยรวมทั้งบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษา หรือให้ทำการงาน หรือมีความเกี่ยวข้องด้วย แถลงข้อเท็จจริง ความรู้สึก และความคิดเห็น ตลอดจนระบุและซักถามพยานได้ไม่ว่าในเวลาใดๆ ในระหว่างที่มีการพิจารณาคดีนั้น มาตรา ๗๘ ในการพิจารณาคดีที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวถือว่าอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และฐานะของจำเลย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลยและของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษา หรือให้ทำการงาน หรือมีความเกี่ยวข้องเป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาด้วย มาตรา ๗๙ ในกรณีที่ไม่มีการสืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา ๕๕ (๑) ถ้าศาลเห็นสมควร จะสั่งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจสืบเสาะข้อเท็จจริงข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมดตามมาตรา ๓๔ (๑) และทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นตามมาตรา ๕๕ (๒) เสนอต่อศาลก็ได้ มาตรา ๘๐ ในกรณีที่มีการสืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา ๓๔ (๑) หรือมาตรา ๗๙ แล้ว ถ้าศาลเห็นว่ารายงานของสถานพินิจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามมาตรา ๗๘ ยังมีข้อที่ควรสืบเสาะเพิ่มเติม ก็ให้มีอำนาจสั่งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจสืบเสาะข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อศาลได้ มาตรา ๘๑ การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะรับฟังรายงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามมาตรา ๗๘ ที่มิใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกฟ้องโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบรายงานนั้นก็ได้ แต่ถ้าศาลจะรับฟังรายงานเช่นว่านั้นให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยแล้ว ให้ศาลแจ้งข้อความตามรายงานนั้นให้จำเลยทราบ ในกรณีเช่นว่านี้จำเลยมีสิทธิที่จะแถลงคัดค้านและสืบพยานหักล้างได้ มาตรา ๘๒ ในการพิจารณาและพิพากษาคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งควรจะได้รับการฝึกอบรม สั่งสอนและสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดียิ่งกว่าการที่จะลงโทษ และในการพิพากษาคดีนั้นให้ศาลคำนึงถึงบุคลิกลักษณะ สุขภาพ และภาวะแห่งจิตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งแตกต่างกันเป็นคนๆ ไป และลงโทษหรือเปลี่ยนโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กหรือเยาวชนให้เหมาะสมกับตัวเด็กหรือเยาวชน และพฤติการณ์เฉพาะเรื่องแม้เด็กหรือเยาวชนนั้นจะได้กระทำความผิดร่วมกัน มาตรา ๘๓ ในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จำเลยจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้จำเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกับทนายความได้ ในกรณีที่จำเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย ให้ศาลแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้ เว้นแต่จำเลยนั้นไม่ต้องการและศาลเห็นว่าไม่จำเป็นแก่คดี จะไม่แต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้ก็ได้ มาตรา ๘๔ ที่ปรึกษากฎหมายตามมาตรา ๘๓ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้(๑) เป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ หรือ(๒) ได้รับปริญญาทางกฎหมายไม่ต่ำกว่าชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและได้จดทะเบียนเป็นที่ปรึกษากฎหมายตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๘๕ ให้ศาลเยาวชนและครอบครัวทุกศาลมีหน้าที่รับจดทะเบียนผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๘๔ (๒) ซึ่งประสงค์จะจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษากฎหมายในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง และการลบชื่อออกจากทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๘๖ ที่ปรึกษากฎหมายซึ่งศาลแต่งตั้ง ให้ได้รับค่าป่วยการตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด มาตรา ๘๗ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีอำนาจวางระเบียบปฏิบัติของที่ปรึกษากฎหมายในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว มาตรา ๘๘ ถ้าปรากฏแก่ศาลว่าที่ปรึกษากฎหมายซึ่งจำเลยหรือศาลแต่งตั้งนั้นไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือจำเลยในคดีใด ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนเสีย มาตรา ๘๙ ในระหว่างที่เด็กหรือเยาวชนถูกควบคุมตัวอยู่ในสถานพินิจหรือสถานที่อื่นใดที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชน ถ้าศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนชั่วคราวโดยไม่มีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันก็ได้ หรือจะมอบตัวเด็กหรือเยาวชนแก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ หรือบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ แต่ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งมอบตัวเด็กหรือเยาวชนแก่บุคคลหรือองค์การดังกล่าว ให้ศาลเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจหรือผู้ปกครองสถานที่ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชน แล้วแต่กรณี มาสอบถามความเห็นก่อนถ้าบุคคลหรือองค์การที่รับมอบตัวเด็กหรือเยาวชนไว้จากศาล แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่าไม่สามารถจะอบรมดูแลเด็กหรือเยาวชนต่อไปได้ และขอมอบตัวเด็กหรือเยาวชนต่อศาล ก็ให้ศาลส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปควบคุมไว้ในสถานพินิจหรือสถานที่อื่นใดทำนองเดียวกันตามที่ศาลเห็นสมควร มาตรา ๙๐ ในกรณีที่จำเลยไม่สามารถมาฟังการพิจารณา ถ้าศาลเห็นสมควรศาลจะสั่งให้สืบพยานในข้อที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ลับหลังจำเลยได้ แต่ทั้งนี้ต้องกระทำต่อหน้าที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยนั้น มาตรา ๙๑ การให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนมาสถานพินิจหรือศาล ถ้าผู้อำนวยการสถานพินิจหรือศาลได้มอบตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไว้กับบิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ หรือบุคคลหรือองค์การอื่นตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๘๙ ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือศาลออกหมายเรียกให้เด็กหรือเยาวชนนั้นมาสถานพินิจหรือศาลถ้าได้ส่งหมายเรียกให้บุคคลดังกล่าวรับไว้แล้ว ให้ถือว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นได้รับหมายเรียกแล้วให้บุคคลซึ่งได้รับหมายเรียกส่งตัวเด็กหรือเยาวชนมาสถานพินิจหรือศาลตามหมายเรียก ถ้าไม่ส่งตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นมาโดยจงใจหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือศาลมีอำนาจสั่งให้บุคคลเช่นว่านั้นชำระเงินจำนวนไม่เกินห้าพันบาทแก่สถานพินิจหรือศาล แล้วแต่กรณี ภายในเวลาที่ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือศาลเห็นสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๙๒ ในการควบคุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยมาหรือไปจากศาล หรือในระหว่างควบคุมตัวไว้ก่อนนำเข้าห้องพิจารณา ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากศาลห้ามมิให้ควบคุมเด็กหรือเยาวชนนั้นปะปนกับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นผู้ใหญ่ มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือโฆษณาข้อความซึ่งปรากฏในทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือในทางพิจารณาคดีของศาลที่อาจทำให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ของเด็กหรือเยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทำความผิดหรือสถานที่อยู่ สถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของเด็กหรือเยาวชนนั้นความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การกระทำเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาโดยได้รับอนุญาตจากศาลหรือการกระทำที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
หมวด ๘
การพิพากษาคดีอาญา
มาตรา ๙๔ ในกรณีที่ได้มีการสืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา ๓๔ (๑) ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิพากษาลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ต่อเมื่อได้รับทราบรายงานและความเห็นจากผู้อำนวยการสถานพินิจตามมาตรา ๕๕ (๒) หรือมาตรา ๗๙ และมาตรา ๘๐ แล้ว และถ้าผู้อำนวยการสถานพินิจขอแถลงการณ์เพิ่มเติมด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ก็ให้ศาลรับไว้ประกอบการพิจารณาด้วย มาตรา ๙๕ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่สมควรจะมีคำพิพากษา ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวหรือจะส่งตัวไปควบคุมไว้ยังสถานพินิจแห่งใดแห่งหนึ่งชั่วคราว หรือจะให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนไปพลางก่อนก็ได้ มาตรา ๙๖ ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้ผู้พิพากษาอาวุโสเป็นประธาน และให้ประธานของที่ประชุมนั้นถามความเห็นของผู้พิพากษาสมทบก่อน มาตรา ๙๗ การอ่านคำพิพากษาให้กระทำเป็นการลับ และให้นำมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลมถ้าอยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ ให้ศาลเรียกบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่มาฟังคำพิพากษาด้วย มาตรา ๙๘ ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวห้ามมิให้ระบุชื่อ หรือแสดงข้อความหรือกระทำการด้วยประการใดๆ อันจะทำให้รู้จักตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล มาตรา ๙๙ เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแล้ว และต่อมาความปรากฏแก่ศาลเอง หรือปรากฏจากรายงานของผู้อำนวยการสถานพินิจ หรือผู้ปกครองโรงเรียนหรือสถานกักและอบรมหรือสถานฝึกและอบรมของสถานพินิจหรือปรากฏจากคำร้องของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ หรือสถานศึกษาหรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิตตามมาตรา ๒๐ (๒) ว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามมาตรา ๗๘ และมาตรา ๘๒ ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ถ้าศาลเยาวชนและครอบครัวที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง หรือที่มีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนนั้นกำลังรับโทษหรือถูกควบคุมตัวอยู่ เห็นว่ามีเหตุอันสมควรก็ให้มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษหรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ ในกรณีที่ศาลที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งให้แจ้งให้ศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งทราบ และถ้าโทษหรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่กำหนดในภายหลังหนักกว่าโทษหรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่เด็กหรือเยาวชนนั้นได้รับอยู่ เด็กหรือเยาวชนนั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นได้ในคดีที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยไปกักและอบรมหรือฝึกและอบรมยังสถานพินิจ ให้ศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐๐ ในกรณีที่ศาลพิพากษาว่าเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยไม่มีความผิดและปล่อยเด็กหรือเยาวชนไป ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับความประพฤติของเด็กหรือเยาวชนนั้นด้วยก็ให้ศาลมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติข้อเดียวหรือหลายข้อไว้ในคำพิพากษา ดังต่อไปนี้(๑) ห้ามมิให้เด็กหรือเยาวชนเข้าไปในสถานที่หรือท้องที่ใดอันจะจูงใจให้เด็กหรือเยาวชนประพฤติชั่ว(๒) ห้ามมิให้เด็กหรือเยาวชนออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นหรือได้รับอนุญาตจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย(๓) ห้ามมิให้เด็กหรือเยาวชนคบหาสมาคมกับบุคคลหรือประเภทบุคคลที่ศาลเห็นไม่สมควร(๔) ห้ามมิให้เด็กหรือเยาวชนกระทำการใดอันจะจูงใจให้เด็กหรือเยาวชนนั้นประพฤติชั่ว(๕) ให้เด็กหรือเยาวชนไปรายงานตัวต่อศาลหรือพนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานสังคมสงเคราะห์ที่ผู้อำนวยการสถานพินิจมอบหมายเป็นครั้งคราว(๖) ให้เด็กหรือเยาวชนไปศึกษา เข้ารับการฝึกอบรมหรือประกอบอาชีพเป็นกิจจะลักษณะในการกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลกำหนดระยะเวลาที่จะให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นด้วย แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดตามวรรคหนึ่งนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลเองหรือปรากฏจากรายงานของบุคคลตามมาตรา ๑๐๑ วรรคหนึ่งว่า ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เกี่ยวแก่การกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กหรือเยาวชนนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควร อาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดหรือทุกข้อก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมก็ได้ มาตรา ๑๐๑ เมื่อศาลได้กำหนดเงื่อนไขตามมาตรา ๑๐๐ แล้ว ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานสังคมสงเคราะห์ที่ผู้อำนวยการสถานพินิจมอบหมายที่จะสอดส่องและทำรายงานเสนอต่อศาลในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ศาลมีอำนาจออกหมายเรียกหรือหมายจับเด็กหรือเยาวชนนั้นมาตักเตือน หรือส่งตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปกักและอบรมหรือฝึกและอบรมในสถานพินิจหรือสถานฝึกและอบรมที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๐ (๒) แห่งหนึ่งแห่งใดเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ มาตรา ๑๐๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๕ ในกรณีที่จะมีการปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งได้รับการกักและอบรมหรือฝึกและอบรมในสถานพินิจ สถานศึกษาหรือสถานฝึกและอบรมที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๐ (๒) ครบตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดหรือตามที่ศาลมีคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามมาตรา ๙๙ ถ้ามีเหตุอันสมควรกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการคุมความประพฤติของเด็กหรือเยาวชนก่อนปล่อยตัวไป เมื่อศาลเห็นเองหรือเมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจ หรือเมื่อผู้ปกครองสถานศึกษาหรือสถานฝึกและอบรมร้องขอ ให้ศาลมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๐๐ ได้ ถ้าได้กำหนดเงื่อนไขไว้ ให้นำมาตรา ๑๐๐ วรรคสองและวรรคสามและมาตรา ๑๐๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๐๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจตรวจสถานพินิจ สถานศึกษาสถานฝึกและอบรม สถานแนะนำทางจิต สถานพยาบาล หรือเรือนจำ รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกส่งตัวไปควบคุมไว้
หมวด ๙
การเปลี่ยนโทษ และการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
มาตรา ๑๐๔ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ดังต่อไปนี้(๑) เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา ๓๙ (๑) แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นกักและอบรม ซึ่งจะต้องกักและอบรมในสถานกักและอบรมของสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์(๒) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจ สถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต ตามเวลาที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์(๓) เปลี่ยนโทษปรับเป็นการคุมความประพฤติ โดยกำหนดเงื่อนไขข้อเดียวหรือหลายข้อตามมาตรา ๑๐๐ ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าได้กำหนดเงื่อนไขไว้ให้นำมาตรา ๑๐๐ วรรคสองและวรรคสามและมาตรา ๑๐๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมหลักเกณฑ์วิธีการกักและอบรมหรือการฝึกและอบรมเด็กหรือเยาวชนให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงในกรณีที่ศาลได้พิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (๑) หรือ (๒) ต่อไปหลังจากที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้ว ให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด มาตรา ๑๐๕ การส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักและอบรมหรือฝึกและอบรมในสถานพินิจ หรือส่งตัวไปยังสถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรมที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๐ (๒) ถ้าศาลได้กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำและขั้นสูงไว้ ศาลจะปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนไปในระหว่างระยะเวลาขั้นต่ำและขั้นสูงนั้นก็ได้ ในกรณีดังกล่าว ศาลจะกำหนดเงื่อนไขตามมาตรา ๑๐๐ ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าได้กำหนดเงื่อนไขไว้ ให้นำมาตรา ๑๐๐ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๑๐๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และระยะเวลาที่จะกักและอบรมหรือฝึกและอบรมนั้นจะเกินหนึ่งปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่เหลืออยู่ มาตรา ๑๐๖ คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิพากษาให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษเด็กหรือเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ แม้ว่า(๑) เด็กหรือเยาวชนนั้นได้เคยรับโทษจำคุกหรือโทษอย่างอื่นตามคำพิพากษามาก่อนแล้ว(๒) โทษจะลงแก่เด็กหรือเยาวชนเป็นโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก(๓) ศาลจะกำหนดโทษจำคุกเกินกว่าสองปี มาตรา ๑๐๗ ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนต้องโทษปรับไม่ว่าจะมีโทษจำคุกด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่ชำระค่าปรับ ห้ามมิให้ศาลสั่งกักขังเด็กหรือเยาวชนแทนค่าปรับ แต่ให้ศาลส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมในสถานพินิจ สถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต ตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี
หมวด ๑๐
การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว
มาตรา ๑๐๘ การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวนั้นไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมกันในข้อพิพาทโดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัว เพื่อการนี้ให้ศาลคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้เพื่อประกอบดุลพินิจด้วย คือ(๑) การสงวนและคุ้มครองสถานภาพของการสมรสในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของชายและหญิงที่สมัครใจเข้ามาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา หากไม่อาจรักษาสถานภาพของการสมรสได้ก็ให้การหย่าเป็นไปด้วยความเป็นธรรมและเสียหายน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของบุตรเป็นสำคัญ(๒) การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ครอบครัวนั้น ต้องรับผิดชอบในการดูแลให้การศึกษาแก่บุตรที่เป็นผู้เยาว์(๓) การคุ้มครองสิทธิของบุตรและส่งเสริมสวัสดิภาพของบุตร และ(๔) หามาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสามีภริยาให้ปรองดองกันและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกันเองและกับบุตร มาตรา ๑๐๙ ในการกำหนดองค์คณะตามมาตรา ๒๔ วรรคสอง ถ้าศาลเห็นว่าคดีครอบครัวใดที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาเป็นคดีที่ผู้เยาว์ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียก่อนเริ่มพิจารณาคดี ให้ศาลสอบถามคู่ความว่าประสงค์จะให้มีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะด้วยหรือไม่ ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้มีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะด้วย ให้ผู้พิพากษาไม่น้อยกว่าสองคนเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ในระหว่างการพิจารณาของศาลที่ไม่มีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะ ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลว่าคดีนั้นเป็นคดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียให้ศาลกำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบตามมาตรา ๒๔ เป็นองค์คณะ แต่ทั้งนี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปแล้ว มาตรา ๑๑๐ เพื่อประโยชน์ในการประนีประนอมในคดีครอบครัว ศาลอาจตั้งผู้ประนีประนอมประกอบด้วยบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งเป็นบิดามารดา ผู้ปกครอง ญาติของคู่ความ หรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควร เพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือศาลในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ประนีประนอมกัน หรืออาจมอบหมายให้พนักงานสังคมสงเคราะห์ หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลใดช่วยเหลือไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ประนีประนอมกันก็ได้เมื่อผู้ประนีประนอมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลแล้ว ให้รายงานผลการประนีประนอมต่อศาลด้วยในกรณีที่การประนีประนอมเป็นผลสำเร็จ บุคคลดังกล่าวจะจัดให้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นหรือจะขอให้เรียกคู่ความมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลก็ได้เมื่อศาลเห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เว้นแต่คดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียและศาลไม่เห็นชอบด้วยกับการยอมความนั้น มาตรา ๑๑๑ ถ้าคู่ความไม่อาจประนีประนอมกันได้หรือศาลเห็นว่า สัญญาประนีประนอมยอมความฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือคดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียและศาลไม่เห็นชอบด้วยกับการตกลงยินยอมนั้น หรือลักษณะของคดีนั้นไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้ ให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไป มาตรา ๑๑๒ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเป็นเพื่อสวัสดิภาพและอนาคตของบุตรที่เป็นผู้เยาว์ ในระหว่างการพิจารณาคดีศาลมีอำนาจมอบหมายให้พนักงานสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยาดำเนินการสืบเสาะภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมกันในข้อพิพาท หรือเมื่อเห็นเป็นการสมควรและคู่ความได้ยินยอมแล้ว จะสั่งให้แพทย์หรือจิตแพทย์ ตรวจร่างกายสุขภาพหรือจิตใจของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ มาตรา ๑๑๓ ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำคู่ความข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใดๆ ในคดี หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อ หรือแสดงข้อความหรือกระทำการด้วยประการใดๆ อันอาจทำให้รู้จักตัวคู่ความหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือถูกกล่าวถึงในคดี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล มาตรา ๑๑๔ ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเพื่อชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพนั้น สิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา ๒๘๖ (๑) (๒) และ (๓) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเป็นจำนวนตามที่ศาลเห็นสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จำนวนบุพการี และผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย
หมวด ๑๑
การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย
มาตรา ๑๑๕ ในคดีครอบครัวที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียนอกจากการพิจารณาพิพากษาคดีจะอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในหมวด ๑๐ แล้ว ยังอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในหมวดนี้ด้วย มาตรา ๑๑๖ การดำเนินคดีครอบครัวที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่ผู้เยาว์นั้นอยู่ในเขตอำนาจมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่น มาตรา ๑๑๗ เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้รับคำฟ้องหรือคำร้องขอใดๆ ในคดีครอบครัวที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย ให้ศาลแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่ผู้เยาว์นั้นอยู่ในเขตอำนาจทราบเมื่อได้รับแจ้งจากศาลตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจประมวลและรายงานข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นต่อศาลโดยไม่ชักช้า เมื่อศาลได้รับความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจแล้ว ให้ศาลแจ้งความเห็นนั้นให้คู่ความทราบ คู่ความมีสิทธิที่จะแถลงคัดค้านและนำสืบหักล้างได้ มาตรา ๑๑๘ ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีครอบครัวที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย ให้ศาลฟังความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจที่ผู้เยาว์นั้นอยู่ในเขตอำนาจ เมื่อได้รับความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจแล้ว ให้ศาลแจ้งความเห็นนั้นให้คู่ความทราบ ในกรณีเช่นว่านี้คู่ความมีสิทธิที่จะแถลงคัดค้านและนำสืบหักล้างได้ มาตรา ๑๑๙ ศาลมีอำนาจตั้งผู้อำนวยการสถานพินิจ