ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. 2520
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. 2520

แชร์กระทู้นี้

size="2">พระราชบัญญัติ
จัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี
พ.ศ. ๒๕๒๐
                       
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐
เป็นปีที่ ๓๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรีขึ้นในกรุงเทพมหานคร
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. ๒๕๒๐”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ ให้จัดตั้ง
(๑) ศาลแพ่งขึ้นในกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ศาลแพ่งธนบุรี”
(๒) ศาลอาญาขึ้นในกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ศาลอาญาธนบุรี”
ศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรีจะจัดตั้งในเขตใดของกรุงเทพมหานครและจะเปิดทำการเมื่อใด ให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา
 
มาตรา ๔ ศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรีมีเขตตลอดท้องที่การปกครองของเขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตทุ่งครุ เขตธนบุรี เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร
 
มาตรา ๕ บรรดาคดีของเขตท้องที่การปกครองของเขตคลองสาน เขตตลิ่งชัน เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตบางขุนเทียน เขตภาษีเจริญ เขตราษฎร์บูรณะ และเขตหนองแขม ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลแพ่งหรือศาลอาญาในวันเปิดทำการศาลแพ่งธนบุรีหรือศาลอาญาธนบุรีตามมาตรา ๓ ให้คงพิจารณาพิพากษาในศาลแพ่งหรือศาลอาญาแล้วแต่กรณี
 
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
นายกรัฐมนตรี



หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีจำนวนมากขึ้น และมีคดีความมาสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งและศาลอาญาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ห้องพิจารณาของศาลแพ่งและศาลอาญามีอยู่จำกัด ไม่เพียงพอกับจำนวนคดีที่มาสู่ศาล ประกอบกับการคมนาคมในกรุงเทพมหานครไม่สู้จะคล่องตัว ทำให้ประชาชนผู้มีอรรถคดีและผู้เกี่ยวข้องไม่ได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางไปติดต่อกับศาล สมควรจัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรีเพิ่มขึ้น เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดธนบุรีเดิม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
 
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙
 
มาตรา ๕ บรรดาคดีของท้องที่เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตตลิ่งชัน เขตบางแค เขตบางพลัด เขตทวีวัฒนา เขตภาษีเจริญ และเขตหนองแขม ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลแพ่งธนบุรีหรือศาลอาญาธนบุรีในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงพิจารณาพิพากษาต่อไปในศาลแพ่งธนบุรีหรือศาลอาญาธนบุรี แล้วแต่กรณี
บรรดาคดีของท้องที่ตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างที่ศาลอาญาธนบุรีมีคำสั่งขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลอาญาธนบุรีมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการขังระหว่างสอบสวนนั้นต่อไป
 
มาตรา ๖ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการยกฐานะศาลแขวงดุสิตศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด โดยแบ่งท้องที่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลอาญากรุงเทพใต้บางส่วนไปอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดดุสิต ศาลจังหวัดปทุมวัน และศาลจังหวัดพระโขนง และแบ่งท้องที่ในเขตอำนาจศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรีบางส่วนไปอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตลิ่งชัน ดังนั้น สมควรเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรีเพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งท้องที่ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
 
 
 
 
 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้