size="2">พระราชบัญญัติ
เครื่องแบบและบัตรประจำตัว
เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
เป็นปีที่ ๔๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบและบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติเครื่องแบบและบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๐” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติเครื่องแบบสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๖บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้“เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร” หมายความว่า ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต รองประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร“เครื่องแบบ” หมายความว่า เครื่องแต่งกายทั้งหลายรวมทั้งเครื่องหมายต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายอย่างอื่นที่ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครแต่ง“บัตรประจำตัว” หมายความว่า บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร มาตรา ๕ ลักษณะ ชนิด และประเภทของเครื่องแบบ และระเบียบในการแต่งเครื่องแบบแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครมีบัตรประจำตัว มาตรา ๗ ผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัว คือ(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สำหรับตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(๒) ประธานสภากรุงเทพมหานคร สำหรับตำแหน่งประธานสภาเขต รองประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร(๓) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับตำแหน่งเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา ๘ การขอและการออกบัตรประจำตัว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙ บัตรประจำตัวให้ใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๑๐ ถ้าเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครที่ได้รับบัตรประจำตัวตามพระราชบัญญัตินี้พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นอันหมดสิทธิที่จะใช้บัตรประจำตัวนั้นต่อไป และให้ผู้นั้นส่งมอบบัตรประจำตัวคืนให้แก่ผู้ออกบัตรโดยยื่นต่อปลัดกรุงเทพมหานครภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๑๑ ผู้ใดไม่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบตามพระราชบัญญัตินี้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่งเครื่องแบบนั้นเพื่อจะให้ผู้อื่นเชื่อว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๒ ผู้ใดใช้ หรือแสดงบัตรประจำตัว ซึ่งตนไม่มีสิทธิที่จะใช้ตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๓ บรรดาบัตรประจำตัวที่ได้ออกก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไป และให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันพระราชบัญญัติเครื่องแบบสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๖ ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและไม่มีกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวที่ใช้บังคับกับประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต รองประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมควรยกเลิกพระราชบัญญัติเครื่องแบบสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๖ และมีกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบและบัตรประจำตัวสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้