ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พระราชบัญญัติคืนฐานะเดิมแก่ข้าราชการพลเรือน ทหาร หรือตำรวจ พุทธศักราช 2489
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พระราชบัญญัติคืนฐานะเดิมแก่ข้าราชการพลเรือน ทหาร หรือตำรวจ พุทธศักราช 2489

แชร์กระทู้นี้

size="2">พระราชบัญญัติ
คืนฐานะเดิมแก่ข้าราชการพลเรือน ทหาร หรือตำรวจ
ซึ่งกระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น
พุทธศักราช ๒๔๘๙
                  
 
อานันทมหิดล
ตราไว้ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙
เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรคืนฐานะเดิมแก่ข้าราชการพลเรือน ทหาร หรือตำรวจซึ่งกระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่นอันเป็นนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พุทธศักราช ๒๔๘๙
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคืนฐานะเดิมแก่ข้าราชการพลเรือน ทหาร หรือตำรวจ ซึ่งกระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พุทธศักราช ๒๔๘๙”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ ข้าราชการพลเรือน ทหาร หรือตำรวจซึ่งกระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น หรือดำเนินงานเพื่อการนั้น อันเป็นนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พุทธศักราช ๒๔๘๙ ถ้าได้ลาออกจากราชการก็ดี หรือถูกปลดออกจากราชการก็ดี ให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับบรรจุกลับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งเดิมในเมื่อมีตำแหน่งว่าง
ถ้าจะรับบรรจุกลับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งเดิมไม่ได้ ก็ให้บรรจุในตำแหน่ง ชั้น และอันดับอันไม่ต่ำกว่าที่ข้าราชการผู้นั้นเคยได้อยู่เดิม
 
มาตรา ๔ ให้กระทรวงเจ้าสังกัดสอบสวนให้ได้ความชัดก่อนว่า ข้าราชการที่ได้ลาออกหรือถูกปลดออกนั้น ได้ลาออกหรือถูกปลดออกเพราะไปทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่นหรือดำเนินงานเพื่อการนั้นจริง แม้เหตุผลในใบลาหรือการปลดจะเป็นอย่างอื่นก็ตาม แล้วจึงรับบรรจุกลับเข้าประจำการตามความในมาตรา ๓
 
มาตรา ๕ ข้าราชการพลเรือน ทหาร หรือตำรวจซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้าประจำการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ามีวันราชการติดต่อกัน คือ เวลาก่อนวันที่ลาออกหรือถูกปลดออกกับวันที่ได้กลับเข้ารับราชการนั้น ให้นับสำหรับคำนวณเบี้ยหวัดหรือบำเหน็จบำนาญด้วย
 
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ปรีดี พนมยงค์
นายกรัฐมนตรี



 
 
 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้