ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522

แชร์กระทู้นี้

size="2">พระราชบัญญัติ
คณะกรรมการกฤษฎีกา
พ.ศ. ๒๕๒๒
                  
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒
เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาและกฎหมายว่าด้วยเรื่องราวร้องทุกข์
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช ๒๔๗๖
(๒) พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐
(๓) พระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๔๙๒
(๔) พระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๖
 
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ
 
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
 
ภาค ๑
คณะกรรมการกฤษฎีกา
                  
 
หมวด ๑
บททั่วไป
                  
 
มาตรา ๖ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบด้วยกรรมการซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา ๑๑
ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยตำแหน่งมีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปของคณะกรรมการกฤษฎีกา
 
มาตรา ๗ คณะกรรมการกฤษฎีกามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติของคณะรัฐมนตรี
(๒) รับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐหรือตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติของคณะรัฐมนตรี
(๓) เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมายหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย
 
มาตรา ๘ (ยกเลิก)
 
มาตรา ๙ ให้กรรมการกฤษฎีกาได้รับค่าตอบแทนตามที่กำหนดใน
พระราชกฤษฎีกา

 
มาตรา ๑๐ (ยกเลิก)
 
หมวด ๒
กรรมการกฤษฎีกา
                  
 
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๑๑ กรรมการกฤษฎีกานั้นจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกตามมาตรา ๑๓/๑
ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นกรรมการกฤษฎีกาโดยตำแหน่ง
ให้ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ากรรมการร่างกฎหมายประจำมีสิทธิเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาในแต่ละคณะตามที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกามอบหมาย เพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่พิจารณาหรือเสนอร่างกฎหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาได้ ทั้งนี้ ในการเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการกฤษฎีกาให้นับเป็นองค์ประชุมและได้รับค่าตอบแทนเช่นเดียวกับกรรมการกฤษฎีกาด้วย แต่ไม่มีสิทธิลงมติ
 
มาตรา ๑๒ กรรมการกฤษฎีกามีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ถ้ามีการแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกาขึ้นอีกในระหว่างที่กรรมการกฤษฎีกาซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการกฤษฎีกาซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
ผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้วจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกก็ได้
ให้กรรมการกฤษฎีกาซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกาขึ้นใหม่
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับกับกรรมการกฤษฎีกาที่ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการกฤษฎีกาแต่ละคณะตามมาตรา ๑๕
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๑๓ ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกาต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์หรือการบริหารราชการแผ่นดิน และต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่า
(๒) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ตุลาการศาลปกครองสูงสุด หรือตุลาการพระธรรมนูญศาลทหารสูงสุด
(๓) เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในสถาบันการศึกษาของรัฐในระดับมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๔) เคยเป็นกรรมการกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช ๒๔๗๖
(๕) มีความรู้และเคยทำงานในการร่างกฎหมายมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปีและมีความชำนาญและความสามารถเป็นประโยชน์แก่งานของกรรมการกฤษฎีกา
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๑๓/๑ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการคัดเลือกรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในระดับสูงสมควรเป็นกรรมการกฤษฎีกา โดยให้มีจำนวนที่เหมาะสมในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอต่อคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการกฤษฎีกาแต่ละคณะตามมาตรา ๑๕ เป็นกรรมการและเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วแจ้งผลให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
ให้ประธานกรรมการกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกและการพิจารณาให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งกำหนด
 
มาตรา ๑๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการกฤษฎีกาพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๑๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการกฤษฎีกาประชุมปรึกษาหารือกันเป็นคณะ ซึ่งคณะหนึ่ง ๆ ต้องมีกรรมการกฤษฎีกาไม่น้อยกว่าสามคน และในกรณีที่มีปัญหาสำคัญให้กรรมการกฤษฎีกาประชุมปรึกษาหารือกันโดยที่ประชุมใหญ่กรรมการกฤษฎีกา ซึ่งต้องมีกรรมการกฤษฎีกามาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการกฤษฎีกาทั้งหมด
การแบ่งกรรมการกฤษฎีกาออกเป็นคณะ การแต่งตั้งประธานกรรมการกฤษฎีกาแต่ละคณะ และการประชุมของกรรมการกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนด
การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษา ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการกฤษฎีกาคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา”แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๑๕ ทวิ ในการพิจารณาร่างกฎหมายให้กรรมการกฤษฎีกาคำนึงถึงความจำเป็น ความเป็นไปได้และขอบเขตที่จะต้องมีกฎหมายดังกล่าว ความสอดคล้องกับหลักกฎหมายและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ความมีประสิทธิภาพของการจัดองค์กรและกลไกเพื่อการใช้บังคับกฎหมาย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการบริหารราชการ และภาระหรือความยุ่งยากของประชาชนหรือผู้ที่จะอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายนั้นด้วย และแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสม ในกรณีที่กรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าร่างกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับสาระสำคัญของหลักการ หรือมีความเห็นขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กรรมการกฤษฎีกาจะเสนอความเห็นเพื่อขอให้มีการทบทวนในหลักการเสียก่อน หรือจะปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไปก็ได้
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๑๖ ให้ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกามีอำนาจกำหนดระเบียบว่าด้วยการจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ และระเบียบว่าด้วยการรับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายของกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๑๗ กรรมการกฤษฎีกาผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเรื่องที่ปรึกษาหารือเรื่องหนึ่งเรื่องใด ห้ามมิให้เข้าร่วมปรึกษาหารือในเรื่องนั้น
ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกามีอำนาจวางระเบียบให้กรรมการกฤษฎีกาที่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพอันเป็นการขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการกฤษฎีกา งดการเข้าร่วมปรึกษาหารือในกิจการของกรรมการกฤษฎีกาเป็นการชั่วคราวตลอดระยะเวลาที่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นอยู่ได้
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
หมวด ๒ ทวิ
คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
                  
 
มาตรา ๑๗ ทวิ ให้มีคณะกรรมการเรียกว่า “คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย” ประกอบด้วย กรรมการกฤษฎีกาตามมาตรา ๑๑ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของรัฐหรือของเอกชน ซึ่งประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้แต่งตั้ง มีจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคน แต่ไม่เกินสิบห้าคน เป็นกรรมการพัฒนากฎหมาย ในจำนวนนี้ให้มีกรรมการกฤษฎีกาเป็นประธาน และกรรมการกฤษฎีกาอื่นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นกรรมการพัฒนากฎหมายโดยตำแหน่ง ให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้
ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
ในกรณีที่เห็นสมควร ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามสาขาวิชากฎหมายก็ได้
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับแก่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยอนุโลม
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๑๗ ตรี ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหน้าที่ศึกษาพิจารณาตรวจสอบบรรดากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ถ้าเห็นว่ากฎหมายฉบับใดหรือเรื่องใดมีบทบัญญัติที่จำกัดเสรีภาพในร่างกาย ทรัพย์สิน หรือการประกอบอาชีพของประชาชนโดยไม่สมควรหรือก่อให้เกิดภาระแก่การประกอบอาชีพหรือธุรกิจของบุคคลโดยไม่จำเป็น หรือไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือการบริหารราชการ หรือเห็นว่าประเทศไทยควรจะมีกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือเพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองหรือการบริหารราชการ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเพื่อจัดทำแผนงานหรือโครงการพัฒนากฎหมายต่อไป โดยระบุขอบเขตของงาน ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ ตลอดจนงบประมาณสำหรับดำเนินการ และในกรณีที่มีความจำเป็น ต้องมีงบประมาณเพิ่มเติม ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ความในวรรคนี้ไม่ใช้บังคับแก่การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
การเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ถ้าได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามสาขาวิชากฎหมาย ให้เสนอต่อคณะกรรมการตามสาขาวิชากฎหมาย
 
มาตรา ๑๗ จัตวา เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการพัฒนากฎหมายตามมาตรา ๑๗ ตรี แล้ว ให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายดำเนินการศึกษาวิจัยและจัดทำรายงานพร้อมทั้งร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป โดยจะแต่งตั้งผู้วิจัยเพื่อจัดทำรายงานตามที่มอบหมายก็ได้ เพื่อการนี้ให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายมีอำนาจกำหนดค่าตอบแทนหรือให้เงินอุดหนุนแก่การวิจัยตามระเบียบที่ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนด
ในกรณีมีเหตุอันควร คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจะขอให้ที่ประชุมใหญ่กรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ได้
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๑๗ เบญจ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามมาตรา ๑๗ ตรี หรือมาตรา ๑๗ จัตวา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะจัดให้มีการวิจัย การสัมมนา หรือการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานหรือบุคคลต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชนตามความเหมาะสมแก่กรณีก็ได้
 
มาตรา ๑๗ ฉ ในกรณีที่เห็นสมควร คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายมอบหมายก็ได้
 
มาตรา ๑๗ สัตต ให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายและคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๗ ฉ มีอำนาจเชิญผู้แทนหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชนมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นได้
 
มาตรา ๑๗ อัฏฐ ให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายและคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๗ ฉ ได้รับค่าตอบแทนเช่นเดียวกับกรรมการกฤษฎีกา
 
หมวด ๓
กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
                  
 
มาตรา ๑๘ (ยกเลิก)
มาตรา ๑๙ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๐ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๑   (ยกเลิก)
มาตรา ๒๒ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๓ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๔ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๕ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๖ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๗ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๘ (ยกเลิก)
มาตรา ๒๙ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๐ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๑ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๒ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๓ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๔ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๕ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๖ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๗ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๘ (ยกเลิก)
มาตรา ๓๙ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๐ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๑ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๒ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๓ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๔ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๕ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๖ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๗ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๘ (ยกเลิก)
มาตรา ๔๙ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๐ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๑ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๒ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๓ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๔ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๕ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๖ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๗ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๘ (ยกเลิก)
มาตรา ๕๙ (ยกเลิก)
มาตรา ๖๐ (ยกเลิก)
มาตรา ๖๑ (ยกเลิก)
 
ภาค ๒
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                  
 
มาตรา ๖๒ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย และศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
(๒) พิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย
(๓) ช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการร่างกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ
(๔) ให้ความเห็นหรือปฏิบัติงานอื่นอันเกี่ยวกับกฎหมายให้แก่หน่วยงานของรัฐ หรือตามที่รัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันระหว่างประเทศร้องขอ
(๕) ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและเจ้าหน้าที่ของรัฐในด้านกฎหมายและการร่างกฎหมาย รวมทั้งการเผยแพร่ทำความเข้าใจในด้านกฎหมายแก่บุคคลทั่วไป
(๖) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาหลักกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน
(๗) จัดพิมพ์ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อเผยแพร่ เว้นแต่เรื่องที่เป็นความลับ
(๘) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
(๙) ศึกษาและรวบรวมข้อมูล รวมทั้งจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่างประเทศ และงานวิจัยกฎหมายหรือวิชาอื่นที่เกี่ยวกับกฎหมายทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้
 
มาตรา ๖๓ ให้มีเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไป ซึ่งราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับผิดชอบขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ให้มีรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ การร่างกฎหมาย และการบริหารราชการแผ่นดินตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามลำดับ ในกรณีที่รัฐสภาประกอบด้วยสภาเดียวให้ได้รับความเห็นชอบของสภานั้น
 
มาตรา ๖๓/๑ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานกฎหมายของรัฐให้มีตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกาซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในทางนิติศาสตร์ การร่างกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในงานด้านกฎหมายตามความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ให้นักกฎหมายกฤษฎีกาได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราที่คำนวณแล้วไม่ต่ำกว่าค่าตอบแทนของข้าราชการอัยการ
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนด
 
มาตรา ๖๓/๒ เพื่อประโยชน์ในการตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย หรือร่างกฎให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมาย นิติกรหรือเจ้าหน้าที่อื่นของหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้เสนอร่างกฎหมาย หรือร่างกฎนั้นมาปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายหรือร่างกฎดังกล่าวได้จนกว่าการพิจารณาร่างกฎหมาย หรือร่างกฎนั้นจะแล้วเสร็จ
ให้ผู้บังคับบัญชาของบุคคลตามวรรคหนึ่งส่งตัวบุคคลดังกล่าวมาปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการตามวรรคหนึ่ง โดยให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐนั้น
 
มาตรา ๖๔ (ยกเลิก)
 
มาตรา ๖๕ (ยกเลิก)
 
มาตรา ๖๖ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเพื่อประโยชน์ในการประสานงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายหรือเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดและเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาจะขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แต่งตั้งข้าราชการ ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิมแต่มีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้
การแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งต้องมีระยะเวลาครั้งหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและไม่เกินสามปี
ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับแก่การแต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดำรงตำแหน่งในกระทรวงทบวงกรมอื่นด้วยโดยอนุโลม
 
มาตรา ๖๗ (ยกเลิก)
 
มาตรา ๖๘ (ยกเลิก)
 
ภาค ๓
บทกำหนดโทษ
                  
 
มาตรา ๖๙ (ยกเลิก)
มาตรา ๗๐ (ยกเลิก)
มาตรา ๗๑ (ยกเลิก)
มาตรา ๗๒ (ยกเลิก)
มาตรา ๗๓ (ยกเลิก)
 
บทเฉพาะกาล
                  
 
มาตรา ๗๔ ให้กรรมการกฤษฎีกาซึ่งได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช ๒๔๗๖ และกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นกรรมการกฤษฎีกาและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช ๒๔๗๖ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
มาตรา ๗๕ คำเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๔๙๒ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๔๙๒ แต่ถ้าคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัตินี้เห็นสมควรจะใช้อำนาจตามมาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๘ ก็ให้กระทำได้
 
มาตรา ๗๖ ภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจสั่งให้กรรมการกฤษฎีกาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ และให้กรรมการกฤษฎีกาผู้นั้นมีอำนาจหน้าที่และสิทธิเช่นเดียวกับกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
[คำว่า “กรรมการกฤษฎีกา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒]
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ส. โหตระกิตย์
รองนายกรัฐมนตรี


 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตราขึ้นไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๖ บทบัญญัติต่าง ๆ จึงล้าสมัยไม่สะดวกแก่การปฏิบัติราชการ และรัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งศาลปกครองซึ่งกระทรวงยุติธรรมกำลังจัดทำอยู่ในขณะนี้ ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องเตรียมรับการจัดตั้งศาลปกครอง ประกอบกับโดยที่เรื่องราวร้องทุกข์เป็นที่มาของคดีปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงจำเป็นต้องทราบเหตุของการร้องทุกข์มาตั้งแต่เบื้องต้น และสามารถวิเคราะห์เหตุแห่งการร้องทุกข์ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และจะช่วยให้กรรมการเรื่องราวร้องทุกข์มีความชำนาญงานต่อเนื่องกับงานร่างกฎหมายและงานให้ความเห็นในทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงสมควรรวมสำนักงานคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์เข้ากับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสมควรกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์กับคุณสมบัติของกรรมการกฤษฎีกาให้มีความสอดคล้องต่อเนื่องกันด้วย นอกจากนั้นโดยที่ขณะนี้ประชาชนอาจยื่นร้องทุกข์ต่อรัฐบาลได้สองทาง คือ ทางสำนักงานคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์และทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนแก่ประชาชน สมควรรวมไว้แห่งเดียวกัน คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่จะมีประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน และโดยที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันได้เข้ารับหน้าที่เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ทำให้ไม่อาจแต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา ๗๔ ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีและความเห็นชอบจากรัฐสภาให้เสร็จเรียบร้อยไปได้ภายในเดือนมิถุนายน สมควรขยายระยะเวลาการแต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ออกไปอีกเก้าสิบวัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรจัดให้มีองค์กรขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อทำหน้าที่เสนอให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัยหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศ หรือกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในร่างกาย ทรัพย์สินหรือการประกอบอาชีพของประชาชนโดยไม่สมควร หรือก่อให้เกิดภาระแก่การประกอบอาชีพหรือธุรกิจของบุคคลโดยไม่จำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือการบริหารราชการ ประกอบกับบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของกรรมการร่างกฎหมาย การเริ่มนับอายุความร้องทุกข์ ข้อยกเว้นอายุความร้องทุกข์ การดำรงตำแหน่งตามวาระของกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม สมควรได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
 
มาตรา ๑๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้าง และเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับงานคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์และกองวิเคราะห์กฎหมายและการร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ เฉพาะที่นายกรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ไปเป็นของสำนักงานศาลปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
ให้ข้าราชการที่โอนไปตามวรรคหนึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายศาลปกครองและในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับข้าราชการที่โอนไปตามวรรคหนึ่ง
 
มาตรา ๑๒ ให้บทบัญญัติเกี่ยวกับการร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ยังคงมีผลบังคับอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการเปิดทำการศาลปกครองกลางตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองขึ้น ให้เป็นศาลปกครองที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง อันเป็นการดำเนินการที่สืบเนื่องจากแนวทางการจัดองค์กรคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นรูปแบบองค์กรเชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมายปกครองที่เคยดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว โดยองค์กรคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นเป็นสถาบันที่ปฏิบัติงานในด้านคดีปกครองและการสร้างบทกฎหมายรวมทั้งกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการอยู่ด้วยกันซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการในแนวทางนี้มาตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ทรงตราพระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตด คือ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้นใช้บังคับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๗ และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยให้มีสถาบันเกี่ยวกับการร่างกฎหมายและให้ความเห็นทางกฎหมาย และสถาบันที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองควบคู่กัน หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงเป็นพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ขึ้นทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางกฎหมายปกครองระหว่างเอกชนกับหน่วยงานของรัฐเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างหลักกฎหมายปกครองที่เหมาะสมแก่ประเทศไทย และสร้างความคุ้นเคยในระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองโดยจะพัฒนาให้เป็นระบบศาลปกครองอย่างเต็มรูปแบบต่อไป บัดนี้ เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองตามกฎหมายโดยเฉพาะขึ้นทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยตรงแล้ว จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยยกเลิกงานวินิจฉัยร้องทุกข์ให้สอดคล้องกับการจัดตั้งศาลปกครอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๑
 
มาตรา ๙ ให้กรรมการกฤษฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับคงเป็นกรรมการกฤษฎีกาต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ
ให้ประธานกรรมการกฤษฎีกาในแต่ละคณะตามมาตรา ๑๕ ตามคำสั่งประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ ๑/๒๕๔๙ เรื่อง การแบ่งกรรมการกฤษฎีกาออกเป็นคณะ ลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงเป็นประธานกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
 
มาตรา ๑๐ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นนักกฎหมายกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้โดยให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งนักกฎหมายกฤษฎีกาตามระเบียบที่ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนดตามมาตรา ๖๓/๑ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงวิธีการได้มาและการดำรงตำแหน่งของกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้สามารถคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในระดับสูงได้อย่างกว้างขวางและเป็นไปด้วยความรอบคอบตลอดจนเพื่อให้กรรมการกฤษฎีกามีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น และสมควรปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่และการพัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกาและปฏิบัติงานอื่นในทางกฎหมายของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้