ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : พระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

พระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497

แชร์กระทู้นี้

size="2">พระราชบัญญัติ
กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน
พ.ศ. ๒๔๙๗
                  
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗
เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน เพื่อบูรณะทางหลวงและสะพาน และชดใช้เงินกู้ในการก่อสร้างและบูรณะทางหลวงและสะพาน
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. ๒๔๙๗”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น เพื่อกำหนด
(๑) ทางสายใด ตอนใด หรือสะพานใด ที่ต้องเสียหรือยกเลิกค่าธรรมเนียม
(๒) ประเภทของยานยนตร์ที่ต้องเสีย หรือยกเว้นค่าธรรมเนียม
(๓) อัตราค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน
(๔) ระเบียบและวิธีการอื่น ๆ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
 
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ คือ
(๑) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพานตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๒) สั่งให้หยุดและตรวจสอบยานยนตร์ที่ผ่านหรือจะผ่านทางหลวงและสะพาน เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
(๓) ออกคำสั่งให้บุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงไม่เสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
 
มาตรา ๕ บุคคลใดใช้ยานยนตร์บนทางหลวงหรือสะพานที่กำหนดให้เก็บค่าธรรมเนียมตามความในมาตรา ๓ ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา ๖ เงินค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพานที่เก็บได้ และเงินค่าปรับเนื่องจากการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ จะนำไปใช้ได้เฉพาะกับทางหลวงและสะพานที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ในการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวงและสะพาน
(๒) การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ทางหลวงและสะพาน
(๓) งานส่วนที่เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
(๔) การชดใช้เงินกู้ในการก่อสร้างและขยายทางหลวงและสะพาน
 
มาตรา ๗ บุคคลใดใช้ยานยนตร์บนทางหลวงหรือสะพานโดยเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียค่าธรรมเนียมตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือฝ่าฝืนคำสั่งตามความในมาตรา ๔ (๒) มีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นจำนวนสิบเท่าของอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งตามความในมาตรา ๔ (๓) มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
 
มาตรา ๙ เมื่อผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ได้นำเงินค่าปรับตาม มาตรา ๗ หรือค่าปรับตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เปรียบเทียบตามมาตรา ๘ มาชำระแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี



บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมอย่างสูง
ที่ให้เรียกเก็บในการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน
 
(ยกเลิก)


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การคมนาคมเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญส่วนหนึ่งของประเทศ อันเป็นผลให้กิจการส่วนอื่น ๆ ทุกสาขาเจริญตามส่วนสัมพันธ์กับความก้าวหน้าของการคมนาคม ทางหลวงและสะพานเป็นส่วนสัมพันธ์แขนงหนึ่งของการคมนาคม จึงจำต้องก่อสร้างและบูรณะทางหลวงและสะพานให้เพิ่มมากขึ้นในสภาพที่ดี แต่งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอจึงต้องกู้เงินมาใช้เพื่อการนี้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางหลวงและสะพาน เพื่อนำมาชดใช้เงินกู้และบูรณะทางหลวงและสะพานดังกล่าว
 
พระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๖
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๕ ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ได้มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและสุขาภิบาลเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับทางหลวงชนบท ทางหลวงเทศบาล และทางหลวงสุขาภิบาล ตามลำดับ สมควรให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพานดังกล่าวได้ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้แล้ว
 
พระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔
 
มาตรา ๖ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพานตามมาตรา ๓ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้อัตราค่าธรรมเนียมที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษายังคงใช้บังคับเป็นค่าธรรมเนียมต่อไปจนกว่าจะได้มีกฎกระทรวงดังกล่าว
 
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการมีบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมอย่างสูงที่ให้เรียกเก็บในการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพานท้ายพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. ๒๔๙๗ ทำให้ไม่สะดวกในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ สมควรยกเลิกบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมอย่างสูงดังกล่าว เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมอย่างสูงนั้น อกจากนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้และเงินค่าปรับเนื่องจากการกระทำความผิดไปใช้ได้เฉพาะในการบูรณะทางหลวงและสะพานและในงานส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้กำหนดขอบเขตการนำเงินค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้และเงินค่าปรับไปใช้ได้เฉพาะในการบูรณะทางหลวงและสะพาน และในงานส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเท่านั้น แต่ขณะนี้สภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศและปัญหาการจราจรได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จำเป็นต้องขยายขีดความสามารถในการให้บริการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเจริญที่เปลี่ยนแปลง จึงสมควรขยายขอบเขตการใช้เงินค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้และเงินค่าปรับเนื่องจากการกระทำความผิดให้สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวงและสะพานที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ทางหลวงและสะพานและงานส่วนที่เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียม รวมทั้งการชดใช้เงินกู้ในการก่อสร้างและขยายทางหลวงและสะพาน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
 
 
 
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   085-0127724
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้